Tags:
Node Thumbnail

ผมเห็นว่าบทความของอาจารย์ภุชงค์ "คุยกันเล่นกับชาว HP" ฟังชื่อเหมือนป็นการคุยกันเล่นๆ แต่จริงๆกลับมีคุณค่าอย่างมากในการวางแผนสำหรับโครงการไอทีระยะยาว, การวิจัยและพัฒนา, และการให้ความรู้แก่ผู้ที่จะมาเป็นกำลังสำคัญในการใช้หรือพัฒนาเทคโนโลยีต่อไป ผมจึงขอนำเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัยของบริษัทการ์ทเนอร์ (Gartner) ที่มีความเกี่ยวข้องกับบทความของอาจารย์ภุชงค์ ดังต่อไปนี้

บริษัทการ์ทเนอร์ได้ยกเทคโนโลยี 5 ตัวซึ่งอยู่ใน Hype Cycle * แห่งปี 2008 ได้แก่ Green IT, Cloud Computing, Social computing platforms, Video telepresence, และ Microblogging ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีการเติบโตมากในปีนี้และอีก 2 - 5 ปีข้างหน้า

* บริษัทการ์ทเนอร์ได้นิยามคำว่า Hype Cycle ให้เป็นกราฟนำเสนอแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจ

ผมขออนุญาตเกริ่นถึงเทคโนโลยีทั้งห้าพอคร่าวๆดังนี้

  1. Green IT หรือบางคนเรียกว่า Green Computing เป็นการใช้โซลูชันบางอย่างเพื่อลดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอันเกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ช่วยลดปัญหาดังกล่าว ได้แก่ โปรเซสเซอร์แบบ Multi-core, Virtualization, การติดตั้งศูนย์ข้อมูลใกล้โรงงานไฟฟ้าแบบสะอาด, และมาตรฐาน ACPI เป็นต้น
  2. Cloud Computing เป็นบริการสารสนเทศที่ลูกค้าหรือผู้ใช้สามารถเลือกและปรับแต่งสเปคของบริการได้ตามความต้องการ และสามารถเรียกใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีเครือข่ายเข้าถึงบริการเหล่านั้น ** เช่น บริการเช่าเซิร์ฟเวอร์จาก Amazon EC2 ที่ลูกค้าสามารถกำหนดสเปคของเซิร์ฟเวอร์ให้มีจำนวนโปรเซสเซอร์และขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ตามต้องการ และสามารถเปลี่ยนแปลงสเปคได้ภายหลังตามแต่ต้องการ เป็นต้น ยกตัวอย่างบริการที่เป็น Cloud Computing เช่น Amazon EC2, IBM BlueCloud, Google Apps, Microsoft SQL Server Data Services และ Apple's MobileMe เป็นต้น
  3. Social computing platforms เป็นเครือข่ายสมาคมแห่งยุค Web 2.0 ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือกันและการแชร์ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น Hi5, MySpace, และ Facebook เป็นต้น
  4. Videotelepresence เป็นระบบประชุมทางไกลที่ให้คุณภาพสูงทั้งภาพและเสียง โดยการประยุกต์เอาเครือข่ายความเร็วสูงในการขนส่งข้อมูลที่มีรายละเอียดมากและต้องการรับประกันคุณภาพของการขนส่ง และใช้อุปกรณ์แสดงผลแบบรายละเอียดสูง (High-definition หรือ HD) เพื่อแสดงภาพผู้เข้าร่วมประชุมขนาดเท่าตัวจริง ยกตัวอย่างเช่น Cisco Telepresence และ HP Halo Telepresence เป็นต้น
  5. Microblogging เป็นรูปแบบเว็บบล็อกในเวอร์ชันขนาดย่อที่อนุญาตให้เจ้าของบล็อกโพสต์ข้อความสั้นๆ ตัวอย่างเช่น Twitter กับ Jaiku เป็นต้น ซึ่งบริษัทชั้นนำหลายแห่งกำลังใช้ Microblogging สำหรับเป็นช่องทางนำเสนอข่าวสาร (คงรวมไปถึงโฆษณาและการแจ้งข่าวสารผลิตภัณฑ์และบริการแก่ลูกค้าด้วย)

