ทางโครงการ GNU ได้ออก Emacs 22 ซึ่งทิ้งช่วงจาก Emacs 21 ถึงหกปี
ของใหม่ๆ ในเวอร์ชัน 22 ได้แก่การสนับสนุน GTK+, สามารถ drag and drop กับ X-Window ได้, เพิ่มโหมดใหม่ๆ อีกมากมาย, ปรับปรุงความสามารถของเวอร์ชันบนวินโดวส์และแมคให้ทัดเทียมยูนิกซ์ สำหรับผู้ใช้คนไทย Emacs 22 ได้รวมโมดูล Leim (สนับสนุนคีย์บอร์ดต่างชาติ) มาไว้ในตัว ไม่ต้องดาวน์โหลดแยกอีกต่อไป
แถวนี้มีแฟน Emacs บ้างพอสมควร นานๆ มีข่าวทีก็น่าจะแสดงตัวกันนิด
ที่มา - Linux.com
หลังการจับมือกับโนเวลล์จนเป็นเรื่องเป็นราว ไมโครซอฟท์ยังไม่หยุดการร่วมมือด้านสิทธิบัตรกับผู้ขายลินุกซ์ โดยล่าสุดได้ประกาศความสำเร็จในการตกลงกับทาง Xandros ที่จะทำความตกลงในรูปแบบที่แทบจะเหมือนกับที่ทำกับทางโนเวลล์ทุกประการ
ความร่วมมือหลักๆ ระหว่างไมโครซอฟท์กับ Xandros นั้นคือ การปรับปรุงระบบการดูแลระบบให้ทำงานเข้ากันได้, การตรวจสอบโปรโตคอลต่างๆ ให้ทำงานร่วมกัน, ความเข้ากันได้ของโปรแกรมเอกสารต่างๆ, การรับประกันสิทธิบัตรจากไมโครซอฟท์ และการสนับสนุนการขายจากไมโครซอฟท์
Fedora 7 (ไม่มี core) ออกแล้ว ในชื่อรหัสว่า "Moonshine" มีการเปลี่ยนแปลงเด่นๆ ที่ประกาศใน announce คือ
หลายๆ คนแม้ชอบ Gmail กับ Google Reader แต่คงต้องยอมรับว่าข้อด้อยหลักๆ ของทั้งสองบริการนี้คือเราต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลาการใช้บริการ แต่ข้อจำกัดนี้กำลังหายไป เมื่อ Google Gears จะทำให้เว็บโปรแกรมเมอร์สามารถเรียกใช้บริการ Javascript API เพิ่มเติมเพื่อขอให้มีการเก็บข้อมูลไว้ในบราวเซอร์ได้
บริการแรกที่ได้รับอานิสงส์จาก Google Gears คือ Google Reader ที่จะดึงเอา 2000 ข้อความล่าสุดมาไว้ในเครื่องเราให้เราอ่านได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะออนไลน์หรือไม่
Google Gears รองรับ Firefox 1.5 และ IE6 ขึ้นไป ทั้ง ลินุกซ์, วินโดวส์ และ OSX ที่สำคัญคือมันเป็นโครงการโอเพนซอร์สให้เราเข้าไปช่วยกันแก้ไขได้อีกด้วย
หลังจากค้างคามาเกือบๆ แปดปี บั๊กตัดคำใน Firefox ก็เริ่มถูกแก้ไขแล้วจากทางต้นน้ำ (ในที่นี้คือ Mozilla) โดยตรง โดยแพตซ์ล่าสุดนี้จะมีผลใน Firefox 3 ข่าวร้ายเล็กๆ คือแพตซ์นี้ยังจำกัดอยู่เฉพาะยูนิกซ์เท่านั้น ส่วนอื่นๆ ยังต้องรอการเชื่อมต่อกับ API ตัดคำของแต่ละแพลตฟอร์มต่อไป
งานนี้ต้องขอบคุณคุณเทพพิทักษ์ (สัมภาษณ์ใน Blognone) ที่ทำงานด้านนี้มาตลอดครับ
ข้ออ้างที่จะไม่ใช้ Firefox เริ่มลดลงไปเรื่อยๆ แล้วสินะ
ที่มา - Theppitak's blog
การประกาศใช้ลินุกซ์ของเดลล์สร้างข้อสงสัยกันเรื่องหนึ่งคือ ราคาขายของเครื่องเหล่านั้นจะต่างจากเครื่องที่ใช้วินโดวส์หรือไม่อย่างไร เนื่องจากบริษัทส่วนมากมักต้องจ่ายเงินประมาณ 50 ดอลลาร์เป็นค่าวินโดวส์ (รุ่น OEM) แต่ขณะเดียวกับเครื่องที่ติดตั้งวินโดวส์ก็ทำให้เดลล์สามารถหาลำไพ่จากการติดตั้งโปรแกรมเดโมต่างๆ ลงไปในเครื่องได้ จนอาจจะเกินมูลค่าวินโดวส์ไปแล้ว
แต่ทาง ArsTechnica ก็ได้ไปสอบถามถึงเรื่องนี้กับทางเดลล์มาแล้วและได้คำตอบว่าทางเดลล์จะตั้งราคาเครื่องที่ติดตั้ง Ubuntu แทนวินโดวส์ด้วยราคาต่ำกว่าปรกติประมาณ 50 ดอลลาร์ แถมท้ายด้วยผู้ใช้วินโดวส์จะมีทางเลือกในการยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมเดโมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ในขณะที่กระแส Ubuntu กำลังมาแรง Linux อีกเจ้าอย่าง PCLinuxOS ก็เริ่มได้รับการพูดถึงมากขึ้นเหมือนกันครับ (อันดับใน Distrowatch อยู่อันดับ 3) และในที่สุดก็ได้ออกเวอร์ชันใหม่มาชนกับ Ubuntu แล้ว
PCLinuxOS นี้เป็น Linux สายพันธ์ Mandriva ที่เน้นการทำงานแบบ Live CD สำหรับ 2007 นี้ใช้ Kernal 2.6.18.8, KDE 3.5.6, Xorg 7.1.1 และโปรแกรมอื่นๆ ก็เป็นตัวที่ใหม่ๆ ทั้งนั้นครับ (มี Beryl มาให้ด้วย !!!) นอกจากนี้ยังมีระบบ Synaptic ที่ไว้คอยจัดการเรื่องการโปรแกรมต่างๆ (เหมือน Ubuntu) แต่เป็น RPM มาให้พร้อมครับ สำหรับ Driver แบบ Proprietary นั้นตัว Live CD ไม่มีมาให้ครับ แ่ต่ว่าลงเองได้เหมือนกัน (ทาง Synaptic)
KDE 3.5.7 ออกแล้วครับ โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นแก้ Bugs ของ 3.5 Series และมีการเพิ่มความสามารถเข้าไปในส่วนของ KDE PIM หลายๆ อย่าง เช่นการปรับปรุง KMail (ไม่รู้นอกจากผมแล้วมีใครใช้รึเปล่า :P) ให้ทำงานกับ IMAP ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีการปรับปรุงแอพพลิเคชั่นอื่นๆ อีก 2-3 ตัว เช่น
นอกจากหน้าตาที่ไม่เข้ากับโปรแกรมอื่นๆ แล้วข้อเสียของ Firefox ที่ชาวแมคบ่นกันบ่อยๆ คือฟอร์มที่มันเรนเดอร์ออกมานั้นไม่เป็น Aqua เหมือนใน Safari คนรัก Firefox แต่ชอบความงามก็ต้องใช้ Camino กันไป
แต่จาก Firefox 3 เป็นต้นไปชาวแมคคนชื่นใจกันขึ้นเยอะ เมื่อ Firefox จะรองรับ Aqua ในตัวแล้ว โดยตอนนี้เริ่มมี Experimental Build ออกมาแล้ว แต่เป็นเพื่อการทดลองอย่างเดียว แม้แต่ผู้ทดสอบทั้งหลายก็ยังถูกขอให้งดโพสบั๊กเกี่ยวกับประเด็นนี้ (แต่ถ้าใครรอไม่ไหว ก็โหลดกันได้ที่นี่)
สำหรับคนที่ต้องส่งงานเอกสารไปมาระหว่างวินโดวส์และลินุกซ์ ปัญหาที่มักจะเจอกันคือเรื่องของฟอนต์ที่ลินุกซ์นั้นไม่เหมือนในวินโดวส์ ซึ่งโดยทั่วไปนั้น ก็มักจะใช้ Core Fonts ของไมโครซอฟท์กัน เนื่องจากสัญญาอนุญาตระบุให้แจกจ่ายและใช้งานได้โดยไม่แก้ไข แต่สัญญาอนุญาตเช่นนั้นก็ยังไม่ดีพอเนื่องจากดิสโทรทั้งหลายไม่สามารถติดตั้ง Core Fonts ไปกับตัวดิสโทรได้ทำให้การใช้งานลำบากพอสมควร แต่งานนี้ RedHat ก็ออกมาเป็นพระเอกด้วยการเสนอ Libertine Open Fonts ซึ่งเป็นชุดฟอนตฺ์ที่จงใจสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อให้แทนที่ Core Fonts ได้โดยไม่เสียการจัดหน้ากระดาษ
หลังติดพันธนาการเครื่องเมนเฟรมมายาวนานตลาด New York Stock Exchange ก็เริ่มกระบวนการย้ายโปรแกรมทั้งหมดไปสู่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ IBM AIX และ ลินุกซ์
สำหรับเหตุผลในการย้ายครั้งนี้ก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากราคาค่าบำรุงรักษาที่นับวันเมนเฟรมนั้นจะแพงเอาๆ ขณะที่ลินุกซ์ และยูนิกซ์แบบอื่นๆ นั้นแข่งกันถูกจนเทียบกันไม่ติด แถมความเร็วยังเหนือกว่า
จากข่าวเก่า โอเพนซอร์สละเมิดสิทธิบัตรไมโครซอฟท์ 235 ชิ้น ลินุส ทอร์วัลด์ได้ออกมาโต้ตอบไมโครซอฟท์แล้ว
ทอร์วัลด์บอกว่าถ้าสามารถรีวิวซอร์สโค้ดของไมโครซอฟท์ได้ เขาเชื่อว่าไมโครซอฟท์จะละเมิดสิทธิบัตรของคนอื่นมากกว่าลินุกซ์เสียอีก แนวคิดพื้นฐานของระบบปฏิบัติการนั้นถูกสร้างขึ้นมาหมดตั้งแต่ทศวรรษ 60 แล้ว และลำพัง IBM ก็น่าจะถือสิทธิบัตรเหล่านี้อยู่เป็นหลักพัน
นอกจากนี้ทอร์วัลด์ยังเรียกร้องให้ไมโครซอฟท์เปิดเผยรายชื่อของสิทธิบัตรเหล่านั้นให้รู้กันไปเลย ไม่ใช่เพียงแค่ขู่ เขาให้ความเห็นว่าไมโครซอฟท์อยากสร้าง FUD ให้คนใช้โอเพนซอร์สกลัว มากกว่าจะฟ้องจริงๆ
Horacio Gutierrez รองประธานฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาของไมโครซอฟท์ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Fortune ว่า ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สได้ละเมิดสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์รวมกันถึง 235 ชิ้น
จำนวนนี้แบ่งเป็นลินุกซ์เคอร์เนล 42 ชิ้น, บรรดา GUI ต่างๆ (เข้าใจว่าหมายถึง GNOME/KDE) 65 ชิ้น, OpenOffice.org 45 ชิ้น, โปรแกรมอีเมล 15 ชิ้น และโปรแกรมอื่นๆ รวมกันอีก 68 ชิ้น Gutierrez ให้ความเห็นว่าจำนวนขนาดนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอน
ก่อนหน้านี้ ในปี 2004 ได้มีรายงานจากกลุ่ม Open Source Risk Management Group ที่ประเมินว่าเฉพาะลินุกซ์ก็มีโอกาสละเมิดสิทธิบัตรถึง 284 ชิ้น
งาน RedHat Submit ปีนี้น่าตื่นเต้นกว่าปีที่ผ่านๆ มา เมื่อนาย Henri Richard รองประธานฝ่ายขายและการตลาดของเอเอ็มดีได้ขึ้นพูดและประกาศให้คำมั่นว่าจะบริษัทกำลังดำเนินการเปิดซอร์สไดร์เวอร์การ์ดแสดงผลในตระกูล ATI อย่างแน่นอน
ประเด็นการเปิดซอร์สนี้เป็นประเด็นที่ถูกคาดหวังตั้งแต่เมื่อทางเอเอ็มดีประกาศซื้อ ATI เป็นครั้งแรก งานนี้จึงไม่ใช่เรื่องน่าตกใจแต่อย่างใด แต่นี่ก็เป็นครั้งแรกที่ข่าวลือนี้ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ
การแถลงยังไม่ยืนยันช่วงเวลาที่จะมีซอร์สออกมา ดังนั้นชาวลินุกซ์อาจจะต้องรอกันอีกหน่อย
ที่มา - Enterprise Linux Log
Oracle NEC IBM HP Hitachi Dell และบริษัทไอทีอื่นๆ อีกประมาณ 10 บริษัทในญี่ปุ่น กำลังร่วมมือกันเพื่อวางแผนสร้างและจำหน่ายเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการในตลาดญี่ปุ่น
สาเหตุที่บริษัทไอทีในญี่ปุ่นหันมาร่วมมือกันสนับสนุนโอเพนซอร์ส ก็เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นมีคำสั่งให้หันมาให้ความสำคัญกับโอเพนซอร์สและลินุกซ์ในทุกๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับไอที ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเริ่มประมาณเดือนกรกฏาคมนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนโดยใช้งบประมาณประมาณ 1.25 ล้านล้านเยน (หรือประมาณ 3.5 แสนล้านบาท) ในปีถัดไป รัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลต้องการที่จะลดความเชื่อมั่นในระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์
ในที่สุด KDE ก็ได้ปล่อยตัว KDE 4.0-alpha1 ออกมาให้ได้ยลโฉมกันแล้วในโค้ดเนมว่า "Knut" (ชื่อหมีหรือเปล่า) โดยการออกเวอร์ชั่น Alpha มาก็หมายความว่า ต่อไปจะไม่มีการเพิ่มความสามารถอะไรลงไปใน KDE4 อีก นอกจากจะได้รับความยินยอมจากผู้ดูแลก่อน (Feature freeze)
ส่วนความสามารถเด่นๆ ในเวอร์ชันนี้ก็คือสิ่งที่ KDE ได้โฆษณามานานแล้ว ได้แก่:
หลังจากปล่อยซอร์สจาวาตัวแรกที่เป็น GPL ออกมาแล้ว ตอนนี้ซันได้ประกาศปล่อยซอร์สของ JDK ออกมาแล้วครับภายใต้ GPL เวอร์ชัน 2
ซึ่งโค๊ดนั้นจะเปิดเผยทั้งหมดยกเว้นบางส่วนที่ซันไม่ได้เป็นเจ้าของหรือเขียนเองและผู้เขียนก็ไม่ตกลงใจกับ GPL เวอร์ชัน 2 นี้ครับ เช่นพวก Library เกี่ยวกับด้านกราฟฟิกหรือด้านเสียง เป็นต้น
นอกจากนี้ซันจะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาตัว OpenJDK และสร้างเป็นชุมชนขึ้นภายในปีหน้าครับ
งานนี้ออกมาชนกับ Harmony ของ Apache เต็มๆ
ที่มา - TheServerside.com
Gentoo หนึ่งใน Linux ที่มีแฟนๆ ไม่น้อย (ด้วยความแนวของมัน) ได้ออกเวอร์ชั่นใหม่มาแล้วครับกับ 2007.0 หรืออีกชื่อว่า "Secret Sauce"
สำหรับ 2007.0 นี้ประกอบไปด้วย
และใช้ kernel 2.6.19 ครับ มีให้เลือกดาวน์โหลดทั้งแบบ AMD64, x86 LiveCD และ LiveDVD เลยครับ
สนใจก็ไปลองกันได้ตามสะดวกครับ จะลงแล้วเทียบกับ Ubuntu 7.04 เลยก็ดี
ที่มา - OSNews
หนึ่งใน "นวัตกรรม" ที่ Steve Jobs กล่าวถึงในงานเปิดตัว Leopard คือฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Time Machine ที่สามารถย้อนอดีตของไฟล์ต่างๆ ตามช่วงเวลาได้อย่างอิสระ เช่นเดียวกันใน Solaris 10 ก็มี ZFS ที่ความสามารถคล้ายกัน ยิ่งไม่นับฟีเจอร์ในวิสต้าและระบบปฏิบัติการยุคเก่าๆ อย่าง VMS ที่มีฟีเจอร์นี้ใช้งานมานับสิบปี
มาวันนี้ลินุกซ์ก็มีฟีเจอร์ดังกล่าวให้ใช้งานกันฟรีๆ แล้ว ด้วย ext3cow ที่เพิ่มความสามารถในการทำเวอร์ชั่นของไฟล์ตามเวลาได้อย่างง่ายดาย ข้อสำคัญของ ext3cow คือมันไม่เปลี่ยนแปลง API ทั้งในตัวเคอร์เนลและภายนอกแม้แต่น้อย ทำให้เราค่อนข้างเชื่อได้ว่ามันจะทำงานกับโปรแกรมเก่าของเราได้อย่างถูกต้อง
อ่านบทสัมภาษณ์จบแล้วก็ทึ่ีงในงานอดิเรกของนักฟิสิกส์วัย 60 ปี ที่เขียน GSPCA/SPCA5xx (ไดรเวอร์ของเว็บแคมแบบ USB กว่า 300 ตัว) และที่น่าสนใจโครงการนี้ไม่ได้ขอรับการสนับสนุนจากองค์กรทางธุรกิจใดๆ
นักฟิสิกส์คนนี้คือ Michel Xhaard ทำงานเกี่ยวกับ ultrasound imaging อยู่ที่ฝรั่งเศส เริ่มเขียนไดรเวอร์ตัวแรกตั้งแต่ปี 2003 เพราะซื้อกล้องมาให้ลูกสาวแต่หาไดรเวอร์สำหรับใช้งานบนลินุกซ์ไม่ได้ หลังจากนั้นก็เขียนไดรเวอร์ให้เว็บแคมอื่นๆ เรื่อยมา โครงการนี้ยังอัพเดตอยู่เรื่อยๆ สามารถเช็ครายชื่อได้จาก http://mxhaard.free.fr/
อยากให้องค์กรที่สนับสนุนโอเพนซอร์สในไทยได้อ่านข่าวแบบนี้บ้าง
หลังจากมีข่าวว่า Flex จะโอเพนซอร์สไปแล้ว ก็มีข่าวมาว่าไมโครซอฟท์อาจจะโอเพนซอร์สบางส่วนของ Silverlight ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ออกมาต่อกรโดยตรงกับ Flash ของ Adobe บาง รวมถึงจะเปิดตัวโปรแกรมในตระกูล Microsoft's Expression อย่างเป็นทางการในงาน MIX07 โดยไมโครซอฟท์วางตัว Expression ให้ออกมาชนกับ Adobe Creative Suite 3 ที่พึ่งเปิดตัวไป แบบโปรแกรมต่อโปรแกรมเลยก็ว่าได้
ที่มา - Infoworld
กลุ่ม APRIL ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโอเพนซอร์สในฝรั่งเศส ได้ส่งคำถามด้านนโยบายให้กับผู้สมัครประธานาธิบดีฝรั่งเศสจำนวน 12 คน มีคนตอบกลับมา 8 คน น่าสนใจตรงที่ผู้สมัครสองคนที่คะแนนนำ และรอตัดสินในการเลือกตั้งรอบสอง คือ Nicolas Sarkozy และ Ségolène Royal ได้ตอบมาด้วย
คำถามของ APRIL ครอบคลุมทั้งเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์, ซอฟต์แวร์เสรี, มาตรฐานเปิด, สิทธิบัตร และ DRM ผมคงไม่ยกคำตอบมาให้อ่านเพราะจะยาวมาก เอาเป็นว่าในภาพรวม ผู้สมัครส่วนใหญ่สนับสนุนแนวคิดเสรี, ต่อต้าน DRM และเห็นว่ากฎหมายสิทธิบัตรต้องปรับปรุงยกใหญ่ สรุปว่าใครได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ถ้าดำเนินนโยบายด้านนี้ตามที่พูดก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก
บริษัท Adobe ประกาศว่าจะโอเพ่นซอร์ส Flex ในช่วงซัมเมอร์นี้ โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ Mozilla Public License (MPL)
โดยส่วนที่จะทำการโอเพ่นซอร์สคือ Flex SDK, MXML Compiler และ ActionScript 3.0 ทั้งตัว Compiler, Debugger และรวมถึง Libraries หลัก ของ Flex ทั้งหมด แต่ไม่ได้รวม Adobe FlexBuilder ที่เป็น IDE สำหรับ Flex (ซึ่ง based on Eclipse)
โดยคาดว่า จะเริ่มทยอยเปิด ตั้งแต่เดินมิถุนายนเป็นต้นไป ซึ่งทางบริษัทแจ้งว่า การเปลี่ยนผ่านไปเป็นโอเพ่นซอร์สโปรเจคทั้งหมด จะเสร็จสิ้นในช่วงปลายปีนี้
กูเกิลถือเป็นผู้ใช้ MySQL รายใหญ่อีกรายหนึ่ง แต่เนื่องจากความต้องการที่ค่อนข้างเหนือกว่าฐานข้อมูลขนาดเล็กทั่วไป ทางกูเกิลจึงต้องมีการปรับปรุงการทำงานเพื่อใช้งานภายใน และวันนี้ทางกูเกิลก็ออกมาประกาศเปิดเผยแพตซ์ชุดหนึ่งที่มีการใช้งานอยู่ในรูปแบบสัญญาอนุญาตแบบ GPL
ฟีเจอร์หลักที่ทางกูเกิลเพิ่มเข้ามาเกือบทั้งหมดเป็นฟีเจอร์ในเรื่องของ High Availability ซึ่งบ้านเราอาจจะมีคนใช้กันน้อยซักหน่อย (ปรกติก็ซื้อ 10g ใช้?) แพตซ์ทั้งหมดเป็นแพตซ์สำหรับ MySQL 4 โดยทางกูเกิลระบุว่าแพตซ์สำหรับ MySQL 5 กำลังจะตามมา
กูเกิลระบุชัดเจนว่าสนใจที่จะมอบแพตซ์เหล่านี้ให้ทาง MySQL นำไปดำเนินการต่อไป โดยการเปิดเผยแพตซ์ในตอนนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนของนักพัฒนา MySQL ได้มีโอกาสพิจารณาแพตซ์เหล่านี้ได้
ช่วงหลังมานี้บริษัทคอมพิวเตอร์อย่างเดลล์มีท่าทีเข้าหาลินุกซ์มากขึ้นเรื่อยๆ สัญญาณที่ชัดเจนอีกอย่างอาจจะเป็นการแสดงคอมพิวเตอร์ที่ผู้ก่อตั้งบริษัทอย่างไมเคิล เดลล์ใช้งานอยู่ โดยเครื่องล่าสุดที่เขาใช้งานนั้นคือ Dell Precision M90 ที่ใช้ Core 2 Duo T7600 แรม 4 กิกะไบต์ การ์ดจอ nVidia Quadro FX 3500 แน่นอนว่าแรงที่สุดเท่าที่จะหาได้ในตลาด แต่ที่น่าสนใจคือซอฟท์แวร์ที่เขาใช้งานในเครื่องใหม่นี้ ทั้งหมดเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั้งสิ้น โดยเริ่มตั้งแต่ Ubuntu 7.04 Fiesty Fawn, OpenOffice.org 2.2, Firefox 2.0.0.3 และ Evolution
หวังว่าสัญญาณนี้จะเป็นการบ่งบอกว่าเครื่องเดลล์รุ่นต่อไปจะรองรับลินุกซ์อย่างเต็มรูปแบบจริงๆ แล้ว