หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 ธันวาคม 2554 หน้า 15 ลงข่าวความคืบหน้าของโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา (One Tablet Per Child) โดยจะเริ่มจัดหาแท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้น ป.1 ในปีการศึกษา 2555
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเชิญผู้ผลิตแท็บเล็ตประมาณ 20 ราย และผู้ผลิตเนื้อหาประมาณ 20 ราย มานำเสนอสินค้า เพื่อจัดทำสเปกตัวจริง ก่อนจะเริ่มจัดจ้างในระบบ e-auction ระหว่างเดือน ก.พ.-มี.ค. 2555 และส่งของให้ทันเปิดเทอม
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการให้สัมภาษณ์ว่าให้น้ำหนักกับเรื่อง content ด้วยความสำคัญเท่าเทียมกัน และมอบหมายให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการไปสำรวจความพร้อมของ content แต่ละชั้นเรียนว่ามีครบถ้วนแค่ไหน
ที่มา - หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 5 ธันวาคม 2554 (ยังหาลิงก์บนเว็บของไทยรัฐไม่ได้นะครับ ไว้เจอแล้วจะนำมาเพิ่มให้)
อัพเดต เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บไทยรัฐ ศธ.ลุยซื้อแท็บเล็ตแจกเด็กประถมฯ 1
Comments
งบประมาณมากมายขนาดนั้น เอาไปพัฒนาการเรียนการสอนแบบอื่นดีกว่าไหม แจก เด็ก ป.1 จะทำอะไรได้ สักเท่าไรเชียว นอกจากเล่นเกมส์
หากจะแจก แจกสักเด็ก ม.1 ยังจะดีซะกว่า
อิ่มกันทีเดียวเลยงานนี้
ยิ่งเด็กยิ่งปรับตัวเร็วครับ
ราคาประมูลสูงสุด 6000 ไม่มากหรอก เพราะนอกจากราคาจริงจะต่ำกว่านี้ เครื่องยังใช้แทน สมุด เครื่องเขียน และ หนังสือ ที่ราคาปรับขึ้นตามไม้ไปเรื่อยๆ แถมยังได้ความสามารถอื่นๆ อีก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ยิ่งเด็กยิ่งปรับตัวเร็วไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ดีเมื่อเทียบกับภาวะแวดล้อมอื่น ๆ ครับ สำหรับผมเด็กป.1 นี่เป็นวัยซุกซนเล่นสนุกสนานเสียมากกว่าเรียน การนำสิ่งของที่เสียหายง่ายมีมูลค่าสูง (6,000 บาท) ไปมอบให้อยู่ในความครอบครอง ผมว่าต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างมหาศาลแน่นอน อย่างตัวผมเองสมัยก่อนตอนเรียนป.1 รู้สึกว่าได้ค่าขนมแค่ไม่กี่บาท ดินสอยางลบหายอยู่เป็นประจำ กล่องดินสอตกพื้นไม่รู้กี่รอบ บางครั้งวางกระเป๋าเอาไว้ที่ตรงไหนของสนามก่อนจะไปวิ่งเล่นยังจำไม่ได้เลย และที่สำคัญเวลาของพวกนี้เสียหายนี่ผมไม่เคยต้องเสียเงินซื้ออันใหม่เองนะครับ ใช้เงินพ่อแม่ซื้อใหม่ทั้งนั้น เพราะคงไม่มีเด็กป.1 คนไหนสามารถหาเงินมาซื้อของใช้เองได้อยู่แล้ว
ทีนี้ถ้าเกิดความเสียหายหรืออุบัติเหตุกับ tablet ที่ได้รับมอบหมายมาจะต้องทำอย่างไร ใครจะเป็นคนรับผิดชอบค่าซ่อม ตัวเด็กเองคงไม่มีปัญญาก็เหลือแค่ว่าจะเป็นพ่อแม่ของเด็ก สถานศึกษา หรือว่ารัฐบาล ถ้าเป็นพ่อแม่เด็กจะอยากรับผิดชอบหรือไม่ แต่ถ้าไม่ต้องรับผิดชอบเลยก็แปลว่าพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องช่วยลูกดูแลรักษาการใช้งาน tablet อันนี้เลยอีก ลูกจะใช้อย่างไรทำหล่นกี่ครั้งทำหายก็ไม่มีปัญหาซึ่งก็ฟังดูเป็นไปไม่ได้อีกอยู่ดี ไม่อย่างนั้น tablet คงหายกันตลอดเวลาแน่ ดูจากความเป็นไปได้แล้วคิดว่าความรับผิดชอบคงไม่พ้นต้องตกอยู่ที่พ่อแม่เด็ก ก็เลยวนกลับไปคำถามเดิมว่าสรุปแล้วคิดว่าพ่อแม่เด็กอยากจะรับผิดชอบหรือไม่ ถ้าไม่อยากรับผิดชอบทำอย่างไร ? ไม่ต้องเข้าร่วมโครงการนี้ ย้ายลูกไปอยู่ห้องอื่น ? หรือว่าจะอนุญาตให้เฉพาะพ่อแม่ของเด็กที่มีทุนทรัพย์ได้เข้าร่วมโครงการนี้ (คนที่ไม่มีทุนคงไม่อยากเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ) แล้วตกลงการใช้ tablet จะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนและอยู่กับเด็กกลุ่มไหนบ้าง ?
โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ไม่ว่าจะแง่มุมไหนก็ตามครับ
That is the way things are.
คนอื่นเขาก็มีอธิบายไว้ตลอดนะครับว่าที่คุณบอกมันไม่ใช่อย่างไรบ้าง แต่สรุปคือคุณเลือกที่จะไม่เชื่อเอง
หรือจะบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัวไม่มีถูกผิด ขอให้เคารพในความแตกต่างทางความคิด?
คนอื่นที่ว่าคือใครครับ น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน หมายถึงบุคคลอื่นใน blognone ในประเทศไทย หรือทั้งหมดบนโลกใบนี้ ทำไมผมถึงต้องเคยอ่านความคิดเห็นของคน ๆ นั้นก่อน comment ในข่าวนี้ด้วยหรือครับ ? ก่อนที่คุณจะ comment เรื่องมาตรา 112 คุณอ่านคำอธิบายเรื่องมาตรา 112 ของ "คนอื่น" จนหมดแล้วจึงแสดงความคิดเห็นหรือครับ ?
คำอธิบายที่คุณว่า "คนอื่น" อธิบายไว้อยู่ตรงส่วนไหนของข่าวนี้ครับ
ทำไมผมจึงต้องเชื่อ "คนอื่น" ที่คุณว่าไว้ด้วยครับ หลักเหตุผลของเขาสมเหตุสมผลสัมบูรณ์จนไม่มีช่องโหว่ไม่สามารถโต้แย้งได้ 100% ?
การที่ผม reply คุยกับคุณ put4558350 ก็เพื่อถกเถียงถึงประเด็นว่าป.1 ได้รับแจก tablet ถือว่าเร็วไปหรือไม่ ซึ่งคุณ put4558350 อาจจะเคยหรือไม่เคยได้รับความคิดเห็นในแนวทางของผมก็ได้นี่ครับ ? คุณรู้ได้อย่างไรครับว่าคุณ put4558350 เคยได้รับความคิดเห็นทำนองนี้มาแล้ว ? คุณเป็นพยาธิในท้องของเขา ?
ช่วยคิดอย่างมีเหตุผลก่อนแขวะหาเรื่องไปทั่วแบบนี้ด้วยครับ พูดตรง ๆ นะครับคนที่รู้จักแต่หาเรื่องโดยที่ตัวเองไม่มีหลักการเหตุผลแบบคุณทำให้ผมรู้สึกเบื่อหน่ายกับการแสดงความคิดเห็นในสังคมที่นี่แล้วล่ะครับ ผมเองก็พยายามเลิกตอบคุณในหลาย ๆ reply แล้วแต่ดูเหมือนคุณยังไม่รู้ตัว
มันน่าตลกครับที่คนอย่างคุณมาสั่งสอนให้ผมไปอ่านและเชื่อคำอธิบายของคนอื่น กระทั่งพ่อแม่สั่งสอนคุณคุณยังไม่คิดจะเชื่อแล้วยังมีหน้ามาบอกให้ผมไปเชื่อคำอธิบายของคนอื่น ผู้ซึ่งสำหรับผมแล้วเป็นใครก็ไม่รู้ อธิบายไว้ว่าอย่างไรก็ไม่รู้ แล้วนี่ยังสรุปให้ผมเสร็จสรรพว่าผมได้อ่านแล้วและก็เลือกที่จะไม่เชื่อ รู้ดียิ่งกว่าพยาธิในท้องผมอีกครับ ผมอาจจะเคยอ่านหรือไม่เคยอ่านก็ได้ อ่านแล้วอาจจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ ถ้ามันไม่มีหลักเหตุผลก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อนี่ครับ ผมแสดงความคิดเห็นไม่เคยบังคับให้ใครต้องอ่านไม่เคยบังคับให้ใครต้องเชื่อ อยากอ่านก็อ่านไม่อยากอ่านก็ไม่ต้องอ่าน อยากเชื่อก็เชื่อไม่อยากเชื่อก็ไม่ต้องเชื่อ ไม่เห็นจะต้องมีข้อบังคับอะไรแบบนั้น มีด้วยหรือครับความคิดเห็นที่อ่านแล้วต้องเชื่อ
คนรอบข้างในชีวิตจริงของคุณไม่เคยติติงคุณเรื่องนิสัยแบบนี้บ้างหรือครับ ? พูดตรง ๆ นะครับผมว่ามันน่าสมเพช
That is the way things are.
+ล้านแต้ม
ข่าวนี้ไม่ใช่ครั้งแรกนะครับที่พูดถึงแท็บเล็ท และคนค้านก็มักจะค้านด้วยสามัญสำนึกเดิมๆ มิใยคนอื่นจะเอาหลักการเหตุผล(ที่บางอันก็ทดลองมาแล้ว) มาพูด ก็ดูจะไม่ฟังอะไรเลย เพราะคุณก็ตอบเรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง เหตุผลประเภทคุณก็โดนค้านมาแล้วหลายครั้ง(ไม่ใช่จากผม มีเยอะแยะ) ถ้าไม่ใช่เพราะคุณไม่อ่านไม่ฟัง ก็คือคุณเลือกที่จะไม่เชื่อสิ่งที่ไม่ตรงจริตคุณ(ยืมคำของคุณมาหน่อยนะ) อย่างน้อยเขาก็มีเหตุผลมาค้านคำอธิบายของคุณแล้ว และคุณก็ไม่ได้ไปตอบโต้จนถึงที่สุดอะไรกับเขาเลย
ถ้าเอาแค่เรื่องที่ชอบบอกว่า "ให้เด็ก เด็กไม่ระวัง ทำพัง"
ก็นะ เอาง่ายๆนะครับว่า ตอนที่คุณยังเด็ก คุณมีเกมบอยมั้ย?
คุณอาจจะไม่ได้ถนอมยิ่งชีพ แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยละละเลยทิ้งขว้างจนเจ๊งบ๊งใช่รึเปล่า? มันต่างกับยางลบดินสอที่คุณเอามาอ้างมาก
หลายคนเขาก็อธิบายกันบ่อยแล้ว เรื่องที่เด็กก็รู้จักหวงของ ดูแลรักษาของ ในเงื่อนไขที่ต้องให้เด็กได้เป็นเจ้าของ ต่อให้เป็นเด็กก็รู้ว่าอะไรที่มันถูกหรือแพง อะไรที่เขาพอใจ ต้องรักษา ไม่ใช่ว่าเด็กไม่มีสมอง
และถ้าจะพูดถึงเคสกรณีทำเจ๊ง ขอโทษนะ นักศึกษาจนถึงปัญญาชนมันก็ทำไอโฟนที่ตัวเองซื้อมาเจ๊งมานักต่อนักแล้ว ต่างกับเด็กซักแค่ไหน ปัดตก โดนน้ำ แท็บเล็ทให้เด็กยังจะเจ๊งยากกว่าซะอีกเพราะมันตัดออพชั่นหรูหราให้มันราคาถูกแล้วเอาไปเพิ่มความทนทานได้ (ไม่ต้องสน Design สวยๆด้วย จะทำกรอบยางหนาๆ หรือจอพลาสติกอ่อนก็ยังได้)
ถ้าคุณคิดจะเลิกตอบผม ก็ทนให้ได้ละกันครับ แต่ผมไม่คิดจะเลี่ยงปัญหา ในเมื่อผมเห็นคนที่เผยแพร่ความคิดความเชื่ออะไรที่ไม่เข้าท่า ผมก็จะออกมาแย้ง
คุณไม่ต้องเชื่อหรอก แต่การที่คุณไม่เชื่อความจริง คุณก็แค่จะโดนผมหรือใครอีกหลายๆคนที่เขามีเหตุผลมากกว่าผมมาคอยค้านอยู่ร่ำไป ผมไม่เคยบอกว่าคุณต้องไม่พูด เคยเหรอ? ไม่เคย ครั้งนี้ผมก็ไม่ได้บอกให้คุณหยุดพูด ผมแค่ออกมาสวนคุณเท่านั้น แล้วมันทำให้คุณไม่ได้พูดเหรอ? ก็เปล่าอีก
คุณนี่ชอบยัดเยียดเรื่องว่าคนโน้นคนนี้มาบอกว่าคุณต้องเชื่อต้องทำอะไรนะ ตรงข้ามเลย คุณไม่ต้องเชื่ออะไรทั้งนั้น ใครจะไปปิดปากคุณได้ ทั้ง IT ทั้งการเมือง ทั้งแท็บเล็ท คุณอยากพูดก็พูดสิ แต่ว่าผมหรือใครอยากจะสวนคุณ ก็กด reply ต่อ มันก็แค่นั้น มันทำให้คุณไม่ได้พูดอะไร?
