เมื่อวานนี้ (4 กรกฎาคม) Cisco ประเทศไทยจัดงานพบปะกับสื่อมวลชนที่สำนักงานของบริษัท ซึ่งเป็นการเปิดเผยเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ (หรืออาจจะเรียกว่าเป็นความฝันของ Cisco) ที่เรียกว่า Intercloud โดยมีคุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการของ Cisco ประเทศไทย โดยผมมีโอกาสไปร่วมงานนี้ด้วย จึงเก็บข้อมูลมาฝากกันครับ
คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์
ซิสโก้ออกประกาศแจ้งเตือนลูกค้าว่าทางบริษัทได้ใส่กุญแจ SSH ไว้ใน Cisco Unified Communications Domain Manager หรือ Unified CDM รุ่น 4.4.2 หรือเก่ากว่า สำหรับให้ซัพพอร์ตของทางซิสโก้รีโมตเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า
ปกติแล้วการล็อกอินเข้า SSH ผ่านกุญแจดิจิตอลนั้นต้องวางกุญแจสาธารณะ (ซึ่งมักตั้งชื่อไฟล์ว่า id_rsa.pub) ไว้ในเครื่อง แต่ทางซิสโก้กลับวางทั้งกุญแจสาธารณะและกุญแจลับไว้คู่กัน ซ้ำร้าย ทุกเครื่องยังใช้กุญแจเดียวกัน ทำให้ผู้ที่ติดตั้ง Unified CDM นี้สามารถดึงกุญแจลับเพื่อไปล็อกอินเครื่องอื่นๆ ได้ทั้งหมด
ทางซิสโก้ออกแพตช์สำหรับปัญหานี้แล้ว ผู้ดูแลระบบควรรีบอัพเดตโดยด่วนครับ
ซิสโก้ปล่อยไลบรารี Flexible Naor and Reingold หรือ FNR รูปแบบการเข้ารหัสสำหรับข้อมูลขนาดเล็กมากๆ เช่น หมายเลขไอพี, หมายเลข MAC, หรือหมายเลขบัตรเครดิต
ข้อเสียของกระบวนการเข้ารหัสทุกวันนี้คือมาตรฐานส่วนมากมักกำหนดขนาดบล็อคข้อมูลเอาไว้ตายตัว เช่น AES นั้นข้อมูลที่ใช้เข้ารหัสต้องมีขนาด 128/192/256 บิต หากขนาดข้อมูลไม่ลงตัวตามขนาดบล็อคก็ต้องเติมค่าว่างให้เต็มก่อนเข้ารหัส
libfnr สามารถเข้ารหัสข้อมูลเหล่านี้ได้โดยไม่เพิ่มขนาดให้ข้อมูลแม้แต่น้อย คุณสมบัตินี้สำคัญมากในกรณีที่เราต้องส่งข้อมูลไปยังระบบอื่นๆ ที่ล็อกขนาดข้อมูล เช่น ซอฟต์แวร์เก่าๆ ที่หลายครั้งกำหนดรูปแบบการส่งข้อมูลเป็น fixed-length
จากข่าวล่าสุดเรื่องโครงการสวิตซ์เครือข่ายแบบเปิด Wedge ของ Facebook นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างตั้งข้อกังวลว่าโครงการนี้อาจส่งผลกระทบกับ Cisco ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เครือข่ายรายใหญ่โดยตรง เพราะอาจเป็นการเปลี่ยนเกมธุรกิจฮาร์ดแวร์ให้เป็น commodity มากขึ้น
โฆษกของ Cisco ได้ชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวว่าโครงการนี้มีค่าใช้จ่ายแฝงในการนำไปใช้จริงอยู่มาก โดยเฉพาะค่าแรง ตัวอย่างเช่นโครงการวางระบบเครือข่ายทั่วไปนั้น ค่าใช้จ่ายฮาร์ดแวร์จะอยู่ราว 30% ขณะที่ค่าแรงบุคลากรอยู่ที่ 50% ซึ่งตัวเลขจะสูงขึ้นกว่านี้มากหากเป็นสวิตซ์เครือข่ายแบบเปิด นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายแฝงอย่างค่าไลเซนส์ซอฟต์แวร์เครือข่ายเสมือนจริงเพิ่มเข้ามาอีก
Cisco ประกาศเข้าซื้อกิจการบริษัท ThreatGRID ที่ทำโซลูชันด้านวิเคราะห์มัลแวร์ เพื่อเสริมทัพผลิตภัณฑ์สาย Advanced Malware Protection (AMP) ของ Cisco ที่ได้มาจากการซื้อ Sourcefire เมื่อปีที่แล้ว
