ทางการจีนกำลังพิจารณาเลือกว่าจะใช้สถาปัตยกรรมซีพียู (instruction set architecture - ISA) สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล (ซึ่งรวมไปถึงโอเปอเรเตอร์ของรัฐอย่าง China Mobile ด้วย)
ตอนนี้ตัวเลือกมี 5 แบบคือ MIPS, Alpha, ARM, Power และ UPU ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมซีพียูที่จีนพัฒนาเอง อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเป็นไปได้อีกเหมือนกันว่ารัฐบาลจีนอาจตัดสินใจออกแบบสถาปัตยกรรมของตัวเองใหม่ที่ไม่ใช่ UPU ได้เช่นกัน
ตอนนี้กระบวนการพิจารณายังเพิ่งเริ่มต้น และอาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะสิ้นสุด
จีนมีความใกล้ชิดกับสถาปัตยกรรม MIPS และ Alpha มาอยู่ก่อน เช่น ซีพียู Loongson ใช้สถาปัตยกรรม MIPS, ซีพียู Sunway Bluelight ใช้สถาปัตยกรรม Alpha
ระบบปฎิบัติการของกูเกิลในตอนนี้นั้นมีด้วยกันสองตัว คือ แอนดรอยด์และ Chrome OS ตัวแอนดรอยด์นั้นเพิ่งรองรับ x86 มาได้ไม่นาน ตอนนี้ก็มีข่าวว่า Chrome OS กำลังกลับมารองรับ ARM ด้วยอีกตัวหนึ่ง
ข่าวนี้เกิดจากที่นักพัฒนาของ ChromeOS คนหนึ่งได้โพสข้อความเกี่ยวกับชิปอีเธอร์เน็ตบนบอร์ด "Daisy" ซึ่งไม่มีใครรู้ว่ามันคือบอร์ดอะไร กับบอร์ด SMDK5250 ที่เป็นรหัสของชิป Samsung Exynos 5250 จากข่าวข้อความนี้ทำให้เรารู้ว่ากูเกิลนั้นพอร์ต Chrome OS ไปอยู่บนชิป ARM มาได้ระยะหนึ่งแล้ว และกำลังรองรับชิปรุ่นใหม่ที่ยังไม่วางตลาดเพิ่มเติมด้วย
โปรเจค "Internet of things" ของ ARM ปรากฏเป็นข่าวลือในวันนี้ และมันเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากให้มันเป็นจริง แต่ข่าวนี้จะกล่าวอาจจะเป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าก็ได้
- ด้าน ARM กำลังพัฒนาชิพ Cortex-Mo+ เพื่อรองรับการใช้งานด้วยคำสั่งแบบนิ้วสัมผัส
- Cortex-Mo+ ใช้พลังงานในระดับที่ต่ำกว่าและถูกออกแบบและผนวกเอาโปรแกรมไว้ในตัวชิพ
- Cortex-Mo+ ที่ผ่านการปรับปรุงจะมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ใช้พลังงานสอดคล้องกับการใช้งาน (หลักการเหมือน CPU Multicore)
- Cortex-Mo+ ใช้ชุดคำสั่งแบบ 32 bit ที่มีอยู่บน Mo
แม้ ARM จะพยายามบุกตลาดที่สูงขึ้นเช่นเซิร์ฟเวอร์และเดสก์ทอป แต่ตลาดอุปกรณ์ขนาดเล็กนั้นก็เป็นตลาดที่ ARM แข็งแกร่งอยู่ก่อน แต่ตลาดอุปกรณ์ขนาดเล็กนั้นก็มีการแข็งขันสูงมาก และอุปกรณ์ในกลุ่มไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น ARM ยังประหยัดพลังงานไม่พอ ทำให้ต้องออก Cortex-MO+ ชิปรุ่นใหม่ที่จะบุกตลาดไมโครคอนโทรลเลอร์เพิ่มเข้ามา
เป้าหมายของ Cortex-MO+ คือการไปแทนที่ไมโครคอนโทรลเลอร์ในกลุ่ม 8 หรือ 16 บิต โดยตัว Cortex-MO+ จะผลิตที่กระบวนการผลิต 90 นาโนเมตรและใช้พลังงานเพียงหนึ่งในสามของชิปเหล่านั้น
