หากยังจำกันได้ Blognone เคยพูดคุยกับ SCB 10X ตั้งแต่สมัยยังเป็นยูนิตหนึ่งใน SCB จนตอนนี้ SCB10X แยกออกมาเป็นอีกบริษัทใหม่ แล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ด้วยโครงสร้างทีมใหญ่กว่าเดิม และมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาใช้งานหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่น Robinhood, เหมา-เหมา, PartyHaan
วันนี้ Blognone ได้พูดคุยกับ SCB 10X อีกครั้งถึงกว่าจะมาเป็น SCB 10X อย่างทุกวันนี้ ยุทธศาสตร์การทำงาน วัฒนธรรมการทำงานและแนวทางการบริหารคนสไตล์ SCB 10X และเป้าหมายระดับ Moonshot Mission ที่ SCB 10X ยึดเป็นหัวใจหลักในการดำเนินงาน
พุฒิกานต์ เอารัตน์ Head of People & Branding และ Head of Risk Management หรือคุณต้น เล่าความเป็นมาของ SCB 10X ให้ฟังว่า อย่างที่หลายคนทราบดีว่าในธุรกิจธนาคาร เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูก disrupt หนัก ทางธนาคารไทยพาณิชย์เองก็เล็งเห็นจุดนี้และได้ทำการศึกษา ทดลองสร้างธุรกิจและนวัตกรรมด้านฟินเทคมาตั้งแต่ปี 2016 จนตอนนี้เราได้เรียนรู้แล้วว่า ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสำเร็จนั้นมีอะไรบ้าง ต้นปีที่ผ่านมาจึงจัดตั้ง SCB 10X เป็นอีกบริษัทด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการลงทุนในเครือธนาคารไทยพาณิชย์
เป้าหมายหลักของ SCB 10X คือสร้างนวัตกรรมและสร้างบริการใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมคนที่เปลี่ยนเร็ว เพื่อสร้าง Exponential Growth การเติบโตอย่างก้าวกระโดดให้แก่วงการธนาคาร และความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของธนาคาร
แกนที่เรายึดถือเป็นหลักคือ ยุทธศาสตร์ Moonshot Mission ที่มาพร้อมเป้าหมายใหญ่ 3 ข้อคือ
SCB 10X มองคนเป็นฟันเฟืองสำคัญ เราต้องการ Talent ต้องการคนระดับ A Team เพราะเราเชื่อว่าคนในระดับนี้ จะดึงคนระดับ A Team อื่นๆ ให้เข้ามาอยู่กับเราได้ง่ายขึ้น เพราะถึงที่สุดแล้ว นวัตกรรมของ SCB 10X เกิดขึ้นได้จากคนเป็นหัวใจสำคัญ
### B-O-O-S-T หรือคุณค่าที่บริษัทยึดถือ
วัฒนธรรมองค์กรของ SCB 10X ไม่ได้เกิดจากผู้บริหาร แต่เกิดจากพนักงานและผู้บริหารร่วมสร้างมาด้วยกัน ที่ SCB 10X มองคุณค่าขององค์กรเป็นคำว่า B-O-O-S-T
สำหรับบรรยากาศการทำงานที่ SCB 10X ยังคงยึดบรรยากาศสบายๆ เป็นกันเอง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเข้าใจร่วมกันว่าคนต้องพัฒนาฝึกฝนตลอดเวลา และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ตัวเอง นอกจากนี้muj SCB 10X ยังคงคอนเซปต์ Work from Anywhere ไว้ และมีช่วง Happy Thirstday เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ได้รู้จักคนในทีมอื่น และแชร์ความรู้ซึ่งกันและกันได้
หน้าที่หลักสำหรับ SCB 10X ส่วนหนึ่งนอกจากพัฒนาบริการการเงินใหม่ๆ แล้ว ยังต้องลงทุนในธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ Blognone พูดคุยมุมมองการลงทุนกับคุณเจติยา งามเมฆินทร์ Principal จากทีม Venture Capital หน่วยงานสำคัญที่ดูแลการลงทุนของ SCB 10X ว่ามีหลักการอย่างไรบ้าง
คุณเจติยา เล่าว่าทาง Venture Capital เน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพ และกองทุนเทคโนโลยี ทั้งไทยและต่างประเทศ ขนาดการลงทุนอยู่ที่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การลงทุนแต่ละครั้งอยู่ในระดับ 1-10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การลงทุนของ SCB 10X ไม่ได้มองที่ผลตอบแทนอย่างเดียว แต่ยังคาดหวังเรื่อง Partnership และมองว่าสตาร์ทอัพที่เราลงทุนไปนั้น มีผลิตภัณฑ์ใดมาเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทของเราได้บ้าง
