Tags:
Node Thumbnail

หลัง Surface Pro X วางขาย เสียงวิจารณ์จากรีวิวต่างๆ ชี้ประเด็นเรื่องซอฟต์แวร์ ที่ยังมีปัญหาความเข้ากันได้ระหว่างซอฟต์แวร์ x86 กับซีพียู ARM64 แม้แต่ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์เองหลายๆ ตัว เช่น Edge Chromium ก็ยังไม่รองรับ ARM64 ทำให้ต้องใช้เวอร์ชัน x86-32 จนมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ-แบตเตอรี่อย่างไม่ควรจะเป็น

สัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ทยอยแก้ปัญหานี้ด้วยการออก Edge เวอร์ชัน ARM64 แล้ว โดยตอนนี้ยังอยู่ใน Canary channel และจะทยอยขยับมายัง Dev/Beta channel ต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

เมื่อกลางปีนี้ ARM เปิดตัวชิปช่วยประมวลผล AI หรือที่เรียกว่า neural processing unit (NPU) โดยใช้ชื่อว่า ARM ML

ล่าสุด ARM ประกาศเปลี่ยนชื่อรุ่นสินค้าเป็น ARM Ethos-N77 ให้เจาะจงมากขึ้น (แทนชื่อ ARM ML ที่ความหมายออกกว้างๆ) พร้อมเปิดตัวชิป NPU ในตระกูล Ethos มาอีกสองรุ่นคือ Ethos-N57 และ Ethos-N37 ที่จับตลาดระดับต่ำลงมา

Ethos-N77 ตัวเดิมมีประสิทธิภาพราว 4 TOPS (trillion operations per second) ส่วนรุ่น Ethos-N57 เน้นใช้บนสมาร์ทโฟนระดับกลาง หรืออุปกรณ์ฮับในบ้านอัจฉริยะ ประสิทธิภาพสูงสุด 2 TOPS และ Ethos-N37 เน้นสมาร์ทโฟนระดับล่างหรืออุปกรณ์จำพวกกล้องต่างๆ มีประสิทธิภาพ 1 TOPS

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ARM เปิดตัวจีพียู Mali ระดับกลางรุ่นใหม่ Mali-G57 ที่ถอดฟีเจอร์มาจากจีพียูรุ่นท็อป Mali-G77 ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อกลางปี และถือเป็นรุ่นอัพเกรดต่อจาก Mali-G52 รุ่นก่อนหน้านี้

ของใหม่ใน Mali-G57 แน่นอนว่าเป็นประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ประหยัดพลังงานกว่าเดิม สถิติของ ARM เองระบุว่า Mali-G57 ประหยัดพลังงานเพิ่มจาก Mali-G52 ประมาณ 1.3 เท่า, มีประสิทธิภาพด้าน texture ดีขึ้นเท่าตัว

Tags:
Node Thumbnail

หนึ่งผลกระทบสำคัญที่เกิดจากการสั่งแบนบริษัทจีนของสหรัฐ คือเรื่องการพัฒนาชิปเซ็ตที่บริษัทอย่าง Huawei แม้จะผลิตได้เอง แต่ต้องพึ่งเทคโนโลยีจากยักษ์ใหญ่อย่าง ARM อยู่ ก่อนหน้านี้แม้จะมีรายงานว่า ARM หยุดทำธุรกิจกับ Huawei ตามคำสั่งรัฐบาลสหรัฐ ทว่าล่าสุด ARM ยืนยันเองว่าจะยังคงไลเซนส์เทคโนโลยีให้บริษัทจีนต่อไปเช่นเดิม

ผู้ที่ออกมาให้ข้อมูลนี้คือ Allen Wu ซีอีโอของ ARM China หลังได้รับการยืนยันจากฝ่ายกฎหมายว่าเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมชิปเซ็ต ARMv8 และ ARMv9 ที่ถูกไลเซนส์ให้กับผู้ผลิตชิปเซ็ตบนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ นั้นเป็นเทคโนโลยีของสหราชอาณาจักร ไม่ใช่สหรัฐ ดังนั้นจึงไม่เข้าข่ายคำสั่งแบนของรัฐบาลสหรัฐ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Arm ประกาศเปิดทางให้ผู้ผลิตชิปสามารถเพิ่มชุดคำสั่ง (instructions) ลงในซีพียูได้แล้ว โดยเรียกความสามารถปรับแต่งนี้ว่า Arm Custom Instructions เปิดทางให้ผู้ผลิตชิปที่ซื้อสิทธิ์การผลิตสามารถสร้างชุดคำสั่งใหม่ๆ เพิ่มเติม

