นับตั้งแต่เกิดวิกฤตขาดแคลนหน้ากากอนามัยใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือซีพี ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยแจกจ่ายฟรีแก่ แพทย์ พยาบาล ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่เป็นด่านหน้าที่ต้องรับมือกับวิกฤตโควิด-19 อย่างเร่งด่วน รวมทั้งประชาชนที่ขาดโอกาส เพื่อเร่งบรรเทาวิกฤตการขาดแคลนหน้ากากอนามัย
จึงได้ก่อตั้ง บริษัท ซีพี โซเชียล อิมแพคท์ จำกัด ขึ้นมาดูแลเปิดโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยซีพีใช้เวลาก่อสร้างด้วยความรวดเร็วภายใน 5 สัปดาห์ ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการผลิตตั้งแต่การออกแบบห้องคลีนรูม (Clean Room) นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตและเชื่อมต่อกับระบบ AI ที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการผลิตและการบรรจุ ซึ่งในทุกขั้นตอนเชื่อมต่อเป็นระบบอัตโนมัติและใช้กำลังคนน้อยที่สุดเพื่อให้หน้ากากอนามัยที่ผลิตปลอดเชื้อเป็นไปตามมาตรฐานสากล
Blognone พาไปดูโรงงานหน้ากากอนามัยซีพี ศึกษาวิธีการผลิตและพูดคุยกับ คุณศักดิ์ชัย บัวมูล ผู้รับผิดชอบสายงานด้านวิศวกรรมและการออกแบบกระบวนการผลิตโรงงานหน้ากากอนามัยซีพี และคุณสรสิช กมลชัยวานิช หนึ่งในทีมวิศวกร ถึงวิธีการทำงานของ AI ว่ามีหลักในการคัดกรองคุณภาพหน้ากากอย่างไร ให้ได้หน้ากากที่ดีที่สุด
คุณศักดิ์ชัย เล่าที่มาและแนวคิดการพัฒนา AI ที่ใช้งานในโรงงานหน้ากากอนามัยซีพีให้ฟังว่า การออกแบบการผลิตสินค้าในเครือซีพี ต้องคิดถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานเป็นอันดับแรกอยู่แล้ว เมื่อเราได้รับภารกิจให้สร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย เราต้องคิดกันก่อนว่า งานส่วนไหนที่ระบบอัตโนมัติ และ AI จะเข้ามาช่วยได้ดีที่สุด
คุณศักดิ์ชัย บัวมูล ผู้รับผิดชอบ ด้านวิศวกรรมและการออกแบบกระบวนการผลิตโรงงานหน้ากากอนามัยซีพี
ในโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย มีหลายจุดที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่จุดที่เหมาะกับงาน AI มากที่สุดคือ การตรวจสอบคุณภาพหน้ากากอนามัย เพราะต้องอาศัยความละเอียดและต้องใช้เวลามาก เราจึงเริ่มต้นจากการสอน AI ให้รู้จักหน้ากากอนามัยที่ทั้งดีและไม่ดี เพื่อที่จะคัดกรองสินค้าออกไปได้
นอกจาก AI ที่คัดกรองคุณภาพหน้ากากอนามัยเป็นด่านสุดท้ายแล้ว ในส่วนงานอื่นยังมีการใช้เทคโนโลยีหลากหลาย เช่น Image Processing ซอฟต์แวร์พร้อมกล้องเพื่อตรวจสอบม้วนผ้าทั้งสามชั้น ประกอบด้วย ชั้นแรก เป็นนอนวูฟเวนชนิดสปันบอนด์ (สีเขียว) เคลือบสารไฮโดรโฟบิก มีคุณสมบัติป้องกันน้ำ ชั้นต่อมา เป็นนอนวูฟเวนชนิดเมลต์โบลน (สีขาว) ใช้ป้องกันเชื้อโรค และชั้นสุดท้าย เป็นนอนวูฟเวนชนิดสปันบอนด์ส (สีขาว) โดยต้องให้อยู่ในแนวเดียวกันทั้งสามชั้น ไม่ให้ชั้นใดชั้นหนึ่งเอียงออกมา