** นิยามของ Cloud Computing มีความแตกต่างกันไปตามมุมมองส่วนบุคคลและรูปแบบของบริการที่ถูกนำเสนอ อย่างไรก็ดี Cloud Computing มีรากศัพท์มาจากคำว่า "เมฆ" (Cloud) อันเป็นสัญลักษณ์ของอินเตอร์เน็ต Cloud Computing จึงเสมือนเป็นรูปแบบการประมวลผลที่มีความสามารถเข้าถึงบริการและทรัพยากรที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จนหลายคนเชื่อว่า Cloud Computing สามารถให้บริการที่ยืดขยายหรือลดขนาดได้ตามความต้องการหรือกำลังทรัพย์ของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการได้ทุกที่ทุกเวลา (ที่มีอินเตอร์เน็ต) -- โทษที ผมเสริมเนื้อหาตรงนี้เข้ามา เพราะเชื่อว่าหลายท่านอาจมีนิยามของคำว่า Cloud Computing แตกต่างไป และอยากชี้แจงว่า Cloud Computing เป็นคำศัพท์ที่กำกวมอยู่ครับ

ที่มา - Finfacts และ Gartner จริงๆแล้ว การ์ทเนอร์ได้ยกเทคโนโลยีไว้ถึง 27 ตัวไว้ใน Hype Cycle ครับ แต่ 5 ตัวที่เขาเสนอนั้นเป็นเทคโนโลยีที่เขาคาดว่าจะมีบทบาทอย่างมากในอีก 2 - 5 ปีข้างหน้า สำหรับท่านที่สนใจสามารถดูกราฟ Hype Cycle รวมถึงเทคโนโลยีทั้งหมด 27 ตัวได้จากแหล่งอ้างอิงครับ

Get latest news from Blognone

Comments

By: javaboom
WriteriPhone
on 28 August 2008 - 18:45 #62806
javaboom's picture

ผมไม่ได้ใส่ลิงค์อ้างอิงผลิตภัณฑ์และบริการที่ผมยกตัวอย่างไว้ในข่าวนะครับ กลัวลิงค์มันเยอะเต็มหน้า หากท่านหาข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้ไม่เจอ แจ้งผมได้ เดี๋ยวผมใส่อ้างอิงให้ทีหลังครับ

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: mk
FounderAndroid
on 28 August 2008 - 19:43 #62835
mk's picture

ตรงข้อ 2 น่าจะหมายถึง Google App Engine มากกว่ารึเปล่าครับ แต่จะว่าไป Google Apps เฉยๆ ก็นับเป็น cloud ได้เหมือนกัน

กราฟ hype cycle นี่น่าสนใจมากครับ (ในลิงก์อันแรกของ Finfacts แต่ตัวมันเล็กไปนิด) มีพูดถึง hype social ของเฉพาะ social network ด้วยว่าตัวไหนขาขึ้นขาลง อย่าง Hi5 กับ Facebook กำลังอยู่ในช่วงขาลงก่อนดีดกลับ

By: cblue on 28 August 2008 - 19:49 #62838 Reply to:62835

ส่วนตัวยังมองว่านิยาม cloud computing ยังคลุมกว้างกว่า GAE นะครับ

By: mk
FounderAndroid
on 28 August 2008 - 19:58 #62841 Reply to:62838
mk's picture

คงต้องรอคำนิยามมันนิ่งๆ ด้วยมั้งครับ อย่างตอนนี้ถามว่า cloud computing ต่างจาก utility computing หรือที่ IBM ไปเรียกว่า on-demand computing ก็ตอบยากเหมือนกัน

