ประเด็นตัวเลขในข่าวมีมานานนะครับ หลายคนอยากให้ Blognone กำหนดรูปแบบการเขียนตัวเลขในข่าวอย่างที่ตัวเองอยากอ่าน อย่างไรก็ตาม Blognone เปิดให้อิสระกับ "สไตล์" การเขียน ยกเว้นแต่การเขียนนั้นผิด หรือไม่อยู่ในรูปแบบที่ได้รับการยอมรับ
จากการค้นคว้า การใช้หน่วย "พันล้าน" นั้นมีการใช้งานอย่างเป็นทางการ เช่น รายงานของกระทรวงการคลัง ("7.0 พันล้าน", "1,445.5 พันล้าน", "350 พันล้าน")
หลังจากค้นคว้าแล้ว ข้อยุติในเรื่องนี้
รับทราบครับ
อ๋อ มาอ่านอีกรอบพึ่งเข้าใจ= =' ว่าใช้อะไรก็ได้เหมือนเดิม
ความเห็นผมคือ หน่วยที่ใช้ได้คือ ทุกๆ 10^3n และเริ่มที่ล้าน เช่น 0.7 ล้าน, 13 พันล้าน, 3.25ล้านล้าน
May the Force Close be with you. || @nuttyi
หลายๆ ครั้งที่ทักไปแล้วไม่มีการแก้ไข ตอบไปตอบมา mk เข้ามาบอก "ผมไม่มีปัญหากับคำนี้นะ" จบ
หลังๆ ผมเริ่ม "ช่างหัวมัน" ละ จะเขียนผิดเขียนถูกยังไงก็ช่าง ผมอ่านเข้าใจเนื้อหาก็พอ
ปล่อยเป็นเรื่องของ Contributor, Writer และ Founder ก็แล้วกัน
ส่วนตัวผมจะถือว่า ถ้าขึ้นแรกแสดงว่าผ่านการตรวจพิจรณามาดีแล้ว
^
^
that's just my two cents.
อันนั้นก็ตามสะดวกครับ
lewcpe.com, @wasonliw
เราไม่เคยบอกนะครับว่าทักแล้วจะต้องแก้ไขทุกครั้ง ถ้าอยากได้แบบนั้นต้องเปิดเว็บเองครับ (จริงๆ นะ)
ก็นั่นแหล่ะครับ ไม่มีปัญหา กลับมาอ่านอย่างเดียวแบบเมื่อก่อน
ที่ register มาก็เพื่อช่วย comment คำ(ที่เห็นว่าอาจ)ผิด แค่นั้นเอง
^
^
that's just my two cents.
ถ้าไม่มี 20 พันล้าน กับ 2 หมื่นล้านในข่าวเดียวกันก็ดีครับ
ตรงที่มีแสง
+1
ใช้ยังไงก็ได้ ผมไม่มีปัญหา
แต่ข่าวเดียวกันควรใช้มาตรฐานการเขียนเดียวกันตลอดครับ
อันนี้เรื่อง consistency เป็นอีกประเด็นครับ ทักท้วงกันได้อยู่แล้ว อย่างเรื่องอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน ถอดชื่อไม่เหมือนกันในบทความเดียวกัน
lewcpe.com, @wasonliw
ว่าแต่ว่า คำว่า "หมื่นล้าน" "แสนล้าน" และ "ล้านล้าน" นี่โอเคมั้ยครับ ??
