มี choice ให้เลือกแค่ 1) ยกย่องคนดี 2) ยกย่องคนเก่ง พร้อมให้เหตุผลประกอบด้วยครับ
พอดีไปได้ความคิดมาจากข่าว โอบามายก "สตีฟ จ็อบส์" เป็นตัวอย่างคนอเมริกันที่ประสบความสำเร็จ เลยมาขอแตกประเด็นคุยกันครับ
สำหรับผมเลือก 2) ยกย่องคนเก่ง เหตุผล
ทุกวันสังคมไทยเอาแต่พร่ำบอกเรียกร้องหาคนดี แต่ความดีนั้นวัดผลค่อนข้างยาก เช่น หากนาย A ดีกับเรา หรือแค่เห็นผ่านสื่อเราก็ว่าเค้าดี ทั้งๆที่นาย A อาจมีมุมอื่นที่เรามองไม่เห็นทำชั่วมากมาย ซึ่งต่างจากความรู้ความสามารถที่เราสามารถใช้ตัวชี้วัดที่ปราศจากอคติได้หลากหลาย
ยกตัวอย่าง กรณีเซเลบที่เป็นข่าวผมก็ยังยกย่องในความสามารถเค้าไม่เปลี่ยนแปลงครับ แต่ในเรื่องคดีผิดก็ว่ากันไปตามผิด
+1 ตามนี้เลย
ในที่นี้น่าจะไม่ต้องตีความนะ เหมือนทำข้อสอบ คือ ถูกกับผิด ในคำถามมีตัวเลือกคือ - คนดี (จะดีจริงหรือไม่ไม่ต้องตีความ แค่รู้ว่าดีสุดๆ ก็พอ จะเก่งด้วยหรือไม่ก็ไม่ต้อง) - คนเก่ง (อันนี้ก็ไม่ต้องตีความเช่นกัน แค่รู้ว่าเก่งก็พอ จะดีหรือไม่ก็ไม่ต้อง)
อ๋องั้นผมขอเลือกคนเก่งครับ
นโยบายหลักผิดพลาดจะนำมาซึ่งความบอบช้ำขององค์กรหรือประเทศในภาพรวมฉะนั้นแล้วคนเก่งที่เห็นแก่ส่วนรวมจึงสำคัญกว่าคนดีที่เห็นแก่ส่วนรวม
ยกตัวอย่างโจโฉในการทำสงครามใช้แต่ความโหดเหี้ยมแต่ยามบริหารบ้านเมืองกลับใช้หลักเมตตาธรรมสร้างนโยบายที่เป็นประโยชน์เพื่อประชาชน เขาจึงมักถูกคนจีนพูดถึงโดยใช้คำพูดที่ว่า "เป็นทรราชในยามศึกสงครามแต่เป็นนักบริหารในยามสงบ"
(ดั่งคำโบราณที่กล่วไว้ว่า "เหตุที่บ้านเมืองย่ำแย่เพราะยามตงฉินมีอำนาจกลับไม่ใช้อำนาจที่มีกดขี่เหล่ากังฉินไว้แล้วเหตุนี่โจโฉควรเป็น ตงฉิน หรือ กังฉิน)
คนดีครับ เพราะถึงจะโง่แต่เป็นคนดีก็ไม่สร้างความเดือนร้อนให้สังคม ถ้าคนฉลาดเป็นคนดีก็จะสร้างประโยชน์ให้สังคม
+1 แต่ถ้าเป็นคนเก่ง แต่ไม่เป็นคนดีก็อาจสร้างผลเสียให้สังคม
ผลเสียคือ ทำประเทศรวยขึ้น ส่วนคนดีแต่ไม่เก่ง กู้แหลกเลยครับ
+1 คนดีครับ เหมือนเำืำพื่อนผม เรียนเก่ง แต่นิสัยไม่ดีเอาซะเลย
ถ้าเป็นแค่คนดี แต่ไม่เก่งเลย คุณแน่นใจได้อย่างไรว่าเค้าจะไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม
ผู้นำไม่จำเป็นต้องเก่ง ขอให้มีผู้ช่วยเหลือที่มีความสามารถก็พอ ..... อันนี้เป็นความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งผมเห็นด้วย
แต่ทุกวันนี้ผู้ช่วยเหลือมูมมามไปหน่อย
ผู้นำก็ต้องมีความสามารถของผู้นำ ผู้ช่วยก็ต้องมีความสามารถของผู้ช่วย ครับ ผู้นำที่ดีหรือไม่ดีก็ทำผลประโยชน์หรือทำให้เสียผลประโยชน์ได้เหมือนๆกัน
ผู้นำที่ไม่ดีแต่มีความสามารถก็ยังสามารถสร้างผลประโยชน์แก่คนหมู่มากได้ ถ้าหากว่าทำแล้วตนเองก็ได้รับผลประโยชน์ แต่ผู้นำที่ดี แต่ไร้ความสามารถ อาจไม่ได้ทำประโยชน์อะไรเลย หรือทำให้คนอื่นเสียผลประโยชน์ เพราะไม่มีความสามารถในการเปนผู้นำ ทำให้ตัดสินใจผิด หรือไม่กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูก
ความกล้าไม่ใช่ความดี แต่เปนความสามารถครับ
+1
คนดีที่ทำเรื่องโง่ ๆ หรือ คนฉลาดที่ทำเรื่องชั่ว ๆ
มันก็ทำให้องค์กร (หรือประเทศ) เสียหายได้พอ ๆ กันนั่นแหละ....
Happiness only real when shared.
+1 แต่ดีแล้วต้องมีอำนาจในการควบคุมด้วยนะ ไม่ใช่ใครอยากได้อะไรก็ร้องงอแงแล้วยื่นของให้
--
+1 ผมให้น้ำหนักคนดีครับ อย่าไปคิดว่าจะเอาอะไรมาวัดว่าดีเลย ดีก็คือดี มันไม่เห็นจะต้องดูอะไรให้ลึกหรือวุ่นวายเลยครับ คนดีเองก็ไม่จำเป็นต้องสร้างสรรค์อะไรให้มากด้วย ก็แค่อยู่แบบพอเพียงไปเรื่อยๆ
นี่เป็นตัวอย่างความคิดเห็นเฉพาะของผมนะครับ
จะเลือกใคร
ผมก็ยังตอบว่า 1 อยู่ดีนะ อันนี้เป็นแนวคิดส่วนบุคคลนะครับ
หลายคนอาจจะตอบแบบอัตราก้าวหน้า แบบข้อ 2 ก็ได้
+1 ส่วนตัวผมไม่ประนีประนอมกับคนโกงครับ ไม่ว่าโกงมากหรือน้อย หากตั้งใจโกงผมรังเกียจทั้งนั้น น่าผิดหวังตรงที่สังคมส่วนมากยอมรับการโกงก็ได้ขอให้ทำงาน ซึ่งวงจรอุบาทว์นี้มันจะยิ่งวนไปเรื่อย
เป็นผม ผมเลือกคนดีครับ แต่ต้องดีทั้งกายและใจนะ ไม่ใช่ดีแต่เปลือก
ผมมองว่าการศึกษาบ้านเราสร้างคนเก่งมามากมายเลยครับ แต่ไม่ค่อยได้ปลูกฝังคุณธรรมกันเท่าไร เลยได้เห็นคนเก่งแล้วเห็นแก่ตัว
ถ้ามีตัวเลือกแค่คนดีกับคนเก่ง ผมก็ต้องตอบคนดีละครับ แต่...
สำหรับผมแล้วไม่มีใครดี ใครเลว 100% หรอกครับ ชาว Blognone คนไหน ที่รักษาศีล 5 ได้ครบหมดทุกข้อบ้างครับ หรือไม่เคยทำผิดกฎจราจร ละเมิดลิขสิทธิ์ ทำผิดกฎหมายบ้าง
แล้วมีใครที่เก่ง ไม่เคยทำงานผิดพลาดบ้าง ก็คงไม่มีอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้นจงเลือกทางสายกลางครับ ที่ไม่ต้องไปคิดว่าคนเราจะเก่งจะดี 100% กันทุกคน
สำหรับผมเลือกคนดีครับแน่นอนว่าคนดีหายาก แต่คนเก่ง(ไม่ดี,เห็นแก่ตัว,ทำเพื่อพวกพ้อง)มีโอกาสสร้างความเดือนร้อนให้เรามากกว่า
ผมยกย่องคนดี ในส่วนที่เค้าดี และยกย่องคนเก่ง ในส่วนที่เค้าเก่ง ใครเก่ง ใครดีส่วนไหน ก็ยกย่องส่วนนั้น ไม่จำเป็นต้องยกย่องทุกอย่างของเค้าหนิครับ อย่างที่แตกประเด็นมาเรื่อง โอบามายก "สตีฟ จ็อบส์" เป็นตัวอย่างคนอเมริกันที่ประสบความสำเร็จ ชื่อก็ชัดเจนแล้วว่ายกย่องในเรื่องประสบความสำเร็จ ไม่ได้ยกย่องเรื่องความเป็นคนดี
ยกย่องแบบไหนมากกว่ากันเนี่ย เทียบยาก คนละแนว
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ตรงประเด็นครับ คือประเด็นที่ผมยกมา เพียงอยากจะสะท้อนว่าสังคมไทยมีความสามารถในการแยกแยะรึเปล่าระหว่าง ดี กับ เก่ง
จากกระแสของเซเลบที่เป็นข่าว ผมคิดว่ามีหลายคนที่เคย ยกย่อง ในตอนนี้จะติดลบเค้าทุกเรื่องถึงเรื่องที่เป็นข่าวนี้ไม่ได้ไปทำให้ความรู้ความสามารถของเค้า่ลดลง
และในโจทย์ผมสมมติให้คุณเลือก ซึ่งต้องเลือกคนเดียวเท่านั้น ผมอยากรู้คุณจะเลือกใคร????
ถ้าเป็นเรื่องงานผมเลือกคนเก่งครับ ถ้าเลือกมาคบหรือเคารพผมเลือกคนดีครับ
ถ้างั้นต้องถามก่อนว่าเลือกไปทำอะไร ถ้าเลือกแค่ว่ายกย่องใครมากกว่า สำหรับผมไม่ว่าจะเลือกใครก็ไม่ได้มีผลอะไร ถ้าเลือกเหมือนให้รางวัลเฉยๆ ผมคงเลือกคนที่สร้างผลประโยชน์ต่อคนกลุ่มมาก ซึ่งน่าจะเป็นคนเก่งนะ เพราะคนถ้าเป็นคนดี(แต่ไม่เก่งเลย) ถึงจะไม่เบียดเบียนใคร ซื่อตรงอะไรก็ตามไม่ได้มีผลต่อคนอื่นมากนัก แต่ก็คงต้อง balance อยู่ดี ถ้าเก่งมากๆ แต่เลวมากๆ ก็คงยกย่องไม่ลงเหมือนกันครับ
ผมเลือกคนดีครับ ลำบากแค่ไหนก็ไม่ทำชาวบ้านเดือดร้อนครับ (ยกเว้นพวกหาประโยชน์จากคนดีกลุ่มนี้อีกที)
คนเก่งทำให้สารพัดอย่างไปได้ดี โลกพัฒนาไปเร็วก็จริง แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการพัฒนาโลกและเทคโนโลยีให้ไปเร็วๆ อยู่แล้วเพราะคิดว่าไม่ค่อยจำเป็น (แต่ในบางแง่ บางอย่างก็จำเป็นนะ อีกอย่าง ผมก็อยู่กับสายนี้ด้วยสิ)
ผมยกย่องพระเยซูครับ อ่านจากไบเบิ้ลแล้ว บุคคลคนนี้ทั้งดีและเก่ง...ฟิ้วววว
เป็นเรื่องยากที่จะวัดเพราะความจริงคนดีก็ใช่จะดีครบทุกด้าน เป็นปุถุชน จึงมีทั้งดีและไม่ดีในบางด้านส่วนเก่ง เก่งแล้วมีประโยชน์กับคนบางกลุ่ม คนบางกลุ่มนั้นก็ยกย่อง แต่ความเก่งเดียวกันไปเดือนร้อนกับอีกกลุ่มล่ะ?
ทำให้ผมนึกถึงคำท่าน พุทธทาสในเรื่องคนฉลาดกับคนโง่ (เป็นความหมายที่ใกล้เคียงกัน)จากคลิปนี้ที่ Youtube ครับ
ระวังความฉลาด !
สาธุ
จริงๆเราคงต้องเริ่มพูดจากตรงที่
คำว่า ดี คืออะไร?
หรือเปล่า?
ไม่ต้องถึงขั้นนั้นครับ เอาแค่ง่ายๆเช่น คนที่คุณคิดว่า เก่ง นะ กับ คนที่คุณคิดว่า ดี นะ
คุณจะเลือกยกย่องใครครับ ???