ผมเข้าใจว่าจุดวัดจะไปอยู่ที่คำนิยามของคำว่า "ประมวลผลด้วย" อย่าง S3 ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลแต่ไม่ประมวลผล ก็ไม่แน่ชัดว่าอยู่พวกใดกันแน่ระหว่าง cloud, web service (ตามคำเรียกของ Amazon เอง ไม่ได้หมายถึงพวก WS-*) หรือ SaaS (นับว่าเป็น "บริการ" เก็บข้อมูล)

By: javaboom
WriteriPhone
on 29 August 2008 - 01:07 #62854 Reply to:62841
javaboom's picture

ถูกต้องครับ

ผมเคยถามผู้บริหารของไอบีเอ็มที่สิงคโปร์ว่า "cloud ต่างจาก on-demand อย่างไร" สรุปว่า เขาไม่ตอบผมครับ แล้วเขาตอบคำตอบอื่นว่า สิ่งที่ IBM เคยทำมาไล่ตามลำดับเวลาก็มี Grid -> Utility -> SaaS -> Cloud แฮๆ แล้วผมก็ถามว่า "on-demand หายไปไหน ?" เขาก็บอกว่านี่แหละ on-demand มันเป็น on-demand ที่พัฒนาในแต่ละยุค

Grid มองหลักการแชร์ทรัพยากรระหว่างองค์กรที่บริหารอะไรด้วยนโยบายที่แตกต่างและเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เหตุผลหนึ่งที่เกิด Grid ก็มาจาก Demand นี่แหละครับ เพราะองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรระดับหนึ่ง แต่เมื่อทรัพยากรที่ถืออยู่ในมือมีไม่พอ จึงต้องไปขอใช้จากที่อื่น และ Grid ช่วยเพิ่ม Utilization และมีความเป็น on-demand (หากมี scheduler หรือตัวกระจายงานที่ฉลาด) คือเมื่อผมมี job น้อยๆ job ผมรันที่องค์กรผม แต่เมื่อ job ผมมีเยอะๆ มันก็กระจายไปรันหลายๆองค์กร

อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องนิยามไม่นิ่งก็ยังเกิดกับ Grid เลยครับ แม้ Grid จะมีนิยามที่เป็นที่ยอมรับ กล่าวคือ บริษัท Vendor ต่างนิยามผลิตภัณฑ์กริดเป็นของตนเอง อยากขายผลิตภัณฑ์ให้ทันยุค Grid ก็ใส่พ่วงท้ายไปว่า Grid-Enabled หรือ Grid-Ready เป็นต้น เมื่อตอน Sun Grid Engine และ Oracle 10G ออกมาใหม่ๆ หลายคนยังงงเลยว่ามันกริดยังไง

พอถึงยุค Utility ทีนี้มีเรื่องเงินทองเข้ามาเกี่ยว คือเช่าซื้อบริการและก็จ่ายตามจริง อันนี้ก็มีให้เห็นในบริการของซันจาก network.com เข้าไปดูในเว็บนี้ได้มันอ้างถึงความเป็น on-demand ในเว็บมีลิงค์หัวข้อ On-Demand Computing: Using Network.com แต่เว็บนี้ใช้สโลแกน Utility Computing และยังเคยมีบางคนเรียก Utility Computing ว่า Utility Grid

พอเป็น SaaS (Software-as-a-Service) เขามองว่าถ้าเป็น Grid หรือ Utility ทรัพยากรคือสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการและมองทรัพยกรคือสิ่งที่เป็นบริการ เช่นมาตรฐาน OGSA ของกริดที่อิง SOA และเสนอให้ใช้ Web Services เป็นบริการสำหรับจัดการทรัพยากร เช่น ส่ง job และมอนิเตอร์ job เป็นต้น พอเป็น SaaS ก็เลยถึงยุคที่บอกว่าซอฟต์แวร์นี่แหละคือบริการ และซอฟต์แวร์ต้องให้บริการได้จากทุกที่เพื่อสนองความต้องการผู้ใช้แบบ on-demand และทรัพยากรก็ถูกมองว่าเป็น SaaS ที่มีซอฟต์แวร์เป็น portal หรือ interface ในที่สุด