แม้ชิป Arm จะปรับแต่งได้มากก่อนหน้านี้ แต่ก็มักเป็นการปรับแต่งด้วยการวางอุปกรณ์เสริม (peripheral) เข้าไปในซีพียู โดยชุดคำสั่งหลักยังคงเป็นชุดคำสั่งเดิม เพียงแต่อ้างถึงตำแหน่งของอุปกรณ์เสริม เช่น การเขียนข้อมูลลงพอร์ต serial, หรือการอ่านค่าเวลาจาก real time clock แต่ Arm Custom Instructions จะเปิดให้ผู้ผลิตเพิ่มเติมชุดคำสั่งเข้าไปได้ โดยสร้าง data path ใหม่เป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ไม่ใช่อุปกรณ์เสริมที่แยกออกจากตัวซีพียูหลัก

Tags:
Node Thumbnail

ARM ประกาศตั้งกลุ่มรถยนต์ไร้คนขับ Autonomous Vehicle Computing Consortium (AVCC) โดยมีสมาชิกเข้าร่วมคือ GM, Toyota, Denso, Continental, Bosch, NXP, NVIDIA

กลุ่ม AVCC มีเป้าหมายคือร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี และกำหนดมาตรฐานของรถยนต์ไร้คนขับระหว่างบริษัทสมาชิก สิ่งที่น่าสนใจคงเป็นบริษัทรถยนต์รายใหญ่ที่สุด 2 ราย แถมเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดอเมริกาและญี่ปุ่นคือ GM และ Toyota เข้าร่วมเป็นสมาชิกแล้ว

ตลาดรถยนต์ไร้คนขับในปัจจุบันยังมีความหลากหลายสูง และเราเห็นการจับคู่ระหว่างบริษัทรถยนต์กับบริษัทด้านไอที เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันอยู่เรื่อยๆ แต่ครั้งนี้คือการตั้งกลุ่มหรือสมาคมที่มีหลายบริษัทเข้าร่วม ซึ่งก็น่าจะได้เห็นการตั้งกลุ่มแบบเดียวกันเพิ่มขึ้นในอนาคตเช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

กระบวนการผลิตชิป Arm แต่เดิมที่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยต้องซื้อพิมพ์เขียวเป็นรุ่นๆ ก่อนจะนำมาผลิตแล้วจ่ายค่าใช้งานพิมพ์เขียวแต่ละรุ่นตามจำนวนผลิต ทำให้ผู้ผลิตรายเล็กที่ไม่มีกำลังจ่ายอาจจะไปใช้พิมพ์เขียวเจ้าอื่น ไปจนถึงพิมพ์เขียวโอเพนซอร์สอย่าง RISC-V ตอนนี้ทาง Arm ก็เปิดโครงการ Flexible Access เพื่อให้ผู้ผลิตรายเล็กเข้าถึงพิมพ์เขียวง่ายขึ้น

Flexible Access คิดค่าสมัครสมาชิกรายปี เริ่มต้นปีละ 75,000 ดอลลาร์ (นับว่าถูกในวงการออกแบบชิป) จะสามารถเข้าถึงไลบรารีพิมพ์เขียวของ Arm ได้ทั้งหมด แล้วเลือกดาวน์โหลดมาทดลองออกแบบได้ และจะคิดค่าไลเซนส์เมื่อเริ่มเดินสายการผลิต (tape-out) แล้วคิดค่าใช้งานการออกแบบรายชิปอีกทอดหนึ่ง

Tags:
Node Thumbnail

Ian Buck รองประธาน Nvidia ฝ่าย accelerated computing ที่ดูแลธุรกิจซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบุกับสำนักข่าว Reuters ว่าลูกค้าที่เป็นนักวิจัยในยุโรปและญี่ปุ่นเรียกร้องให้บริษัทรองรับชิป Arm เป็นทางเลือกที่สามจากชิป POWER ของ IBM และ Xeon ของ Intel และคาดว่าจะเริ่มพร้อมใช้งานได้ในปีนี้

ที่ผ่านมา Nvdia ทำงานร่วมกับ Arm บ้างเช่นบอร์ด Jetson ที่ใช้ซีพียูเป็น Arm มาตลอด แต่ยังไม่มีการใช้งานกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลังประมวลผลสูงๆ นัก การประกาศครั้งนี้ทาง Nvidia จะพอร์ตซอฟต์แวร์สำคัญๆ สำหรับการพัฒนาระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูง ให้รันบน Arm ได้ทั้งหมด เช่น CUDA-X, คอมไฟล์เลอร์ PGI, และไลบรารีสำหรับงานประมวลผลประสิทธิภาพสูงอื่น

Tags:
Node Thumbnail

ARM เปิดตัวซีพียูและจีพียูรุ่นต่อไปในชื่อ Cortex-A77 และ Mali-G77 สำหรับผู้ผลิตสมาร์ตโฟนไปจนถึงโน้ตบุ๊ก และชิป Arm ML ที่เป็นหน่วยประมวลผลปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ

Cortex-A77 รองรับสัญญาณนาฬิกา 3GHz เท่า Cortex-A76 แต่ปรับปรุงประสิทธิภาพโดยขยายแบนวิดท์การรันคำสั่งเป็น 6 คำสั่งต่อสัญญาณนาฬิกา และขยายการทำงานไม่ตามลำดับ (out-of-order execution) เป็น 160 คำสั่ง พร้อมกับเพิ่มวงจรเข้ารหัส AES ชุดที่สอง โดยรวมแล้วประสิทธิภาพตาม SPECint2006 จะสูงขึ้น 20% เทียบกับ Cortex-A76 สำหรับการคอนฟิกแบบ big.LITTLE ที่มีคอร์ขนาดเล็กคู่กัน จะใช้ Cortex-A55 เหมือนเดิม

Tags:
Node Thumbnail

สำนักข่าว BBC รายงานว่าได้รับเอกสารภายในจากบริษัท ARM แจ้งให้พนักงานหยุดทำธุรกิจกับหัวเว่ยทั้งหมดเนื่องจากสถาปัตยกรรม ARM นั้นมี "เทคโนโลยีสหรัฐฯ"

ARM ไม่ได้ขายชิปโดยตรงแต่ขายสถาปัตยกรรมคำสั่ง (instruction set architecture - ISA) และพิมพ์เขียวของชิปเพื่อให้บริษัทต่างๆ นำไปปรับแต่งและผลิตขายด้วยตัวเอง บริษัทผู้ผลิตชิปเช่นแอปเปิล, ซัมซุง, หรือหัวเว่ย ต้องซื้อสิทธิ์ในการผลิตจาก ARM ก่อนจะผลิตชิป

ตัว ARM เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร แต่เจ้าของบริษัทคือ SoftBank จากญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีซีพียูนั้นมักมีการซื้อเทคโนโลยีข้ามบริษัทกันไปมาหลายต่อ

Tags:
Node Thumbnail

วันนี้ Docker และ Arm ประกาศความร่วมมือโดยพร้อมพัฒนาเครื่องมือของ Docker ให้ซัพพอร์ตแพลตฟอร์มของ Arm เพื่อให้นักพัฒนาสามารถ build ตัวแอปบนแพลตฟอร์ม Arm จากเดสก์ท็อปที่เป็น x86 และดีพลอยขึ้นระบบต่าง ๆ ที่เป็น Arm ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์ (เช่น AWS EC2 A1 ซึ่งเป็นประเภทที่ใช้ Arm), edge และอุปกรณ์ IoT ได้ง่ายขึ้น

ความร่วมมือระหว่าง Docker และ Arm นี้จะเป็นการเน้นพัฒนาเครื่องมือซึ่งจะช่วยในด้าน lifecycle ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาไปจนถึงโปรดักชั่น ทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ราบรื่นยิ่งขึ้นแม้ว่าฝั่งเครื่องที่ใช้พัฒนาจะเป็น x86 ส่วนเครื่องโปรดักชั่นจริงจะเป็น Arm ก็ตาม

Docker ระบุว่า เทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนากับ ARM นี้จะโชว์ในงาน DockerCon 2019 ที่บู๊ธของ Arm

Tags:
Node Thumbnail

หลังจาก Arm เปิดตัวซีพียูชุดใหม่สำหรับบริการคลาวด์ ก็มีการพูดคุยกันในเว็บบอร์ด real world technologies ถึงความตื่นเต้นถึงการที่จะมีตัวเลือกใหม่ๆ เข้ามาในบริการคลาวด์ แต่ระหว่างการพูดคุยไลนัส ผู้ดูแลโครงการเคอร์เนลลินุกซ์ก็ถูกพาดพิงว่าเชื่อในการพัฒนาแบบ native ที่ต้องพัฒนาบนสถาปัตยกรรมเดียวกับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้รันแอปพลิเคชั่นมากเกินไป

ไลนัสเข้ามาตอบความเห็นนี้ โดยยืนยันว่าหากนักพัฒนายังไม่สามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มเดียวกันกับบนคลาวด์ได้ แพลตฟอร์มอื่นก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จ

Tags:
Node Thumbnail

Arm พยายามบุกตลาดซีพียูสำหรับคลาวด์อีกครั้ง ด้วยซีพียูสองรุ่นคือ Arm Neoverse N1 ซีพียูสำหรับการให้บริการคลาวด์เต็มรูปแบบ และ Arm Neoverse E1 ซีพียูสำหรับงานที่ต้องการทรูพุตสูงๆ

Neoverse N1 เป็นซีพียูที่ออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพประมวลผลสูงขึ้นกว่า Arm Cortex-A72 โดยทาง Arm ระบุว่าประสิทธิภาพ nginx เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า, แอปจาวาเพิ่ม 1.7 เท่า, MySQL เพิ่ม 1.7 เท่าและ Memcache เพิ่ม 2.5 เท่า

Tags:
Node Thumbnail

เว็บไซต์ข่าว Axios อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดพนักงานของแอปเปิลและอินเทล ระบุว่าแอปเปิลกำลังพัฒนาคอมพิวเตอร์ตระกูล Mac ที่เปลี่ยนมาใช้ซีพียู ARM แทนซีพียูของอินเทลในอีก "ไม่กี่ปีข้างหน้า" (coming years) โดยแหล่งข่าวบางรายระบุว่าอาจออกในปีหน้า 2020 เลยด้วยซ้ำ

ข่าวนี้สอดคล้องกับ ข่าวลือและทิศทางของแอปเปิลในช่วงก่อนหน้านี้ ที่ต้องการรวมแพลตฟอร์ม iOS และ macOS เข้าด้วยกัน

Tags:
Node Thumbnail

เรารู้จักซีพียูตระกูล Kirin ของ Huawei ที่ใช้ในสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์พกพา แต่บริษัทก็เพิ่งเปิดตัวซีพียู ARM สำหรับงานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ในชื่อว่า Kunpeng 920

สถาปัตยกรรมของ Kunpeng 920 อิงอยู่บน ARMv8 โดย Huawei ออกแบบเพิ่มเติมเอง ชิปมีทั้งหมด 64 คอร์ ใช้คล็อค 2.6GHz, แรม DDR4 8-channel, ใช้กระบวนการผลิตระดับ 7 นาโนเมตร เหมาะสำหรับงานด้าน big data และ distributed storage

จุดเด่นของ Kunpeng 920 ที่ Huawei ชูขึ้นมาคือเรื่องประสิทธิภาพ ได้คะแนนเบนช์มาร์ค SPECint 930 คะแนน สูงกว่าอันดับสองในตอนนี้ถึง 25% และมีอัตราประหยัดพลังงานดีกว่าคู่แข่ง 30% จึงเป็นประโยชน์กับงานประมวลผลในศูนย์ข้อมูล เพราะช่วยลดการใช้พลังงานลง

Tags:
Node Thumbnail

ปีที่แล้วเราเห็นไมโครซอฟท์ออก Always Connected PC ที่ใช้ซีพียู Snapdragon บนสถาปัตยกรรม ARM โดยชูจุดเด่นเรื่องอายุแบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่า และเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา

แต่ข้อเสียของการใช้ Windows on ARM (ชื่อทางการค้าคือ Windows on Snapdragon) คือแอพพลิเคชันแบบดั้งเดิม จำเป็นต้องคอมไพล์ใหม่เป็น ARM ด้วย

แอพพลิเคชันตัวสำคัญคือเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งปัจจุบันยังมีแต่ Edge ของไมโครซอฟท์เองเท่านั้น ถึงแม้มีข่าวเรื่อง Chrome ออกมา แต่ก็ยังไม่มีของจริงเกิดขึ้นในตอนนี้ กลับเป็นค่าย Firefox ที่ออกเบราว์เซอร์เวอร์ชัน ARM ก่อน

Tags:
Node Thumbnail

Arm เปิดตัวซีพียู Cortex-A65AE ซีพียูสำหรับระบบอัตโนมัติในรถยนต์รุ่นที่สอง หลังจากเปิดตัว Cortex-A76AE ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ความน่าสนใจเป็นพิเศษคือ Cortex-A65AE เป็นซีพียูรุ่นแรกที่มีฟีเจอร์ simultaneous multithreading (SMT) หรือที่รู้จักกันในซีพียู x86 ในชื่อ hyperthreading ทำให้สามารถรันสองเธรดได้ในคอร์เดียว

Tags:
Node Thumbnail

ข่าวที่น่าสนใจจากงาน AWS re:Invent 2018 คือ EC2 เปิดตัวเครื่องประเภท A1 ที่ใช้ซีพียู ARM แถมเป็นซีพียู ARM ที่ Amazon ออกแบบเองทั้งหมดด้วย

AWS ให้ข้อมูลของซีพียูตัวนี้ว่าชื่อ Graviton พัฒนาบนสถาปัตยกรรม ARM และออกแบบมาเพื่อลดต้นทุนเป็นหลัก (เมื่อเทียบกับ x86) รูปแบบงานที่ AWS แนะนำให้รันบน A1 คืองานที่สามารถแตกเป็นเวิร์คโหลดขนาดเล็กๆ แล้วสเกลตามจำนวนเครื่องได้ เช่น container, microservice, webserver, caching เป็นต้น

Tags:
Node Thumbnail

ในงาน AWS re:Invent วันนี้ AWS ได้เปิดตัว EC2 instance type ใหม่ดังนี้

  • ประเภท C5n เป็น C5 ที่อัพเกรด network ให้แรงสูงสุด 100Gbps
  • ประเภท P3dn.24xlarge ให้ network 100Gbps, SSD บนเครื่อง และการ์ด NVIDIA TESLA v100 จำนวน 8 ใบ
  • และประเภท A1 ใช้ CPU AWS Gravitron ซึ่งเป็น CPU ARM ที่ AWS ออกแบบขึ้นมาเอง ผมลองคำนวณเทียบกับ c5 ที่ CPU/Memory เท่ากันแล้วราคาจะถูกกว่า 40%

ช่วงแรก instance ใหม่นี้ใช้ได้เฉพาะ region N. Virginia, Ohio, Oregon และ Ireland เท่านั้น ยกเว้น P3dn.24xlarge ที่ยังต้องรอประกาศต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์พยายามผลักดัน Windows บนสถาปัตยกรรม ARM มาหลายครั้ง นับตั้งแต่ Windows RT มาจนถึง Windows on ARM ในปัจจุบัน แต่ปัญหาที่เจอมาโดยตลอดคือขาดแอพดังๆ หลายตัวที่รองรับสถาปัตยกรรม ARM ทำให้ไม่ดึงดูดให้คนมาใช้งาน

หนึ่งในแอพสำคัญที่ยังไม่รองรับ Windows on ARM คือ Chrome แต่ล่าสุด มีทีท่าว่ากูเกิลร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในเรื่องนี้แล้ว เพราะมีการส่งโค้ดจากวิศวกรของไมโครซอฟท์เข้ามายังโครงการ Chromium ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Windows ARM64 โดยตรง

นอกจากนี้ Qualcomm ในฐานะพาร์ทเนอร์ฮาร์ดแวร์ ARM ของไมโครซอฟท์ ก็เปิดเผยว่าส่งทีมเข้าไปช่วยพอร์ต Chrome ลง Windows 10 on ARM ด้วยเช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

ARM เปิดตัวระบบปฎิบัติการใหม่ Mbed Linux OS ขยายไลน์จาก Mbed OS เดิม ไว้ใช้กับชิปที่พลังประมวลผลสูงขึ้นมา เช่น Cortex-A (เทียบกับ Mbed OS ที่ใช้กับ Cortex-M) แนวทางนี้ทำให้มันเป็นคู่แข่งกับ Azure Sphere โดยตรง

แม้จะเป็นลินุกซ์แต่ก็ถูกดัดแปลงอย่างหนัก โดยเน้นความต้องการของอุปกรณ์ IoT คือ ระบบปฎิบัติการต้องซัพพอร์ตระยะยาว ไม่จำกัดแค่ 3-5 ปีเหมือนเดสก์ทอปหรือเซิร์ฟเวอร์, การโจมตีทำได้ยากเพราะตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกทั้งหมด, มีกระบวนการอัพเดตจากระยะไกลและตรวจสอบสถานะของเครื่องได้

Tags:
Node Thumbnail

ค่ายซีพียูที่เป็นคู่แข่งกันมานานอย่าง ARM และ Intel ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาระบบบจัดการอุปกรณ์ IoT ให้ทำงานร่วมกันได้ เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่จะมีจำนวนมากขึ้นในอนาคต ที่จะอาศัยกุญแจในตัวฮาร์ดแวร์เพื่อยืนยันแทนการคอนฟิกอุปกรณ์ด้วยมือไปเรื่อยๆ

โดยความตกลงนี้ อินเทลจะใช้เทคโนโลยี Intel Secure Device Onboard (SDO) ของตัวเองสำหรับการยืนยันความเป็นเข้าของอุปกรณ์ เช่น ลูกค้าที่ซื้อหลอดไฟต่ออินเทอร์เน็ตมาจำนวนมากๆ สามารถอัพโหลดกุญแจของตัวเองเข้าไปในอุปกรณ์เพื่อแสดงความเป็นเข้าของ โดยกระบวนการเช่นนี้ใช้งานในระบบ IoT เป็นเรื่องปกติ แต่ Intel SDO สร้างกระบวนการเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของอุปกรณ์ที่ปลอดภัย และชัดเจนกว่า และสามารถทำงานได้กับแพลตฟอร์มหลากหลาย

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ARM เปิดตัว Cortex-A76 มาตั้งแต่กลางปีโดยระบุแต่ต้นว่าจะมีประสิทธิภาพระดับแล็ปท็อป ตอนนี้ก็มีการคาดการณ์ (forward-looking) ว่าสินค้าที่ออกมาจริงจะมีประสิทธิระดับเดียวกับซีพียู Intel Core i5-7300U ขณะทำงานในโหมด Turbo เมื่อวัดประสิทธิภาพด้วย SPECint 2006 แต่กินพลังงานเพียง 5 วัตต์ ขณะที่ Core i5 กินพลังงาน 15 วัตต์

แม้ตัวเลขจะน่าประทับใจแต่ควรตระหนักว่า SPECint เป็นแนวทางการวัดที่ค่อนข้างเก่า ตัวอย่างการวัดประสิทธิภาพ เช่น การทำงานของ Perl 5.8.7, การบีบอัดไฟล์ด้วย bzip2, หรือการคอมไพล์โปรแกรมด้วย gcc 3.2 ขณะที่ SPEC เองมีมาตรฐานการวัดความเร็วซีพียูใหม่ๆ เช่น SPEC CPU 2017

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ARM บริษัทออกแบบซีพียูที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือแทบทุกรุ่นประกาศขายหุ้นใน ARM Technology (China) ออกไป 51% เป็นเงิน 775.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่บริษัทแม่ถือหุ้น 100% โดยผู้ซื้อเป็นสถาบันการเงินจีนและพันธมิตรหลายรายร่วมกันลงเงิน

ซีพียูระดับสูงของจีนเป็นสถาปัตยกรรม ARM ถึง 95% แต่สหรัฐฯ เพิ่งแบน ZTE ทำให้รัฐบาลจีนหันมาสนใจการพัฒนาซีพียูด้วยตัวเองมากขึ้น

รายได้ของ ARM มาจากจีน 20% ของรายได้ทั้งหมด หลังจากขายบริษัทสาขาจีนออกไปแล้ว ตัวบริษัทแม่จะยังคงได้รับค่าไลเซนส์ "ในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ" ต่อไป

Tags:
Node Thumbnail

ARM เปิดตัว CPU ระดับเรือธง Cortex-A76 แทนที่ Cortex-A75 ที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว โดย Cortex-A76 ยังคงใช้ DynamIQ เช่นเดียวกับ Cortex-A75 เพื่อการคอนฟิกคลัสเตอร์ที่หลากหลาย

ARM ได้นำเสนอถึงตลาดใหม่ของ ARM เอง (Windows 10 on ARM) โดยคาดการณ์ว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพแล็ปท็อปที่ใช้ ARM ให้ดีกว่ารุ่นปัจจุบันได้ถึงสองเท่า ซึ่งรุ่นก่อนนั้นประสบปัญหาประสิทธิภาพ x86 ที่แย่กว่า Celeron N3450 ซึ่งเป็น CPU Intel ระดับล่างบนแล็ปท็อปเสียอีก

Pages