คุณสรสิช หนึ่งในทีมงานวิศวกรที่ทำงานใกล้ชิดกับ AI ในโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยซีพีตั้งแต่ต้น ได้พูดถึงวิธีการสอน AI ให้รู้จักการตรวจสอบแยกแยะคุณภาพของหน้ากากอนามัยว่า ทางทีมวิศวกรนำรูปภาพหน้ากากอนามัยในสภาวะที่แตกต่างกันเป็นพันๆ รูป ให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ ตัวอย่างรูปภาพเช่น หน้ากากอนามัยเบี้ยว เอียง มีสภาวะปนเปื้อน เป็นต้น เพื่อให้ AI รู้ว่า หน้ากากจำพวกนี้ ไม่ควรปล่อยออกมาใช้งานจริง
คุณสรสิช กมลชัยวานิช (วิศวกร)
เมื่อ AI ทำงานได้สมบูรณ์แล้ว จะช่วยให้โรงงานสามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้ในอัตราความเร็วจำนวนมากเท่าที่ต้องการได้ AI ยังสามารถตรวจสอบคุณภาพหน้ากากอนามัยได้ทุกจุดพร้อมกันในหลักวินาทีต่อชิ้น ส่งผลให้ที่โรงงานตอนนี้ มีกำลังผลิต 1 แสนชิ้นต่อวัน
ซึ่งหากเทียบกับการไม่ใช้ AI ในโรงงานเลย จะทำให้มีความเสี่ยงกว่ามาก ทั้งเสี่ยงต่อการผลิตไม่ทัน และเสี่ยงต่อการที่สินค้าไม่ได้คุณภาพ หรือมีสภาวะปนเปื้อนออกไปถึงมือผู้ใช้งาน
คุณศักดิ์ชัยระบุว่า หน้ากากอนามัยที่โรงงานผลิตมีชนิดเดียว คือ หน้ากากอนามัยที่ใช้ในการแพทย์ ที่เรียกว่า Surgical Mask จัดอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์ AI จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบส่วนประกอบของการผลิตหน้ากากอนามัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ คือ
นอกจากนี้ หน้ากากอนามัยของซีพี ออกแบบให้มีขนาดพอดีกับทุกคน สามารถใช้งานได้ทั่วไป ใส่แล้วพอดีกับขนาดใบหน้า ไม่เกิดรูโหว่เมื่อสวมใส่ สายคล้องยืดหยุ่น ไม่หลวมและไม่รัดจนเกินไป
ซีพีมีการนำระบบ AI มาใช้ในการผลิตสินค้าหลายจุด ไม่จำกัดเฉพาะหน้ากากอนามัย แต่ยังคงใช้งานในหลักการเดียวกันคือ ตรวจสอบคุณภาพสินค้าโดยเฉพาะอาหาร ก้าวต่อไปคือ การนำ AI เข้ามาใช้ควบคุมการผลิตอาหารและสินค้าเกษตร
คุณศักดิ์ชัย ให้ภาพรวมว่า วัตถุดิบทางการเกษตรมีความหลากหลาย และมีความไม่แน่นอนสูง เช่นความหนาของใบผัก ขนาดของผักผลไม้ที่แตกต่างกัน เราจึงต้องกำหนดเงื่อนไขที่ซับซ้อนมากกว่าหน้ากากอนามัยให้ AI เรียนรู้ ซึ่งถ้า AI สามารถคัดกรองหน้ากากอนามัยได้ ก็มั่นใจว่าจะสามารถคัดกรองวัตถุดิบการเกษตรได้ด้วยเช่นกัน
ปัจจุบัน หน้ากากอนามัยจากโรงงานผลิตของซีพีไม่มีวางขายทั่วไป แต่เป็นการผลิตมอบให้บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และกลุ่มเปราะบางเท่านั้น โดยมีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นผู้ประสานงานด้านคำสั่งการผลิตและการกำหนดการแจกจ่าย
Comments
ใช้ของ Double A คับ
ก็แค่ image processing ทั่วๆไป คัดแยกงาน ไม่น่าจะไปถึงขั้น AI
IF Else สำหรับคนทั่วไป ก็ AI แล้วนะครับ
"แอปผมมี AI มันสามารถแยกได้ว่า เข้าระบบมาเป็นใคร เจ้าของ หรือว่า พนักงาน ถ้าเจ้าของจะเป็นแบบนี้......"