เมื่อ Grid, Utility, SaaS เติบโตและผ่านช่วงเวลาระดับหนึ่ง บวกกับงานวิจัยและพัฒนาในฟิลด์นี้ที่ก้าวหน้า บวกกับการที่ผู้คนผูกติดเข้ากับ Web 2.0 อย่างเหนียวแน่น จึงเกิดปรากฎการณ์ Big Bang ของเทคโนโลยี และแล้ว Cloud จึงบังเกิดขึ้นมา โดยเป็นการยำตั้งแต่ SaaS (มีซอฟต์แวร์ติดตั้งไว้ที่ไซต์ขององค์กรอื่น), Utility (คิดค่าบริการตามการใช้งานจริงและเข้าถึงบริการได้อย่างบริการสาธารณูปโภค), Grid (แชร์กันระหว่างองค์กร เช่น บริการจาก Salesforce + Google Apps), และก็ On-Demand (บริการปรับแต่งได้ตามต้องการและทันท่วงที) ประวัติศาสตร์มันก็เป็นเช่นนี้แล ....

ในความคิดส่วนตัว นิยามไม่นิ่ง ก็เพราะไม่มีสมาคมอย่าง OGF ที่ดูแล Grid และกำหนดมาตรฐาน แต่เป็นเรื่องแปลกนะครับ ที่ว่าการไม่มีสมาคม ต่างคนต่างทำ แต่ Cloud กลับไปได้ไวและขายได้เป็นเม็ดเงินกว่า ทั้งนี้ ผมคิดว่า เนื่องจากบริษัทแต่ละแห่งมีอิสระภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการ แต่มีปัญหาอย่างยิ่งในอนาคตแน่ๆ ในกรณีที่บริการ Cloud ของแต่ละแห่งมันเชื่อมกันไม่ได้ ณ ตอนนี้ผู้ให้บริการ Cloud บางเจ้าก็คำนึงเรื่องนี้เหมือนกัน

อย่างไรก็ดี เราจะเห็นว่า Cloud มีเครื่องมือบางอย่างที่เป็น De facto อยู่ เช่น Google's MapReduce และ Hadoop สำหรับพัฒนาโปรแกรม และก็ Xen สำหรับรัน Virtualization เป็นต้น

ส่วนเรื่องนิยามไม่นิ่ง ก็มองไปก่อนแล้วกันนะครับว่ามันเป็น Cloud มันเป็นอินเตอร์เน็ต บริษัทจึงสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นไงก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเตอร์เพื่อเข้าถึงบริการ แต่สิ่งที่บริษัทต้องรับประกันคือความน่าเชื่อถือของบริการ และเอกสารที่เรียกว่า SLA จะมีบทบาทสำคัญมากในยุคนี้

หากมองในแง่ภาษาอังกฤษคำว่า Cloud สามารถแปลได้ว่า "มืดมน" ดังนั้น นิยามจึงมืดมนเพราะปกคลุมไปด้วยเมฆ :)

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: somsak_sr
ContributorAndroidUbuntu
on 28 August 2008 - 23:37 #62883 Reply to:62841
somsak_sr's picture

เรื่องไอ้คำว่า "คำนวณ" นี่ผมว่ามันงงๆมาตั้งแต่ Grid แล้ว ผมคิดว่าเวลาเขาพูดถึงการ "คำนวณ" (Compute) จริงๆหมายถึงทุกๆอย่างที่ออกมาจาก Computer (เครื่องคำนวณ) เลยหรือเปล่า รวมไปถึงเรื่องการเก็บข้อมูลด้วย

By: javaboom
WriteriPhone
on 29 August 2008 - 00:21 #62894 Reply to:62883
javaboom's picture

เห็นด้วยกับพี่จุ๊ครับ (ใช่พี่จุ๊หรือเปล่า?) แล้วพี่จะมา Grid Asia มั้ยเนี่ย ถ้ามาอย่ามามือเปล่านะครับ

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: javaboom
WriteriPhone
on 28 August 2008 - 20:10 #62844 Reply to:62835
javaboom's picture

ใช่แล้วครับ ทั้ง Google App Engine และ Google Apps ต่างก็เป็น Cloud ครับ ถ้าหากมองในแง่Google Apps ก็คือ application ที่ผู้ใช้เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา (ที่มีอินเตอร์เน็ต) และสร้างองค์กรออนไลน์ขึ้นมาได้ เบื้องล่าง Google Apps จะจัดการเรื่องปริมาณโหลดของการใช้งานให้เอง (แต่เคยเกิดปัญหา Google Apps ล่มมาแล้ว)

ส่วน Google App Engine เป็นเป็นแพลตฟอร์มหรือ PaaS (Platform-as-a-Service) สำหรับรัน application ที่ยืดขยายขนาดบริการได้ตามทราฟฟิกและพื้นที่เก็บข้อมูลของ app และเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอินเตอร์เน็ต

ต้องเติม "ที่มีอินเตอร์เน็ต" ด้วย เดี๋ยวโดนแบนว่าโฆษณาเกินจริง

ปล. รู้สึกจะกด reply ผิดพลาด คือจะตอบ comment แรกของ mk น่ะครับ

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: mk
FounderAndroid
on 28 August 2008 - 21:01 #62855 Reply to:62844
mk's picture

คิดว่าน่าจะถูกอันนะครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 28 August 2008 - 22:13 #62857 Reply to:62855
javaboom's picture

อ่อ ผมตาลายครับ My eyes were clouded :)

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: javaboom
WriteriPhone
on 29 August 2008 - 11:37 #62960 Reply to:62835
javaboom's picture

Blognone ก็คือ 1 ใน hype cycle ด้าน social network ด้วยครับ :)

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: javaboom
WriteriPhone
on 29 August 2008 - 11:44 #62956
javaboom's picture

เอาของแถมมาให้ดูครับ อันนี้เป็น Cluster ตัวใหม่ของศูนย์วิจัยที่ผมทำงานอยู่ครับ มีโปรเซสเซอร์รวม 128 Cores (16 โหนดเป็นเบลด แต่ละเบลดมี 8 core คือใช้ quad-core สองตัว clock 3GHz แรม 6GB ฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว ตัวละ 146GB ทุกเบลดเชื่อมกันโดย Infiniband 20Gbps)

จุดประสงค์ของผมที่จะใช้เครื่องนี้คือ จะใช้ทำ Simulation สำหรับพิสูจน์ optimization model และอีกงานที่ทำกับนักศึกษา ป.โท คนหนึ่งคือลง Xen ทำ Virtual Machine (ต้องการรัน 128 - 512 VM พร้อมกัน) กับรัน Hadoop App ครับ เป็นงานทดลองด้าน Cloud Computing (จริงๆอยากเล่าละเอียดแต่เกรงใจครับ)

Sivadon Chaisiri (JavaBoom) http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: audy
AndroidUbuntu
on 29 August 2008 - 13:07 #62972 Reply to:62956
audy's picture

ถ้าเปิดเผยรายละเอียดได้ ยินดีรับฟังเป็นอย่างยิ่งครับ

By: javaboom
WriteriPhone
on 29 August 2008 - 19:58 #62982 Reply to:62972
javaboom's picture

อ่อ นึกว่าไม่มีคนถามแล้ว แฮๆๆ งานมันมีหลายส่วนและยังไม่ได้ผล ยังไม่ได้ตีพิมพ์เลยไม่กล้ามาอวดน่ะครับ เลยบอกว่าเกรงใจเป็นการบอกปัดไปง่ายๆ ขอโทษอย่างสูงครับ แต่ก็พอเล่าได้เท่าที่จะเปิดเผยได้ครับ

