ในขณะที่แอปเปิลเปิดตัว iMac ใหม่เมื่อวาน ได้มีการเปิดตัวการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ Fusion Drive ซึ่งเป็นการรวมเอา SSD กับ HDD ธรรมดาเข้ามาเป็นไดรฟ์เดียวกัน โดยซอฟต์แวร์จะเป็นตัวบริหารจัดการว่าจะเอาข้อมูลลักษณะใดเก็บไว้บน SSD และข้อมูลแบบไหนเก็บไว้ใน HDD โดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องสลับข้อมูลระหว่างสองไดรฟ์นี้ เนื่องจากเกิดการเรียกใช้งานบ่อยขึ้นหรือน้อยลง ซอฟต์แวร์จะจัดการย้ายไฟล์เองโดยที่ผู้ใช้จะมองไม่เห็น
ทั้งนี้ มีหลาย ๆ คนได้ออกมาบอกว่า Fusion Drive ของแอปเปิลนี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจาก Hybrid Drive ทั่วไปที่มีวางขายอยู่ในตลาด แต่เว็บ MacObserver ได้ออกมาบอกว่าการทำงานของ Fusion Drive ไม่เหมือนกับ Hybrid Drive เพราะว่าแอปเปิลไม่ได้ทำการ cache ข้อมูลจาก HDD มาอยู่บน SSD
เพราะฉะนั้นพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้จริงบน SSD + HDD สองชิ้นนี้จะเกิดจากความจุของหน่วยเก็บข้อมูลทั้งสอง ไม่ใช่แค่ความจุของ HDD เป็นหลักเหมือนกับ Hybrid Drive ทั่วไป (เช่น 128GB SSD และ 1TB HDD จะได้พื้นที่ใช้งานจริง 1.12TB)
เช่นกัน Ars Technica ก็ได้ออกมาบอกว่า Fusion Drive ของแอปเปิลทำงานไม่เหมือนกับ Hybrid Drive แต่ใกล้เคียงกับเทคโนโลยี Automated Tiered Storage มากกว่า เพราะว่าไฟล์ที่ถูกเรียกใช้งานบ่อยจะถูกย้ายไปเก็บไว้ในขั้นที่สูงกว่า (กรณีนี้คือ SSD) ไม่ใช่แค่การเก็บ cache ไว้เพียงชั่วขณะ
ส่วนเรื่องการใช้งานจริง ดูเหมือนว่าการ write ข้อมูลทุกชนิดของ Fusion Drive จะเกิดขึ้นที่ไดรฟ์ SSD จากนั้นทุกอย่างจะถูกย้ายกลับเข้าไปสู่ HDD ในภายหลัง
สำหรับตอนนี้ Fusion Drive มีเฉพาะบน iMac และ Mac mini ใหม่เท่านั้น
ที่มา - MacRumors
Comments
"Fusion Drive ของแอปเปิลทำงานไม่เหมือนกับ Fusion Drive "
น่าจะเป็น
"Fusion Drive ของแอปเปิลทำงานไม่เหมือนกับ Hybrid Drive "
I need healing.
"โดยซอฟต์แวร์จะเป็นตัวบริหารจัดการว่าจะเอาข้อมูลลักษณะใดเก็บไว้บน SSD และข้อมูลแบบไหนเก็บไว้ใน" ท้ายประโยคนี้ขาด HDD ไปหรือเปล่าครับ
ปรับแก้หมดแล้วครับ ขอบคุณมาก - -"
@TonsTweetings
ขออภัยครับ พอดีมันสะกิดหนวด
ไดรว์ -> ไดรฟ์ เพราะเวลาที่ออกเสียงแอ็คเซ็นต์จะออกเป็นฟ.ฟัน อิงตาม glossary ก็เป็นไดรฟ์
เดี๋ยวขับถ่ายเสร็จจะแก้ครับ
@TonsTweetings
ถ้าใช้ประโยคนิยมของบริษัทผมก็ต้อง
Thank you for your information. -*-
มีใน Mac mini ด้วย ดีจุง
เสียดายที่ Fusion Drive ไม่มีขายทั่วไป ต้องสั่งในเว็บเท่านั้น :|
ทุกอย่างเขียนลง SSD หึๆ สนุกอย่างรู้ว่าอายุ Drive อยู่ได้กี่ปี ล่าสุดหลายเดือนแล้ว ssd เขียนทับที่เดิมยังอยู่หลักหมื่นครั้งอยู่เลย
Ton-Or
ผมเคยคิดว่ามันจะไม่ทนต่อการเขียนลบๆเหมือนกันแต่อันนั้นคือ ssd รุ่นแรกๆครับ
เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว บางรุ่นนับเป็นร้อยๆปี (write 5GB/day) ยิ่งความจุสูงยิ่งยาวกว่า
http://www.tomshardware.com/reviews/ssd-520-sandforce-review-benchmark,3124-11.html
โลโก้สวยมากๆๆ
+1 ครับสวยมาก ไม่มีตังค์ซื้อเครื่องมองโลโก้แทนละกัน
เดาไว้ว่า Macbook รุ่นหน้าจะมีรุ่นที่มี Fusion Drive อาจจะมาแทนรุ่น HDD เดิม
