ก๊าซคารบอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide: CO2) ที่ได้มาจากการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงฟอซซิลนั้นนอกจากจะไม่ดีกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังไม่ดีต่อร่างกายและสมองคนอีกด้วย โดยคริสโตเฟอร์ คาร์นอสคัส นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดโบลเดอร์และคณะได้วิเคราะห์ปริมาณของ CO2 ภายในอาคารแล้วพบว่า ระดับก๊าซนี้กำลังเพิ่มสูงขึ้นและจะส่งผลต่อมนุษย์ได้โดยตรง เขาได้คาดการณ์ว่า หากภาวะโลกร้อนยังไม่ได้รับการแก้ไข ก๊าซCO2จะเพิ่มปริมาณจาก 410 ppm (parts per million, ส่วนในหนึ่งล้าน) เป็น 930 ppm ในปีค.ศ. 2100 ในพื้นที่ภายนอกอาคาร ซึ่งอาจจะทำให้พื้นที่ในอาคาร เช่น ห้องเรียน มีปริมาณของ CO2 สูงถึง 1400 ppm และจะส่งผลทำให้การตัดสินใจของคนแย่ลงไปถึง 25-50%
เขาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอดีตนับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมตอนต้นราวค.ศ.1813 ก๊าซ CO2 มีปริมาณที่ 280 ppm เองเท่านั้น ซึ่งค่อนข้างไล่เลี่ยกับยุคน้ำแข็ง (200-300 ppm) แต่ว่าในปีค.ศ.2019 กลับเพิ่มสูงถึง 411 ppm ซึ่งนับว่าเพียงแค่ 2 ศตวรรษเองเท่านั้น หากมนุษย์ยังคงเลือกที่จะใช้เชื้อเพลิงจากฟอซซิล เช่น น้ำมัน แทนที่จะเลือกสนับสนุนพลังงานทดแทน และเลือกการคมนาคมที่ปล่อยก๊าซ CO2 สูง เช่น เครื่องบิน ปัญหาเรื่องนี้ก็จะยังคงอยู่
งานวิจัยได้เผยผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์เมื่อได้รับก๊าซ CO2 ว่า หากร่างกายได้รับมากไปส่งจะผลเสียได้ หากก๊าซ CO2 มีปริมาณสูงถึง 720 ppm จะทำให้เลือดเป็นกรด ส่งผลต่ออาการกระสับกระส่าย สับสน ง่วงซึม การได้รับก๊าซ CO2 มากเกินไปทำให้ร่างกายต้องการเวลาพักผ่อนมากขึ้น นั่นจึงส่งผลต่อระบบสมองและการเรียนรู้ได้ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการอาศัยอยู่ในอาคารมากไป เนื่องจากก๊าซ CO2 ในอาคารจะมีปริมาณสูงกว่าภายนอก เพราะได้รับก๊าซ CO2 ทั้งจากภายนอกและภายในวัสดุโครงสร้างอาคาร อีกทั้งระบบหมุนเวียนอากาศที่ไม่ดีก็เป็นปัจจัยด้วยเช่นกัน
แม้ว่าปัญหาโลกร้อนจะเป็นปัญหาที่อาจจะดูไกลตัวและมันไม่ได้เกิดในอนาคตอันใกล้ แต่ก็ทำให้นักการเมืองที่ไม่เชื่อว่าปัญหานี้มีิอยู่จริงกลับเริ่มตระหนักและคิดแก้ปัญหา
ที่มา : nature, งานวิจัย GeoHealth
Comments
ที่ง่วง ๆ ตอนนี้นี่ก็เกี่ยวด้วยไหมเนี่ย 555
อาจเป็นไปได้ครับ 55555
นึกถึงกระบะรั้วสีรุ้งไฟท้ายไอติม
ถาเราดื่ม แป๊บซี่ ยี่ห้อ โค๊ก วันละซัก 2.5l - 3.0l เราจะได้ CO2 ในกระแสเลือดเกิน 720 ppm หรือเปล่าครับ ? พอดีมีคนที่บ้านติดน้ำอัดลมอยู่ ติดระดับฉีดเข้าเส้นได้ คงทำไปแล้ว ประมาณนั้น
อันนั้นน่าจะกังวลเรื่องน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่านะครับ แต่เรื่องCO2ในเลือดนี่ คิดว่าหลังจากดื่มน้ำอัดลมไปกว่าจะถึงเส้นเลือดก็โดนขับออกมาแล้วครับ เป็นการเรอบ้าง ผายลมบ้าง ถ้าเป็นการหายใจน่าจะเป็นไปได้มากกว่าเพราะสูดCO2เข้าไปแล้วไปแลกเปลี่ยนอากาศกับหลอดเลือดโดยตรงเลย
ผมอ่านแล้วไม่แน่ใจว่ากระบวนการวิจัยที่ทำให้ได้ข้อสรุปแบบนี้คืออะไรหรือครับ เขาทดสอบกับคนกลุ่มไหน จำนวนเท่าไหร่ และกระบวนการทดสอบเป็นอย่างไร พวกนี้น่าจะสำคัญต่อการตัดสินใจว่างานวิจัยมีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหน
lewcpe.com, @wasonliw
เท่าที่ดูน่าจะเป็นงานเชิงรีวิวครับ แล้วหาสมการเพื่อสร้างแบบจำลองโมเดลขึ้นมาเพื่อดูแนวโน้มปริมาณของ CO2 แล้วอิงกลับไปกับงานวิจัยที่มีบอกเล่าก่อนหน้าถึงผลกระทบของ CO2 กับร่างกายคนครับ