งานมีหลายส่วนครับ ผมไม่ขอรายละเอียดเล่างานของนักวิจัยท่านอื่นที่ทำร่วมกันกับผม (แต่คนละส่วน) แต่สามารถบอกได้ว่าผลงานเขาต่อยอดมาจาก SnowFlock (http://compbio.cs.toronto.edu/snowflock/) ซึ่งเป็นงานของทาง U Toronto โดย SnowFlock นี้เข้า conference ของ Xen Summit ไปแล้วครับ มันโด่งดังในเรื่องการย้ายที่ของ Virtual Machine (VM) จาก Physical Machine เครื่องหนึ่งไปหาเครื่องอื่นแบบ run time โดยไม่ต้อง shutdown เครื่อง (เรียกว่า live migration) ซึ่งในความเป็นจริง Xen ทำ feature นี้ได้อยู่แล้ว แต่ทาง SnowFlock เสนอไอเดียที่ทำให้ย้าย VM ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ใช้เวลาต่ำกว่า 1 วินาทีครับ เรียกว่าสมมติรัน web server บน VM#1 หากว่า Physical Machine ที่ host เครื่อง VM#1 อยู่มีโหลดเยอะขึ้น (เช่น มี VM หลายตัวทำงานพร้อมๆกัน แย่ง physical processor กัน) เราก็ย้าย VM#1 ไปรันที่ Physical Machine เครื่องอื่นที่โหลดน้อยกว่า ตอนนี้ เราสามารถทำให้ VM ย้ายไปที่อื่นโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้สึกเลยว่า VM ย้ายที่ (มันใช้เวลาย้ายเพียง 300 ms.) แต่เราจำกัดว่าอยู่ data center เดียวกันครับ ส่วนย้่ายระหว่าง data center มันก็ทำได้แต่ยังให้ผลไม่ดีพอ จริงๆก็ใช้หลัก replication เหมือนที่ Data Grid เขาใช้กันนี่แหละครับ

ส่วนผมเองตอนนี้กำลังทำ math model สำหรับการ optimization ​​​+ economics model ว่าจะจัดสรร resource ให้ data center ระดับเท่าไหร่แล้วทำให้ cost ที่เกี่ยวข้องลดลงหรือเพิ่มขึ้น โดย cost นี้เกิดจากหลายปัจจัยครับ​

จริงๆมีคนที่ทำงานวิจัยหลายกลุ่มที่ลุยด้าน Optimization แบบที่ผมทำ และมีบางบริษัทที่ทำเป็น product ออกมา เช่น Platform VMO4 กับ ClusterResources' Moab หลายผลงานยังมีความเป็น static สูงและยัง predict เพื่อการวางแผนระยะยาวไม่ได้ การ predict ตอนนี้อิงสถิติตามอัตราใช้งานของแต่ละช่วงเวลา และบางงานไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยเรื่อง Green IT ครับ ส่วนใหญ่เน้น profit ที่เป็นตัวเงิน แต่ถ้าเป็น profit ใน data center ขององค์กรภาคการศึกษาก็จะเน้น CPU utilization ตามสไตล์แบบ Grid Computing ครับ

ผมมีมุมมองและเจาะปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่างจากพวกเขา และผมต้องการเสนอ optimization model โดยอิงกับหลักการทางเศรษฐศาสตร์ ท้ายสุดงานอาจจะไม่ได้ทำ implementation ออกมา เพราะต้องดูภาคธุรกิจว่าจะสนับสนุนมากแค่ไหน วันที่ 3 กันยา ผมมีประชุมกับ CTO ของบริษัท Citrix ผู้ผลิต XenServer เพื่อคุยถึงไอเดียจากทางตลาดว่า ณ​ ตอนนี้เขาต้องการอะไร จากนั้น ผมค่อยมา balance อีกทีว่าจะตามใจผมเท่าไหร่และตามใจเขาเท่าไหร่ดีครับ เพราะตามใจตลาดมากก็ไม่ได้ทำให้เรียนจบน่ะครับ