ถ้าให้ระบบเรียนรู้โดยใช้ตัวอย่างรูปของดี/ของเสียป้อนเข้าไปให้เกิด Machine Learning ก็เข้าข่าย AI ครับ
AI คำนี้น่าจะย่อมาจาก Automatic Inspection ครับ
งานแค่ถ่ายรูป reject ของเสียเรียก AI โถถถถถถ...
ต่อไปต้องเรียกเครื่องชงกาแฟที่บ้านว่าโรบอตชงกาแฟซะแล้ว
จริงๆอยากถามทีมงานที่เข้าไปดูด้วยว่าเค้า reject จริงหรือเปล่า ผมสงสัย ช่วยตอบที
ตั้งสติก่อนจะเม้น
"คุณสรสิช หนึ่งในทีมงานวิศวกรที่ทำงานใกล้ชิดกับ AI ในโรงงงานผลิตหน้ากากอนามัยซีพีตั้งแต่ต้น ได้พูดถึงวิธีการสอน AI ให้รู้จักการตรวจสอบแยกแยะคุณภาพของหน้ากากอนามัยว่า ทางทีมวิศวกรนำรูปภาพหน้ากากอนามัยในสภาวะที่แตกต่างกันเป็นพันๆ รูป ให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ ตัวอย่างรูปภาพเช่น หน้ากากอนามัยเบี้ยว เอียง มีสภาวะปนเปื้อน เป็นต้น เพื่อให้ AI รู้ว่า หน้ากากจำพวกนี้ ไม่ควรปล่อยออกมาใช้งานจริง"
แหม่.. นี่ก็ซื่อจัง เค้าว่าไงก็ว่าตามเค้า ฟังแล้วคิดด้วยนะ ไม่ใช่มีแต่สติ
งานพวก reject ของเสียเบสิคแค่นี้ เค้าทำกันตั้งไม่รู้กี่สิบปีมาแล้ว
ดูว่ารูปที่ถ่ายมา ต้องดูจุดไหนบ้าง clearance ไม่เกินเท่าไหร่ถึงผ่าน แค่นั้น แบบนี้เค้าไม่เรียกว่า AI นะคะ
ต่อให้ใช้ AI อย่างที่บอกมาจริง ก็สงสัยว่าใช้ logic ไหนฟระ งานควบคุมคุณภาพ จะเอาหน้ากากเบี้ยวปนเปื้อนเป็นพันแบบ ไปให้มันเรียนรู้เพื่อสร้าง node ที่มันไม่จำเป็นทำไม ในเมื่อทุกแบบก็คือทิ้ง ไม่ได้มาแยกใส่กล่องนิ ว่ากล่องนี้เบี้ยวนะ กล่องนี้เปื้อนนะ
ปกติงานพวกนี้ เค้านับกันหลัก ms นี่หลักวินาทีต่อชิ้น ใช้เวลามากกว่าเป็น 100 เท่า ไม่ฉลาด... ทำไม่ได้... คนตรวจยังเร็วกว่า และเชื่อได้ว่าไม่ได้ตรวจทุกชิ้นด้วย
เครื่องจักรแมคคานิคเบสิคๆพวกนี้ ถ้าปรับแต่เข้าที่แล้ว ทำล้านชิ้นก็เหมือนกันหมด ดูวัตถุดิบที่ป้อนเข้าไปให้ดีพอ (ซึ่งในรูปก็ไม่เห็นกล้องตรวจวัตถุดิบก่อนเข้าเครื่องอย่างที่บอกในบทความ)
ผมถึงอยากถามทีมงานที่เข้าไปดูไง คนที่อยู่ในรูปนั่นก็ได้ ว่าให้คำตอบได้มั๊ยว่า กระบวนการเป็นยังไงถึงเรียกว่า AI พูดซะใช้ AI ตรวจทุกชิ้นนี่จริงเหรอ ถ้าอธิบายไม่ได้ บทความนี้ก็บทความจับแพะชนแกะหลอกเด็กอ่ะนะ
