รายงานข่าวจากสำนักงานข่าว AP รายงานว่าสหภาพยุโรปได้ทำการปรับเงินจากบริษัทไมโครซอฟท์เป็นเงิน 1.3 พันล้านดอลลาร์ ข้อหาที่ตั้งราคาข้อมูลโปรแกรมวินโดว์ของตัวเองสูงมากเกินไป จนคู่แข่งไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ ทั้งนี้เป็นการปรับมากที่สุดเท่าที่อียูได้เคยปรับมาในคดีทุ่มตลาด เพราะทางไมโครซอฟท์ตั้งราคาอย่างไม่มีเหตุผลเกินไป
การปรับเงินครั้งนี้เป็นการเพิ่มโทษจากเมื่อปี 2004 ซึ่งทางอียูได้ทำการปรับจากไมโครซอฟท์ไปแล้ว 613 ล้านดอลลาร์ และสั่งให้เปิดเผยข้อมูลร่วมกับบริษัทคู่แข่งรายอื่นภายใน 3 เดือน
ที่มา - matichon.co.th
Comments
อุ่ะดึ๋ย สม ๆ
"ตั้งราคาข้อมูลโปรแกรมวินโดว์ของตัวเองสูงมากเกินไป"
ไม่เข้าใจตรงนี้อ่ะครับใครก็ได้ช่วยอธิบายให้ที
ต้องเน้นคำว่าข้อมูลหนักๆ ครับ
ในที่นี้คือกรณที่ผมต้องการทำโปรแกรมมาขายแข่งเช่นจะทำออฟฟิศ แต่ปรากฏว่าผมทำไม่ได้เพราะข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวินโดวส์ผมไม่มากเท่าไมโครซอฟท์
ผมจึงต้องติดต่อไมโครซอฟท์เพื่อซื้อข้อมูลมาทำโปรแกรม ในกรณีนี้ไมโครซอทฟ์อาจจะขายเอกสารที่ปรกติใช้เป็นการภายใน เช่น สเปคของไฟล์เวิร์ด (ที่เพิ่งแจกฟรีไปวันก่อน) หรือ API ภายใน ตลอดจนการขอดูซอร์สโค้ดของวินโดวส์
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แพงมากๆ ครับ ทำให้คู่แข่งของไมโครซอฟท์ทำโปรแกรมแข่งไม่ได้ ขณะที่ทีมแอพลิเคชั่นอื่นๆ ของไมโครซอฟท์นั้นได้ข้อมูลตรงนี้ไปฟรีๆ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ใช่ครับ
งง
สูงเกินก็ดีไม่ใช่เหรอที่
คนอื่นจะได้ขายถูกกว่า และขายได้ง่ายกว่า
ขอตอบอย่างไร้ อคตินะครับ
ไม่ใช่ราคาซอฟต์แวร์นะครับ แต่เป็นราคาข้อมูลของวินโดว์ เพื่อที่จะเอามาพัฒนาโปรแกรมไปขายนะครับ
molecularck โม-เล-กุล-ซี-เค
http://www.digimolek.com
ลองอ่านข่าวย้อนหลังนะครับ
ไมโครซอฟท์กลับลำ สนับสนุนความเข้ากันได้ระหว่างโปรแกรม
นี่คือส่วนหนึ่งที่ศาลมีคำสั่งให้ทำครับ
"The software titan fought hard against the EU’s 2004 decision that ordered it to share interoperability information with rivals and sell a version of Windows without media software, taking an appeal to an EU court that it lost last September."
บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ต่อสู้อย่างหนักกับคำสั่งของ EU เมื่อปีค.ศ. 2004 ที่สั่งให้เผยแพร่ข้อมูลความเข้ากันได้ระหว่างโปรแกรมแก่คู่แข่ง และการขายวินโดว์เวอร์ชั่นที่ไม่มีโปรแกรมเล่นมีเดีย
รู้สึกดีใจลึกๆ ที่กลุ่มประเทศยุโรปเกาะตัวกันแน่นเป็น EU ...ทำให้รู้สึกว่าโลกนี้มันยังมีความ balance กันอยู่ มีอะไรมาคอยถ่วงดุลกันดีนะครับ
นึกไม่ออกว่าถ้าไม่มี EU ตอนนี้จะเป็นอย่างไร
ลึกๆ แล้วอยากเห็นกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมกลุ่มกันได้แน่นๆ เหมือน EU บ้าง เหมือนจะเคยมีความคิดนี้เมื่อหลายปีที่แล้ว (จะใช้เงินสกุลเดียวกันด้วย) แต่เพราะอะไรไม่ทราบจึงเงียบไป
ไม่เงียบครับ ไปเรื่อยๆ ชิลล์ๆ
จาก Roadmap ของ EU สู่ Roadmap ของ ASEAN
Wiki Association of Southeast Asian Nations
กรรมจริง ๆ ก็ของเค้าคิดค้น+ซื้อมาตั้งแพง ยังงี้ต้องขายวินโดว์กะข้อมูลส่วนซอฟต์แวร์อื่น ๆ แจกฟรีซะให้เข็ดเลยอยากแข่งจะได้แข่งให้หนำใจ ว่าแต่ว่าถ้าผมทำอะไรซักอย่างแล้วมันดังมากมายคนใช้กันค่อนโลกแต่ผม
ไม่ให้ใครรู้ข้อมูลแบบจะไปพัฒนาต่อหรือใช้ร่วมได้ แต่ผมแจกฟรีแบบนี้จะฟ้องผมไม่ได้ใช่ป่ะ
ค่าข้อมูล/รายละเอียด ในการเข้าถึงระบบปฎิบัติการรวมถึง app มันถือเป็นต้นทุนครับ
ที่นี้คนอื่นที่ต้องการเขียนโปรแกรมมาแข่งกับ word ก็ต้องเสียตังเพื่อซื้อ
ข้อมูลที่ว่า แต่สำหรับโปรดักที่ทำมาโดย ms เอง กลับไม่ต้องมีต้นทุนในส่วนที่ว่า
ก็ถือว่าฮั๊วกันภายใน ก็ไม่น่าจะผิดนัก (ผมเข้าใจถูกมั๊ยเนี๊ย!!)
