จากเหตุการณ์ระเบิดที่สนามบินและสถานีรถไฟในกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยียมวันนี้ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย 3 ผู้ให้บริการมือถือของไทยทั้ง 3 ราย อันได้แก่ AIS, TrueMove H และ DTAC ต่างก็เปิดบริการให้คนไทยในเบลเยียมโทรหาสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ (+32 470 859) ได้ฟรี พร้อมให้บริการโทรและบริการ SMS ภายในเบลเยียม หรือระหว่างประเทศไทย-เบลเยียมได้ฟรี
วันนี้ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ยื่นจดหมายแสดงความคิดเห็นเรื่องการประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอีก 4 เดือนข้างหน้า โดยดีแทคเสนอแนวทางที่ “น่าจะเป็นไปได้” สำหรับการประมูลในรอบนี้ขึ้นมาครับ
แนวทางที่ดีแทคเสนอ ประกอบด้วยราคาตั้งต้นในการประมูลรอบใหม่ที่ กทค. มีมติว่าใช้ราคาสุดท้ายของ JAS เป็นราคาตั้งต้น (75,654 ล้านบาท) ดีแทคมองว่าราคาดังกล่าวสูงเกินความเป็นจริงสำหรับตลาดอุตสาหกรรม แม้จะเป็นผลดีต่อภาครัฐที่ได้รายได้จากการประมูลจำนวนมาก แต่ก็ส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมเช่นกัน โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งในแง่ของความเชื่อมั่นในการลงทุน และความกังวลเรื่องต้นทุนการให้บริการที่สูงเกินความจำเป็น ทำให้ที่ผ่านมามูลค่าต้นทุนต่อตลาดอุตสาหกรรมของบริษัทที่เข้าร่วมประมูลทั้งหมดลดลงกว่า 5 แสนล้านบาท ในระยะเวลาประมูลเพียง 4 วัน
dtac เปิดบริการ WiFi Calling หรือ VoWiFi เป็นรายแรกในไทย โดยสมาร์ทโฟนที่รองรับจะสามารถโทรเข้าออกผ่านสัญญาณ Wi-Fi แทนสัญญาณ cellular ได้
ข้อดีของ WiFi Calling คือสามารถโทรได้แม้อยู่ในจุดอับสัญญาณ cellular และถ้าไปต่างประเทศก็สามารถโทรผ่าน Wi-Fi โดยไม่ต้องผ่านโรมมิ่ง ส่วนค่าบริการจะคิดหักจากแพ็กเกจเดิมเหมือนการโทรศัพท์ปกติ
dtac ระบุว่าเป็นโอเปอเรเตอร์ลำดับ 5 ของโลกที่เปิดตัวบริการนี้ และถือเป็นรายแรกของไทยด้วย ตอนนี้สมาร์ทโฟนที่รองรับมี 2 รุ่นคือ Galaxy S6 และ S6 edge ส่วนรุ่นอื่นๆ ก็จะตามมาในอนาคต บริการนี้เปิดแล้ววันนี้ (16 มี.ค.)