อ่อ แล้วอยู่เป็นสิบปี comment 4 อัน ดูเป็น account เฉพาะกิจจังเลย ผมก็แค่สงสัยน่ะ
มันเป็น Advertise เถียงไปก็ไม่มีประโยชน์ ผมเข้าใจคุณ Carrot
carrot คุณตรรกะโครตป่วยเลยครับ ตรรกะคุณผิดชนิดที่ว่า สอบวิชา AI ม ผมไม่ผ่านตั้งแต่ assignment แรกด้วยซ้ำ
คุณรู้ไหม AI นิยามคืออะไร หาหนังสืออ่านบ้างนะครับ มาสายนี้ อย่าเอานิสัยเรียนหนังสือแบบชาวบ้านมาใช้!!! สักแต่ปฏิบัติ ทฤษฎีโง่
AI นิยามคือ Machine Learning union กับ Natural Language
สรุปคืออะไรก็ตามที่มันใช้ Machine Learning หรือ Natural Language ก็ = AI
ดังนั้นก็ชัดเจนครับ ไอ่ระบบ reject CP ก็นับเป็น AI
เพราะการที่ระบบมันจะรู้ว่าแมสนี้เสีย หรือดี ใช้ If else condition + CV มันพอที่ไหนล่ะครับ นึกภาพง่ายๆ CV มันบอกคุณได้ว่านี่คือ แมส นี่คือเบี้ยว ไม่เบี้ยว แต่!!!.. คุณจะแยกยังไงว่านี่คือเบี้ยวเพราะมันผลิตแย่ หรือเบี้ยวแค่เพราะแรงเสียดทานจากแต่ละกระบวนการของสายพาน ???
จะเห็นเลยว่ามันต้องใช้ ML มาช่วยให้ระบบมันทำ Feature Engineer เพื่อเพิ่ม Criteria ให้ระบบฉลาดขึ้น
ดังนั้นเมื่อใชั ML จากนิยามก็ = AI
สายนี้มันมีนิยามตายตัว เหมือนกฎหมาย ถ้ามันเข้าขอบเขต ก็คือใช่ ต่อให้มันฟังแล้วขัดก็ตาม คุณจะมาเพ้อเจ้อ นิยามไรมั่วซั่วไม่ได้
นี่แหละมหาลัยถึงสำคัญ ไอ่พวกไม่จบมหาลัย หรือจบมหาลัยกากๆ แม่งตรรกะเพ้อเจ้อแบบนี้แทบทุกคน นิยามมั่วซั่ว น่ารำคาญ
แหม่...พ่อคุณ...คงจบม.ชั้นดี ทฤษฎีปึ้ก ถ้าจะเถียงด้วยวิธีแบบกฎหมาย ก็ขอยอมแพ้ค่ะ AI ก็ AI
แล้วเขียนมาตั้งยาว เถียงแต่เรื่อง “นิยามของ AI” เรื่องเดียวเองเหรอ น่าเศร้านะ ไหนๆก็โฆษณาตัวเองขนาดนี้แล้ว
เรื่องประมวลผลหลักวินาทีต่ออัน criteria ความเหมาะสมไม่คิดจะคุยหน่อยเหรอ เสียดายที่เรียนมานะ
แล้วระบบ AI เทพนี้ ต่างกับที่คนอื่นเค้าใช้ตรวจสอบยังไง ดีกว่าตรงไหนระบบเดิมๆตรงไหน ทั้งๆที่มันช้ากว่า 100 เท่า
mask กล่องนึง 100ชิ้น ใช้เวลาตรวจตั้ง 3 นาทีงี้? (ให้ชิ้นละ 2 วิพอ) ทันกินมั๊ย? ตรวจได้ทุกอันมั๊ย? มาเถียงเรื่องพวกนี้กันหน่อยสิ
555 อะไรของคุณ เอ๋อชิบหาย ผมไปเถียงคุณเรื่อง AI ตรวจช้าตรวจเร็วตอนไหนครับ ???
