ในโอกาสที่ Creative Commons ภาษาไทยจะออกมาเร็วๆ นี้ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจพอสมควรเลย
เรื่องนี้เริ่มจาก ครอบครัวชาวเท็กซัสครอบครัวหนึ่ง ไดทำการฟ้องร้อง Virgin Mobile ออสเตรเลียและ Creative Commons ในกรณีทำให้เกิดความอับอายและอดสู (grief and humiliation) ด้วยการนำรูปภาพของลูกสาวของครอบครัวนี้ ไปใช้ในป้ายโฆษณาของทาง Virgin โดยไม่ได้รับอนุญาต
ปัญหาเริ่มไม่ธรรมมาเนื่องจาก รูปดังกล่าวนั้น เป็นรูปที่ถูกโพสไว้ใน Flickr และมีการเลือกสัญญาอนุญาตการใช้งานไว้เป็น Creative Commons Attribution 2.0 ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใดก็ตาม สามารถทำซ้ำ แจกจ่าย รวมทั้งแก้ไขรูปนั้นได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของ ผลงาน เพียงแค่ต้องทำการอ้างถึงเจ้าของผลงานที่แท้จริงเท่านั้น โดยป้ายโฆษณาที่มีปัญหา ก็มีการอ้างอิงถึงที่มีของรูป ด้วยการบอกถึงที่มาของรูปภาพไว้ที่ด้านล่างของโฆษณาด้วย แต่มีการใส่คำโฆษณา "DUMP YOUR PEN FRIEND" และ "FREE TEXT VIRGIN TO VIRGIN" ไว้บนรูปดังกล่าว ซึ่งทางครอบครัวกล่าวว่า เป็นการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ส่วนโฆษกของทาง Virgin Mobile ออสเตรเลีย ยังไม่ได้ให้ความเห็นอะไรกับเรื่องนี้ และทางด้าน Creative Commons ยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ กับเรื่องนี้ (ผู้เขียน - ยังไม่พบการกล่าวถึงความเคลื่อนไหวจากทาง Creative Commons ในข่าวต้นฉบับ)
ประเด็นนี้เป็นเรื่องน่าสนใจคือ Creative Commons Attribution 2.0 อนุญาตให้ทำการดัดแปลงผลงานได้ ถ้ามีการอ้างอิงถึงที่มา และ Virgin Mobile ออสเตรเลียก็ทำถูกต้องทุกอย่าง แต่การที่มีการใส่ข้อความที่อาจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ทำให้ไปขัดกับเรื่องสิทธิมนุษยชน และยังมีเรื่อง model release ที่กล่าวถึงการต้องได้รับอนุญาตจากตัวบุคคลในรูปก่อนทำการ กระทำการใดๆ อีก จึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อ
อ้างอิง:
รูปที่เป็นปัญหา และ ประเด็นถกกันยาวใน FlickrCentral
ที่มา - The Sydney Morning Herald via Slashdot
Comments
ผมว่า Virgin Mobile หัวหมอไปหน่อยนะ จะว่าถูกตามกฏมันก็ใช่ แต่ตามมารยาทก็ควรจะขอเจ้าของรูปก่อนไม่ใช่เหรอ?
หมายความว่า Creative Common ก็ไม่ค่อยจะ common นัก? -- My blog: poomk.blogspot.com
แปลว่า บกพร่องโดยสุจริต ใช่หรือเปล่านะ เอิ้กๆๆ
http://creativecommons.org/licenses/by-nc/2.0/deed.en-us Noncommercial. You may not use this work for commercial purposes.
การทำอย่างนี้มันก็คือเอารูปมาใช้ในการค้าหนิ มันก็ผิดหนิครับ ? ------------------- meddlesome.tech.blog
ภาพต้นฉบับ ตอนแรกเป็น Creative Commons Attribution ครับ ซึ่งอนุญาตให้นำไปแก้ไข ดัดแปลงในเชิงการค้าได้ ขอเพียงแค่ให้เครดิต ส่วนอันที่คุณแปะคือ Creative Commons Attribution Non Commercial ซึ่งเป็นคนละอันกัน
เจ้าของภาพบอกว่าตัวเองใช้ By-NC แต่หลายๆ คนคอนเฟิร์มแล้วว่าภาพพวกนั้นเป็นแค่ By เฉยๆ ไม่ใช่ NC สรุปแล้วก็คือ นอกจากเรื่องมารยาท Virgin Mobile ทำถูกทุกอย่าง
HDK Blog
รู้สึกว่าตอนนี้จะเปลี่ยนเป็น All rights reserved. ไปแล้วแฮะ ——————— คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ
LinkedIn
เป็น issue ที่น่าคิดมาก โดนแค่นี้ยังไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าโดนเอาไปทำปู้ยี่ปู้ยำมากกว่านี้ จะเป็นยังไงเนี่ยะ อย่างเช่นถ้าให้ดัดแปลงผลงานได้ แล้วเอาหัวคนไปตัดต่อกับรูปโป๊ ก็ถูกใช่มั้ย?