แบบนี้ผมคิดว่าใช้เป็นคำอ่าน "สามแสนล้าน" ดีกว่า "3 แสนล้าน" ถ้าจะใช้ตัวเลขใช้ "300 พันล้าน" จะดีกว่า แต่ยังไงซะขอให้หน่วยมันเหมือนกันในข่าวทั้งข่าวก็พอแล้วล่ะ
ป.ล. เจอ สิบพัน กับ หมื่น ปนกัน แล้วมันมึนจริง ๆ นะ
Jusci - Google Plus - Twitter
โอเคครับ
lewcpe.com, @wasonliw
สำหรับผม ถ้าจะว่าที่เหมาะสมก็คืออะไรที่อ่านแล้วไม่ต้องคิดหลายตลบนั่นแหละดีที่สุด
แต่ก็แล้วแต่คนเขียนอยู่ดี
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
จริงๆน่าจะเข้าใจว่าเป็นภาษาข่าว ง่ายๆ ก็ดูจากหนังสือพิมพ์ แล้วบางครั้งก็ปัดหน่วยเพื่อง่ายการทำความเข้าใจ
แล้วก็คงค่อยมีใครพิมพ์
3พัน2ร้อย5สิบล้านล้านบาท
จริงๆแล้วคำตอบก็มีอยู่ในตัวแล้ว มาเถียงกันอยู่ได้ เรื่อง ภาษาพูดกับภาษาเขียน เถียงกันไปก็ไม่จบ ดราม่ากันเปล่าๆ
การปัดหน่วยมันก็มีหลายแบบครับ
ถ้าเปนผม ผมจะปัดเปน 3,250 ล้านล้าน บาท
^
^
เป็นผมจะพิมพ์ 3.25 พันล้านล้านบาท
ผมนิยมคล้ายแบบ Scientific notation มากกว่า เช่น 1.66 แสนล้านบาท มากกว่า อ่านง่ายดี
ปล. มีหน้าที่รวบรวมกฎของ blognone ไหมครับ
+1 ชอบให้เขียนเลขแบบนี้ ผมว่าสำหรับคนไทย(ทั่วๆ ไป) น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า คือไม่ต้องชงักแล้วคิดนิดนึง
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
3.25 พันล้านล้านบาท หรือ 3,250 ล้านล้าน บาท
ผมว่าโอเคทั้งสองแบบนะ ขอแค่ในข่าวเดียวกับเขียนรูปแบบเดียวกันก็พอ
แต่ 3พัน2ร้อย5สิบล้านล้านบาท ไม่ไหว อ่านยากไป
อย่างหลังอ่านเข้าใจง่ายกว่าครับ
my blog :: sthepakul blog
จากข่าวนี้ https://www.blognone.com/node/118404
อยากให้หลาย User ที่เห็นด้วยเรื่องเปลี่ยน 40พันล้าน มาเป็น 4หมื่นล้าน มาร่วมกันลงเสียงในนี้แล้วกันนะครับ
บริบทของคำว่า "แปลเป็นภาษาไทย" มันหมายถึงว่าแปล Text เป็นภาษาไทยเฉยๆ หรือหมายถึงว่า แปลให้เข้าใจด้วยภาษาไทย?
สำหรับผม มันไม่ใช่แค่การ "เปลี่ยน Symbol" นะครับ แต่มันควรเป็นการ แปลให้เป็นภาษาไทยด้วย
ดังนั้นการเปลี่ยน 40พันล้าน ให้เป็น 4หมื่นล้าน มันควรมีความจำเป็นครับ ทั้งง่ายต่อการอ่านด้วย
อีกกรณีนึง อันนี้อยากทราบว่า Blognone วางตัวว่าเป็นเว็ปข่าวสาร หรือไม่?
ถ้าทาง Blognone วางตัวว่าเป็นเว็ปไซด์ข่าวสารเทคโนโลยี
อันนี้ผมว่า ยิ่งต้องแปลหน่วยให้มันตามบริบทการอ่านตามปกติของภาษาไทย น่าจะดีกว่าครับ
สังเกตุได้เลยว่า พอมีข่าวที่มีการใช้หน่วยแปลกๆ ก็ต้องมีการโต้เถียงกันตลอดว่า ทำไมไม่แปลแบบ 4หมื่นล้าน ทำไมแปลเป็น 40พันล้าน นั่นไม่ใช่เพราะความแปลกของการใช้ภาษาหรอครับ?
ส่วนตัวก็ไม่ใช่นักภาษาศาสตร์นะครับ ไม่รู้ว่า 4หมื่นล้าน มันคือหลัก หรือความเคยชิน ของการอ่านภาษาไทย
แต่ผมคิดว่า การแปลให้เข้าใจ มันเป็นมิตรมากกว่า การแปลตามใจ ครับ
ผมเข้าใจว่า น่าจะมาจากการแปลเนื้อข่าวมาจาก ตปท. ซึ่งเข้าใช้
million ลเาน
ต่อมาก็เป็น billion พันล้าน
แล้วก็ trilion แสนล้าน ไปเลย
พอมาแปลเป็นไทยก็เลยทับศัพท์ไปในตัว
น่าจะราวๆนี้
แต่ถามว่าใช้อันไหน ผมไม่ซีเรียสนะ ขอให้เข้าใจได้และใช้หน่วยเดียวกันทั้งบทความ