เรื่องราวเหล่านี้นำมาจาก blog ผมที่ http://molecularck.com ครับ เลยเอามาโพสที่นี่อีกรอบเพื่อเอามาแชร์ความคิดเห็นกันครับ
Social Media คำ ๆ นี้บางคนอาจจะยังไม่คุ้น แต่หากเอ่ยถึง Hi5, twitter, Facebook foursquare และ Youtube หรือแม้กระทั่ง blog แล้ว หลายคนต้องร้อง อ๋อ ขึ้นมาทันที เพราะบริการเหล่านี้เข้ามาในชีวิตเรา หรืออยู่รอบตัวเราแล้วในปัจจุบัน บริการด้าน Social Network นั้นทำให้ช่วยเราสะดวกสบายขึ้น ทำให้ได้เพื่อนมากขึ้น ได้สังคมใหม่ ๆ มากขึ้น และได้รับรู้ข้อมูล หรือแลกเปลี่ยนเรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้นแล้ว บริการ Social Media เหล่านี้ก็ทำให้สูญเสียอะไรไปหลาย ๆ อย่างที่คุณนึกไม่ถึงก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ Social media ทำให้เสียไปคือชีวิตส่วนตัว
หลาย ๆ คนอาจจะบอก "เฮ้ย มันเป็นไปได้ถึงขนาดนั้นเลยเหรอ" ผมอยากบอกว่าเป็นไปได้ครับ ลองนึกภาพว่าคุณเป็นคนอยู่ในสังคม twitter หรือ Facebook แล้ววันหนึ่งคุณไปทานข้าว เดินเที่ยวกับเพื่อนหรือญาติ แต่ดันมีคนที่ใช้ twitter หรือ Facebook อยู่ แถวนั้นพอดี อีกทั้งยังอยู่ในวงเดียวกับคุณเห็นคุณเข้าโดยบังเอิญ แล้ว tweet เช่นนี้ออกไปหรือส่งข้อความแบบนี้ไปยัง Social Media อื่น ๆ
ข้อความดังกล่าวดูเหมือนจะไม่มีอะไร หากแต่ว่าข้อความนี้อาจสร้างความเข้าใจผิดแก่บุคคลรอบข้างของคนที่ถูกกล่าวถึง นี้ยังไม่รวมว่าคนที่ถูกถ่ายรูปไปด้วยตอนนั้นต้องการเปิดเผยตัวหรือไม่เปิดเผยตัว แต่การถ่ายรูปออกไปนั้นก็ทำให้ชีวิตส่วนตัวของคน (privacy) ที่ถูกระบุถึงหายไปแล้ว ซึ่งนี้ก็เปรียบได้กับการถ่ายรูปของ paparazzi ที่ถ่ายรูปดาราโดยไม่สนว่าเค้าจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม เพราะฉะนั้นการถ่ายรูปใครที่เรารู้จักในวง Social Media ก็ควรจะต้องถามก่อนว่า ให้ tweet บอกได้ไหมว่าอยู่ที่ไหนและเมื่อไหร่ เพราะบางครั้งบางเรื่องเราก็ไม่ได้อยากให้คนในโลกออนไลน์รู้ก็เป็นได้
กรณีของการ Retweet (RT) และ RT แล้วดัดแปลงหรือที่เรียกว่า modify retweet (mRT) ใน twitter แม้ว่าผู้ให้บริการอย่าง twitter จะออก feature ของการ RT ออกมาแล้ว แต่กลับกลายเป็นว่าคุณสมบัติดังกล่าวไม่ได้ตอบโจทย์ผู้ใช้คนไทยเนื่องจากคนไทยใช้การ RT เป็นการ Reply อีกทั้ง การใช้คุณสมบัตินี้ไม่สามารถดัดแปลงตามใจผู้ที่จะ RT ได้คนไทยจึงยังใช้ระบบการ RT manual เหมือนเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นจากการ RT หรือ mRT คือการที่สารนั้นเกิดความผิดเพี้ยน ข้อความหาย หรือผิดความหมายไปจนอาจทำให้เข้าใจผิดได้ อย่างเช่นมีคน tweet ว่า
