เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา คุณนาดา ไชยจิตต์ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับกับกรณีที่หญิงข้ามเพศถูกเลือกปฏิบัติ และถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าทำงานให้กับซัมซุงประเทศไทย
เรื่องราวเกิดจากคุณแพรี่ ผู้หญิงข้ามเพศจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัครงานเป็นพนักงานหน้าร้านของซัมซุงผ่านเอเจนซี่ Adecco Thailand ก่อนที่ทางเอเจนซี่จะยืนยันว่าเธอคุณสมบัติผ่านและผ่านการสอบทักษะ ให้ลาออกจากที่ทำงานเก่าได้เลย
ทว่าปัญหากลับเกิดขึ้นหลังจากคุณแพรี่ลาออกแล้วและกำลังเตรียมตัวมาเข้ารับการอบรมพนักงานที่กรุงเทพ เมื่อเธอได้รับการติดต่อจากตัวแทนซัมซุงไทยว่าบริษัท ไม่มีนโยบายรับกะเทยหรือสาวประเภทสอง กรณีของเธอนี่เป็นกรณีที่กระบวนการคัดสรรผิดพลาดด้วยเข้าใจผิดว่าเธอเป็นเพศหญิงโดยกำเนิด หากบริษัทจัดหางานทราบจะต้องคัดชื่อเธอออกตั้งแต่แรกเพราะนี่คือข้อปฏิบัติด้านนโยบายที่สั่งตรงมาจากบริษัทไทยซัมซุงเลย พร้อมยื่นเงื่อนไขว่าเธอจะต้องรับปากว่าเธอจะเข้าร่วมการอบรมพนักงานใหม่ด้วยลุคที่เป็นชายตามเพศกำเนิด รัดเต้านมและใส่วิกมาเข้ารับการอบรม จึงจะสามารถรับเข้าทำงานได้
คุณนาดาระบุว่าเหตุการณ์นี้สวนทางกับสัตยาบันที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้ในอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 111 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ ค.ศ. 1958 รวมถึงนโยบายจาก Samsung Global Electronics Company ที่ประกาศใช้ Business Conduct Guidelines 2016 ระบุถึงแนวปฏิบัติที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศเอาไว้อย่างชัดเจน
ทีมงาน Blognone ได้ติดต่อไปยังซัมซุงประเทศไทย ก่อนจะได้รับการยืนยันว่า กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจากทุกฝ่ายเพราะเป็นประเด็นอ่อนไหว พร้อมทั้งยืนยันนโยบายของซัมซุงไทย ที่ว่าด้วยการส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างและอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม และเปิดกว้างในการรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ วัฒนธรรมเข้าทำงานที่ปฏิบัติมาโดยตลอด
ที่มา - เฟซบุ๊ก: Nada Chaiyalit via Spectrum, หนังสือแถลงการณ์ของซัมซุงไทย
Comments
ไว้ในอนุ
ถ้าเรื่องนี้ไม่ใช่ exaggerations พนักงานซัมซุงท่านนั้นก็คงหัวขาดเรียบร้อย ไม่ว่านโยบายนี้จะมีหรือไม่มีก็ตาม
ถ้าจริงก็เตรียมยอดขายตกได้เลย
ผมเชื่อว่ากระทบน้อยมากๆ ครับ
+1 ที่นี่ประเทศไทย เรารณรงค์อะไรกันได้แค่ลมปากครับ
they believe their own fake news....
แอคหลุมไม่กี่อัน รีทวีตกันไปมาจนติดเทรนด์ แล้วก็มโนกันเองว่าคนในโลกแห่งความเป็นจริงเค้าต้องอินแบบเราแน่นอน
แบบว่าเดินไปไหนก็ต้องมีแต่คนพูดเรื่องนี้แน่ๆ
เอาจริงๆผมว่าเหตุการณ์นี้ในบ้านเราไม่น่าจะส่งผลกับยอดขาย
ผมกำลังเล็ง Tab a with s pen , กับ galaxy tab s ขอซะงักก่อนละกัน จนกว่าจะกระจ่าง , วันหนึ่งอาจเกิดกับเรา คนใกล้ตัว ลูก ญาติพี่น้อง หากไม่ทำอะไร
เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องระดับนโยบายครับ ต้องมาจากด้านบนเลยว่าจะรับ / ไม่รับ ถ้ารับจะรับเข้าไปทำด้านใดบ้าง ด้านใดไม่รับเด็ดขาด
ถ้าเบื้องบนในบ.บอกว่าต้องการพนักงานผู้หญิง แล้วจู่ๆ พนักงานระดับล่างที่เป็นคนดำเนินการไปรับ trans มาคนซวยก็คือพนักงานคนนั้นครับ หรืออาจไม่ซวยก็ได้ แต่ถือว่าได้คนไม่ตรงตาม requirement
อย่าง 7-11 ทุกวันนี้ยังไม่ยอมขาย Heineken 0.0 นอกเวลาขายแอลกอฮอล์เลย ทั้งๆ ที่ในทางกฎหมายมันไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยซ้ำ และก็เปล่าประโยชน์ที่จะไปเถียงกับพนักงานคิดเงินครับ
ตามที่เพจทนายตัวแสบเขียนละครับ
https://www.facebook.com/170030746939330/posts/447985905810478/
ขอบคุณครับ ก็แบบนี้แหละ งานเป็นงานองค์กร มีนโยบายจากผู้ใหญ่
การรีบสรุปว่าเป็นเรื่อง discremination แล้วรีบกล่าวโทษแบบที่ชาวเน็ตชอบทำ ผมว่ามันเลวร้ายมาก
พวก SJW บางส่วนนี่เป็นมะเร็งของสังคมเหมือนกันนะ
อยากรู้จริงๆว่า SJW ในไทยกับของฝรั่ง อันไหนในตอนนี้เลวร้ายกว่ากันครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
กรณีนี้มันไม่ใช่ Discrimination ตรงไหนอ่ะครับ?
ผ่านการทดสอบ การสมัครงานเหมือนคนอื่นๆ คุณสมบัติตรง แต่ถูกปฏิเสธงานเพราะเพศสภาพ อันนี้ยังไงก็ Discrimination ครับ
มันก็ยังเป็นอยู่ดีนะ เลวร้ายกว่าด้วยซ้ำ เพราะเป็นจากนโยบายระดับองค์กรเลย
ถ้าจะเทียบให้เห็นภาพ มันเหมือนกับคุณไปสมัครงานบริษัทไอทีที่ต่างประเทศ ผ่านการทดสอบทุกอย่าง เรื่องวีซ่าไม่มีปัญหา สามารถไปทำงานได้ แต่สุดท้ายเค้าไม่รับคุณเพราะว่า "คุณเป็นคนไทย" นั่นแหละครับ
องค์กรที่ยังไม่ได้แก้ไขนโยบายให้รับคนไทยเข้าทำงานได้ ไม่เหมือนกับองค์กรที่มีนโยบายไม่รับคนไทยดเข้าทำงานครับ
ถ้าคอมที่ทำงานของคุณไม่มี USB port คุณก็ซื้อมาใส่แล้วก็จบครับ แต่ถ้าที่ทำงานของคุณห้ามใช้ USB ต่อให้คอมคุณมี USB port คุณก็ใช้ไม่ได้
ผมถึงบอกว่ามัน "อาจ" ไม่ใช่ discrimination ที่ตั้งใจว่าจะไม่รับคนข้ามเพศ มัน "อาจ" เป็นแค่นโยบายที่เก่าคร่ำครึ พอแก้นโยบายแล้วมันก็จบ
หรือจะบอกว่ามัน discriminate มาตั้งแต่เริ่มก็น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ
อย่างกฎหมายไทยในอดีตที่ว่า "ชายใดข่มขืนหญิงอื่น" เมื่อมองจากมุมของเหยื่อ ก็ไม่ได้ตั้งใจจะกดขี่เพศชาย เพียงแค่กฎหมายมันคิดไม่ถึงว่าผู้ชายก็เป็นเหยื่อได้ ซึ่งถูกแก้เป็น "ผู้ใดข่มขืนผู้อื่น" ในภายหลัง เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองทุกเพศทุกวัย
ผมพยายามอธิบายให้คุณวิธีคิดของผม จะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้ครับ
ธรรมชาติเองก็ discriminate อยู่โดยปกติ เพราะต่อให้ใครๆ รักกันได้ ก็มีแต่เพศหญิงที่ตั้งท้องได้ครับ
ถ้าจะมองว่าทุกอย่างที่ไม่ได้ support คนข้ามเพศคือ discrimination อ่ะนะ
สำหรับมุมผม not support ไม่ใช่ discrimation ครับ
discrimination ความหมายตรงๆของมันก็คือ "การเลือกปฏิบัติ" อันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ ถ้าในกรณีเรื่องงาน ก็ยกตัวอย่างเช่น
เพศสภาพ: กรณีนี้ชัดเจน คือเขาผ่านการสมัครงานมาตามขั้นตอนปกติ ผ่านการทดสอบ แต่ถูกปฏิเสธหลังจากที่นายจ้างทราบถึงเพศสภาพจริงๆ
ชาติพันธุ์ : ถ้าจะให้ยกตัวอย่างชัดๆ ก็อย่างในอเมริกาช่วงสัก 50 ปีก่อน คนเชื้อสายแอฟริกันไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าสถานที่บางแห่ง จะขึ้นรถเมล์ต้องนั่งแยกโซน etc.
อายุ: เช่น ในบางบริษัท ต่อให้เก่งเท่าไร แต่หากอายุงานคุณยังไม่ถึง คุณก็ไม่สามารถขึ้นไปในตำแหน่งสูงๆได้
สถานภาพอื่นๆ เช่น ในเอเชียบางประเทศ สถานภาพสมรส หรือการมีบุตรของผู้หญิงนั้นมีผลต่อการหางาน เพราะบริษัทมองว่าอาจจะทำงานได้น้อยกว่า ซึ่งความเป็นจริงแล้วผู้หญิงกลุ่มดังกล่าวอาจจะแบ่งเวลาได้ดี หรือทำงานเก่ง สามารถผลิตงานออกมาได้เท่ากันหรือมากกว่าในเวลาที่น้อยกว่าก็ได้
หรือแม้กระทั่งในไทย "นามสกุล" ก็อาจจะมีส่วนในการเลือกปฏิบัติเหมือนกัน
ทั้งหมดนี้อยู่บนพื้นฐานที่ว่า คนเหล่านี้มี qualification เหมือนๆกัน แต่กลับถูกปฏิบัติไม่เหมือนกัน
ถ้าหากคุณตาบอด คุณก็ไปสมัครเป็นคนขับรถไม่ได้ มันไม่ใช่ว่าเขา discriminate คุณ แต่คุณขับรถไม่ได้ ไม่เหมือนกันนะครับ
เหตุผลของการเลือกปฏิบัติจะเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้นไม่ใช่ประเด็นเลย อาจจะเป็นการเพิ่มเข้ามาทีหลัง แต่เท่าที่เคยเห็นมา ส่วนใหญ่จะเกิดจากวัฒนธรรมคร่ำครึมากกว่า หรือที่คุณเรียกว่า not support นั่นแหละครับ
คำว่า not support ถ้ามองย้อนกลับไปแล้ว ในช่วงเวลาหนึ่งมันก็คือการเลือกปฏิบัตินั่นแหละครับ แต่เสียงมันแค่ไม่ดังพอ สมัยก่อนมันไม่มีโซเชียลมีเดีย แค่นั้นเอง
อ่านแล้วนะครับ
เรื่องที่ถ้าหากมีการระบุว่ารับเฉพาะหญิงหรือชายหรือเพศใดชัดเจน ตรงนี้ก็คงไม่ติดอะไร ประเด็นที่ผมสงสัยคือ มันผ่านกระบวนการเอกสารทะลุเข้าไปจนถึงขั้นนั้นได้ยังไง เพราะมันควรมีเอกสารที่สามารถตรวจสอบและยืนยันตั้งแต่แรกอยู่แล้ว หรือว่ามันมีขั้นตอนที่สามารถข้ามตรงนี้ไปได้?