ผิดที่เป็น Microsoft ครับ
เข้าข้าง Microsoft ตรงที่กว่าจะคิดจนออกมาได้เป็นรูปแบบของไฟล์หนึ่งๆ ก็ผ่านการทดลองและค้นคว้า มีต้นทุนมหาศาลอยู่เหมือนกัน
แต่คงตั้งราคาไว้สูงเกินนั่นแหละ ราคาขนาดไหนกันนะ...
"Microsoft initially had demanded a royalty rate of 3.87 percent of a licensee's product revenues for a patent license and a rate of 2.98 percent for a license giving access to the secret interoperability information"
จาก News.com
ผมมองว่าประเด็นปัญหาคือ ไมโครซอฟท์เองก็เป็นคนไปดึงบริษัทซอฟต์แวร์อื่นๆ เข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์บนระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์เองแต่แรกครับ
อย่างกรณีที่เห็นๆ คือ talking dict บ้านเราก็ไม่ได้เปิดอะไรให้ใครเข้าใช้งาน แต่ก็ทำต่อไปได้
แต่พอมีบริษัทมากมายเข้ามาใช้งานวินโดวส์แล้ว ปรากฏว่าไมโครซอฟท์เล่นบทบาทบริษัทผลิตแอพลิเคชั่นเองด้วย แถมมีความได้เปรียบบริษัทคู่ค้ามากมาย ทำให้คนอื่นดำเนินกิจการต่อไม่ได้
ผมไม่แน่ใจประเด็นกฏหมาย EU เท่าใหร่ อาจจะต้องรอมือฉมังแถวๆ นี้มาตอบกันต่อล่ะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
แล้วยังงี้เกิดเค้าแยกบริษัทกันแล้วซื้อกันเองแต่ราคาเท่าคนอื่นก็ไม่ผิดใช่มั้ยครับ
เข้าใจว่าน่าจะอย่างนั้นนะครับ เพราะเคยมีกรณีที่อัยการพยายามแยกส่วนของ OS ออกจากแอพลิเคชั่นเป็นสองบริษัทมาแล้วครั้งหนึ่ง
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
The Commission said in a landmark 2004 ruling, upheld by an EU court last year, that Microsoft had withheld needed interoperability information for "work group server" software.
RIVALS SHRIVELLED
Rival makers of work group servers, which operate printers and sign-ons for small office groups, saw their markets shrivel because Microsoft stopped providing information they needed to hook up to Windows office machines.
Even after the 2004 decision and a 497-million euro fine Microsoft dragged its feet, giving incomplete documentation and charging high royalties, the Commission said.
source: http://www.reuters.com/article/companyNews/idUSL2775856920080227
สรุปคร่าวๆคือ บริษัทคู่แข่งที่ต้องการข้อมูลที่จะทำงานร่วมกับไมโครซอพท์ได้นั้น จะถูกชาร์จราคาแพงมหาโหด เอกสารที่ได้นั้นก็ไม่สมบูรณ์อีกต่างหาก
(ซึ่งก็คือกีดกันคู่แข่งขันให้ไม่สามารถแข่งขันกับตัวเองได้โดยเด็ดขาดนั่นเอง)
อ่านอีกข่าวเห็น 1.4 พันล้านดอลลาร์ (http://www.abc.net.au/news/stories/2008/02/28/2174694.htm?section=business ) แต่เพิ่งสังเกตว่า ดอลลาร์สหรัฐ กับ ดอลลาร์ออสเตรเลีย
http://itshee.exteen.com/ -- whatever for life, love, death, and you know ... all that crap.
...
เหมาะสมแล้ว มันคือ การผูกขาดทางการค้า
อีกหน่อย บ. ผูกขาดทั้งหลายอาจจะโดนกันถ้วนหน้า
ในไทยก็มีอะไรน้าา... พฤติกรรมคล้าย ขายเหล้าพ่วงเบียร์
บ. อะไร ซอร์ฟๆ เหมือนกันใช่เปล่าครับ ^ ^'
สหภาพยุโรป เค้ามีกฎห้ามผูกขาดกันมานานแล้วครับ งานนี้ Microsoft คงจะต้องทำ workshop กันเยอะหน่อยครับ
พึ่งสังเกต
น่าจะเป็นหนึ่งหมื่นสามพันล้าน (13,000 ล้าน) มากกว่ารึเปล่าครับ
PoomK
1300 ล้านนะครับ
molecularck โม-เล-กุล-ซี-เค
http://www.digimolek.com