APNIC แจ้งเหตุข้อมูลหลุดจากการนำไฟล์สำรองฐานข้อมูลไปวางไว้ในคลาวด์สตอเรจแล้วคอนฟิกผิดพลาดจนเปิดให้สตอเรจเข้าถึงได้จากสาธารณะ
นักวิจัยภายนอกพบข้อมูลชุดนี้และแจ้งทาง APNIC เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา ทาง APNIC ไม่มี log เพื่อตรวจสอบว่ามีคนดาวน์โหลดฐานข้อมูลไปหรือไม่จึงต้องแจ้งเตือนข้อมูลรั่วไหลไว้ก่อน
ข้อมูลในฐานข้อมูล มีค่าแฮชของรหัสผ่านสำหร้บผู้ดูแลฐานข้อมูล WHOIS, ข้อมูลติดต่อเมื่อเกิดเหตุ (Incident Response Team - IRT), และออปเจกต์ที่มองไม่เห็นจากภายนอกอีกบางส่วน
ที่มา - APNIC
Jun Murai ผู้ก่อตั้งโครงการวิจัย WIDE (Widely Integrated Distributed Environment) จากญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1985 ที่หลายคนเรียกเขาว่าเป็นบิดาแห่งอินเทอร์เน็ตญี่ปุ่น เป็นผู้ถือครองหมายเลขไอพีวง 43.0.0.0/8 (43/8) ประกาศมอบไอพีทั้งวงเข้า APNIC เพื่อนำไอพีออกขาย
เงินที่ได้จากการขายจะเข้า Asia Pacific Internet Development Trust กองทุนไม่หวังผลกำไร
วงไอพี 43/8 ไม่ได้เหลือทั้งหมด โดยมีบางส่วนจัดสรรให้บางองค์กรไปแล้ว แต่ยังเหลืออยู่ถึง 87% โดยรวมแล้วอาจจะมีมูลค่ามากกว่า 300 ล้านดอลลาร์หรือประมาณหมื่นล้านบาท
ที่มา - The Register
APNIC ประกาศเปลี่ยนกระบวนการเก็บรหัสผ่านจากเดิมใช้ค่าแฮชของ MD5 หรือ crypt มาเป็น bcrypt โดยผู้ใช้ที่เปลี่ยนรหัสผ่านหลังจากนี้จะได้รับค่า auth ตัวใหม่ พร้อมกับประกาศว่าทาง APNIC จะบังคับให้รหัสผ่านทั้งหมดเป็น bcrypt ในอนาคต ผู้ดูแลระบบควรเปลี่ยนรหัสแต่เนิ่นๆ
APNIC แจ้งเหตุการณ์ทำข้อมูลหลุด โดยทำข้อมูลส่วน Maintainer และ Incident Response Team (IRT) หลุดไปกับข้อมูล WHOIS อื่นๆ Incident Response Team (IRT) ทำให้ค่าแฮชของรหัสผ่านหลุดไปด้วย และถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ WHOIS บางราย โดยข้อมูลหลุดจากการอัพเกรดระบบเมื่อเดือนมิถุนายนและมีการคอนฟิกผิดพลาด
ผู้ค้นพบข้อมูลรั่วครั้งนี้คือ Red Team ของ eBay ที่ไปเห็นข้อมูลชุดนี้อยู่บนเว็บไซต์ภายนอก และแจ้งทาง APNIC เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา ทาง APNIC รีเซ็ตรหัสผ่านทั้งหมดและป้องกันข้อมูลรั่วในวันที่ 13 ตุลาคม
APNIC ประกาศว่าวันนี้ (15 เมษายน พ.ศ.2554) APNIC เหลือ IPv4 ขนาด /8 ช่วงสุดท้ายแล้ว ซึ่งทำให้เข้าสู่ช่วงที่สามของการหมดลงของ IPv4 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งนโยบายสำหรับการแจกจ่าย IPv4 ในช่วงที่สามนี้คือ
วันนี้ลองพยายามจัดกลุ่มของช่วงไอพีที่ APNIC จัดสรรให้แก่ประเทศไทยดูทำให้พอรู้คร่าวๆ ว่าใครถือไอพีอยู่เท่าไหร่บ้าง ต้องออกตัวก่อนว่าข้อมูลนี้ใช้อ้างอิงไม่ได้เพราะเป็นการจัดด้วยมือ โอกาสพลาดสูง ถือว่าเล่าสู่กันฟังนะครับ
ผู้ครอบครอง IPv4 อันดับหนึ่งของไทยคือ True ที่มีไอพีอยู่ประมาณ 1.36 ล้านไอพี (รวมทั้งกลุ่มนะครับ ไม่ว่าจะ Dial-up, ADSL, Mobile) ตามมาติดๆ ด้วย TOT ที่มี 1.02 ล้านไอพี อันดับสามได้แก่ Tripple T มี 786,944 ไอพี ซึ่งในกลุ่มเหล่านี้มีไอพีหลายช่วงมาก เช่น True มีอยู่ถึง 42 ช่วงด้วยกัน
ลำดับถัดลงมาเป็น AIS มี 428,032 ไอพี TTT Maxnet มี 419,840 ไอพี และ CAT 299,008 ไอพี
เราลองมาดูกันว่าในโค้งสุดท้ายก่อนที่ IPv4 จะถูกจัดสรรไปจนหมดนั้น แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับการจัดสรร IPv4 กันไปประเทศละเท่าไหร่
จากข้อมูลของเมื่อวานนี้ (1 ก.พ. 54) APNIC ซึ่งเป็นนายทะเบียนของภูมิภาคนี้ได้จัดสรรไอพีไปแล้วทั้งหมด 17,610 ช่วง คิดเป็น 769,631,744 ไอพี โดยขนาดที่จัดสรรในแต่ละช่วงมีตั้งแต่ /24 (256 ไอพี) ไปจนถึง /8 (16,777,216 ไอพี) แน่นอนว่าประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างจีนได้ครองตำแหน่งประเทศที่ได้รับการจัดสรร IPv4 ไปมากที่สุดถึงประมาณ 293 ล้านไอพีใน 1,875 ช่วง คิดเป็น 38% ของไอพีที่ได้รับการจัดสรรในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว