หนึ่งในแผนพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลญี่ปุ่นคือการเตรียมผลักดันให้ผลงานการสร้างสรรค์ของปัญญาประดิษฐ์มี "ลิขสิทธิ์" ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นข่าวปัญญาประดิษฐ์เขียนนิยายส่งเข้าไปประกวดแข่งขันกับผลงานการเขียนของคนจริงๆ ในญี่ปุ่นมาแล้ว ดังนั้นคงไม่น่าแปลกใจที่ทางการญี่ปุ่นจะมีความตื่นตัวเรื่องศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างสรรค์ผลงานในทางศิลป์
แนวคิดของรัฐบาลญี่ปุ่นคือจะจัดให้ผลงานการสร้างสรรค์ของปัญญาประดิษฐ์อย่างที่ว่ามานี้ได้รับการคุ้มครองเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใหม่ นอกเหนือไปจากสิทธิบัตร (patent), ลิขสิทธิ์ (copyright), เครื่องหมายการค้า (trademark), ความลับทางการค้า (trade secret) และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographical indications) โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์อย่างชัดเจนว่ามนุษย์เข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานได้ไม่เกินระดับไหนถึงจะจัดเข้าเป็นงานสร้างสรรค์ของ AI ที่ได้รับการคุ้มครอง
อีกหนึ่งนโยบายของแผนพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่น คือการกระตุ้นให้ตัวแทนชุมชนแต่ละท้องถิ่น, โรงเรียนและบริษัทห้างร้านต่างๆ ให้ออกมาสนับสนุนระบบการศึกษาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามากยิ่งขึ้น
ที่มา - The Japan Times
Comments
อ่านแล้วงงว่า สุดท้ายใครเป็นเจ้าของสิทธิ์ระหว่าง ตัวเจ้าของโปรแกรม/platform ของ AI หรือตัว AI เอง?
นึกถึงเคส รูปถ่ายเซลฟี่ ของลิงกอริลลา ที่มีช่างภาพ เอากล้องไปวางไว้ แล้วรอให้กอริลลา มากดชัตเตอร์ จนมีผู้ร้องเรียนว่า ลิขสิทธิ์น่าจะเป็นของกอริลลา ไม่ใช่ช่างภาพเจ้าของกล้อง ซึ่งถ้าจำไม่ผิดสุดท้าย ลิขสิทธิ์ภาพเป็นของช่างภาพ ที่เป็นคนจัดอุปกรณ์ เพราะกอริลลา ไม่ใช่"บุคคล"ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ (อ้างอิง PETA suit claims monkey holds copyright to famous selfie )
ผมนึกถึงหนังเรื่อง Bicentennial Man
blog.semicolon.in.th
โฮ ไม่เจอกันในนี้นานมากเลยนะคับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
คิดแล้วนึกถึงเฮียแกเลย (ซึ้ง)
แบบนี้จะให้เอไอมีสถานะทางกฎหมายเป็นอะไร ปกติแล้ว ต้องมีสภาพบุคคลก่อนจึงจะถือครองทรัพสินได้นี่
เหมือนกรณีลิงถ่ายภาพอะ
ทรัพทย์สิน => ทรัพย์สิน
หัวข่าว คำว่า "คุ้ม" พิมพ์ไม้โทก่อนสระอุครับ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
งั้นชุด mark2-3 ก็เป็นของจาวิส สินะ
รวมถึง วิชั่น ก็เป็นของอัลตรอนด้วย