ThreatGRID ถือเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยรายที่สามที่ถูก Cisco ซื้อในปี 2014 ซึ่งซีอีโอ John Chambers ก็ให้สัมภาษณ์ว่าความปลอดภัยบนเครือข่ายเป็นสิ่งที่ Cisco ให้ความสนใจมาก เพราะเครือข่ายเป็นตัวกลางระหว่างศูนย์ข้อมูล กลุ่มเมฆ กับอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้นถ้าสามารถป้องกันความปลอดภัยที่ชั้นของเครือข่ายได้ ก็จะทำให้ความปลอดภัยโดยรวมเพิ่มขึ้น
เอกสารชุดใหม่ที่เปิดเผยมาพร้อมกับหนังสือ No Place to Hide ของ Glenn Greenwald แสดงภาพเจ้าหน้าที่ NSA กำลังเปิดกล่องสินค้าซิสโก้เพื่อดัดแปลงก่อนแพ็กกลับเพื่อส่งออกนอกสหรัฐฯ ตอนนี้ทางซิสโก้ก็ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีโอบามา เรียกร้องให้เข้ามาจัดการปัญหานี้โดยเร็ว
บั๊ก Heartbleed ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยฝั่งของผู้จำหน่ายอุปกรณ์เครือข่ายรายใหญ่ทั้ง Cisco และ Juniper ออกมาประกาศข้อมูลอย่างเป็นทางการแล้ว
ฝั่ง Cisco มีผลิตภัณฑ์ที่ยืนยันว่าได้รับผลกระทบจำนวนหนึ่ง ทั้ง IP Phone, เซิร์ฟเวอร์, ซอฟต์แวร์ตระกูล Small Cell, WebEx, AnyConnect, TelePresence และยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากที่กำลังสอบสวนว่าได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่ - Cisco
กูเกิลเริ่มรุกคืบเข้าตลาดองค์กรอีกครั้ง โดยครั้งนี้กูเกิลร่วมมือกับซิสโก้เพื่อพัฒนา WebEx ให้ทำงานบน Chromebook เพื่อสาธิตการทำงานเบื้องต้น พร้อมกับประกาศว่าซิสโก้และกูเกิลกำลังร่วมกับพัฒนาให้ Cisco UC ทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกับ Google Apps ได้แนบแน่น
การร่วมบริการเข้าด้วยกันอาจจะทำให้เราสามารถเข้าประชุมใน WebEx ได้โดยกดลิงก์บน Google Calendar สามารถแชตและส่งแฟกซ์ผ่านบริการของซิสโก้
สินค้าจริงยังไม่มีขายและยังไม่กำหนดเวลา
แนวทาง Internet of Things (IoT) เป็นแนวทางที่ซิสโก้ระบุไว้ว่าจะเป็นแนวทางหลักของปีนี้ ตอนนี้ก็เริ่มเปิดตัวด้วยการจัดแข่งโครงการ Cisco Security Grand Challenge คัดเลือก 6 ทีมที่ข้อเสนอโครงการดีที่สุดรับเงินรางวัลรวม 300,000 ดอลลาร์ (เงินรางวัลละ 50,000 - 70,000 ดอลลาร์ ขึ้นกับจำนวนผู้ได้รางวัล)
ข้อเสนอโครงการแบ่งออกเป็นสามด้าน ได้แก่ การป้องกันมัลแวร์มีเงื่อนไขสำคัญคืออุปกรณ์ IoT นั้นมักจะอัพเกรดซอฟต์แวร์ได้ยาก, การจัดการการรับรองตัวตนระหว่างกัน ในอุปกรณ์ขนาดเล็กมาก มีทรัพยากรน้อย, และการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
ซิสโก้เพิ่งแถลงผลประกอบการประจำไตรมาสไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และผลออกมาไม่ดีนักเมื่อกำไรในบัญชีแบบ GAAP ลดลงถึง 54.5% ทั้งที่รายได้ลดลงไม่มากนัก ปรากฎว่าเงินจำนวนถึง 655 ล้านดอลลาร์เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากหน่วยความจำจากซัพพลายเออร์รายหนึ่งเสียหายมากกว่าปกติ กระทบสินค้าที่ขายไปในช่วงปี 2005-2010