ผมก็สงสัยเหมือนกันครับ ทางบล็อกนันก็น่าจะสงสัยพอควรถึงได้ส่งข้อความไปถาม
แต่ทางนั้นบอกว่าสอบสวนอยู่ ก็คงทำได้แค่รอข้อสรุปแหละครับ
ผมว่าจิ๊กซอมันยังไม่ครบอีกหลายชิ้น สำหรับผมไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องรีบสรุป หรือรีบตัดสินครับ
ไม่สมควรเกิดขึ้นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเหยียดในที่ทำงานและการรับสมัครพนักงาน
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อ้าวเจ๊ซัมซุงว่าไง โฮ๊ะๆๆๆๆ
//อ้าว ผิดเว็บ! ???
การกระทำให้คนอื่นเข้าใจผิด ถือว่าเป็นความผิดไหม?
สำหรับผม กระเทยแสดงตัวชัดเจนว่าเป็นกระเทยผมไม่ต่อต้าน แต่แสดงตัวเป็นผู้หญิง ปกปิดจนคนทั่วไปเข้าใจผิดว่าเขาเป็นหญิงตั้งแต่เกิดผมไม่เห็นด้วย
เวลาสมัครก็เอาบัตร ปชช. ให้ดูนี่ครับ
I need healing.
กะเทยแต่งหญิง = ประหาร /s
เค้าจะปกปิด หรือไม่ปกปิด แล้วมันยังไงอ่ะครับ?
ถ้าทำงานได้ตามสเป็ค ก็น่าจะพอแล้วหรือเปล่า?
ว่าแต่ทำไมต้องแคร์ว่าเป็นเพศไหนด้วยล่ะครับ
เกี่ยวด้วยเหรอ เป็นผู้หญิงตั้งแต่เกิด กับเป็นผู้หญิงเมื่อวานนี้ มันทำให้ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ในเมื่อ ผ่านการคัดกรองมาทุกขั้นตอนแล้วแสดงว่าทำงานได้เหมือนคนอื่นๆ
ไม่ตรงก็คือไม่ตรงครับ ถ้านโยบายบอกว่สจะเอาผู้หญิง หรือนโยบายไม่ได้บอกว่ารับเพศทางเลือกได้ ผู้ปฏิบัติงานก็ไม่มีสิทธิรับเข้าทำงาน
บางอย่างก็ไม่ใช่ว่ากีดกันครับ แค่อาจยังไม่มีการปรับนโยบายรับเรื่องใหม่ๆ แบบนี้ในองค์กร
ไม่ต่างอะไรกับองค์กรที่ยังไม่มีระบบไอที ที่ไม่ได้เกลียดหรือต่อต้าน แค่ยังไม่ได้ปรับนโยบายแค่นั้น
แต่ถ้าผ่านขั้นตอนมาทุกอย่างจนตกลงรับเข้าทำงานก็แสดงว่า "ตรง" ใช่ไหมครับ
และนโยบาย ข้อสิบ ที่เขาcapture มาก็ บอกชัดว่าเปิดกว้าง ให้ทุกคน
แต่ถ้าผ่านขั้นตอนมาทุกอย่างจนตกลงรับเข้าทำงานก็แสดงว่า "ตรง" ใช่ไหมครับ
และนโยบาย ข้อสิบ ที่เขาcapture มาก็ บอกชัดว่าเปิดกว้าง ให้ทุกคน
ถ้าไม่รู้ว่าเป็นหญิงข้ามเพศแล้วมารู้ตอนหลังก็ถือว่าไม่ตรงครับ
ไม่ตรงก็คือไม่ตรง จะบอกว่าคุณสมบัติอื่นครบยังไงก็ไม่ตรงอยู่ดีครับ
ต้องให้ซัมซุงแก้นโยบายคือทางออกที่จะจบเรื่องนี้ และผมคิดว่าซัมซุงจะแก้หลังเรื่องนี้จบ และน้องคนดังกล่าวน่าจะได้ทำงานนี้ด้วย