และ การที่ผมไม่เชื่อพ่อแม่หรือใครในครอบครัวเพราะผมเชื่อถือแต่เหตุผล ไม่มีการเอาความคิดว่าคนเป็นพ่อแม่น่าจะพูดถูก มาเป็นเหตุผลในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ
การที่ผมแนะนำใครให้ไปฟังใครก็เพราะผมเห็นว่าอีกคนมีเหตุผลมากกว่า
การที่คุณเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นก็ดูเหมือนจะแสดงถึงปัญญาของคุณ ที่ยึดติดว่าคนเราต้องเอาความเป็นบุพการีมาอยู่เหนือเหตุผลล่ะนะ
ผมอาจจะไม่ได้นั่งอธิบายเหตุผลทุกอย่างโดยละเอียดตลอดเวลา แต่เวลาผมอธิบายเป็นหน้าๆ ก็มองข้าม แล้วก็มาบ่นทีหลังว่าไม่มีเหตุผล ทั้งที่อธิบายจนหมดแล้ว
ก็อย่างที่บอกนะ คนแบบคุณนี่ ฐานคิดมันไม่ตรงกับผมเลย ผมเห็นคุณพูดอะไรตอนไหนก็รับไม่ได้โดยที่ไม่ต้องเห็นชื่อคุณด้วยซ้ำ
เผื่อว่าคุณยังไม่รู้นะครับ ผมคิดว่าความคิดเห็นของคุณไม่มีค่าพอให้ผมอ่านอีกต่อไปตั้งแต่ความคิดเห็นก่อนหน้าแล้วครับ ดังนั้นความคิดเห็นที่คุณพิมพ์มาจนยาวยืดอันนี้ผมก็ไม่ได้อ่านครับ เมื่อก่อนก็อ่านอยู่นะครับแต่ต่อไปก็คงจะไม่ได้อ่านแล้ว อาจจะเผลอไปอ่านบ้างถ้ากวาดสายตาไปเห็นพอดีแต่ก็จะพยายามไม่อ่านครับ เอาเวลาไปอ่านความคิดเห็นของท่าอื่นถกเถียงกับกับท่านอื่นดูจะมีประโยชน์กว่ามาก
ขอแสดงความยินดีด้วยครับ คุณเป็นคนแรกที่ผมยึดถือปฏิบัติด้วยวิธีนี้ในสังคมนี้
That is the way things are.
ก็...เป็นแบบนี้ล่ะครับ ชอบบอกว่าคนอื่นไม่มีเหตุผล แต่จริงๆคือพอเขามีก็ไม่อ่าน
คราวหน้าขอเนื้อๆ นะครับ เพราะผมก็ใช้วิธีเดียวกันนั้นมาซักพักแล้ว ยาวเกิน ไม่รู้ตรงไหนสำคัญ เนื้อหาก็ซ้ำๆ = ='
May the Force Close be with you. || @nuttyi
อ่านมาตลอดจนตัดสินใจเลิกอ่านครับ ประโยคนี้น่าจะเข้าใจได้ไม่ยากนะครับไม่คิดว่าจะต้องอธิบายเพิ่มเติมอะไร ...
หรือว่าแต่ก่อนไม่เคยมีเหตุผลเพิ่งจะมาเหตุมีผลก็เอาตอน post ที่ผมเลิกอ่านไปแล้ว ? เพิ่งเคยเห็นคนที่ฉลาดพอที่จะด่าตัวเองแบบนี้ก็ครั้งแรกนี่แหละครับ ;)
ปล. พอดี comment มันสั้น ๆ เลยกวาดสายตามาอ่านพอดีน่ะครับ ถ้าเห็นชื่อก่อนคงไม่อ่าน แล้วก็ไม่ผิดหวังในทักษะการแสดงความคิดเห็นและระดับสติปัญญาเลยครับ
That is the way things are.
ออกจะมีเหตุผลบ่อยๆครับ แต่ดูเหมือนคุณจะอ่านเฉพาะส่วนที่คุณโดนด่าโดนกระแนะกระแหน เหตุผลอะไรใส่ไว้ก็มองข้ามตลอด (หรืออาจจะเถียงไม่ได้เลยแกล้งลืม แกล้งมองข้าม จำเฉพาะส่วนที่เถียงได้)
ครั้งนี้ก็เห็นออกตัวชัดเจนว่าไม่ยอมอ่าน ทั้งที่พูดเหตุผลไว้ก็ข้ามหมด ก็....คุณก็แสดงระดับปัญญาของคุณออกมาแล้วอะนะ และที่สำคัญคือ แสดงระดับความอดทนออกมาด้วย เพราะเห็นเคยบอกว่าจากนี้ไปจะไม่ตอบ แต่พอได้อ่านก็รี่มาตอบอยู่ดี
ก็แปลว่าจากนี้ถ้าผมพูดอะไรสั้นๆ คุณก็คงจะเผลออ่านและเผลอตอบอีกอยู่ดี
ตอบมาเป็นหน้า ตอบคำถามเค้าได้แค่เรื่องเด็กจะทำพังหรือป่าว แต่ไม่เห็นตอบเค้าเลยว่า ถ้ามันพัง มันหาย แล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบ น้ำโคตรเยอะ
เห็นด้วยกับคุณ zerocool ครับ มันดราม่ากันบ่อยๆเพราะชอบไปคิดแทนกันนี่แหละครับ รู้หมดว่าคนที่เราคุยด้วยคิดอะไร ทำอะไร ทั้งๆที่ตัวเองก็ไม่ใช่
มันเป็นยาเฉพาะทาง ไม่ใช่ยาสามัญ จะใช้ต้องระวังคับ
จะเข้าใจตรรกะของใคร ผมต้องนั่งแกะอยู่นานนะคับ และก็ใช้ได้แค่บางโอกาสเท่านั้น
แร๊งงงงงส์
อารมณ์ประมาณว่า ถ้าบอกเค้าว่าเราชอบกินเส้น เค้าก็จะคิดว่าเราชอบกินก๋วยเตี๋ยวที่เค้าเกลียด อยู่ฝั่งตรงข้ามเค้า แต่จริงๆแล้วไม่คิดบ้างเหรอว่าเราชอบกินสปาเก็ตตี้
เห็นด้วยในส่วนที่ ป.1 เร็วไป ให้ใช้ประโยชน์จาก tablet ให้เต็มที่ ม.1 ดีกว่า แต่ต้องมี internet connection ด้วยนะ (ไม่คิดในกรณีเอาไปเล่นเกม หรือทำอย่างอื่น)
twitter.com/djnoly
ราคา 6000 น่าจะมีประกันอยู่ 2-3 ปี และ gps ไว้ตามหาได้แล้วหละ เสปคก็คงไม่ล่อให้ภายนอกขโมย ยิ่งถ้ามี digital sign (เก็บ mac หรือรหัสเครื่องก็ได้) ภายในก็ไม่ขโมยกันเพราะจับได้
เทียบกับ สมุด - หนังสือ กระดาษที่ราคาอย่างต่ำปีละ 1200 (ราคาก็ขึ้นทุกปี) ที่หนังสือยังไม่ครบ กระเป๋าอีก ดินสออีก ออกมาหลายชิ้นให้ชวนหาย หายแล้วขโมยของเพื่อนมาใช้ เขียนซื้อที่ปก ก็โดนซีกบทที่เรียนไปแล้ว อ้างว่าหนัก ตามหาไม่เจออีก
สรุปว่าตัวผมเห็นด้วยกับโครงการนี้
ในหลายแง่มุมครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมขอสารภาพตามตรง ว่าอันไหนที่ยาวเกินครึ่งหน้าจอ ผมก็ไม่อ่านครับ (เพราะรู้ว่ากำลังด่ากันอยู่ ทั้งคู่ละครับ) พยายามเขียนอย่าให้ยาวเกินครึ่งหน้าจอนะครับ ^^"
มองโลกในแง่ร้ายเกินไป ความจริงคือ คนเก่งถึงจะยังเด็กมันก็เก่งมีความรับผิดชอบชั่วดีเรียนรู้ได้เร็ว
คนโง่ถึงจะโตแล้วมันก็ยังโง่ มันเป็นธรรมดาโลก
การพัฒนาการศึกษาคือเปิดโอกาสให้คนได้ใช้ศักยภาพของตัวเองในการเรียนรู้
เด็กฉลาดก็ควรจะมีโอกาสได้เรียนรู้ให้เต็มศักยภาพ ไม่ใช่บอกว่าโลกนี้มีคนโง่มาก งั้นเราต้องลดงบการศึกษาลง
ผมว่ามันผิดทางไปพอสมควร
ปัญหาในการดำเนินกิจการต่างๆมันมีอยู่แล้วล่ะครับ
แต่ถ้าไม่ลองก็จะไม่รู้ ถ้าตัดปัญหาโดยไม่ทำอะไรก็ไม่มีโอกาสแก้ปัญหา ขณะเดียวก็ไม่มีโอกาสก้าวหน้าด้วย
สนับสนุนให้ลองก่อนครับ ถ้ามีปัญหามากจัดการไม่ได้ค่อยเลิก ถ้าปัญหาจัดการได้มันคือการปฏิวัติวงการการศึกษาไทยครับ ซึ่งมันคุ้มพอที่จะเสี่ยง (เดี๋ยวจะมีคนถามว่า เงินพันล้าน ถ้าทำไม่ได้ใครชดใช้ รัฐบาลต้องชดใช้หรือเปล่า ผมจะตอบด้วยคำถามกลับว่า คุณรู้จัก R&D หรือเปล่ามันต้องทดลอง) ส่วนเรืองกลัวธุจริต ก็ตรวจสอบสิครับ มีหลักฐานก็บอกนักข่าวให้ไปทำข่าว (ส่วนเรื่องกลัวเสีย กลัวหาย ไม่ต้องกลัวครับ มันมีอยู่แล้ว แต่ถ้าอยู่ระดับที่จัดการได้ ผมว่ามันก็ไปได้นะครับ)
แถมอีกเรื่อง เรื่อง ป.1 หรือ ม.1 เรื่องนี้จริงต้องหาดูงานวิัจัยว่าอะไรดีกว่า (ซึ่งคงออกมาหลังจากแจกแล้ว ยังไม่แจก จะทำวิจัยได้ยังไง) ส่วนตัวสนับสนุน ป.1 (มี 2 เหตุผล 1. มองในแง่การทดแทนหนังสือ เพื่อที่จะตัดงบการซื้อหนังสือออกทั้งหมด 2. มองในแง่ความเป็นธรรมชาติ เทียบกับการเรียนภาษาอังกฤษ ยิ่งเด็กจะยิ่งได้ผล) แต่ก็มีเหตุผลค้านเหมือนกัน คือเรื่องการเก็บรักษา (มันจะทำให้อัตรา เสีย และ หาย สูงกว่า ม.1) เรื่องนี้ก็ต้องลองอีกละครับ ยังไงก็ขอให้ลองก่อนนะครับ อย่าพึ่งค้าน ดีไม่ดี ค่อยมาวิจารณ์กันหลังลองไปแล้วสัก 2-3 ปี (ถึงตอนนั้น ทุกคนจะมีข้อมูลดีดี ไม่ต้องมานั่งเทียนเถียงกันแบบนี้)
จำได้ว่ามีผลงานวิจัยของอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. เกี่ยวกับการใช้งาน OLPC ว่า ไม่ได้ช่วยให้เด็กฉลาดขึ้น หรือ เรียนเก่งขึ้น แต่เด็กมีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการในขณะนี้ คิดว่าที่จงใจแจก Tablet ให้เด็ก ป.1 คงอ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นนี้
คำตอบของข้า คือ ประกาศิต
ประเทศจะไม่เจริญก็เพราะกลุ่มคนคอนเซอเวทีฟ คิดอะไรแคบๆ ลุยเลยครับกระทรวง
คนที่คิดอะไรก้าวไกลกว่าในยุคของเขา โลกจะเข้าใจเมื่อเวลาผ่านไป ครับ
ตกลงเขาจะใช้ ป1 จริงๆเหรอ
ม1 ไม่เวริคกว่าเหรอ....
ผมว่า เริ่มต้นที่ ป1 เหมาะสมแล้วครับ
หลานผมอนุบาล เล่นเกมส์จับคู่โคตรเทพเลยครับ
ผมว่า content น่าจะออกแนวฝึกทักษะเสียมากกว่าครับ
เอาไว้จำศัพท์ ต่าง ๆ
เคยเห็นการสอบแบบ Flash Card ไหมครับ โยงคำศัพท์ กับรูปภาพ
ผมว่าให้มันเกิดก่อน ดูทิศทางก่อนดีกว่าครับ
ยังไม่เกิดแต่ดันไปทำแท้งซะก่อน มันจะไม่พัฒนาเอานะครับ
รอให้มันเกิด แบบไม่ฟังคำแนะนำ วิจารณ์ ไม่พิจารณาให้รอบครอบ จะผลักดันอย่างเดียวตามนโยบาย แล้วเจ๊งขึ้นมา?
ภาษีประชาชนอย่างเราๆ จะทำยังไงละครับ ให้เป็นเงินพรรคการเมืองไว้หาเสียง กับถลุงเล่น ฝึกงานเหรอครับ ? งบประมาณนั่นไม่ใช่น้อยๆเลยนะครับ
หากจะแจกจริง ควรจะแจกให้กับวัยที่รับผิดชอบได้ดีกว่าครับ เด็ก ป.1 ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาของได้ ทั้งจากการใช้งาน และจากมิจฉาชีพ แล้วหากจะให้ผู้ปกครองรับผิดชอบ อย่างที่คุณ zerocool บอก ถ้าผู้ปกครองเขาไม่เต็มใจให้เข้าร่วมโครงการนี้ อาจจะเพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ จะให้เขาทำอย่างไร?
