เว็บไซต์ภาษาจีนแห่งหนึ่งรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากห่วงโซ่อุปทานของผู้ป้อนวัตถุดิบในไต้หวันว่า iPhone 6 จะมีกล้องหลัก 10 ล้านพิกเซล ที่ f/1.8 และแอปเปิลจะเปลี่ยนฟิลเตอร์จาก hybrid IR ที่ถูกใช้ใน iPhone 5s เป็น resin lens ที่ถูกผลิตโดยบริษัท JSR จากญี่ปุ่น
JSR มีผลิตภัณฑ์ชื่อว่า ARTON Resins ซึ่งถูกใช้ในกล้องถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอดิจิทัลที่ใช้เซนเซอร์แบบ CMOS โดยบริษัทเคลมว่าฟิลเตอร์ของบริษัทบางและเบากว่าฟิลเตอร์คู่แข่ง และทำให้ได้ภาพที่คมชัดกว่าเนื่องด้วยเรซินมีคุณสมบัติลดการเพี้ยนของสี (color shift) บนเซนเซอร์แบบ CMOS
ข่าวลือนี้ขัดแย้งกับข่าวลือก่อนหน้านี้ ที่ Nomura Securities อ้างว่า iPhone 6 จะยังใช้เซนเซอร์กล้องหลัก 8 ล้านพิกเซลเท่าเดิม แต่หันมาเพิ่มระบบกันกล้องสั่นที่เลนส์ (OIS) เช่นเดียวกับมือถือรุ่นชูโรงจากยี่ห้ออื่น ๆ
อนึ่ง iPhone 5s มีกล้องหลัก 8 ล้านพิกเซล ที่ f/2.2
Comments
ถ้า F1.8 นี่หลังละลายกันเลยนะ สงสัยไม่ได้หยิบกล้องจริงมาใช้กันเลยทีเดียว 55
my blog
"หลังละลายกันเลยนะ" ?
เซนเซอร์เล็ก ถ้าไม่ Closeup มากๆยังไงฉากหลังก็เบลอน้อยมากครับ
เซนเซอร์มันเล็กคงไม่เบลอเท่าไรหรอกครับ
เลนมัน wide มาก 4-6 mm โดนคูณเข้าไป 4-5 เท่า ยังไงก็ไม่ละลาย นอกจาก close up อย่างที่ความเห็นบนๆ ว่าแหละครับ
ปัจจัยในการเกิด bokeh (แถวบ้านเรียก "ละลายหลัง") ไม่ได้เรียงตามลำดับนะครับ
1. รูรับแสง ยิ่ง f เลขน้อย ยิ่งละลายมาก
2. ระยะของเลนส์ ยิ่งเลนส์ซูมได้เยอะ ยิ่งละลายมาก (จริง ๆ ไม่ตรงประเด็นซะทีเดียว เพราะยิ่งซูมมาก เลนส์จะดึงฉากหลังให้เข้าใกล้มาก เมื่อเข้าใกล้มาก ดูเผิน ๆ เหมือนฉากหลังจะละลายมากขึ้น)
3. ขนาดของ sensor รับภาพ ยิ่งใหญ่ ยิ่งละลายมาก
4. ระยะวัตถุ ยิ่งกล้องใกล้กับวัตถุมากเท่าไร ยิ่งละลายมาก
จะเห็นว่า f/1.8 ก็จริง แต่กล้องมือถือเป็นเลนส์มุมกว้าง + ขนาด sensor เล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับ APS-C/Full-frame ส่วนระยะวัตถุขึ้นอยู่กับการถ่ายจริง
หักลบกันแล้ว bokeh ก็ยังเกิดได้น้อยครับ เอาไปเทียบกับกล้องรวยไม่ได้เลย
หากผมใช้ศัพท์ผิดอย่างไร ขออภัยด้วยครับ
เรียงตามลำดับให้ อธิบายเพิ่มว่า เรียกว่า Depth of Field หรือว่าระยะชัดลึกน้อย (ยิ่งละลายมาก)