ยกย่องคนเก่ง เพราะ choice ไม่ได้กำหนดว่าเก่ง+ดี/ไม่ดี
สำหรับผม
ผมเชื่อว่าเราเชิดชูด้านดีๆ ของคนดีแล้วครับ มันจรรโลงสังคม แต่การไปยึดติดว่าคนๆ หนึ่งดีแล้วต้องดีเสมอ หรือเก่งแล้วต้องเก่งทุกอย่าง ผมมองว่ามันแสดงว่าคำสอนทางพุทธในไทยกำลังเสื่อม
lewcpe.com, @wasonliw
ก็ชัดนะครับว่า "ยึดติด" คำสอนทางพุทธไม่ได้เสื่อมนะ พุทธสอนให้ปล่อยวาง ไม่ยึดติด
ผมหมายถึงเสื่อมไปจากสังคมน่ะครับ ขณะที่เราประกาศกันอยู่ว่าเราเป็นเมืองพุทธ ผมเห็นสังคมเรายึดติดหนักขึ้นเรื่อยๆ อยู่ทุกวัน
บ้านเรานี่ติดอันดับโลกแทบทุกอย่างแล้วครับตอนนี้ไม่ว่าศาสนาไหนก็เอาไม่อยู่แล้ว
คำสอนไม่ได้เสื่อม คนต่างหากครับที่เสื่อม เป็นธรรมดาที่คนดีคนเก่งถูกคาดหวังว่าจะเป็นอย่างนั้นเสมอไป
ผมเข้าใจว่าคนไทยส่วนมาก นับถือศาสนา (ไม่แน่ใจว่าเฉพาะพุทธหรือไม่) แค่เพียงในนามนะครับ มีไว้แค่ในทะเบียนบ้านและเอกสารเท่านั้นเอง
ศาสนาพุทธไม่ได้บังคับให้ศึกษา ต้องถามคนส่วนมากว่าไปวัดครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ รักษาศีลแค่ไหน ของยั่วยุมากครับและยากที่คนธรรมดาจะต้านทานไหว
คนไปวัดรักษาศีลก็ไม่ใช่ว่าเข้าใจศาสนาพุทธครับ
และไอ้การยึดติดว่า ต้องไปวัด รักษาศีล ถึงเปนพุทธ นั่นแหละไม่ใช่พุทธ
+1 ผมมีประสบการณ์ตรงเลยครับกับคนรอบข้าง ประเภทเข้าวัด ฟังธรรม แต่พฤติกรรมนะอีกอย่าง เห็นแล้วเศร้า
+1 ผมก็กะจะมาตอบประมาณนี้ มีคนที่เข้าวัด ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมอีกมากมายที่ไม่ได้ทำตามวิถีพุทธสักเท่าไหร่ รวมถึงหลายๆ วัดด้วย
แต่ถ้าการทำเช่นนั้นขัดเกลาจิตใจให้เป็นคนดีได้บ้าง ถือว่าก็ยังดีครับ
ยังงี้เรียกว่าฟังแล้วไม่ปฏิบัติตามหรือเปล่า
คนเข้าวัดเพราะอยากได้บุญก็มี เข้าวัดเพื่อให้ดูดีก็มี เรื่องพวกนี้ไม่จำเป็นต้องเอามาอธิบายครับ ผมหมายถึงการเข้าวัดทำบุญเพื่อลดกิเลสรู้จักให้ ไม่ได้หวังบุญมากมาย การให้ทานนั้นได้บุญน้อยกว่าการรักษาศีล การรักษาศีลได้บุญน้อยกว่าการนั่งสมาธิเจริญภาวนา
งั้นคำว่า บุญ คืออะไรครับ
บุญคือ.....อะไร
หาใน google ได้ครับ
จิตใจคนเรามันเข้มแข็งไม่เท่ากันทุกคน คนที่จิตใจเข็มเข็งไม่พอถึงต้องหาสิ่งที่จะมายึดเหนียวจิตใจ เพื่อให้ชีึวิตดำเนินต่อไปได้ การเข้าวัดไปเผื่อหวังผลสักอย่าง มันก็เป็นเครื่องมือสักอย่างเพื่อยึดเหนียวจิตใจเมื่อไม่รู้จะหันหน้าไปพึงใคร
ผมเข้าบ่อยนะถ้ามีเวลาคงไม่ต้องบอกว่าไปเพื่ออะไรยึดเหนียวจิตใจแน่นอน ^6^
แบบนี้แสดงว่าไม่ต้องมีวัด ไม่ต้องมีโบสถ์ ไม่ต้องมีสุเหล่า วัดหรือสถานที่สำคัญทางศาสนาไม่ได้มีเพื่อยึดติดครับแต่เอาไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิดใจ การนัดถือศาสนาใดๆก็ตามไม่จำเป็นต้องเข้าใจศาสนา(ถ้าเข้าใจคงบรรลุโสดาบันกันทุกคน) บางศาสนายังห้ามไม่ให้ไหว้นั่นไหว้นี่เลยหรือเข้าวัดหรือสถานที่ที่ไม่ใช่ของศาสนาตนยังไม่ได้ถ้าเข้าแล้วผิดหลัก นี่ก็ถือว่ายึดติดใช่หรือไม่ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นเรื่องของจิตใจ คุณไม่สามารถไปตัดสินใจว่าถ้าคุณทำแบบนั้นหรือเป็นแบบนี้ไม่ใช่พุทธนะคงไม่ถูกเพราะมันเป็นเรื่องของความศรัทธาเฉพาะบุคคล
ก็อิสลามกับคริสต์ไม่ใช่พุทธนี่ครับ จะยึดติดอะไรก็เปนเรื่องคำสอนของศาสนาเขา การยึดติดก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพียงแต่มันไม่ใช่หลักของศาสนาพุทธ ก็เท่านั้น แล้วศาสนาพุทธเราก็ไม่ได้ห้ามที่ใครจะไปเคารพศาสนาอื่นเสียหน่อย
การยึดติดหรือยึดเหนี่ยวก็ไม่ต่างกัน ก็ไม่ใช่คำสอนของศาสนาพุทธ แม้แต่หลักธรรมเองก็ยังให้สงสัย อย่าไปยึดติด
ที่ผมบอกว่า การมีความศรัทธาไม่ใช่หลักของพุทธ มันหายถึงจะมีก็ได้ไม่ได้ห้ามอะไร แต่อย่ามาอ้างว่าเพราะมีศรัทธาถึงได้เปนพุทธ พุทธไม่ใช่ศาสนาที่ต้องศรัทธา แต่เปนศาสนาที่ต้องเข้าใจ แล้วก็ไม่ได้จำเปนต้องเข้าใจหลักธรรมทั้งหมด แต่ก็ควรจะเข้าใจหลักธรรมที่ตัวเองใช้ ทำไมเราถึงต้องมีศีลห้า ทำไมอิทธิบาทสี่ถึงดีต่อการทำงาน
แล้วที่ผมเห็นมาตลอดคือ ความศรัทธานี่แหละ ที่ทำลายความเข้าใจในศาสนา พอเวลาที่มีคนสงสัยในหลักธรรม ก็เอาอะไรที่ไม่ใช่เหตุผลมายัดเยียด ห้ามไม่ให้สงสัย นี่แหละผิดหลักศาสนาพุทธ
วัดจริงๆก็เปนแค่โรงเรียนในสมัยก่อน พระก็เหมือนเปนครู ถ้าเทียบแล้วก็เหมือนมหาวิทยาลัย ที่มีศาสตราจารย์มาสอน แต่ตัวศาสตราจารย์เองก็ทำวิจัยของตัวเองไปด้วย ในทางที่ละเอียดกว่า ขั้นสูงกว่า พระในวัดก็เหมือนกำลังทำวิจัยเรื่องการบรรลุโสดาบัน-อรหันต์ แล้วสอนเรื่องหลักธรรมทั่วไปก่อนบรรลุโสดาบัน
ในปัจจุบันมีการพัฒนาโรงเรียน มหาวิทยาลัย แล้วเชิญพระไปสอนเฉพาะวิชา นอกจากความศักดิ์สิทธิ์(ที่ไม่รู้มีจริงรึเปล่า) โรงเรียนก็ไม่ต่างกับวัดแต่อย่างใด แล้วมีทั้งเทคโนโลยีมากมายที่ให้พระเผยแพร่หลักธรรม การเข้าวัดฟังธรรมก็เพื่อให้รู้และเข้าใจในหลักธรรม แต่คนบางคนก็ฟังเทป ดูวิดีโอ หรืออ่านบล็อกของพระ ก็ทำให้รู้และเข้าใจได้ไม่ต่างกัน การมีวัดสำหรับคนที่พอใจจะเข้า ก็เปนเรื่องที่ดี เราอาจจำเปนต้องมีวัด เพื่อให้คนที่ตั้งใจเปนพระ ได้เข้าไปเปนพระ แต่จำเปนหรือไม่ที่คนจะต้องเข้าวัด? ผมคิดว่าไม่จำเปน
สถาณที่ทางศาสนาเปนเรื่องของวัฒนธรรมครับ ในตอนที่ศาสดาเริ่มเผนแพร่หลักธรรมก็ไม่ใช่ว่าจะต้องมีสถาณที่ทางศาสนา มันเปนความสะดวกและความคงทนเท่านั้น ผมไม่อยากพูดหรอกนะว่าการที่ต้องมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เปนเรื่องของคนที่ไม่มั่นใจในตัวเอง ต้องมีที่พึ่ง และการที่เปนอย่างนั้นก็เพราะสิ่งที่ทำอยู่มันเหมือนไม่มีเหตุผล ถึงได้ต้องพยายามหาทางศรัทธาในอะไรบางอย่าง แต่มนุษย์ในโลกนี้ไม่ได้เปนอย่างนั้นทุกคน แต่พวกคนในสังคมก็ชอบบีบบังคับให้ทุกคนต้องมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจอันเดียวกับตัวเอง ผมไม่รู้ว่าทำไมหรอกนะ แต่ศาสนาคริสต์เปนศาสนาที่ห้ามสร้างรูปเคารพพระเจ้า เพื่อไม่ให้คนยึดติดกับรูป แต่ก็ยังพยายามห้อยไม้กางเขนบ้าง สร้างรูปปั้นพระเยซูบ้าง พอใครลบหลู่หรือทำลายรูปปั้นพวกนี้ก็โกรธ ถามว่านี่เปนหลักศาสนาคริสต์ตรงไหน?
คนเราชอบบังคับให้คนอื่นมีศาสนา แต่ผมคิดว่า คนดี ไม่ต้องมีศาสนาก็ได้
แต่คุณพูดเองนี่ครับว่า "และไอ้การยึดติดว่า ต้องไปวัด รักษาศีล ถึงเปนพุทธ นั่นแหละไม่ใช่พุทธ" เป็นมันการยัดเยียดให้คนอื่นหรือเปล่าหล่ะครับ
มันขัดกับคำพูดที่ว่า "จะยึดติดอะไรก็เปนเรื่องคำสอนของศาสนาเขา การยึดติดก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพียงแต่มันไม่ใช่หลักของศาสนาพุทธ"
"การยึดติดหรือยึดเหนี่ยวก็ไม่ต่างกัน ก็ไม่ใช่คำสอนของศาสนาพุทธ แม้แต่หลักธรรมเองก็ยังให้สงสัย อย่าไปยึดติด ที่ผมบอกว่า การมีความศรัทธาไม่ใช่หลักของพุทธ มันหายถึงจะมีก็ได้ไม่ได้ห้ามอะไร"
ผมถึงบอกไงครับว่ามันเป็นศรัทธาส่วนบุคคลแต่มันค้านกำคำพูดคูณตอนแรกไงครับว่า "และไอ้การยึดติดว่า ต้องไปวัด รักษาศีล ถึงเปนพุทธ นั่นแหละไม่ใช่พุทธ"
"และไอ้การยึดติดว่า ต้องไปวัด รักษาศีล ถึงเปนพุทธ นั่นแหละไม่ใช่พุทธ" "จะยึดติดอะไรก็เปนเรื่องคำสอนของศาสนาเขา การยึดติดก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพียงแต่มันไม่ใช่หลักของศาสนาพุทธ"
สองประโยคนี้ไม่มีตรงไหนที่ขัดกันครับ คำว่าไม่ใช่พุทธ ก็หมายถึงไม่ใช่หลักของศาสนาพุทธ ประโยคสองแค่ขยายความประโยคแรกครับ การยึดติดไม่ใช่ศาสนาพุทธ ไม่ใช่คำสอน ไม่ใช่หลักธรรม แต่ศาสนาพุทธไม่เคยห้าม แค่บอกว่ายึดติดแล้วมันไม่ดียังไง ก็รับผลกันไปเอง
ผมอาจจะพูดย่อแล้วไม่เคลียร์เองต้องขอโทษด้วยครับ
คำว่า พุทธ กับคำว่า หลัก คำสอนของพุทธ มันต่างกันนะครับทำให้คนอื่นตีความไปคนละความหมายเวลาพูดอะไรช่วยอธิบายให้ชัด
ถ้าไม่ใช่หลักคำสอน แล้วอะไรที่เปนตัวตัดสินว่าเปนพุทธหรือไม่ใช่พุทธครับ?
เอาตามหลักวิชาการนะครับถ้าไม่รู้จริงๆว่าพุทธคืออะไร พุทธหรือศาสนาพุทธหรือพุทธศาสนาคือ ศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดามี "พระธรรมเป็นหลักคำสอน" เพราะฉนั้นหลัก
คำสอนคือพระธรรม พุทธคือศาสนาพุทธ
+1 ศาสนาพุทธยังประกอบด้วยพุทธบริษัท ซึ่งได้แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา การไปจำกัดว่าอย่างโน้นใช่พุทธ อย่างนี้ไม่ใช่สามารถทำได้ แต่ถูกต้องตามนั้นไหมเป็นอีกเรื่องครับ ซึ่งผมไม่ได้ถือสาอะไรกับคนตอบเรื่องนี้นักเพราะมักจะโต้แย้งหรือไม่เห็นด้วยเป็นประจำ บอกได้เพียงว่าเป็นอคติส่วนตัวครับ
+100 "บอกได้เพียงว่าเป็นอคติส่วนตัวครับ"
แล้วอีกอย่าง Thana ก็พูดออกมาปาวๆว่าคนที่ยึดติดว่าต้องอย่างนั้นอย่างนี้คือพุทธ แบบนี้ไม่ใช้พุทธใช้ความรู้สึกส่วนตัวสัดสินคนอื่นไปซะแล้วว่าไม่ใช้พุทธแล้วก็มาแก้ตัวแถไปเรื่อย
แล้วคุณรู้หรือไม่ครับว่า คำว่า พุทธ แปลว่าอะไร หรือท่องอยู่แค่ว่า พุทธ แปลว่าศาสนาพุทธ
ผมอธิบายไว้แล้วคุณอ่านหรือเปล่าครับหรือมองไม่เห็น แล้วคำว่าพุทธของคุณคืออะไรหล่ะครับผมอยากรู้อยากเปิดโลกให้กว้าง
พุทธ แปลว่า ตื่น ครับ ผมเห็นคุณออกตัวแรงเสมอนึกว่าเรื่องง่ายๆแค่นี้ก็คงรู้อยู่นะ
การเปนพุทธ คือการตื่นจากความงมงาย ตื่นจากความเชื่อ ตื่นจากการยึดติด การเปนพุทธ หรือไม่ใช่พุทธ เปนการกระทำในแต่ละเรื่อง ไม่ใช่พูดถึงตัวบุคคล คนเปนชาวพุทธ อาจกระทำการในสิ่งที่ไม่ใช่พุทธ ผมถึงได้พูดว่า "การยึดติดว่า ต้องเข้าวัด ฟังธรรม ถึงจะเปนพุทธ นั่นแหละที่ไม่ใช่พุทธ" แต่ไม่ได้พูดว่า "คนที่คิดแบบนี้ ไม่ได้เปนชาวพุทธ"
แสดงว่าคุณยังมองไม่เห็นคำตอบของผมว่าพุทธคืออะไร เพราะผมไม่ได้ถามว่าพุทธแปลว่าอะไร "แปลว่า" กับ "คือ" มันไม่เหมือนกัน
ไม่คิดบ้างหรือครับว่าคำๆนึงที่มีความหมาย ถึงจะถูกตั้งเปนชื่อ แต่ความหมายของมัน ผู้ที่ตั้งมัน ก็ต้องการให้มันหมายถึงอย่างนั้นจริงๆ
ไม่อย่างนั้นมันก็คือการบิดเบือน/ลดทอน ความหมาย ที่เปนเรื่องสำคัญ คงเพราะมีคนคิดอย่างคุณล่ะมั้งถึงได้มีพระปั๊มจตุคาม และวัดธรรมกาย แล้วก็อ้างตัวเปนพุทธ
เอ แล้วผมไปบิดเบือนความหมายหรือลดทอนตรงไหนครับอย่าบิดเบือนครับเอาหลักฐานมาให้ดูหน่อยละกัน พุทธแล้วผมคิดแบบไหนครับท่ี่ว่า แล้วจตุคามฯเกี่ยวอะไรกับผม คุณนี่ชอบยัดเยียดความคิดของตัวเองให้คนอื่นจริงๆและก็ไม่เคยตอบคำถามผม สิ่งที่คุณทำคือหาเหตุผลของคุณมาหักล้างความเห็นของคนอื่นเพื่อให้ตัวเองดูดีมีหลักการเพื่อให้ชนะแล้วให้คนอื่นดูด้อยกว่าตัวเองรู้น้อยกว่าตัวเอง(ผมยัดเยียดความคิดของผมให้คุณ) อย่าเพิ่งแถนะครับตอบคำถามผมก่อน
อ่านดีๆครับอย่าพึ่งร้อนท้อง
เวลาคุยกันบางทีคนเราก็ต้องมียกตัวอย่าง Sample Case หรืออุปมาอุปมัย มาชี้ให้เห็นว่าประเด็นที่ยกมามันดีหรือไม่ดีอย่างไร ไม่ได้จำเปนว่าจะต้องหมายถึงคู่กรณีโดยตรงแต่มันก็ต้องมีการยกอะไรมาเปรียบเทียบกันบ้าง
และใช่ครับ ผมก็หาเหตุผลมาหักล้างว่าเหตุผลของคุณมันไม่ดีอย่างไร ผมทำเพื่อให้รู้ความเห็นของตัวเองถูกหรือผิด ถ้าคุณให้เหตุผลที่ดีกว่าผมจะได้รู้ว่าผมผิด แต่ถ้าคุณไม่โต้เถียงด้วยเหตุผล เอาแต่บ่นว่าอีกฝ่ายแถ ผมก็อยากจะพูดว่าใครแถกันแน่
ถ้าเถียงไม่ได้ก็น่าจะยอมรับความจริง หรือถ้ายังมีเหตุผลตัวเองถูกก็น่าจะหาทางอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ ผมก็มีวิธีของผมที่พยายามยกตัวอย่างประกอบ ผมตอบคำถามของคุณมาตลอด เพียงแต่ว่าวิธีการตอบของผมอาจจะดูด้อยการศึกษาเกินไป ทำให้คุณที่เลิศล้ำสูงส่งประเสริฐศรีเข้าใจไม่ได้