แหกตาดูดีๆ ผมเถียงแค่โพสที่คุณพูดถึง "นิยาม AI" ทั้งนั้น
ส่วนไอ่ที่คุณบอก AI มันแย่กว่าระบบเดิมอะไร ผมก็ไม่ได้ไปเถียงคุณตรงนั้นหนิครับ
โครตสมองขี้เลื่อย เหมือนฟังภาษาคนไม่รู้เรื่องอะ55
ผมไม่ได้มีส่วนได้เสียกับ CP งั้นขอถามหน่อยว่า
สิ่งที่เค้าควรปรับปรุงสรุปคืออะไร ความเร็วในการประมวลผลให้ไวขึ้นหรอครับ
AI เทพนี่ต้องฉลาดขนาดไหน ความจำเป็นในโรงงานต้องฉลาดขนาดไหนหรอครับ
แล้วถ้าในโรงงานผลิตทำเป็น Parallel มากขึ้น มันก็ทำให้ได้จำนวนหน้ากากที่มากขึ้นได้ไม่ใช่หรอครับ คงไม่มีใครผลิตสายพานเดียวอยู่แล้วกล้องตัวเดียวอยู่แล้วใช่ไหมครับ
โรงงานอื่นเค้าใช้ยังไงกันหรอครับ
พอดีผมไม่เคยจับงานในโรงงานหรืออยู่สาย Optimize ในโรงงาน ขอคุณแครอทแนะนำหน่อยครับ
หวังว่าคำถามนี้จะเป็นประโยชน์กับใครๆ หลายคนด้วย
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
Image Processing รู้จริงๆ เปล่าว่าเป็นกระบวนการอะไร ทำอะไร
มันคือเทคนิคการปรับปรุงคุณภาพของภาพ
แล้วนำมาสกัดคุณลักษณะเพื่อให้ได้ฟีเจอร์ที่ดี เช่น กำจัด Noise จากกระบวนการ Image Processing
แล้วเข้ากระบวนการเรียนรู้ แล้วถ้าไม่ใช้ AI จะเอา Image Processing เอามาทำไม เอามาให้คนตรวจต่อหรอ 55555555555555555555555555555
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
Image Processing ระบบใหญ่ๆที่ผมเคยเจอ แค่ส่ง boolean กลับมาแค่นั้น พอเจอภาพขาวๆที่มีค่า flare สูงๆ ก็แยกแทบไม่ออก ผมมองว่า AI มันต้องทำได้มากกว่านี้เช่นนำสถิติมาประมวลผลได้ด้วย หรือระบบสามารถคิดอัลกอริทึ่มเองขึ้นมาได้อีกชั้นหนึ่ง
คนทั่วไปเห็นระบบแยก true false ได้ก็มองว่าเป้น AI ไปแล้ว
นี่ก็อีกคน ควรจะตอบตัวเองให้ได้ก่อนนะ ว่า "Image Processing รู้จริงๆ เปล่าว่าเป็นกระบวนการอะไร ทำอะไร" ไปกูเกิลเอาก็ได้
ถ้าตอบมาแบบข้างบน อย่าไปบอกใครนะว่าจบอะไรมา ทำงานที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร เกิดที่ไหน อายเขา...