SCB 10X ไม่ได้จำกัดการลงทุนแค่ฟินเทค แต่ยังมองไกลไปถึงการลงทุนใน Healthcare, 5G, IoT, Deep Tech และเรายังศึกษาเรื่อง Decentralized Finance อย่างใกล้ชิดด้วย
“เราพยายามมองหาสตาร์ทอัพที่มีโอกาสโต และเราสามารถช่วยเขาได้ และที่สำคัญคือ มีเป้าหมายตรงกัน”
หน่วยงานดูแลการลงทุนนอกจาก Venture Capital ยังมี Strategic Investment & Partnership ด้วย จิรพงฒ์ อานนท์ธนทรัพย์ Principal, Strategic Investment & Partnership หรือคุณโจ้ ให้ภาพรวมว่าที่หน่วยงานเน้นลงทุนในบริษัทกลุ่ม Growth Stage และ Late Stage ในอาเซียน ลงทุนในสี่ด้านคือ ฟินเทค, บล็อกเชน, ไลฟ์สไตล์ และ Wellness จนถึงตอนนี้มีการลงทุนใหญ่ 3 ครั้งแล้วคือ ลงทุนในบริษัท Monix ทำสินเชื่อดิจิทัล, บริษัท Zynga ทำเกี่ยวกับ Payment และบริษัท Gojek ยักษ์ใหญ่เดลิเวอรี่จากอินโดนีเซีย
คุณโจ้ บอกว่า การทำงานที่นี่ให้ความรู้สึกสบายๆ เป็นกันเอง เห็นได้จากสถานที่ทำงานเป็น Open Plan มี Hot Seat เราเลือกนั่งทำงานตรงไหนก็ได้ และยังมีนโยบายทำงานที่ไนก็ได้ เพราะ SCB 10X เชื่อว่า พนักงานมีความคิดเป็นของตัวเอง และรับผิดชอบงานของตัวเองได้ ที่นี่จึงเปิดกว้าง ให้ทุกคนเลือกที่ทำงานของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็สามารถ Deliver งานของตัวเองได้ด้วย
ที่ SCB 10X ยังมีบรรยากาศที่เราสามารถแชร์ไอเดียใหม่ๆ ให้คนอื่นฟังได้ รวมถึงขอความรู้ คำแนะนำจากพี่ๆ คนอื่น เข้าใจความหลากหลายของทีมงาน
กษิดิ์เดช พูลสุขสมบัติ Technical Lead, Venture Builder หรือคุณไมค์ บอกว่า ทีม Venture Builder หรือเรียกภาษาไทยว่า เป็นการลงทุนร่วมสร้าง สร้างสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตให้กับ SCB 10X
เราทำงานด้วยบรรยากาศที่ให้ความอิสระแก่พนักงาน โดยพนักงานได้สิทธิ์การเป็นเจ้าของงานในไอเดียที่ตัวเองริเริ่มขึ้นมาเอง ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชั่น PartyHaan เองก็เป็นไอเดียพนักงาน เมื่อโปรดักต์เปิดให้ประชาชนใช้งาน เจ้าของไอเดียก็ได้ทำหน้าที่เป็นซีอีโอของ PartyHaan และได้ถือหุ้นส่วนหนึ่งด้วย
SCB 10X จากยูนิตหนึ่งใน SCB สู่บริษัทใหม่ที่มาพร้อมเป้าหมายใหญ่กว่าเดิม
และสิ่งที่สำคัญพอๆ กับการดำเนินธุรกิจคือ สร้างวัฒนธรรมองค์กรและสร้างสภาพแวดล้อมให้ทีมงานมีความพร้อมที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ โดยเราสามารถสรุปความเป็น SCB 10X ได้ในสี่ข้อ
เชื่อเสมอว่า “คน” คือฟันเฟืองสำคัญที่สุดในการทำภารกิจให้สำเร็จ
SCB 10X เป็นองค์กรชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทั้งในแง่ของการลงทุน การพัฒนาและการร่วมมือเป็นพันธมิตร ซึ่งมีบรรยากาศการทำงานเหมือนสตาร์อัพ แต่ยังมีความมั่นคง มีสวัสดิการการดูแลพนักงานเหมือนกับองค์กรขนาดใหญ่
Core Value 5 อย่าง หรือ B-O-O-S-T (Boldness, Ownership, Open, Speed, Trust for Impact)
การทำงานที่เปิดกว้างให้คิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
Comments
ฝันเถอะครับ แค่โปรโมตสวยๆ
ในแง่ประสิทธิภาพไม่ดีจริงใครจะใช้
โหลดแอพ robinhood มาใช้บักเพียบ แค่สมัครยังเด้งเลย นี่ลองหลายเครื่องนะ แถมได้ยินว่าบังคับนักศึกษาโหลดแอพเพิ่มยอดดาวน์โหลดด้วย
บังคับนักศึกษาให้โหลดได้จริงๆเหรอครับ ทำไมถึงบังคับได้อะครับ เอาไปแลกคะแนนสอบ?
