NVIDIA ประกาศความร่วมมือกับ Barcelona Supercomputing Center ในสเปน สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์แนวใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดว่ามันจะเป็นไปได้ นั่นคือสร้างจากซีพียูตระกูล ARM
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะใช้ Tegra 3 ที่เพิ่งเปิดตัวหมาดๆ ร่วมกับ GPU ของ NVIDIA เองเพื่อเร่งประสิทธิภาพในการประมวลผล โดยเขียนโปรแกรมได้ผ่าน CUDA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ NVIDIA เช่นกัน
จุดเด่นของคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือการลดพลังงานที่ใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งคาดว่าจะลดลงได้ 40% เมื่อเทียบกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั่วไป (เป้าหมายของ Barcelona Supercomputing Center คือลดลงให้ได้ 15-30 เท่าของซูเปอร์คอมในปัจจุบัน)
คนที่ตามข่าวฮาร์ดแวร์มือถือ-แท็บเล็ตในช่วงนี้ คงคุ้นเคยกับชื่อ "Mali" ซึ่งไม่ใช่น้ำผลไม้แต่เป็น GPU ยี่ห้อหนึ่ง แถมยังออกแบบโดยบริษัท ARM เองและขายสิทธิการผลิตให้กับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่น (ลักษณะเดียวกับซีพียูตระกูล Cortex)
ลูกค้าชื่อดังของ Mali ที่เรารู้จักกันดีคือ Galaxy S II ซึ่งใช้ซีพียู Exynos ของซัมซุงเอง แต่ใช้หน่วยประมวลผลกราฟิกเป็น Mali-400 MP
คู่แข่งของ Mali ในวงการก็มีอีกหลายตัว เช่น Adreno ของค่าย Qualcomm และ GeForce ที่อยู่ใน Tegra
หลังจากเป็นข่าวลือมาไม่กี่วัน วันนี้เอชพีก็เปิดตัวโครงการเซิร์ฟเวอร์ ARM อย่างเป็นทางการแล้วในชื่อโครงการ Moonshot
โครงการ Moonshot ประกอบด้วยสามโครงการย่อย คือ
โครงการ BeagleBoard เป็นโครงการจาก Texas Instrument (TI) ที่จะออกแบบบอร์ดพัฒนาต้นแบบเพื่อให้นักพัฒนาสามารถสร้างสินค้าจากชิป ARM ของ TI ได้โดยง่ายโดยตัวบอร์ดที่เปิดเผยการออกแบบทั้งหมด ตอนนี้ทางโครงการก็ออกสินค้าใหม่คือ BeagleBone บอร์ดพัฒนาขนาดเล็กลงเพื่อพัฒนางานที่ไม่ต้องการแสดงผลออกทางหน้าจอ
BeagleBone อาศัยชิป TI AM3358 ที่เป็น Cortex-A8 สัญญาณนาฬิกา 720MHz ที่มีราคาต่อชิปเพียง 5 ดอลลาร์ต่อมาพร้อมกับ USB2.0 และพอร์ตแลนกิกะบิตในตัว ส่วนตัวบอร์ดนั้นจะต่อ I/O ออกมาให้, ใส่แรม 256MB, ชิปควบคุม SD, และสามารถพัฒนารวมถึงดีบักได้ผ่านทาง USB Serial/JTAG ในพอร์ตเดียว
มีแหล่งข่าวให้ข้อมูลกับสำนักข่าว Bloomberg และ Wall Street Journal ว่า HP เตรียมที่จะเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ชิป ARM ในเดือนหน้า โดย HP จะร่วมกับผู้ผลิตชิป Calxeda ในการขายชิปประเภท SoC (system on chip) ที่สามารถให้ทั้งประสิทธิภาพการประมวลผลและการประหยัดพลังงาน