ข้อ 3 ผิดครับ ขนาด sensor ไม่มีความเกี่ยวข้องกับระยะ DOF หรือว่า bokeh ที่เกิด เพราะว่า ขนาดของ sensor เล็กลงมีค่าเท่ากับการครอปเท่านั้น ในหนังสือเลนของ canon เคย test 85 1.2 บน fullframe vs aps-c ด้วยปรากฏว่ารูปนั้น aps-c ละลายมากกว่าด้วย ทั้งนี้โอกาศที่ aps-c จะละลายมากกว่า fullframe เกิดขึ้นได้ อาจจะด้วยองค์ประกอบของวัตถุที่มีแสงมากๆ เช่นโคมไฟที่ถูกครอปลง แต่ไม่เสมอไป
เสริมข้อ 3 ครับ
เลนส์ตัวนึงให้ DoF เท่ากันตลอดไม่ว่าจะถ่ายบน format ไหน (APS, APS-H, APS-C, 4/3)
โดยมีเงื่อนไขคือตั้งกล้องถ่ายที่ตำแหน่งเดียวกันครับ เพราะระยะระหว่าง foreground/subject/background นั้นเท่ากัน
ที่เห็นภาพขนาดต่างกัน เพราะการ crop ของ image area บนเซนเซอร์ล้วนๆ
ข้อ 3 จริงๆ ผิดในทางทฤษฎี แต่ไปถูกในทางปฏิบัติครับ
เลนส์ mm เท่ากัน บน sensor ขนาดต่างกัน อยู่ห่างจาก object เท่ากัน มี DOF เท่ากันจริง
แต่เพราะ sensor เล็กกว่า ทำให้ได้ภาพที่เหมือนถูกครอป ถ้าอยากได้ภาพเหมือนเดิม ต้องเลือกระหว่าง
--1. ลดทางยาวโฟกัสลง หรือ
--2. ถอยไกลจาก object มากขึ้น
ไม่ว่าจะเลือกข้อไหน ก็ทำให้ DOF ละลายน้อยลงทั้งนั้น แม้ขนาด sensor จะไม่มีผลโดยตรง แต่เห็นผลทางอ้อมจากการไปเสริมข้ออื่นครับ
--1 เปลี่ยนทางยาว focus ยังไงครับ object อยู่ที่เดิม
--2 เปลี่ยนตำแหน่ง เลน (กล้อง) ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรต่อแล้ว เพราะว่ามันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
ฉะนั้น จะเรียกว่าถูกในทางปฏิบัติ ผมไม่เห็นด้วย เพราะว่ามันคือ การเปลี่ยน factor
ด้วยความเคารพ
ผมเข้าใจที่คุณสื่อนะครับ แต่เมื่อเปลี่ยน factor แล้วที่เหลือทั้งหมดโยนทิ้งครับ เพราะว่าไม่ได้ทดลองบน factor เดียวกัน
ข่าวถัดไป iPhone 6 ใช้เซ็นเซอร์ APS-C
/me ปาแอนดรอยด์ทิ้ง 555+
Educational Technician
แบบนี้ต้องคงต้องเอา Lens มาติดแยกแล้วแล้วล่ะครับ แค่ Sensor ไปทั้งหลังเครื่องแล้ว ฮ่าๆ
ถ้าเป็นแบบนี้จริงผมเห็นด้วยนะครับ ผมเห็นภาพถ่ายจากกล้องจริงๆ ในขนาดที่เล็กกว่า พิกเซลน้อยกว่า แต่ภาพมันออกมาชัดมาก อยากเน้นจัดการกับเลนส์ที่มีคุณภาพมากกว่า ขนาดทุกวันนี้ iPhone 5s มันก็ถ่ายรูปได้ดีสุดๆ แล้ว ถ้าในอนาคตมันได้คุณภาพแบบกล้องแล้วล่ะก็ จะยิ่งสุดยอดไปไหน
เห็นลือมาตลอดอ่ะ แล้วของจริงแทบจะไม่เคยไได้ตามลือเลย
กล้องมือถือเทพยังไง ก็สู้ GF3 มือสองราคา 4000 ของผมไม่ได้หรอก
อยากได้ PureView ที่สีไม่เพี้ยนจะได้ไหม