ไปอ่านเจอคอมเม้นท์ในริวิวที่เป็น1-2ดาวใน play store
มีนศ.หลายคนรีวิวถามว่าทำไมบังคับให้โหลดก่อนรับบัตรนศ.(น่าจะบังคับเด็กปี1ทุกคน)
แอฟนี้มีประโยนช์มาก "Food Delivery ใหม่นี้ ที่จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ เช่นกัน ไม่มีค่าสมัคร ไม่คิดค่า GP (Gross Profit) ร้านอาหารได้เงินเต็มทุกบาททุกสตางค์ทำให้สามารถขายอาหารที่ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม ลูกค้าได้จ่ายค่าอาหารและค่าส่งตามจริงไม่มีบวก นอกจากนี้ ยังช่วยให้ร้านค้ามีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการ CSR ของกลุ่ม SCB เพื่อคืนกำไรให้สังคม เพื่อให้ทั้งสามส่วนคือคนซื้อ คนขาย และคนส่งสินค้าได้ประโยชน์อย่างเต็มที่และเป็นธรรม"
ในแพลตฟอมเพื่อสังคมไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทำแบบนั้นบังคับนักเรียนลงเพื่อเป็นข่าวสร้างภาพลบอย่างที่คนคอมเม้นต้องการหรือบริษัทที่เสียผมประโยชน์ต้องการ ? และการคอมเม้น แค่ไปโหลดพวกอีโมเลเตอร์มาโฟสใครๆก็ทำได้
และเป็นเรื่องปรกติของระบบใหม่ๆที่จะมีปัญหาอะไรกันบ้างเพราะโปรเจกแบบนี้งบน้อยก็ต้องค่อยๆทำ แต่ถ้าทำสำเร็จก็จะมีประโยชน์มากต่อสังคม เพราะตอนนี้ก็เห็นปัญหากันแล้วว่าเมื่อเกิดการผูกขาดก็จะเพิ่มค่าธรรมเนียมเสียประโยชน์หมดทุกผ่ายยกเว้นผู้ให้บริการ
ก่อนอื่นแก้ปัญหา sms phising ที่แจ้งให้ update ก่อนดีไหมครับ หลายวันแล้ว และยังเด้งมาเรื่อย ๆ
ขายฝัน ดูโปรแกรมที่ทำออกมาแต่ละตัว สตอรี่ความตั้งใจ ระบบเหมือนทำให้เสร็จ ๆ
บางอันก็ร้างไม่มีผู้ใช้งาน
เหมือนองค์กรจะมีแต่ engineers เลยขายของไม่ค่อยเป็นนะครับ ทำออกมาแต่ละอย่างเหมือนโปรเจคจบเลย ?
