งานวิจัยของ Microsoft Research ที่ถูกนำออกมาเผยแพร่ใหม่แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ในการใช้งานแท็บเล็ตคู่กับปากกาสไตลัสได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เมื่อชุดอุปกรณ์ทำงานได้อย่างรู้ใจ รู้ได้ว่าสัมผัสไหนที่ผู้ใช้ตั้งใจจรดปากกาเพื่อสร้างสรรค์งาน สัมผัสไหนคือปลายนิ้วที่ลากผ่านหน้าจอเพื่อเรียกคำสั่ง แถมจะไม่ผิดพลาดไปเผลอเข้าใจว่าการที่ผู้ใช้พักมือบนหน้าจอคือการสั่งงานอย่างหนึ่ง
งานวิจัยของ Microsoft นี้ มีการฝังเซ็นเซอร์ไว้หลายประเภทในปากกาสไตลัส อย่างแรกคือเซ็นเซอร์ตรวจการสัมผัสที่จะทำให้ระบบรับรู้ได้ว่าผู้ใช้กำลังจับปากกาในลักษณะใด เป็นต้นว่า หากจับในท่าพร้อมเขียน ระบบก็จะเตรียมพร้อมรับการลากเส้นของปากกา, หากจับในท่าที่เตรียมใช้นิ้วกดหน้าจอ ระบบก็จะเตรียมเรียกเมนูคำสั่งขึ้นมาให้ใช้งาน
หากใครยังจำกันได้ เมื่อปีที่แล้วไมโครซอฟท์ รีเสิร์ชเดโม IllumiRoom เทคโนโลยีการแสดงผลที่ขยายฉากในเกมบน Xbox ให้เกินมาถึงนอกจอด้วยการใช้ Kinect กับโปรเจคเตอร์ ล่าสุดไมโครซอฟท์ รีเสิร์ชได้เผย RoomAlive ซึ่งต่อยอดมาจาก IllumiRoom เดิม โดยคราวนี้ RoomAlive ครอบคลุมพื้นที่การแสดงผลทั้งห้องแล้ว
Wall Street Journal รายงานว่าหนึ่งในงานวิจัยและพัฒนาของทีม Google X ขณะนี้มีเรื่องหน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่ยักษ์ที่สร้างจากจอแสดงผลขนาดเล็กมาต่อเข้าด้วยกัน
Google X นั้นมีการแบ่งทีมวิจัยและพัฒนาออกเป็นทีมย่อยมากมายหลายหลาก หนึ่งในนั้นคือทีมพัฒนาเทคโนโลยีจอภาพซึ่งนำโดย Mary Lou Jepsen ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ One Laptop Per Child ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอของ Pixel Qi บริษัทสตาร์ทอัพผลิตจอภาพที่แสดงผลได้ดีแม้อยู่กลางแดด
เมื่อเดือนกรกฎาคม Facebook ได้ปล่อยงานวิจัยหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่อง "สิ่งที่เราเห็นใน Social Network มีผลกระทบกับอารมณ์ของเราหรือไม่" (ดูงานวิจัยได้ที่นี่) งานวิจัยนี้ถูกโจมตีอย่างหนักในเรื่องของจริยธรรมในการทดลองกับความคิดความรู้สึกของคน (ถึงแม้ว่าไม่ผิดกฎหมาย เพราะในการสมัคร Facebook ตอนแรกผู้ใช้ต้องยินยอมให้ Facebook นำข้อมูลเราไปทำการวิจัยหรือทดลองได้ก็ตาม)
Adobe ตัดสินใจปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในประเทศจีนลงภายในปีนี้ พร้อมปลดพนักงานออกกว่า 400 ตำแหน่ง
Adobe ไม่ได้เปิดเผยถึงเหตุผลเบื้องหลังการตัดสินใจในครั้งนี้ แต่สื่อตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นผลมาจากนโยบายของทางการจีนที่ไม่ค่อยเป็นมิตรกับบริษัทไอทีจากต่างชาตินักในระยะนี้ (ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของข้อมูล)
แม้จะปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลงไป แต่ Adobe จะยังคงเก็บสำนักงานขาย 6 แห่งในจีน, ฮ่องกง และไต้หวัน ไว้ดำเนินธุรกิจในภูมิภาคนี้ตามปกติ
ที่มา - The Next Web
Amazon ตัดสินใจอัดเงินเพิ่มอีก 55 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนหน่วยงานวิจัยผลิตภัณฑ์ด้านฮาร์ดแวร์ของตนเอง
หน่วยงานวิจัยดังกล่าวใช้ชื่อว่า a2z Development Center เน้นการพัฒนาสินค้าฮาร์ดแวร์ของ Amazon เองโดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนาแบบเก็บข้อมูลเป็นความลับ ซึ่งหน่วยวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนก Lab126 ที่เป็นทีมผู้รับผิดชอบการสร้าง Fire Phone กับ Fire TV นั่นเอง โดยจากการประเมินที่อ้างอิงเอกสารทางกฎหมายที่ Amazon ยื่นต่อทางการ ก็พบว่า a2z Development Center นี้จะเพิ่มการจ้างงานอีก 798 ตำแหน่ง
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Microsoft ได้ทำการปิดห้องปฏิบัติการ Microsoft Research ใน Silicon Valley อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการลดการจ้างงานขององค์กร
ห้องปฏิบัติการดังกล่าวถูกเปิดขึ้นตั้งแต่ปี 2001 มีหน้าที่หลักในการค้นคว้าวิจัยงานด้าน distributed computing ซึ่งครอบคลุมเรื่องของการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, ระบบรักษาความปลอดภัย, โปรโตคอล, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, บริการและการค้นหาบนอินเทอร์เน็ต, ระบบ large scale ฯลฯ
ห้องปฏิบัติการนี้มีพนักงานของ Microsoft อยู่ทั้งสิ้น 50 คน ซึ่งบางส่วนในนั้นจะได้รับการเสนองานในตำแหน่งใหม่จาก Microsoft
MIT อวดผลงานวิจัยใหม่ที่จะสร้างประสบการณ์ใช้งานสมาร์ทโฟนร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างลงตัวแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
งานวิจัยนี้มีชื่อว่า THAW เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่สร้างมาเป็นชุดสำหรับทำงานบนคอมพิวเตอร์และบนสมาร์ทโฟนไปด้วยกัน ผู้ใช้สามารถนำเอาสมาร์ทโฟนไปทาบกับหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานหรือเล่นเกมได้ หน้าจอสมาร์ทโฟนจะแสดงผลกลมกลืนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของจอคอมพิวเตอร์ (โดยที่จอคอมพิวเตอร์ก็เป็นจอปกติทั่วไป ไม่ใช่จอสัมผัส)
Google และ Dropbox ประกาศตั้งกลุ่มวิจัยด้านการออกแบบ usability เพื่อการสื่อสารที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว โดยใช้ชื่อว่า Simply Secure
Simply Secure ต้องการแก้ปัญหาระบบความปลอดภัยในปัจจุบันที่ใช้งานยาก ซับซ้อน จนเป็นผลให้ผู้ใช้ละเลยไม่สนใจรักษาความปลอดภัยของตัวเอง โจทย์ของ Simply Secure จึงเป็นการวิจัยว่า usability ที่ดีกับความปลอดภัยที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันได้หรือไม่
Simply Secure จะไม่สร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง แต่จะเข้าร่วมกับโครงการโอเพนซอร์สต่างๆ ในปัจจุบันเพื่อปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นแทน
Google ได้เล่าความคืบหน้าของการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับของตนเอง หลังจากที่ได้เผยโฉมหน้าตารถยนต์รุ่นต้นแบบเวอร์ชันทำเองมาให้เห็นกันสักพักแล้ว (ก่อนหน้านี้ Google ใช้วิธีการดัดแปลงรถยนต์ที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดมาติดตั้งเซ็นเซอร์และระบบซอฟต์แวร์เพิ่มเข้าไป) โดยล่าสุดกำลังจะมีการนำรถรุ่นต้นแบบนี้ไปทดสอบในพื้นที่ศูนย์วิจัยของ NASA
เทคโนโลยีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาจดจำภาพใบหน้าของมนุษย์เพื่อแยกแยะจำแนกบุคคลนั้นว่าน่าทึ่งแล้ว แต่เทคโนโลยีในห้องวิจัยนั้นยังคงเดินหน้าต่อไปเรื่อยจนถึงขนาดที่ว่าระบบคอมพิวเตอร์สามารถระบุได้ว่าวัตถุต่างๆ ที่ปรากฏในภาพถ่ายที่มันมองเห็นนั้นคืออะไร
Google ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการประกวด ILSVRC ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันนำเอาระบบซอฟต์แวร์จำแนกและระบุตำแหน่งวัตถุสิ่งของในภาพมาทำการแข่งขันเปรียบเทียบประสิทธิภาพกันใน 3 หมวด อันได้แก่ "การแยกแยะ", "การแยกแยะและระบุตำแหน่ง" และ "การตรวจจับ" ซึ่งในปีนี้ทีมวิจัยของ Google ที่มีชื่อว่า GoogLeNet ได้รับรางวัลชนะเลิศจากงานนี้ในหมวดแรกและหมวดสุดท้าย
มหาวิทยาลัย Queen Mary University of London (QMUL) ร่วมกับไมโครซอฟท์ในการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบนาโนเจนเนอเรเตอร์ (nanogenerator) สำหรับชาร์จไฟมือถือด้วยเสียงที่อยู่โดยรอบตัวได้
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ IBM ประกาศความสำเร็จในการสร้างชิปที่เลียนแบบการทำงานของสมองและเส้นประสาทของมนุษย์ (neurosynaptic computer ship) ซึ่งต่างไปจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่ทำงานตามแนวคิดของ Jon von Neumann (มีซีพียู หน่วยความจำ ข้อมูลเข้า ข้อมูลออก)
ชิปของ IBM มีชื่อเรียกว่า SyNAPSE ย่อมาจากชื่อเต็มคือ Systems of Neuromorphic Adaptive Plastic Scalable Electronics ชิปหนึ่งตัวประกอบด้วย "คอร์" (distributed neurosynaptic core) ที่สามารถประมวลผล เก็บข้อมูลในหน่วยความจำ และสื่อสารกับคอร์อื่นๆ ได้ภายในตัวเอง จำนวนทั้งหมด 4,096 คอร์
อินเทลประกาศความร่วมมือกับ Michael J. Fox Foundation for Parkinson's Research (ก่อตั้งโดย Michael J. Fox นักแสดงชื่อดังที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน) เพื่อนำเทคโนโลยี wearable และ big data เข้ามาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ป่วยโรคนี้
แม้ข่าวนี้จะมาช้าไปหน่อย (ราว 2 สัปดาห์) แต่ก็ถือว่าควรค่าแก่การติดตาม กับผลงานการวิจัยจาก MIT เกี่ยวกับเทคนิคที่เรียกว่า Visual Microphone ซึ่งสามารถถอดรหัสเสียงจากคลิปวิดีโอที่ถ่ายภาพวัตถุในบริเวณที่มีเสียงนั้น
เราคงพอรู้จักเทคนิคการอ่านปากจากในหนังหรือตามข่าวต่างๆ ถึงความสามารถในการเข้าใจคำพูดของบุคคลได้โดยพิจารณาจากลักษณะริมฝีปากของผู้พูด และนั่นทำให้เรารู้ได้ว่าเขากำลังพูดว่าอะไรแม้ว่าในความจริงแล้วเราจะไม่ได้ยินเสียงพูดนั้น แต่ผลงานวิจัยของ MIT นั้นล้ำไปกว่านั้น เพราะอัลกอริธึมของงานวิจัยนี้สามารถรู้ถึงเสียงพูดได้โดยการวิเคราะห์การสั่นไหวของวัตถุซึ่งอยู่ในสถานที่นั้น
ไม่เพียงแต่ฝั่ง Disney ที่มีผลงานวิจัยด้านซอฟต์แวร์ช่วยตัดต่อคลิปวิดีโอให้ง่ายยิ่งขึ้น ทีม Microsoft Research เองก็มีผลงานซอฟต์แวร์ที่จะช่วยแก้ไขคลิปวิดีโอให้ดูดีขึ้นด้วยเช่นกัน โดยผลงานของ Microsoft นี้มีชื่อว่า Hyperlapse ซึ่งถูกพัฒนามาเพื่อปรับปรุงคลิปวิดีโอที่ได้จากกล้องประเภท action camera โดยเฉพาะ
Disney Research ได้เผยแพร่ผลงานการวิจัยใหม่ ว่าด้วยเรื่องของซอฟต์แวร์ที่ช่วยตัดต่อคลิปวิดีโอที่ถูกถ่ายจากกล้องหลายตัวเข้าเป็นคลิปเดียวกัน
ซอฟต์แวร์ที่ Disney Research พัฒนาขึ้นมานี้ สามารถนำคลิปจากกล้องหลายตัวที่บันทึกภาพเหตุการณ์เดียวกันจากหลายมุมมองเข้าเป็นคลิปเดียวกัน โดยมันจะเลือกเอาภาพที่ดีจากกล้องแต่ละตัวในแต่ละขณะมาประกอบกัน ทั้งยังสามารถตัดภาพแบบซูมเจาะเฉพาะส่วนที่สำคัญในแต่ละขณะได้ด้วย
ทีมนักวิจัยจาก Technical University of Denmark (DTU) ประสบความสำเร็จในการส่งข้อมูลผ่านท่อใยแก้วนำแสง (fiber optics) ที่อัตราเร็ว 43Tbps (T นะครับ ไม่ใช่ G) โดยใช้ใยแก้วเพียงเส้นเดียวและตัวส่งข้อมูล (transmitter) เพียงตัวเดียว
สถิติก่อนหน้านี้เป็น Karlsruhe Institute of Technology จากเยอรมนีทำไว้ที่ 26Tbps ในปี 2011 ส่วน DTU เองก็เคยทำสถิติไว้ก่อนหน้านั้นคือ 1Tbps ในปี 2009
เทคนิคที่ DTU ใช้งานคือออกแบบใยแก้วให้มีหลายแกน (core) โดยในกรณีนี้คือ 7 แกนในใยแก้วเส้นเดียว ในอดีตการผลิตใยแก้วแบบหลายแกนทำได้ยากและแพง แต่เมื่อเทคนิคการผลิตพัฒนาขึ้นมากก็ทำให้การส่งข้อมูลผ่านใยแก้วหลายแกนเป็นไปได้มากขึ้น
นอกจากการย้ำภารกิจแรกนั่นคือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรไมโครซอฟท์ให้ได้ สัตยา นาเดลลา ซีอีโอไมโครซอฟท์ ยังเหน็บแนมกูเกิล ที่งานสัมมนา Brainstorm Tech (จัดโดยนิตยสาร Fortune) ด้วย
Microsoft Research โชว์ Project Adam ซึ่งเป็นระบบ deep-learning ใหม่ของระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ของทางไมโครซอฟท์ที่เคลมว่าดีกว่า ใช้เครื่องในการประมวลผลน้อยกว่า และมีความถูกต้องมากกว่าระบบปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ ในปัจจุบัน
งานวิจัยใหม่ของ MIT คือการประยุกต์ใช้ปรากฏการณ์การควบแน่นของไอน้ำในอากาศ มาปรับเปลี่ยนผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายพลังงานให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