มาถึงตอนนี้ต้องบอกว่าโครงการ dtac accelerate เป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพอันดับ 1 ของไทย จากผลงานที่ผ่านมาตลอด 3 ปี มีทีมเข้าร่วมทั้งหมด 11 ทีม ตอนนี้มูลค่ารวมของสตาร์ตอัพเหล่านี้รวมกัน 1 พันล้านบาท และ 70% ของทีมเหล่านี้ได้รับเงินลงทุนแล้ว เทียบกับค่าเฉลี่ยของสตาร์ตอัพในตลาด มีเพียง 20% เท่านั้นที่ได้เงินลงทุน
สตาร์ตอัพที่โดดเด่นได้แก่ Claim Di ที่ได้รับเงินลงทุนระดับซีรีส์ A จำนวน 2 ล้านดอลลาร์ (มูลค่าบริษัท 10 ล้านดอลลาร์) โตขึ้น 15 เท่าภายในระยะเวลา 12 เดือน สร้างสถิติรับเงินซีรีส์ A สูงที่สุดในวงการสตาร์ตอัพไทย ส่วนกองทุน 500 TukTuks ที่ลงทุนในสตาร์ตอัพไทยหลายแห่ง มีทีมจากโครงการ dtac accelerate ถึงครึ่งหนึ่งของทีมทั้งหมดที่ลงทุนไป
ท่ามกลางกระแสข่าวที่ค่ายทรูยื่นข้อเสนอให้เอไอเอสเช่าคลื่น 900 MHz ในราคา 450 ล้านบาท/เดือน โดยมีกำหนดให้เช่าใช้เพียง 3 เดือน วันนี้ดีแทคที่เป็นพันธมิตรร่วม ได้ออกมายืนยันการเปิดโรมมิ่งแล้วว่า บริษัทพร้อมเปิดโรมมิ่งให้ลูกค้าเอไอเอส สามารถใช้งาน 2G ได้ต่อบนเครือข่าย 2G 1800 MHz ของบริษัทโดยไม่ต้องเปลี่ยนซิมและเครื่อง ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคมนี้เป็นต้นไป โดยยังไม่ได้ระบุว่าสัญญาการเปิดโรมมิ่งจะสิ้นสุดเมื่อใด
โครงการ dtac Accelerate เดินหน้ามาถึง Batch 4 แล้ว ปีนี้ประกาศจัดใหญ่กว่าเดิม เพื่อตอบรับความสนใจต่อตลาดสตาร์ตอัพไทยที่เพิ่มขึ้นสูงมาก
รูปแบบโครงการ Batch 4 ยังคล้ายกับปีก่อนๆ คือเปิดรับสตาร์ตอัพเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะเป็นเวลา 4 เดือน โดยมีพี่เลี้ยงเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในไทย และวิทยากรที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ
สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในปีนี้คือโครงการบ่มเพาะไม่ได้มีแต่ทีมจากประเทศไทยเท่านั้น แต่ dtac จะเชิญทีมจาก Digi Malaysia และ Telenor Myanmar มาร่วมอบรมด้วย เพื่อให้สตาร์ตอัพไทยมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมจากประเทศเพื่อนบ้าน
วันนี้ดีแทคจัดงานแถลงข่าวทิศทางการให้บริการเครือข่ายในปี พ.ศ. 2559 สาระสำคัญคือดีแทคได้ประกาศอัพเกรดโครงข่าย 4G เป็น “Super 4G” เพื่อชูจุดเด่นว่าเป็นเครือข่ายที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เร็วกว่า และเข้าถึงได้มากกว่า
จุดสำคัญของการอัพเกรดในครั้งนี้ คือการปรับเทคนิคการส่งสัญญาณใหม่ โดยดีแทคจะปรับแบนด์วิธของคลื่น 1800 MHz จากเดิม 15 MHz เป็น 20 MHz ตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป (2G เหลือ 5 MHz) ด้วยเหตุผลเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้งานได้มากกว่า ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าได้มากกว่า ดังนั้นดีแทคจึงเน้นการให้บริการกับลูกค้าที่ใช้งานเครื่อง 1800 MHz เป็นหลัก ในขณะที่ 2100 MHz ก็ยังคงให้บริการต่อไปตามปกติโดยไม่ลดจำนวนแบนด์วิธลง
