ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ประกาศว่าลงนามในกฎหมาย CHIPS and Science Act สนับสนุนการผลิตชิปในสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว
กฎหมาย CHIPS and Science Act เป็นแพ็กเกจมูลค่ารวม 52.7 พันล้านดอลลาร์ ที่ช่วยลงทุนด้านงานวิจัยและการผลิตชิปบนแผ่นดินอเมริกา ประกอบด้วย 39 พันล้านดอลลาร์เป็นการจูงใจให้บริษัทเอกชนมาตั้งโรงงาน, 2 พันล้านดอลลาร์สำหรับชิปที่ใช้ในรถยนต์และอุตสาหกรรมอาวุธ, 13.2 พันล้านดอลลาร์สำหรับการวิจัยและพัฒนา และ 500 ล้านดอลลาร์สำหรับกิจกรรมด้านซัพพลายเชน (รายละเอียดกฎหมาย)
Office of Foreign Assets Control (OFAC) ภายใต้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรบริการ Tornado Cash บริการผสมเงินคริปโตเพื่อปกปิดที่มาของเงินบน Ethereum ส่งผลให้ธุรกิจและพลเมืองภายใต้กฎหมายสหรัฐฯ ทั้งหมดต้องหลีกเลี่ยงไม่ทำธุรกรรมใดๆ กับ Tornado Cash อีก
นอกจาก Tornado Cash แล้วทาง OFAC ก็จะสอบสวนบริการผสมเงินอื่นๆ ต่อไป พร้อมกับย้ำว่าธุรกิจเงินคริปโตนั้นมีความรับผิดชอบต้องป้องกันการฟอกเงิน การรับทำธุรกรรมจากใครก็ตามจึงต้องพิจารณาระดับความเสี่ยงของการฟอกเงินต่อเนื่อง และหากเงินผ่านบริการผสมเงินก็นับว่าเป็นความเสี่ยงสูง ธุรกิจคริปโตจึงควรป้องกันไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับบริการฟอกเงินเหล่านี้
ศาลอุทธรณ์ว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (Federal Circuit Court) เพิ่งมีคำพิพากษาออกมาว่าสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่เกิดจากการคิดค้นของ AI ไม่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ เพราะตามกฎหมายสิทธิบัตร (Patent Act) ระบุไว้ชัดเจนว่า “มนุษย์” ต้องเป็นผู้คิดค้นเท่านั้น
เรื่องนี้เกิดจากการที่นาย Stephen Thaler นำรูปที่ AI ที่ชื่อว่า Creativity Machine วาดขึ้นไปจดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อปี 2019 และถูกปฏิเสธ รวมถึงนวัตกรรมจากฝีมือ AI ของ Thaler อีกตัวที่ชื่อว่า DABUS ก็ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้เมื่อปี 2020
กรณีแบบนี้เกิดขึ้นคล้ายกันในยุโรป จากคำตัดสินของสำนักงานจดสิทธิบัตรของ EU และศาลสูงของออสเตรเลีย ที่ไม่อนุญาตให้ผลงานของ AI สามารถใช้จดสิทธิบัตรได้
Financial Times รายงานว่ายักษ์ใหญ่ของวงการเซมิคอนดักเตอร์เกาหลีคือซัมซุงและ SK hynix กำลังทบทวนนโยบายการลงทุนในจีน หลังสหรัฐอเมริกาผ่านกฎหมาย CHIPS Act ที่ให้ทุนกับบริษัทเอกชนไปผลิตชิปในสหรัฐ
กฎหมายฉบับนี้ยังมีเงื่อนไขว่าบริษัทที่จะรับทุนจากรัฐบาลสหรัฐ ต้องไม่ขยายหรืออัพเกรดโรงงานผลิตชิปในจีนเป็นเวลา 10 ปีด้วย เงื่อนไขนี้บีบให้บริษัทอย่างซัมซุงและ SK hynix ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกทางใดกันแน่ระหว่างจีนกับสหรัฐ
Financial Times ยังอ้างแหล่งข่าวจากรัฐบาลเกาหลีใต้ว่า โรงงานชิปในจีนของบริษัทเกาหลีจะถูกลดความสำคัญลงเรื่อยๆ และถ้าจีนไม่พอใจ ทางเลือกเดียวของบริษัทเกาหลีก็คือเลือกข้างสหรัฐ
Washington Post รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยตัว ระบุว่า Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกาเตรียมเข้าพบนาย Mark Liu ประธานบริษัท TSMC ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดแห่งไต้หวัน เพื่อหารือเรื่องการลงทุนตั้งโรงงานในสหรัฐ จากการเดินทางเยือนไต้หวันอย่างเป็นทางการครั้งนี้
เนื่องจากกฎหมาย Chips and Science Act เพิ่งผ่านสภา ทำให้รัฐบาลสหรัฐสามารถอุดหนุนเงินจำนวน 52 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับโรงงานผลิตชิปภายในประเทศ ซึ่ง TSMC ได้ตั้งโรงงานในเมือง Phoenix รัฐแอริโซนา มูลค่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญไปแล้วด้วย
ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ประกาศตั้งศูนย์วิจัย (ร่วม) เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตชิปขนาด 2 นาโนเมตร ที่ประเทศญี่ปุ่นภายในสิ้นปี 2022
ศูนย์วิจัยแห่งนี้จะเป็นของหน่วยงานวิจัยด้านชิปแห่งใหม่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะตั้งขึ้น ร่วมกับศูนย์วิจัย National Semiconductor Technology Center ของสหรัฐ ที่จะตั้งตามกฎหมาย CHIPS Act ที่เพิ่งผ่านรัฐสภา และมีงบประมาณกันไว้สำหรับตั้งศูนย์วิจัยเพิ่มเติม
ตัวแทนฝั่งญี่ปุ่นยังมีศูนย์วิจัยแห่งชาติ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST), ศูนย์วิจัย Riken และมหาวิทยาลัยโตเกียวด้วย
สำนักข่าวรอยเตอร์สอ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน 4 รายระบุว่ารัฐบาลโจ ไบเดนกำลังพิจารณาสั่งห้ามส่งออกอุปกรณ์ผลิตชิป NAND รุ่นใหม่ โดยจำกัดเฉพาะอุปกรณ์ที่ผลิตชั้นวงจรได้ไม่เกิน 128 ชั้นเท่านั้น หากคำสั่งนี้ออกมาจริงโรงงานผลิตชิป NAND ในจีนก็จะไม่สามารถผลิตชิปความจุสูงได้
จำนวนชั้นวงจรของชิป NAND มีผลโดยตรงกับความจุต่อพื้นที่ชิป ทำให้อุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ มีความจุสูงขึ้นโดยมีขนาดเล็กลง เทคโนโลยีของบริษัท Micron นั้นสามารถผลิตชิป NAND ที่ 232 ชั้นวงจรได้สำเร็จแล้ว หากจีนถูกจำกัดที่ 128 ชั้นก็เท่ากับว่าถูกบีบความจุเหลือประมาณครึ่งเดียวของเทคโนโลยีล่าสุดเท่านั้น
กรรมการกำกับนิวเคลียร์สหรัฐฯ (U.S. Nuclear Regulatory Commission - NRC) ประกาศอนุมัติให้ใช้งานเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กของบริษัท NuScale ได้ หลังจากบริษัทพยายามขออนุญาตมาหลายปี โดยเตาปฎิกรณ์เหล่านี้ผลิตไฟฟ้าเพียงเตาละ 50 เมกกะวัตต์ (ตามสเปคได้ถึง 77 เมกกะวัตต์) ฟีเจอร์สำคัญคือมันสามารถหยุดทำงานได้โดยไม่ต้องการระบบหล่อเย็นทำงานขณะปิดการทำงาน
ในการติดตั้งจริง NuScale จะติดตั้งเตาปฎิกรณ์ทีละ 12 ชุด ทำให้โรงงานไฟฟ้าแต่ละแห่งผลิตไฟฟ้าได้ 600 เมกกะวัตต์ บริษัทพยายามชูประเด็นว่าเนื่องจากแต่ละโมดูลมีขนาดเล็กและเรียบง่าย ทำให้การก่อสร้างจริงจะมีต้นทุนต่ำกว่าโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเดิมๆ
รัฐสภาสหรัฐอเมริกา ลงมติผ่านกฎหมาย CHIPS Act ที่ช่วยสนับสนุนด้านการเงินจูงใจให้เกิดการผลิตชิปบนแผ่นดินอเมริกา
กฎหมายผ่านโหวตของสภาผู้แทนราษฎร (สภาคองเกรส) ด้วยคะแนน 243-187 หลังจากผ่านการโหวตของวุฒิสภามาก่อนแล้วด้วยคะแนน 64-33 ขั้นถัดไปคือรอประธานาธิบดีโจ ไบเดน ลงนามเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป (ซึ่งเจ้าตัวก็ประกาศว่าลงนาม)
จากเหตุการณ์ชิปขาดตลาดที่ดำเนินมายาวนานและไม่มีท่าทีว่าจะกลับไปเป็นเหมือนยุคก่อนการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ราคาชิปถีบตัวสูงขึ้น รวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจอื่นที่ต้องพึ่งพาชิปก็ได้รับผลกระทบกันเป็นวงกว้าง รถยนต์หลายยี่ห้อส่งมอบได้ไม่ทันกำหนด บางยี่ห้อต้องลดสเปกฮาร์ดแวร์ลง
ด้านสหรัฐอเมริกาก็รู้สึกว่าต้องพึ่งพาชาติอื่นมากเกินไป เพราะโรงงานผลิตชิปแนวหน้าของโลกก็อยู่ที่จีนและชาติเอเชียอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามออกกฎหมายดึงดูดการตั้งโรงงานและการผลิตชิปกลับเข้ามาในประเทศ โดยสถิติระบุว่าส่วนแบ่งของชิปที่ผลิตในสหรัฐฯ ลดจาก 37% ในปี 1990 เหลือเพียง 12% ของทั้งโลกในวันนี้ เพราะรัฐบาลหลายประเทศได้ลงทุนด้านนี้ ทำให้ส่วนแบ่งของสหรัฐฯ ลดลงเรื่อยๆ
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยื่นฟ้อง Onur Aksoy ชายชาวไมอามีวัย 38 ปี ข้อหานำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์เน็ตเวิร์คซิสโก้ปลอมนับหมื่นรายการ รวมมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์
อุปกรณ์ที่ Aksoy นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ดัดแปลงอุปกรณ์จากรุ่นต่ำกว่าหรือรุ่นเก่าให้กลายเป็นรุ่นสูง, อุปกรณ์ใช้แล้ว, หรือบางครั้งก็ไม่ผ่านมาตรฐาน อุปกรณ์หลายชิ้นถูกดัดแปลงให้ติดตั้งซอฟต์แวร์ของซิสโก้โดยหลบเลี่ยงตัวตรวจสอบไลเซนส์ จากนั้นนำสินค้ามาใส่กล่องพร้อมติดสติกเกอร์ให้ดูเหมือนเป็นสินค้าออกมาจากโรงงานโดยตรง
รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามล็อบบี้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้สั่งห้ามส่งออกเครื่องจักรผลิตชิปแม้จะเป็นเครื่องที่ใช้เทคโนโลยี deep ultraviolet (DUV) ที่เก่าหลายปีแล้วก็ตาม หลังจากก่อนหน้านี้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ห้ามส่งออกเครื่องจักรผลิตชิปที่ใช้เทคโนโลยี extreme ultraviolet (EUV) ไปยังจีน
หากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ทำตามคำขอของสหรัฐฯ จะทำให้บริษัท ASML ผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตชิปรายใหญ่ไม่สามารถส่งออกเครื่องจักรเหล่านี้ให้กับผู้ผลิตชิปในจีนได้
ต่อจากข่าว สมาชิก กสทช. สหรัฐ ขอให้แอปเปิล-กูเกิล แบน TikTok เพราะเป็นภัยต่อความมั่นคง ส่งข้อมูลกลับจีน ล่าสุดมีจดหมายของ Shou Zi Chew ซีอีโอของ TikTok เขียนถึงวุฒิสมาชิกสหรัฐ 9 คนเพื่อชี้แจงเรื่องนี้ โดย Chew ยอมรับว่ามีพนักงานในจีนเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐได้จริง
TikTok ยอมรับว่ามีพนักงานในจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐได้ แต่ก็ต้องได้รับการอนุมัติจากทีมความปลอดภัยในสหรัฐก่อนเท่านั้น
TikTok ประกาศย้ายข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดไปยังศูนย์ข้อมูลของ Oracle ตามดีลที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ปี 2020 เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของรัฐบาลสหรัฐ
TikTok บอกว่าเดิมทีเก็บข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐ ไว้ที่ศูนย์ข้อมูลของ TikTok เองในสหรัฐ (Virginia) และสิงคโปร์ แต่เมื่อมีดีลกับ Oracle และรัฐบาลสหรัฐก็ยินดีปฏิบัติตามข้อตกลง ตอนนี้ทราฟฟิกทั้งหมดในสหรัฐของ TikTok วิ่งผ่านศูนย์ข้อมูลของ Oracle อยู่ ส่วนศูนย์ข้อมูลเก่ามีไว้สำหรับแบ็คอัพเท่านั้น
ที่มา - TikTok
Julian Assange ผู้ก่อตั้ง Wikileaks กำลังจะถูกส่งตัวกลับไปดำเนินคดีในสหรัฐ หลังอยู่ในคุกที่อังกฤษมานาน 3 ปี ตั้งแต่ปี 2019
เส้นทางชีวิตของ Assange คืออาศัยอยู่ในสถานทูตเอกวาดอร์ประจำสหราชอาณาจักรมาตั้งแต่ปี 2012 แต่โดนขับออกมาจากสถานทูตในปี 2019 ทำให้ตำรวจอังกฤษจับกุมต่อทันที และใช้เวลาต่อสู้คดีเพื่อไม่ให้ต้องถูกส่งตัวไปยังสหรัฐอเมริกา
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา EU ได้บรรลุข้อตกลงใหม่บังคับใช้พอร์ตประเภทเดียวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดเป็นพอร์ต USB-C มีผลในปี 2024 ล่าสุด กลุ่มวุฒิสมาชิกของพรรคเดโมแครตสหรัฐฯ ได้ยื่นหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอให้ออกกฎบังคับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนใช้พอร์ตชาร์จไฟเป็นมาตรฐานแบบเดียวกันเหมือนกับยุโรปบ้าง
สำหรับหนังสือที่ยื่นนี้เขียนโดย Ed Markey, Elizabeth Warren และ Bernie Sanders โดยขอให้กระทรวงพาณิชย์เริ่มดำเนินแผนบังคับพอร์ตชาร์จเป็นพอร์ตเดียวสำหรับอุปกรณ์พกพาทั้งหมด
สภานิติบัญญัติแห่งรัฐนิวยอร์ก ได้ผ่านกฎ Right-to-Repair ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในอเมริกา โดยมีชื่อเรียกว่า Digital Fair Repair Act ซึ่งลำดับถัดไปผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กจะลงนาม และมีผลบังคับใช้ใน 1 ปีข้างหน้า
ในกฎนี้กำหนดว่าผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล ที่จำหน่ายสินค้าในรัฐนิวยอร์ก จะต้องมีเครื่องมือ ชิ้นส่วน เอกสารขั้นตอน และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง สำหรับการซ่อมแซมอุปกรณ์ ให้กับทั้งลูกค้า และร้านซ่อมอิสระ
iFixit ผู้ผลิตอุปกรณ์สำหรับการซ่อมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสนับสนุนแนวทาง Right-to-Repair บอกว่านี่ถือเป็นก้าวสำคัญ เพราะแม้กฎจะมีผลบังคับใช้เฉพาะรัฐนิวยอร์ก แต่การที่ผู้ผลิตสินค้าต้องเผยแพร่คู่มือการซ่อม ก็ย่อมทำให้คนในพื้นที่อื่นเข้าถึงข้อมูลนี้ได้เช่นกัน
สำนักข่าว CNET รายงานว่า เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมา ศาลสูงสุดสหรัฐได้มีมติอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ 5 - 4 ยับยั้งกฎหมายของรัฐเท็กซัส “HB20” ที่จะห้ามโซเชียลมีเดียเช่น Facebook หรือ Twitter ในการเซ็นเซอร์เนื้อหาหรือความคิดเห็นที่มาจากมุมมองและอุดมการณ์ทางการเมือง
กฎหมายฉบับนี้ที่เสนอร่างโดยสำนักงานของผู้ว่าการรัฐเท็กซัส มีเป้าประสงค์ในการปกป้องไม่ให้ประชาชนชาวเท็กซัสถูกผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียเซ็นเซอร์เพราะเผยแพร่เนื้อหาหรือแสดงความคิดเห็นที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองประกอบ
นอกจากนี้ ตามกฎหมายใหม่นี้ยังอนุญาตให้ประชาชนในรัฐเท็กซัสสามารถฟ้องร้องบริษัทผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียหากถูกเซ็นเซอร์หรือจำกัดเนื้อหา
สำนักข่าว Wall Street Journal รายงานว่าในไตรมาส 1 ปี 2022 องค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาสั่งซื้อหุ่นยนต์เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หากนับทั้งปี 2021 ยอดสั่งซื้อหุ่นยนต์มีมูลค่าถึง 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 55,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า
ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากการสำรวจโดย Association for Advancing Automation ส่วนเหตุผลที่มีการสั่งซื้อหุ่นยนต์มากขึ้นขนาดนี้ มาจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในสหรัฐอเมริกา เพราะหลายองค์กรต้องการนำหุ่นยนต์มาช่วยเหลือในส่วนงานที่แรงงานขาดหายไป
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ประกาศนโยบายการดำเนินคดีตามกฏหมายคอมพิวเตอร์สหรัฐฯ (Computer Fraud and Abuse Act - CFAA) ระบุว่าหากนักวิจัยทดสอบระบบในรูปแบบที่พยายามหลีกเลี่ยงการสร้างความเสียหาย และทำไปเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยโดยรวมแล้วจะไม่ดำเนินคดี
แนวนโยบายชุดนี้ยังระบุถึงประเภทคดีที่จะไม่ดำเนินคดีตาม CFAA เช่น ลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์เข้าเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวกับงาน, ผู้ใช้เว็บไซต์ไม่ทำตามข้อตกลงการใช้งาน (เช่น เว็บระบุให้ใช้ชื่อจริง),
อย่างไรก็ดีหากอัยการมีข้อสงสัยว่าแฮกเกอร์ใช้การวิจัยความปลอดภัยเป็นการบังหน้า ก็จะมีส่วนงานอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มาพิจารณาคดีเป็นรายๆ ไปอีกชั้นหนึ่ง
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ (Department of Treasury) ออกประกาศแจ้งเตือนว่าเกาหลีเหนือกำลังส่งออกแรงงานไอทีนับพันคน รับงานบริษัทต่างชาติโดยปิดบังสัญชาติที่แท้จริงของคนทำงานเพื่อหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรสหรัฐฯ
แรงงานไอทีเหล่านี้มักมีฐานรับงานอยู่นอกเกาหลีเหนือ เช่น จีน, รัสเซีย, บางส่วนอยู่ในแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาศัยการปลอมแปลงเอกสารประจำตัวว่าเป็นคนจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังตั้งบริษัทนอกเกาหลีเหนือเพื่อบังหน้า
ความสนใจในเงินคริปโตทำให้เราเห็นการใช้งานในระดับประเทศ อย่างกรณีของเอลซัลวาดอร์ที่ใช้ Bitcoin ส่วนในระดับท้องถิ่นก็มีหลายเมืองทั่วโลกให้ความสนใจเช่นกัน
เมื่อเดือนสิงหาคม 2021 เมืองไมอามีในสหรัฐอเมริกาเริ่มออกเหรียญ MiamiCoin ($MIA) ของตัวเอง โดยเป็นการผลักดันของนายกเทศมนตรี Francis Suarez
Janet Yellen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ ออกโรงมาพูดถึงปัญหาเหรียญ UST หลุดค่าที่ตรึงไว้กับดอลลาร์
Yellen มีนัดต้องไปให้การกับคณะกรรมาธิการด้านธนาคารของวุฒิสภาอยู่แล้วพอดี เมื่อมีกรณีของเหรียญ UST เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาและมีสมาชิกวุฒิสภาถามถึง เธอจึงยกตัวอย่างว่ากรณีของ UST เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากเงินคริปโตอย่างชัดเจน และสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องมีกรอบการกำกับดูแลทางกฎหมายต่อเหรียญ stablecoin เพื่อลดความเสี่ยงลง
Yellen พูดถึงชื่อ TerraUSD ออกมาตรงๆ ว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์การเงินแบบใหม่ๆ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยระบุว่ากระทรวงการคลังสหรัฐจะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อหาวิธีกำกับดูแลภายในปี 2022
รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรบริการผสมเงินคริปโต (virtual currency mixer) ที่ชื่อ Blender.io ฐานะที่ช่วยให้คนร้ายกลุ่มต่างๆ หลบเลี่ยงการตามตัว นับเป็นบริการผสมเงินคริปโตรายแรกที่โดนคว่ำบาตร
Blender.io ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2017 และจนตอนนี้ผสมเงินบิตคอยน์ผ่านบริการนี้ไปแล้วรวมมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ เงินก้อนใหญ่ๆ เช่น เหตุเกาหลีเหนือแฮก Axie Infinity ขโมยสินทรัพย์รวมมูลค่า 20.5 ล้านดอลาร์ก็ผสมเงินผ่าน Blender.io นอกจากนี้ยังมีการฟอกเงินจากกลุ่ม ransomware อีกหลายกลุ่ม
การประกาศคว่ำบาตรครั้งนี้ทำให้ธุรกิจในสหรัฐฯ ต้องหยุดให้บริการกับ Blender.io ทุกรูปแบบ ห้ามให้บริการหรือใช้บริการของ Blender.io อีกต่อไป
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เซ็นคำสั่งตั้งคณะกรรมการควอนตัมคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Quantum Initiative Advisory Committee) เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ของสหรัฐอเมริกา โดยมีตัวแทนจากสถาบันวิชาการ หน่วยวิจัยภาครัฐ และบริษัทเอกชนเข้าร่วม
คำสั่งนี้ดูเหมือนเป็นการตั้งคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์-งานวิจัยแขนงอื่นๆ ทั่วไป แต่ในคำอธิบายของทำเนียบขาว มีประเด็นน่าสนใจว่า ในอนาคตอันไม่ไกลนัก เมื่อควอนตัมคอมพิวเตอร์พัฒนาจนดีพอ จะสามารถเจาะการเข้ารหัสลับคอมพิวเตอร์ที่เป็นพื้นฐานด้านความมั่นคงออนไลน์ได้ง่าย