เมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมาในงาน IFA 2009 โซนี่ประกาศแผนเปิดตัวสินค้าที่สนับสนุนการแสดงผลแบบ 3 มิติในปีหน้า (พ.ศ.2553) โดยเริ่มต้นจะเป็นผลิตภัณฑ์ BRAVIA LCD TV จากนั้นจะตามด้วยผลิตภัณฑ์อื่นอย่าง เครื่องเล่นแผ่น Blu-ray, VAIO และ PlayStation 3
สำหรับ BRAVIA LCD TV จะใช้หลักการ frame sequential display และ active-shutter glass systems (ทีวีจะกำหนดภาพที่แตกต่างกันไว้ฝั่งซ้ายและขวาของตาคน แล้วจะมีกระจกเปิดและปิดสลับกันด้วยความเร็วสูง (ขอบคุณคุณ polaromonas ที่มาอธิบายในคอมเมนต์ข้างล่าง)) ผสานกับเทคโนโลยี high frame rate ของโซนี่เอง เพื่อสร้างภาพที่มีความละเอียดสูง ซึ่งแตกต่างจากยี่ห้ออื่นที่ใช้หลักการ polarized glasses ในการสร้างภาพ 3 มิติ
Comments
คือว่า ผมงง เรื่อง TV 3 D มากๆเลย ปรกติภาพ 3 D เราต้องโปรเจคมาเป็น 2 D ก่อนแสดงผลใช่ป่ะคับ แล้วจอ 3 D นี่มันทำงานยังไง?
ผมเข้าใจจากข่าวที่อ่านว่า การสร้างภาพ 3D ใน Bravia จะเป็นแบบการฉายภาพที่อยู่ในลักษณะของภาพที่ตาขวามองเห็นกับภาพที่ตาซ้ายมองเห็นสลับกันด้วยความเร็วสูง (ลองจินตนาการถึงภาพแอนิเมชั่นที่อาศัยภาพนิ่งแล้วเคลื่อนที่ไปทีละเฟรมๆด้วยความเร็วสูงจนดูเป็นภาพเคลื่อนไหว) เพราะภาพที่ได้จากลานสายตาข้างขวากับข้างซ้ายจะต่างกันเล็กน้อย ถ้าความถี่ในการแสดงผลมากพอ สมองจะสามารถรวมภาพที่มีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อยนั้นเป็นเฟรมเดียวกันแบบ 3 มิติได้
ส่วนหลักการของโพลาไรซ์นี่ไม่แน่ใจเท่าไหร่ แต่น่าจะเป็นการบังคับแสง(และสี)บางส่วน ของแต่ละเฟรมให้ออกมาในแตกต่างกัน น่าจะคล้ายคลึงกับการมองผ่านแว่นสีฟ้า-แดงแหละนะ คืออาศัยแสงที่แตกต่างกันในรูปเดียวกันเพื่อสร้างภาพที่มีมิติขึ้นมา
ขอบคุณคุณ polaromonas ด้วยครับ
Windows 7 Professional on my ThinkPad T61 is very stable!
ไม่แน่ใจว่าถูกหรอกครับ แค่อ่านผ่านๆตามาบ้าง ใครรู้ลึกมาแก้ไขให้ก็ดีครับ อยากรู้เหมือนกัน (ไม่รู้จะอยากไปทำไม มองภาพสามมิติไม่ได้อยู่แล้ว -*- เพราะขาดความสามารถที่เรียกว่า depth perception เนื่องจากสายตาทั้งสองข้างสั้น+เอียงห่างกันเกินไป)
+1 น่าจะมีจอมือถือแสดงผล 3 มิติด้วยนะ (มีไปเพื่อ??)
Windows 7 Professional on my ThinkPad T61 is very stable!
ดูคลิปได้อรรถรสเลย
T_T พูดซะน่าสงสารเลยคับ แต่พอเข้าใจหลักการคร่าวๆแล้วละคับ แต้งมากๆ
พอดีเคยทำ lab 3D คิดว่าน่าจะคล้ายๆ กัน โดยจอจะแสดงภาพสำหรับมองด้วยตาซ้าย ละตาขวาสลับกัน และจะมี emitter ส่งสัญญาณมาให้แว่น LCD shutter glass (ใน lab ใช้แบบนี้ ราคาเฉพาะแว่นประมาณ 5 หมื่นบาท) เพื่อ sync ให้แว่นปิดเปิดให้ตรงกับภาพ แว่นปิดเปิดด้วยสัญญาณไฟฟ้า (ใน lab ใช้ projector 100 Hz)
ส่วน polarize นั่นใน lab ไม่มี แต่หลักการคล้ายๆ กัน ภาพสำหรับตาซ้ายเป็นแสง polarize คนละแกนกับตาขวา (ตั้งฉากกัน 90 องศา) แล้วแว่นที่มองก็ polarize ตั้งฉากกัน แต่แบบนี้ไม่สามารถตะแคงดูได้ คิดว่าน่าจะคล้ายกัน
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
หลักการ frame sequential display และ active-shutter glass systems ก็ตาม polaromonas เลยครับ ถูกแล้ว คือต้องใส่แว่นตาที่มี shutter เปิดปิด สลับกันทั้งสองข้างเร็วๆ
ส่วน
polarized glasses ง่ายๆก็เป็นการฉายรูปภาพออกทางทีวี 2 ภาพ (สำหรับตา ซ้ายและขวา) โดยที่ในแต่ละภาพจะมีแสงที่มีระนาบของคลื่นต่างกัน อันนึง แนวตั้งฉาก อีกอันแนวนอน
แล้วก็ใส่แว่น ที่ข้างหนึ่งกรองแสงแนวตั้งฉาก แต่อีกอันกรองแนวนอน พอแสงมาตกกระทบเลนส์แว่นตาแต่ละข้าง ภาพที่เข้ามาแต่ละข้างก็จะแตกต่างกัน จึงทำให้ได้รูป 3D ครับ
เป็นแบบเดียวกับใน IMAX 3D ครับ
แสดงว่า ณ. ตอนนี้ถ้าจะดูทีวี/หนัง แบบสามมิติจะต้องใช้แว่นร่วมด้วยใช่ไหมครับ
ผมล่ะไม่ค่อยชอบเลยที่ต้องใส่แว่นเนี่ย - -*
ดูธรรมดาไปก่อนละกัน แค่ธรรมดายังไม่มีปัญญาซื้อละ ฮ่าๆๆ
~@Junior Programmer@~