จากการแถลงผลประกอบการของเอไอเอส มีสไลด์นำเสนอหน้าหนึ่งที่ระบุว่าบริษัทจะขอโรมมิ่งกับผู้ให้บริการเครือข่าย 2G เจ้าหนึ่ง เพื่อพยุงลูกค้า 2G ต่อไป ซึ่งต่อมาก็มีข่าวว่าเครือข่ายนั้นเป็นดีแทค ล่าสุดดีแทคได้ส่งจดหมายข่าวเพื่อยืนยันข่าวนี้แล้ว
ดีแทคระบุว่าได้รับการติดต่อกับเอไอเอสจริง แต่ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการเจรจากันทั้งสองฝ่าย และยังไม่มีการเซ็นสัญญาเพื่อเปิดให้โรมมิ่ง 2G กับทางเอไอเอสแต่อย่างใดครับ
ที่มา - จดหมายข่าวดีแทค
เอไอเอส อยู่ในระหว่างการเจรจากับดีแทค เรื่องโรมมิ่ง 2G
แม้ว่าจะออกโปรโมชันให้ลูกค้าเอไอเอส 2G เร่งย้ายไปเครือข่าย 3G อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีก่อน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังมีลูกค้าตกค้างอยู่ในเครือข่าย 2G ซึ่งหมดสัญญาสัมปทานไปแล้วกว่า 12 ล้านเลขหมาย ล่าสุดซีอีโอเอไอเอสเดินหน้าคุยกับดีแทคหวังโรมมิงกับคลื่น 1800MHz เพื่อรองรับลูกค้า 2G แล้ว
ดีแทครายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ของปี 2558 มีรายได้รวม 23,249 ล้านบาท ลดลง 8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3/58 มีสาเหตุจากฐานจำนวนผู้ใช้ที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เพราะมีการบังคับลงทะเบียนซิม และมีกำไรสุทธิ 998 ล้านบาท ลดลง 47% จากค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาดที่เพิ่มขึ้น
จำนวนผู้ใช้ดีแทคล่าสุดอยู่ที่ 25.25 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้านี้ 4 แสนเลขหมาย โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในระบบรายเดือนและระบบเติมเงิน ทั้งนี้ลูกค้า 90% ได้ลงทะเบียนซิมบนโครงข่าย 2100 MHz แล้ว และเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟน 61% ส่วนที่ผู้ใช้งาน 4G บนคลื่น 1800 MHz มีอยู่ 2.3 ล้านเลขหมาย
สงครามโอเปอเรเตอร์ร้อนแรงตั้งแต่ต้นปี หลังเราเห็นโปรโมชั่นของ AIS 4G กันไปแล้ว ฝั่งของ dtac ก็ออกมาเปิดเกมสู้ด้วยโปรโมชั่นใหม่ Love & Roll Super Non Stop กันบ้าง (ของเดิมชื่อ Non Stop ไม่มี Super ครับ)
โปรโมชั่นชุดนี้สามารถนำปริมาณเน็ตที่เหลือไปใช้งานต่อในรอบบิลถัดไปได้เหมือน Non Stop ของเดิม จุดเด่นที่เพิ่มเข้ามาคือให้ปริมาณเน็ตเพิ่มขึ้นอีกเยอะกว่า Non Stop ของเดิมอีกกว่าเท่าตัว และซอยระดับค่าใช้บริการให้ละเอียดขึ้น เอาใจลูกค้าทุกกลุ่ม
รายละเอียดโปรโมชั่นมีดังนี้
เมื่อวานนี้ฝั่ง AIS เปิดบริการ 4G หลังจากจบงานไม่กี่ชั่วโมงทาง dtac ก็ออกจดหมายข่าวระบุว่าภายในเดือนมิถุนายนนี้ทาง dtac จะเปิดบริการทั่วไทย โดยตอนนี้เปิดบริการไปแล้ว 40 จังหวัด
คลื่นที่ dtac จะนำมาใช้งานเป็นคลื่น 1800 MHz จำนวนแบนด์วิธ 15 MHz และ 2100 MHz แบนด์วิธ 5 MHz
แผนการนี้ขยายจากเดิมปีที่แล้วที่ dtac เคยประกาศว่าจะใช้คลื่น 1800 MHz แบนด์วิธ 10 MHz พร้อมกับระบุว่าจะอัพเกรด 4G ไปทุกสถานีฐานภายในไตรมาส 3 ปีนี้ จากเดิมระบุเพียงว่าจะครบ 77 จังหวัดภายในสิ้นปี 2017
คุณลาร์ส นอร์ลิง (Lars Norling) ซีอีโอของ dtac เปิดเพจ Facebook ของตัวเองแล้ว คุณลาร์สอธิบายเหตุผลของการเปิดเพจว่าอยากสร้างช่องทางการพูดคุยกับตัวซีอีโอโดยตรง และตัวเองจะพยายามเล่าเรื่องราวที่พบเจอในแต่ละวัน รวมถึงความเคลื่อนไหวล่าสุดของ dtac ด้วย