อุปกรณ์จำนวนมากกำลังจะมีความสามารถในการต่อกับอินเทอร์เน็ตในอนาคต รายงานจากซิสโก้คาดว่าจะมีอุปกรณ์กว่า 50,000 ล้านชิ้นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายในปี 2020
สิ้นสุดการรอคอย แม้จะมาเล่าข่าวช้าไปนิด จากข่าวเก่า ตอนนี้ เปิดจำหน่าย Raspberry Pi คอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว แต่แสดงภาพขนาด 1080p ได้ ลง Linux ได้ มีสองแบบคือ Model A ซึ่งมี RAM ขนาด 256 MB ( ตอนแรก Model A วางแผนว่าจะมีแค่ 128 MB ) และ USB 1 ช่อง ราคา 25 ดอลลาร์สหรัฐ และ Model B ซึ่งมี RAM ขนาด 256 MB มี USB 2 ช่อง และมี Ethernet ราคา 35 ดอลลาร์สหรัฐ
เท่าที่อ่านจากข่าว ดูเหมือนขายเกลี้ยงแล้ว ต้องจองและรอการผลิตรอบหน้า ทั้งนี้ผู้คิดค้นคือ Raspberry Pi Foundation ใช้วิธีให้ลิขสิทธิ์ RS Components และ Premier Farnell ไปผลิตและจำหน่าย
หลังจากประสบความสำเร็จกับตลาดอุปกรณ์พกพา เราก็เห็นข่าว ARM เตรียมบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์ ในเร็วๆ นี้ และตลาดต่อไปที่ ARM กำลังจะมุ่งไปคืออุปกรณ์เครือข่าย (ซึ่งเป็นตลาดที่ซีพียูตระกูล MIPS ครองอยู่)
จากข้อมูลล่าสุดของไมโครซอฟท์เรื่อง Windows on ARM (WOA) เรารับรู้ว่า Windows 8 รุ่น ARM จะยังมีเดสก์ท็อปแบบ Windows 7 แต่จำกัดแอพที่เป็น native เพียงแค่แอพของไมโครซอฟท์บางตัว เช่น IE, Windows Explorer, Microsoft Office เท่านั้น แอพที่เหลือต้องเขียนขึ้นมาใหม่ด้วย WinRT เท่านั้น ไม่อนุญาตให้รันแอพแบบ native ตัวอื่น
ในบล็อกที่ไมโครซอฟท์โชว์ Windows 8 บน ARM มีวิดีโอสาธิตการทำงานให้ดูหนึ่งคลิป ซึ่งในคลิปนี้ ไมโครซอฟท์ได้เปิดหน้าจอของ Office 15 ที่ทำงานบน ARM ให้เราดูกันเป็นครั้งแรก
ไมโครซอฟท์ได้เผยรายละเอียด Windows สำหรับชิปตระกูล ARM โดยบริษัทตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งจะถูกนับเป็นเวอร์ชันหนึ่งของระบบปฏิบัติการ Windows ว่า Windows on ARM (WOA) รายละเอียดที่น่าสนใจของ WOA มีดังนี้
กระแสชิปตระกูล ARM ที่ร้อนแรงขึ้นมาเรื่อยๆ ในรอบปีหลัง สร้างความกดดันต่อผู้ผลิตชิปตระกูล x86 อย่าง Intel และ AMD ไม่น้อย
ในขณะที่ทางออกของ Intel คือพัฒนาชิปแบรนด์ Atom ให้แข่งขันกับ ARM ได้ แต่ทางเลือกของ AMD อาจจะไปในทิศทางอื่น
เว็บไซต์ Wired ได้ถามคำถามนี้กับ Mark Papermaster ซึ่งเป็น CTO ของ AMD (ถ้ายังจำกันได้ แกเคยอยู่กับแอปเปิลมาก่อน) คำตอบที่ได้จากเขาคือ "เราไม่ปฏิเสธ" (not no)
คำตอบนี้ยังไม่ใช่ yes ได้เต็มปาก แต่ก็แสดงให้เห็นโอกาสที่ AMD จะหันมาผลิต ARM ได้ในอนาคต
Papermaster ยังให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางของ AMD ในอนาคตอันใกล้ว่าจะทำชิปที่มีลักษณะเป็นโมดูลมากขึ้น ทำให้สามารถผสมผสานส่วนประกอบต่างๆ ของชิปเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็วกว่าเดิม
