TikTok แอปวิดีโอที่ได้รับควาามนิยมสูงประกาศหยุดการดำเนินกิจการในฮ่องกงเร็วๆ นี้ หลังจากรัฐบาลจีนประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง
ตัว TikTok เองเพิ่งได้ซีอีโอใหม่ Kevin Mayer จากดีสนีย์ที่เข้ามาดูแลการดำเนินกิจการนอกจีน โดยที่ผ่านมา TikTok ก็พยายามแสดงตัวว่าไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีน เช่นการหยุดการสกรีนคอนเทนจากต่างประเทศโดยใช้คนจีน หรือการออกรายงานความโปร่งใส
ที่มา - Strait Times
เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, และเทเลแกรม เริ่มให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ ว่าจะหยุดส่งข้อมูลตามคำขอหน่วยงานรัฐบาลฮ่องกง หลังจาก WhatsApp ที่อยู่ใต้เฟซบุ๊กได้ระบุแนวทางนี้เมื่อวานนี้
ทวิตเตอร์ระบุเหตุผลที่ต้องหยุดทำตามคำขอจากฮ่องกงว่ากฎหมายความมั่นคงของฮ่องกงนั้นเพิ่งเปิดเผยออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้บริษัทต้องใช้เวลาในการตรวจสอบผลกระทบของกฎหมาย โดยแสดงความกังวลต่อคำหลายคำในตัวกฎหมายว่ากำกวม ตลอดจนกระบวนการผ่านกฎหมายและจุดมุ่งหมายของกฎหมายเองก็น่าวิตก
เทเลแกรมระบุว่าความเป็นส่วนตัวสำคัญต่อคนฮ่องกงในช่วงเวลาเช่นนี้ และจะไม่ส่งข้อมูลผู้ใช้ให้รัฐบาลฮ่องกงจนกว่าจะมีความเห็นร่วมกันต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในฮ่องกงในระดับนานาชาติ
WhatsApp ประกาศ "หยุด" การดำเนินการตามคำขอข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาลฮ่องกง โดยระบุว่าบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบผลกระทบจากกฎหมายความมั่นคงที่รัฐบาลจีนประกาศใช้ โดยจะตรวจสอบตัวกฎหมายเองและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน
กฎหมายความมั่นคงให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างกว้างขวาง ทั้งการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การสั่งให้ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องเปิดเผยหรือลบข้อมูล
อินเทอร์เน็ตฮ่องกงนั้นต่างจากจีนมาก เพราะการใช้งานบริการในโลกตะวันตกทั้งหมดล้วนใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก, กูเกิล, หรือทวิตเตอร์ ขณะที่ในจีนแผ่นดินใหญ่บล็อคบริการเหล่านี้เกือบทั้งหมด
หลังจากสาธารณรัฐประชาชนจีนออกกฎหมายด้านความมั่นคงของประเทศฉบับใหม่ ซึ่งมีผลครอบคลุมถึงเขตบริหารพิเศษฮ่องกงด้วย ตามกฎหมายแล้วตำรวจมีอำนาจในการขอให้ “ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง” ทำการลบข้อมูลหรือช่วยในการสืบสวนได้โดยไม่ต้องใช้คำสั่งจากศาลอีกต่อไป
ตามกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ของจีน อนุญาตให้ตำรวจค้นหาข้อมูลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อาจมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมายความมั่นคง และรัฐบาลฮ่องกงสามารถกระทำตามมาตรการที่จำเป็นเพื่อตรวจตราและกำกับดูแลความมั่นคงของประเทศบนอินเทอร์เน็ตได้
วันนี้เกม Animal Crossing ภาค New Horizons ที่กำลังเป็นที่นิยมถูกเก็บไปจากร้านขายเกม และถูกลบไปจากสโตร์ออนไลน์ รวมทั้งรายการที่มีผู้ลงขายบน Taobao เว็บไซต์ลงขายของในประเทศจีนจนหมดเกลี้ยง สร้างความโกรธเกรี้ยวให้กับชาวเน็ตในประเทศจีนอย่างมาก ซึ่งไม่ได้โกรธรัฐบาลเพราะเก็บเกม แต่ไปโกรธชาวฮ่องกงและไต้หวัน เช่น โจชัว หว่อง ที่ใช้พื้นที่ในเกมเป็นอีกช่องทางในการแสดงออกทางการเมืองและประท้วงต่อต้านอำนาจของรัฐบาลจีน
หน่วยงานสารสนเทศฮ่องกง (CIO) ผุดไอเดีย ให้คนเดินทางเข้าประเทศสวมใส่สายรัดข้อมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมกับแอปพลิเคชั่นในมือถือ เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลติดตามได้ว่าคนที่สวมใส่กักตัวอยู่ที่บ้านหรือที่พักหรือไม่
ทาง CIO ระบุว่า ตัวระบบไม่ได้ระบุพิกัดที่แน่นอนของผู้สวมใส่ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนพิกัด ทางหน่วยงานจะรู้ และระบุได้ว่าใครไม่ยอมกักตัว เมื่อเจ้าหน้าที่มอนิเตอร์พบเจอก็จะโทรเข้าไปหาบุคคลนั้นเลย
ที่ฮ่องกง คนนิยมใช้บัตร Octopus ใช้จ่ายแทนเงินสด ในสถานการณ์โรค COVID-19 ระบาด คนฮ่องกงใช้บัตร Octopus จ่ายค่าเดินทางและร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดลดลงมาก และไปเพิ่มในส่วนของเครื่องใช้จำพวกข้าวสาร กระดาษทิชชู่ เนื่องจากคนอยู่บ้านมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบเทรนด์น่าสนใจคือ ร้านค้ารายเล็กก็เข้าร่วมเครือข่ายการรับบัตร Octopus เนื่องจากไม่อยากถือเงินสด หวั่นเชื้อโรค
Buyandship บริษัทตัวแทนสั่งสินค้าออนไลน์ในฮ่องกงโพสเฟซบุ๊กขอโทษลูกค้าที่การส่งสินค้าล่าช้ากว่าปกติ โดยระบุว่าเกิดจากยอดสั่งซื้อหน้ากากอนามัยจำนวนมาก โดยสัปดาห์ที่ผ่านมายอดสั่งซื้อหน้ากากอนามัยจากทั่วโลกคิดเป็น 15,000 กล่อง เฉลี่ยแต่ละกล่องมีกล่องหน้ากาก 50 ชิ้นอยู่ 10 กล่อง รวมยอดสั่งซื้อ 7.5 ล้านชิ้นในสัปดาห์เดียว นับเป็นยอดสั่งซื้อที่สูงกว่าเทศกาล Black Friday เสียอีก
เฟซบุ๊กฟ้อง ILikeAd Media International Company Ltd บริษัทในฮ่องกงที่ซื้อโฆษณาในเฟซบุ๊ก หลอกให้ผู้ใช้งานคลิกแล้วฝังมัลแวร์ขโมยข้อมูลผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังฟ้องผู้อยู่เบื้องหลังอีกสองคนด้วยคือ Chen Xiao Cong และ Huang Tao
เฟซบุ๊กระบุว่าผู้ถูกฟ้องใช้วิธี "celeb baiting" หรือการใช้รูปดาราสวยๆ ในโฆษณาของตนเองเพื่อดึงดูดให้ชวนคลิก เมื่อผู้ใช้งานคลิก บัญชีของพวกเขาจะถูกใช้เพื่อแสดงโฆษณาที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยาลดความอ้วนและอาหารเสริมสำหรับเสริมสมรรถภาพชาย บริษัท ILikeAd ยังใช้วิธีปลอมแปลงลิงก์ที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ที่ใช้โฆษณาด้วย