แถไปเรื่อยๆ ว่าคุณสมบัติครบหรือแถว่าความสามารถถึงมันไม่ช่วยอะไรครับ ถ้านโยบายมันเป็นนโยบายหัวเก่ายังไงๆ ก็คงทำอะไรไม่ได้ครับ
นโยบายก็มีแล้วชัดเจน ก็ข้อสิบไง เชื่อว่า ก่อนตกลงรับ sumsung ได้เห็นภาพ และ รายละเอียดแล้วแสดงว่าทั้งความสามรถบุคลิคสามารถทำงาน ถ้าจะมาว่ารู้ที่หลังเพียงเพราะ ไม่ใช่ "ผู้หญิง" มันก็คือการ เหยียดเพศดีๆนี่เอง
แสดงตัวชัดเจนคือต้องทำอะไรครับ แขวนป้าย? เดินไปบอกทุกคนที่มองไปที่เค้าจะได้ไม่เข้าใจผิด?
เข้าใจผิดยังงัยหว่า ความคิดแคบมาก เราไม่ควรมีกฏเกณเลยด้วยครั ว่า ผช ควรใสเสื้อผ้าแบบนี้ ผญ ควรใสเสื้อผ้าแบบนี้ มันคือรสนิยม
ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่ตราบใดที่คุณไม่คุกคามคนอื่น ผมก็ไม่เห็นว่าคุณจะทำผิดอะไรนะ เรามีสิทธิชอบหรือไม่ชอบใครก็ได้ จะชอบหรือไม่ชอบการกระทำใดของใครก็ได้ ตราบใดที่ไม่ก่อกวนคุกคามคนอื่น แค่นั้นก็พอ
ถ้าเกิดว่าไม่ชอบ แล้วเก็บไว้กับตัวเอง ก็ไม่ผิดคับ แต่ถ้า มันส่งผลถึงการเลือกปฎิบัติ แบบกรณีนี้ ก็ถือว่า คุกคามริดรอน ไม่ให้เกียจเพื่อนมนุษย์
ให้ "เกียรติ" ตัวเองโดยการไม่คิดว่าตัวเองด้อยจนเห็นว่าทุกคนเหยียดตัวเองก่อนครับ มองจากในมุมอื่นบ้าง ไม่ใช่มองแต่มุมของตัวเอง คนที่ไม่ให้เกียรติคนอื่นก็คือการไม่ให้เกียรติตัวเองครับ
อย่ามัวแต่ตัดสินคนนั้นคนนี้ เพราะนั่นแปลว่าคุณยอมที่คนจะตัดสินคุณด้วยประโยคแค่ไม่กี่ประโยคที่คุณพูด หรือตัดสินคุณจากการกระทำของคุณแค่ไม่กี่อย่างเช่นกัน
ก็เขาเกิดมาเป็นหญิงในร่างชายก็ต้องทำทุกอย่างให้ตัวเองเป็นหญิงสิครับ ส่วนบางคนเป็นชายชอบชายเขาก็จะไม่ทำตัวเองเป็นหญิงเพราะเขาไม่ได้อยากเป็นหญิงและไม่ได้ชอบให้คู่ของเขาเป็นหญิง หรือหญิงชอบหญิงที่ชอบความสวยงามของการเป็นหญิงเขาก็จะเป็นผู้หญิงทั้งคู่ไม่ต้องมีใครคนนึงไปตัดผมทรงผู้ชายและรัดหน้าอกเพื่อให้ตรงกับ stereotype ก็ได้นะครับ
ซึ่งรูปลักษณ์ภายนอกคนอย่างจะแต่งเติมเสริมแต่งอย่างไรก็ได้เพราะมันไม่ผิดกฏหมาย คนที่จิตใจเป็นหญิงที่เกิดมาในร่างชายเขาก็อยากจะให้ทุกคนเห็นเหมือนเขาว่าเขาเป็นหญิง ซึ่งก็ไม่ต่างกับเราใช้น้ำหอม ตัวเราจริง ๆ ก็ได้หอม บางคนมีกลิ่นเฉพาะตัวด้วยซ้ำ แต่เราก็แก้ไขด้วยการใส่น้ำหอมปัญหาก็จบไป มันจะมีปัญหาก็ต่อเมื่อไปหลอกคนอื่นให้แต่งงานด้วยโดยไม่บอกเขาว่ากลิ่นนี้เป็นกลิ่นน้ำหอมนะไม่ใช่กลิ่นตัวจริง ๆ
สรุปแล้วบริษัทต้องการเพศหญิงหรือเพศชาย? เข้าใจผิดว่าผู้สมัครเป็นผู้หญิงแท้ เลยรับเข้ามา แต่พอรู้ว่าเป็นผู้หญิงข้ามเพศ จะให้แต่งชายเข้าอบรมพนักงานใหม่ซะงั้น หรือกฏคือห้ามรับพนักงานเพศที่สาม?
ใช่ครับ ที่หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า เค้าตั้งใจรับพนักงาน"หญิง" แต่แรกเฉยๆรึเปล่า แต่มันน่าเอะใจตรงที่ภายหลังอนุญาตให้ทำงานถ้าแต่งตัวเป็นชายได้นี่แหละ แสดงว่าจริงๆไม่ได้ระบุเพศ แค่ไม่ต้องการเพศที่สาม
แต่เท่าที่ผมมานึกๆดู
เหมือนไม่ค่อยเห็นพนักงานที่เป็นสาวข้ามเพศ ใน shop มือถือสักยี่ห้อเลยนะครับ
โดยมากที่เห็นจะเป็นร้านเครื่องแต่งกาย (เสื้อผ้ารองเท้า) กับเครื่องสำอาง
หรือจริงๆ อาจมีนโยบายแบบนี้เป็นการทั่วไป (ในหลายๆแบรนด์) อยู่แล้ว แต่ตามที่ พนง ซัมซุงคนนั้นบอกว่า “ถ้า recruiter พบ ก็จะคัดชื่ออก (ไม่เรียกแต่แรก)” มันเลยไม่เคยมีเรื่อง ไม่เหมือนเคสนี้ ที่รับแล้วมาปฏิเสธทีหลัง
เอาจริงๆ ผมเข้าใจเรื่องการคัดกรองบุคลิกภาพให้ตรงกับแบรนด์นะ
แต่อันนี้คือ “ผ่านแล้ว” ปฏิเสธทีหลัง นี่น่าเกลียดไป
มีค่าย Vivo ในไทยมั้งครับ (จากที่อ่านคอมเมนต์ในเพจ Spectrum) ที่ให้สาวข้ามเพศมาทำงานได้โดยไม่มีปัญหาอะไร
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
จากประสบการณ์ตรงนะครับ เคยทำงานที่ true และ ais
True Shop จะให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศมาก สาวสองก็จะให้แต่งหญิงไปเลยสวยๆ ส่วนทอมก็จะให้แต่งเป็นผู้ชายไปเลย อยากแต่งอะไรก็แต่ง ยัดนม ทำนม รัดนมอะไรก็ได้ ได้หมด
ผู้จัดการร้านเกือบทุกช้อปเป็นสาวสอง เป็นเกย์ เป็นตุ้ดหมด
ส่วน AIS ไม่รับทั้งชายข้ามเพศและหญิงข้ามเพศครับ
ไม่รับตั้งแต่ recruit คนรอบแรกเลย ถ้าทอมคนไหนพอแต่งหญิงได้เขาก็จะถามก่อน ถ้าแต่งได้ก็รับเขาทำงาน
มาในส่วนของดีแทค เคยไปให้บริการ dtac hall มีพนักงานสาวสองให้บริการครับ แต่งเป็นผู้หญิงเลย
ดีใจที่เป็นลูกค้าทรูและดีแทค ในกรณีนี้
หรือว่าอาจจะรับสมัคร "หญิง" แต่กลับรู้ทีหลังว่าไม่ใช่หญิงหรือเปล่าน้อ
อันนี้น่าคิด
พนง samsung ตอนนี้ ไม่มีกะเทยเลยหรอ
ผู้รับสมัครมีสิทธิ์ในการรับหรือไม่รับพนักงานเข้าทำงานก็ได้ โดยไม่สนว่าเป็นเพศอะไรอยู่แล้ว
แต่ถ้าตอบตกลงไปแล้วก็ต้องมีอะไรชดเชยหน่อยนะ เล่นทำคนลาออกจากที่ทำงานเก่าเนี่ย
อันนี้ผมเชื่อว่าคุยกันดีๆ และช่วยเหลือด้วยความเป็นคนก็ไม่น่าเป็นอะไรนะ
ผมมองว่า HR ไม่ตรวจเอกสารให้ละเอียดครับ
คือผมมองว่าเอกสารพวกทะเบียนบ้าน
ใบประวัติการศึกษา มันก็ระบุอยู่แล้วสถานะเพศโดยกำเนิดคือชาย
เพราะนายหน้าน่าจะส่งเอกสาปรระกอบทั้งหมดให้แต่ถ้า
มันเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นแสดงว่า "ระบบต้องมีอะไรผิดพลาด"
และ "ต้องมีคนรับผิดชอบ" ผมไม่มองว่าคนไทยนู่นนี่นั่น ถ้ามองความผิดพลาดจริงๆแบบไม่ดราม่า
มันน้อยมาก แต่ก็ต้องมีบทลงโทษ และต้องชดเชยตามที่อีกฝ่ายพอใจ
รัดเต้านมและใส่วิกมาเข้ารับการอบรม
- เอ่อ ถ้าเป็นอกเสริมซิลิโคนแล้วให้ใส่สายรัดอกอันตรายมากนะ
สมมติ เคลียร์ทุกอย่างเรียบร้อยและเข้าไปทำในซัมซุง
แต่ชีวิตการทำงานนับจากนี้ภายในองค์กรนี้ จะออกมายังไงครับเนี่ย
เงื่อนไขนี่โหดกว่ารับปริญญาอีกนะเนี่ย
ไม่ใช้สินค้าซัมซุงมานานมากแล้ว ไม่ชอบเกาหลีทุกกรณี มีอคติส่วนตัวกับเกาหลี
Business Conduct Guideline 2016 ที่ซัมซุงเป็นคนประกาศเอง ข้อ 10 มีข้อความดังนี้
To respect each individual’s human rights, Samsung provides equal opportunities to all qualified employees and applicants per the ‘Anti-Discrimination Policy.’ We do not discriminate on the basis of gender, skin color, race, ethnicity, nationality, religion, age, marital status, sexual preference, sexual identity, social status, disability, pregnancy, military status, protected genetic information, or political affiliation in all processes such as work, promotion, compensation and disciplinary measures.
ทำไปได้
555 หลายคอมเม้นที่ชอบแซะ ว่าคนอื่นเป็นไดโนเสาร์ พอมาแสดงความคิดเห็นเรื่องสาวประเภทสองนี่ ผมละมึนเลยว่าตกลงหัวก้าวหน้าจริงป่าวเนี่ย
บางที่ไม่รับคนที่มีรอยสัก, อายุเกิน 30,35 มีครอบครัวแล้ว บางที่ตั้งครรภ์อยู่ยังบีบให้ออกก็มี ที่ทำงานเก่าก็มีเพศที่สามเข้ามาทำงานก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไรเพราะเป็นฝ่าย cc
และก็ขอยกประโยคนึงมาให้อ่านนะ
ถ้าสื่อถึงว่าลาออกมาจากงานเก่า ผมเห็นด้วยครับ