Tags:
Topics: 

ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว iPod รุ่นแรกสุดวางตลาดอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 ตุลาคม 2001 จากวันนั้นมาถึงวันนี้ ผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ iPod ได้วางขายไปแล้วกว่าร้อยล้านเครื่อง และมีการปรับปรุงพัฒนา อย่างต่อเนื่องมาจนถึงรุ่นที่ 6 ที่พึ่งวางตลาดไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังมีการแตกสายการตลาด ออกเป็นอีก 4 สายในปัจจุบัน อันได้แก่ iPod classic (เดิมเรียกว่า iPod หรือ iPod Video อย่างไม่เป็นทางการ), iPod shuffle, iPod nano (มาแทนที่ iPod mini ที่เลิกทำตลาดไปแล้ว) และน้องใหม่ล่าสุดอย่าง iPod touch

จากวันนั้นที่ Steve Job มองว่าตลาดเครื่องเล่นดนตรีชนิดพกพา เป็นตลาดที่กว้างมาก และยังไม่มีผู้นำตลาดที่ชัดเจน ถึงวันนี้ผ่านมา 6 ปี เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Apple กินส่วนแบ่งทางการตลาดอุปกรณ์ชนิดนี้ในสหรัฐสูงกว่า 72% (ที่มา) iPod ทำรายได้ให้กับ Apple สูงเป็นอันดับ 2 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดรองมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา เพียงนิดหน่อยเท่านั้นเอง ถือเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของแอปเปิลเลยทีเดียว

ที่มา : Wikipedia

Get latest news from Blognone

Comments

By: iake on 24 October 2007 - 12:01 #33930

คนที่ได้ดาวคนต่อไปน่าจะเป็นคุณคินดะอิจินี่แหละมั้ง

--------- iake blog

By: rebotko on 24 October 2007 - 12:47 #33935

ที่พึ่งวางตลาดไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา

"ที่เพิ่งวางตลาด" ครับ แก้ไขด้วย

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 24 October 2007 - 14:15 #33938 Reply to:33935

โดยทั่วไปก็ใช้ได้ทั้ง "พึ่ง" และ "เพิ่ง" แหละครับ ไม่ได้ผิดอะไร และไม่จำเป็นต้องแก้

ราชบัณฑิตเพียงแต่มีความเห็นว่า ควรใช้คำว่า "เพิ่ง" จะดีกว่า เพราะคำว่า "พึ่ง" มีความหมายอย่างอื่นด้วยอยู่แล้ว

วินิจฉัยคำ "พึ่ง" กับคำ "เพิ่ง" ซึ่งใช้ปนกันอยู่ ซึ่งท่านเสนาบดีกระทรวงธรรมการสั่งมา

ที่ประชุมตกลงกันเห็นด้วยดำริท่านเสนาบดีดังนี้

ก. "พึ่ง" เป็นคำกริยา ใช้ในความว่า พึ่งพาอาศัย เช่น ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งพาย ฯลฯ
ข. และ "เพิ่ง" ใช้เป็นคำวิเศษณ์ หมายความว่า บัดนี้, เดี๋ยวนี้ เกี่ยวกับ
เวลาปัจจุบัน เช่น "อย่าเพิ่งไป, ของนี้เพิ่งมีขึ้น" คำ "พึ่ง" ที่เอามาใช้เป็นคำวิเศษณ์ควรใช้ "เพิ่ง"
เช่น "เขาพึ่งมา" ควรใช้ว่า "เขาเพิ่งมา" "อย่าพึ่งไป" ควรใช้ว่า "อย่าเพิ่งไป" ฯลฯ

ในพจนานุกรมของราชบัณฑิตก็ยังคงให้ความหมายของ "พึ่ง" ในความหมายเดียวกับ "เพิ่ง" ไว้

พึ่ง ๒ ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น
เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความ
ว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก
หรือ เพ่อ ก็ว่า.

ที่มา: บันทึกรายงานการประชุมก่อนตั้งราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

--


--

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 24 October 2007 - 14:18 #33940 Reply to:33938
lew's picture

+1 Informative (Linguistics)

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: pit
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 24 October 2007 - 14:50 #33950 Reply to:33938

ว้าว ตัวจริง!

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 24 October 2007 - 14:57 #33952 Reply to:33950

เฮ่ย เดี๋ยวเข้าใจผิดไปใหญ่ ผมไม่ได้อยู่ในราชบัณฑิตนะ

--


--

By: Kindaichi on 24 October 2007 - 15:21 #33956 Reply to:33938

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ^^)

เช่นนั้นแล้วขอใช้คำว่าพึ่งต่อนะครับ เพราะผมว่าความหมายของพึ่ง ในข้อ ๒ ค่อนข้างตรงกับที่ผมต้องการสื่อมากกว่า ความหมายของคำว่า เพิ่ง ในข้อ ก ^^

iRadio : สถานีวิทยุออนไลน์เต็มรูปแบบ

By: Nice
ContributorAndroidWindows
on 24 October 2007 - 20:15 #33979

นึกว่า พึ่ง กร่อนเสียงมาจาก เพิ่ง ซะอีก ส่วนตัวพูด พึ่ง แต่เขียน เพิ่ง ตลอด --- Nice - SE7ENize


@NiceThai