ก็มีคนนึกสนุก mRT ข้อความนี้เสียใหม่เป็น
หรือตัดข้อความบางส่วนทิ้งไปเนื่องจาก RT แล้วมันไม่พอ 140 ตัวอักษร
ซึ่งแค่นี้ก็ทำให้ข้อความหรือความหมายเพื้ยนได้ จากที่จะส่งความระบุหาใครบางคน แต่ข้อความนั้นกลับเอาไปโดนขยาย เปลี่ยนความหมาย หรือตัดความหมายทิ้งทำให้ การสื่อออกไป ทำให้คนที่อ่าน tweet เหล่านี้ที่ไม่มีความรู้เรื่อง mRT ก็อาจทำให้เข้าใจผิดต่อผู้ส่งได้ ซึ่งนี้เปรียบได้กับการสร้างเรื่องราวหรือแก้ไขเรื่องราวเพื่อใส่ความผู้ส่งข้อความก็ได้ เพราะฉะนั้นการเล่นอะไรก็ตามหรือการ RT ก็ตามก็ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบในการกระทำตัวเอง หากข้อความนั้นสื่อออกไปแล้วทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ความรับผิดชอบเหล่านั้นก็หมายถึงควรมีการระบุว่าข้อความที่ RT นี้ถูกดัดแปลงหรือถูกตัดข้อความออกไป ไม่ใช่ RT แต่ชื่อและข้อความของผู้ส่งสารข้างต้นมาอย่างเดียว
จากเรื่อง RT หรือ mRT นี้สิ่งที่ผมเจอมากกับตัวคือการใส่ #hashtag หรือป้ายบางอย่างที่อาจทำให้ตัวคนอ่านผู้อื่นเข้าใจผิดในข้อความเราได้ เอาตรง ๆ ก็คือ #hashtag #หื่น กันผมจะลองยกภาพง่าย ๆ
บางคนเห็นแล้ว นึกสนุกก็ RT แล้วเติมป้ายให้
หรือแม้กระทั่งการใช้ RT เพื่อ Reply แล้วบอกว่า หื่น หรือข้อความทำนองนี้ ก็ทำให้คนอื่น ๆ ที่เข้ามาอ่านที่ไม่ได้รู้จักคนที่ถูก RT ด้วยป้าย #หื่น หรือข้อความ Reply ที่มีคำนี้เข้าใจผิดได้ แม้ว่าเราไม่ได้เป็นดังนั้น แต่การแก้ตัวใด ๆ ใครก็ไม่เชื่อแล้ว เพราะคนที่ไม่รู้จักคนที่ถูกระบุถึงนั้นแก้ตัวเท่าไหร่ เค้าก็ไม่เชื่อ เพราะคนที่มาอ่านย่อมเชื่อคำพูดจากคนอื่นที่พูดถึงคนที่ถูกระบุมากกว่า
กรณีการพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับทางเพศ โดยเฉพาะผู้หญิง บางครั้งการพูดคุยเรื่องราวทางเพศ เป็นเรื่องราวตลก หรือขำขัน นั้นบางครั้งมันไม่เหมาะที่จะพูดคุยในหมู่คนวงกว้างที่มีคนสามารถเข้ามารับฟัง รับชมได้ เพราะบางคนนั้นไม่รู้ว่าเรื่องไหนจริงเรื่องไหนเล่น ทำให้บางครั้งเกิดการใช้คำพูดที่ไม่ดีกับสตรีเพศได้ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว มันก็จะติดตามคุณไปเรื่อย ๆ จนยากที่จะแงะออกจากชีวิตได้แล้ว นอกจากจะประจานกันไปข้างนึง เรื่องนี้จึงเปรียบกับการนั่งเมาท์เรื่องเพศตรงชุมนุมชนแล้วมีไอ้โรคจิตมาได้ยินแล้วติดตามตลอดได้ เรื่องแบบนี้ควรคุยเป็นกลุ่มคนที่ไว้ใจจริง ๆ มากกว่ามาเปิดเผย แต่หากคิดจะเปิดเผยแล้วก็ควรระวังมนุษย์ที่ไม่ดีด้วย