ทั้ง ARM, HP และ Calxeda ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อข่าวดังกล่าว แต่ทางตัวแทนของ Calxeda ก็ให้ข้อมูลว่าบริษัทมีกำหนดจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในวันที่ 1 พ.ย. ส่วนตัวแทนทาง Intel ก็กล่าวว่าอีกนานกว่าที่ ARM จะพร้อมสำหรับการใช้งานแบบเซิร์ฟเวอร์
จากที่ลือกันมาข้ามปี ในที่สุด ARM ก็เปิดตัวสถาปัตยกรรมซีพียูที่รองรับการทำงานแบบ 64 บิตแล้ว
แนวทางการนำซีพียู ARM มาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะที่ผ่านมาความต้องการเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กกำลังประมวลผลต่ำแต่ประหยัดพลังงานมีสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อพันธมิตรรายใหญ่ของอินเทลอย่างเอชพีกลายเป็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ ARM เสียเอง งานนี้ก็อาจจะเป็นสัญญาณของความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวภายในสองคนระบุว่าเอชพีกำลังทำงานร่วมกับบริษัทที่ชื่อว่า Calxeda ผู้ผลิตชิป ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์, และซอฟต์แวร์สำหรับจัดงาน
นอกจากประเด็นว่า Ubuntu 12.04 LTS จะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 5 ปี ทางคุณ Mark Shuttleworth ก็ออกมาอธิบายทิศทางและฟีเจอร์ที่ Ubuntu 12.04 Precision Pangolin ต้องการจะมุ่งไป
ARM เปิดตัวซีพียู Cortex-A7 โดยชูจุดเด่นว่ามันจะเป็นซีพียูที่ประหยัดพลังงานที่สุดเท่าที่เคยออกแบบมา ประสิทธิภาพด้านพลังงานจะดีกว่า Cortex-A8 ถึง 5 เท่าตัว
Cortex-A7 จะเริ่มเดินสายการผลิตในปี 2013 คาดว่ามันจะถูกใช้ในโทรศัพท์ราคาต่ำกว่า 100 ดอลลาร์
พร้อมกับการเปิดตัวซีพียูใหม่ ARM ยังเปิดตัวสถาปัตยกรรม big.Little ที่ใช้ Cortex-A7 ประกบคู่กับ Cortex-A15 เพื่อย้ายงานไปมาตามโหลดที่เปลี่ยนแปลงไปแบบเดียวกับ NVIDIA Kal-El ที่มี 5 คอร์ ทำให้การเปลี่ยนโหมดพลังงานไปมาตามการใช้งานจริงจะไม่ใช่คุณสมบัติเฉพาะของ NVIDIA อีกต่อไปหลัง big.Little ออกวางตลาด
หากยังจำกันได้ เมื่อปีที่แล้ว Droid สามารถแก้ปัญหารูบิคได้ใน 24 วินาที ซึ่งแม้จะเร็วจนเราๆ ทึ่งเพราะบิดตามไม่ทันแล้ว แต่มันก็ยังเร็วไม่สะใจสาวกรูบิคระดับโลกซักเท่าไหร่ ปีนี้หุ่นยนต์แก้รูบิคจึงขอกลับมาล้างตาอีกรอบครับ
โดยเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า CubeStormer II ผู้สร้างคือ Mike Dobson และ David Gilday สองนักประดิษฐ์จากอังกฤษ มันถูกสร้างขึ้นมาจาก Lego Mindstorms NXT เพียง 4 ชุดเท่านั้น และด้วยการพึ่งพาซอฟแวร์ผ่าน Samsung Galaxy S II เจ้า CubeStormer II ก็สามารถแก้ปัญหารูบิคขนาด 3x3x3 ได้ภายในเวลาเพียง 5.35 วินาทีเท่านั้น ซึ่งเร็วกว่าความเร็วสูงสุดของมนุษย์ ไป 0.31 วินาทีเลยทีเดียว
ผู้สร้างวางแผนจะนำมันไปโปรโมทในงาน ARM TechCon 2011 ที่แคลิฟอร์เนียปลายเดือนนี้ ถ้าไม่มีตังค์บินไปดูของจริง ก็กดเข้ามาชมวิดีโอในข่าวได้เลยครับ
ที่มา: Engadget
ปลายปีนี้ NVIDIA กำลังจะเปิดตัวชิปตัวต่อจาก Tegra 2 ตอนนี้ก็เริ่มมีรายละเอียดเพิ่มเติม รายละเอียดที่เพิ่มขึ้นมาคือ Kal-El นั้นไม่ใช่เพียงชิป 4 คอร์เช่นคู่แข่งอื่นๆ แต่ภายในจริงๆ นั้นมีอยู่ 5 คอร์ โดยคอร์หนึ่งถูกสร้างขึ้นพิเศษเพื่อทำงานที่ความเร็วต่ำได้ประหยัดพลังงานกว่าคอร์อื่นๆ โดยเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Variable SMP
โครงการ Arduino นั้นเป็นโครงการสร้างบอร์ดสำหรับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ฝังตัวที่ได้รับความนิยมในหมู่นักประดิษฐ์ค่อนข้างมากจากการที่มันรวมเอาทั้งมาตรฐานฮาร์ดแวร์ มีบอร์ดมาตรฐาน ทำบอร์ดเสริมออกมาขายได้ และมีชุดซอฟต์แวร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้มากกว่าการเขียนซอฟต์แวร์บนไมโครคอนโทรลเลอร์เปล่าๆ โดยก่อนหน้านี้บอร์ดทั้งหมดของ Arduino ใช้ชิปสถาปัตยกรรม AVR ของ ATMEL ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะ แต่มีชิปราคาถูกขายอยู่จำนวนมาก แต่สินค้าชุดใหม่ของ Arduino ก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้ ARM แล้ว
สรุปข้อมูลที่น่าสนใจจากการตอบคำถามของผู้บริหารไมโครซอฟท์ ในงานพบปะนักวิเคราะห์การเงิน
ที่งาน BUILD ของไมโครซอฟท์คงไม่มีอะไรเป็นจุดเด่นเกินกว่า Windows 8 ที่ทุกคนหวังว่ามันจะมาทวงคืนความเป็นผู้นำจากทั้ง iOS และ Android โดยเฉพาะในตลาดแท็บเล็ต งานนี้ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัว Windows 8 Developer Preview ที่เริ่มเปิดให้ดาวน์โหลดสำหรับผู้ร่วมงาน โดยมันจะมาพร้อมกับชุด SDK และแอพพลิเคชั่นตัวอย่างในคราวเดียว
งานนี้เรื่องสำคัญที่สุดคือในงานนั้นยืนยันว่า Windows 8 จะรองรับ ARM อย่างแน่นอน
หน้าจอล็อกกลายเป็นรูปภาพขนาดใหญ่ และมีข้อมูลพื้นฐานของระบบให้แบบเดียวกับโทรศัพท์มือถือ
Cnet รายงานว่าอินเทลเองก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าพวกเขาได้ยินมาว่าแอปเปิลเตรียมออกสินค้าตระกูลใหม่ และความเป็นไปได้ที่สินค้าตระกูลดังกล่าวนี้คือคอมพิวเตอร์พกพาที่เปลี่ยนจากการใช้งานชิปของอินเทลมาเป็น ARM แทน
โดยนาย Greg Welch ผู้บริหารฝ่าย Ultrabook ของอินเทลกล่าวว่าเขาก็ได้ยินข่าวนี้จากสายของอินเทลมาเช่นกัน และอินเทลเองก็ไม่อาจที่จะมองข้ามข่าวเหล่านี้ไปได้ เราจึงต้องพยายามที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้แอปเปิลเลือกเราเป็นซัพพลายเออร์ต่อไป
DigiTimes หนังสือพิมพ์ข่าวอิเล็กทรอนิกส์ที่เสนอข่าว "รั่ว" ได้อย่างแม่นยำเสมอๆ ได้อ้างแหล่งข่าวภายในว่าภายในปลายปีนี้จะมีโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม ARM กับระบบปฎิบัติการ Android มาจากผู้ผลิตหลักๆ คือ ซัมซุง, เอเซอร์, โตชิบา, และอัสซุส โดยเฉพาะอัสซุสนั้นเชื่อว่าตอนนี้กำลังวางสายการผลิตโน้ตบุ๊กจอ 13 นิ้วที่ใช้ชิป Nvidia แล้ว
จุดเด่นของโน้ตบุ๊กเหล่านี้คือมันจะสามารถทำงานได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ โดยหากโน้ตบุ๊กเหล่านี้ได้รับการจำหน่ายในวงกว้างจริงๆ ก็นับเป็นการชนกันตรงๆ ครั้งแรกของสถาปัตยกรรม X86 กับ ARM
เมื่อรวมกับข่าวเก่าที่ผู้ผลิตจะผลิตแท็บเล็ตที่ใช้ Windows + X86 มากขึ้นแล้ว ปีหน้าเราคงเห็นคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่หลากหลายขึ้นมาก
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ผู้บริหารของอินเทลออกมาบอกว่า "Windows 8 รุ่น ARM รันโปรแกรมเก่าจาก x86 ไม่ได้" ดูท่าทางไมโครซอฟท์จะไม่พอใจกับเรื่องนี้เท่าไร
ไมโครซอฟท์ออกแถลงการณ์สั้นๆ ว่าข้อมูลของอินเทลไม่ตรงกับความเป็นจริง (inaccurate) และชวนให้เข้าใจผิด (misleading) อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์บอกว่ายังไม่มีข้อมูลจะแถลงอะไรเพิ่มเติมในตอนนี้
ที่มา - Business Insider
Renee James หัวหน้าฝ่ายซอฟต์แวร์ของอินเทล ให้ข้อมูลว่า Windows 8 จะแบ่งเป็นรุ่น x86 และรุ่น ARM
ทั้งสองรุ่นจะมีโหมดการทำงานสำหรับอุปกรณ์พกพาและแท็บเล็ต ซึ่งต้องใช้แอพพลิเคชันที่ออกแบบมาสำหรับ Windows 8 โดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตามจุดแตกต่างคือ Windows 8 รุ่น x86 จะมีโหมด Windows 7 ที่รองรับแอพพลิเคชันสายวินโดวส์เดิมๆ ทั้งหมด ในขณะที่ Windows 8 รุ่น ARM ไม่มี (และจะไม่มีวันมี ตามคำกล่าวของอินเทล) ซึ่งอินเทลนำมาชูเป็นจุดขายเหนือ Windows 8 ARM นั่นเอง
Paul Otellini ซีอีโอของอินเทลออกมาสยบข่าวลือว่าอินเทลจะซื้อสิทธิการผลิตชิปตระกูล ARM เนื่องจากอินเทลไม่สามารถแข่งขันในตลาดอุปกรณ์พกพาได้
Otellini บอกว่าการผลิตชิป ARM ไม่เป็นประโยชน์ต่ออินเทลแต่อย่างใด แถมการเสียค่าใช้งานให้กับ ARM ยังเพิ่มต้นทุนของอินเทลให้เพิ่มขึ้น เขาคิดว่าแนวทางการพัฒนาชิปของอินเทลเองเป็นวิธีที่ดีกว่า
Otellini ยังบอกว่าเทคโนโลยีการผลิตทรานซิสเตอร์ 3 มิติ จะช่วยลดพลังงานลงอย่างมาก โดยมือถือที่ใช้ซีพียู Atom รหัส "Medfield" ที่หมายมั่นมานานว่าจะสู้กับ ARM ได้ จะเริ่มวางขายในปีหน้า และตอนนี้อินเทลมีคู่ค้าร่วมผลิตมือถือจำนวนหนึ่งแล้ว
เก็บตกงาน Google I/O วันที่สอง ช่วงตอบคำถามจากสื่อมวลชน ทีมผู้บริหารของกูเกิลก็ให้ข้อมูลของ Chrome และ Chrome OS เพิ่มเติม ดังนี้
ก่อนหน้านี้มีรายงานเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่แอปเปิลจะเปลี่ยนจากการใช้ซีพียู x86 มาเป็นซีพียู ARM แทน ล่าสุดนักวิจัยตลาด Ben Reitzes จาก Barclays Capital อีกรายได้ออกมาอ้างว่าเป็นไปได้ที่แอปเปิลจะเปลี่ยนซีพียูในสินค้่าตระกูล MacBook ให้มาใช้ ARM ภายในปีหน้านี้
Reitzes ได้กล่าวว่าเขาเชื่อว่าแอปเปิลกำลังเร่งแก้ไขซอฟต์แวร์ให้สามารถทำงานได้บนสถาปัตยกรรมของ ARM โดยจากที่สังเกตมาซักระยะหนึ่ง จะสามารถบอกได้ว่าแอปเปิลเป็นบริษัทที่กำลังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าให้มีขนาดเล็กลงและมีอายุแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้นหากดูจากพัฒนาการของสินค้าตระกูล MacBook Air
ที่มา - 9to5Mac
SemiAccurate อ้างว่าพวกเขาได้ยินมาว่าแอปเปิลจะเริ่มเปลี่ยนหน่วยประมวลผลจากของอินเทล มาเป็น ARM แทน เมื่อชิป ARM เริ่มที่ทำงานที่ 64-bit ได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานับจากนี้ไปอีก 2 ปีเป็นอย่างต่ำ
แอปเปิลเป็นบริษัทที่ลงทุนกับสถาปัตยกรรม ARM มากพอสมควร โดยชิป ARM เป็นหัวใจหลักของอุปกรณ์ที่ใช้งาน iOS ของแอปเปิลตั้งแต่ไอโฟน ไปจนถึงสินค้าใหม่อย่างไอแพ็ด นอกจากนี้แอปเปิลได้เข้าซื้อ P.A. Semi และ Intrinsity บริษัทที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ARM ทำให้แอปเปิลสามารถดีไซน์ชิป ARM ด้วยตัวเองได้
การเชิญบริษัทพันธมิตรมาขึ้นเวทีคงไม่ใช่เรื่องแปลกในอุตสาหกรรมไอที แต่เมื่อ AMD ผู้ผลิตในตลาด x86 กลับไปเชิญผู้บริหาร ARM มาขึ้นเวทีงาน AMD Fusion Developer Summit (AFDS) ในปีนี้ก็นับเป็นเรื่องน่าแปลกใจว่าสองบริษัทนี้ที่มีสินค้าชนกันอยู่จะมาร่วมมือกันได้อย่างไร แต่ความร่วมมือของทั้งสองบริษัทก็เกิดขึ้นแล้วในการผลักดัน OpenCL
Jem Davies รองประธานของ ARM จะขึ้นพูดในเวทีหลักของงาน AFDS เพื่อแสดงประวัติของ ARM ถึงการสนับสนุนการประมวลผลหลากหลายรูปแบบ (heterogeneous computing) และแสดงการสนับสนุนมาตรฐาน OpenCL
สงครามมือถือระหว่างสองยักษ์เกาหลี Samsung/LG มีจุดต่างสำคัญอยู่ที่ Samsung สามารถผลิตซีพียูของตัวเองได้ (อย่างตระกูล Hummingbird) ในขณะที่ LG ต้องใช้ซีพียูจากผู้ผลิตรายอื่น เช่น Tegra 2
ล่าสุด LG เริ่มแก้จุดอ่อนนี้ของตัวเองแล้ว โดยซื้อสิทธิการพัฒนาซีพียูจาก ARM สองรุ่นคือ Cortex-A9 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และ Cortex-A15 ซีพียูแห่งอนาคตรุ่นถัดไป
นอกจากนี้ LG ยังซื้อสิทธิของ GPU ARM Mali-T604 และระบบส่งข้อมูล ARM CoreLink interconnect ด้วย ในแถลงข่าวของ LG บอกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกใช้ในอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ทีวี แท็บเล็ต เซ็ตท็อปบ็อกซ์ ด้วย
ในตอนนี้เราเริ่มจะเห็นสินค้าที่ใช้ ARM Cortex-A9 มากขึ้นเรื่อยๆ ทาง ARM ก็เริ่มให้ข้อมูลของสินค้าตัวต่อไปคือ Cortex-A15 ว่าจะเริ่มมีอุปกรณ์วางตลาดได้ในปลายปี 2012 ถึงต้นปี 2013 โดย ARM Cortex-A15 จะเป็นซีพียูจาก ARM ตัวแรกที่ให้ความเร็วระดับ "เดสก์ทอป" และคงเป็นชิปตัวแรกๆ ที่มีการนำมาใช้ผลิตเซิร์ฟเวอร์อย่างจริงจัง
กำหนดการล่าสุดนี้ถือว่าเลื่อนขึ้นจากกำหนดการเดิมเมื่อตอนเปิดตัว Cortex-A15 ว่าอุปกรณ์จะวางตลาดได้ในปี 2013 โดยปรกติแล้วการออกแบบสินค้าในกลุ่มอุปกรณ์เคลื่อนที่เช่นนี้มักใช้เวลาออกแบบประมาณ 12-18 เดือน ดังนั้นเมื่อ ARM ออกมาให้ข่าวแบบนี้เราอาจจะเดาได้ว่าเริ่มมีผู้ผลิตบางรายได้รับชิปตัวอย่างกันไปบ้างแล้ว