CNet รายงานถึงเนื้อหาการค้นคว้าจาก Citigroup ที่หลังจากได้รับข้อมูลจากทิม คุกและซีเอฟโอของแอปเปิล Peter Oppenhimer พบว่า MacBook Air ไม่น่าจะเปลี่ยนมาใช้ชิปประมวลผล ARM แม้ว่าแพลตฟอร์ม iOS จะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยจากการพูดคุยกับพนักงานระดับสูงของแอปเปิลทั้งสอง เชื่อว่าแทนที่ MacBook Air จะมีการเปลี่ยนมาใช้ ARM แพลตฟอร์มไอแพ็ดต่างหากที่โตขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มกินตลาดของ MacBook Air แทน และสิ่งที่คนอื่นคาดว่า MacBook Air ที่ใช้ชิป ARM ทำได้ก็น่าจะสามารถทำได้ด้วยไอแพ็ดในอนาคตอยู่แล้ว
Marvell เป็นบริษัทผู้ผลิตชิปตระกูล ARM อีกรายหนึ่ง (ซื้อต่อมาจากอินเทลอีกทีหนึ่งเมื่อปี 2006) ที่ไม่ค่อยดังเท่ากับ Qualcomm, NVIDIA หรือซัมซุง
อย่างไรก็ตาม Marvell มีลูกค้าเหนียวแน่นอยู่หนึ่งรายคือ BlackBerry ที่ใช้ซีพียู Marvell ARMADA เจาะตลาดสมาร์ทโฟนราคา (ค่อนข้าง) ถูกในอินโดนีเซียและจีนได้ประสบความสำเร็จ
Jack Kang ผู้บริหารของ Marvell ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ DailyTech ว่าจุดแข็งที่สุดของบริษัทคือ "มือถือราคาถูกแต่คุณภาพดี" (quality low-cost devices) ซึ่งตลาดจีนเป็นตลาดที่สำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของบริษัท
Warren East ซีอีโอของ ARM ให้สัมภาษณ์กับสื่อในงานแถลงผลประกอบการประจำไตรมาส มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
กระแสการนำซีพียูตระกูล ARM มาทำเซิร์ฟเวอร์เริ่มเป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ และล่าสุดซีอีโอของ ARM คือ Warren East ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าเราจะได้เห็นเซิร์ฟเวอร์ ARM บุกตลาดอย่างจริงจังในปี 2014
East บอกว่าตอนนี้ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์หลายรายกำลังทดสอบ ARM อยู่ ทำให้บริษัทของเขามีความมั่นใจมากขึ้นมาก หลังจากที่เริ่มเจาะตลาดนี้ตั้งแต่ปี 2008
ข่าววินโดวส์จะซัพพอร์ต ARM อาจจะเป็นข่าวใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ แต่เรื่องน่าเศร้าอาจจะเป็นว่า เครื่องที่ใช้วินโดวส์เหล่านั้นจะไม่สามารถติดตั้งระบบปฎิบัติการอื่นๆ เหมือนที่เราเคยทำได้ในพีซีอีกต่อไป
เรื่องนี้ทางศูนย์กฏหมายเพื่อเสรีภาพทางซอฟต์แวร์ (Software Freedom Law Center - SFLC) ได้ออกมาวิจารณ์เงื่อนไขการรับรองฮาร์ดแวร์ของ Windows 8 ว่าจงใจที่จะกีดกันไม่ให้ระบบปฎิบัติการอื่นๆ สามารถติดตั้งลงไปในเครื่องได้ ผ่านทางระบบ Secure Boot
เว็บไซต์ Computerworld UK เปิดเผย Windows 8 Hardware Certification Requirements ที่ไมโครซอฟท์เพิ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งกล่าวถึงการเปิด/ปิด Secure Boot ว่า ระบบที่ไม่ใช่แพลตฟอร์ม ARM จะต้องรองรับการปิด Secure Boot ในระดับเฟิร์มแวร์ แต่ระบบที่เป็นแพลตฟอร์ม ARM จะห้ามปิด Secure Boot จึงทำให้มีความเป็นไปได้ที่ไมโครซอฟท์จะล็อกไม่ให้ผู้ใช้ติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นที่มีพื้นฐานจาก Linux บนแท็บเล็ตแพลตฟอร์ม ARM ที่มาพร้อมกับ Windows 8
ที่งาน CES 2012 ผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่อีกรายคือ Texas Instrument หรือ TI ก็โชว์มือถือต้นแบบที่ใช้ซีพียูตัวใหม่ OMAP 5
TI เปิดตัว OMAP 5 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ความสำคัญของมันคือใช้สถาปัตยกรรม Cortex-A15 MPCore รุ่นล่าสุดของตระกูล ARM โดยจะใช้ซีพียูดูอัลคอร์ และอัดความถี่ไปได้สูงถึง 2GHz
คุณ Warren East ซีอีโอของ ARM ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ในงาน CES 2012 ว่า บริษัทได้รอคอยเป็นเวลานานกว่าที่จะมี Windows สำหรับแพลตฟอร์ม ARM หากจะต้องรออีกสักหกถึงสิบสองเดือนก็ไม่ถือเป็นสาระสำคัญแต่ประการใด เราควรที่จะต้องรอเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีมากกว่าที่จะปล่อยผ่านมันไป
คุณ East ยังให้สัมภาษณ์ถึงคู่แข่งของ Windows ในตลาดแท็บเล็ตอย่างระบบปฏิบัติการ Android ว่า Android นั่นเป็นที่ได้รับความนิยม และบริษัทก็ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของกูเกิล แต่ในตลาดแท็บเล็ตนั่นก็ยังมีที่ว่างให้ไมโครซอฟท์อยู่ และเราก็ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของไมโครซอฟท์เช่นกัน
หลังจาก อินเทลเปิดตัว Atom Z2460 "Medfield" ที่หมายมั่นว่าจะลุยตลาดสมาร์ทโฟน x86 ได้สักที ทางฝั่งคู่แข่งรายสำคัญคือ ARM นำโดยซีอีโอ Warren East ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้
Warren East บอกว่า Medfield ทำออกมาได้ดีในระดับหนึ่ง (good enough) แต่ยังไม่สามารถแข่งขันกับดีไซน์ของ ARM ได้
NVIDIA ได้เปิดตัว CARMA (CUDA on ARM development kit) ซึ่งเป็น CUDA เวอร์ชันที่สนับสนุนซีพียู ARM อย่างเป็นทางการ
การเปิดตัว CUDA บน ARM ครั้งนี้ก็สอดคล้องกับข่าวเก่าที่ได้มีการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ด้วยซีพียู ARM ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการใช้พลังงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
สเปคคร่าวๆ สามารถดูได้ในที่มา ขณะที่รายละเอียดฉบับเต็มยังไม่เป็นที่เปิดเผย ส่วนชุดติดตั้งสำหรับนักพัฒนานั้นจะเปิดให้ดาวน์โหลดได้ในวงจำกัดในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2012 สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดตามและลงชื่อรอได้ที่นี่
DigiTimes รายงานว่า ไมโครซอฟท์ได้เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตชิปเลือกผู้ผลิตคอมพิวเตอร์มาเป็นคู่ค้าหลักและคู่ค้ารองในการพัฒนาแท็บเล็ตรัน Windows 8 ผลปรากฎว่า NVIDIA เลือกเลอโนโวเป็นคู่ค้าหลักและเอเซอร์เป็นคู่ค้ารอง Qualcomm เลือกซัมซุงเป็นคู่ค้าหลักและโซนี่เป็นคู่ค้ารอง และ Texas Instruments เลือกโตชิบาเป็นคู่ค้าหลักและซัมซุงเป็นคู่ค้ารอง
ผู้ให้ข้อมูลระบุว่าซัมซุงเป็นตัวเลือกที่ดีเพราะโดดเด่นในบรรดาผู้ผลิตแท็บเล็ตที่ต่อกรกับ iPad ส่วนเลอโนโวนั้นเป็นตัวเลือกที่ดีในการทำตลาดในประเทศจีน
เว็บไซต์ DigiTimes เปิดเผยว่าเอซุสและเลอโนโวจะเปิดตัวโน้ตบุ๊กตัวแรกที่ใช้ชิป ARM และรัน Windows 8 ราวเดือนมิถุนายนของปี 2013 นอกจากนั้น DigiTimes ยังระบุว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่จะเข้าสู่ตลาดโน้ตบุ๊กที่ใช้ชิป ARM และรันระบบปฏิบัติการ Windows คือการสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์
ถึงแม้ว่าซีอีโอของ Qualcomm คุณ Paul Jacobs จะเคยกล่าวไว้ว่าอุปกรณ์ที่ใช้ชิป ARM ตระกูล Snapdragon และรัน Windows 8 จะเข้าสู่ตลาดในปีหน้า และยังกล่าวว่าปัญหาด้านการสนับสนุนซอฟต์แวร์ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่หากข่าวนี้เป็นความจริงก็เป็นไปได้ที่ "อุปกรณ์" (ต้นฉบับใช้ device) จะหมายถึงแท็บเล็ตเพียงอย่างเดียว
ไมโครซอฟท์เปิดเผยว่า ในวันที่ 6 ธ.ค. นี้จะเผยรายละเอียด Windows Store หรือ app store บน Windows 8 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวตรงกับวันที่ไมโครซอฟท์จะ roll out แดชบอร์ดแบบ Metro-style ของ Xbox ประกอบเหล่านักทดสอบที่ได้ลองใช้แดชบอร์ดแบบใหม่ให้ข้อมูลว่ามีฟังก์ชัน app store อยู่ด้วย ซึ่งตอนนี้มีแอพพลิเคชันอยู่หลายตัว อาทิ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เป็นต้น จึงมีความเป็นไปได้ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องระหว่าง Windows Store กับแดชบอร์ด Xbox ใหม่ ต้องรอตามข่าววันที่ 6 ธ.ค. กันอีกที - ZDNet
ซัมซุงประกาศข่าวของซีพียูตระกูล Exynos ตัวใหม่ที่กว่าเราจะได้จับต้องมันจริงๆ ก็อาจจะปลายปี 2012 หรือข้ามไปถึงปี 2013 โน่นเลย
ซีพียูตัวนี้คือ Exynos 5250 ซึ่งจะอยู่อิงกับซีพียูตัวใหม่ของ ARM คือ Cortex-A15 ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว โดยผลิตที่ 32 นาโนเมตร มีสองคอร์ และใช้สัญญาณนาฬิกา 2GHz
ตามปกติแล้วบน Android เรามีเครื่องมือพัฒนาแอพอยู่สองอย่างคือ Android SDK ที่เป็น Java/Dalvik และ Android NDK ที่ทำงานแบบ native C/C++ สำหรับงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงๆ อย่างเกมสามมิติ
ล่าสุดทาง ARM ออกเครื่องมือพัฒนาแอพแบบ native มาเป็นทางเลือกนอกจาก NDK โดยชื่อของมันคือ ARM Development Studio 5 Community Edition (ตัวย่อ DS5-CE)
รูปแบบการทำงานของ DS5-CE คงไม่ต่างอะไรกับ NDK แต่ก็เหนือกว่าตรงเครื่องมือปรับแต่งประสิทธิภาพที่มาจากคนออกแบบชิปโดยตรง ซึ่งจะเน้นที่การใช้พลังงานของแอพมากเป็นพิเศษ