หน่วยความจำมีอายุการใช้งานและมีโอกาสเสียหายเมื่อใช้งานไปเวลานานเป็นเรื่องปกติ บางครั้งเมื่อเสียหายจะไม่สามารถเปิดกลับมาใช้งานได้หลังปิดเครื่อง แต่สินค้าจำนวนหนึ่งกลับเสียหายด้วยอัตราผิดปกติ ทำให้ผู้บริหารซิสโก้ตัดสินใจเข้าาจัดการปัญหานี้แม้สินค้าส่วนใหญ่จะหมดประกันไปแล้วก็ตาม
ซิสโก้รายงานผลประกอบการไตรมาสที่สองของปีบัญชี 2014 รายได้ 11,200 ล้านดอลลาร์ลดลง 7.8% ขณะที่ผลกำไร 1,400 ล้านดอลลาร์ ลดลงถึง 54.5% โดยเทียบกับปี 2013 ทั้งคู่
แม้จะดูว่ากำไรลดลงมาก แต่เมื่อดูกำไรแบบ Non-GAAP จะมีกำไรไตรมาสนี้ 2,521 ล้านดอลลาร์ ขณะที่กำไรแบบเดียวกันในปีที่แล้วอยู่ที่ 2,722 ล้านดอลลาร์ ลดลง 7.4%
ซิสโก้ชูธงปีนี้ยังมีเทรนด์ใหญ่ คือ Internet of Everything ที่น่าสร้างมูลค่า 4.6 ล้านล้านดอลลาร์ให้หน่วยงานสาธารณะทั่วโลก ส่วนซีอีโอของบริษัทคือ John Chambers ระบุว่าผลประกอบการยังเป็นไปตามที่คาดหวัง
ที่มา - Cisco
เราเห็นข่าว ซัมซุงแลกสิทธิบัตรกับกูเกิลสิบปี และ กูเกิลแลกสิทธิบัตรกับซิสโก้ (ไม่ระบุปี) ไปแล้ว คราวนี้เป็นสองบริษัทนี้มาเซ็นสัญญาสิทธิบัตรกันเองโดยไม่ต้องผ่านกูเกิลบ้าง
ซัมซุงเปิดเผยข้อมูลของสัญญานี้สั้นๆ เพียงว่าจะแลกสิทธิบัตรกับ Cisco เป็นเวลา 10 ปี โดยครอบคลุมสิทธิบัตรที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสิทธิบัตรที่จะจดเพิ่มในอนาคตตลอด 10 ปีข้างหน้า ส่วนเป้าหมายก็เหมือนๆ เดิมว่าเพื่อลดความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องสิทธิบัตรนั่นเอง
ก่อนหน้านี้ซัมซุงเพิ่งเซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับ Ericsson และยุติคดีฟ้องร้องทั้งหมดแล้ว
กูเกิลยังคงเสริมทัพอย่างต่อเนื่อง หลังจากเพิ่งแลกสิทธิบัตรกับซัมซุงเพื่อเสริมแกร่งให้กับแอนดรอยด์เป็นเวลาสิบปีไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ตอนนี้ก็เพิ่งบรรลุข้อตกลงการแลกสิทธิบัตรกับซิสโก้อีกรายแล้ว
แม้ไม่มีรายละเอียดว่าทั้งสองบริษัทจะแลกสิทธิบัตรกันใช้เป็นเวลากี่ปี และเป็นจำนวนเท่าไร แต่ก็ระบุว่าสิทธิบัตรที่มีส่วนนั้นจะครอบคลุมผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีของทั้งคู่ เพื่อลดความเสี่ยงถูกฟ้องจากบรรดาบริษัทอื่น เช่นกันฟ้องเป็นแพกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ หรือรวมกลุ่มกันฟ้องแบบเคสนี้ เป็นต้น
Cisco ออกรายงานสรุปสถานการณ์ความปลอดภัยประจำปี 2013 โดยอ้างอิงสถิติจากผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยของบริษัทที่ทำงานอยู่ทั่วโลก
ซิสโก้ส่งอีเมลแจ้งคู่ค้ากว่าพันรายในภูมิภาค EMEA (ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา) ว่าจะหยุดขายสินค้าและบริการให้กับคู่ค้าเหล่านี้ เนื่องจากถูกใส่ชื่อในรายการ "Denied Partner List" (DNP) ทำให้คู่ค้าเหล่านี้ไม่สามารถสั่งสินค้าเพิ่มเติม หรือเปิดการใช้งานซัพพอร์ตกับทางซิสโก้ได้อีกต่อไป
ต่อจากข่าว Cisco ใจดีเตรียมปล่อยโค้ด H.264 เป็น open source ทางค่าย Mozilla ที่มีปัญหากับ H.264 ด้วยเหตุผลด้านค่าสิทธิการใช้งานมายาวนาน ก็ประกาศว่า Firefox จะรองรับ OpenH.264 ของ Cisco ในเร็วๆ นี้
Mozilla อธิบายว่าปัญหาของการใช้ H.264 คือต้องจ่ายเงินค่าใช้งานสิทธิบัตรให้กับ MPEG LA แต่เมื่อ Cisco ใจป้ำยอมจ่ายเงินส่วนนี้ให้แทน (ครอบคลุมถึงใครก็ได้ที่นำ OpenH.264 ไปใช้งาน ไม่เฉพาะ Firefox) ปัญหานี้จึงหมดไป
Cisco เตรียมปล่อยโค้ดการถอดรหัสสัญญาณ H.264 ให้เป็น open source เพื่อสนับสนุนระบบการสนทนาผ่านเว็บตามโครงการ WebRTC
ในปัจจุบันนี้ผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์หลายรายได้ปรับปรุงการทำงานให้ผู้ใช้สามารถสนทนาด้วยวิดีโอผ่านเว็บกันได้โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ใดๆ เพิ่มเติม ทว่าประเด็นที่สำคัญคือระบบการเข้ารหัสและถอดรหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ใช้กันอยู่นั้น บ้างก็นิยมเลือกใช้โค้ดที่ปลอดค่าใช้จ่ายอย่าง VP8 ในขณะที่ผู้พัฒนาบางรายก็หนุนหลังการใช้ H.264 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กันแพร่หลายมากกว่า หากทว่าต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสิทธิเพื่อการใช้งาน
สำนักข่าว Reuters รายงานข่าววงในว่ามีบริษัทหลายรายสนใจซื้อกิจการ BlackBerry (ยังไม่แน่ชัดว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) โดยบริษัทที่มีข่าวว่ากำลังพูดคุยเจรจากับ BlackBerry อยู่ตอนนี้มี 3 รายคือ Cisco, SAP, Google
นอกจากนี้ยังมีข่าวว่าฝั่งของ BlackBerry เองก็ได้สอบถามไปยังบริษัทอีกหลายรายว่าสนใจซื้อหรือไม่ บริษัทเหล่านี้ได้แก่ LG, Samsung, Intel ซึ่งก็ยังไม่แน่ชัดว่ามีบริษัทใดสนใจบ้าง
ก่อนหน้านี้ BlackBerry ประกาศข้อตกลงเบื้องต้นกับกลุ่มทุนประกันภัย Fairfax ของแคนาดา โดยถ้าหากว่า BlackBerry ยังไม่สามารถหาผู้ซื้อรายอื่นๆ ได้ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ก็จะตกลงขายหุ้นให้กับ Fairfax แทน
ซิสโก้ประกาศเปิดตัวชุดเราท์เตอร์ Network Convergence System (NCS) ขึ้นใหม่ เสริมกับชุดเราท์เตอร์เดิมอย่าง Aggregation Services Router (ASR) และ Carrier Routing System (CRS) โดยวางให้เป็นเราท์เตอร์เพื่อเชื่อมต่อทุกอย่างเข้ากับอินเทอร์เน็ต (Internet of Everything)
ความสามารถของ NCS คือการโปรแกรมและให้บริการแบบเสมือน เพื่อรองรับความต้องการไปใช้งาน Software Defined Network (SDN) และ Network Function Virtualization (NFV) ภายในใช้ชิปประมวลผลเน็ตเวิร์ค nPower X1 แบบเดียวกับที่ใช้ใน CRS-X ให้ประสิทธิภาพรวมระดับเพตาบิต สามารถทำงานร่วมกับเซิร์ฟเวอร์ UCS เพื่อการโยกย้ายทรัพยากรไปมาได้อย่างรวดเร็ว และทำงานแบบเสมือนทำให้สามารถขยายทรัพยากรทั้งเน็ตเวิร์คและการประมวลผลไปได้พร้อมกัน
Cisco เปิดตัวหน่วยประมวลผลสำหรับเครือข่าย (network processor) รุ่นใหม่ในชื่อ nPower X1
nPower X1 มุ่งเป้าจับตลาดอุปกรณ์เครือข่ายยุคหน้าที่ต้องการพลังประมวลผลสูงๆ เพื่อจัดการกับแบนด์วิธจำนวนมหาศาลในยุค Internet of Things และบริหารจัดการโดยซอฟต์แวร์ (SDN - software-defined networking) มันจึงถูกออกแบบมาให้ทำงานด้านเครือข่ายแล้วให้ประสิทธิภาพสูง รองรับ throughput ที่ 400 Gbps ต่อชิปหนึ่งตัว (เมื่อใช้ชิปหลายตัวประมวลผลร่วมกันจึงรองรับโหลดขนาดหลาย Tbps ได้)
Cisco ยังบอกว่ามันรองรับ transaction ที่ไม่ซ้ำกันได้จำนวน "หลายร้อยล้าน" ต่อวินาที ส่วนรายละเอียดทางเทคนิคจะเปิดเผยเพิ่มเติมในวันที่ 24 กันยายนนี้
Cisco รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2013 ตามปีการเงินบริษัท มีรายได้ 12.4 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 2.8 พันล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ในช่วงแถลงผลประกอบการ ซีอีโอ John Chambers ได้ประกาศว่าบริษัทจะปลดพนักงานลง 4,000 คน หรือคิดเป็น 5% ของพนักงานรวมทั้งหมด โดยมีสาเหตุจากเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวช้า ทำให้การเติบโตของบริษัทไม่สามารถเป็นไปได้อย่างที่คาดหวัง
ที่มา: All Things D และ Tech Trader Daily
Cisco ประกาศเข้าซื้อ Sourcefire บริษัทระบบตรวจสอบความปลอดภัยเครือข่าย (intrusion detection systems - IDS) ด้วยมูลค่าถึง 2,700 ล้านดอลลาร์
Sourcefire นั้นเป็นบริษัทผู้พัฒนา Snort ระบบ IPS แบบโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสูง โดยหลังจาก Martin Roesch สร้าง Snort ในปี 1998 ก็มาตั้งบริษัท Sourcefire ในปี 2001 หลังจากนั้นบริษัทก็มีรายได้เติบโตต่อเนื่องจนตอนนี้มีพนักงานถึง 650 คนและรายได้ปีที่แล้ว 220 ล้านดอลลาร์
สินค้าของ Sourcefire ในทุกวันนี้ยังพัฒนาอยู่บนฐานของ Snort แต่มีการปรับปรุงทั้งการออปติไมซ์ด้วยฮาร์ดแวร์และการปรับปรุงเพิ่มเติมอื่นๆ เข้าไป
นอกจาก Snort แล้วโครงการโอเพนซอร์สที่ Sourcefire ดูแลอยู่อีกโครงการก็คือ ClamAV ระบบตรวจจับไวรัสแบบโอเพนซอร์ส
Cisco ประกาศความร่วมมือกับ O2 ในการเข้าไปวางระบบเครือข่ายไร้สายให้กับสนามฟุตบอล Etihad Stadium ของ Manchester City เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในวันแข่งขันฟุตบอลที่มีคนจำนวนมหาศาลไปรวมตัวกัน (และส่วนใหญ่มีอุปกรณ์พกพา)
ระบบที่ Cisco จะเข้าไปทำให้ได้แก่
ยักษ์เครือข่าย Cisco ลุยตลาดไร้สายมาตรฐาน 802.11ac อย่างเป็นทางการแล้ว โดยเริ่มจากโมดูลเสริมสำหรับ access point ระดับองค์กร Aironet 3600 ให้ต่อเชื่อมเครือข่ายไร้สายแบบ 802.11ac ได้ (เดิมที Aironet รองรับเฉพาะ 802.11n)
เบื้องต้น โมดูลของ Cisco จะยังรองรับมาตรฐาน 802.11ac Wave 1 ที่ความเร็วสูงสุด 1.3Gbps และในอนาคตจะออกโมดูลอัพเกรดสำหรับ 802.11ac Wave 2 ที่รองรับฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น Multi-user MIMO, การเพิ่มช่องสัญญาณเป็นเท่าตัว (160MHz) เพื่อให้ได้แบนด์วิธีที่เพิ่มขึ้นที่ระดับ 3 Gpbs เป็นต้น
Cisco ประกาศความร่วมมือด้านเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลกับไมโครซอฟท์ โดยเชื่อมเทคโนโลยี Cisco Unified Data Center กับ Microsoft Fast Track 3.0 เข้าด้วยกัน เพื่อให้การบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีของทั้งสองบริษัทมีความซับซ้อนน้อยลง
รายละเอียดของเทคโนโลยีรายตัวมีดังนี้