แนะนำให้คอมเมนต์แบบนี้กับนโยบายทุกอันของรัฐบาลครับ งบประมาณหลายอันมากกว่านี้มาก ต้องช่วยกันสอดส่องดูแล ภาษีประชาชนทั้งนั้นครับ
เฉพาะงบซ่อมแซมกองทัพ (บก) จากน้ำท่วมที่ผ่านมา ขอมา 12,000 ล้านครับ ประมาณสี่เท่าของโครงการนี้
กองทัพทั้งกองทัพ ดูแลของของให้รอดน้ำท่วมไม่ได้นี่ จะให้เขาทำอย่างไร?
lewcpe.com, @wasonliw
เรื่องนี้มันต้องโทษต้องแต่นโยบายรัฐบาล การทำงานของ ศปภ ที่ไม่ชัดเจนและเชื่อถือไม่ได้ตั้งแต่แรกครับ ประกาศของหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงแทบจะเชื่อถืออะไรไม่ได้เลย ศปภ แถลงข่าวหลายครั้งออกมา confirm ว่าจุดไหนรอด ปลอดภัย บางจุดไม่กี่นาทีถัดมา จากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว บางจุด ท่านปลอดออกมา confirm ว่าให้อพยพ ทันที อีกไม่กี่นาทีถัดมา ท่านประชาออกมาแถลงตรงข้าม ก็มี
อำนาจอยู่ที่นายก อยู่ที่ ศปภ และฝ่ายการเมือง จะมาโทษ กองทัพ ข้าราชการอย่างเดียวคงจะไม่ถูกครับ เขาเป็นระดับปฏิบัติการ ถึงแม้จะมีระดับผู้บัญชาการทำงานใน ศปภ บ้าง แต่เขาก็รับอำนาจ รับคำสั่งจากนายก ศปภ รวมถึงรับนโยบายด้วย
ในเมื่อ head ไม่มีฝีมือ ทุกอย่างมันถึงได้เละเทะทั้งหมด ทั้งนิคมอุตสาหกรรม บ้านเรือน สถาบันการศึกษา เอกชน
การเตือนภัย การให้ข่าวสาร ทำได้แย่มาก จนประชาชนต้องเลือกเสพข้อมูลจากสื่อมวลชน ทีวี ช่องต่างๆมากกว่า แทน
แล้ว ที่ซ่อมแซมกองทัพ 12,000 ล้าน ผมไม่แน่ใจว่ามันรวมถึง ยุทโธปกรณ์ ที่ออกไปช่วยน้ำท่วมด้วยหรือไม่ อาทิ เรือ, รถบรรทุกทหาร, รถ hummer เป็นต้น หากใช่ก็ไม่แปลกหรอกครับ ลุยน้ำขนาดนั้น
ผมอ่านที่คุณเขียนมาแล้ว เข้าใจว่าแท็บเล็ต 1,000 ล้านนี่แย่เพราะเป็นการถลุงเงินเล่นของนักการเมือง ส่วนซ่อมกองทัพ 12,000 ล้านไม่เป็นไรเพราะลุยน้ำ ถูกไหมครับ
งบประมาณ 1,100 ล้านบาท มีในข่าวครับ
มันก็จะอยู่ที่ 9 เท่านะครับ
คุณครับ ทำทางด่วน Hope well ลงทุนไปหลายแสนล้านบาทครับ ทุกวันนี้กลายเป็นอนุสาวรีย์ไปแล้ว ผมจำได้แม่นมาก เพราะตอนนั้นอยู่ ป.6 กำลังจะได้เรียนคอมพิวเตอร์ครั้งแรกในชีวิต แต่มีโครงการแบบนี้เกิดขึ้นก่อน ผมเลยใช้คอมเป็นตอน ม.4 น่ะครับ สมัยนี้มันยุคไอทีแล้วครับ ปลูกฝังแต่เด็กไม่เสียหายครับ เพราะเจ๊งเยอะกว่านี้ก็มีมาแล้ว พันกว่าล้านบาทถ้าอะไรจะดีขึ้นบ้าง ผมว่าก็ไม่น่าเสียหายนะครับ ลองดูก่อนก็ได้ครับ
ถ้ามันดีอย่างนั้นก็ดีซิ ผมนั่งดู เค้า ทำ สือ โครงการนี้ มันไม่ใช้แบบนั้นนะซิ
ม.1 ไม่ได้หรอกครับ ที่จะเป็นไปได้คงเป็น ป.4 แทน ป.1
ผมอยู่ต่างจังหวัด เขต อ.เมือง มีโรงเรียนที่มีม.1-ม.6 เพียง 4 โรงเรียน
ส่วนที่เหลือเป็นโรงเรียนระดับ ป.1-ป.6
ส่วนการเสนอความคิดมันก็เป็นแง่มุมที่ดีครับ
ปัญหาที่พูดกัน นักวิชาการคงจะคิดก่อนพวกเราๆ ท่านๆ พูดกัน
ในความคิดของผมมันคงจะมีพร้อมกับเงื่อนไขเยอะแยะ หรือคู่มือหลายร้อยหน้า
แจก ป.1 = พัง
ราคาเครื่อง 6000 ค่าซ่อมแซมทุกเดือนอีกไม่รู้เท่าไหร่ พระเจ้า
+1 ปกติคอมตาม รร. พังก็ซ่อมกันไม่ค่อยจะเป็นอยู่แล้ว
จึงต้องแก้โดยการ ใช้เครื่องเดิมให้มันพังอยู่นั่นแหล่ะ เดี๋ยวซื้อมาใหม่ก็พังอีก? มีปัญหาทีก็ "ลงวินโดวส์ใหม่" หรือควรจะแก้โดยการไปแก้ที่ต้นเหตุ เช่น ให้ความรู้ครูอาจารย์ หรือ ผู้ดูแลห้องคอมฯ (เหมือนบรรณารักษ์) ถ้าอะไรเจ๊ง เพราะคนดูแลรับผิดชอบไม่ใส่ใจก็ลงโทษคนดูแลไปเลย และยิ่งเป็นการแก้ปัญหาการระบาดของไวรัสที่มาจากสถานศึกษาได้อย่างดีอีกด้วย แบบนี้ดีกว่าไหมครับ?
เช่นเดียวกับกรณีนี้ ถ้าเอาเหตุผลนี้มาใช้มันดูเป็นการผลักภาระที่จะต้องเรียนรู้ของครู อาจารย์ ผอ. หรือ สถานศึกษา ที่จะต้องพยายามปรับตัว หรือหามาตรการมาใช้ให้ได้ผลมากกว่านะ
ถ้าเป็น PC ยังจะพอควบคุมเรื่องพวกนี้ได้อยู่ครับ และเรื่องรับผิดชอบเนี่ย ถ้าเกิดว่าหายขึ้นมาล่ะก็โดนตั้งกรรมการสอบหรือไม่ก็ครูเองแหละที่จะเป็นคนเจียดเงินแทนเด็กครับ นี่ล่ะผลักภาระของแท้เลย แต่ถ้ามันเสียขึ้นมาจะส่งที่ไหน(สพท.?) กว่าจะได้คืนอีกล่ะ?
ถ้าเป็นเป็น AIO PC+Touch Screen มันยังพอจะซ่อมได้และก็ไม่ต้องมากังวลเรื่องหายอีกครับ
ใช่ครับ ผมโต้แย้งความเห็นบนเรื่อง PC
ส่วนเรื่องรับผิดชอบอธิบายตามด้านล่างเลยครับ :)
เพื่อนผมที่เป็นครูอยู่ที่ระยองบอกว่า มีงบสำหรับระบบสารสนเทศของปี 2555 ตั้งไว้ให้ 5,000 บาท
คุณคิดว่าเพียงพอไหมสำหรับการดูแลรักษาคอมทั้งโรงเรียน ?
นั่นคือสิ่งที่ต้องแก้ไงครับ - -'
ถ้าคุยกันแบบนี้ คุณก็อ้างได้ตลอดว่า โรงเรียนมีครูคนเดียวจะทำยังไง เครื่องมีไม่พอจะทำยังไง (เด็กแย่งกัน) internet หรืออะไรอื่น ๆ เข้าไม่ถึงทำยังไง ฯลฯ อยากให้มองที่เหตุผลที่ผมอธิบายมากกว่านะครับ
ที่ผมบอกไปด้านบน ผมไม่ได้บอกเลยว่า "ห้ามเปลี่ยนอะไรเลย" คุณทำงานอยู่ทุกวันนี้ พอมีอะไรใหม่มา คุณก็ทำมันเหมือนเดิมอย่างนั้นหรือ? แบบนั้นเค้าเรียกว่า "การไม่พัฒนา" ไงครับ และถ้าจะให้ไปคาดหวังว่า มันจะไปใช้กับระบบเดิม ๆ ได้เสมอ โดยไม่ติดปัญหา มันยากครับ
กรณีนี้นะครับ
ประเด็นที่ 1 ผมโต้แย้งคำพูดที่ว่า
ดังนั้น เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับงบเพียงอย่างเดียว อย่างที่คุณอ้างมา (นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่บอกว่าเป็นการผลักภาระครับ) ถ้าแค่เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้งาน การดูแลรักษา ผมถามก่อนว่าเรื่องพวกนี้ต้องการการเรียนรู้ระดับไหน? ต้องการให้มีการอบรมเป็นพิเศษ 3 วัน - 7 วัน โดยสถาบันอบรมโดยเฉพาะหรือเปล่า? มันสามารถเรียนรู้กันเองได้นี่ครับ (อาจต้องใช้เวลาบ้าง) และยุคสมัยนี้ ครู อาจารย์ เองก็ต้องปรับตัวเหมือนกันครับ มันก็เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้เพื่อจะใช้งานได้เป็นเองอยู่แล้ว จริง ๆ ถ้าคิดในแง่บริษัทเอกชนทั่วไป คนรุ่นเก่า ๆ ถ้าไม่พยายามถีบตัวเองขึ้นมาให้รู้เหมือนเด็กรุ่นใหม่ก็อาจจะอยู่ไม่ได้ด้วยซ้ำ ซึ่งแต่ละโรงเรียนก็ต้องพยายามสรรหาคนที่มีความสามารถในองค์กรตัวเอง ที่จะมาทำหน้าที่ดูแลตรงนี้ หรือรับคนนอกก็ขึ้นอยู่กับวิธีการที่โรงเรียนจะจัดการไม่ใช่หรือครับ?
ที่สำคัญคือ หากผมเป็นคนให้งบ ผมจะไม่ให้งบ หรือให้อุปกรณ์กับโรงเรียนที่ใช้เงินใช้ของของผมไม่เป็น เอาไปใช้ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ แต่ถ้าอยากได้ก็แสดงฝีมือมาแล้วมารับไปจะดีกว่าด้วยซ้ำ
ประเด็นที่ 2 เรื่องจำนวนเงิน
ผมไม่แน่ใจว่าจำนวนเงินที่คุณยกขึ้นมานั้น เป็นจำนวนเงินที่เกิดจากอะไร เพราะคุณใช้คำว่า "งบ"
-ถ้าเกิดจากส่วนกลางจัดสรรให้ไป ก็ต้องไปแก้ที่จุดนั้น ๆ
-ถ้าเกิดจากโรงเรียนจัดสรรเอง อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญที่เค้ามองเห็น (กับจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้รับ) ซึ่งหากเป็นอย่างนั้น "ก็ต้องแก้" ที่ต้นเหตุ ไม่ใช่บอกว่า "งบน้อย ๆ" แล้วไม่ทำอะไรเลย!
ส่วนหนึ่งโรงเรียนของเพื่อนคุณเป็นโรงเรียนระดับไหนครับ? ผมเห็นหลายโรงเรียนที่อยู่ในเมืองก็มีเรียกเก็บกับผู้ปกครองพิเศษด้านคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว? ถ้าโรงเรียนเพื่อคุณมีเหมือนกันแล้วมันไปไหน? แต่ถ้าไม่มีมันก็เป็นทางออกหนึ่งที่หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ว่านั้นได้ครับ
ประเด็นที่ 3 หากพูดเรื่องความรับผิดชอบ
ความหมายของผม การที่ผมบอกว่าคนดูแลของสถานศึกษานั้นต้องรับผิดชอบ ไม่ได้บอกว่าอะไรเสียขึ้นมา คนนั้นต้องเป็นคนเสียเงินซื้อมาเปลี่ยนหรืออะไร แต่เค้ามีหน้าที่จัดการ วางแผน ดูแล หรือทำยังไงก็ได้ จากงบที่มี จากอุปกรณ์ที่มี จากความรู้ที่มี เพื่อให้ระบบตรงนั้นสามารถดำเนินไปได้อย่างดีที่สุด ซึ่งนอกจากดูแลเอง บางครั้งก็ต้อง สร้างกฎระเบียบ สร้างข้อบังคับ สร้างข้อตกลง หาตัวช่วยต่าง ๆ หรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อจะมาทำให้ระบบนั้น ๆ มันสำเร็จ (ผมขออธิบายคร่าว ๆ แค่นี้แล้วกันนะครับ)
สรุปคือ การแก้ไขที่ผมเสนอ หมายถึงให้แก้ไขที่ต้นเหตุ งบน้อย->เพิ่มงบ/หาเพิ่ม คนไม่รู้->เรียนรู้/สอนซะ ฯลฯ แต่ไม่ใช่นั่งอยู่เฉย ๆ แล้วบอกว่า ไม่ดี ไม่ได้ ไม่เอา ไม่เป็น แล้วก็บอกว่าให้ไปเค้าก็ทำไม่เป็น ดูแลไม่ได้ แบบนั้นปัญหามันแก้ไม่ได้หรอกครับ
ผมว่ามันเป็นโครงการที่ควรสนับสนุนนะครับ ถ้าเค้าจะนำไปใช้กับเด็ก ม.1 ไม่ใช่เด็ก ป.1
ป1 พิมพ์ศัพน์ไทยได้กี่ตัวไม่รู้ แล้วจะเอามาทำอะไรคับ
ตอนนู้มีบริษัทที่พร้อมจะผลิตคอนเท้นประมาณ 20 บริษัท
คงจะมีทั้ง หนังสือ และ เกมส์ฝึกสมอง วัด IQ นิทาน
เพลง และมิเดียเสียง ในนั้นด้วย
ตอนนี้ มีการจ้างผลิต สือที่ .....(รู้แต่บอกไม่ได้)
อยากบอก รัฐบาลว่า ผมเลือกพรรคพวกคุณมาตลอด จนมาถึง นโยบายรอบนี้รับไม่ได้ เลิก
ช่วยทำงานที่มีคุณภาพอย่า ทำเพียงแต่ สักว่าทำให้มีผลงานที่ไม่เกิดประโยชน์
ต่อให้เปลี่ยนพรรคแล้วมันจะดีขึ้นเหรอครับ .. เอาเข้าจริงเรายังไม่รู้(แถมไม่ได้สนใจจะหาด้วย)กันเลยด้วยซ้ำว่าการพัฒนาการความสามารถของเด็กในแต่ระดับจนถึงขั้นสุดยอดมันต้องมีอะไรบ้าง ทุกวันนี้ลองผิดลองถูกอยู่หรือป่าวก็ไม่รู้ครับ
ไร้ประโยชน์จัง ... ป.1 เอาไรคิด - -"
เห็นด้วยที่ใช้กับ ป.1 มากกว่า ม.1
เด็กวัยมัธยมมันเริ่มมีกิเลศแบบวัยรุ่น อาจจะไม่ได้ใช้ในทางที่มีประโยชน์จริงๆ
เด็กประถมยังใสๆ คงนำไปใช้ได้ดีกว่า
แต่ผมว่า 6000 แพงไปนะ
6000 อาจเป็นราคาที่ apple เคยเข้าไปคุยเอาไว้นะครับ !