นั่นสิครับ มันทำอะไรเหรอครับ ? ผมนี่ไม่ทราบจริง ๆ
ขอความรู้หน่อยได้ไหมครับ?
carrot คุณตรรกะโครตป่วยเลยครับ ตรรกะคุณผิดชนิดที่ว่า สอบวิชา AI ม ผมไม่ผ่านตั้งแต่ assignment แรกด้วยซ้ำ
คุณรู้ไหม AI นิยามคืออะไร หาหนังสืออ่านบ้างนะครับ มาสายนี้ อย่าเอานิสัยเรียนหนังสือแบบชาวบ้านมาใช้!!! สักแต่ปฏิบัติ ทฤษฎีโง่
AI นิยามคือ Machine Learning union กับ Natural Language
สรุปคืออะไรก็ตามที่มันใช้ Machine Learning หรือ Natural Language ก็ = AI
ดังนั้นก็ชัดเจนครับ ไอ่ระบบ reject CP ก็นับเป็น AI
เพราะการที่ระบบมันจะรู้ว่าแมสนี้เสีย หรือดี ใช้ If else condition + CV มันพอที่ไหนล่ะครับ นึกภาพง่ายๆ CV มันบอกคุณได้ว่านี่คือ แมส นี่คือเบี้ยว ไม่เบี้ยว แต่!!!.. คุณจะแยกยังไงว่านี่คือเบี้ยวเพราะมันผลิตแย่ หรือเบี้ยวแค่เพราะแรงเสียดทานจากแต่ละกระบวนการของสายพาน ???
จะเห็นเลยว่ามันต้องใช้ ML มาช่วยให้ระบบมันทำ Feature Engineer เพื่อเพิ่ม Criteria ให้ระบบฉลาดขึ้น
ดังนั้นเมื่อใชั ML จากนิยามก็ = AI
สายนี้มันมีนิยามตายตัว เหมือนกฎหมาย ถ้ามันเข้าขอบเขต ก็คือใช่ ต่อให้มันฟังแล้วขัดก็ตาม คุณจะมาเพ้อเจ้อ นิยามไรมั่วซั่วไม่ได้
นี่แหละมหาลัยถึงสำคัญ ไอ่พวกไม่จบมหาลัย หรือจบมหาลัยกากๆ แม่งตรรกะเพ้อเจ้อแบบนี้แทบทุกคน นิยามมั่วซั่ว น่ารำคาญ
คิดแบบนี้เหมือนกันครับ เทคนิคคัดแยกงานดีงานเสียจากภาพเนี่ย ถ้าได้ไปทำอยู่ในโรงงานจริงๆแล้วไม่รู้สึกว่าเป็น AI เลยสักนิด เพราะมันแค่เปรียบเทียบว่าเหมือนกับชุดภาพตัวอย่างไหม ไม่เหมือนตรงไหนอย่างไร จบ เหมือนไม่ได้เรียนรู้ แต่แค่เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล
ผมไม่รู้เทคนิคของงานนี้
แต่นึกถึงเคสคลาสิค
พัดลมเป่ากล่องสบู่เปล่า...
ยังจำได้จากรายการจ้อจี้ "บู่ลงลัง channel"
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
สาธาณสุข => สาธารณสุข
โรงงงาน => โรงงาน
ไปสัมภาษณ์ AI ของโรงฟักไข่หน่อยครับ อันนั้นสุดยอดกว่า
"AI ยังสามารถตรวจสอบคุณภาพหน้ากากอนามัยได้ทุกจุดพร้อมกันในหลักวินาทีต่อชิ้น ส่งผลให้ที่โรงงานตอนนี้ มีกำลังผลิต 1 แสนชิ้นต่อวัน"
1 วัน มีแค่ 86,400 วิ เองเด้อ แถมเขียนอย่างงี้เหมือนจะไม่ได้ใช้เวลาชิ้นละวิ ด้วย
มองในแง่ดีคืออาจะมีตรวจครั้งนึงพร้อมกันหลายชิ้น ถ้าเป็นอย่างงั้นจริงน่าจะเขียนให้ถูกต้องนะครับ
ผมว่าน่าจะทำได้มากกว่า 1 หน้ากากต่อวินะครับ เป็นสายการผลิต ติดสายละเครื่องหรือมากว่านั้น ทำได้เร็วทีเดียว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ก็ว่าทำไมข่าวนี้คนคอมเม้นท์เยอะจัง ?