แต่ถ้าคุณคิดว่าตัวเองเก่งนัก ก็น่าจะหาทางทำความเข้าใจคนที่ด้อยกว่าบ้างนะครับ
เห็นด้วยกับพี่ lew ครับ
เราต้องรู้จัก "แยกแยะ" ที่จะยกย่อง "ความดี" ไม่ใช่ยกย่องที่ "คนดี"
เรื่องเสื่อมผมมองว่า มีสิ่งอื่นปนลงไปในความเชื่อของชาวไทยพุทธจนหลงคิด หรือชินกันไปหมดแล้วว่านั่นเป็นพุทธ
ในอีกแง่มันก็เป็นไปตามธรรมชาติตามกาลเวลาจะต้านไว้ รั้งไว้ก็ไม่ได้ เป็นเช่นนั้นเอง
ผมยังไม่ถือว่าเป็นคำตอบนะครับ ถ้าเอาตามโจทย์แค่คนที่คุณคิดว่าเป็น คนเก่ง กับ คนดี ผมแค่อยากรู้ว่าคุณจะเลือกยกย่องใคร??? (แต่การจะตอบหรือไม่ก็เป็นสิทธิเช่นกัน)
จากใจจริง ถ้าเทียบกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ผมว่า บ้านเราคงไม่ใช่พุทธ หรือ ถ้าใช่ ก็คงเป็นพุทธที่เปลือกหนาน่าดู (ต้องแกะกันอีกเยอะเลยกว่าจะถึงแก่น);P (ปล. สำหรับผมไม่แน่ใจว่าคนดีวัดจากอะไร สายตาคนอื่น สายตาตนเอง ถ้าในเต๋าของผมคนดีคงไม่มี (เพราะเรามองทุกๆอย่างมีสองด้านเสมอ ทุกอย่างเลยดูเป็นเทาๆสำหรับพวกเรา) ถ้าจะให้ยกย่อง ผมมองว่า จะเป็นคนดีหรือคนเก่งก็ได้ ขอให้ทำประโยชน์มากน้อยและเบียดเบียนผู้อื่นน้อยหน่อย เขาจะเป็นคนไม่ดีก็ได้ เป็นคนดีก็ได้ เป็นคนเก่งก็ได้ ไม่เก่งก็ได้ (เกร็ด:เต๋าไม่ซีเรียจเรื่องความเก่ง เก่งเรื่องเดียวเต๋าก็มองว่าเก่งแ้ล้ว ขอให้นำด้านที่ชำนาญไปใช้ประโยชน์กับตนได้ก็พอ) แต่ถ้าทำประโยชน์ มีชีวิตที่ควรค่าแก่การยกย่อง ก็ควรแก่การยกย่องแล้ว (ต้องบอกก่อนว่าผมเป็นเต๋า วิธีคิดอาจจะต่างจากพุทธมากไปหน่อย ชี้แนะได้นะครับ แชร์ได้นะ ^^") ปล. ในจีนมีคำสอนว่า คนดีแต่หากโง่ ถ้ามีอำนาจ ให้รีบกำจัดก่อนเลย ด้วยนะ) แชร์เฉยๆนะครับ ^^
คนดีครับ
ถ้ายกในกรณีเซเลบ ถ้าเป็นจริงตามที่คนอื่นกล่าวหา
ก็คงเพราะเก่ง แล้วใช้ความเก่งจนมีชื่อเสียง แล้วเอาชื่อเสียงไปหลอกคนอื่นนี่ ยังนึกไม่ออกว่าจะไปยกย่องคนแบบนี้ได้ยังไงนะ
kurtumm
บางคนคงถือว่าความเก่งที่ทำประโยชน์ ให้ก่อนหน้านี้ นั้นนำมาลดหย่อนเรื่องแบบนี้ได้มั๊ง เพราะ เคยได้ยินกลุ่มที่ชอบบอกว่า "เป็นคนส่วนใหญ่ ของประเทศ" ชอบถกตามกระทู้ที่อื่น ว่าโกงและทำงาน ไม่ถือไง ผลสำรวจก็มี
ตลกดี
Ton-Or
คนไหนทำตัวมีประโยชน์มากกว่าผมก็ยกย่องคนนั้นมากกว่า ถ้าจะให้เลือกระหว่างตัวเลือกสองข้อที่มี ผมไม่ยกย่องทั้งคู่ ผมมีคนใกล้ชิดจนพอที่จะบอกได้ว่าดีหรือไม่ดีไม่กี่คน ส่วนคนที่เหลือผมตัดสินไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถตัดสิน ดังนั้นผมจึงเลือกยกย่องคนดีไม่ได้ ส่วนคนเก่งแต่ไม่ได้เอาความเก่งไปทำประโยชน์ให้คนอื่นหรือความเก่งไม่มีประโยชน์ก็มีเยอะแยะ ดังนั้นจึงไม่สมเหตุสมผลที่จะมองที่ความเก่งแต่เพียงอย่างเดียว
คิดง่ายๆไปกว่านั้นก็ได้ครับ หากมีเหตุการณ์ที่คุณต้องเลือกเพียง choice เดียว ถึงตัวเลือกนั้นๆจะไม่ตรงกับความคิดของคุณจริงๆ แต่คุณก็จำต้องเลือก เช่น คุณท้องเสียอยากจะถ่ายทุกข์มากๆจนทนไม่ไหว แล้วในห้องน้ำสาธารณะนั้นมีห้องให้เลือกเข้าอยู่ 2 ห้อง ผมเชื่อว่าคนส่วนมากไม่ได้อยากเข้าห้องน้ำสาธารณะเท่าไหร่หรอก แต่เมื่อเกิดเหตุเราก็จำเป็นต้องเลือกเข้า ผมอยากแค่จะถามว่าคุณจะเปิดประตูห้องน้ำบานที่เขียนว่า คนดี หรือ คนเก่ง แต่ถ้าคุณคิดว่ามันสกปรกทั้ง 2 ห้องจึงไม่เข้า ยอมปล่อยให้เรี่ยราดหน้าห้องน้ำก็เป็นสิทธิของคุณ
ผมว่าคุณกำลังสับสนอะไรบางอย่างนะ ขึ้นต้นว่าขอเหตุผล แต่บังคับคำตอบ ให้เปรียบเทียบ แต่ไม่ให้เลือกว่าเท่ากัน มันเหมือนข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ถามว่า วันแม่ต้องใช้ผ้าปูโต๊ะสีอะไร และอีกหลายๆ สิ่งในเมืองไทย ในความเห็นแรกคุณบอกว่าสังคมเอาแต่เรียกร้องหาคนดี แต่คุณก็ให้ให้เลือกได้แค่สองอย่าง คนดี กับ คนเก่ง แล้วก็มองข้ามมุมมองอื่นๆ ไปหมด ซึ่งจากการออกความเห็นของคุณ เหมือนคุณมีสมมติฐานอยู่สองแบบ คือ
แต่คุณทำสมมติฐานหายไปข้อหนึ่งว่า การเลือกคนเก่งหรือคนดีก็ให้ผลไม่แตกต่างกัน แล้วยังไม่นับว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ที่ไม่สามารถยืนยันสมมติฐานอันไหนได้เลย
ถ้าเอาตามตัวอย่างเรื่องห้องน้ำ ผมก็เลือกห้องที่มันดูสะอาดกว่า ถ้ามันเท่าๆ กัน ผมก็เข้าห้องที่ผมดูทีหลัง เพราะอยู่หน้าห้องนั้นอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเอามาจับกับคำถามก็ไม่เข้าประเด็นอยู่ดี ที่คุณเขียนเองยังขัดกันเองเลย คุณถามว่าจะเข้าห้องที่เขียนว่าอะไร สุดท้ายกลับบอกพูดถึงความสกปรก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับป้ายที่เขียนไว้
ผมไม่ขอต่อประเด็นแล้วนะครับ ถ้ายังบังคับให้เลือกอยู่แบบนี้ พูดไปก็ไม่เกิดประโยชน์
ขออธิบายตามนี้
ผมแค่ถามง่ายๆว่ามีแค่ 2 choice แล้วคุณต้องเลือกโดยมีข้อมูลให้จำกัดแค่ คนดี คนเก่ง คุณจะเลือกข้อไหน???
ผมสมมติเรื่องห้องน้ำ เป็นบริบทเปรียบเทียบว่าในชีวิตจริง ถ้ามีทางเลือกจำกัด และจำเป็นต้องเลือก
มันไม่ใช่ข้อสอบ ที่ต้องบังคับให้ตอบ สิทธิในการตอบหรือไม่ เห็นด้วยหรือไม่ก็ยังเป็นของคุณ
คำถามนี้คล้ายคำถามที่ว่า คุณจะเลือกเมียสวยหรือเมียนิสัยดี
คล้ายกันตรงที่สามารถหักมุมตอนท้ายได้อิอิ
คล้ายกันครับแต่การเลือกเมียมีทางเลือกมากกว่านั้น โดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมา
เลือกเมียสวย (นิสัยอาจจะดี หรือไม่ดีก็ได้ในอนาคต???)
เลือกเมียนิสัยดี (อาจจะสวยได้ในอนาคต???)
ไม่เลือกเลยทั้งคู่ (คนครหาว่าเป็นเกย์)
เลือกทั้งคู่ โดยเปิดเผย (รวยล้นฟ้า หรือมีสังคมความเชื่อให้การยอมรับ)
เลือกทั้งคู่ โดยไม่เปิดเผย (เสี่ยงตาย:P)
เคยถามผู้หญิงว่าถ้ารู้ว่าสามีเป็นเกย์ กับสามีมีชู้เลือกอะไร
ส่วนใหญ่เลือกอันหลังนะครับ เพราะรับไม่ค่อยได้ว่าเป็นสามีเรา แล้วไปเป็นเมียคนอื่น :P
ปล. สมมติ นะครับ ถ้าชีวิตจริงๆ ผลอาจจะเท่ากัน ตายทั้งคู่
โชคร้ายสุดๆเลยก็คือ ได้สามีเป็นเกย์ที่เจ้าชู้
เป็นเกย์ = สามีมีชู้กับผู้ชาย
สามีเราอาจจะไม่ได้เป็นเมียก็ได้ครับ :)
ผมจำไม่ได้ใครพูดเอาไว้ ว่าเรื่องเมีย
"เขาจะเลือกเมียที่ฉลาดพูด วาจาเพราะหน้าตาธรรมดา มากกว่าสวยแล้วปากเสีย เตียบ่อกี้เลยโชคดีที่เมีย สวยและฉลาดพูด"
เพราะแก่ไปมันย่นเหมือนกันหมด ที่จะทำให้สุขสบายใจได้ ตอนนั้นคือคำพูด ไม่แน่ใจกระทู้ถกกันเรื่องอะไรที่ไหน ผมจับใจความมาได้ราวๆ นี้
...
ถูกต้องที่สุดครับหุหุ
ผมมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ภายนอก สามารถเปลี่ยนได้ง่ายกว่าสิ่งที่อยู่ภายใน
ถูกใจให้ +1 คร๊าบ ขอยืมประโยคไปเล่นมั่ง
ขออภัย post ผิดครับ
ถ้าคนๆนึงเป็นได้แค่ ดี หรือ เก่ง ผมว่าคงได้แค่ชื่นชมครับ ชื่นชมในสิ่งที่เขาดี ชื่นชมในสิ่งที่เขาเก่ง
แต่ถ้าถึงกับยกย่องเลย สำหรับผมคงยกย่องแต่คนที่ทั้งเก่งและดีครับ
ถ้าเป็นนักการเมือง คนดีมักจะไม่มีอำนาจถึงแม้จะมีตำแหน่งสูง ควบคุมใครไม่ได้ เหมือนกับถูกพวกสัมภเวสีหลอกใช้เพื่อสร้างภาพ แต่ถึงอย่างไรก็ยังสนับสนุนให้คนดีได้บริหารประเทศเยอะๆ ถ้าคนดีเยอะก็จะมีเสียงในการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น
นึกถึงพระบรมราโชวาท
"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"
พระบรมราโชวาทนี่แหละครับ คือคำตอบของหัวข้อนี้
นี่คือคำตอบครับ แต่ปัจจุบันมันตรงกันข้ามที่คนไม่ดีได้ปกครองบ้านเมืองควบคุมคนดีไม่ให้มีอำนาจและมีคนบางส่วนยังสนับสนุนคนไม่ดีปกครองบ้านเมือง(โกงแต่บริหารเงินเข้าประเทศได้เพื่อนำไปเข้ากระเป๋าตัวเองต่อ)
ถูกต้องครับ ใครที่โกง ที่ดินสปก. ใครโดนฟ้องเรื่องที่ภูเก็ตและก็แพ้คดีไปเรียบร้อย ปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้างครับ ยังชูคอในรัฐสภาอยู่เลย
ผมได้ข้อสรุปแล้วว่า
จะเปนคนดีหรือคนเก่งก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความน่ายกย่องครับ การเปนคนดีหรือคนเก่งมันเปนคุณค่าที่ไม่จำเปนต้องยกย่อง เปนแค่แนวโน้มมีความน่าจะเปน
เห็นมีคำถามว่า มีห้องน้ำสองห้อง ห้องนึงสกปรก ห้องนึงสะอาด ผมจะเลือกเข้าห้องน้ำที่ผมใช้ได้ ถ้าเปนห้องน้ำมันก็ต้องเข้าไปดูในห้องน้ำว่ามันใช้ได้จริงรึเปล่าก่อน จ่อให้สะอาด แต่ไม่มีทิชชู่ ไม่มีสายฉีด หรือแปะป้ายชำรุดทุกห้อง ก็คงไม่ใช้
คนบางคนอาจจะเปนคนดีมาก คนบางคนอาจจะเปนคนเก่งมาก แต่ถ้าการกระทำของเขาไม่ได้เคยมีอะไรที่ส่งผลกระทบอะไรกับใครเลย เขาก็ไม่ใช่คนที่น่ายกย่อง อันนี้อาจจะออกแนวผลนิยม แต่ความเปนจริงคือความน่ายกย่อง จะเกิดก็ต่อเมื่อคนอื่นๆได้รับผลประโยชน์ คนบางคนอาจจะไม่ได้เก่ง และไม่ใช่คนดีเด่อะไรด้วย แต่เขาอาจจะพยายามทำอะไรบางอย่างซ้ำๆ จนกระทั่งได้ผลสำเร็จที่เปนประโยชน์แก่คนอื่นอย่างมาก เช่น หลอดไฟ ผมไม่คิดว่าเปนเพราะเอดิสันเก่งถึงทำหลอดไฟได้ ตัวทฤษฎีก็มีอยู่แล้ว แต่เพราะเขาพยายามยอมไม่ล้มเลิก ทั้งๆที่ล้มเหลวไปก่อนมากมาย ที่เขาทำอาจจะไม่ใช่เพราะเขาเปนคนดี แต่เขาอยากประสบความสำเร็จ อยากมีคนมายกย่องเขา ก็ได้ ทั้งที่เขาอาจจะทั้งไม่เก่งและไม่ดี เขาก็คือคนที่น่ายกย่อง
ขอตอบแบบไม่คิดมากคับ ฮ่าๆ
ผมเลือกคนดีละกัน
เพราะผมคิดว่า ถ้าคนดีคนนั้นเขาไม่เก่ง ก็ยังพอมีโอกาสให้เขาศึกษา เรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ซึ่งจะทำให้เขาอาจจะเก่งขึ้นมาได้
ถ้า้เป็นคนเก่งแต่บังเอิญว่าเขาไม่ใช่คนดี ผมยังไม่แน่ใจว่าการจะทำให้เขากลับมาเป็นคนดี มันจะง่ายกว่าการทำให้คนที่ไม่เก่งกลับมาเป็นคนเก่งรึปล่าว
ยิ่งตอนนี้เรามักมองว่า
คนดี = คนที่ทำถูกใจเรา
ซะด้วยสิ
คนดี แต่ทำอะไรไม่เป็นเลย คนเก่ง แต่ไม่เคยทำอะไรให้สังคมเลย มันต่างกันตรงไหนครับ
คนดี มีลูกน้องเก่ง งานราบรื่น คนดี มีลูกน้องโง่ งานเดินช้า หรืออาจมีข้อบกพร่อง คนดี มีลูกน้องโกง งานไม่เดิน เพราะต้องคอยตรวจเช็คกันตลอด
คนเก่ง มีลูกน้องเก่ง งานราบรื่น ไปได้ไว แต่ก็มีโอกาสหาช่องทางแบบคนฉลาดคิด คือ ทั้งโกงแบบเนียนๆ หรืองานเดินแบบก้าวกระโดด คนเก่ง มีลูกน้องโง่ งานเดินได้ ลูกน้องเป็นแพะบ่อยๆ หรือทำผิดพลาดให้จับได้เสมอๆ หรืองานเดินช้า ต้องตามกันบ่อยๆ คนเก่ง มีลูกน้องโกง ถ้าเก่ง+โกง ก็ฉิบหายกันหมดละครับ แต่ถ้าคิดว่าโกงน้อยกว่าที่ทำให้ประเทศพัฒนา อันนี้ก็แล้วแต่คนครับ
คนดี ทำเงินให้ประเทศ 1,000 ล้าน ไม่มีโกงกิน ประเทศสงบสุข คนเก่งแต่โกง ทำเงินให้ประเทศ 10,000 ล้าน โกง 1,000 ล้าน ก็เพิ่มมา 9 เท่า แต่สร้างปัญหาในสังคมโดยรวม เพราะทุกคนที่เสียผลประโยชน์ให้กับคนเก่ง+โกง "ต้องมี" ดังนั้นก็เตะขัดขากันเหมือนตอนนี้ละครับ ไม่ไปไหนสักที
เห็นภาพเลย
+1000 เลย
คนดีก็อาจจะไปทำให้คนโกงเสียผลประโยชน์ได้เหมือนกันนะครับ แล้วก็อาจจะโดนสกัดดาวรุ่ง เป็นความจริงอันน่าเศร้า
ตอนนี้มันน่าจะเรียกว่า คนไม่ดี + โกงนะ คนดีย่อมมีสัจจะพูดคำไหนคำนั้น ไม่ปลิ้นปล้อนสับปรับ พื้นฐานเริ่มต้นของการเป็นคนดี
คนเก่งไม่จำเป็นต้องโกงครับ
ดี นี่ น่าจะมีหลายระดับนะ เก่ง นี่ ก็น่าจะมีหลายระดับเช่นกัน
พระโคตมพุทธเจ้าก็ยังแบ่งจำพวกของคนตามความสามารถในการเรียนรู้ เปรียบได้กับบัว 3 เหล่าเลย
คนดีมันวัดเป็นสเกลหรือตัวเลขได้เปล่า ?? นิยามคำว่าคนดีแต่ละคนหละ ?? อะไรเป็นเกณฑ์ชี้วัด ?? เขาเป็นคนดีจริงๆหรือเราโดน propaganda จนเข้าใจว่าเขาเป็นคนดีกันแน่ ?? ถ้ามีคนหนึ่งเคยช่วยเหลือชีวิตผู้คนมาแล้วร้อยกว่าชีวิตแต่มายำteenเราเพียงเพราะดันไปแซงคิวเขา เขาเป็นคนดีหรือเปล่า ?