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
นโยบายนี้มันกินง่ายดี มากกว่ามั้ง
ของรัฐเครื่องละหกพัน แต่ของเอกชนเครื่องละสามพัน รัฐซื้อของแพงเสมอ 55
เอกชนอาจจะต้องออกเองบางส่วนรึเปล่าครับผม อันนี้ผมไม่แน่ใจนะ แต่มันน่าจะเป็นอย่างนั้น
6000 นี่อาจจะรวมค่า Content แล้ว
น่าจะหมายถึง software สำหรับจัดการ content มากกว่านะครับ
ถ้าให้เอกชนจัดการ content เองมันจะเกิดการผูกขาดในอนาคตได้นะครับ
ก็คงเป็นเช่นนั้น ก็เอกชนเค้าทำธุรกิจเพื่อเลี้ยงตัวนี่ครับ
ผมว่า 2 ความเห็นนี้เข้าใจผิดแล้วนะ
รัฐ หมายถึง โรงเรียนรัฐ
เอกชน หมายถึง โรงเรียนเอกชน
มันอาจมีรูปแบบการใช้งานที่ต่างจากที่เราใช้กันนะครับ ตอนผมเรียนคอมครั้งแรกก็อนุบาล ไม่รู้ตอนนั้นเค้ามีคนว่าอะไรป่าว
ผมว่าเราน่าจะรอดูก่อนนะ
จริงๆ ผมว่าเอางบส่วนนี้ไปลงทุนกับเนื้อหาให้เรียบร้อยก่อนเถอะครับ เอาแบบให้มีทั้งเนื้อหาในแต่ละตำราเรียน แบบฝึกหัด และเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่อยู่นอกตำราเรียน(แต่จำเป็นต้องเรียน) พร้อมกับปรับปรุงเว็บต่างๆ ให้มันเข้าได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ IE ด้วยเถอะ ไม่งั้นเดี๋ยวต้องมาตาม Microsoft ให้พอร์ต IE มาลงแท็บเล็ตอีก
อิ่มอร่อยเหาะ
ผมก็คิดแบบนั้นนะ ถ้ามองตามหลักเศรษฐศาสตร์ คิดว่าคงเป็นเพราะมีคนเรียน ประถม เยอะกว่าคนที่เรียนมัธยม
เมื่อเพิ่มจำนวนได้แล้ว ผลรวมส่วนต่างต่อเครื่องจึงมีมากขึ้น............:(
ผมว่าน่าจะเพิ่มเงินเดือนให้อาชีพครูเป็นอาชีพที่ มีแต่คนเก่งๆแย่งกันทำ
เป็นอาชีพติดท็อปเท็นเงินเดือนสูงเหมือนที่ญี่ปุ่นก่อน น่าจะดีกว่า ต้องยอมรับความจริงว่า คุณภาพเฉลี่ยของอาชีพครูในปัจจุบันห่างไกลจากประเทศอื่นเยอะมาก
เพิ่มไปก็ไม่ได้ประโยชน์ครับ เพราะครูคนนึงโดนเรียกไป สพท. เป็นว่าเล่น, ทำนวัตกรรม, อ.3, อบรม,สัมนา, นัก"วิชาเกิน"ก็เปลี่ยนหลักสูตรไปๆมาๆอีก
มันจะมีเวลาไปสอนเด็กเรอะ?
โอ่ยย โดนใจ
เห็นด้วยครับ ผมลูกครู พ่อกับแม่ผมเป็นครูทั้งคู่เลยทราบดี
แม่ผมทำงาน เป็นครูมาจนอายุ 55 ต้องดิ้นรนมากมาย ทั้ง คศ3 ทำโน่น ทำนี่ ยังกิจกรรมโน่นนี่อีก เงินเดือนเพิ่งมามาได้ 5 หมื่นปลายๆ ตอนอีกไม่กี่ปีเกษียรแล้ว
ครูไทยทำงาน 20 ปี เงินเดือนจึงจะเท่ากับ ทำงานบริษัท สัก 2 ปี
อันนี้ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ O_o! เปิดโลกให้ผมเลย ขอบคุณมากครับ
แปลว่า จริงๆแล้วเป็นทั้ง "ระบบ" เลยสินะ :'( โอยเศร้าใจ
+1 พ่อแม่เป็นครูเช่นกัน
แม่ผมก็เป็นครู อายุ 55 สอนเด็กประถม จะเกษียณแล้วยังต้องมานั่งพิมพ์เอกสาร หลังขดหลังแข็ง กว่าผมจะสอนแกใช้คอมเป็นก็เป็นเดือนแล้วครับ
อีกความจริงที่ผมสัมผัสได้ คือ เพื่อนรุ่นเดียวกันกับผมส่วนหนึ่ง ไปเรียนต่อครู(จาก Com Sci ไปเรียนต่อครูหลักสูตรต่อเนื่อง) และสอบบรรจุครู เหตุเพราะว่าไม่มีงานทำหรือความสามารถไม่พอที่จะทำงานในสายคอมพิวเตอร์หรือ IT โดยตรง การสอบบบรรจุครูจึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ดูดีที่สุด เพราะได้บรรจุเป็นข้าราชการด้วย...ครูส่วนนึงที่มาจากกลุ่มคนที่กล่าวมานี้ คนที่ไม่มีใจรักในอาชีพครู และความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะไปสอนเด็กให้รู้หรือเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง...จึงเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้บุคลากรครู มีคุณภาพลดลงในปัจจุบัน...ตามความคิดของผม
ปล. แต่คนกลุ่มนี้บางคน พอไปเป็นครูกลับสอนเด็กเก่ง ดูมีความเป็นครูจริงๆ และบางคนอยากเป็นครูจากใจจริง ก็มีเหมือนกัน..แต่น้อยเหลือเกินครับ
ที่ผมเห็นหนักกว่านั้นอีกครับ T^T เจอหลายคนที่ เลือกคณะนี้ไว้ก่อนกันเหนียว อย่างน้อยก็มีที่เรียน
ถ้า"ใจ"ไม่ไปด้วย แล้วจะทำงานออกมาเป็นยังไงล่ะเนี่ย :'(
+1 เพื่อนผมก็มี ติดเกม จบมาแบบเกือบไม่จบ แล้วเรียนต่อครู เพราะเอกชนหายาก+เค้าไม่รับ ตอนนี้กำลังไล่สอบตามโรงเรียนเขตชนบทอยู่
คุณกล่าวหาคนอื่นลอยๆ แบบนี้ ถือว่าคอมเมนต์ไม่สร้างสรรค์นะครับ แนะนำให้วิจารณ์ตัวนโยบายว่าเหมาะสมแค่ไหน ควรทำอย่างไรบ้าง อย่างนี้ดีกว่าครับ
รอบหน้าเจออีกแบนนะครับ
Sony Reader Wi-Fi ข่าวข้างล่างยังถูกกว่าอีก
ถ้าใช้กับเด็ก ป.1 จริงควรออกแบบให้หนักไปทางเอาไว้อ่าน ส่วนการจดบันทึกยังควรให้จดลงสมุดอยู่เหมือนเดิมเพราะเป็นช่วงพัฒนาการอ่านเขียนอยู่ ถ้าให้ใช้ Tablet เต็มตัวมีหวังเด็กโตขึ้นมาเขียนกันไม่เป็นแน่ๆ
Kindle Fire น่าจะเหมาะ
ทำไมผมคิดต่างกับคนอื่นจัง = =
ผมคิดว่าเด็ก ป.1 นี่หล่ะเหมาะแล้วที่จะพัฒนาทักษะด้านต่างๆ
+1 ครับ ตอนนี้อยากเห็นตัวเครื่องก่อนว่าเป็นอย่างไรมีอะไรหุ้ม หรือกันกระแทกรึเปล่า
ที่สำคัญคือระบบที่จะใช้ในการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไร(ตรงนี้ผมตื่นเต้นน่ะผมชอบอะไรที่มันส่งเสริมการพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ)
พอเห็นภาพชัดกว่านี้แล้วผมจะวิจารณ์อีกที
สุดท้ายก็ขอให้ทำ ให้ดีที่สุดล่ะกันครับอนาคตของชาติทั้งนั้น
จริงๆ ก็ไม่เสียหายอะไรมาก เค้าอุสาห์เจียดงบประมาณมาเล็กน้อยแล้ว (อาจจะได้มากกว่าเสีย)
ลองพิจารณาดู ราคาต่อเครื่องก็ถือว่าไม่แพง .. ราคานี้ถ้าของดีด้วย เอามาขายให้ประชาชนบ้างน่าจะดี บางทีเด็ก ป2,3,.. ยันมัธยม ยันอุดมศึกษา อาจจะรองบประมาณของรัฐไม่ไหวก็เป็นได้ .. จัดหากันเองเลย
ทำไมไม่มีใครพูดถึงเอาเงินมาพัตนาหนังสือเรียนให้มันมีประสิทธิภาพมากกว่านี้...
http://9rockky.exteen.com/20110115/entry
เค้าก็กำลังเสริม interactive เข้าไปนะครับ สำหรับเด็ก ป.1 นี่ครับ .. interactive จะช่วยดึงดูดเด็กให้เข้ามาสนใจหนังสือ/ความรู้ มากยิ่งขึ้น .. สมองเด็กจะตื่นตัวมากขึ้นด้วย
ทำไมหลายคนคอมเม้นเหมือนเด็ก ป.1 ประเทศเราดูโง่เง่าจังเลยนะ
+1 เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกแต่จริงครับ คือผมได้ไปดูการเรียนการสอนใน โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองพัทยาซึ่งตอนแรกก็คิดว่าจะเป็นแค่การใช้โปรแกรมวาดภาพระบายสีส่งเสริมจินตนาการธรรมดา
แต่ที่ผมเห็นคือเด็กน่าจะประมาณ ป.2 ป.3 นี่หล่ะครับแต่เด็กๆกำลังหัดใช้โปรแกรม Photoshop กับ illustrator ครับ !!!!!!!!!!!! (โอ้แม่เจ้าผมจำได้ว่ากว่าจะได้เรียน illustrator คือตอนที่ผมเรียน ปวส)
ซึ่งมันทำให้ผมแปลกใจเหมือนกันครับว่าเด็กนี่เค้าสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตัวเอง ได้ขนาดนี้เลยหรอ
เรื่องนี้ผมอยากให้รัฐ ศึกษาให้มากครับ ไม่ต้องบ้าแล้วเคลียดเหมือนญี่ปุ่น แค่กระตุ้นเอาความสามารถจริงๆของเด็กไทยออกมาได้ซัก 70% ชาติก็น่าจะมีอนาคตที่ดีกว่านี้แล้วครับ
คนส่วนใหญ่คิดโดยเอาตัวเองเป็นที่ตั้งครับ
ถ้าพูดถึงสมัยก่อนนั้นผมเองก็ไม่ได้จับหรอก Photoshop
แต่สมัยนี้ น้องชายคนเล็กผม อยู่ ป.4 ผมลองสอนใช้ Photoshop ดู ตอนนี้คล่องแล้ว
เด็ก เรียนรู้อะไรได้ดีมากกว่าที่เราคิดครับ มันอยู่ที่เราจะเอามาป้อนให้เขามากเท่าไหร่
ดีครับที่ได้มีโอกาสไปเห็นอย่างนั้น .. ไม่เหมือนผมครับ หลายปีก่อนดันอยากลองครับ ดันไปซื้อหนังสือ photoshop มาลองทำดู พอลองทำมันก็ทำได้หมดเลยครับตามหนังสือ .. พอจบเล่มปุ๊บ อึ้งแดกเลยครับ ออกแบบอะไรไม่ได้ครับได้แต่แก้ไขภาพเล็กๆน้อยๆ .. ตอนนั้นก็เลยเริ่มเก็ทอะไรบางอย่างได้ครับ
อันนี้ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนะ
ผมเป็นกลุ่มที่มาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์เร็วมาก (ป. 3 มั้ง โรงเรียนดังก็เลยชอบจัดอะไรเร็วๆ) ตามความรู้สึกผมในตอนนั้นคือค่อนข้างไร้ประโยชน์ครับเพราะว่ามักจะสอนอะไรที่มันเฉพาะๆเกินไป แล้วเด็กก็ไม่ได้มีพลังที่จะไปค้นคว้าเพิ่ม (แถมอ่อนอังกฤษอีก) ก็เลยมักจะจบตรงนั้น
แถมพูดตรงๆ เด็กก็ไม่ค่อยชอบอะไรหรอก ส่วนใหญ่ก็นั่งทำตามตัวอย่างเท่านั้นแหละ ได้ประโยชน์ ? คงประมาณ 2-3 คนจาก 60คนมั้ง แต่ว่าถ้าได้แค่นั้นเราน่าจะโฟกัสแค่สองสามคนแล้วเน้นดีๆเลยดีกว่าแทนที่จะสอนทุกคนแล้วเอาทุนไปเฉลี่ยๆจนได้แค่สอนอะไรเบสิกๆ
ผมหมายถึงการพัฒนาการใช้ทักษะในด้านต่างๆของเด็กหน่ะครับ ว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีในการเรียนรู้และตอบรับสิ่งใหม่ๆ
การพัฒนา IQ EQ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบจึงสามารถทำได้ครับ คือผมเห็นบางท่านบอกว่าเด็กจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากของพวกนี้ ผมจึงมาแย้งตรงนี้น่ะครับ
ราคานี้ น่าจะเป็น Android มากกว่า iOS
ส่วนตัวผมว่าให้เด็ก ป.1 ก็น่าสนใจดีนะครับ ไม่มีใครรู้แน่นอนว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร เด็กป.1 อาจจะใช้ประโยชน์จากแทปเลตได้น้อยกว่าเด็ก ม.1 แต่ในระยะยาวอาจเป็นประโยชน์ต่อเด็กมากกว่าในด้านของการมีพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่แข็งแรง (เหมือนกับให้เริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ป.1 ย่อมดีกว่าเริ่มเรียนตอนม.1) และอีกอย่างหนึ่งคือเด็กป.1 น่าจะสอนง่าย และเชื่อฟังครูอาจารย์มากกว่าเด็ก ม.1 การสั่งสอนให้เด็กใช้อินเทอเน็ตอย่างถูกต้องและมีภูมิคุ้มกัน และรวมไปถึงการปลูกฝังนิสัยให้เด็กมีนิสัยในการแสวงหาความรู้(ที่มีประโยชน์)ด้วยตนเอง สิ่งเหล่านี้ผมเชื่อว่านำไปสอนเด็กตั้งแต่ยังเล็กจะได้ผลดีกว่าสอนเด็กโตมาก (ถ้าเอาไปสอนเด็กม.1 มันคงฟังเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา)