อันอื่นผมไม่แน่ใจแต่ robinhood นี่ผมใช้แทบทุกวันเลยนะ ได้คูปอง 30 บาท วันละครั้งได้มั้ง
ลองใช้ robinhood ตกใจค่าส่งเมื่อเทียบกับ food panda ที่ 9 บาท สั่งร้านเดียวกันเหมือนกันทั้งสองแอฟ ราคาอาหารเท่ากันด้วย
ผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องมีทุก app แหละครับ อันไหนถูกสุดก็ไปอันนั้น
มันก็เป็นการแข่งขันกับ ก็ขายฝัน สร้างภาพ ล้างสมองกันไปมาอยู่ทุกเจ้าแหละครับ
มันก็เป็นการแข่งขันกับ ก็ขายฝัน สร้างภาพ ล้างสมองกันไปมาอยู่ทุกเจ้าแหละครับ
มันก็เป็นการแข่งขันกับ ก็ขายฝัน สร้างภาพ ล้างสมองกันไปมาอยู่ทุกเจ้าแหละครับ
รู้สึกไหมว่าคุณลักษณะประเภท “ทำงานที่ไหนก็ได้” “มีโต๊ะปิงปอง” “ออฟฟิศสวย มีห้องเล่นเกม” แบบภาพ บ.สตาร์ทอัพในละครพวกนี้มันก็แค่เรื่องเปลือกๆ มันดูว้าวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันทุกคนน่าจะรู้แล้วว่าแค่นี้ไม่พอ
ทำเป็นเล่นไปนะครับ ออฟฟิศผมนอกจากโต๊ะปิงปอง(และไม้กระดานลื่น) แล้วยังมีแปลงผักออร์แกนิค!...เห็นแล้วแบบ อื้มมมม
เก๋อยู่อาทิตย์นึงครับ หลังจากนั้นเราก็น่าจะรู้กันว่ามันจะเป็นยังไงต่อ
มีคนบอกว่าอย่าพยายามทำออฟฟิศให้เป็นบ้าน เพราะยังไงมันก็ไม่ใช่
ส่วนตัวผมอยากได้ห้องหรือโซนเงียบๆ ไว้คิดงาน มากกว่าอุปกรณ์สันทนาการเก๋ๆ(เก๋อยู่อาทิตย์นึง)เหล่านั้นหลายเท่า ปัญหาของผม(และหลายๆ คน) ไม่ใช่ว่าเครียดเลยต้องหากิจกรรมอะไรผ่อนคลาย แต่เครียดเพราะเสียงมันจ้อกแจ้กจนทำงานไม่ได้ต่างหาก...
เห็นด้วยครับ แค่โต๊ะทำงานที่มีคนเดินผ่านข้างหลังได้ก็ทำเสียสมาธิมากพอสมควรครับ
ผู้บริหาร: เราสร้างพื้นที่ทำงานเแบบเปิดเพื่อสนับสนุนให้คนทำงานร่วมกัน
คนทำงาน: เราคุยงานกันไม่ได้เพราะที่ทำงานมันเปิดซะจนแต่ละคนไม่สามารถใช้เสียงในการทำงานได้ และเรามีปัญหาว่าห้องประขุมเต็มตลอดเวลา เพราะเวลาจะคุยงานจริงจังเราต้องใช้ห้องประชุม
ส่วนตัวจากที่เคยทำงานใน cubicle ทั้งโต๊ะแบบกั้นพาร์ทิชั่นตรงกลาง ทั้งโต๊ะที่ไม่กั้นอะไรเลย ทั้งร้านกาแฟ ส่วนตัวรู้สึกว่า ถ้าอยากให้คนทำงานร่วมกันจะต้องสร้างพื้นที่ให้สามารถคุยกันได้ อย่างไอ้ห้องโล่ง ๆ เอาโต๊ะมาวางเรียง ๆ นั่นไม่ใช่การสร้างที่ทำงานแบบเปิด เพราะกลายเป็นแต่ละคนก็รบกวนกันเอง สุดท้ายก็ต้องนั่งเงียบ ๆ แค่เสียงคีย์บอร์ดก็ดังพอจะให้คนตะโกนด่ากันได้แล้ว
การนั่งทำงานใน cubicle มีข้อดีหลัก ๆ อย่างนึงคือ ถ้ามันต้องคุยกัน แต่ไม่ใช่เรื่องลับ ๆ ก็เรียกไปคุยกันที่โต๊ะได้เลย ตัวพาร์ทิชั่นจะช่วยทำให้เสียงระบบกวนและการ distract ลดลงมาก และเราก็ไม่ต้องคุยกันเสียงดังก็ฟังรู้เรื่อง ในขณะที่ห้องทำงานแบบเปิดนั่นทั้งภาพและเสียงรบกวนจะมาจากทุกทิศทาง และพุ่งมาหาเราโดยตรง สุดท้ายก็คุยไม่รู้เรื่อง ก็ต้องเปิดห้องประชุม และนั่นทำให้ห้องประชุมเต็มแทบจะตลอดเวลา
ส่วนตัวคิดว่าถ้าอยากทำห้องแบบเปิดเพื่อสนับสนุนให้คนคุยงานกันมากขึ้นก็ไม่ควรถึงขั้นที่จะเปิดทุกอย่างโล่งไปเลย คิดว่า ให้นั่งเป็นกลุ่ม 4-6 คนจะได้ผลมากกว่า แต่เหมือนผู้บริหารจะไม่เข้าใจตรงนี้ แน่ล่ะห้องเปิดมันถูกกว่านี่นา
โห ยาวมาก ดูมีความคับแค้น 5555
หลักการของ startup คือ fail fast ก็ไม่แปลกนะคับที่ร้างเยอะ ของแบบนี้มันต้องลองกันไป เน้นปริมาณไปด้วย