เชื่อผมเถอะ ถามคำถามนี้ร้อยคนตอบกันไม่เหมือนแน่นอน แค่นิยามของคำว่า"คนดี"แต่ละคนยังไม่เหมือนกันเลยแล้วจะให้ฟันธงได้อย่างไรว่าจะยกย่องใครว่าเป็นคนดีส่วนคนเก่งก็ทำนองเดียวกับที่เล่าข้างบนอ่าครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
คนดี นับ จากศีลธรรมครับ คนเก่ง นับ จากศักยภาพในการทำงาน
คำว่าดี ในที่นี้คือการ คิดดี ทำดี ถึงทำไม่เป็นแต่คิดดี ก็ยังเป็นคนดีครับ ต้องมีการกระทำด้วยไม่ว่าจะทำได้ หรือไม่ได้ แต่ถ้าคิดดี ก็ถือว่าเป็นคนดี
คนเก่ง ในที่นี่คือการ วัดจากคุณภาพของงานเมื่อเทียบต่อหน่วยเวลา คือ คนไม่เก่งแต่ทำงานตลอดเวลา งานเสร็จเหมือนกับคนเก่ง แต่ใช้เวลามากกว่า
+1 คำถามง่ายๆ ในเรื่องง่ายๆ ต้องมีคนมาอธิบายเหอๆ ตอบอะไรกันไม่รู้อ้อมโลกอยู่ได้
แล้วศีลธรรมที่ว่า มันคือศีลธรรมของศาสนาไหนหรือครับ? อยากจะพูดด้วยซ้ำว่า ศีลธรรมที่ว่า มันคือศีลธรรมของใคร?
มีหุ่นยนต์อยู่ตัวหนึ่ง วันหนึ่งสามารถทำงานติดต่อกับมนุษย์ได้วันละ ๑๐ คน โดยจะทำดีกับ ๕ คน และจะทำร้ายอีก ๕ คน ถามว่า จะโปรแกรมให้หุ่นยนต์เป็นหุ่นยนต์ดีก่อน คือเลิกทำร้ายมนุษย์ หรือ จะโปรแกรมห้เป็นหุ่นยนต์เก่ง คือเพิ่มความสามารถเป็นวันละ ๑๐๐ คน โดยทำดีกับ ๕๐ คนและทำร้ายอีก ๕๐ คน
เลิกทำร้ายก่อนสิ
ลองปล่อยหุ่นตัวที่ว่าไปเดินสยามแล้วบอก เป็นของ บ. ท่านดิ
ไม่ก็ส่งมันรับใช้ คนในบ้านท่าน 10 คนก็ได้ จะเลือกเอามาใช้หรือแก้ให้มันเสร็จก่อนหล่ะ
คำถามง่ายๆ ต้องคิด?
ความเก่ง หมายความว่า ต้องมีคุณภาพด้วยครับ นั่นหมายถึง ความผิดพลาดต้องลดลง
ความเก่งอาจเปรียบได้กับความเชี่ยวชาญ คนเป่าแก้วเป็นรูปหงส์ ถ้าเป็นคนเก่งใช้เวลา 3 นาที คนไม่เก่งใช้เวลา 20 นาที แต่ไม่ว่าอย่างไร คุณภาพที่ออกมาผมว่ามันต้องมีต่างกันแน่นอน เช่น คนเก่งเป่าแก้วจะไม่มีฟองอากาศเลย ส่วนคนไม่เก่งอาจมีข้อผิดพลาดในตรงนี้บ้าง
คนดีเอาไว้ข้างบน คนเก่งเอาไว้ข้างล่าง
ตรงที่มีแสง
ไม่ตอบคำถาม แต่ขอวิเคราะห์คำถาม
คำถามที่ตั้งมา ถ้าไม่มีเงื่อนไขว่า เลือกไปทำอะไร แสดงว่า ต้องการคำตอบแบบ ครอบจักรวาล ก็ต้องตอบว่า คนดีครับ เพราะความดีถือเป็นคุณค่าสูงสุดในความเป็นมนุษย์ ใครตอบว่า ความเก่ง ถือว่าตอบผิด
แต่ที่หลายๆ คนพยายามตอบ ก็คือจะใส่เงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ เข้าไปด้วย (ดีแต่โง่ เก่งแต่โกง ฯลฯ) ทำให้คำตอบของทุกคนที่ตอบแบบมีเงื่อนไข (ที่ตั้งเอง) ก็ถือว่าถูก เพราะเงื่อนไขที่ยกมา ก็เพื่อตีกรอบสภาพแวดล้อมให้คำตอบ (ของตัวเอง) มันถูกนั่นเอง
แนวผมนะ
ลองจับคู่ก่อน ไหนๆก็เอาไปจับคู่กัน
ดี และ ไม่เก่ง อันนี้ โอเค
ดี และ เก่ง. อันนี้ โอเคมาก
เก่ง และ ไม่ดี. ไม่โอเค
สรุป เลือกที่ดีไว้ก่อน มีแนวโน้มจะ โอเคมากสุด
+100 แต่หาคนดีที่หลงเหลือยาก เพราะส่วนใหญ่เจอสังคมบีบบังคับให้ต้องเปลี่ยนไป เรียกว่า มีน้ำดี 1 CC เทลงไปในน้ำเสีย 500 cc. ยังไง น้ำดีก็ต้องโดนน้ำเสียกลืนกิน
ไม่มีใครดีทุกเรื่อง ไม่มีใครเก่งทุกอย่างครับ เรื่องนี้จบยาก
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่ เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย; จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง ฯ
ยกย่องคนดีในความดี ยกย่องคนเก่งในความเก่ง
เลือกคนเก่งครับ ขอแค่ให้เค้าอยู่ข้างเดียวกับเราก็พอ ต่อให้ดีล้นฟ้า ถ้าทำประโยชน์ให้แต่พวกตน โดยไม่ มองส่วนรวม ก็ขออัญเชิญไปไกลๆ ครับ เลือกคน ที่ทำประโยชน์ต่อคนได้ทั่วถึง ดีกว่าทำประโยชน์ ให้แก่พวกตน อย่างคนบางกลุ่ม ที่เห็นกันใน ปัจจุบันครับ
ความเก่งน่ะวัดหรือเปรียบเทียบได้ แต่ความดีน่ะ เราจะใช้อะไรไปวัด มันไม่ใช่เรื่องของเหตุผล แล้ว มันเป็นเรื่องของคติ กับอคติ ถ้าจะดูจาก แค่คำว่าความดีอ่ะครับ
เลือกคนดี ที่เก่ง ไม่เลือกคนเก่ง ที่ไม่ดี
เหตุผล ความเก่งมากจาก การผึกฝนความรู้ความสามารถ จากประสบการ์ณ ผึกผนได้ ถ้ามีความตั้งใจ แต่ความเป็นคนดี คือคนที่ ยอมรับความคิดเห็นคนอื่น มีจิตสาธารณะ เสียสละ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และ ส่วนร่วม ไม่เห็นแต่ประโยชน์ตัวเอง ไม่สนใจว่าผลกระทบไปสู่คนอื่นจะเป็นยังไง เรื่องแบบนี้ ผึกยังไงก็ไม่ได้ เป็นเรืองของ สันดาน(หมายความว่า ธรรมชาติของคน)ที่ไม่ดี มัน ดัด ยาก ยิ่งแก่ ยิ่งไม่ต้องไม่หวังเลย
สังคมไทยจะน่าอยู่กว่านี้ ถ้าเปิดใจกว้างยอมรับความเห็นของคนอื่น ให้โอกาศคนอื่นเหมือนให้โอกาศตัวเอง และ รักษากฏกติกามารยาท ให้มีความศักดิ์สิทธิ ไม่ฉลาดแกมโกง หาช่องว่างเอาประโยชน์ใส่ตัว
ยกย่องคนดีครับ
ถ้าคนดีไปทำสิ่งที่ไม่ดีกับสังคม ก็เกิดจากความที่เขารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเขาก็จะสำนึกได้ และไม่ทำอีก
หรือถ้าคนดีที่โง่มาก ๆ ทำผิดเสียหายกับสังคมซ้ำซาก เขาก็จะรู้สึกได้เองว่าตนไม่ควรมีชีวิตอยู่ แล้วก็จะฆ่าตัวตายไปเอง ไม่เป็นปัญหาของสังคมต่อไป :P
โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าโลกนี้มีคนดีขาวสะอาดผุดผ่องอยู่หรอกครับ ถ้ามีจริงคนๆนั้นคงไม่เคยทำอะไรสลักสำคัญในชีวิตเลยสักอย่าง
พิจารณาเป็นบุคคลไปครับ มันตั้งเป็นขอเท็จจริงไม่ได้หรอก
เลือก คนดี ที่ขยัน ครับ
กบเลือกนาย
ส่วนตัวคิดว่าคนเราจะมีส่วนที่ดีและไม่ดี มีส่วนที่เก่งและไม่เก่ง
บางคนอาจจะเป็นคนดีสำหรับคนๆนึง แต่ก็อาจจะเป็นไม่ดีสำหรับคนอื่นก็ได้ แล้วก็เก่งในเรื่องนี้แต่ไม่เก่งในเรื่องอื่นก็ได้
แต่ถ้าพูดมาแบบนี้แล้วก็ผมก็คงจะเลือกคนที่ดีครับ เพราะว่าถ้าคนทั้งโลกมีแต่คนดี ผมว่าไม่จำเป็นเลยที่ต้องพัฒนาอะไรเลย ไม่ต้องการเทคโนโลยีที่ลำสมัยจากคนเก่ง
แต่ถ้าทั้งโลกมีแต่คนเก่ง โลกนี้ก็อาจจะลำสมัยไปเยอะกว่านี้ มีแต่การชิงดีชิงเด่นกัน อยู่ไม่สงบ...
ปล.ผมอาจจะเข้าใจคำว่า "ดี" กับ "เก่ง" ผิดไป
もういい
โดยส่วนตัวผมชื่นชมคนดีครับและคิดว่าคนดีไม่จำเป็นต้องเก่งก็ได้ หากคนเราคิดดีทำดีแล้ว ผมเชื่ออย่างสนิทใจว่าสิ่งดีๆย่อมตามมาแน่นอน
สนับสนุนความคิดท่าน atjr ครับ
ทุกวันนี้ ที่บ้านเมืองเราเป็นแบบนี้ ไม่ใช่ว่าเพราะคนไม่ดีหรอกเหรอครับ? คนเก่งบ้านเมืองเรามีอยู่หลายคนครับ แต่คนที่เก่งแล้วเป็นคนดีมีจริยธรรม ศีลธรรม มีอยู่น้อยครับ และนับวันยิ่งหมดไป
คนเก่งแต่ไม่มีจริยธรรม ก็ปล่อยน้ำเสีย ก็ประกอบธุรกิจไปบนความเดือดร้อนของผู้อื่นมีความคิดเห็นแก่ได้ แล้วก็มาทำ CSR เอาหน้ารอด แต่ไม่รู้ว่าเบื้องหลังบ่อนทำลายไปเท่าไหร่แล้ว
แต่คนที่ไม่เก่ง แต่เป็นคนดี ตามทฤษฎีธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature)ของขงจื๊อบอกว่า คนเราโดยธรรมชาติล้วนเป็นคนดีในจิตใจเป็นธรรมชาติอยู่แล้วครับ "ถ้า"ไม่ถูกอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกมาทำลาย เพราะฉะนั้น คนที่ไม่เก่งยังฝึกฝนจนเกิดทักษะ ความชำนาญได้เสมอจึงควรที่จะสนับสนุนคนดี ให้รางวัลคนดีเยอะๆครับ ลงโทษคนเลวอย่างสาสม แต่ความชั่ว มันเป็นเงาที่ตามตัวอยู่เสมอครับ ลบล้างกันไม่ได้หรอก
ผมชอบคนมีคุณธรรมครับ =v=b
คุณน่ะทำ :-)
a link
+1 คนดี ครับ ตาม พระบรมราโชวาท ของในหลวง ครับ
"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี
ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย
จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง
และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ
ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"
ปล.ไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่นนะคับ ตามหัวข้ออย่างเดียว
+1 คนดีจ้า
ถ้าได้ยินเพลงเพราะๆ ผมก็จะบอกว่าชอบเพลงนั้น ไม่เห็นต้องสนใจว่าเพลงนั้นจะภาษาอะไร? ลูกทุ่งหรือฮิพฮ็อพ? คนร้องจะเคยทำอะไรมา? ค่ายเพลงดังหรืออินดี้? คนฟังเยอะหรือน้อย?
ผมรู้สึกว่าเพลงมันเพราะ มันก็บอกความหมายในตัวมันอยู่แล้ว
เห็นว่าดีจริง ผมก็ยกย่อง เห็นว่าเก่งจริง ผมก็ยกย่อง ไม่เคยนับเหมือนกันว่าอย่างไหนมากกว่ากัน
อาจจะตอบไม่ค่อยตรงประเด็นนะ แต่ถ้าจะให้ยกย่องมากที่สุด ผมยกย่องคนที่แยกแยะเรื่องต่างๆได้และมองชีวิตด้วยความเป็นจริงมากกว่า
ไม่มีเงื่อนไข. เลือกคนดีครับ
ปล.ทักเล็กๆครับ คนเก่งจะไม่ทำให้เราเห็นว่าเค้าเป็นคนไม่ดีครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
สำหรับผมเลือก 2) ยกย่องคนเก่ง
เหตุผล
ทุกวันสังคมไทยเอาแต่พร่ำบอกเรียกร้องหาคนดี
แต่ความดีนั้นวัดผลค่อนข้างยาก เช่น หากนาย A ดีกับเรา หรือแค่เห็นผ่านสื่อเราก็ว่าเค้าดี ทั้งๆที่นาย A อาจมีมุมอื่นที่เรามองไม่เห็นทำชั่วมากมาย ซึ่งต่างจากความรู้ความสามารถที่เราสามารถใช้ตัวชี้วัดที่ปราศจากอคติได้หลากหลาย
ยกตัวอย่าง กรณีเซเลบที่เป็นข่าวผมก็ยังยกย่องในความสามารถเค้าไม่เปลี่ยนแปลงครับ แต่ในเรื่องคดีผิดก็ว่ากันไปตามผิด
+1 ตามนี้เลย
ในที่นี้น่าจะไม่ต้องตีความนะ เหมือนทำข้อสอบ คือ ถูกกับผิด ในคำถามมีตัวเลือกคือ
- คนดี (จะดีจริงหรือไม่ไม่ต้องตีความ แค่รู้ว่าดีสุดๆ ก็พอ จะเก่งด้วยหรือไม่ก็ไม่ต้อง)
- คนเก่ง (อันนี้ก็ไม่ต้องตีความเช่นกัน แค่รู้ว่าเก่งก็พอ จะดีหรือไม่ก็ไม่ต้อง)
อ๋องั้นผมขอเลือกคนเก่งครับ
นโยบายหลักผิดพลาดจะนำมาซึ่งความบอบช้ำขององค์กรหรือประเทศในภาพรวมฉะนั้นแล้วคนเก่งที่เห็นแก่ส่วนรวมจึงสำคัญกว่าคนดีที่เห็นแก่ส่วนรวม
ยกตัวอย่างโจโฉในการทำสงครามใช้แต่ความโหดเหี้ยมแต่ยามบริหารบ้านเมืองกลับใช้หลักเมตตาธรรมสร้างนโยบายที่เป็นประโยชน์เพื่อประชาชน เขาจึงมักถูกคนจีนพูดถึงโดยใช้คำพูดที่ว่า "เป็นทรราชในยามศึกสงครามแต่เป็นนักบริหารในยามสงบ"
(ดั่งคำโบราณที่กล่วไว้ว่า "เหตุที่บ้านเมืองย่ำแย่เพราะยามตงฉินมีอำนาจกลับไม่ใช้อำนาจที่มีกดขี่เหล่ากังฉินไว้แล้วเหตุนี่โจโฉควรเป็น ตงฉิน หรือ กังฉิน)
คนดีครับ เพราะถึงจะโง่แต่เป็นคนดีก็ไม่สร้างความเดือนร้อนให้สังคม ถ้าคนฉลาดเป็นคนดีก็จะสร้างประโยชน์ให้สังคม
+1 แต่ถ้าเป็นคนเก่ง แต่ไม่เป็นคนดีก็อาจสร้างผลเสียให้สังคม
ผลเสียคือ ทำประเทศรวยขึ้น ส่วนคนดีแต่ไม่เก่ง กู้แหลกเลยครับ
+1
คนดีครับ เหมือนเำืำพื่อนผม เรียนเก่ง แต่นิสัยไม่ดีเอาซะเลย
ถ้าเป็นแค่คนดี แต่ไม่เก่งเลย คุณแน่นใจได้อย่างไรว่าเค้าจะไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคม
ผู้นำไม่จำเป็นต้องเก่ง ขอให้มีผู้ช่วยเหลือที่มีความสามารถก็พอ ..... อันนี้เป็นความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งผมเห็นด้วย
แต่ทุกวันนี้ผู้ช่วยเหลือมูมมามไปหน่อย
ผู้นำก็ต้องมีความสามารถของผู้นำ ผู้ช่วยก็ต้องมีความสามารถของผู้ช่วย ครับ
ผู้นำที่ดีหรือไม่ดีก็ทำผลประโยชน์หรือทำให้เสียผลประโยชน์ได้เหมือนๆกัน
ผู้นำที่ไม่ดีแต่มีความสามารถก็ยังสามารถสร้างผลประโยชน์แก่คนหมู่มากได้ ถ้าหากว่าทำแล้วตนเองก็ได้รับผลประโยชน์
แต่ผู้นำที่ดี แต่ไร้ความสามารถ อาจไม่ได้ทำประโยชน์อะไรเลย หรือทำให้คนอื่นเสียผลประโยชน์ เพราะไม่มีความสามารถในการเปนผู้นำ ทำให้ตัดสินใจผิด หรือไม่กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูก
ความกล้าไม่ใช่ความดี แต่เปนความสามารถครับ
+1
คนดีที่ทำเรื่องโง่ ๆ หรือ คนฉลาดที่ทำเรื่องชั่ว ๆ
มันก็ทำให้องค์กร (หรือประเทศ) เสียหายได้พอ ๆ กันนั่นแหละ....
Happiness only real when shared.
+1 แต่ดีแล้วต้องมีอำนาจในการควบคุมด้วยนะ ไม่ใช่ใครอยากได้อะไรก็ร้องงอแงแล้วยื่นของให้
--
+1 ผมให้น้ำหนักคนดีครับ อย่าไปคิดว่าจะเอาอะไรมาวัดว่าดีเลย ดีก็คือดี มันไม่เห็นจะต้องดูอะไรให้ลึกหรือวุ่นวายเลยครับ คนดีเองก็ไม่จำเป็นต้องสร้างสรรค์อะไรให้มากด้วย ก็แค่อยู่แบบพอเพียงไปเรื่อยๆ
นี่เป็นตัวอย่างความคิดเห็นเฉพาะของผมนะครับ
จะเลือกใคร
ผมก็ยังตอบว่า 1 อยู่ดีนะ อันนี้เป็นแนวคิดส่วนบุคคลนะครับ
หลายคนอาจจะตอบแบบอัตราก้าวหน้า แบบข้อ 2 ก็ได้
+1
ส่วนตัวผมไม่ประนีประนอมกับคนโกงครับ ไม่ว่าโกงมากหรือน้อย หากตั้งใจโกงผมรังเกียจทั้งนั้น น่าผิดหวังตรงที่สังคมส่วนมากยอมรับการโกงก็ได้ขอให้ทำงาน ซึ่งวงจรอุบาทว์นี้มันจะยิ่งวนไปเรื่อย
เป็นผม ผมเลือกคนดีครับ แต่ต้องดีทั้งกายและใจนะ ไม่ใช่ดีแต่เปลือก
ผมมองว่าการศึกษาบ้านเราสร้างคนเก่งมามากมายเลยครับ แต่ไม่ค่อยได้ปลูกฝังคุณธรรมกันเท่าไร เลยได้เห็นคนเก่งแล้วเห็นแก่ตัว
ถ้ามีตัวเลือกแค่คนดีกับคนเก่ง ผมก็ต้องตอบคนดีละครับ แต่...
สำหรับผมแล้วไม่มีใครดี ใครเลว 100% หรอกครับ
ชาว Blognone คนไหน ที่รักษาศีล 5 ได้ครบหมดทุกข้อบ้างครับ หรือไม่เคยทำผิดกฎจราจร ละเมิดลิขสิทธิ์ ทำผิดกฎหมายบ้าง
แล้วมีใครที่เก่ง ไม่เคยทำงานผิดพลาดบ้าง ก็คงไม่มีอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้นจงเลือกทางสายกลางครับ ที่ไม่ต้องไปคิดว่าคนเราจะเก่งจะดี 100% กันทุกคน
สำหรับผมเลือกคนดีครับแน่นอนว่าคนดีหายาก แต่คนเก่ง(ไม่ดี,เห็นแก่ตัว,ทำเพื่อพวกพ้อง)มีโอกาสสร้างความเดือนร้อนให้เรามากกว่า
ผมยกย่องคนดี ในส่วนที่เค้าดี และยกย่องคนเก่ง ในส่วนที่เค้าเก่ง
ใครเก่ง ใครดีส่วนไหน ก็ยกย่องส่วนนั้น ไม่จำเป็นต้องยกย่องทุกอย่างของเค้าหนิครับ อย่างที่แตกประเด็นมาเรื่อง โอบามายก "สตีฟ จ็อบส์" เป็นตัวอย่างคนอเมริกันที่ประสบความสำเร็จ ชื่อก็ชัดเจนแล้วว่ายกย่องในเรื่องประสบความสำเร็จ ไม่ได้ยกย่องเรื่องความเป็นคนดี
ยกย่องแบบไหนมากกว่ากันเนี่ย เทียบยาก คนละแนว
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ตรงประเด็นครับ คือประเด็นที่ผมยกมา เพียงอยากจะสะท้อนว่าสังคมไทยมีความสามารถในการแยกแยะรึเปล่าระหว่าง ดี กับ เก่ง
จากกระแสของเซเลบที่เป็นข่าว ผมคิดว่ามีหลายคนที่เคย ยกย่อง ในตอนนี้จะติดลบเค้าทุกเรื่องถึงเรื่องที่เป็นข่าวนี้ไม่ได้ไปทำให้ความรู้ความสามารถของเค้า่ลดลง
และในโจทย์ผมสมมติให้คุณเลือก ซึ่งต้องเลือกคนเดียวเท่านั้น ผมอยากรู้คุณจะเลือกใคร????
ถ้าเป็นเรื่องงานผมเลือกคนเก่งครับ ถ้าเลือกมาคบหรือเคารพผมเลือกคนดีครับ
ถ้างั้นต้องถามก่อนว่าเลือกไปทำอะไร ถ้าเลือกแค่ว่ายกย่องใครมากกว่า สำหรับผมไม่ว่าจะเลือกใครก็ไม่ได้มีผลอะไร ถ้าเลือกเหมือนให้รางวัลเฉยๆ ผมคงเลือกคนที่สร้างผลประโยชน์ต่อคนกลุ่มมาก ซึ่งน่าจะเป็นคนเก่งนะ เพราะคนถ้าเป็นคนดี(แต่ไม่เก่งเลย) ถึงจะไม่เบียดเบียนใคร ซื่อตรงอะไรก็ตามไม่ได้มีผลต่อคนอื่นมากนัก แต่ก็คงต้อง balance อยู่ดี ถ้าเก่งมากๆ แต่เลวมากๆ ก็คงยกย่องไม่ลงเหมือนกันครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ผมเลือกคนดีครับ ลำบากแค่ไหนก็ไม่ทำชาวบ้านเดือดร้อนครับ (ยกเว้นพวกหาประโยชน์จากคนดีกลุ่มนี้อีกที)
คนเก่งทำให้สารพัดอย่างไปได้ดี โลกพัฒนาไปเร็วก็จริง แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการพัฒนาโลกและเทคโนโลยีให้ไปเร็วๆ อยู่แล้วเพราะคิดว่าไม่ค่อยจำเป็น (แต่ในบางแง่ บางอย่างก็จำเป็นนะ อีกอย่าง ผมก็อยู่กับสายนี้ด้วยสิ)
ผมยกย่องพระเยซูครับ อ่านจากไบเบิ้ลแล้ว บุคคลคนนี้ทั้งดีและเก่ง...ฟิ้วววว
เป็นเรื่องยากที่จะวัดเพราะความจริงคนดีก็ใช่จะดีครบทุกด้าน เป็นปุถุชน จึงมีทั้งดีและไม่ดีในบางด้านส่วนเก่ง เก่งแล้วมีประโยชน์กับคนบางกลุ่ม คนบางกลุ่มนั้นก็ยกย่อง แต่ความเก่งเดียวกันไปเดือนร้อนกับอีกกลุ่มล่ะ?
ทำให้ผมนึกถึงคำท่าน พุทธทาสในเรื่องคนฉลาดกับคนโง่ (เป็นความหมายที่ใกล้เคียงกัน)จากคลิปนี้ที่ Youtube ครับ
ระวังความฉลาด !
สาธุ
จริงๆเราคงต้องเริ่มพูดจากตรงที่
คำว่า ดี คืออะไร?
หรือเปล่า?
ไม่ต้องถึงขั้นนั้นครับ
เอาแค่ง่ายๆเช่น คนที่คุณคิดว่า เก่ง นะ กับ คนที่คุณคิดว่า ดี นะ
คุณจะเลือกยกย่องใครครับ ???
ยกย่องคนเก่ง
เพราะ choice ไม่ได้กำหนดว่าเก่ง+ดี/ไม่ดี
สำหรับผม
ผมเชื่อว่าเราเชิดชูด้านดีๆ ของคนดีแล้วครับ มันจรรโลงสังคม แต่การไปยึดติดว่าคนๆ หนึ่งดีแล้วต้องดีเสมอ หรือเก่งแล้วต้องเก่งทุกอย่าง ผมมองว่ามันแสดงว่าคำสอนทางพุทธในไทยกำลังเสื่อม
lewcpe.com, @wasonliw
ก็ชัดนะครับว่า "ยึดติด" คำสอนทางพุทธไม่ได้เสื่อมนะ พุทธสอนให้ปล่อยวาง ไม่ยึดติด
ผมหมายถึงเสื่อมไปจากสังคมน่ะครับ ขณะที่เราประกาศกันอยู่ว่าเราเป็นเมืองพุทธ ผมเห็นสังคมเรายึดติดหนักขึ้นเรื่อยๆ อยู่ทุกวัน
lewcpe.com, @wasonliw
บ้านเรานี่ติดอันดับโลกแทบทุกอย่างแล้วครับตอนนี้ไม่ว่าศาสนาไหนก็เอาไม่อยู่แล้ว
คำสอนไม่ได้เสื่อม คนต่างหากครับที่เสื่อม เป็นธรรมดาที่คนดีคนเก่งถูกคาดหวังว่าจะเป็นอย่างนั้นเสมอไป
ผมเข้าใจว่าคนไทยส่วนมาก นับถือศาสนา (ไม่แน่ใจว่าเฉพาะพุทธหรือไม่) แค่เพียงในนามนะครับ มีไว้แค่ในทะเบียนบ้านและเอกสารเท่านั้นเอง
ศาสนาพุทธไม่ได้บังคับให้ศึกษา ต้องถามคนส่วนมากว่าไปวัดครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ รักษาศีลแค่ไหน ของยั่วยุมากครับและยากที่คนธรรมดาจะต้านทานไหว
คนไปวัดรักษาศีลก็ไม่ใช่ว่าเข้าใจศาสนาพุทธครับ
และไอ้การยึดติดว่า ต้องไปวัด รักษาศีล ถึงเปนพุทธ
นั่นแหละไม่ใช่พุทธ
+1 ผมมีประสบการณ์ตรงเลยครับกับคนรอบข้าง ประเภทเข้าวัด ฟังธรรม แต่พฤติกรรมนะอีกอย่าง
เห็นแล้วเศร้า
+1 ผมก็กะจะมาตอบประมาณนี้ มีคนที่เข้าวัด ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมอีกมากมายที่ไม่ได้ทำตามวิถีพุทธสักเท่าไหร่ รวมถึงหลายๆ วัดด้วย
แต่ถ้าการทำเช่นนั้นขัดเกลาจิตใจให้เป็นคนดีได้บ้าง ถือว่าก็ยังดีครับ
ยังงี้เรียกว่าฟังแล้วไม่ปฏิบัติตามหรือเปล่า
คนเข้าวัดเพราะอยากได้บุญก็มี เข้าวัดเพื่อให้ดูดีก็มี เรื่องพวกนี้ไม่จำเป็นต้องเอามาอธิบายครับ ผมหมายถึงการเข้าวัดทำบุญเพื่อลดกิเลสรู้จักให้ ไม่ได้หวังบุญมากมาย การให้ทานนั้นได้บุญน้อยกว่าการรักษาศีล การรักษาศีลได้บุญน้อยกว่าการนั่งสมาธิเจริญภาวนา
งั้นคำว่า บุญ คืออะไรครับ
หาใน google ได้ครับ
จิตใจคนเรามันเข้มแข็งไม่เท่ากันทุกคน
คนที่จิตใจเข็มเข็งไม่พอถึงต้องหาสิ่งที่จะมายึดเหนียวจิตใจ เพื่อให้ชีึวิตดำเนินต่อไปได้
การเข้าวัดไปเผื่อหวังผลสักอย่าง มันก็เป็นเครื่องมือสักอย่างเพื่อยึดเหนียวจิตใจเมื่อไม่รู้จะหันหน้าไปพึงใคร
ผมเข้าบ่อยนะถ้ามีเวลาคงไม่ต้องบอกว่าไปเพื่ออะไรยึดเหนียวจิตใจแน่นอน ^6^
แบบนี้แสดงว่าไม่ต้องมีวัด ไม่ต้องมีโบสถ์ ไม่ต้องมีสุเหล่า วัดหรือสถานที่สำคัญทางศาสนาไม่ได้มีเพื่อยึดติดครับแต่เอาไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิดใจ การนัดถือศาสนาใดๆก็ตามไม่จำเป็นต้องเข้าใจศาสนา(ถ้าเข้าใจคงบรรลุโสดาบันกันทุกคน) บางศาสนายังห้ามไม่ให้ไหว้นั่นไหว้นี่เลยหรือเข้าวัดหรือสถานที่ที่ไม่ใช่ของศาสนาตนยังไม่ได้ถ้าเข้าแล้วผิดหลัก นี่ก็ถือว่ายึดติดใช่หรือไม่ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นเรื่องของจิตใจ คุณไม่สามารถไปตัดสินใจว่าถ้าคุณทำแบบนั้นหรือเป็นแบบนี้ไม่ใช่พุทธนะคงไม่ถูกเพราะมันเป็นเรื่องของความศรัทธาเฉพาะบุคคล
ก็อิสลามกับคริสต์ไม่ใช่พุทธนี่ครับ จะยึดติดอะไรก็เปนเรื่องคำสอนของศาสนาเขา
การยึดติดก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพียงแต่มันไม่ใช่หลักของศาสนาพุทธ ก็เท่านั้น
แล้วศาสนาพุทธเราก็ไม่ได้ห้ามที่ใครจะไปเคารพศาสนาอื่นเสียหน่อย
การยึดติดหรือยึดเหนี่ยวก็ไม่ต่างกัน ก็ไม่ใช่คำสอนของศาสนาพุทธ แม้แต่หลักธรรมเองก็ยังให้สงสัย อย่าไปยึดติด
ที่ผมบอกว่า การมีความศรัทธาไม่ใช่หลักของพุทธ มันหายถึงจะมีก็ได้ไม่ได้ห้ามอะไร
แต่อย่ามาอ้างว่าเพราะมีศรัทธาถึงได้เปนพุทธ พุทธไม่ใช่ศาสนาที่ต้องศรัทธา แต่เปนศาสนาที่ต้องเข้าใจ
แล้วก็ไม่ได้จำเปนต้องเข้าใจหลักธรรมทั้งหมด แต่ก็ควรจะเข้าใจหลักธรรมที่ตัวเองใช้
ทำไมเราถึงต้องมีศีลห้า ทำไมอิทธิบาทสี่ถึงดีต่อการทำงาน
แล้วที่ผมเห็นมาตลอดคือ ความศรัทธานี่แหละ ที่ทำลายความเข้าใจในศาสนา
พอเวลาที่มีคนสงสัยในหลักธรรม ก็เอาอะไรที่ไม่ใช่เหตุผลมายัดเยียด ห้ามไม่ให้สงสัย
นี่แหละผิดหลักศาสนาพุทธ
วัดจริงๆก็เปนแค่โรงเรียนในสมัยก่อน พระก็เหมือนเปนครู
ถ้าเทียบแล้วก็เหมือนมหาวิทยาลัย ที่มีศาสตราจารย์มาสอน แต่ตัวศาสตราจารย์เองก็ทำวิจัยของตัวเองไปด้วย ในทางที่ละเอียดกว่า ขั้นสูงกว่า
พระในวัดก็เหมือนกำลังทำวิจัยเรื่องการบรรลุโสดาบัน-อรหันต์ แล้วสอนเรื่องหลักธรรมทั่วไปก่อนบรรลุโสดาบัน
ในปัจจุบันมีการพัฒนาโรงเรียน มหาวิทยาลัย แล้วเชิญพระไปสอนเฉพาะวิชา
นอกจากความศักดิ์สิทธิ์(ที่ไม่รู้มีจริงรึเปล่า) โรงเรียนก็ไม่ต่างกับวัดแต่อย่างใด
แล้วมีทั้งเทคโนโลยีมากมายที่ให้พระเผยแพร่หลักธรรม
การเข้าวัดฟังธรรมก็เพื่อให้รู้และเข้าใจในหลักธรรม
แต่คนบางคนก็ฟังเทป ดูวิดีโอ หรืออ่านบล็อกของพระ ก็ทำให้รู้และเข้าใจได้ไม่ต่างกัน
การมีวัดสำหรับคนที่พอใจจะเข้า ก็เปนเรื่องที่ดี
เราอาจจำเปนต้องมีวัด เพื่อให้คนที่ตั้งใจเปนพระ ได้เข้าไปเปนพระ
แต่จำเปนหรือไม่ที่คนจะต้องเข้าวัด?
ผมคิดว่าไม่จำเปน
สถาณที่ทางศาสนาเปนเรื่องของวัฒนธรรมครับ
ในตอนที่ศาสดาเริ่มเผนแพร่หลักธรรมก็ไม่ใช่ว่าจะต้องมีสถาณที่ทางศาสนา
มันเปนความสะดวกและความคงทนเท่านั้น
ผมไม่อยากพูดหรอกนะว่าการที่ต้องมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เปนเรื่องของคนที่ไม่มั่นใจในตัวเอง ต้องมีที่พึ่ง
และการที่เปนอย่างนั้นก็เพราะสิ่งที่ทำอยู่มันเหมือนไม่มีเหตุผล ถึงได้ต้องพยายามหาทางศรัทธาในอะไรบางอย่าง
แต่มนุษย์ในโลกนี้ไม่ได้เปนอย่างนั้นทุกคน แต่พวกคนในสังคมก็ชอบบีบบังคับให้ทุกคนต้องมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจอันเดียวกับตัวเอง
ผมไม่รู้ว่าทำไมหรอกนะ แต่ศาสนาคริสต์เปนศาสนาที่ห้ามสร้างรูปเคารพพระเจ้า เพื่อไม่ให้คนยึดติดกับรูป
แต่ก็ยังพยายามห้อยไม้กางเขนบ้าง สร้างรูปปั้นพระเยซูบ้าง พอใครลบหลู่หรือทำลายรูปปั้นพวกนี้ก็โกรธ ถามว่านี่เปนหลักศาสนาคริสต์ตรงไหน?
คนเราชอบบังคับให้คนอื่นมีศาสนา
แต่ผมคิดว่า คนดี ไม่ต้องมีศาสนาก็ได้
แต่คุณพูดเองนี่ครับว่า "และไอ้การยึดติดว่า ต้องไปวัด รักษาศีล ถึงเปนพุทธ
นั่นแหละไม่ใช่พุทธ" เป็นมันการยัดเยียดให้คนอื่นหรือเปล่าหล่ะครับ
มันขัดกับคำพูดที่ว่า "จะยึดติดอะไรก็เปนเรื่องคำสอนของศาสนาเขา
การยึดติดก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพียงแต่มันไม่ใช่หลักของศาสนาพุทธ"
"การยึดติดหรือยึดเหนี่ยวก็ไม่ต่างกัน ก็ไม่ใช่คำสอนของศาสนาพุทธ แม้แต่หลักธรรมเองก็ยังให้สงสัย อย่าไปยึดติด
ที่ผมบอกว่า การมีความศรัทธาไม่ใช่หลักของพุทธ มันหายถึงจะมีก็ได้ไม่ได้ห้ามอะไร"
ผมถึงบอกไงครับว่ามันเป็นศรัทธาส่วนบุคคลแต่มันค้านกำคำพูดคูณตอนแรกไงครับว่า "และไอ้การยึดติดว่า ต้องไปวัด รักษาศีล ถึงเปนพุทธ
นั่นแหละไม่ใช่พุทธ"
"และไอ้การยึดติดว่า ต้องไปวัด รักษาศีล ถึงเปนพุทธ
นั่นแหละไม่ใช่พุทธ"
"จะยึดติดอะไรก็เปนเรื่องคำสอนของศาสนาเขา
การยึดติดก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพียงแต่มันไม่ใช่หลักของศาสนาพุทธ"
สองประโยคนี้ไม่มีตรงไหนที่ขัดกันครับ
คำว่าไม่ใช่พุทธ ก็หมายถึงไม่ใช่หลักของศาสนาพุทธ ประโยคสองแค่ขยายความประโยคแรกครับ
การยึดติดไม่ใช่ศาสนาพุทธ ไม่ใช่คำสอน ไม่ใช่หลักธรรม
แต่ศาสนาพุทธไม่เคยห้าม แค่บอกว่ายึดติดแล้วมันไม่ดียังไง ก็รับผลกันไปเอง
ผมอาจจะพูดย่อแล้วไม่เคลียร์เองต้องขอโทษด้วยครับ
คำว่า พุทธ กับคำว่า หลัก คำสอนของพุทธ มันต่างกันนะครับทำให้คนอื่นตีความไปคนละความหมายเวลาพูดอะไรช่วยอธิบายให้ชัด
ถ้าไม่ใช่หลักคำสอน แล้วอะไรที่เปนตัวตัดสินว่าเปนพุทธหรือไม่ใช่พุทธครับ?
เอาตามหลักวิชาการนะครับถ้าไม่รู้จริงๆว่าพุทธคืออะไร
พุทธหรือศาสนาพุทธหรือพุทธศาสนาคือ ศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดามี "พระธรรมเป็นหลักคำสอน" เพราะฉนั้นหลัก
คำสอนคือพระธรรม
พุทธคือศาสนาพุทธ
+1
ศาสนาพุทธยังประกอบด้วยพุทธบริษัท ซึ่งได้แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
การไปจำกัดว่าอย่างโน้นใช่พุทธ อย่างนี้ไม่ใช่สามารถทำได้ แต่ถูกต้องตามนั้นไหมเป็นอีกเรื่องครับ ซึ่งผมไม่ได้ถือสาอะไรกับคนตอบเรื่องนี้นักเพราะมักจะโต้แย้งหรือไม่เห็นด้วยเป็นประจำ บอกได้เพียงว่าเป็นอคติส่วนตัวครับ
+100 "บอกได้เพียงว่าเป็นอคติส่วนตัวครับ"
แล้วอีกอย่าง Thana ก็พูดออกมาปาวๆว่าคนที่ยึดติดว่าต้องอย่างนั้นอย่างนี้คือพุทธ แบบนี้ไม่ใช้พุทธใช้ความรู้สึกส่วนตัวสัดสินคนอื่นไปซะแล้วว่าไม่ใช้พุทธแล้วก็มาแก้ตัวแถไปเรื่อย
แล้วคุณรู้หรือไม่ครับว่า คำว่า พุทธ แปลว่าอะไร
หรือท่องอยู่แค่ว่า พุทธ แปลว่าศาสนาพุทธ
ผมอธิบายไว้แล้วคุณอ่านหรือเปล่าครับหรือมองไม่เห็น แล้วคำว่าพุทธของคุณคืออะไรหล่ะครับผมอยากรู้อยากเปิดโลกให้กว้าง
พุทธ แปลว่า ตื่น ครับ
ผมเห็นคุณออกตัวแรงเสมอนึกว่าเรื่องง่ายๆแค่นี้ก็คงรู้อยู่นะ
การเปนพุทธ คือการตื่นจากความงมงาย ตื่นจากความเชื่อ ตื่นจากการยึดติด
การเปนพุทธ หรือไม่ใช่พุทธ เปนการกระทำในแต่ละเรื่อง ไม่ใช่พูดถึงตัวบุคคล
คนเปนชาวพุทธ อาจกระทำการในสิ่งที่ไม่ใช่พุทธ
ผมถึงได้พูดว่า "การยึดติดว่า ต้องเข้าวัด ฟังธรรม ถึงจะเปนพุทธ นั่นแหละที่ไม่ใช่พุทธ"
แต่ไม่ได้พูดว่า "คนที่คิดแบบนี้ ไม่ได้เปนชาวพุทธ"
แสดงว่าคุณยังมองไม่เห็นคำตอบของผมว่าพุทธคืออะไร เพราะผมไม่ได้ถามว่าพุทธแปลว่าอะไร "แปลว่า" กับ "คือ" มันไม่เหมือนกัน
ไม่คิดบ้างหรือครับว่าคำๆนึงที่มีความหมาย ถึงจะถูกตั้งเปนชื่อ แต่ความหมายของมัน ผู้ที่ตั้งมัน ก็ต้องการให้มันหมายถึงอย่างนั้นจริงๆ
ไม่อย่างนั้นมันก็คือการบิดเบือน/ลดทอน ความหมาย ที่เปนเรื่องสำคัญ
คงเพราะมีคนคิดอย่างคุณล่ะมั้งถึงได้มีพระปั๊มจตุคาม และวัดธรรมกาย แล้วก็อ้างตัวเปนพุทธ
เอ แล้วผมไปบิดเบือนความหมายหรือลดทอนตรงไหนครับอย่าบิดเบือนครับเอาหลักฐานมาให้ดูหน่อยละกัน พุทธแล้วผมคิดแบบไหนครับท่ี่ว่า แล้วจตุคามฯเกี่ยวอะไรกับผม คุณนี่ชอบยัดเยียดความคิดของตัวเองให้คนอื่นจริงๆและก็ไม่เคยตอบคำถามผม สิ่งที่คุณทำคือหาเหตุผลของคุณมาหักล้างความเห็นของคนอื่นเพื่อให้ตัวเองดูดีมีหลักการเพื่อให้ชนะแล้วให้คนอื่นดูด้อยกว่าตัวเองรู้น้อยกว่าตัวเอง(ผมยัดเยียดความคิดของผมให้คุณ) อย่าเพิ่งแถนะครับตอบคำถามผมก่อน
อ่านดีๆครับอย่าพึ่งร้อนท้อง
เวลาคุยกันบางทีคนเราก็ต้องมียกตัวอย่าง Sample Case หรืออุปมาอุปมัย มาชี้ให้เห็นว่าประเด็นที่ยกมามันดีหรือไม่ดีอย่างไร
ไม่ได้จำเปนว่าจะต้องหมายถึงคู่กรณีโดยตรงแต่มันก็ต้องมีการยกอะไรมาเปรียบเทียบกันบ้าง
และใช่ครับ ผมก็หาเหตุผลมาหักล้างว่าเหตุผลของคุณมันไม่ดีอย่างไร
ผมทำเพื่อให้รู้ความเห็นของตัวเองถูกหรือผิด ถ้าคุณให้เหตุผลที่ดีกว่าผมจะได้รู้ว่าผมผิด
แต่ถ้าคุณไม่โต้เถียงด้วยเหตุผล เอาแต่บ่นว่าอีกฝ่ายแถ
ผมก็อยากจะพูดว่าใครแถกันแน่
ถ้าเถียงไม่ได้ก็น่าจะยอมรับความจริง หรือถ้ายังมีเหตุผลตัวเองถูกก็น่าจะหาทางอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ
ผมก็มีวิธีของผมที่พยายามยกตัวอย่างประกอบ
ผมตอบคำถามของคุณมาตลอด เพียงแต่ว่าวิธีการตอบของผมอาจจะดูด้อยการศึกษาเกินไป ทำให้คุณที่เลิศล้ำสูงส่งประเสริฐศรีเข้าใจไม่ได้
แต่ถ้าคุณคิดว่าตัวเองเก่งนัก ก็น่าจะหาทางทำความเข้าใจคนที่ด้อยกว่าบ้างนะครับ
เห็นด้วยกับพี่ lew ครับ
เราต้องรู้จัก "แยกแยะ" ที่จะยกย่อง "ความดี" ไม่ใช่ยกย่องที่ "คนดี"
เรื่องเสื่อมผมมองว่า มีสิ่งอื่นปนลงไปในความเชื่อของชาวไทยพุทธจนหลงคิด หรือชินกันไปหมดแล้วว่านั่นเป็นพุทธ
ในอีกแง่มันก็เป็นไปตามธรรมชาติตามกาลเวลาจะต้านไว้ รั้งไว้ก็ไม่ได้ เป็นเช่นนั้นเอง
ผมยังไม่ถือว่าเป็นคำตอบนะครับ
ถ้าเอาตามโจทย์แค่คนที่คุณคิดว่าเป็น คนเก่ง กับ คนดี ผมแค่อยากรู้ว่าคุณจะเลือกยกย่องใคร???
(แต่การจะตอบหรือไม่ก็เป็นสิทธิเช่นกัน)
จากใจจริง ถ้าเทียบกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ผมว่า บ้านเราคงไม่ใช่พุทธ
หรือ ถ้าใช่ ก็คงเป็นพุทธที่เปลือกหนาน่าดู (ต้องแกะกันอีกเยอะเลยกว่าจะถึงแก่น);P
(ปล. สำหรับผมไม่แน่ใจว่าคนดีวัดจากอะไร สายตาคนอื่น สายตาตนเอง ถ้าในเต๋าของผมคนดีคงไม่มี (เพราะเรามองทุกๆอย่างมีสองด้านเสมอ ทุกอย่างเลยดูเป็นเทาๆสำหรับพวกเรา)
ถ้าจะให้ยกย่อง ผมมองว่า จะเป็นคนดีหรือคนเก่งก็ได้ ขอให้ทำประโยชน์มากน้อยและเบียดเบียนผู้อื่นน้อยหน่อย เขาจะเป็นคนไม่ดีก็ได้ เป็นคนดีก็ได้ เป็นคนเก่งก็ได้ ไม่เก่งก็ได้ (เกร็ด:เต๋าไม่ซีเรียจเรื่องความเก่ง เก่งเรื่องเดียวเต๋าก็มองว่าเก่งแ้ล้ว ขอให้นำด้านที่ชำนาญไปใช้ประโยชน์กับตนได้ก็พอ) แต่ถ้าทำประโยชน์ มีชีวิตที่ควรค่าแก่การยกย่อง ก็ควรแก่การยกย่องแล้ว (ต้องบอกก่อนว่าผมเป็นเต๋า วิธีคิดอาจจะต่างจากพุทธมากไปหน่อย ชี้แนะได้นะครับ แชร์ได้นะ ^^") ปล. ในจีนมีคำสอนว่า คนดีแต่หากโง่ ถ้ามีอำนาจ ให้รีบกำจัดก่อนเลย ด้วยนะ)
แชร์เฉยๆนะครับ ^^
คนดีครับ
ถ้ายกในกรณีเซเลบ ถ้าเป็นจริงตามที่คนอื่นกล่าวหา
ก็คงเพราะเก่ง แล้วใช้ความเก่งจนมีชื่อเสียง แล้วเอาชื่อเสียงไปหลอกคนอื่นนี่ ยังนึกไม่ออกว่าจะไปยกย่องคนแบบนี้ได้ยังไงนะ
kurtumm
บางคนคงถือว่าความเก่งที่ทำประโยชน์ ให้ก่อนหน้านี้ นั้นนำมาลดหย่อนเรื่องแบบนี้ได้มั๊ง
เพราะ เคยได้ยินกลุ่มที่ชอบบอกว่า "เป็นคนส่วนใหญ่ ของประเทศ" ชอบถกตามกระทู้ที่อื่น
ว่าโกงและทำงาน ไม่ถือไง ผลสำรวจก็มี
ตลกดี
Ton-Or
คนไหนทำตัวมีประโยชน์มากกว่าผมก็ยกย่องคนนั้นมากกว่า ถ้าจะให้เลือกระหว่างตัวเลือกสองข้อที่มี ผมไม่ยกย่องทั้งคู่ ผมมีคนใกล้ชิดจนพอที่จะบอกได้ว่าดีหรือไม่ดีไม่กี่คน ส่วนคนที่เหลือผมตัดสินไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถตัดสิน ดังนั้นผมจึงเลือกยกย่องคนดีไม่ได้ ส่วนคนเก่งแต่ไม่ได้เอาความเก่งไปทำประโยชน์ให้คนอื่นหรือความเก่งไม่มีประโยชน์ก็มีเยอะแยะ ดังนั้นจึงไม่สมเหตุสมผลที่จะมองที่ความเก่งแต่เพียงอย่างเดียว
คิดง่ายๆไปกว่านั้นก็ได้ครับ หากมีเหตุการณ์ที่คุณต้องเลือกเพียง choice เดียว
ถึงตัวเลือกนั้นๆจะไม่ตรงกับความคิดของคุณจริงๆ แต่คุณก็จำต้องเลือก เช่น
คุณท้องเสียอยากจะถ่ายทุกข์มากๆจนทนไม่ไหว แล้วในห้องน้ำสาธารณะนั้นมีห้องให้เลือกเข้าอยู่ 2 ห้อง
ผมเชื่อว่าคนส่วนมากไม่ได้อยากเข้าห้องน้ำสาธารณะเท่าไหร่หรอก แต่เมื่อเกิดเหตุเราก็จำเป็นต้องเลือกเข้า
ผมอยากแค่จะถามว่าคุณจะเปิดประตูห้องน้ำบานที่เขียนว่า คนดี หรือ คนเก่ง
แต่ถ้าคุณคิดว่ามันสกปรกทั้ง 2 ห้องจึงไม่เข้า ยอมปล่อยให้เรี่ยราดหน้าห้องน้ำก็เป็นสิทธิของคุณ
ผมว่าคุณกำลังสับสนอะไรบางอย่างนะ ขึ้นต้นว่าขอเหตุผล แต่บังคับคำตอบ ให้เปรียบเทียบ แต่ไม่ให้เลือกว่าเท่ากัน มันเหมือนข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ถามว่า วันแม่ต้องใช้ผ้าปูโต๊ะสีอะไร และอีกหลายๆ สิ่งในเมืองไทย ในความเห็นแรกคุณบอกว่าสังคมเอาแต่เรียกร้องหาคนดี แต่คุณก็ให้ให้เลือกได้แค่สองอย่าง คนดี กับ คนเก่ง แล้วก็มองข้ามมุมมองอื่นๆ ไปหมด ซึ่งจากการออกความเห็นของคุณ เหมือนคุณมีสมมติฐานอยู่สองแบบ คือ
แต่คุณทำสมมติฐานหายไปข้อหนึ่งว่า การเลือกคนเก่งหรือคนดีก็ให้ผลไม่แตกต่างกัน แล้วยังไม่นับว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ที่ไม่สามารถยืนยันสมมติฐานอันไหนได้เลย
ถ้าเอาตามตัวอย่างเรื่องห้องน้ำ ผมก็เลือกห้องที่มันดูสะอาดกว่า ถ้ามันเท่าๆ กัน ผมก็เข้าห้องที่ผมดูทีหลัง เพราะอยู่หน้าห้องนั้นอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเอามาจับกับคำถามก็ไม่เข้าประเด็นอยู่ดี ที่คุณเขียนเองยังขัดกันเองเลย คุณถามว่าจะเข้าห้องที่เขียนว่าอะไร สุดท้ายกลับบอกพูดถึงความสกปรก ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับป้ายที่เขียนไว้
ผมไม่ขอต่อประเด็นแล้วนะครับ ถ้ายังบังคับให้เลือกอยู่แบบนี้ พูดไปก็ไม่เกิดประโยชน์
ขออธิบายตามนี้
ผมแค่ถามง่ายๆว่ามีแค่ 2 choice แล้วคุณต้องเลือกโดยมีข้อมูลให้จำกัดแค่ คนดี คนเก่ง คุณจะเลือกข้อไหน???
ผมสมมติเรื่องห้องน้ำ เป็นบริบทเปรียบเทียบว่าในชีวิตจริง ถ้ามีทางเลือกจำกัด และจำเป็นต้องเลือก
มันไม่ใช่ข้อสอบ ที่ต้องบังคับให้ตอบ สิทธิในการตอบหรือไม่ เห็นด้วยหรือไม่ก็ยังเป็นของคุณ
คำถามนี้คล้ายคำถามที่ว่า คุณจะเลือกเมียสวยหรือเมียนิสัยดี
คล้ายกันตรงที่สามารถหักมุมตอนท้ายได้อิอิ
คล้ายกันครับแต่การเลือกเมียมีทางเลือกมากกว่านั้น โดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมา
เลือกเมียสวย (นิสัยอาจจะดี หรือไม่ดีก็ได้ในอนาคต???)
เลือกเมียนิสัยดี (อาจจะสวยได้ในอนาคต???)
ไม่เลือกเลยทั้งคู่ (คนครหาว่าเป็นเกย์)
เลือกทั้งคู่ โดยเปิดเผย (รวยล้นฟ้า หรือมีสังคมความเชื่อให้การยอมรับ)
เลือกทั้งคู่ โดยไม่เปิดเผย (เสี่ยงตาย:P)
เคยถามผู้หญิงว่าถ้ารู้ว่าสามีเป็นเกย์ กับสามีมีชู้เลือกอะไร
ส่วนใหญ่เลือกอันหลังนะครับ เพราะรับไม่ค่อยได้ว่าเป็นสามีเรา แล้วไปเป็นเมียคนอื่น :P
ปล. สมมติ นะครับ ถ้าชีวิตจริงๆ ผลอาจจะเท่ากัน ตายทั้งคู่
kurtumm
โชคร้ายสุดๆเลยก็คือ ได้สามีเป็นเกย์ที่เจ้าชู้
เป็นเกย์ = สามีมีชู้กับผู้ชาย
สามีเราอาจจะไม่ได้เป็นเมียก็ได้ครับ :)
ผมจำไม่ได้ใครพูดเอาไว้
ว่าเรื่องเมีย
"เขาจะเลือกเมียที่ฉลาดพูด วาจาเพราะหน้าตาธรรมดา มากกว่าสวยแล้วปากเสีย
เตียบ่อกี้เลยโชคดีที่เมีย สวยและฉลาดพูด"
เพราะแก่ไปมันย่นเหมือนกันหมด ที่จะทำให้สุขสบายใจได้ ตอนนั้นคือคำพูด
ไม่แน่ใจกระทู้ถกกันเรื่องอะไรที่ไหน ผมจับใจความมาได้ราวๆ นี้
...
Ton-Or
ถูกต้องที่สุดครับหุหุ
+1
ผมมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ภายนอก สามารถเปลี่ยนได้ง่ายกว่าสิ่งที่อยู่ภายใน
ถูกใจให้ +1 คร๊าบ ขอยืมประโยคไปเล่นมั่ง
ขออภัย post ผิดครับ
ถ้าคนๆนึงเป็นได้แค่ ดี หรือ เก่ง ผมว่าคงได้แค่ชื่นชมครับ ชื่นชมในสิ่งที่เขาดี ชื่นชมในสิ่งที่เขาเก่ง
แต่ถ้าถึงกับยกย่องเลย สำหรับผมคงยกย่องแต่คนที่ทั้งเก่งและดีครับ
ถ้าเป็นนักการเมือง คนดีมักจะไม่มีอำนาจถึงแม้จะมีตำแหน่งสูง ควบคุมใครไม่ได้ เหมือนกับถูกพวกสัมภเวสีหลอกใช้เพื่อสร้างภาพ แต่ถึงอย่างไรก็ยังสนับสนุนให้คนดีได้บริหารประเทศเยอะๆ ถ้าคนดีเยอะก็จะมีเสียงในการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น
นึกถึงพระบรมราโชวาท
"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"
พระบรมราโชวาทนี่แหละครับ คือคำตอบของหัวข้อนี้
นี่คือคำตอบครับ แต่ปัจจุบันมันตรงกันข้ามที่คนไม่ดีได้ปกครองบ้านเมืองควบคุมคนดีไม่ให้มีอำนาจและมีคนบางส่วนยังสนับสนุนคนไม่ดีปกครองบ้านเมือง(โกงแต่บริหารเงินเข้าประเทศได้เพื่อนำไปเข้ากระเป๋าตัวเองต่อ)
ถูกต้องครับ ใครที่โกง ที่ดินสปก. ใครโดนฟ้องเรื่องที่ภูเก็ตและก็แพ้คดีไปเรียบร้อย ปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้างครับ ยังชูคอในรัฐสภาอยู่เลย
ผมได้ข้อสรุปแล้วว่า
จะเปนคนดีหรือคนเก่งก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความน่ายกย่องครับ
การเปนคนดีหรือคนเก่งมันเปนคุณค่าที่ไม่จำเปนต้องยกย่อง เปนแค่แนวโน้มมีความน่าจะเปน
เห็นมีคำถามว่า มีห้องน้ำสองห้อง ห้องนึงสกปรก ห้องนึงสะอาด
ผมจะเลือกเข้าห้องน้ำที่ผมใช้ได้
ถ้าเปนห้องน้ำมันก็ต้องเข้าไปดูในห้องน้ำว่ามันใช้ได้จริงรึเปล่าก่อน จ่อให้สะอาด แต่ไม่มีทิชชู่ ไม่มีสายฉีด หรือแปะป้ายชำรุดทุกห้อง ก็คงไม่ใช้
คนบางคนอาจจะเปนคนดีมาก คนบางคนอาจจะเปนคนเก่งมาก
แต่ถ้าการกระทำของเขาไม่ได้เคยมีอะไรที่ส่งผลกระทบอะไรกับใครเลย เขาก็ไม่ใช่คนที่น่ายกย่อง
อันนี้อาจจะออกแนวผลนิยม แต่ความเปนจริงคือความน่ายกย่อง จะเกิดก็ต่อเมื่อคนอื่นๆได้รับผลประโยชน์
คนบางคนอาจจะไม่ได้เก่ง และไม่ใช่คนดีเด่อะไรด้วย แต่เขาอาจจะพยายามทำอะไรบางอย่างซ้ำๆ จนกระทั่งได้ผลสำเร็จที่เปนประโยชน์แก่คนอื่นอย่างมาก
เช่น หลอดไฟ ผมไม่คิดว่าเปนเพราะเอดิสันเก่งถึงทำหลอดไฟได้ ตัวทฤษฎีก็มีอยู่แล้ว
แต่เพราะเขาพยายามยอมไม่ล้มเลิก ทั้งๆที่ล้มเหลวไปก่อนมากมาย
ที่เขาทำอาจจะไม่ใช่เพราะเขาเปนคนดี แต่เขาอยากประสบความสำเร็จ อยากมีคนมายกย่องเขา ก็ได้
ทั้งที่เขาอาจจะทั้งไม่เก่งและไม่ดี
เขาก็คือคนที่น่ายกย่อง
ขอตอบแบบไม่คิดมากคับ ฮ่าๆ
ผมเลือกคนดีละกัน
เพราะผมคิดว่า ถ้าคนดีคนนั้นเขาไม่เก่ง ก็ยังพอมีโอกาสให้เขาศึกษา เรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ซึ่งจะทำให้เขาอาจจะเก่งขึ้นมาได้
ถ้า้เป็นคนเก่งแต่บังเอิญว่าเขาไม่ใช่คนดี ผมยังไม่แน่ใจว่าการจะทำให้เขากลับมาเป็นคนดี มันจะง่ายกว่าการทำให้คนที่ไม่เก่งกลับมาเป็นคนเก่งรึปล่าว
ยิ่งตอนนี้เรามักมองว่า
คนดี = คนที่ทำถูกใจเรา
ซะด้วยสิ
คนดี แต่ทำอะไรไม่เป็นเลย
คนเก่ง แต่ไม่เคยทำอะไรให้สังคมเลย
มันต่างกันตรงไหนครับ
คนดี มีลูกน้องเก่ง งานราบรื่น
คนดี มีลูกน้องโง่ งานเดินช้า หรืออาจมีข้อบกพร่อง
คนดี มีลูกน้องโกง งานไม่เดิน เพราะต้องคอยตรวจเช็คกันตลอด
คนเก่ง มีลูกน้องเก่ง งานราบรื่น ไปได้ไว แต่ก็มีโอกาสหาช่องทางแบบคนฉลาดคิด คือ ทั้งโกงแบบเนียนๆ หรืองานเดินแบบก้าวกระโดด
คนเก่ง มีลูกน้องโง่ งานเดินได้ ลูกน้องเป็นแพะบ่อยๆ หรือทำผิดพลาดให้จับได้เสมอๆ หรืองานเดินช้า ต้องตามกันบ่อยๆ
คนเก่ง มีลูกน้องโกง ถ้าเก่ง+โกง ก็ฉิบหายกันหมดละครับ แต่ถ้าคิดว่าโกงน้อยกว่าที่ทำให้ประเทศพัฒนา อันนี้ก็แล้วแต่คนครับ
คนดี ทำเงินให้ประเทศ 1,000 ล้าน ไม่มีโกงกิน ประเทศสงบสุข
คนเก่งแต่โกง ทำเงินให้ประเทศ 10,000 ล้าน โกง 1,000 ล้าน ก็เพิ่มมา 9 เท่า แต่สร้างปัญหาในสังคมโดยรวม เพราะทุกคนที่เสียผลประโยชน์ให้กับคนเก่ง+โกง "ต้องมี" ดังนั้นก็เตะขัดขากันเหมือนตอนนี้ละครับ ไม่ไปไหนสักที
เห็นภาพเลย
+1000 เลย
คนดีก็อาจจะไปทำให้คนโกงเสียผลประโยชน์ได้เหมือนกันนะครับ แล้วก็อาจจะโดนสกัดดาวรุ่ง เป็นความจริงอันน่าเศร้า
ตอนนี้มันน่าจะเรียกว่า คนไม่ดี + โกงนะ คนดีย่อมมีสัจจะพูดคำไหนคำนั้น ไม่ปลิ้นปล้อนสับปรับ พื้นฐานเริ่มต้นของการเป็นคนดี
คนเก่งไม่จำเป็นต้องโกงครับ
ดี นี่ น่าจะมีหลายระดับนะ
เก่ง นี่ ก็น่าจะมีหลายระดับเช่นกัน
พระโคตมพุทธเจ้าก็ยังแบ่งจำพวกของคนตามความสามารถในการเรียนรู้ เปรียบได้กับบัว 3 เหล่าเลย
คนดีมันวัดเป็นสเกลหรือตัวเลขได้เปล่า ??