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือครูผู้สอน กลัวแต่ว่าทุ่มงบประมาณลงไปที่เทคโนโลยี แต่ไม่พัฒนาครูให้ใช้เทคโนโลยีเป็นก็คงไม่มีประโยชน์
สิ่งที่ผมกังวลก็คือ เทคโนโลยีที่สะดวกสะบาย ถ้าครูผู้สอนใช้ไม่ถูกทาง จะทำให้เกิดการสอนแบบ "มักง่าย" ได้ เช่น การให้เด็กเรียนรู้ผ่านทางแทปเลตอย่างเดียว หรือการพึ่งพาสื่อการสอนสำเร็จรูปมากเกินไป ฯลฯ
ที่มหาลัยที่ผมเรียน ห้องเรียนมีคอมพิวเตอร์และโปรเจคเตอร์ให้อาจารย์ใช้ทุกห้อง แต่สิ่งที่ผมเจอก็คืออาจารย์ใช้มันเป็น "เครื่องอำนวยความสะดวกในการสอนเพื่อให้ตัวเองสอนสบายยิ่งขึ้น" มากกว่าจะใช้เป็น "เครื่อมือประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจมากขึ้น"
ตัวอย่างที่ผมเจอคือ อาจารย์เอาหนังสือเรียน (ที่นักเรียนทุกคนมีอยู่กับตัว) ฉายขึ้นจอ แล้วก็พูดตามหนังสือ หรือไม่ก็พิมพ์เป็นไสลด์ที่มีแต่ตัวหนังสือที่ไม่ได้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอะไรมากขึ้น เวลาสอนทำโจทย์คณิตศาสตร์ แทนที่จะเขียนขึ้นกระดานเพื่อแสดงวิธีคิดแต่ละขั้นตอน กลับเอาเฉลยที่ทำเสร็จแล้วขึ้นจอ แล้วก็ยืนพูดอธิบาย
เห็นด้วยครับ บางโรงเรียนมีเทคโนโลยีที่ดี แต่ก็ไม่มีใครใช้ ยกตัวอย่างโรงเรียนเรียนระดับมัธยม แห่งนึงในจังหวัดโซนภาคเหนือตอนล่าง ที่ลงทุนกับระบบ Network และ Video Conference ไปหลายล้านกับระบบการสอนแบบออนไลน์ (ไม่รู้เกี่ยวข้องกับโครงการใดหรือเปล่า) แต่ถูกนำมาใช้งานจริงน้อยมาก เพราะถูกต่อต้านจากคุณครูรุ่นเก่าๆว่าใช้งานยาก จึงกลายเป็นการลงทุนทางเทคโนโลยีที่ไม่เกิดประโยชน์ไปเลย
จริงๆ การใช้เทคโนโลยีช่วยสอนนั้นดีอยู่แล้ว กลัวก็แต่คนใช้ (ครู) นี้แหละครับ จะไม่ยอมใช้กัน ผมไม่ได้ว่าครูทุกคนนะ แต่เผอิญเคยทำงานในลักษณะกับ รร. ประถมมา พวกครูที่มีอายุนี้แหละตัวดี คนพวกนี้มักมองว่า เขาสอนแบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว ชอบหาเรื่องยุ่งยากมาให้พวกเขา
ผมตอบแบบสั้นๆ ละกันครับ
เรื่องการเอาไอที (ไม่ว่าจะโน้ตบุ๊กหรือแท็บเล็ต) มาใช้กับการศึกษา มันจะต้องกลับวิธีคิดเรื่องการศึกษาใหม่หมด และปาความทรงจำสมัยพวกเราๆ เป็นนักเรียนทิ้งไปหมด นั่นคือ นักเรียนจะเป็น "คนสร้าง" การศึกษาขึ้นมาเองด้วยเครื่องมือที่มอบให้ ไม่ใช่ว่าเอาแท็บเล็ตมาเป็นเครื่องอ่านเนื้อหาแทนหนังสือเรียน จุดต่างของมันคือโน้ตบุ๊ก/แท็บเล็ตเอื้อต่อการสร้างเนื้อหาโดยตัวผู้เรียนได้ง่ายกว่าหนังสือมาก (ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของซอฟต์แวร์ที่ต้องเตรียมเอาไว้รอ)
แบบละเอียดลองหาคำว่า constructionism ดูครับ
ถ้าให้มีอาสามัครไปสอนจะสมัครไปสอน
(ซ้ำข้างล่างครับ)
เตรียมทำ content ไว้ดีกว่าครับ .. ลองนับจำนวน customer ดูสิครับ และอีกอย่างโปรเจ็คนี้เพิ่งเริ่มต้นนะครับลองคิดดูว่าถ้าครั้งนี้เวิร์คครั้งถัดไปจะจัดงบอีกเท่าไร
จะ ป. อะไรก็เกิดประโยชน์ทั้งนั้นแหละครับ เว้นแต่ว่า มี hardware แต่ไม่มี peopleware นี่สิคับ จะทำอย่างไร อัตราบรรจุครูก็น้อย แล้วครูประถมส่วนใหญ่ก็รับแต่เอกอื่นๆ ไม่มีเอกทางด้านเทคโนโลยีโดยตรง ถึงคุณจะบอกว่ามีงบอบรมการใช้ให้ครู แต่คุณลองสำรวจหรือยังครับว่าครูประถมส่วนใหญ่อายุเท่าไร ส่วนครูสาวๆ หนุ่มๆ ที่จบออกมาก็มุ่งแต่จะไปสอนที่ ร.ร. มัธยม สาเหตุก็เรื่องเดิมๆ ที่นักการเมืองมองข้ามนั่นก็คือ ศักดิ์ศรี ที่ทุกคนมองว่าครูมัธยมมีศักดิ์และศรีที่มากกว่าครูประถม
ผมว่า เอางบประมาณการซื้ออุปกรณ์พวกนี้ ไปทำอย่างอื่นจะดีกว่าไหม เช่น ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ ร.ร. , คิดค้นพัฒนาโปรแกรมสร้างสื่อที่ง่ายสำหรับครู ฯลฯ
** เป็นเพียงความคิดเห็นของคนหนุ่มในวงการการศึกษาเท่านั้น ^^
แต่ รร. ประถมที่ผมเจอมาส่วนใหญ่ กลับเจอผู้บริการหัวโบราณ ไม่ยอมรับการ ปป. ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน ตกลงเลยไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่ที่ครูหนุ่มสาวไม่อยากสอน รร. ประถม
ป.1 จะเอามันกลับถึงบ้านอย่าปลอดภัยรึปล่าว แต่ถ้าแจกให้เป็นสมบัติของโรงเรียน ใช้วนกันไปทุกๆปีก็ว่าไปอย่างเด็กทำพังผู้ปกคลองต้องจ่ายค่าซ้อม
อย่างงี้ควรจะเสนอไปว่า บ.ที่ประมูลได้ต้องทำประกันมาให้ด้วย ตลอดอายุการใช้งานอาจจะ 3-5 ปี ซึ่งควรจะรับประกันตั้งแต่เสียจนของหายด้วยน่าจะดี คล้ายๆกับ 3-plus ของ powerbuy
ถ้าตามเรื่องโครงการ OLPC จะพบว่ามันกลับกันเลยครับ คือเด็กจะรักถนอมอุปกรณ์ของตัวเองยิ่งชีวิต เพราะเขารู้สึกว่าเป็นของของเขาเอง
ในขณะที่อุปกรณ์ของโรงเรียนไม่มีใครเป็นเจ้าของจริงๆ สภาพก็ทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว (และแท็บเล็ตของไทยก็จะใช้แนวทางนี้)
+1
เสริมครับ ตัวอย่างที่ชัดที่สุดคือโต๊ะเรียน
ไม่มีโต๊ะเรียนตัวไหน (โดยเฉพาะโต๊ะที่เป็นไม้เคลือบสีน้ำตาลมีร่องวางดินสอด้านบน) ไม่เปื้อนรอยลิควิด/ปากกาครับ
ผมว่ารอยพวกนั้นบ่งบอกความเป็น "เจ้าของ" นะครับ ฮ่าฮ่า
ให้เด็กเล็กหรือเด็กโต ยังไงก็ไม่พ้นเกมแน่นอน ฮ่าๆๆ รีบๆ เข็นโครงการออกมาไวๆ นะ
ไม่สนหรอกครับว่าจะเป็นเด็กป.1 หรือม.1 ผมสน content ที่จะนำมาใช้มากกว่า มันสำคัญกว่าฮาร์ดแวร์เยอะ ไม่เห็นมีใครพูดถึงเลย
คนทั่วไปที่จับตามองเห็นห่วงกันจังว่าจะแบรนด์ไหนเข้าวิน
รู้ได้ยังงัยว่าเค้าไม่สนกันครับ .. content นี่หละครับเค้ารอกันรอบนี้อยู่ครับ .. ฮาร์ดแวร์ประเทศเราไม่ได้เป็นคนผลิตได้เองนะครับ
ได้เห็น content ละยังครับ ถึงคิดว่ามันดี
ผมนึกว่าเราก้าวข้ามคำถามนี้ไปกันหมดแล้วนะครับ
เมืองไทยยังมีคนที่มีความสามารถอยู่อีกหลายคนครับ ผมเลยไม่ได้กังวลในความสามารถของคนไทยในการพัฒนา content ตรงนี้เลย .. ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็นเรื่องของการจัดการอันนั้นมันเกินกว่าที่ผมจะตอบให้ได้
ผมเคยคิดถึงเรื่อง content นะ แต่เอาเข้าจริงๆ พอคิดถึงสมัยตัวเองอยู่ ม.ต้น แล้วก็พบว่า
หนังสือก็อ่านเท่าที่อาจารย์บอกนั่นแหละ อ้างอิงแค่พอเป็นพิธี
ไป search หาเอา ได้มาแจ่มกว่าเยอะเลย
ตอนนั้น google ก็ยังไม่ดัง ใช้ทั้ง yahoo bigfoot
สมัยนั้น wikipedia ก็ยังไม่ดังเลยพึ่งเปิดมาใหม่ๆเลย
(....รู้หมดเลยว่าแก่แค่ไหน -.-)
สมัยนั้นก็มีแต่ภาษาอังกฤษ แต่ก็ได้ข้อมูลเยอะแยะ ได้ content มากมาย
แต่เทียบกับปัจจุบันแล้ว ผมว่าเด็กสมัยนี้ไปได้สวยกว่าเยอะเลยครับ มีตัวเลือกมากมาย โลก online ใหญ่ขึ้นเยอะ
ของแบบนี้ผมว่า ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งดีครับ
จินตนาการของเด็กยังมีอยู่มาก
ขนาดวอร์เรน บัฟเฟตต์ ยังเสียดายตัวเองเลย
ที่ไม่ได้เริ่มเล่นหุ้นตั้งแต่อายุ 5 ขวบ
ผมว่าก่อนจะทำ โครงการนี้ไปทำโครงการ data center ก่อนไม่ดีกว่าหรอครับ เอาหนังสือยังลง pdf ให้หมดอะไรแบบนี้ การสร้างสื่อการสอนแบบมัลติมีเดีย ขืนเอา tablet ตอนนี้มามันก็ยังไม่คุ้มค่าที่จะใช้เลย ถ้ามี data center แล้ว ทุกโรงเรียนสามารถเอาหนังสือมาอ่านได้โดยไม่ต้องซื้อหนังสือใหม่เลย ใช้ tablet แทนหนังงสือไปก็ยังดี แถมทุกโรงเรียนใช้ได้หมด ถ้าไม่ทำเดี๋ยวผมทำไปขายรัฐบาลเองนะ 555+
data center ไม่ต้องใหญ่ก็ได้มั่ง p2p ไม่ก็ squid เอา
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
preload มาตั้งแต่โรงงานก็ได้นี่ครับ
เด็กอนุบาลเดี๋ยวนี้ก็เล่น ipad ที่พ่อแม่ซื้อมา ได้แล้วนะครับ
อืมม .. สงสัย ป.1 อาจจะถือว่าช้าไปแล้ว
+1 จริงแฮะ
ถึงจะมีเด็กเล่นเกม แต่มันคงต้องมีเด็กเก๋า ประเภทกูเขียนโปรแกรมได้ เขียนเวบได้ มาอวดเพื่อนๆแหงเลย
ผมว่ตอนนี้รีบทำให้เด็กเข้าถึง internet น่าจะดีกว่าแฮะ
เรื่องแปลกคือ ผมพบว่าคนที่ซื้อ ipad ให้ลูกแล้ว(มักจะอนุบาล-ประถม) มักจะต่อต้านโครงการแจก tablet ให้ป.1
คนที่ผมเจออาจจะไม่เยอะ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่มีคนคิดคล้ายๆกันและมีรูปแบบเดียวกันนับสิบคน
หรือว่าลึกๆแล้วคือคิดว่าตัวเองลงทุน"จ่าย"ไปแล้ว ก็เลยไม่อยากให้ลูกคนอื่นๆได้ทัดเทียมตัวเอง"ฟรีๆ"?
อ่านจาก jusci มีเรื่องหนึ่งบอกว่า คนเราแม้จะได้ฟรีแต่ก็ไม่อยากให้คนที่แย่กว่าได้ฟรีเช่นเดียวกัน เพราะไม่อยากให้เท่าเทียมกัน (กลัวตัวเองกลายเป็นอันดับสุดท้่ายแทน)
เด็กอนุบาลเดี๋ยวนี้ใช้ iPad กันแล้วนะครับ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
เงินขนาดนี้ ปรับเงินเดือน ดึงดูดครูมีคุณภาพ เข้าระบบได้อีกโขเชียว
อาจารย์ดีๆ เก่าๆหลายท่านก็เกษียณไปเกือบหมด
อาจารย์ใหม่ๆ ก็ยังไม่พอจะทดแทนอาจารย์ที่เกษียณไป
อืม.. จังหวะนี้ ก็ตามเคย ขออิ่มก่อนสินะ
ส่วนตัว คิดว่าเด็ก ป.1 เล็กไป
ต่อไป คงมีพวกเด็กที่เขียนหนังสือไม่เก่ง เก่งแต่ใช้นิ้วจิ้มอย่างเดียว
อันนี้ผมคอมเมนต์เหมือนข้างบนว่า การกล่าวหาลอยๆ แบบนี้ ที่นี่เราไม่ยอมรับนะครับ
เขียนหนังสือไม่เก่งแล้วเป็นปัญหาต่อประเทศ? ทุกวันนี้เรายังเขียนหนังสือกันอยู่?
ทุกวันนี้เรายังต้องเขียนหนังสือครับ และก็คงต้องเป็นต่อไปอีกนาน เพราะไม่ใช่ทุกอย่างจะอยู่ในรูป Digital ได้หมด
การเขียนก็ยังสำคัญอยู่ครับ รวมถึงฝึกเขียน และคัดลายมือในวัยที่เหมาะสม ไม่ใช่สำคัญแต่การพิมพ์ หรือจิ้ม ของบางอย่าง อนุรักษ์ไว้ก็ดีนะครับ ถึงแม้การพิมพ์จะรวดเร็วและแพร่หลายกว่าในยุคปัจจุบัน
เรื่องเขียนนี่ถ้าให้คิดจริงๆแล้วอาจจะไม่ขนาดนั้นนะครับ
ผมเห็นหน่วยงานรัฐพยายาม digitalize กัน เต็มที่เลย paperless กันทุกกรมเลย
บางทีการมองไปยุคข้างหน้าน่าจะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนกว่าการมองเฉพาะปัจจุบันนะครับ
ต้องเขียนเป็นนี่คงจะใช่ แต่คงไม่ใช่คัดลายมือแล้วล่ะครับ
ผมชักไม่แน่ใจแล้วว่า สมัยนี้ยังมีอาจารย์ที่ยอมให้ส่งรายงานแบบเขียนด้วยมือรึเปล่า (ตั้งแต่สมัยผม)เห็นสั่งงานทีไรบอกขนาด font กันเลยทีเดียว
ผมเชื่อว่าตอนเด็กๆ(เกือบ)ทุกคนคงจะเคยผ่านการคัดลายมือมากันทั้งนั้นครับ มันเป็นการฝึกซ้อมในการเขียนหนังสือ เขียนสวยตอนแรกๆ เขียนให้ถูกต้อง ให้สมกับความเป็นไทย
แต่ก็ไม่ใช่ว่าโต จน ม.ต้น แล้วยังจะให้คัดลายมืออีก มันก็ไม่ใช่ครับ อันนั้นคือผ่านการเขียนเป็นมาแล้ว มีทักษะแล้ว อายุ อนุบาล - ประถมต้น ควรจะมีการฝึกเขียนบ้าง คัดลายมือบ้างมันก็เหมาะสมอยู่แล้วครับ เพราะยิ่่งนานวัน คนส่วนใหญ่ลายมือจะแย่ลงตามกาลเวลา (รวมถึงผมก็เช่นกัน)
จะไม่ให้เด็กคัดลายมือ เขียนตามอำเภอใจ เขียนหยาบๆ ไก่เขี่ย ตั้งแต่ ประถมต้น มันก็จะยังไงอยู่นะครับ :) หากเป็นเช่นนั้น ตอนโตจะเป็นเช่นไร ภาษาไทยจะเป็นเช่นไร หากมัวแต่คิดว่า เขียนหยาบๆ ไม่ต้องให้สวยมาก เขียนไม่สวยก็ไม่เป็นไร พิมพ์ได้ จิ้มได้
ผมก็ยังมองไม่เห็นปัญหาครับ
อย่างตัวคุณตอนนี้ คุณมีปัญหา อย่างไร กับ ชีวิต ที่เขียนหนังสือ ออกมาห่วย
การคัดลายมือเป็น "อุปสรรค" ต่อการเรียนผมมากครับ ทั้งที่ชอบอ่าน/เขียน แต่ถูกตัดสินคะแนนจากลายมือเรื่อยมา ผมเองใช้ตัวเองเป็นตัวอย่างเลยว่าการจมปลักกับการ "เขียน" นั้น "ทำลาย" โอกาสที่จะเรียนรู้
ทุกวันนี้งานผมอยู่กับการอ่านและเขียนจำนวนมหาศาล ภาษาไทยทั้งนั้น ผมบอกได้ว่าถ้าสมัยเด็กอาจารย์ไม่เสียเวลาไปกับการคัดลายมือ ผมจะมีความสุขกับการเรียน และมีโอกาสสูงที่จะเรียนรู้อะไรได้อีกมาก
lewcpe.com, @wasonliw
+1 ครับ
เจอวัยเด็กแบบนี้มาเหมือนกัน เคยโดนครูจับมานั่งคัดลายมือตอนเย็นวันละหลายชั่วโมงเป็นปีๆ เพราะจับดินสอไม่เหมือนเพื่อน จนกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เกลียดโรงเรียนไปเลย พอขึ้นมัธยมเลยโดดเรียนประจำ เอาเวลาอันมีค่ากลับมานั่งอ่านหนังสือที่บ้านดีกว่า
ปล.โลกแบบ paperless ที่อยู่ปัจจุบันนี้ ยอมรับเลยครับว่าทำให้ชีวิตง่ายขึ้น รับความรู้ได้เร็วขึ้น ถ้ากลับไปเป็นเด็กอีกครั้งได้ก็สนับสนุนโครงการนี้ เพราะอยากมี tablet ไว้หาความรู้ได้แบบ real-time คิดว่าคงทำให้ตอนโตขึ้นฉลาดกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ลายมือผมตั้งแต่สมัยเด็กๆ จนถึงเดี๋ยวนี้ไม่ต่างกันมากครับ
และจากที่ผมเห็นเพื่อนไปประกวดคัดลายมือหลายคนมันเป็น พรสวรรค์ หรือ นิสัย ส่วนตัวซะมากกว่า ที่ทำให้เขาเขียนสวย
และอาจารย์ก็จับคนพวกนั้นมาฝึก
และที่สำคัญ คุณอย่าหวังให้คนที่คิดจะเป็นหมอคัดลายมือเลยครับ เพราะอนาคตไม่ได้ใช้ลายมือสวยๆแน่ๆ
เอ่อ พูดถึงเรื่องคัดลายมือ
ตอนประถมผมเคยประกวดคัดลายมือได้ที่ 1 ของ รร. ครับ แต่ลายมือจริงๆที่ใช้นี่ทุเรศมาก แต่อ่านไม่ยากนะ (ตอนนั้นโดนบังคับ ใครไม่ประกวดต้องไปทำความสะอาด รร. ดันชนะซะงั้น)
เลยยังไม่เห็นเลยครับว่าเรียนคัดลายมือมีประโยชน์ยังไง สู้หัดเขียนให้มันอ่านง่าย รู้เรื่องจะดีกว่า บางคนลายมือสวยมาก แต่อ่านโคตรยาก
ถึงคุณ firstsmart คับ .. น้อยคนนักจะทราบถึง power of hand writing คับ .. คนบางคนสามารถแปลงเรื่งนี้เป็น memory ได้เลย .. ถ้าใครสงสัยว่ามันจะมีประโยชน์แค่ไหนก็ลองเทียบกับเ รื่อง pc หรือ smartphone ดู น่าเสีนดายคับ
ถ้างั้น ก็แปลว่า power of hand writing มันเป็น Special Skill ครับ ไม่ใช่ ทุกคนจะทำได้
มันมีประโยชน์ แต่ยังไม่มากพอจะค้านการมี Tablet ของเด็กๆ
การลดผู้มี Skills ด้านการเขียนลง แต่ได้ผู้มี Skill ด้าน IT เพิ่มขึ้น
ผมก็ยังมองว่ามันคุ้มค่า สำหรับโลกในอนาคต ซึ่งแนวโน้ม คือการก้าวไปสู่โลกแห่ง IT
ขอบคุณครับ
ใครจะไปค้านเรื่อง Tablet หละครับ .. คนที่ผมอ้างถึงเค้ายังใช้ Tablet เลยครับ (เค้ารู้วิธีใช้ประโยชน์จาก tablet ครับ)
ผมกลับคิดว่าการเขียนสำคัญ เรา (ประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่ geek จัดๆ) ยังเขียนกันอยู่ทุกวี่วัน
อย่างน้อยเป็นประโยชน์ พัฒนาสกิลการใช้ดินสอปากกาไปให้สร้างงานศิลปวาดๆเขียนๆล่ะครับ
twitter.com/djnoly
ผมสงสัยว่าถ้าไม่ใช่กระดาษแล้วจะ "เขียน" ไม่ได้เหรอ?
ผมว่าไอ้เครื่องอย่างแท็บเล็ทนี่มันออกแบบมาให้เขียนมากกว่าพิมพ์อีกนะ รู้จักกระดานชนวนมั้ยฮะ?
การเขียน ลงบน App แบบกระดานชนวน กับการเขียนลงกระดาษจริง มันต่างกันมากนะครับ ทั้งความรวดเร็วและการนำมาใช้งาน
เขียนได้ ดูดี ดู hi-tech แต่ อย่าลืมนะครับการเขียนลงบน tablets ไม่ใช่ว่าจะเร็วกว่านะครับ แล้วหากเป็นการเรียนการสอน เด็กขนาดนั่น เวลาสอนเด็กเขียน ลงบน hi-tech คิดว่าเด็กจะสนใจแต่การเขียนไหมครับ ผมเชื่อว่า สิ่งที่ทำให้เด็กวอกแวก เสียสมาธิจากการเรียน ย่อมมีมากกว่า (ไม่นับช่วงเวลาปล่อยให้เด็ก ใช้ความคิดสร้างสรรค์)
อย่าเอาประสบการณ์สมัยคุณเด็กๆ เมื่อหลายปีมาแล้ว มาจำกัดโอกาสของเด็กสมัยนี้สิครับ
นั่นสิครับถ้านับเฉพาะที่เกี่ยวกับการทำงาน ทุกวันนี้ผมก็ทำในคอมเกือบทั้งหมด ที่เขียนก็แค่โน้ตสื่อสารกับแพทย์ กับเซ็นต์ชื่อเป็นส่วนใหญ่ครับ
My Twitter
เขียนครับ อาจารย์คณะผมให้เขียนรายงานส่งอย่างเดียว ห้ามพิมพ์ เพราะกลัว Ctrl+C ครับ
เห็นมีคนบ่นเรื่องเด็กเล่นเกมส์กันเยอะจัง ผมล่ะสงสัยจริงๆ ว่าเล่นเกมส์แล้วมันเสียหายตรงไหนหว่า? ไม่ต้องพูดถึงเกมส์เพื่อการศึกษา (ซึ่งน่าจะเป็นแอพหลักๆ ของโครงการนี้อยู่แล้ว) เกมส์ธรรมดาๆ ดูง่ายๆ อย่าง Angry Birds หรือ Fruit Ninja ผมว่าก็ไม่ได้เริ่มจากไอเดียล้ำเลิศพิศดารอะไรเลย ผมว่านี้เป็นโอกาสดีที่เห็นรัฐบาลผลักดันโครงการที่จะส่งเสริมศักยภาพเด็กในอนาคตได้แน่ๆ นึกถึงสมัยตอนเราได้คอมเครื่องแรกสิครับ เราเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แถมเด็กสมัยนี้ก็ไวกับพวก gadget เหล่านี้มากๆ ด้วย เริ่มต้นตั้งแต่ป. 1 ก็น่าจะเหมาะสม เหมือนกับที่โรงเรียนสมัยนี้เริ่มต้นเรียนภาษาต่างประเทศหรือดนตรีคลาสสิคกันตั้งแต่ชั้นเล็กๆ นี่แหละ ได้ผลเร็วดีด้วย
แถมถ้ามองให้ไกลกว่านั้น นี่เป็นโอกาสของนักการศึกษาไทยที่จะได้ทดลองระบบการเรียนการสอนใหม่ๆ ผ่านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมถึงเป็นโอกาสของนักพัฒนาแอพและธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้วย ถ้าจะให้เอาคำพูดของอดีตนายกอภิสิทธิ์มาพูด (ที่ดูไม่ค่อยเห็นด้วยกับโครงการนี้เท่าไหร่ตอนหาเสียง) ผมว่านี่เป็น "Creative Economy" ชั้นดีเลยแหละครับ แถมรัฐเป็นผู้กระตุ้นการลงทุนด้วย
ทำ ดีกว่าไม่ทำ
แล้วปีหน้า เด้กป.1 อีกรุ่นนึงจะต้องซื้อหรือเปล่าครับ หรือให้เด็ก ป.1 แค่ปีนั้นๆปีเดียว
แจกให้แล้วมันจะใช้ได้กี่ปี ถึงมัธยมเลยหรือเปล่า แล้วถ้าหายสองครั้งใครรับผิดชอบ
รายละเอียดเยอะมากถ้าจะทำให้ได้ดี ผมกลัวอย่างเดียวทำแล้วไม่สุดแล้วยกเลิก!!!
ไปดูโครงการจักรยานยืมเรียนได้ครับ หายบ้าง เป็นซากในห้องเก็บของบ้าง เอาไปขายก็มี(เดือดร้อนยันฝ่ายปกครอง)
แท็บเบล็ตนี่คงไม่เหลือ ถึงบางคนปากจะบอกว่าบริหารจัดการกันเองสิอย่าให้หาย แต่สุดท้ายแล้วมันจะต่างอะไรกับห้อง sound lab กับที่ว่ามาตะกี๊ล่ะ?
ป.1 เป็น ม.1 ดีไหมอะ
สรุป กลัวหาย กลัวพัง กลัวเด็กเอาไปเล่นเกม กลัวๆๆๆๆๆ
ไม่ต้องทำอะไรเลยดีกว่า ง่ายดี ไม่โดนด่าด้วย
มีลูกผมก็อยากให้เขาได้ใช้นะครับ เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่จริงๆ อยากสอนลูกเองมากกว่า สอนแบบใกล้ชิดเรย เพราะเด็กๆ แรกเริ่มเขาจะเรียนรู้อะไรได้ดีมากๆ ส่วนตัวผมจบเอกอังกฤษมาครับ รู้สึกว่าจะเก่งกว่าอาจารย์ตามโรงเรียนซะอีกนะเพราะได้ใช้ภาษามานานหลายปีละ เป็นติวเตอร์มาด้วยสมัยมหาลัย (อันนี้ขอโทษอาจารย์หลายๆ ท่านนะครับ) แต่อยากพูดความจริงว่า คนจบเอกอังกฤษมาตรงๆ เก่งกว่าคนจบครุศาสตร์ เอกอังกฤษน่ะครับ
ประถมศึกษาเป็นอะไรที่สำคัญจริงๆ ครับ เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดทุกๆ วิชาเลย มัธยมก็สำคัญ แต่สูงกว่านั้นไม่ทราบแร้วครับ เพราะจบออกมา คนปริญญาตรี ก็เงินเดือนไม่ต่างจาก ชั้นอื่นๆ อยู่ดี อย่างนั้นเรียนให้รู้ไว้อย่างเดียว แร้วมาเป็นพ่อค้า แม่ค้าตามตลาดก็โอแร้วล่ะ เพราะทำงานประจำเงินเดือน เก้าพัน หมื่นกว่าบาท แต่เป็นพ่อค้า แม่ค้า ขายไม่ดีก็ได้ัวันละหลายตังค์อย่างน้อยก็เยอะกว่าค่าแรงขั้นต่ำน่ะแหละ แต่ถ้าขายดีหน่อยได้เป็นอาเฮีย อาเสี่ย อาเจ๊ กันเลยทีเดียว มีอีกหลายอาชีพที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตครับ โดยส่วนตัวแร้วรู้สึกเสียดายเวลาที่ทุ่มเทกับใบปริญญาครับ เพราะเรียนไว้ให้รู้อย่างเดียว แต่พอทำมาหากินก็ไม่ตรงสายอะไร แถมทำงานประจำเงินน้อยเหลือเกิน ก็เลยต้องหาอะไรทำเสริมๆ มากมาย อย่างขายของออนไลน์ หรือทำธุรกิจเครือข่าย ทุกวันนี้เรยรู้สึกเสมอว่า ระบบการศึกษาไทยพัฒนาได้สวนทางกับความเป็นจริงขั้นรุนแรง ถึงขั้นสาหัสเรยเชียวแหละ มีแค่อาชีพไม่กี่อย่างที่จบมาแร้วไ้ด้ใช้ เช่น หมอ พยาบาล วิศวะ สถาปัตย์ นักบัญชี ฯลฯ นอกนั้นก็แร้วแต่ใครอยากทำอะไรก็ทำไปเถอะ ผมจึงสนับสนุนให้เด็กๆ ใช้เถอะแทบเล็ต หรือคอมฯ ฝึกไว้แต่เด็ก โตมาก็ไปอบรมบ่มเพาะผู้ประกอบการดีกว่า เพราะส่วนใหญ่จบมามุ่งแต่เป็นลูกจ้างเขาซะส่วนใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่เวลาเรียนจบมา พ่อแม่ชอบถามว่าจะทำงานอะไร? ก็ไม่มีพ่อแม่คนไหนจะถามว่าเรียนจบมา จะทำธุรกิจอะไรเลย? ก็เลยแข่งกันใหญ่โต.......เยอะเกินออกนอกกรอบแร้วครับ แต่นี่เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกยังไง ใครถูกใจ ไม่ถูกใจ ก็ตอบมาได้ครับ มาแชร์ความเห็นกันครับ เพื่อประเทศของเราจะได้แนวคิดใหม่ๆ ครับ
ขอโทษนะครับ เด็กฉลาดต้องอ่านหนังสืออย่างเดียว เรียนตามครูอย่างเดียว?
ความคิดแบบนี้ใช้ในยุคนี้ไม่ได้แล้วครับ เพราะสุดท้าย เด็กจะตัน ขวานขวายหาความรู้ด้วยตัวเองไม่เป็น กลายเป็นเด็กที่ต้องป้อนทุกอย่างให้
ศักยภาพของการศึกษาไทยในยุคนี้มันไม่ทันชาวบ้านแล้ว อย่ามัวมาหัวโบราณเด็กจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ห้ามเปลี่ยนห้ามอะไรหน่อยเลยครับ การนำเงินจำนวนเล็กน้อย(พันล้านบาทเมื่อเทียบกับกองทัพบกหมื่นล้านบาท) เพื่อปฏิวัติการศึกษาผมว่าเป็นการทดลองที่คุ้มค่า ถึงแม้มันจะไม่ได้อะไรกลับมาเลยก็ตาม Trial and Error ยังดีกว่า Sit and Watch เยอะครับ ยุคนี้อนาคตของชาติมันอยู่ที่'แนวคิดทางการศึกษา' ไม่ใช่'การศึกษา' อีกต่อไปแล้วครับ
ย้ำนะครับ มีหลายสิบโครงการที่นำเงินไปเผาทิ้ง(เงินลงกองทัพบกหน่ะทหารใต้ได้มั่งรึเปล่า?)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมคิดว่า Blognone ต้องมีระบบคัดกรอง Comment + Ban ID ที่เข้มกว่านี้แล้วล่ะๆ ;)
เราก็มีมาตรการการแบนคอมเมนต์ที่น่ารังเกียจอยู่ อย่างเช่น ขายของ สแปม หรือด่าคนอื่นอยู่นะครับ
แต่ถ้าเป็นเรื่องคุณภาพของเนื้อหา ผมเชื่อว่าผู้อ่านของเราส่วนมากฉลาดและมีความคิดพอ ที่จะแยกแยะได้ว่าคอมเมนต์อันไหนดี อันไหนแย่ครับ (และคนส่วนใหญ่จะจดจำว่า user คนไหนคอมเมนต์ดีแย่ได้เอง) ดังนั้นไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องนี้มากครับ คนไหนคอมเมนต์แย่ user นั้นก็จะมี "แบรนด์" แย่ๆ แปะติดตัวไปตลอด
+1
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
และน่าจะมีการป้องกันการคลิกปุ่ม Save (ตอบคอมเมนต์) ซ้ำๆ นะครับ
^
^
that's just my two cents.
ก็มีแล้วนี่ครับ???
แรกๆ ผมก็ิดแค่ว่า ให้เด็ก ป.1 เอาไปใช้ คงเอาไปเล่นเกม เดี๋ยวก็ทำพัง อะไรแบบนี้
คิดไปคิดมา ในเมื่อผู้ผลิตต้องทำทั้ง Hardware และ Software มาแข่งกันเสนออยู่แล้ว ก็อาจจะครอบคลุมปัญหาพวกนี้อยู่แล้วก็ได้...
Dream high, work hard.
เด็ก ป.1-ป.6 มีจินตนาการเยอะมาก ถ้าทำสื่อการสอน CAI แบบเจ๋งๆ ออกมา คงจะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กไม่น้อย (อยากกลับไปยังวัยเด็กอีกจัง) เสียดายที่ผมเขียน apps บน iPad ไม่เป็น
ถ้าไม่เห็นด้วยเรื่องกลัวเด็กจะใช้ไม่เป็นหรือไม่รักษา ลองซื้อ ipad ให้เด็กใช้ดูก่อน อาจจะเป็นความคิดก็ได้
ถ้าไม่เห็นด้วยเรื่องกลัวว่าจะโกง ไม่ต้องห่วงเรื่องนี้หรอก ฝ่ายแค้นทำงานกันอย่างเต็มที่ทั้ง ฝ่ายค้าน คนที่บอกว่าตัวเองเป็นกลาง
ถึงขนาดจำได้ทุกคำที่นายกพูดผิดเลยทีเดียว
ถ้าย้อนไปซัก 80 ปีที่แล้ว มีผู้ใหญ่สมัยนั้นบอกว่า "กระดานชนวนดีอยู่แล้วใช้มาใช้ปากกาทำไม เปลืองทั้งหมึกเปลืองทั้งกระดาษ" มาเวลานี้คุณว่าความคิดผู้ใหญ่ที่พูดเป็นคนที่มีวิศัยทัศน์อย่างไรไร ?
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ให้ก็ดีแล้วครับ โตมาจะได้ใช้เป็น ไม่ใช่โตมาเรียนมัธยมแล้วค่อยเริ่มใช้ อย่าเอาสมัยตัวเองไปตัดสินใจแทนเด็กเลยว่าต้องอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรที่ให้เด็กได้พัฒนาก็ให้เด็กเถอะครับ ไม่ต้องไปกลัวตกกลัวเสีย เสียก็ซ่อม พังก็ซื้อใหม่ เป็นของธรรมดาอยู่แล้วนี่ครับ คุณทำโน๊ตบุ๊คตกคุณไม่ซ่อมเหรอ มัวแต่คิดเล็กคิดน้อย โครงการมันก็ไม่เกิดขึ้น ติเพื่อก่อดีกว่า ติเพื่อทำลาย
ให้ก็ดีแล้วครับ โตมาจะได้ใช้เป็น ไม่ใช่โตมาเรียนมัธยมแล้วค่อยเริ่มใช้ อย่าเอาสมัยตัวเองไปตัดสินใจแทนเด็กเลยว่าต้องอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรที่ให้เด็กได้พัฒนาก็ให้เด็กเถอะครับ ไม่ต้องไปกลัวตกกลัวเสีย เสียก็ซ่อม พังก็ซื้อใหม่ เป็นของธรรมดาอยู่แล้วนี่ครับ คุณทำโน๊ตบุ๊คตกคุณไม่ซ่อมเหรอ มัวแต่คิดเล็กคิดน้อย โครงการมันก็ไม่เกิดขึ้น ติเพื่อก่อดีกว่า ติเพื่อทำลาย
ให้ก็ดีแล้วครับ โตมาจะได้ใช้เป็น ไม่ใช่โตมาเรียนมัธยมแล้วค่อยเริ่มใช้ อย่าเอาสมัยตัวเองไปตัดสินใจแทนเด็กเลยว่าต้องอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรที่ให้เด็กได้พัฒนาก็ให้เด็กเถอะครับ ไม่ต้องไปกลัวตกกลัวเสีย เสียก็ซ่อม พังก็ซื้อใหม่ เป็นของธรรมดาอยู่แล้วนี่ครับ คุณทำโน๊ตบุ๊คตกคุณไม่ซ่อมเหรอ มัวแต่คิดเล็กคิดน้อย โครงการมันก็ไม่เกิดขึ้น ติเพื่อก่อดีกว่า ติเพื่อทำลาย
ให้ก็ดีแล้วครับ โตมาจะได้ใช้เป็น ไม่ใช่โตมาเรียนมัธยมแล้วค่อยเริ่มใช้ อย่าเอาสมัยตัวเองไปตัดสินใจแทนเด็กเลยว่าต้องอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรที่ให้เด็กได้พัฒนาก็ให้เด็กเถอะครับ ไม่ต้องไปกลัวตกกลัวเสีย เสียก็ซ่อม พังก็ซื้อใหม่ เป็นของธรรมดาอยู่แล้วนี่ครับ คุณทำโน๊ตบุ๊คตกคุณไม่ซ่อมเหรอ มัวแต่คิดเล็กคิดน้อย โครงการมันก็ไม่เกิดขึ้น ติเพื่อก่อดีกว่า ติเพื่อทำลาย
ให้ก็ดีแล้วครับ โตมาจะได้ใช้เป็น ไม่ใช่โตมาเรียนมัธยมแล้วค่อยเริ่มใช้ อย่าเอาสมัยตัวเองไปตัดสินใจแทนเด็กเลยว่าต้องอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรที่ให้เด็กได้พัฒนาก็ให้เด็กเถอะครับ ไม่ต้องไปกลัวตกกลัวเสีย เสียก็ซ่อม พังก็ซื้อใหม่ เป็นของธรรมดาอยู่แล้วนี่ครับ คุณทำโน๊ตบุ๊คตกคุณไม่ซ่อมเหรอ มัวแต่คิดเล็กคิดน้อย โครงการมันก็ไม่เกิดขึ้น ติเพื่อก่อดีกว่า ติเพื่อทำลาย
ให้ก็ดีแล้วครับ โตมาจะได้ใช้เป็น ไม่ใช่โตมาเรียนมัธยมแล้วค่อยเริ่มใช้ อย่าเอาสมัยตัวเองไปตัดสินใจแทนเด็กเลยว่าต้องอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรที่ให้เด็กได้พัฒนาก็ให้เด็กเถอะครับ ไม่ต้องไปกลัวตกกลัวเสีย เสียก็ซ่อม พังก็ซื้อใหม่ เป็นของธรรมดาอยู่แล้วนี่ครับ คุณทำโน๊ตบุ๊คตกคุณไม่ซ่อมเหรอ มัวแต่คิดเล็กคิดน้อย โครงการมันก็ไม่เกิดขึ้น ติเพื่อก่อดีกว่า ติเพื่อทำลาย
ให้ก็ดีแล้วครับ โตมาจะได้ใช้เป็น ไม่ใช่โตมาเรียนมัธยมแล้วค่อยเริ่มใช้ อย่าเอาสมัยตัวเองไปตัดสินใจแทนเด็กเลยว่าต้องอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรที่ให้เด็กได้พัฒนาก็ให้เด็กเถอะครับ ไม่ต้องไปกลัวตกกลัวเสีย เสียก็ซ่อม พังก็ซื้อใหม่ เป็นของธรรมดาอยู่แล้วนี่ครับ คุณทำโน๊ตบุ๊คตกคุณไม่ซ่อมเหรอ มัวแต่คิดเล็กคิดน้อย โครงการมันก็ไม่เกิดขึ้น ติเพื่อก่อดีกว่า ติเพื่อทำลาย
ให้ก็ดีแล้วครับ โตมาจะได้ใช้เป็น ไม่ใช่โตมาเรียนมัธยมแล้วค่อยเริ่มใช้ อย่าเอาสมัยตัวเองไปตัดสินใจแทนเด็กเลยว่าต้องอย่างโน้นอย่างนี้ อะไรที่ให้เด็กได้พัฒนาก็ให้เด็กเถอะครับ ไม่ต้องไปกลัวตกกลัวเสีย เสียก็ซ่อม พังก็ซื้อใหม่ เป็นของธรรมดาอยู่แล้วนี่ครับ คุณทำโน๊ตบุ๊คตกคุณไม่ซ่อมเหรอ มัวแต่คิดเล็กคิดน้อย โครงการมันก็ไม่เกิดขึ้น ติเพื่อก่อดีกว่า ติเพื่อทำลาย
เอาซะหมดโควต้าเลยนะครับ - -
c-c-c-combo breaker!!!