ส่วนรุ่น SSD เพิ่มความจุ
น่าจะเป็น Mac รุ่นที่มี SSD+HDD มากกว่าครับ หากมีเฉพาะ SSD Fusion Drive ก็ไม่มีความจำเป็น อย่างเช่นใน rMBP 13,15 นิ้ว และ MBA ส่วนปีหน้า ผมคิดว่า MBP ปรกติที่ไม่ใช่ Retina Display จะถูกเอาออกจากสายผลิตภัณฑ์ Apple จะเหลือแค่ MBA และ rMBP
มันเพราะว่าเครื่องกับ OSX ถูกผลิตโดย Apple ด้วยกันรีเปล่า ทำให้สามารถจูน OS ให้เข้ากับไดร์ฟใหม่ได้ขนาดนี้
นั่นสิ ถ้าลง Windows จะเป็นยังไง
ทำไม่ได้หรอกครับ driver ต้องรองรับ เผลอๆ ต้องมี Windows พิเศษ
ต่อไปในอนาคต Mac ต้องแอบถอดป้าย Mac run Windows too ออก
การทำงานพวกนี้ น่าจะอยู่ในฝั่ง hardware(controller) มากกว่า software(driver) นะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อาจจะทำไม่ได้นะครับ เหมือน dynamic graphic switching ของแมคที่ใช้บน windows ไม่ได้
@TonsTweetings
Hybrid drive ของค่ายอื่นเป็น hardware controller ครับ แต่ก็จำเป็นต้องใช้ driver ด้วย แต่กรณีของ Fusion drive การใช้งานมันลึกเข้าไปถึงในระดับนโยบายของการใช้งานไฟล์ประเภทต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าอยู่ในระดับชั้นของระบบปฏิบัติการด้วยครับ โมเดลของแอ็ปเปิ้ลจะทำให้การทำงานหลายๆ อย่างของ fusion drive ช้ากว่า hybrid drive ในหลายๆ กรณีในแง่ของการใช้งานจริงๆ โดยเฉพาะการอ่านข้อมูลกลับโดยที่ไม่ได้แคชยกตัวอย่างเช่นการทำมีเดียเซ็นเตอร์หรือการแชร์ไฟล์เป็นต้น ทว่าในแง่ของประสบการณ์ของผู้ใช้ที่ทดสอบตามร้านจะพบว่า fusion drive นั้นเร็วเท่ากันกับ SSD เลย เพราะเรียกแต่ตัวซอฟต์แวร์แต่มักไม่ได้ขออ่านเดต้านั่นเอง
จริงๆเรื่องพวกนี้มันทำ dynamic allocation โดย controller ได้ครับ อย่าง SSD controller ของ Sandforce นี่ทำ hardware-level-data compression กับ dynamic allocation กันเป็นปกติ และโดยส่วนมาก SSD มักจะทำ dynamic allocation กันอยู่แล้วเพื่อป้องกันการ NAND write ที่จุดๆเดิมมากเกินไปครับ
กรณีนี้ผมไม่ได้ยืนยันนะครับว่า Fusion drive มันทำงานแบบนี้จริง เพียงแต่เสนอว่ามันทำได้ครับ แต่ถ้า OS เห็น drive แยกกัน(ไม่ใช่ drive เดียว)และนำ drive ทั้งคู่มาบริหารจัดการเอง เห็นด้วยครับว่าต้องใช้ software เข้ามาช่วยแน่นอน
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ลองคิดดูเล่นๆ ว่าเวลาแบ่ง partition จะทำอย่างไร
แอบคิดว่าทำไมได้เพราะ apple เค้าปิดไว้ ต้องมา jailbreak ก่อนครับ :P
เดี๋ยวแอปเปิลก็ออกไดรเวอร์มารองรับเองล่ะครับ
MBP Retina ออกมานานแล้วแต่ driver จากฝั่ง MAC ยังทำได้ไม่ดีเลยครับ ต้องให้ nVidia ออก driver ของตัวเองมาขัดตาทัพ
แบบนี้ต่อไปการลง Hackintosh ก็ยิ่งปวดหัวเข้าไปอีก
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ผมว่าไม่เกี่ยวครับ เพราะมาตรฐานของเครื่อง Mac ส่วนใหญ่ก็ยังใช้ HDD หรือ SSD อย่างใดอย่างนึงเป็นหลักอยู่ ยกเว้นซื้อ Option เสริมในกรณีสั่งผ่าน Apple Store Online เท่านั้นหนิครับ
ดังนั้น ถ้าเป็น hackintosh ก็ยังมองว่าเป็น HDD ล้วน ๆ อยู่ดีครับ
อยากรู้ว่า ถ้าจับไปลง Windows แล้วมันจะทำงานยังไงอ่ะครับ
ผมว่าเห็นเป็น 2 drive แล้วก็ใช้กันไปตามปกติ
@mamuang
ผมว่าทำได้เพราะ ZFS(Solaris > FreeBSD > OS X)
เทพจริง ๆ
Coder | Designer | Thinker | Blogger