นิยามคำว่าคนดีแต่ละคนหละ ??
อะไรเป็นเกณฑ์ชี้วัด ??
เขาเป็นคนดีจริงๆหรือเราโดน propaganda จนเข้าใจว่าเขาเป็นคนดีกันแน่ ??
ถ้ามีคนหนึ่งเคยช่วยเหลือชีวิตผู้คนมาแล้วร้อยกว่าชีวิตแต่มายำteenเราเพียงเพราะดันไปแซงคิวเขา เขาเป็นคนดีหรือเปล่า ?
เชื่อผมเถอะ ถามคำถามนี้ร้อยคนตอบกันไม่เหมือนแน่นอน
แค่นิยามของคำว่า"คนดี"แต่ละคนยังไม่เหมือนกันเลยแล้วจะให้ฟันธงได้อย่างไรว่าจะยกย่องใครว่าเป็นคนดีส่วนคนเก่งก็ทำนองเดียวกับที่เล่าข้างบนอ่าครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ผมว่าเราควรจะแยกแยะสักหน่อย เราควรจะยกย่อง "ความดี" มากกว่าจะมาหาว่าใครดีไม่ดีหน่ะครับ
คนทีไม่ทำให้ใครเดือดร้อน แต่ก็ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรขึ้นมา ก็เป็นได้แค่คนเฉยๆ ไม่ได้นับเป็นคนดีนี่ครับ
เรากำลังเข้าใจผิดเกี่ยวกับคนดีหรือปล่าว ??
คนดี นับ จากศีลธรรมครับ
คนเก่ง นับ จากศักยภาพในการทำงาน
คำว่าดี ในที่นี้คือการ คิดดี ทำดี ถึงทำไม่เป็นแต่คิดดี ก็ยังเป็นคนดีครับ ต้องมีการกระทำด้วยไม่ว่าจะทำได้ หรือไม่ได้ แต่ถ้าคิดดี ก็ถือว่าเป็นคนดี
คนเก่ง ในที่นี่คือการ วัดจากคุณภาพของงานเมื่อเทียบต่อหน่วยเวลา คือ คนไม่เก่งแต่ทำงานตลอดเวลา งานเสร็จเหมือนกับคนเก่ง แต่ใช้เวลามากกว่า
+1 คำถามง่ายๆ ในเรื่องง่ายๆ ต้องมีคนมาอธิบายเหอๆ
ตอบอะไรกันไม่รู้อ้อมโลกอยู่ได้
Ton-Or
แล้วศีลธรรมที่ว่า
มันคือศีลธรรมของศาสนาไหนหรือครับ?
อยากจะพูดด้วยซ้ำว่า ศีลธรรมที่ว่า มันคือศีลธรรมของใคร?
มีหุ่นยนต์อยู่ตัวหนึ่ง วันหนึ่งสามารถทำงานติดต่อกับมนุษย์ได้วันละ ๑๐ คน โดยจะทำดีกับ ๕ คน และจะทำร้ายอีก ๕ คน
ถามว่า จะโปรแกรมให้หุ่นยนต์เป็นหุ่นยนต์ดีก่อน คือเลิกทำร้ายมนุษย์
หรือ จะโปรแกรมห้เป็นหุ่นยนต์เก่ง คือเพิ่มความสามารถเป็นวันละ ๑๐๐ คน โดยทำดีกับ ๕๐ คนและทำร้ายอีก ๕๐ คน
เลิกทำร้ายก่อนสิ
ลองปล่อยหุ่นตัวที่ว่าไปเดินสยามแล้วบอก เป็นของ บ. ท่านดิ
ไม่ก็ส่งมันรับใช้ คนในบ้านท่าน 10 คนก็ได้ จะเลือกเอามาใช้หรือแก้ให้มันเสร็จก่อนหล่ะ
คำถามง่ายๆ ต้องคิด?
...
Ton-Or
ความเก่ง หมายความว่า ต้องมีคุณภาพด้วยครับ นั่นหมายถึง ความผิดพลาดต้องลดลง
ความเก่งอาจเปรียบได้กับความเชี่ยวชาญ คนเป่าแก้วเป็นรูปหงส์ ถ้าเป็นคนเก่งใช้เวลา 3 นาที คนไม่เก่งใช้เวลา 20 นาที แต่ไม่ว่าอย่างไร คุณภาพที่ออกมาผมว่ามันต้องมีต่างกันแน่นอน เช่น คนเก่งเป่าแก้วจะไม่มีฟองอากาศเลย ส่วนคนไม่เก่งอาจมีข้อผิดพลาดในตรงนี้บ้าง
คนดีเอาไว้ข้างบน คนเก่งเอาไว้ข้างล่าง
ตรงที่มีแสง
ไม่ตอบคำถาม แต่ขอวิเคราะห์คำถาม
คำถามที่ตั้งมา ถ้าไม่มีเงื่อนไขว่า เลือกไปทำอะไร
แสดงว่า ต้องการคำตอบแบบ ครอบจักรวาล
ก็ต้องตอบว่า คนดีครับ
เพราะความดีถือเป็นคุณค่าสูงสุดในความเป็นมนุษย์
ใครตอบว่า ความเก่ง ถือว่าตอบผิด
แต่ที่หลายๆ คนพยายามตอบ
ก็คือจะใส่เงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ เข้าไปด้วย
(ดีแต่โง่ เก่งแต่โกง ฯลฯ)
ทำให้คำตอบของทุกคนที่ตอบแบบมีเงื่อนไข (ที่ตั้งเอง) ก็ถือว่าถูก
เพราะเงื่อนไขที่ยกมา ก็เพื่อตีกรอบสภาพแวดล้อมให้คำตอบ (ของตัวเอง) มันถูกนั่นเอง
แนวผมนะ
ลองจับคู่ก่อน ไหนๆก็เอาไปจับคู่กัน
ดี และ ไม่เก่ง อันนี้ โอเค
ดี และ เก่ง. อันนี้ โอเคมาก
เก่ง และ ไม่ดี. ไม่โอเค
สรุป เลือกที่ดีไว้ก่อน มีแนวโน้มจะ โอเคมากสุด
+100 แต่หาคนดีที่หลงเหลือยาก เพราะส่วนใหญ่เจอสังคมบีบบังคับให้ต้องเปลี่ยนไป เรียกว่า มีน้ำดี 1 CC เทลงไปในน้ำเสีย 500 cc. ยังไง น้ำดีก็ต้องโดนน้ำเสียกลืนกิน
แนวผมนะ
ลองจับคู่ก่อน ไหนๆก็เอาไปจับคู่กัน
ดี และ ไม่เก่ง อันนี้ โอเค
ดี และ เก่ง. อันนี้ โอเคมาก
เก่ง และ ไม่ดี. ไม่โอเค
สรุป เลือกที่ดีไว้ก่อน มีแนวโน้มจะ โอเคมากสุด
ไม่มีใครดีทุกเรื่อง ไม่มีใครเก่งทุกอย่างครับ เรื่องนี้จบยาก
ยกย่องคนดีในความดี ยกย่องคนเก่งในความเก่ง
เลือกคนเก่งครับ ขอแค่ให้เค้าอยู่ข้างเดียวกับเราก็พอ
ต่อให้ดีล้นฟ้า ถ้าทำประโยชน์ให้แต่พวกตน โดยไม่
มองส่วนรวม ก็ขออัญเชิญไปไกลๆ ครับ เลือกคน
ที่ทำประโยชน์ต่อคนได้ทั่วถึง ดีกว่าทำประโยชน์
ให้แก่พวกตน อย่างคนบางกลุ่ม ที่เห็นกันใน
ปัจจุบันครับ
ความเก่งน่ะวัดหรือเปรียบเทียบได้ แต่ความดีน่ะ
เราจะใช้อะไรไปวัด มันไม่ใช่เรื่องของเหตุผล
แล้ว มันเป็นเรื่องของคติ กับอคติ ถ้าจะดูจาก
แค่คำว่าความดีอ่ะครับ
เลือกคนดี ที่เก่ง
ไม่เลือกคนเก่ง ที่ไม่ดี
เหตุผล ความเก่งมากจาก การผึกฝนความรู้ความสามารถ จากประสบการ์ณ ผึกผนได้ ถ้ามีความตั้งใจ แต่ความเป็นคนดี คือคนที่ ยอมรับความคิดเห็นคนอื่น มีจิตสาธารณะ เสียสละ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และ ส่วนร่วม ไม่เห็นแต่ประโยชน์ตัวเอง ไม่สนใจว่าผลกระทบไปสู่คนอื่นจะเป็นยังไง เรื่องแบบนี้ ผึกยังไงก็ไม่ได้ เป็นเรืองของ สันดาน(หมายความว่า ธรรมชาติของคน)ที่ไม่ดี มัน ดัด ยาก ยิ่งแก่ ยิ่งไม่ต้องไม่หวังเลย
สังคมไทยจะน่าอยู่กว่านี้ ถ้าเปิดใจกว้างยอมรับความเห็นของคนอื่น ให้โอกาศคนอื่นเหมือนให้โอกาศตัวเอง และ รักษากฏกติกามารยาท ให้มีความศักดิ์สิทธิ ไม่ฉลาดแกมโกง หาช่องว่างเอาประโยชน์ใส่ตัว
ยกย่องคนดีครับ
ถ้าคนดีไปทำสิ่งที่ไม่ดีกับสังคม ก็เกิดจากความที่เขารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเขาก็จะสำนึกได้ และไม่ทำอีก
หรือถ้าคนดีที่โง่มาก ๆ ทำผิดเสียหายกับสังคมซ้ำซาก เขาก็จะรู้สึกได้เองว่าตนไม่ควรมีชีวิตอยู่ แล้วก็จะฆ่าตัวตายไปเอง ไม่เป็นปัญหาของสังคมต่อไป :P
โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าโลกนี้มีคนดีขาวสะอาดผุดผ่องอยู่หรอกครับ ถ้ามีจริงคนๆนั้นคงไม่เคยทำอะไรสลักสำคัญในชีวิตเลยสักอย่าง
พิจารณาเป็นบุคคลไปครับ มันตั้งเป็นขอเท็จจริงไม่ได้หรอก
เลือก คนดี ที่ขยัน ครับ
กบเลือกนาย
ส่วนตัวคิดว่าคนเราจะมีส่วนที่ดีและไม่ดี มีส่วนที่เก่งและไม่เก่ง
บางคนอาจจะเป็นคนดีสำหรับคนๆนึง แต่ก็อาจจะเป็นไม่ดีสำหรับคนอื่นก็ได้ แล้วก็เก่งในเรื่องนี้แต่ไม่เก่งในเรื่องอื่นก็ได้
แต่ถ้าพูดมาแบบนี้แล้วก็ผมก็คงจะเลือกคนที่ดีครับ เพราะว่าถ้าคนทั้งโลกมีแต่คนดี ผมว่าไม่จำเป็นเลยที่ต้องพัฒนาอะไรเลย ไม่ต้องการเทคโนโลยีที่ลำสมัยจากคนเก่ง
แต่ถ้าทั้งโลกมีแต่คนเก่ง โลกนี้ก็อาจจะลำสมัยไปเยอะกว่านี้ มีแต่การชิงดีชิงเด่นกัน อยู่ไม่สงบ...
ปล.ผมอาจจะเข้าใจคำว่า "ดี" กับ "เก่ง" ผิดไป
もういい
โดยส่วนตัวผมชื่นชมคนดีครับและคิดว่าคนดีไม่จำเป็นต้องเก่งก็ได้
หากคนเราคิดดีทำดีแล้ว ผมเชื่ออย่างสนิทใจว่าสิ่งดีๆย่อมตามมาแน่นอน
สนับสนุนความคิดท่าน atjr ครับ
ทุกวันนี้ ที่บ้านเมืองเราเป็นแบบนี้ ไม่ใช่ว่าเพราะคนไม่ดีหรอกเหรอครับ?
คนเก่งบ้านเมืองเรามีอยู่หลายคนครับ แต่คนที่เก่งแล้วเป็นคนดีมีจริยธรรม ศีลธรรม
มีอยู่น้อยครับ และนับวันยิ่งหมดไป
คนเก่งแต่ไม่มีจริยธรรม ก็ปล่อยน้ำเสีย ก็ประกอบธุรกิจไปบนความเดือดร้อนของผู้อื่นมีความคิดเห็นแก่ได้
แล้วก็มาทำ CSR เอาหน้ารอด แต่ไม่รู้ว่าเบื้องหลังบ่อนทำลายไปเท่าไหร่แล้ว
แต่คนที่ไม่เก่ง แต่เป็นคนดี ตามทฤษฎีธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature)ของขงจื๊อบอกว่า คนเราโดยธรรมชาติล้วนเป็นคนดีในจิตใจเป็นธรรมชาติอยู่แล้วครับ "ถ้า"ไม่ถูกอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกมาทำลาย
เพราะฉะนั้น คนที่ไม่เก่งยังฝึกฝนจนเกิดทักษะ ความชำนาญได้เสมอจึงควรที่จะสนับสนุนคนดี ให้รางวัลคนดีเยอะๆครับ ลงโทษคนเลวอย่างสาสม แต่ความชั่ว มันเป็นเงาที่ตามตัวอยู่เสมอครับ ลบล้างกันไม่ได้หรอก
ผมชอบคนมีคุณธรรมครับ =v=b
คุณน่ะทำ :-)
a link
+1 คนดี ครับ ตาม พระบรมราโชวาท ของในหลวง ครับ
"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี
ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย
จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง
และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ
ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"
ปล.ไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่นนะคับ ตามหัวข้ออย่างเดียว
+1 คนดีจ้า
ถ้าได้ยินเพลงเพราะๆ ผมก็จะบอกว่าชอบเพลงนั้น
ไม่เห็นต้องสนใจว่าเพลงนั้นจะภาษาอะไร? ลูกทุ่งหรือฮิพฮ็อพ?
คนร้องจะเคยทำอะไรมา? ค่ายเพลงดังหรืออินดี้? คนฟังเยอะหรือน้อย?
ผมรู้สึกว่าเพลงมันเพราะ มันก็บอกความหมายในตัวมันอยู่แล้ว
เห็นว่าดีจริง ผมก็ยกย่อง
เห็นว่าเก่งจริง ผมก็ยกย่อง
ไม่เคยนับเหมือนกันว่าอย่างไหนมากกว่ากัน
อาจจะตอบไม่ค่อยตรงประเด็นนะ
แต่ถ้าจะให้ยกย่องมากที่สุด
ผมยกย่องคนที่แยกแยะเรื่องต่างๆได้และมองชีวิตด้วยความเป็นจริงมากกว่า
ไม่มีเงื่อนไข. เลือกคนดีครับ
ปล.ทักเล็กๆครับ คนเก่งจะไม่ทำให้เราเห็นว่าเค้าเป็นคนไม่ดีครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