กรณีการถ่ายรูปอีกอย่างเช่นบางคนที่ชอบถ่ายรูปตัวเองส่งไปไหนมาไหน หรือชอบระบุว่าตัวเองอยู่ที่ใดอันนั้น เป็นการทำให้ตัวเองเสียชีวิตส่วนตัวด้วยตัวเองอย่างมาก เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการเปิดเผยเรื่องราวว่าในแต่ละวันเราไปไหน ทำอะไร ซึ่งอาจจะไม่มีคนอยากรู้ก็ได้ แต่หากบางคนเป็นพวก Stalker Molester โรคจิต หรือคลั่งไคล่ในตัวเราติดตามไปทุกหนแห่งแล้ว เรื่องยุ่งยากก็อาจตามมาภายหลังมากมายก็ได้ เพราะฉะนั้นบางสถานที่เช่นบ้าน หรือที่ทำงาน สถานที่ต้องแวะเวียนบ่อย ๆ ก็ไม่ควรต้องระบุหรือถ่ายรูปเพื่อไม่ให้เกิดคนมิจฉาชีพติดตามมาได้
สุดท้ายในมือถือรุ่นใหม่ ๆ นั้นยังสามารถระบุว่าเราอยู่ใดก็ได้ หรือเราอยู่ละแวกใดของแผนที่ในเครื่องมือ หากว่าเราไม่ปิด location, GPS หรืออื่น ๆ ในมือถือ ซึ่งส่วนใหญ่มักตั้งค่าเปิดเป็น Default อยู่แล้ว ก็สามารถทำให้คนรู้ได้ว่า วัน ๆ คุณไปทำอะไรบ้าง อยู่ที่ไหนเมื่อไหร่ กี่โมง ซึ่งมันจะวนเข้าลูปของกรณีแรก ถ้าคนที่เห็นส่งข้อความว่า เจอคุณอยู่แถวไหนตามที่เห็นในมือถือ ข้อความแบบนี้ก็อาจจะทำให้คนสนิทหรือคนอื่น ๆ เข้าใจผิดได้ อย่างเช่น
แค่ข้อความแบบนี้คนก็คิดไปทางไม่ดีได้แล้ว แม้่ว่า location ที่ระบุนั้นอาจจะผิดพลาด หรือคนที่ถูกไม่ได้อยู่แถวนั้นเลยก็ตาม แต่ข้อความที่ส่งออกไปก็ไม่ได้มีการกรอง จนทำให้คนที่ถูกระบุเกิดความเสียหายแล้วก็ได้
ในยุคสมัยนี้ที่อินเทอร์เนตเพรียบพร้อม และเราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เนตจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ๆ นั้น แม้ว่าอินเทอร์เนตที่ทำให้เราใช้ Social Media เพื่อทำให้เรามีชีวิตดีขึ้นนั้น แต่หากการใช้นั้นเกิดความไม่ระมัดระวังจากตัวเอง หรือการขาดความรับผิดชอบจากผู้ใช้่ด้วยกันนั้น ก็จะทำให้เกิดโทษและชีิวิตส่วนตัวที่ต้องสูญเสียไป ซึ่งในเมืองนอกก็มีกรณีตัวอย่างให้เห็นหลายคดีที่ครอบครัวบางครอบครัวต้องแตกแยกกันจาก Social Media หรือการเข้าใจจากข้อความสั้น ๆ ผมจึงอยากฝากให้ทุกคนนั้นใช้เครื่องมือบริการเรานี้ โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความเป็นส่วนตัว นอกจากความสนุก ที่ใช้เพียงอย่างเดียวครับ
ที่มา - http://molecularck.com
Comments
เป็นข่าวหน้าแรกที่ยาวจริงๆ ^^
แต่อย่างว่า เทคโนโลยีไม่ได้ผิดอะไร แต่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ครับ
มันอยู่ที่ความพอดีกันทั้งนั้น ถ้าหากคิดไม่ได้เราก็จะโดนมันเล่นงานซะเอง...
อืมมม เป็นเรื่องที่น่าคิดตามนะครับ
อ่านแล้วก็น่าคิด แต่บางอย่างก็คงต้องเล่นกันต่อไป (โดยที่คงห้ามไม่ได้)
บางอย่างถึงรู้ว่าทำไปแล้วมันไม่ดี เพราะนึกสนุก แต่ก็คงห้ามคนอื่นกันไม่ได้ง่ายๆ ได้แต่พยายามที่จะยอมรับมัน
แต่จริงๆแล้ว ผมว่าสิ่งที่น่ากลัวกว่าคือ ฟีเจอร์ real-time twitter search ของ Google อ่ะ โดยเฉพาะข้อความที่คุยกับเราที่ reply/refer/retweet จากเพื่อนที่ไม่ได้ lock profile ไว้
ผมเข้าใจว่าคนไทยส่วนมากสนใจเรื่อง Privacy น้อยกว่าฝรั่งมากนะครับ อยากให้เป็นที่สนใจมากกว่าด้วยซ้ำ ของพวกนี้จึงตอบสนองความต้องการเขาได้ดีเลยล่ะครับ (ผมเป็นชนกลุ่มน้อย)
บทความที่เขียนผมว่า ไม่ได้กล่าวถึง Social Media แต่พูดถึง twitter มากกว่า
น่าจะเขียนว่า twitter กับชีวิตส่วนตัวที่ต้องเสียไป เสียมากกว่า
ผมยกตัวอย่างจาก twitter เพราะมันง่ายสุดที่จะเห็น ภาพซึ่งในกรณี Social Media อื่นก็เช่นกัน เพราะ มันก็ทำในลักษณธที่ twitter ทำได้เช่นกันครับ
http://www.digimolek.com
ผมว่าอันนี้ไม่ใช่ข่าวแล้วละ แต่เป็นบทความที่ดีมากเลยละครับ :)
+10 เห็นด้วยกับบทความนี้มากๆ จริงๆก็เคยเตือนคนอื่นไปบ้างแล้ว คราวหลังจะได้ส่งบทความนี้ให้อ่านแทนครับ
Avatar ของ @baboontweet อันที่สองนั่นเป็นตัวอะไรครับ
@iannnnn
กระต่ายเงยหน้าชี้ฟ้าครับทั่น :P
http://www.digimolek.com
อ้อแล้วไป คิดว่าเป็ด :)
@iannnnn
พยายามวาดเป็นนก แต่ไม่เป็นผลออกมาเป็นตัวอะไรไม่รู้ T_T
http://www.digimolek.com
ผมว่า เทคโนโลยีก็เหมือนเป็นดาบสองคม เห็นด้วยอย่างยิ่งกับบทความนี้เพราะผมเคยเจอมากับตัวเหตุการณ์ประมาณว่านั่งรถตู้ไปกับแฟนแล้วก็คุยกันในรถตามปกติ สักพักมีคนใน twitter ทวิสทำนองๆเสียๆหายๆเพราะฟังไม่ได้ศัพท์ สรุปคืออยู่คันเดียวกันนั้นเอง ^ ^
ทวิส!
มันก็เหมือนจะเป็นเครื่องคอยเตือนเราอยู่เสมอว่า เมื่อเราทำอะไรย่อมมีคนมองอยู่เสมอ จะได้ทำตัวให้ดี
ผมว่ามันก็เป็นเรื่องปกติของมนุษย์แหละ แต่ทีนี้ยิ่งไม่เห็นหน้าก็ยิ่งใส่ไข่ได้อีกหลายโหล
ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ใส่ไข่ แต่อยู่ที่การละเมิดสิทธิส่วนบุคล และเราดันทำการละเมิดสิทธิตัวเอง อย่างเช่นการเปิดเผย location ทุกอย่าง
http://www.digimolek.com
เอาจริงๆ twitter มีมาเพื่อการนี้ไม่ใช่เหรอ ...
ปล. ผมว่าน่าจะอยู่ที่พฤติกรรมของเจ้าของเองด้วยครับว่า... ขนาดไหน?
ที่ผมเขียนเรื่องนี้คือเรื่องพฤจิกรรมการใช้ที่ไม่ระวังสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม twitter ไม่ได้ถูกสร้างเพื่อการละเมิดสิทธิ ทำการ RT โดยไม่คำนึงถึงสิทธิ แอบถ่ายรูปคนที่เค้าไม่อยากเปิดเผยตัวตน หรือแม้กระทั่งดัดแปลงข้อความครับ
http://www.digimolek.com
อ่อ ถ้าังั้นก็เห็นด้วยทุกประการครับ... อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับมารยาทและวุฒิภาวะของแต่ละคนครับ
สรุปว่า @molek หื่น :p
iPAtS
สรุปว่า @molek เป็นดารา ต้องตามไปแอบถ่าย!
