Tags:
Node Thumbnail

ในสิ้นปีนี้ อินเทลวางแผนผลิตโปรเซสเซอร์ตระกูลใหม่ ซึ่งจะใช้สถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดในนามว่า Sandy Bridge และคาดว่าอินเทลจะส่งโปรเซสเซอร์ตระกูล Sandy Bridge ป้อนตลาดคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแล็ปท็อปภายในต้นปีหน้า

Sandy Bridge เป็นสถาปัตยกรรมถัดจาก Nehalem และอยู่ในสายการผลิตของชิปเทคโนโลยี 32 นาโนเมตร ที่ผนวกคอร์โปรเซสเซอร์สำหรับการประมวลผลทั่วไปและประมวลผลกราฟิกเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ชิปในตระกูล Sandy Bridge มีลักษณะที่เด่นคือ เป็นชิปตระกูลแรกที่ผนวกชุดคำสั่ง AVX ซึ่งใช้เร่งความเร็วในการประมวลผลกราฟิกและเสียง และยังผนวกชุดคำสั่ง AES New Instructions (AES-NI) เพื่อเร่งความเร็วในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลอีกด้วย ทั้งนี้ ในแหล่งข่าวไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของ Sandy Bridge ว่ามีความเร็วเท่าไหร่ แต่ในวิกิพีเดียให้ข้อมูลของ Sandy Bridge ว่าเป็นชิปที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่าง 2.8 ถึง 3.8 กิกะเฮิรตซ์สำหรับคอร์ประมวลผลทั่วไป และ 1 ถึง 1.4 กิกะเฮิรตสำหรับคอร์ประมวลผลกราฟิก และมีจำนวนคอร์เริ่มต้นที่ 4 คอร์ (น่าจะหมายถึงเฉพาะคอร์ประมวลผลทั่วไป)

ที่มา - COMPUTERWORLD

สาระเพิ่มเติม - ในปี ค.ศ. 2007 อินเทลเริ่มใช้การผลิตชิปที่เรียกว่า Tick-Tock อันประกอบด้วยวัฎจักรของช่วงเวลา Tick กับช่วงเวลา Tock ที่เกิดขึ้นสลับกันไป โดย Tick คือการย่อขนาดสถาปัตยกรรมโปรเซสเซอร์ที่เคยผลิตมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วน Tock คือการใช้สถาปัตยกรรมแบบใหม่ในการผลิตชิปโดยอาศัยสายการผลิตเทคโนโลยีชิปที่มีขนาดเดียวกันกับ Tick ครั้งล่าสุด โดยเป็นที่คาดกันว่า ทุกปีจะมี Tick หรือ Tock เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง ตัวอย่างที่เราเห็นจากในข่าวนี้คือ โปรเซสเซอร์ตระกูล Nehalem เป็นโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตร จากนั้นได้เกิด Tick เพื่อย่อส่วนเทคโนโลยีการผลิตชิปของ Nehalem ให้เหลือ 32 นาโนเมตร ทำให้เกิดโปรเซสเซอร์ชื่อ Nahalem-C หรืออีกชื่อคือ Westmere ต่อจากนั้น อินเทลจะใช้สถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดคือ Sandy Bridge ในการผลิตโปรเซสเซอร์ 32 นาโนเมตร ซึ่งก็คือ Tock นั่นเอง และในอนาคตก็จะเกิด Tick อีกครั้ง และเราจะได้เห็นโปรเซสเซอร์ตระกูล Sandy Bridge ในนามว่า Ivy Bridge ที่ใช้เทคโนโลยีผลิตแบบ 22 นาโนเมตร ต่อจากนั้น ก็จะเกิด Tock โดยเราจะได้เห็นชิปที่ใช้สถาปัตยกรรมใหม่ที่ชื่อ Haswell และ Tick ต่อจากนั้น เราจะได้พบกับโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยีผลิตชิป 16 นาโนเมตรที่มีชื่อว่า Broadwell

Get latest news from Blognone

Comments

By: mementototem
ContributorJusci's WriterAndroidWindows
on 15 April 2010 - 14:18 #170530
mementototem's picture

ประมาณว่า เล็กลงเรื่อย ๆ ทุก ๆ 2 ปี มันจะเล็กได้สุด ๆ แค่ไหนกันนี่


Jusci - Google Plus - Twitter

By: mr_pakorn on 15 April 2010 - 14:23 #170532 Reply to:170530

เท่าอะตอม หรือ....

เท่านิวเคลียสของอะตอม ??

