ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เอเอ็มดีได้เปิดเผยถึงแผนการครั้งใหญ่ภายในงาน CES 2009 ว่า เอเอ็มดีกำลังสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลังเพตาฟลอปภายใต้ชื่อ Fusion Render Cloud (FRC) เพื่อให้บริการพลังประมวลผลสำหรับงานกราฟิกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปีนี้ โดยมีบริษัท Dell, HP, Electronic Arts, Lucasfilm และอีกหลายบริษัทให้การสนับสนุน ทั้งนี้ เอเอ็มดีกล่าวว่า FRC จะทำให้เกิดการปฏิวัติสื่อความละเอียดสูง (หรือ HD)
IEEE Spectrum ประจำเดือนมีนาคม มีบทความที่เขียนถึง FRC โดยเฉพาะ โดยกล่าวว่า FRC เป็นการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่เน้นงานกราฟิกและวิดีโอความละเอียดสูง โดยสิ่งที่สร้างความแตกต่่างไปจากการประมวลผลกราฟิกแบบทั่วๆไปคือ กราฟิกของเกมหรือภาพยนตร์สามารถถูกเรนเดอร์บน FRC เพื่อให้ได้ความละเอียดสูงสุด ก่อนที่จะถูกบีบอัดและส่งไปที่อุปกรณ์ปลายทางเพื่อการแสดงผลต่อไป โดยที่อุปกรณ์ปลายทางไม่จำเป็นต้องมีโปรเซสเซอร์หรือการ์ดจอสมรรถนะสูงเลย ดังนั้น โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ Thin-client ก็สามารถเล่นเกมหรือดูภาพยนตร์ด้วยความละเอียดสูงได้
ในบทความกล่าวถึงเกมที่ประมวลผลบน FRC ว่า ผู้เล่นเกมสามารถเข้าถึงเกมที่ต้องการได้ง่ายมากและสามารถเล่นเกมได้ด้วยความละเอียดสูง (แม้ไม่มีการ์ดจอดีๆก็ตาม) โดยผู้เล่นเพียงใช้เบราว์เซอร์เปิดไปหาเว็บไซต์ที่ให้บริการเกมเพื่อเล่นเกมผ่านเบราว์เซอร์ได้เลย ดังนั้น การพัฒนาเกมจึงไม่ใช่การเจาะจงที่แพลตฟอร์มของโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเกมคอนโซลแต่อย่างใด หากแต่เป็นการพัฒนาเกมให้ทำงานอยู่บนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ FRC และเช่าพลังการประมวลผลพร้อมกับทรัพยากรอื่นๆ (เช่น เครือข่ายและพื้นที่จัดเก็บข้อมูล) บน FRC เพื่อการให้บริการเกมแก่ลูกค้า ในบทความยังกล่าวไว้ว่า เกมที่ประมวลผลบน FRC ยังสามารถป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้อีกด้วย
กลุ่มเป้าหมายของผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการ FRC คือ ค่ายหนัง ค่ายเกม และผู้ที่ต้องการระบบสำหรับโฮสต์แอพพลิเคชันที่เน้นการประมวลผลกราฟิก โดยเอเอ็มดีได้จับมือกับบริษัท OTOY ให้เป็นผู้จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับพัฒนาเกมและซอฟต์แวร์ที่สามารถเข้าถึงขุมพลังของ FRC ทั้งนี้ เอเอ็มดีวางแผนว่า FRC จะติดตั้งโปรเซสเซอร์ Phenom II [ข่าวเก่า], ชิปเซ็ต AMD 790, และโปรเซสเซอร์กราฟิก (GPU) ของ ATI Radeon HD 4870 โดยเอเอ็มดีอ้างว่า FRC จะเป็น "ซูเปอร์คอมพิวเตอร์กราฟิกที่เร็วที่สุดในโลก" และด้วยจำนวน GPU ที่มีมากกว่าหนึ่งพันหน่วย ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบบนี้จะสามารถประมวลผลเทรดได้พร้อมๆกันถึงหนึ่งล้านเทรด (หรือประมาณ 800 เทรดพร้อมๆกันต่อ GPU หนึ่งหน่วย) และหากกล่าวในแง่การประหยัดพลังงานแล้ว FRC จะประหยัดพลังงานได้มากกว่า Roadrunner ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แชมป์โลกปัจจุบัน [ข่าวเก่า] โดย Roadrunner กินไฟถึง 2.35 ล้านวัตต์ในการรันระบบ ในขณะที่ FRC จะกินไฟเพียง 150,000 วัตต์ แต่ว่าสามารถประมวลผลในระดับเพตาฟลอปเช่นเดียวกับ Roadrunner
IEEE Spectrum ยังมีอีกบทความหนึ่ง [อ้างอิง] ที่กล่าวว่า แม้นักพัฒนาเกมหลายท่านจะเล็งเห็นประโยชน์จากการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆของ FRC แต่ว่ายังมีบางท่านยังตั้งข้อสงสัยในประเด็นหนึ่ง นั่นคือ ความเร็วของระบบเครือข่ายว่าจะสามารถส่งผลลัพธ์ของวิดีโอที่เรนเดอร์แล้วไปยังผู้เล่นได้ทันตามความเหมาะสมหรือไม่ เพราะผู้เล่นเกมประเภทเรียลไทม์คงไม่ต้องการภาพเกมที่กระตุก ถึงแม้ FRC จะไม่สร้างความกระตุกในการประมวลผลก็ตาม แต่ความกระตุกอาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะขนส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ทั้งนี้ Julien Merceron หนึ่งในผู้สร้างเกม Tomb Raider กล่าวว่า เครือข่ายที่มีแบนด์วิดท์จำกัดและมีความหน่วงในการขนส่งข้อมูลเป็นข้อจำกัดอย่างมากๆในการสร้างความหลากหลายของเกมที่เหมาะกับ FRC และยังเป็นข้อจำกัดในการส่งภาพที่มีความละเอียดสูงอีกด้วย ซึ่งหากว่าเป็นเกมแนว Turn-based และแนว Puzzle คงไม่มีปัญหากับข้อจำกัดนี้เท่าไหร่นัก
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยว่า ปัญหาเครือข่ายจะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความสำเร็จให้กับ FRC แต่ผมก็เคยวาดฝันถึงแพลตฟอร์มเกมที่คล้ายๆกับ FRC และคิดไปว่าเมื่อไหร่จะถึงวันที่ผมสามารถเล่นเกมความละเอียดสูงได้โดยไม่ต้องซื้อเครื่องเกมคอนโซลแบบ Next Gen หรือซื้อคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งการ์ดจอขั้นเทพ
ที่มา - IEEE Spectrum และข่าวเก่าจาก The Inquirer
Comments
จากที่อ่านดูแล้ว เครื่องคงจะทเพมากแต่ผมมีประเด็นในใจอีกแล้ว
1.ของตัว Client เอง Network มันจะทันเหรอครับ กรณีที่เป็นเกมส์อาจใช่เพราะมันคงจะติดตั้งเกมส์บนโน้นไปเลยแต่กับ HD VDO ที่ต้องมี Input - Output ใหญ่ๆ นี่มันจะได้หรือเปล่า เพราะแม้ว่าจะบีบเทพยังไงมันก็ต้องกิน Bandwidth ไม่น้อยกว่า 1 Mbps อยู่ดี (Stream ด้วยนะ)
2.การที่ผู้พัฒนาเกมส์เช่าพลังของเครื่องตามที่ว่าในข่าวนี้ จะกลายเป็นว่าคนซื้อ ซื้อสิทธิในการเล่นแล้วเข้าไปเล่นแบบ On-Line แบบนี้มันจะต่างอะไรกับเกม On-Line ละครับ อีกอย่างเกมส์เดี๋ยวนี้ถ้าไม่ใช่ MMO-RPG หรือ วางแผนอายุคงไม่ยืดอยู่แล้ว จะมีการจัดการอย่างไร
I need healing.
หากเป็นเรื่องเครือข่าย ตามที่เขาได้วิเคราะห์ไว้ท้ายข่าวนะครับ อาจจะต้องเล่นเกมแนว Turn-based กับ Puzzle ไปก่อนครับ
ตามที่ผมเข้าใจนะครับ เกมมันจะเป็นแบบซื้อชั่วโมงเล่นเกมเหมือนเกมออนไลน์ครับ แต่มันไม่ได้จำกัดว่าเป็นเกม MMORPG ครับ (ตามอดุมคติ เป็นเกมประเภทไหนก็ได้) และที่สำคัญ เราไม่ต้องติดตั้งเกมบนเครื่องเลยครับ จากที่อ่านใน IEEE Spectrum นะครับ มี browser แล้วไปหน้่าเว็บที่จะเล่นเกม แล้วก็ลุยเลยครับ ประมาณว่าตัวเกมก็เป็นเพียงภาพวิดีโอ (ประมาณฉากภาพ CG ที่เรนเดอร์แล้ว) แล้วส่งมาแสดงให้เราดู แล้วเราก็โต้ตอบกับภาพวิดีโอที่เห็น
ส่วนเรื่อง HD VDO เห็นด้วยครับ ปัญหาลงเอยที่เครือข่าย สุดท้ายผู้ใช้ต้องเลือกปรับ bandwidth ตามแต่เหมาะสมเอาเอง
โดยสรุป เครือข่ายต้องเร็ว (ขั้นเทพ ?)