ปล. ยังบอกรายละเอียดถึงปัจจัย วิธีการ สมการ โมเดลที่ออกแบบไม่ได้ครับ เป็น thesis ของผมนี่แหละ ผมเพิ่งเข้ามาเรียนต่อเอกได้แค่เทอมเดียวเองครับ เลยยังไม่มีไอเดียบรรเจิดมากนักครับ

ปล. ช่วงนี้ีที่สิงคโปร์อากาศแย่มากเลย ทำจนผมเป็นไข้ต้องลางานมานั่งเล่น Blognone ทั้งวันทั้งคืน :) อยู่เมืองไทย ในกรุงเทพเป็นไงบ้างครับ ฝนตกกระหน่ำพร้อมแดดเปรี้ยงๆพร้อมๆกันหรือเปล่า

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: mk
FounderAndroid
on 29 August 2008 - 18:54 #63008 Reply to:62956
mk's picture

ได้ลอง HBase ไหมครับ อยากรู้ว่าพัฒนากันไปถึงไหนแล้ว

By: javaboom
WriteriPhone
on 29 August 2008 - 19:46 #63012
javaboom's picture

ไม่ได้ลองครับ ลองแต่ Hadoop และก็ในส่วนของ HDFS ครับ แต่ผมลอง Hadoop นิดเดียว พอให้คุยกับเพื่อนร่วมงานได้ ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา ป.โท กับ ป.ตรี ที่ลงมือใช้ Hadoop ไปพัฒนา app จริงๆครับ ณ​ ตอนนี้เขาใช้แค่ HDFS เก็บ input กับ output ครับ (input ใหญ่มาก แต่ output เล็กนิดเดียว)

HBASE พัฒนาถึงไหนแล้วไปอ่านข่าวได้ใน Release ครับ

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: mk
FounderAndroid
on 29 August 2008 - 20:03 #63016 Reply to:63012
mk's picture

คืออยากได้ประสบการณ์จากคนลองจริงๆ น่ะครับว่ามัน mature แค่ไหนแล้ว เพราะใน Release มันก็โฆษณาอย่างเดียวเป็นปกติ

By: javaboom
WriteriPhone
on 29 August 2008 - 20:45 #63019 Reply to:63016
javaboom's picture

โทษทีครับ ไม่ทราบจริงๆครับ เห็นด้วยครับใน release คงบอกแค่ว่ายัง update อยู่เรื่อยๆ ยังไม่เลิกล้มโครงการ แต่คงบอกอะไรไม่ได้ว่าคนใช้เยอะหรือเปล่า หรือว่ามันใช้งานได้คล่องขนาดไหน

ถ้าผมได้พบคนที่ใช้ HBASE จะกลับมา update แน่นอนครับ ตอนนี้ Yahoo! มี research collaboration ที่สิงคโปร์ ไม่นานคงมีข่าวพวกนี้ให้ทราบบ้าง แต่ผมพอหา link ที่ให้ข้อมูลได้บ้างนิดหน่อยที่ ​บทสัมภาษณ์ Doug Judd ผู้ก่อตั้งโครงการ BigTable ในคำถามที่ 8 ถามถึงบริษัทที่ใช้ HBASE อยู่ แต่ก็มีข้อมูลไม่มากนักครับ

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog

By: javaboom
WriteriPhone
on 29 August 2008 - 21:16 #63020 Reply to:63019
javaboom's picture

อีกที่คือ Presentation การใช้ HBASE ที่บริษัท Rapleaf ในหน้าดังกล่าวมีทั้ง slide ของทาง Rapleaf กับ PowerSet ครับ เข้าไปดูแล้วก็ยังบอกไม่ได้เหมือนกันว่า HBASE มัน mature แค่ไหนครับ แต่เหมือนทั้ง 2 บริษัทเขาเอาจริงกับ HBASE น่าดู

แก้ comment ข้างบนนิดนึง ดูผิดไป ต้องพิมพ์ว่า Doug Judd ก่อตั้ง Hypertable แล้วส่งผลให้เกิด Google's BigTable database เป็นอันดับต่อมา

Sivadon Chaisiri (JavaBoom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog