Tags:
Node Thumbnail

หลังจากที่ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์กระดาษลดลงเรื่อย เพราะคนหันไปอ่านสื่อบนอินเทอร์เน็ตกันหมด บริษัทกานเน็ต (Gannett) ผู้พิมพ์นสพ. USA Today และหนังสือพิมพ์อื่น ๆ 90 ฉบับในอเมริกา เริ่มปรับตัว โดยหันหน้าหาพลังจากฝูงชน หรือคราวด์ซอสซิง (crowdsourcing)

บริษัทกานเน็ตได้ปรับโครงสร้างของห้องข่าวใหม่โดยมีเป้าหมายเพื่อเน้นเนื้อหาที่ผู้ใช้ส่งเข้ามามากขึ้น และขอใช้พลังจากฝูงชน (ผู้อ่าน) ในการเป็นผู้ตรวจสอบหรือเป็นผู้แจ้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ตัวอย่างที่ได้ผลได้แก่งานประเภทสืบเสาะปัญหาในการดำเนินงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เป็นต้น นอกจากนี้เมื่อผู้อ่านได้เข้ามามีส่วนในการสืบเสาะข่าวแล้ว พวกเขาก็ยิ่งอยากอ่านข่าวที่เขียนขึ้นมามากขึ้นด้วย

ไม่แปลกอะไรที่การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้จะมีแรงต้านจากภายในองค์กร เช่น หลาย ๆ คนเชื่อว่าเป้าหมายสุดท้ายของการปรับโครงสร้างนี้ คือการลดรายจ่าย และสุดท้ายก็จะมีการปลดพนักงานข่าวในที่สุด (ซึ่งทางกานเน็ตได้ระบุว่าจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากจะมีการปรับเปลี่ยนงาน และมีการฝึกสอนงานใหม่ให้แทน)

ปัญหาอีกอย่างของการทำคราวด์ซอสซิงในงานข่าวก็คือหลายครั้งผู้คนมักไม่ค่อยแยกเรื่องเล่ากับข้อเท็จจริง มีตัวอย่างของการทำข่าวฆาตกรรม แม้ว่าจะยังไม่มีการกล่าวหาอย่างเป็นทางการ ผู้อ่านก็ได้เชื่อและแปะป้ายฆาตกร ให้กับคนบางคนไปแล้ว ทำให้นสพ. ต้องปิดเว็บบอร์ดเกี่ยวกับข่าวเรื่องนั้นไปชั่วคราว จนกว่ากระบวนการทางกฏหมายจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ปัญหายังเกิดจากการที่ผู้อ่านยังคงปักใจเชื่อว่าข่าวที่เขียนด้วยฝูงชนนั้นได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างละเอียดเช่นเดียวกับข่าวที่พิมพ์ในกระดาษแล้วอีกด้วย

จาก --- Wired News อ่านเพิ่มที่บล็อกของ Jeff Howe คนเขียนบทความ crowdsourcing.com

Get latest news from Blognone

Comments

By: pt on 4 November 2006 - 10:56 #11540

ก็ต้องทำ user rating ให้คนโหวตกันเอง

By: พี่ไท้ on 4 November 2006 - 19:15 #11558

ต่อไปอำนาจตุลาการมิโอนถ่ายจากศาลมาสู่ประชาชนธรรมดาหรือนี่

หรือต่อไปการตัดสินใจอะไรแบบนี้จะใช้ "ลูกขุน cyber" กันหนอ?

----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.

By: DrRider
WriterAndroid
on 4 November 2006 - 20:36 #11563
DrRider's picture

"ปัญหาอีกอย่างของการทำคราวด์ซอสซิงในงานข่าวก็คือหลายครั้งผู้คนมักไม่ค่อย แยกเรื่องเล่ากับข้อเท็จจริง มีตัวอย่างของการทำข่าวฆาตกรรม แม้ว่าจะยังไม่มีการกล่าวหาอย่างเป็นทางการ ผู้อ่านก็ได้เชื่อและแปะป้ายฆาตกร ให้กับคนบางคนไปแล้ว ทำให้นสพ. ต้องปิดเว็บบอร์ดเกี่ยวกับข่าวเรื่องนั้นไปชั่วคราว จนกว่ากระบวนการทางกฏหมายจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ปัญหายังเกิดจากการที่ผู้อ่านยังคงปักใจเชื่อว่าข่าวที่เขียนด้วย ฝูงชนนั้นได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างละเอียดเช่นเดียวกับข่าวที่พิมพ์ใน กระดาษแล้วอีกด้วย"

อันตราย อันตรายมาก เหมือนเมืองไทยเปี๊ยบ ใช่ไม่ใช่ไม่รู้ แต่คนเชื่อไปหมดแล้ว


We need to learn to forgive but not forget...