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
Quake Live ออกเบต้าแล้ว (แต่ผมลองแล้วแครชซะงั้น T_T)
ผมมีไอเดียอีกนิดนึง อาจจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่แต่ตอบสนองความต้องการได้ระดับหนึ่ง คือ ถ้าผมอยากเล่นที่ชอบมากๆจริงๆ แต่เน็ตของผมช้าไปที่จะเล่นความละเอียดสูง ผมก็ปรับความละเอียดให้ลดลงมาหน่อย (ถ้าทำได้) เรียกว่า จูนจนพอใจแล้วก็ค่อยเล่นครับ หรือถ้าหากชั่งใจแล้วว่า เพิ่มเงินเช่าเน็ตแลกกับความสะใจได้ก็ว่ากันไปครับ ... ที่สิงคโปร์ที่ผมอาศัยอยู่ เน็ต 3 Mbps ประมาณ 8 ร้อยบาทครับ ถ้า 1.4 พันบาทก็ได้เล่น 10 Mbps แล้วครับ
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
ใช้โมเด็ม 56K คงเล่นเกมส์แบบนี้ไม่ได้แหงมๆ -*-
อ่านตอนท้ายแล้วรู้สึกว่า ด้านโทรคมนาคมจะกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง หลังจากที่เคยเป็นมาก่อน (ก่อนยุคคอมพิวเตอร์) เพราะสถาปัตยกรรมเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา (รวม -> กระจาย -> รวม)
หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น ผมจะได้มีงานทำ :P
ง่ายๆครับ แค่เอาเงินค่าเครื่องระดับเทพ มาเปลี่ยนเป็นค่าเน็ตระดับเทพแทน
มันไม่ง่ายสิครับ เพราะค่าเครื่องจ่ายสด/ผ่อนจบก็จบกัน แต่ค่าเน็ตมันเสียทุกเดือนนะครับ
แต่เครื่องระดับเทพก็ต้องจ่ายค่าไฟเป็นทางอ้อมเหมือนกันครับ ถึงแม้จะคิดแล้วน้อยกว่าค่าเน็ตก็เถอะ ;>
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
จริงครับ ไปๆมาๆซื้อเกมคอนโซลคุ้มกว่า
ถ้ามองในแง่ดี สำหรับประเทศไทยแล้ว 1.44 Kbps ก็เคยแพงมากๆมาก่อนที่จะมี 56 Kbps ครับ (ผมนึกไปถึงสมัยที่ผมยังเล่น BBS หมุนโทรศัพท์ต่อไปต่างประเทศ) แล้วจากนั้น หลายปีต่อมา ก็โดดมาที่ 256 Kbps และราคา 512 Kbps ก็พอจะรับได้บ้าง (เสถียรเปล่าอีกเรื่อง) แต่ผมเชื่อว่ามันต้องมีสักวัน (แต่จะเมื่อไหร่) ที่ 4 Mbps จะราคาลงมาเท่าหรือถูกกว่า 512 Kbps ของตอนนี้ แล้วต่อไป มันจะมี bandwidth ที่เร็วยิ่งกว่านี้ในราคา 4 Mbps ของปัจจุบัน
การผุดของ Disruptive Technology มันมีช่วงเวลาของมัน และในแต่ละประเทศ ก็มีนาฬิกานี้คนละเรือนด้วยสิครับ จะมีใครมาตั้งมันให้หมุนเร็วหรือช้า อันนี้มีปัจจัยเยอะจริงๆครับ
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
ของไทยนี่ ไปติดอยู่ที่แมวครับ หลับเหลือเกิน ไมเดินซะที 55
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
เท่าที่ทราบตอนนี้ ISV มีเส้นไปต่างประเทศเป็นของตัวเองแล้วนะครับ ไม่ใช่ต้องผูกขาดแต่แมว,สื่อสาร เหมือนเมื่อหลายๆปีก่อนนะ
ทำหยั่งกะ tesla เลยครับ (NVIDIA) http://www.youtube.com/nvidiatesla แต่อันนี้เป็น "Your personal supercomputer" (960 core, program ผ่าน CUDA)
แบบนี้สิ "คิดข้ามเมฆ" ของจริง อิอิ
7blogger.com
เล่น Crysis 1600*1200 ใช้ ATI 4850 น่าจะง่ายกว่าหา Net 10M