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
เห็นมีคนบ่นๆว่าเดี๋ยวเด็กเอาไปเล่นเกมๆๆ
เกมฝึกสมองก็มีตั้งเยอะครับ เกมเกี่ยวกับคำศัพท์
เกมจับคู่ เกม... ที่เหมาะกับเด็กมีตั้งเยอะนะครับ
การที่เด็กติดเกมไม่ใช่สิ่งเลวร้ายนะครับ อย่าเอาสิ่งที่ข่าวประโคมออกมายัดเข้าหัวท่านเองให้มาก
เด็กบางสนใจในเรื่องเกมมาก ก็เปลี่ยนมันให้เป็นอาชีพได้
บางคนรวมทีมหาเงินจากเกม หรือ เข้าร่วมกิจกรรมล่ารางวัลทั้งหลาย
บางคนผันตัวเองไปเขียนบทความ
บางคนไปเป็น presenter ให้กับเกม
ผมเองก็ไม่แน่ใจนะว่าอาชีพที่อิงกับเกมเป็นหลักในประเทศไทยมันจะยั่งยืนไหม
แต่ผมมองว่ามันไม่ใช่สิ่งเลวร้ายที่เขาจะเริ่มคิดเริ่มทำอะไรจากสิ่งที่เขาชอบนะครับ
จุดเริ่มต้นของการมาเป็นโปรแกรมเมอร์ของผม(จริงๆก็หลายคน)
มาจากความสนใจในเกมครับ เล่นกันแบบ hardcore เลยทีเดียว
อย่าเอาแต่มองด้านที่คุณรู้สึกว่าน่าเกลียดของเหรียญเท่านั้นครับ
เราอ่านข่าวร้ายมาจากหนังสือพิมพ์กันเยอะแล้ว เปิดโลกมองด้านดีของมันบ้าง
เหมือนผมเรย
ปัญหาคือ พอมายึดอาชีพนี้แล้วเวลาเล่นเกมดันน้อยลง
พูดไปหลายหนแล้ว อนุบาลเอกชนหลายแห่ง เขาใช้ tablet เป็นสื่อการสอนมาเป็นปีแล้ว (มีทั้ง Android custom versionและ iPad)
และโรงเรียนรัฐเอง พวกสาขาพิเศษ ห้องเรียนพิเศษ(เช่นห้องสองภาษา)ก็เิริ่มมีการใช้ tablet แล้วเช่นกัน(ที่เคยเห็นเองคือชั้นประถม)
ต่างประเทศเขาก็เริ่มก่อนเราแล้วเช่นกัน
คนที่คิดว่าไม่จำเป็นลองเปิดโลกทัศน์บ้างครับ อย่ายึดติดตัวเองสมัยอนุบาล เด็กสมัยนี้เล่น pc/tablet เป็นตั้งแต่ก่อนเข้าอนุบาล เล่นเกมสื่อการสอนดีๆ มันก็ไม่ต่างจากเล่นในสมุดภาพนั่นแหละ แน่นอนว่ามันมาแทน material ที่จับต้องได้ชนิดอื่นๆไม่ได้ แต่มันเป็นสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่เปิดความคิดสร้างสรรค์ให้กว้างขึ้นอีกมาก
และเพราะเด็กที่มีโอกาสเข้าถึง pc ตั้งแต่เล็กๆมีน้อย เพราะข้อจำกัดด้านกำลังทรัพย์ของพ่อแม่ การแจก tablet เป็นสื่อการสอน จึงเป็นการย่นระยะห่างการเรียนรู้ ระหว่างเด็กในเมือง(ที่พ่อแม่ซื้อ iPadให้)กับเ้ด็กจนๆ จะได้มีโอกาสเรียนรู้มากขึ้นใกล้เคียงกัน
ป.ล.ที่ทำงานผม คนที่ติเรื่องtablet กลัวเด็กทำพัง ฯลฯ(บ่นเหมือนคคห.บนๆเนี่ยแหละ) แต่ดันซื้อ iPad ให้ลูกที่อยู่อนุบาลใช้กันแทบทุกคน มันลักลั่นดีไหม :P
ตอนนี้เด็กๆที่โรงเรียนผมมี Notebook ประจำตัวทุกคน ถามว่าได้ประโยชน์ไหม ได้ครับ แต่ปัญหาก็เยอะเช่นกัน ทั้งการดูแลรักษาและวินัยในการใช้ ไม่ค่อยรู้เวลา ล่าสุดจอแตก ต้องส่งซ่อมอีก วุ่นวายน่าดู ขนาด ม.1 แล้วนะเนี่ย
พูดถึงโครงการ tablet ของรัฐ แต่ถามว่าได้ประโยชน์ไหม ผมว่าได้แน่นอนครับ แต่ต้องมีมาตรการควบคุมการใช้งานที่ดีของแต่ละโรงเรียน
ว่าแต่คุณ Fourpoint ช่วยบอกชื่อโรงเรียนที่ใช้ได้ไหมครับ พอดีผมจะพิจารณามาใช้กับทีโรงเรียนผมบ้าง
แต่ที่ผมเห็นโรงเรียนในชนบท หลายๆแห่งยังมีคอมไม่พอสำหรับนักเรียนเลยนะครับ การศึกษาไทยระหว่างเด็กในเมืองกันชนบท มันต่างกันราวฟ้ากับเหว ความคิดผมโครงการ tablet มันสามารถทำให้ช่องว่างตรงนี้แคบลงได้ แต่เสียดายที่แน้วโน้มโรงเรียนนำร่องน่าจะอยู่แต่ในเมือง ที่ทำให้ช่องว่างยิ่งห่างขึ้นไปอีก
ปล ผวว่าหลายๆคนกำลังเอามาตรฐานเด็กในโรงเรียนเอกชล มาเทียบกับ เด็กในโรงเรียนของรัฐบาล
ปล รร.มัธยมเก่าผม โรงเรียนเอกชลที่เชียงใหม่ปัจจุบันใช้ mac ทั้งโรงเรียนแล้ว แต่คับรถห่างออกไปอีก 2-3 ชั่วโมง โรงเรียนรัฐในเขตรอมก๋อย ทั้งโรงเรียนมีคอมที่ใช้งานได้ไม่ถึง 10เครื่อง แล้วยังเป็น win98 อยู่เลย ไปมาเมื่อ 2ปีที่แล้ว
นี่ก็เป็นส่วนที่ผมผิดหวังเล็กน้อย เพราะตอนหาเสียง บอกจะกันงบ ไว้ 2000 ล้าน แจก Tablet เด็ก ป.1 800000 คน ซึ่งจะเพียงพอสำหรับ เด้ก ป.1 ทุกคน
อยากถามท่านรัฐมนตรีว่า "วันนี้ครูที่จะต้องรับผิดชอบแท็บเล็ตของท่าน พร้อมหรือยัง?"
ที่ให้ ป1เล่นเพราะสเปคมันจะได้ไม่มาก ราคาไม่แพง และจะได้เอาเงินส่วนต่างไป ปิ้วๆๆๆๆๆ รึเปล่า 555555 คิดในแง่ร้ายนะ
แต่ผมก็ว่าดี อย่างน้อยต้องมีเด็กบางกลุ่มนำไปเสร้มสร้างประสบการณ์ที่ดีได้แน่ๆ แต่เมื่อเค้าโตขึ้นก็น่าจะไปได้ไกลยิ่งขึ้นด้วย
ในความคิดผม ผมคิดว่ารัฐบาลควรเอาใจใส่ปัจจัยพื้นฐานด้าน IT ก่อนที่จะนำ Gadget ไปให้เด็กนะ... บางโรงเรียน (ร.ร.วัดไทรใหญ่) เด็กยังนั่งหน้าคอม 4 คนต่อ 1 เครื่องเลย (ป.4) ด้วยซ้ำ... หรือต่างจังหวัดเด็กบางคนยังไม่มีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์ เอกชนบางรายเลยต้องนำคอมพิวเตอร์ไปบริจาคแล้วออกทีวี... ผมคิดว่าแทนที่จะพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ แล้วค่อยๆ พัฒนาเป็นระบบ e-learning โดยแท้จริงจะดีกว่า เพราะในปัจจุบันผมยังไม่เห็นระบบหนังสือเรียนออนไลน์ที่ให้นักเรียนได้ใช้กันเลย หรือไม่ก็ระบบอินเตอร์เน็ตดีๆ ภายในโรงเรียน แต่นี่ยังไม่มีอะไรเลย...
ปัจจัยที่ทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ศึกษา ไม่ใช่การมีอุปกรณ์ทันสมัยเสมอไป มันเกี่ยวโยงกันทั้งผู้สอน นักเรียนและสังคม มันควรที่จะพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ตอนนี้พ่อแม่ผมท่านยังใช้คอมพิวเตอร์ยังไม่เป็นเลย ตอนเด็กๆ ผมได้น้ามาช่วย พ่อแม่ก็สนใจและอยากให้ผมมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ท่านก็ซื้อหนังสือสอนพิมพ์ดีดมา ถ้าผมไม่มีผู้สอน ไม่มีสังคมที่ช่วยให้กระตือรือร้น ผมก็ใช้คอมไม่เป็นถึงแม้มีคอมพิวเตอร์อยู่ก็เถอะ
ที่พิมพ์มานี่ไม่ใช่ว่าจะแย้งเรื่องแท๊ปเล็ตนะ ถือเป็นการดีทีเดียวที่ให้เด็กๆ ได้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ผมคิดว่ามันควรจะพัฒนาส่วนอื่นๆ ให้มากกว่านี้อีกสักหน่อย เพราะตอนนี้มันยังเร็วไป
ก็เขา กำลัง จะใช้ Tablet เป็นปัจจัยพื้นฐาน แทนที่จะต้องแจกคอมไปเป็นกองกลางในโรงเรียน ไงล่ะครับ
ผมมอง Tablet เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้เพิ่มเติมครับ เช่นเด็กสามารถเล่นเกมส์พัฒนาสมอง หรือสามารถอ่าน E-book ได้ แต่สิ่งที่ Tablet ทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดีคือ ฝึกพิมพ์เอกสาร การทำรายงาน หรือการเล่น internet (ถ้าโรงเรียนไม่ได้ Wifi และใน spec ไม่รองรับ edge หรือ 3g) อย่างที่ผมได้บอกไป โรงเรียนวัดแถวบ้านผมคอมพิวเตอร์ยังไม่ค่อยมี และไม่มีอินเตอร์เน็ตให้เด็กใช้ อีกทั้งเวลาทำรายงานพวกเด็กๆ ก็ขอเงินพ่อแม่ไปจ้างร้านพิมพ์เอกสารกัน
บางทีผมอาจจะคิดผิดก็ได้ เพราะมุมมองผมอาจจะคิดเข้าข้างด้าน IT มากเกินไป บางทีทางรัฐบาลอาจจะนำมาเพื่อใช้ในสื่อการเรียนรู้ให้เด็กๆ ได้ศึกษาหรืออ่าน E-book ทั่วไป หรือมีแอพการทดลองวิทยาศาสตร์ อะไรพวกนั้น
ประเด็นสำคัญอยู่ที่คุณมองว่า "ปัจจัยพื้นฐานด้าน IT" กับ "Gadget ทันสมัย" ว่าคืออะไรครับ
การพัฒนาบางทีมันก็ไม่จำเป็นต้องไล่ขึ้นตามระดับชั้น ก้าวข้ามแบบพรวดๆ ได้เลย
ผมมอง "ปัจจัยพื้นฐานด้าน IT" คือ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต รวมถึงความรู้พื้นฐานเช่นการพิมพ์เอกสาร ค้นหาข้อมูล เด็กแถวบ้านผมเขายังไม่รู้เลยว่า Google คืออะไร หรือแม้กระทั้งการพิมพ์งาน ผมเลยมองว่าเขาควรจะพัฒนาตรงจุดนี้ก่อนมากกว่าที่จะนำ Gadget มาให้ใช้เพราะขนาดอินเตอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์ เด็กยังใช้ไม่ค่อยเป็นกันเลย (เด็กที่กล่าวถึงคือเด็ก ม.3 โรงเรียนวัดแถวบ้าน ไม่นับรวมโรงเรียนเอกชน)
ผมกลับมองว่าถ้าไม่พัฒนาพื้นฐานให้เท่าเทียมกัน จะก่อเกิดการแบ่งระดับทางโรงเรียนมากกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนเอกชน โรงเรียนประจำจังหวัดและโรงเรียนวัด โดยที่โรงเรียนเอกชนมีทุกอย่าง โรงเรียนประจำจังหวัดมี Gadget และโรงเรียนวัดแม้แต่คอมพิวเตอร์ยังไม่ค่อยจะมีใช้
ตามทฤษฎีนะครับ ก็คือสามารถข้ามคอมพิวเตอร์แบบเดิมๆ ไปได้เลย (เพราะมันก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง) กลายเป็นว่าถ้าทุกคนใช้แท็บเล็ตเหมือนกันหมด อาจจะทำให้เทคโนโลยีแพร่กระจายได้สะดวกขึ้นครับ
ผมไม่แน่ใจกับนโยบายโดยละเอียดเท่าไหร่ คือแจกแทปเลทน่ะกันงบไว้แล้ว แต่องค์ประกอบอื่นๆ(ปลั๊กไฟ ไวไฟ ฯลฯ)นี่เขาเตรียมรึยังครับ?
อีกอย่างคือแผนรับมือกรณีพัง/หาย/โดนขโมยเนี่ย น่าจะยังไม่ประกาศใช่รึเปล่า เพราะเห็นคนแย้งก็แย้งจุดนี้ ส่วนคนเห็นด้วยก็เหมือนยังอ้อมๆแอ้มๆอยู่ ตอบได้ไม่ค่อยเคลียร์
แต่ยังไงถ้าไม่ทำแบบสุกเอาเผากินผมเห็นด้วยนะ ยิ่งถ้านำร่องที่โรงเรียนตจว.ก็จะเยี่ยมเลย พัฒนาระบบพื้นฐานที่ขาดแคลนพร้อมลดช่องว่างทางการศึกษาในทีเดียว
แต่ก็แอบเข็ดกับหมู่บ้านละล้านแฮะ......
ครับ