Alibaba ได้นำหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเพิ่มเติมอีกแห่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มทำการซื้อขายในวันนี้เป็นวันแรก หลังจากประกาศเสนอขายไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ Alibaba ได้นำบริษัทเข้าซื้อขายที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อปี 2014 ซึ่งในตอนแรก Alibaba ต้องการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง แต่เนื่องจากกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการออกหุ้นหลายคลาสตอนนั้น จึงไปที่นิวยอร์กแทน อย่างไรก็ตามตอนนี้ตลาดหุ้นฮ่องกงได้ปรับกฎเกณฑ์ ทำให้ Alibaba ตัดสินใจนำบริษัทมาซื้อขายที่ฮ่องกงเพิ่มอีกแห่งด้วยนั่นเอง
Alibaba ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะนำบริษัทจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกงเพิ่มเติม ตามที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ โดยใช้วิธีออกหุ้นใหม่จำนวน 500 ล้านหุ้น และหุ้นชุดนี้จะซื้อขายด้วยตัวย่อ 9988
ส่วนหุ้น ADS ที่ซื้อขายปัจจุบันในตลาดหุ้นนิวยอร์ก จะยังคงทำการซื้อขายต่อไป โดย 8 หุ้น ADS มีมูลค่าเท่ากับ 1 หุ้นที่ออกใหม่
J. Allen Brack ประธานของ Blizzard เปิดงาน BlizzCon 2019 ด้วยการเอ่ยปาก "ขอโทษ" ต่อความผิดพลาดของ Blizzard ในการแบนโปรเพลเยอร์ Hearthstone เรื่องการเมืองฮ่องกง
Brack ยอมรับว่า Blizzard ตัดสินใจแบนโปรเพลเยอร์ "เร็วไป" และออกมาพูดคุยกับแฟนๆ "ช้าไป" เขาบอกว่าท่าทีของบริษัทในเรื่องนี้ถือว่าทำได้ต่ำกว่ามาตรฐานของบริษัทเอง (we did not live up the high standards that we setup for ourselves) ในฐานะประธานบริษัท เขาจึงขอโทษและขอรับผิดชอบ
คำกล่าวขอโทษของ Brack ได้รับเสียงปรบมือจากผู้เข้าร่วมงาน BlizzCon 2019 อย่างล้นหลาม
กรณี Blizzard แบนโปรเพลเยอร์ Hearthstone จากประเด็นฮ่องกง กลายเป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติไปแล้ว เมื่อ ส.ส. และ ส.ว. สหรัฐจำนวน 5 คน (จากทั้งสองพรรค) ร่วมกันเข้าชื่อเขียนจดหมายเปิดผนึกถึง Robert Kotick ซีอีโอ Activision Blizzard ให้ "ทบทวน" การแบนครั้งนี้ (Blizzard ลดโทษแบนจาก 1 ปีเหลือ 6 เดือน และคืนเงินรางวัลให้แล้ว)
จดหมายฉบับนี้ระบุว่า "มีความกังวลมาก" (deep concern) ต่อการตัดสินใจแบนครั้งนี้ เพราะเกิดขึ้นช่วงเดียวกับที่รัฐบาลจีนกดดันบริษัทอเมริกันให้ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความเห็น
อีกหนึ่งควันหลงจากกรณีการลงโทษ Blitzchung ผู้เล่น Hearthstone ที่แสดงออกทางการเมืองว่าสนับสนุนฮ่องกงขณะในสัมภาษณ์ เมื่อ Blizzard ตัดสินใจออกมาแบน 3 ผู้เล่น Hearthstone จาก American University เป็นเวลา 6 เดือน (เท่ากับโทษล่าสุดของ Blitzchung) จากกรณีถือป้าย “Free Hongkong, Boycott Blizz” เพื่อประท้วง Blizzard กรณีแบน Blitzchung ขณะแข่งขันซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์
หัวเหว่ยประกาศการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ส่งผลให้บริการมือถือ (mobile services) ทั้งหมดของหัวเหว่ย (AppGallery, APP Assistant, Wallet, Browser, และอื่นๆ รวมถึง Huawei ID) ที่พึ่งย้ายไปบริษัท Aspiegel Limited บริษัทลูกของหัวเหว่ยในไอร์แลนด์ เมื่อกลางปีที่แล้ว ไปยังบริษัท Huawei Services (Hong Kong) Ltd. มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2019 เป็นต้นไป
