ขอยืมคำพูดของ Ford Antitrust มาใช้สักหน่อยครับ "ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ จั่วหัวพูดถึงทีไร เว็บไม่แตกก็ร้อนกันไปเป็นแถบ ๆ" แต่เนื่องจากตอนนี้เยอรมันเข้าหน้าหนาวละ หากเขียนเรื่องนี้แล้วร้อนก็คงดี จะได้ประหยัดค่าทำความร้อนไปได้หลายยูโร ซึ่งตอนนี้ประเด็นนี้กำลังร้อนมาก ๆ ใน blognone ผมไม่ได้เข้าไปอ่านแป้บเดียว กว่าสามร้อยความคิดเห็นไปแล้ว ตามอ่านแทบไม่ทัน วานฝากผู้เกี่ยวข้อง ให้ปักหมุดประเด็นนี้ไว้นาน ๆ หน่อยก็ดีครับ เผื่อจะมีความคิดเห็นที่สี่ร้อย ห้าร้อย ให้ได้อ่านกัน
อันที่จริงประเด็นเรื่องการละเมิดสัญญาอนุญาต (license) ไม่ได้เป็นประเด็นใหม่นัก ในความเคลื่อนไหวของคนโอเพนซอร์ส มักมีเรื่องนี้เข้ามาเป็นปัจจัยเสมอ เพราะคนใช้โอเพนซอร์สจำนวนไม่น้อยมีแนวคิดที่ว่า "ผมไม่อยากละเมิดสัญญาอนุญาต แต่ก็ไม่อยากเสียเงิน ผมก็เลยใช้โอเพนซอร์ส" (ซึ่งจริง ๆ แล้วปรัชญาโอเพนซอร์สมันมีมากกว่านั้น) คนที่ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สส่วนมาก เห็นความสำคัญของเรื่องสัญญาอนุญาต การรณรงค์การใช้งานโอเพนซอร์ส จึงมาควบคู่กับเรื่องสัญญาอนุญาตเสมอ
ผมเดาว่า คนที่เห็นความสำคัญของเรื่องสัญญาอนุญาต (ไม่จำเป็นต้องเป็นโอเพนซอร์ส)ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย (เพราะอย่างนี้ไง ไทยเลยไม่เจริญ) คงโคตรจะรำคาญ เมื่อได้อ่านข้ออ้างอันฟังไม่ค่อยจะขึ้น ของพวกใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย เพราะลำพังการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมายมันก็แย่พออยู่แล้ว บางคนยังภูมิใจที่ได้ใช้ หรือบางคนต่อเหน็บแนมว่าคนที่เขาใช้ของถูกกฏหมาย สิ่งแรกที่ควรทำความเข้าใจ ก่อนอ่านบรรทัดต่อไปจากนี้คือ การใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนเป็นเรื่องผิดกฏหมาย คนใช้ไม่ควรภูมิใจ คนใช้ไม่ควรต่อว่าผู้อื่นในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฏหมาย ผู้ที่กระทำความผิดด้วยความภูมิใจ คือผู้ที่ไม่น่าให้อภัย
ประเด็นที่ผมจั่วหัว เรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย ทำให้ประเทศไม่เจริญ ไม่ใช่ประเด็นทางจริยธรรม แต่เป็นประเด็นแนวคิดเศรษฐกิจโลกยุคใหม่
ในเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ ที่ทุกอย่างเชื่อมถึงกันเป็น globalization ประเทศที่ได้เปรียบทางเศรษฐกิจ จะไม่ใช่ประเทศที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมได้มาก และเร็วกว่าประเทศอื่นอีกต่อไป ประเทศที่เคยได้ชื่อว่าประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs : New Industrie Countries) ในยุค 80's กำลังประสบปัญหาเรื่องการตลาด และการผลิต ด้วยปัจจัยหลัก ๆ สองประการคือ
เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ขายสินค้าได้ถูกลง อีกทั้งยังมีคู่แข่งใหม่ ๆ ในตลาดอย่าง จีน เกาหลี อินเดีย ไต้หวัน ทำให้จ้าวตลาดอย่าง อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ต้องระสับระส่ายไปตาม ๆ กัน อีกทั้ง ประเทศกำลังพัฒนาประเทศอื่น ๆ ก็กำลังขยับตัวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตเช่นกัน ในเมื่อทุกคนต่างเป็นผู้ผลิต แล้วสินค้าที่ผลิตขึ้นมาจะไปขายใคร ? แล้วใครจะเป็นผู้อยู่รอดในการแข่งขันนี้ ?