(ลิงก์ไปบล็อกผิดอะตัว เข้าบ่ได้)
อ่านแล้วนึกถึงการ์ตูนเรื่องโดเรม่อน กับของเล่นที่โนบิตะเอาไปใช่ไม่เป็น แล้วมักจะเกิดเรื่องทุกที
ผมเกลียด RT
มันเหมาะไว้กรณีประชาสัมพันธ์/ขอความช่วยเหลือมากกว่าเอามาใช้พร่ำเพรื่อ
ตอนอ่านหัวเรื่อง แว๊บแรก ผมคิดกลับไปกลับมาแล้วเจอคำตอบ ของผมเองว่า
"ชีวิตส่วนตัว(ของเรา)ที่ต้องเสียไป ก็เพราะเราเอาชีวิตเราไปผูกติดกับ Social Network มากเกินความจำเป็นไง"
พวกเรามันพวกเสพติดเทคโนโลยี ถึงขั้นลงแดงตายได้เลยมั้งถ้าไฟฟ้าเกิดดับขึ้นมาทั้งเมือง เราสร้างโลกเสมือนจริง
ให้กับตัวเราเอง แล้วเราก็ล่องลอยไปกับมัน แล้วฝันว่านี่มัน โลกส่วนตัวที่สวยงามของช้านๆ
พอมีใครก็ไม่รุ้แวะเข้ามาแปลง 0 1 ที่เราเคยกรอกเอาไว้ เราก็ตีโพยตีพายจะเป็นจะตาย ว่าชีวิตส่วนตัวช้านถูกคุกคาม
ช่วยเมียกวาดบ้าน แล้วให้ชีวิตส่วนตัวของเรารวมคำว่าเมียหรือลูกหรือทั้งสองคำไว้ในพจนานุกรมส่วนตัวด้วยก็ดีนะครับ
.
ขอโทษที่ขัดคอนะครับ
คนไทยใช้ RT เป็นการ reply หรอครับ ? (สงสัยเพราะในวง follower กับ following ของผม ผมไม่ค่อยเห็น)
twitter.com/exfictz
นอกจาก retweet ในการใช้งานแบบปกติแล้ว ผมใช้ไว้สำหรับ mention ในกรณีที่ที่มีคนถามกับผมแล้วคลิกไปดูที่ user นั้นซึ่ง tweet ข้อความอื่นไปแล้วต้อง ทวนคำถามอีกรอบ ซึ่งมันสะดวกที่สุดครับ
แต่ก็มีหลายๆ คนเหมือนกันที่ผมเห็นใช้เหมือนไม่ค่อยตรงประเด็น แต่อย่างดาราทั้งหลายที่ใช้เนี้ย การ retweet แล้วก็ตอบไปด้วย มันเป็นการโปรโมทตัวเองแบบเนียนๆ ไปอีกแบบ
ผมก็ไม่ชอบ reply ผ่าน RT
เพราะข้อความที่เค้าตอบผมกลับมา จะมีข้อความของผมติดไปด้วย
ซึ่งยูเซอร์ไหนที่ไม่ได้แอดผมไว้ ก็จะไม่ได้เห็นข้อความก่อนที่ผมจะพิมพ์ไปหาผู้ตอบ
เวลาเค้าตอบกลับมาแล้วใช้ @ หาผม มันก็จะไม่ไปขึ้นในทามไลน์ของคนอื่น
ที่ไม่ได้แอดผมไว้ แต่พอ RT ปุ๊บ ติดไปทั้งยวงเลย
(ผมเข้าใจถูกมั้ย?)
ผมว่ามันก็มีทั้งข้อดีข้อเสียนะ ต้องระวัง อย่างผมบางที tweet อะไรเกรียนๆ ออกไป ถ้าเกิดโตขึ้นทะลึ่งได้เป็น นายก รับรองว่ามาไล่ลบ tweets แทบไม่ทัน -*-
ถ้าไม่ยกตัวอย่างชัดเจนแบบนี้ ก็คงไม่เห็นภาพขนาดนี้
จริงๆแล้ว รู้สึกได้เหมือนกัน แล้วก็มีประสบการณ์ส่วนตัว
อย่างน้อยการที่ได้แสดงความคิดเห็นใน Comment นี้ก็ทำให้เสียความเป็นส่วนตัวไปหนึ่งอย่างแล้ว
คือการบอกความรู้สึกนึกคิดให้กับคนอื่นรู้ ว่ามีทัศนคติอย่างไร
คนในบ้านคนหนึ่ง ใช้ Facebook ไปถ่ายรูปกับเพื่อนๆ ในสถานบันเทิง มีกิริยาที่มันไม่เหมาะสม
อยู่หลายรูป แต่ก็ลืมไปว่า มีผม และคนที่ติดตามที่บ้าน ที่ต้องการจะทราบ ก็สามารถเข้าไปที่
Facebook ของคนๆนี้ได้ ทำให้หลายเรื่องที่ต้องคุยกันนาน และอาจจะไม่เข้าใจกัน
เช่นเดียวกัน บล็อกของผมเอง เมื่อเราไม่ทราบว่าคนที่มาดูบล็อกเราเป็นใคร
การที่ออกสังคมจริงๆ แล้วคนๆนั้น เจอเรา การที่เขาเอาเรื่องจากในบล็อกของเรามาถามต่อ
ก็เป็นอะไรที่ผมว่ามันน่าคิดเช่นกัน ว่า กลุ่มคนไหนสามารถเข้าถึงบล็อกเรา ดังนั้นเนื้อหาก็จำเป็น
ต้องมีการกรอง เช่นกัน เวลาที่จะนำเสนอเข้าไปในบล็อก
ก็ถ้าเป็นในหมู่ประชาชนด้วยกัน อย่าให้มันเป็น public ก็หมดเรื่อง
แต่ถ้ากลัวเรื่อง gov รู้ ก็ไม่ต้องใช้
มันไม่ได้เป็น public จากตัวเรานี้ครับ อย่างกรณีแรก ถูกคนอื่นถ่ายรูปว่าไปไหนต่อไหนลง Social media นี้จะห้ามการ public อย่างไร หรือการ RT คนที่ lock profile นี้จะไปห้ามเค้าได้อย่างไรครับ ถ้าเราไม่ให้ความรู้เรื่องสิทธิและเรื่องส่วนบุคคล
http://www.digimolek.com
Face to face!
โดนใจครับ เห็นภาพชัดดี
โดนเพราะว่าปัญหานี้(ความเป็นส่วนตัว)มันคงไม่น่ากังวลเท่าไหร่ถ้าคนที่ตัดสินใจว่าจะ public หรือ private เป็นตัวเราเอง แต่ดันกลายเป็นความรับผิดชอบของคนอื่นซะอย่างนั้น
คงทำได้แค่หวังว่าคนนั้นจะมีจิตสำนึกที่ดี แต่ก็กังวลไม่ใช่น้อยที่เรื่องแบบนี้กลับต้องฝากไว้กับคนอื่น
เป็นบทความที่ดีมากๆ ผมประทับใจ
อ่านจนจบ แอบฮานิดนึง>_<
แต่ทีแรกคิดว่าจะพูดถึง
การเก็บผักมากเกินไป การเสริฟอาหารมากเกินไป หรือการwarมากเกินไป
เอากรณีผมบ้างดีกว่า พี่ที่ำทำงานเล่น FB เหมือนกัน แล้วตอนไปเที่ยวก็ถ่ายรูปกลับมาใส่ลงไป แล้วก็ tag ผมลงไป ทีนี้แฟน มาเปิดดูรูปใน profile ผม (ปกติจะเล่นเกมส์ทั้งสอง ID ) บิงโก!! ผมกำลังนั่งเมา ยิ้มให้สาวอยู่ งานก็เลยเข้าด้วยเหตุฉะนี้
ค่อนข้างเห็นด้วยครับ ยังไงผมก็ไม่ค่อยสนิทใจในการบอกว่าตัวเองอยู่ไหนทำอะไร ที่ระบุสถานที่ชัดเจน กับคนที่ไม่รู้จักครับ
เลิกเล่น ไม่ออกงาน ไม่พบใครครัฟ
ดูจุดประสงค์การก่อตั้ง twitter ก่อน ดีกว่าครับ ผมว่าเราเอามาใช้ผิดจุดประสงค์กันเยอะทีเดียว
จุดประสงค์ของ twitter คืออะไรครับ ที่ผมเห็นคือการเปลี่ยนจาก "what are you doing?" มาเป็น "What's happening?"