By: anu
Contributor
on 15 April 2010 - 15:26 #170542 Reply to:170532

เห็นว่าใกล้จะถึงขีดจำกัดเท่าที่ซิลิกอนจะทำได้แล้ว เห็นข่าวว่ามีงานวิจัยใช้กราฟีนแทน สามารถสร้างได้ 10nm และอาจเล็กได้ถึง 1nm แต่คงอีกนานนน

By: Thaina
Windows
on 15 April 2010 - 16:03 #170546 Reply to:170542

ผมว่าไม่นานหรอก

ช่วงนี้เทคโนโลยีมันกระโดดเร็วแบบคาดไม่ถึง

By: orbitalz
ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
on 16 April 2010 - 15:09 #170806 Reply to:170542

กราฟีนนี่เป็นหัวข้อวิจัยที่ดังมากเลยนะครับในงานวิจัยของต่างประเทศ มีเปเปอร์ที่เกี่ยวข้องกับกราฟีนผุดขึ้นมาเยอะมากๆ

By: Bluetus
iPhone
on 15 April 2010 - 14:36 #170538
Bluetus's picture

Tick-Tok เลยตกรุ่นเร็ว 5555

แต่ผมชอบนะ ไม่ใช่รอให้ตลาดอิ่มตัวแล้วผลิตของไหม่แต่มี Timelne ของตัวเองในการเร่งพัฒนา

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 15 April 2010 - 22:54 #170627 Reply to:170538
hisoft's picture

เหมือนสมัย NVIDIA นำโด่งสินะครับ แทบไม่ออกตัวใหม่เลย - -"

By: KnightBaron
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 15 April 2010 - 16:02 #170545
KnightBaron's picture

ไม่ใช่เร่งพัฒนาครับ จริงๆ ต้องพัฒนาเตรียมเอาไว้อยู่แล้ว แต่กั๊กทยอยออกมารีดเงินในกระเป๋าเราต่างหาก

By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 15 April 2010 - 16:09 #170551

ตรงสาระเพิ่มเติมนี่ ได้ความรู้เยอะกว่าเนื้อข่าวอีกแฮะ


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 15 April 2010 - 16:16 #170552

Tick นี่ยังไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าซื้อไปแล้วมาเจอ Tock นี่มีครวญครางพร้อมกับเสียดายของที่ซื้อไป
"จะกั๊กไปทำไมเนี่ย -*-"

By: neizod
ContributorTraineeIn Love
on 15 April 2010 - 21:27 #170609
neizod's picture

+10

แต่ช่างมันเถอะ ผมเลือกซื้อของที่ตกรุ่นหน่อยก็ได้ ไม่ได้คิดอัพทุกเดือนอยู่แล้ว ^^

By: pasuth73
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 15 April 2010 - 22:05 #170615

ถ้ารีบTockเกินไป Tickก็ขายไม่ได้สิครับ เราไม่ต้องสนTick Tockหรอก ลองถามเครื่องคุณสิว่าเครื่องคุณใช้ประสิทธิภาพของคุณถึงขีดจำกัดหรือยัง แล้วใช้ไปคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายกับทรัพยากรที่เสียไปหรือกยัง คิดสองอย่างนี้บ่อยๆเดี๋ยวก็ลืมความเสียดายเอง ผมก็เป็น555+ตอนนี้ปรงได้แล้ว ผมใช้E6300 2.8 ใช้แง่การใช้ผมก็รีดประสิทธิภาพจนพอใจละที่3.27 แต่ในแค่ทรัพยากรที่เสียยังไม่ครบเลยพึ่งใช้ได้ไม่ถึงปี 555+ จนกว่าเกมใหม่จะเล่นบนE6300 O.C.ไม่ได้ทั้งหมดแล้วผมค่อยเปลี่ยนละกันแต่กว่าจะถึงตอนนั้น 22NMผมคงได้ซื้อละ (บวกไป3-5ปี เขาว่าเวลาที่จะเปลี่ยนคอมคือใช้คุ้มค่าแล้วคือ5ปีขึ้นไปอะนะ)

By: javaboom
WriteriPhone
on 15 April 2010 - 23:32 #170625
javaboom's picture

ผมไม่ทราบกลไกจริงๆของกลยุทธ์ Tick-Tock ว่าอินเทลคิดยังไงและอินเทลกั๊กหรือเปล่า คือผมไม่ชำนาญในการสร้างชิป แต่คุ้นๆว่าเคยอ่านบทความมาเกี่ยวกับเหตุผลของการ Tick ว่าเป็นส่วนสำคัญของการ Tock โดยการจะทำให้เกิด Tock ตัวใหม่ได้นั้นต้องอาศัย Tick ที่ย่อส่วนทรานซิสเตอร์ให้เล็กลงอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อการยัดความสามารถอะไรใหม่ๆ (เช่น จำนวนคอร์ที่เพิ่มขึ้นและชุดคำสั่งใหม่ๆอีกมากมาย) และที่สำคัญคือลดการกินไฟพร้อมกับลดค่าใช้จ่าย (จริงๆในแหล่งข่าวที่ผมใส่ เขากล่าวเรื่องนี้นิดหน่อย)

