เกม The Founder หรือ The Sims สำหรับสตาร์ทอัพนั่นเอง คอนเซปต์เกม ทำสตาร์ทอัพของตนขึ้นมาและประคับประคองให้อยู่ตลอดรอดฝั่ง เนื่องจากเกมมีอุปสรรค ภารกิจมากมายที่ผู้เล่นต้องทำ เริ่มจากสร้างสตาร์ทอัพ ตั้งชื่อ คิดผลิตภัณฑ์ คิดแผนการตลาด หานักลงทุน จ้างพนักงาน สร้างผลิตภัณฑ์ไปแย่งส่วนแบ่งการตลาดแข่งกับคู่แข่งเพื่อเอารายได้มาหล่อเลี้ยงบริษัท
ผู้สร้างเกม The Founder คือ Francis Tseng เป็นดีไซเนอร์และนักพัฒนา เขายังมีประสบการณ์งานในซิลิคอนวัลเล่ย์ด้วย แรงบันดาลใจในการทำเกมก็มาจากประสบการณ์ตรงของเขานั่นเอง
หลังผู้เล่นสร้างบริษัทของตัวเองแล้ว ก็ลูกจ้างตำแหน่งต่างๆ วิศวกร การตลาด ออกแบบ จากนั้นสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น โซเชียลมีเดีย ระบบส่งสินค้า อีคอมเมิร์ซ เป็นต้น ถ้าอันไหนดูมีนวัตกรรมใหม่ที่ดีก็จะทำเงินได้มากหน่อย แต่ในแต่ละผลิตภัณฑ์ ผู้เล่นต้องเจอคู่แข่งที่ครองตลาดอยู่ก่อนแล้ว เช่น Kougle, Coralzon และ Carrot Inc. (ชื่อคุ้นๆ)ในเกมคาดหวังการเติบโตทางธุรกิจ 12% ด้วย
รายรับ รายจ่าย ตอนเริ่มก่อตั้งบริษัท
ในเกมมีสูตรที่สตาร์ทอัพในโลกจริงต้องเจอ คือ มีเมนเทอร์ให้คำแนะนำ มีวลีในวงการสตาร์ทอัพที่ใช้กันบ่อยๆ และผลิตภัณฑ์ที่ดูไม่ค่อยประสบความสำเร็จ และมีระบบระดมทุนจากนักลงทุน ที่คาดหวังการเติบโตจากบริษัทของผู้เล่นตลอดเวลา
ภารกิจมากมายที่ผู้เล่นต้องไปให้ถึง
เพื่อไม่ให้เกมโอเวอร์ ผู้เล่นต้องป้องกันบริษัทของตัวเองเพื่อจะได้เล่นต่อ อาจอพยพไปอยู่ที่อื่น หรือใช้ปัญญาประดิษฐ์แทนคนทำงาน และแก้ปัญหาจากการตัดสินใจต่างๆ ของผู้เล่นเอง
หนทางเล่นเกมได้ตลอดรอดฝั่งพอมีอยู่คือ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่สร้างมาล้มเหลว ให้ใช้เครื่องมือในเกมช่วยกระตุ้นโฆษณา ทำโปรโมชั่น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปเป็นสปอนเซอร์งานดนตรี งานพูดสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อนำเม็ดเงินกลับมา
ในเกมยังมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันให้ผู้เล่นต้องก้าวผ่าน เช่น พนักงานฆ่าตัวตาย และผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านระบบความปลอดภัยทางการแพทย์ (เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดในโลกจริง)
The Founder เปิดให้เล่นผ่านออนไลน์แล้ว และระดมทุนใน Kickstarter ไปแล้ว
ที่มา - Fast Company
Comments
ขาก ?
โหดร้าย