ใครเป็นลูกค้า dtac ก็ไม่ควรพลาดโอกาสนี้ (ติชมบริการส่งได้ถึงซีอีโอ) ส่วนใครที่ไม่ใช่ลูกค้า dtac แต่สนใจก็ไปติดตามกันได้ครับ
เมื่อวานนี้ที่สำนักงานใหญ่ของ dtac ได้มีการเปิดแถลงข่าวโดยคุณ Sigve Brekke ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเครือ Telenor และคุณ Lars-Ake Norling ซีอีโอของดีแทค โดยคุณ Sigve ระบุว่าทาง Telenor ไม่มีแผนที่จะถอนตัวออกจากตลาดไทยและตลาดอื่นๆ ในเอเชีย เพราะภูมิภาคเอเชียถือว่าเป็นภูมิภาคที่สำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม Telenor มาโดยตลอด และยืนยันว่าจะสนับสนุน dtac ในการลงทุนที่มีความจำเป็น
เมื่อวานนี้ พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท. โทรคมนาคม เผยกับ The Nation ว่า ขณะนี้ กสท. โทรคมนาคม กำลังเตรียมที่จะทำสัญญาร่วมทุนกับดีแทค ในการนำคลื่น 1800 MHz อีก 20 MHz ออกมาให้บริการ 4G โดยแผนการร่วมทุนที่วางไว้คร่าวๆ น่าจะเหมือนกับสัญญา TrueMove H 3G 850 MHz และ AIS 3G 2100 ของทีโอที
หากการดำเนินการในส่วนสัญญาไม่มีปัญหา กสท. โทรคมนาคม และ ดีแทค จะเริ่มดำเนินการอัปเกรดคลื่นในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า
ที่มา - The Nation
เช้าวันนี้ดีแทคออกมาแถลงข่าวถึงแผนการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือหลังจากผ่านการประมูลคลื่นมาแล้วสองรอบแต่ไม่ได้ของทั้งสองรอบ โดยยืนยันชัดเจนว่าดีแทคไม่ได้เสียอะไร และก็ไม่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นกับการประมูลคลื่นในครั้งนี้ครับ
เมื่อวานนี้มีข่าวทางโทรทัศน์ชวนลุ้นให้แฟนๆ ดีแทคได้ชื่นใจ เมื่อ กสท โทรคมนาคม ออกมาประกาศว่าจะขยายอายุสัมปทานดีแทคจากเดิมที่จะหมดลงใน พ.ศ. 2561 เป็น พ.ศ. 2568 (เนชันทีวี) เพื่อให้ดีแทคสามารถแข่งขันกับรายอื่นๆ ไปได้อีกระยะหนึ่ง
หลังการประมูลคลื่น 900MHz ได้ข้อยุติ ว่าผู้ชนะคือ JAS และ True (บทวิเคราะห์)
ทางฝั่งผู้แพ้การประมูลทั้ง 2 รายคือ AIS และ dtac ก็ออกมาแสดงท่าทีหลังการประมูล โดยมีเนื้อหาไปในทางเดียวกันว่า จะนำเงินที่เตรียมไว้ประมูลมาพัฒนาโครงข่ายแทน และมั่นใจว่าคลื่นที่มีในปัจจุบันสามารถรองรับความต้องการใช้งานของลูกค้าได้
เพิ่งจับมือ Facebook เปิดบริการ Free Basics ให้ใช้อินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานฟรีผ่านสมาร์ทโฟนไปเมื่อปลายเดือนก่อน ล่าสุด dtac ออกมาเปิดบริการใหม่ให้สามารถเข้าถึงได้อีกหนึ่งบริการพื้นฐานได้ฟรีๆ ยาว 3 ปีแล้ว
โดยบริการที่ว่านี้คือ Wikipedia Zero ที่จะเป็นการผลักดันให้คนไทยใช้งาน Wikipedia ให้มากขึ้นโดยไม่เสียค่าบริการ โดยจะเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิด Wikipedia Zero ในประเทศไทย โดยมีจุดเด่นอยู่ที่นอกจากจะใช้ฟรีโดยไม่มีค่าบริการแล้ว ยังใช้งานได้อย่างเต็มฟีเจอร์ผ่านทั้งเว็บไซต์มือถือ และแอพบนสมาร์ทโฟน
เรียกได้ว่าเป็นประกาศตัดหน้าอีกสองค่ายที่กำลังจะเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้ เพราะในวันนี้ดีแทคได้ออกประกาศแจ้งอย่างเป็นทางการว่าบริษัทได้ขยายแบนด์วิธในการให้บริการ 4G บนคลื่น 1800 MHz จากเดิมที่ให้บริการอยู่ 10 MHz เป็น 15 MHz เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมรองรับกระแสลูกค้าที่เตรียมอัพเกรดขึ้นมาใช้งานอีกเป็นจำนวนมาก
Claim Di (เคลมดิ) สตาร์ตอัพด้านประกันรถยนต์ของไทย ที่เคยชนะโครงการ dtac Accelerate Batch #2 ปีที่แล้ว ประกาศรับทุน Series A จำนวน 2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 71 ล้านบาท) ส่งผลให้บริษัทมีมูลค่าเกิน 10 ล้านดอลลาร์แล้ว
ในโอกาสเดียวกัน Claim Di ยังขยายธุรกิจของบริษัทให้ครอบคลุมบริการเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ครบวงจร (แอพเดียวเรียกได้ทุกอย่างตั้งแต่ประกัน ยันการขอความช่วยเหลือบนถนน)
dtac เป็นโอเปอเรเตอร์ไทยรายที่สอง (ถัดจาก TrueMove H) ที่ร่วมมือกับโครงการ Internet.org ของ Facebook ให้บริการ Free Basics อินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานฟรี
ปัจจุบัน dtac มีลูกค้าในระบบ 25 ล้านราย ในจำนวนนี้มีลูกค้าที่ใช้งานดาต้าน้อยและยังไม่มีประสบการณ์ใช้งานเลยรวมแล้ว 14 ล้านราย หรือคิดเป็น 56 % ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ต ความร่วมมือครั้งนี้ส่งผลให้ dtac จัดจุดบริการให้ครอบคลุมลูกค้า 4 ประเภท ได้แก่
วันนี้ (18 พฤศจิกายน) ดีแทคจัดงานแถลงข่าวพิเศษ เพื่อประกาศแผนขยายเครือข่ายเร่งด่วนหลังจากการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่เพิ่งจะจบลงไป โดยดีแทคเผยว่าจะขยายเครือข่าย 4G 1800 MHz เพิ่ม 1800 สถานีฐาน ใน 18 วัน (นับจากวันประมูล) โดยหวังว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีขึ้นภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้
ทั้งนี้ดีแทคยังเผยแผนงานในอนาคต พร้อมตอกย้ำความเชื่อมั่นด้วยการประกาศแผนการนำคลื่น 1800 MHz อีก 20 MHz (ที่ติดกับของ AIS) ออกมาให้บริการเพิ่มเติม โดยปัจจุบันได้เริ่มคุยแผนงานกับ กสท โทรคมนาคม ไปบางส่วนแล้ว และคาดว่าน่าจะได้รับคำตอบในเร็วๆ นี้
วันนี้ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายรายใหญ่ในประเทศไทยทั้งเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เอช ผนึกกำลังบริการกระเป๋าเงินออนไลน์บนมือถือ ให้สามารถใช้งานข้ามทั้งสามเครือข่ายได้โดยไม่มีข้อจำกัด ไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม (อ้างอิงจากในความเห็น ทรูมูฟ เอช แจ้งว่ามีค่าบริการ 5 บาทครับ) โดยมีมาสเตอร์การ์ด และธนาคารธนชาตเป็นพันธมิตรคอยสนับสนุนด้านความปลอดภัย
เสร็จสิ้นกันไปแล้วกับ โครงการ dtac Accelerate Batch #3 ที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงกลางปี โดยได้ผู้ชนะ 3 ทีมจาก 6 ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย ซึ่งทั้ง 3 ทีมจะได้รับโอกาสไปเก็บประสบการณ์ทั้งที่นอร์เวย์และซิลิคอนวัลเลย์ เพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตต่อไป
ในโอกาสนี้เรามาย้อนดูผลงานของทีมที่เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 6 ทีม และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมแข่งขัน dtac Accelerate Batch #3