http://www.digimolek.com
เรื่อง Retweet แล้วเปลี่ยนข้อความกันนี้เคยมีคนนำมาเปิดประเด็นพูดในงาน bootcamp ได้ฟังอยู่เหมือนกันครับ :)
ถ้าจะ "แอบถ่าย" คนอื่น จริงๆ ก็อย่าได้ส่งขึ้น public เลย เก็บไว้ดูเองคนเดียวเทอญ (ไม่รู้ว่ากรณีนี้ ลดลงไปบ้างรึยัง)
ป.ล. ไม่ได้พูดถึงเจ้าของบทความนะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจผิด หมายถึงกรณีทั่วๆ ไป
จุดประสงค์สำหรับผมในการใช้ Twitter คือ Getting the message out มากกว่า What's happening หรือ What's up with me นะครับ เรื่องชีวิตส่วนตัวอะไรขอเน้นใน Facebook มากกว่า
เพิ่งเคลียร์คนไทยจาก Facebook ผมไปกว่าร้อยคนที่ไม่รู้จัก รู้สึกโล่ง ไม่มี Quiz งี่เง่าให้เห็นอีกต่อไป
@TonsTweetings
Quiz ผมมาจากคนรู้จักทั้งนั้น แย่จัง -_-"
เพิ่งเคลียร์เหมือนกัน แต่ควิซยังคงเท่าเดิม...
เพื่อนๆ ทั้งน้านนน
เห็นด้วยเลยครับที่ว่ามันระเมิดความเป็นส่วนตัว บางทีการระบุตัวตนของเราได้บนโลกออนไลน์มากไปก็ไม่ดี
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
เป็นเรื่องที่น่าคิดมาก ไม่ใช่แค่ชีวิตส่วนตัวของเราเท่านันที่เสียไป คนรอบข้างที่เราถ่ายรูปเขาแล้วทวีตไปนั้นก็
ต้องสูญเสียไปด้วย แม้ว่าเราจะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ต่อไปจะใส่ใจในเรื่องนี้ในมากขึ้น
ขอบคุณครับ
ผมไม่มี twister ไม่มี facebook ไม่มี ฯลฯ ทัศนคติส่วนตัว มันไร้สาระ ตามกันเข้าไปครับ กระแสสังคม ผมไม่มีนี่คงตกโลก ฮ่าๆ
ผมก็เคยคิดแบบนั้นนะ หลังจากที่เคยเล่น Pirth แบบบ้าคลั่ง แล้วก็คิดว่า "เล่นไปทำไปฟระ เสียเวลาเปล่าๆ" แล้วก็เลิก แต่ต่อมาก็ได้ลองเล่น Social Network แบบอื่นๆ บ้าง นิดหน่อย ตอนนี้กลับมาติดทวีต ซึ่งมันเป็นคนละโลกกับ Pirth หรือ Social Network อื่นๆ เลย (ในความคิดผมนะ) ส่วนตัวผมชอบทวิตเตอร์ที่มันเป็น "เวที" ให้คนตัวเล็กๆ อย่างผมได้พูดให้ใครหลายๆ คนฟัง ทั้งๆ ที่ในโลกความเป็นจริง ไม่มี "เวที" ที่ผมจะพูดได้เลย นอกจากนั้นตัวผมเองยังได้ไปฟัง "เวที" ของคนอื่นๆ ด้วย
ผมว่ามันขึ้นอยู่กับคนใช้ จะใช้ให้มันไร้สาระ มันก็ไร้สาระนั่นแหละ เหมือนลายเซ็นผมครับ "เทคโนโลยีไม่ผิด" หรือถ้าจะให้เห็นภาพชัดอีกหน่อยก็ "แคมฟล็อก" ไงครับ โปรแกรมดีๆ คนเอามาใช้ดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เพราะอย่างนี้ @molek เลยไม่แอบถ่ายสาวๆ อีก
อ่านแล้วทำให้ได้คิดค่ะ ดีมาก ๆ เลย แต่ยังไม่เคยเจอเรื่องร้ายแรงค่ะ เพราะไม่ค่อยติดเท่าไหร่ พยายามใช้แต่พอดีค่ะมากไปก็ไม่ดี ส่วนใหญ่เอาไว้อัพข่าวสารที่ชอบ อย่างเช่นข่าวสารของ blognone นี่แหละค่ะ สะดวกดี
่follow @molek
ขอบคุณครับ เข้าใจเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวขึ้นเยอะเลย
ขอถามนิดนึงครับ ตรงประโยค >>>
"...สิ่งที่เกิดขึ้นจากการ RT หรือ mRT คือการที่สารนั้นเกิดความผิดเพี้ยน..."
ตรงคำว่า สาร ถ้าใช้คำเดียวแบบนี้ น่าจะเขียนว่า สาส์น หรือป่าวครับ พอดีอ่านแล้วมันรู้สึกสะดุดน่ะครับ