เริ่มเป็นสิ่งที่น่าคิดและเริ่มคิดว่าไม่อยากให้มีรูปตัวเองไปอยู่ใต้ license นี้เลย
ถ้าระวังก่อนแปะ license ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ
รีบไปเช็ครูปตัวเองบน flickr เป็น All rights reserved หมด เพราะดีฟอลท์ - -"
---------- iPAtS
iPAtS
เกือบโดนเอาไปปู้ยี่ปู้ยำแล้วไหมล่ะ
โชคดีที่คิดมาก เลยใส่ by-nc ไว้ก่อน
--
--
ขอเรียนว่า ในกรณีที่ใช้สัญญาอนุญาตประเภทต้องยอมรับสิทธิของผู้สร้างสรรค์(Attribution)อย่างเดียวนั้น ผู้อื่นสามารถนำรูปหรืองานสร้างสรรค์นั้น ไปใช้
๑.เพื่อการค้า และ/หรือ ๒.ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ ๓.โดยอาจอนุญาตให้ผู้อื่นใช้งานที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น หรือไม่็ ก็ได้
กรณีตามตัวอย่าง แม้ว่า เจ้าของงานจะอนุญาตให้ใช้เพื่อการค้าและสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่ถ้า การแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้เจ้าของรูปหรืองานสร้างสรรค์นั้น เสื่อมเสียชื่อเสียง ก็เป็นการทำผิดเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา อนุญาตข้อ ๔.๔ ที่ว่า "(๔.๔) เว้นแต่กรณีที่ผู้อนุญาตได้ตกลงไว้เป็นหนังสือหรือมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอนุญาตไว้เป็นอย่างอื่นถ้าท่านทำซ้ำ จัดจำหน่าย หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ไม่ว่าจะเป็นงานนั้นเองหรือเป็นส่วนหนึ่งของงานดัดแปลง หรือชุดงานที่รวบรวมใด ๆ ท่านจะต้องไม่บิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือตำหนิติเตียนงานโดยใช้อคติ ในทางที่เสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์งานเดิม"
ดูรายละเอียดสัญญาอนุญาตฉบับที่เป็นข่าว เต็มๆ ได้ที่นี่ http://youfest.in.th/CC_Thailand/Thai_by_sa
ถ้าไม่ต้องการให้ผู้อื่นแก้ไขเพิ่มเติมรูป หรืองานสร้างสรรค์ของตนเลย ท่านก็ควรใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ ประเภทต้องไม่แก้ไขต้นฉบับ
ตอบคุณ kamthorn การเลือกสัญญาอนุญาตประเภท ต้องไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่อาจป้องกันปัญหาได้ครับ
ตอบคุณ lancaster เมื่อได้อนุญาตไว้ล่วงหน้าแล้ว ก็ไม่ต้องขอเจ้าของรูปอีกครับ
(ขอให้ความเห็นในกรณีที่ไม่ได้เขียนข้อยกเว้นเรื่องชื่อเสียงไว้ในสัญญาอนุญาต)
กม.ลิขสิทธิ์ กะการหมิ่นประมาทเป็นคนละส่วนกัน.
กม.ลิขสิทธิ์ พูดถึงเฉพาะการอนุญาตให้ ใช้งาน ทำซ้ำ แก้ไข เผยแพร่
แต่การที่ กม.ลิขสิทธิ์ อนุญาต ไม่ได้หมายความว่า กม.อื่น จะอนุญาต
เจ้าของรูป อนุญาตให้ทำซ้ำดัดแปลงแก้ไขได้, แต่ ไม่ได้อนุญาตให้หมิ่นประมาท (ซึ่งอยู่นอกขอบเขตของ กม.ลิขสิทธิ์).
ถึงจะทำถูกต้องตาม กม.ลิขสิทธิ์ ทุกอย่าง แต่ก็อาจจะโดนฟ้องโดย กม.ฉบับอื่นได้.
การทำตามเงื่อนไขของ license เป็นแค่การทำตัวให้พ้นผิดจาก กม.ลิขสิทธิ์ เท่านั้นเอง,
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะพ้นผิดจาก กม. ฉบับอื่น.
อานนท์