หัวเหว่ยระบุว่าบริษัท Huawei Services (Hong Kong) จะรับช่วงต่อภาระหน้าที่และความรับผิดชอบทางกฏหมายจากบริษัท Aspiegel Limited โดยเฉพาะเรื่องการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่ส่งผลต่อการบริการในมุมมองของลูกค้าแต่อย่างใด รวมถึงสิทธิ์และการรับประกันของอุปกรณ์ยังคงเหมือนเดิม
หลังจากมีกระแสต่อต้านทั้งจากผู้เล่น, พนักงาน สังคมออนไลน์และผู้บรรยายเกมถึงกรณีแบนโปร Hearthstone ที่ออกมาสนับสนุนการประท้วงในฮ่องกง จนกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ล่าสุด Blizzard ได้ออกมาแถลงเพิ่มเติมถึงเหตุการณ์นี้แล้ว โดยตัดสินใจคืนเงินรางวัลให้กับ Blitzchung ลดโทษแบนทั้งของเขาและแคสเตอร์เหลือ 6 เดือน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้กลับเข้ามาแข่งขันและบรรยายเกม Hearthstone ได้หลังช่วงเวลาดังกล่าว
แอปเปิล ถอนแอพพลิเคชั่น HKmap.live ออกจาก App Store ซึ่งเป็นแอพที่ผู้ประท้วงฮ่องกงใช้ในการติดตามความเคลื่อนไหวของตำรวจ
แอปเปิลระบุว่า แอพดังกล่าวอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน เนื่องจากแอพแสดงที่ตั้งของตำรวจ และทางแอปเปิลก็ได้ตรวจสอบแอพนี้กับ Hong Kong Cybersecurity and Technology Crime Bureau แล้วว่าตัวแอพถูกใช้ในการซุมโจมตีตำรวจ อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามสาธารณะ
กระแสต่อต้าน Blizzard ยังคงไม่จบลงง่ายๆ กับ กรณีแบนโปร Hearthstone ที่ออกมาแสดงสัญลักษณ์สนับสนุนการประท้วงในฮ่องกง โดยล่าสุด โลกอินเทอร์เน็ตก็ได้สร้างกระแสใหม่ขึ้นมาเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของ Blizzard ในครั้งนี้ โดยการโพสต์รูป Mei ฮีโร่สาวจากเกม Overwatch ที่สนับสนุนการชุมนุมในฮ่องกง
Mei คือตัวละครที่มาจากเมืองซีอาน ประเทศจีน ดังนั้น การนำเธอคนนี้มาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการประท้วงที่ฮ่องกงจึงเป็นการตอกกลับ Blizzard อย่างเจ็บแสบครั้งหนึ่งเลยทีเดียว
จากกรณี Blizzard แบนโปรเพลเยอร์เกม Hearthstone จากเรื่องประท้วงฮ่องกง ก็มีกระแสวิจารณ์ Blizzard ตามมาอย่างหนักจากหมู่เกมเมอร์ และแม้กระทั่งพนักงานของ Blizzard เองก็ออกมาประท้วงเรื่องนี้ด้วย
พนักงานของ Blizzard จำนวนหนึ่ง (จากข่าวคือรวมกันตลอดงานไม่เกิน 30 คน) ตัดสินใจประท้วงด้วยการ walkout หรือลุกออกจากที่นั่งขณะทำงาน เพื่อมายืนรวมตัวกันที่รูปปั้น Orc จากเกมซีรีส์ Warcraft หน้าสำนักงานของบริษัท และพนักงานบางคนได้ยืนถือร่ม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงที่ฮ่องกงด้วย
หลังจากที่ Blizzard ได้ลงดาบแบน blitzchung โปรเกมเมอร์ Hearthstone ชาวฮ่องกงที่ออกมาพูดประโยคที่ใช้ในการชุมนุมในช่วงสัมภาษณ์หลังจบเกม ก็ได้เกิดกระแสตีกลับอย่างมากในโลกออนไลน์ โดยผู้ใช้งาน Reddit จำนวนมากได้ออกมาตั้งกระทู้โจมตี Blizzard ถึงการกระทำครั้งนี้เป็นจำนวนมาก จาก mod ของ subreddit /r/Blizzard ต้องตัดสินใจปิดการเข้าถึงเป็นเวลาชั่วคราว (แต่สามารถเข้าถึงได้แล้วในตอนนี้)
เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องราวที่เป็นที่จับตามองในวงการ Hearthstone เกิดขึ้นในรายการ Hearthstone Grandmasters เมื่อ Ng "blitzchung" Wai Chung โปรเพลเยอร์ชาวฮ่องกงได้ให้สัมภาษณ์หลังจบการแข่งขันกับช่อง Hearthstone ไต้หวัน ด้วยการใส่หน้ากากกันแก๊ส พร้อมกล่าวว่า “ปลดปล่อยฮ่องกงให้เป็นอิสระ นี่คือการปฏิวัติของยุคสมัยของพวกเรา” เป็นภาษาจีน ซึ่งคลิปนี้โดนลบออกไปในภายหลัง
ล่าสุด วันนี้ Blizzard ได้ออกมาประกาศบทลงโทษสำหรับการกระทำที่เกิดขึ้นนี้ โดยกล่าวว่า การกระทำของ blitzchung นั้น ขัดต่อกฏใน 2019 Hearthstone Grandmasters Official Competition Rules ในหัวข้อการกระทำที่อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์หรือนำความเสื่อมเสียมาสู่ Blizzard
แอปเปิลอัพเดตระบบ iOS 13.1 และผู้ใช้งานบางส่วนสังเกตเห็นว่า อีโมจิธงไต้หวันหายไป โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอีโมจิธงไต้หวันหายนั้น เป็นผู้ใช้งานในฮ่องกงและมาเก๊า
Private Internet Access (PIA) ผู้ให้บริการ VPN ระบุว่าบริการถูกบล็อคในฮ่องกง หลังจากมีการประท้วงต่อเนื่องยาวนานหลายเดือน แม้จะยังไม่มีข่าวเป็นทางการว่ารัฐบาลฮ่องกงจะเริ่มแบน VPN เป็นวงกว้าง
ก่อนหน้านี้ Carrie Lam ผู้ว่าเขตปกครองพิเศษฮ่องกงระบุว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาใช้กฎหมายพิเศษเพื่อควบคุมสถานการณ์ชุมนุมประท้วง แต่สมาคม ISP ฮ่องกงก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย
PIA ระบุว่าผู้ใช้ในฮ่องกงไม่สามารถเชื่อมต่อบริการ หรือหากเชื่อมต่อได้ก็โหลดหน้าเว็บไม่ขึ้น
ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (HKEX) แถลงชี้แจงถึงการปิดตลาดอนุพันธ์เมื่อวานนี้ โดยระบุว่าเป็นบั๊กของซอฟต์แวร์ที่ใช้งานในตลาดเอง ขณะที่ตัวเว็บมีปัญหานั้นเกิดจากการถูกยิง DDoS โดยทั้งสองปัญหาไม่เกี่ยวกัน
ทาง HKEX ไม่ระบุว่าทราฟิกที่ถูกยิงเข้าไปยังตลาดมีขนาดเท่าใด
ขณะที่บั๊กในซอฟต์แวร์ทำให้ HKEX ต้องย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปยังระบบสำรอง แต่เมื่อย้ายไปก็เจอบั๊กตัวเดิมทำให้ทางตลาดต้องตัดสินใจปิดตลาดในที่สุด ก่อนปิดตลาดโบรกเกอร์หลายรายก็ระบุว่าไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ ทำให้เมื่อวานนี้ทั้งวันมีการทำสัญญาเพียง 60,070 สัญญาเท่านั้น เทียบกับปกติที่มีการทำสัญญาเฉลี่ยประมาณ 3 ล้านสัญญา
ตลาดอนุพันธ์ฮ่องกงมีปัญหาการเชื่อมต่อ (connectivity issues) มาตั้งแต่ก่อนเที่ยง และประสบปัญหาต่อเนื่องจนกระทั่งทางตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (Hong Kong Exchanges & Clearing Limited - HKEX) ประกาศปิดตลาดครึ่งบ่าย
ยังไม่แน่ชัดว่าต้นเหตุของปัญหาคืออะไร โดยเว็บของ HKEX เองก็ทำงานได้ช้าไปด้วย แต่กับระบบซื้อขายทางโฆษกของ HKEX ระบุว่ากระทบระบบ Hong Kong Futures Automatic Trading System ที่ใช้ซื้อขายอนุพันธ์เท่านั้น
ตลาดอนุพันธ์อ่องกงเป็นตลาดที่มีการซื้อขายค่อนข้างมาก แต่ละวันมีการซื้อขายเกือบ 3 ล้านสัญญา