งานวิจัยนี้เป็นการค้นพบโดยบังเอิญในขณะที่ทีมวิจัยซึ่งนำโดยนักวิจัยปริญญาเอก Nenad Miljkovic, รองศาสตราจารย์วิศวกรรมเครื่องกล Evelyn Wang และทีมงานอีก 2 คน กำลังศึกษาและปรับปรุงวัสดุที่มีพื้นผิวซึ่งสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี (เพื่อเอาไปใช้กับตัวเร่งการควบแน่นในกระบวนการอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่นในโรงไฟฟ้า) โดยใช้แผ่นทองแดงที่ผ่านกระบวนการทำผิวแบบพิเศษเพื่อลดความสามารถในการเกาะผิวของหยดน้ำ มาทำเป็นชุดแผ่นระบายความร้อน ซึ่งแผ่นทองแดงพิเศษดังกล่าวถูกวางชิดกัน (คล้ายกับแผ่นครีบระบายความร้อนในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรทั้งหลาย)
ขอรวบข่าวเกี่ยวกับ Cortana ระบบผู้ช่วยส่วนตัวบน Windows Phone จากไมโครซอฟท์ ในหลายวันที่ผ่านมามาเล่าพร้อมกัน ดังนี้
Microsoft Research ออกแอพตัวใหม่ชื่อ Climatology บน Android และ Windows Phone
แอพตัวนี้รวบรวมสถิติ "ภูมิอากาศ" (climate) ของทุกจุดบนโลก เราสามารถเช็คข้อมูลอุณหภูมิ โอกาสฝนตก หรือความชื้นในอากาศ ณ ช่วงวันที่ต้องการได้ล่วงหน้า เหมาะสำหรับคนที่วางแผนการเดินทางไปต่างประเทศ
ไมโครซอฟท์ระบุชัดว่า Climatology เป็นแอพ "ทดลอง" (experiment) ของทีมวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมของไมโครซอฟท์ โดยต้องการรับฟังความเห็นของผู้ใช้เพื่อนำไปปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้น
ศูนย์ข้อมูลเป็นหนึ่งในโครงสร้างที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดโครงสร้างหนึ่ง บริษัทไอทีต่างๆ ก็พยายามจัดหาพลังงานทางเลือกอย่างเช่นเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) ที่ผลิตไฟฟ้าจากแก๊สชีวภาพเพื่อจ่ายไฟให้ศูนย์ข้อมูลที่ตัวเองมี
สำหรับไมโครซอฟท์นั้นก็ได้มีแผนที่จะใช้เซลล์เชื้อเพลิงเพื่อปฏิวัติการจ่ายไฟเข้าศูนย์ข้อมูลให้ใช้พลังงานไฟฟ้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและปรับปรุงอัพไทม์ให้ดีขึ้นด้วยการติดตั้งเซลล์เชื้อเพลิงรวมเข้ากับแร็คเซิร์ฟเวอร์เพื่อที่จะผลิตไฟให้เซิร์ฟเวอร์โดยตรง
มีคนพบโครงการพัฒนาระบบผู้ช่วยส่วนตัว (personal assistant) แบบเดียวกับ Cortana หรือ Siri ที่อยู่ภายใต้ห้องปฏิบัติการ Conversational Systems Lab ของไมโครซอฟท์ รีเสิร์ช ชื่อ Louise
นักพัฒนาโครงการดังกล่าวอธิบายว่า Louise คือโครงการต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปีในการสร้างต้นแบบเพื่อที่จะพัฒนาระบบผู้ช่วยส่วนตัวที่ทำงานโดยอัตโนมัติ (automated personal assistant) ทางนักพัฒนาได้อัพโหลดคลิปนำเสนอโครงการ Louise บนวินโดวส์โฟน แท็บเล็ต และโทรทัศน์ รวมถึงคลิปนำเสนอโครงการ Louise ที่ทำงานระหว่างคู่สนทนาพูดคุยผ่าน Skype ด้วย สำหรับโครงการ Louise บนโทรทัศน์จะพิเศษหน่อยตรงที่การสั่งการระบบผู้ช่วยส่วนตัวนั้นเป็นได้ทั้งเสียงและท่าทาง (gesture) ครับ