อย่างไรก็ตาม คำถามที่ตามมาคือ ทำไมไม่ย่อให้มันเล็กระดับ 1 นาโนหรือเล็กกว่านั้นซะทีเดียวเลยล่ะ มาทำ tick กันทีละนิดให้ลุ้นกันทำไม ... เรื่องนี้คงเป็นไปในแง่ความยากของนาโนเทคโลยีแล้วหรือเปล่า? ผมไม่ทราบว่าตอนนี้ ทรานซิสเตอร์ที่เล็กที่สุดในโลกและขายเป็นผลิตภัณฑ์ในราคาที่คนทั่วไปซื้อได้เนี่ยมันเล็กขนาดเท่าไหร่? เคยอ่านเจอมาว่ามีเล็กระดับ 10 นาโนเมตร แต่พอประกอบเป็นชิปแล้วกลับไม่เสถียร เพราะอะไรก็ตามที่เล็กระดับนาโน (เช่น เล็กกว่า 10 นาโน) มันมีเรื่องความไม่เสถียร เล็กมากและเบา มันก็ล่องลอยแบบสุ่ม ควบคุมลำบาก อย่างไรก็ดี ถัดจากยุคซิลิคอนนี้ เราคงจะได้เห็นชิปแบบกราฟีน ทีนี้ ทรานซิสเตอร์ขนาด 1 นาโนคงไม่ใช่ความฝัน แต่กว่าจะก้าวไปถึงจุดนั้นก็คงต้องรออีกหลายปี (มีคนเคยทำนายว่าเป็นสิบปี) ตอนนี้ชิปกราฟีนยังใช้ในห้องทดลอง (และก็เย็นจัดซะด้วย) ...

สรุป อินเทลกั๊กเทคโนโลยีหรือเปล่า อันนี้ตอบยาก Tick-Tock อาจจะเป็นเป้าหมายที่อินเทลใช้แข็งขันกับตัวเองเหมือนการว่ายน้ำให้เร็วขึ้นเพียง 1 วิเหมือนที่ Mark Spitz เคยทำ? แต่ถ้าเทคโนโลยีมันย่อได้ง่ายจริงๆ เอเอ็มดีหรือไอบีเอ็มก็กั๊กเหมือนกันหรือ??? อืม น่าคิด ... เผลอๆอาจมีบางเจ้ายิ้มอยู่ในใจว่า ฉันมีชิปกราฟีนตระกูล x64 (หรืออาจจะเป็น x128) พร้อมขายได้ทุกเมื่ออยู่ :)


My Blog

By: mk
FounderAndroid
on 16 April 2010 - 02:18 #170662 Reply to:170625
mk's picture

ผมคิดว่าอีกประเด็นที่สำคัญคือเรื่องความพร้อมของ Fab ด้วยนะครับ เปลี่ยนบ่อยมันไม่คุ้มทุนสร้างโรงงาน

By: javaboom
WriteriPhone
on 16 April 2010 - 09:28 #170727 Reply to:170662
javaboom's picture

ผมลืมคิดเรื่องนี้ไปเลย เห็นด้วยครับ


My Blog

By: baanmaew on 16 April 2010 - 01:20 #170641

ถ้าซูเปอร์คอนดักเตอร์สามารถใช้งานที่อุณหภูมิปกติได้จะมีผลต่อการผลิตชิปมั๊ยครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 16 April 2010 - 10:15 #170734 Reply to:170641
javaboom's picture

ก็คงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ และคงทำให้ยุคของการเร่งความเร็วสัญญาณนาฬิกาแบบเพิ่มเป็นทวีคูณกลับมาอีกครั้ง แต่เสียดายที่ยังไม่มีซูเปอร์คอนดักเตอร์ที่ทำงานที่อุณหภูมิห้องนั่นสิครับ ยังฝ่าฝืนกฎธรรมชาติอยู่ จริงๆอาจจะต้องเรียกว่าเรายังไม่เข้าใจธรรมชาติเพียงพอ :)

จากบทความวิชาการใน IEEE Transactions on Applied Superconductivity ในปี 1993 เขาพูดถึงสถาปัตยกรรม(ที่เป็นไปได้)ของไมโครโปรเซสเซอร์แบบซูเปอร์คอนดักเตอร์อยู่ครับ เขากล่าวว่าปัญหาใหญ่ของการเร่งความเร็วของโปรเซสเซอร์คือ ความยากในการประสานจังหวะ (synchronous) ดังนั้น ทางออกคือการเปลี่ยนไปใช้สถาปัตยกรรมแบบ asynchronous หรือ clockless เท่าที่อ่านในวิกิพีเดียได้ข้อสรุปแบบสั้นๆว่า ยากต่อการทดสอบ แต่แม้ว่ามันจะยากก็มีการผลิตโปรเซสเซอร์แบบนี้ขึ้นมาแล้วด้วย


My Blog

By: F16
iPhoneWindows PhoneAndroidIn Love
on 14 September 2010 - 17:15 #209952

สุดยอด

By: DoraeMew
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 14 September 2010 - 19:00 #209968

จะรีบติ๊กต่อกกันไปไหนฟะ ตรูยังอยู่กับ Core2Duo ยุคแรกอยู่เล๊ย -*-

By: planktons
AndroidWindows
on 14 September 2010 - 19:35 #209973
planktons's picture

ได้ความรู้มากๆเลยครับ ขอบคุณนะครับ