คำตอบคือ ผู้ที่มี Know-how และ Expertise คือผู้ที่อยู่รอด
ดังนั้นการแข่งขันในโลกเศรษฐกิจยุคใหม่ จะไม่ใช่การแข่งขันทางการผลิตอีกต่อไป เพราะเรากำลังเดินมาถึงจุดอิ่มตัวทางด้านกำลังการผลิต และความเร็วในการผลิต การแข่งขันที่เราจะเห็นในอนาคต คือการแข่งขันกันในเรื่องของ Know-how เพราะผู้ที่ถือครอบครองความรู้ จะสามารถกำหนดทิศทางตลาด และการผลิตได้ สิ่งที่เราเห็นได้ชัดจากระบวนการดังกล่าวคือ การแยกฐานการผลิต และการวิจัยออกจากกัน (ซึ่งฐานการวิจัยจะกำหนดทิศทางทุกอย่างในการผลิต) มีการซื้อขายความรู้ และประสบการณ์กันมากขึ้น ด้วยราคาที่สูงขึ้น
เมื่อย้อนกลับมาดูประเทศไทย จะด้วยปัญหาการเมือง วิกฤตทาการศึกษา หรืออะไรก็แล้วแต่ เรายังไม่ตื่นตัวเรื่องนี้กันเลยแม้แต่น้อย เรายังมองไม่เห็นภาพเลยว่า จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ผมไม่เรียกร้องว่าประเทศไทยต้องเจริญ แต่อย่างน้อย เราก็ควรรู้ว่า สิ่งที่เราทำอยู่จะมีผลกระทบอย่างไร อันที่จริงเรื่องวิกฤต Know-how ไม่ได้มีเฉพาะในวงการไอทีเพียงอย่างเดียว แต่มีให้เห็นในทุกวงการ (ดังจะเห็นได้จากนักเรียนไทยส่วนมาก ทั้งเมืองไทย เมืองนอก มักเรียนกันเพื่อเอาวุฒิ) เพียงแต่วงการไอทีค่อนข้าง extreme หน่อย เพราะเป็นวงการที่ Know-how คือทุกอย่าง
การใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย เป็นความชัดเจนที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ผู้ใช้ไม่เห็นความสำคัญของ Know-how เพราะหากจะประเมินราคาของ Know-how ที่ถูกลงทุนไป เพื่อผลิตซอฟต์แวร์ตัวหนึ่ง ก็จะรู้ว่า ราคาซอฟต์แวร์ที่ขายกันอยู่ในท้องตลาดนั้น ถูกแสนถูกเพียงใด บางคนใช้เรื่อง Know-how เป็นข้ออ้างในการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย โดยอาจจะบอกว่า เพราะเห็นความสำคัญของ Know-how ไง ก็เลยโขมยเขาใช้ เพราะเหมือนเป็นการโขมย Know-how ของเขามาด้วย เพราะอย่างนี้ไงครับ ถึงได้มีปัญหา เพราะยังแยกกันไม่ออกเลยว่า อะไรคือ Product อะไรคือ Know-how
คนที่ได้รับผลการะทบจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมายมากที่สุด คงไม่ใช่ Microsoft หรือ Adobe แต่เป็นโปรแกรมเมอร์คนไทยและตัวผู้ใช้เอง เพราะรายได้ของผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Microsoft หรือ Adobe สูงกว่ารายได้ที่เสียไปจากซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย อย่างเทียบกันไม่ได้ แต่การซื้อซอฟต์แวร์ผีแผ่นละร้อยมาใช้งาน เป็นการตัดแขนตัดขาของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ในเมืองไทย ชนิดที่ไม่ให้ไปผุดไปเกิดกันเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ผู้ผลิตรายย่อยจะเอาอะไรไปแข่ง ซอฟต์แวร์รคุณภาพห้าร้อย ขายราคาห้าร้อย ไปแข่งกับซอฟต์แวร์คุณภาพสามหมื่น ราคาร้อยเดียว ได้อย่างไร เผลอ ๆ ไอ้ราคาห้าร้อย อาจโดนเอาไปขายราคาร้อยเดียวอีก คงเซ็งน่าดู เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ยังมีใครอยากจะสร้าง Know-how อีกครับ
ส่วนผู้ใช้แม้ว่าจะไม่โดนผลกระทบมากมาย เหมือนผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายย่อย แต่ก็ต้องรับกรรมที่ตัวเองก่อไว้เหมือนกัน อย่างที่เห็นชัด ๆ คือ ได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่คุณภาพลดลง เพราะซอฟต์แวร์ผีแผ่นละร้อย มักมีสารปนเปื้อนมาให้ผู้ใช้ปวดหัวเล่นอยู่เสมอ ข้อนี้ไม่ใช่ความเชื่อของผม แต่เป็นประสบการณ์ตรง เรามักได้ยินคนไทยบ่นอยู่เสมอ ว่าวินโดวส์ไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้ (ใช้ไปสักพักช้า ไวรัส ชอบแฮงค์ ฯลฯ) แต่เพื่อนร่วมงานผมกลับไม่ค่อยเจอปัญหาเหล่านี้ (ผมใช้ GNU/Linux คงเทียบกันไม่ได้) เพราะที่ทำงานผมใช้ซอฟต์แวร์แท้ 100%
หรืออย่างเวลาที่ผมต้องไปล้างเครื่องให้ใคร ก็มักจะได้ยินเสียงบ่นว่า ไม่รู้เครื่องเป็นอะไร ต้องล้างใหม่ทุกสามเดือน สืบไปสืบมาซอฟต์แวร์ผีอื้อซ่า เลยต้องจัดการฟอร์แมตเครื่อง ลงซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้ใช้สำหรับบางโปรแกรม ลงซอฟต์แวร์แท้ให้สำหรับบางโปรแกรม พร้อมสั่งกำชับ ห้ามลงซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย ห้ามลงโปรแกรมที่ไม่รู้ว่ามันเอาไว้ใช้ทำอะไร เวลาผ่านไปเป็นปี ไม่มีปัญหาอีกเลย อย่างนี้ไม่ใช่เพราะของปลอม ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร
หากเราจะมองข้างประเด็นเรื่องของแถมอันไม่พึงประสงค์ จากซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย มันก็ยังมีประเด็นอื่นที่ต้องให้คิดอยู่ดี นั่นคือ เรื่องราคาซอฟต์แวร์ที่สูงกว่าความเป็นจริง เพราะบริษัทผู้ผลิตย่อมบวก cost เหล่านี้ลงไปในราคาซอฟต์แวร์เสมอ แม้ว่าผู้ที่ใช้ซอพ์แวร์เถื่อน จะไม่ได้รับผลกระทบนี้โดยตรง แต่ก็ขอให้รู้เอาไว้ครับ ว่าคุณกำลังเอาเปรียบผู้ใช้คนอื่นอยู่ ไม่ได้เอาเปรียบบริษัทซอฟต์แวร์อย่าง Microsoft หรือ Adobe เพียงอย่างเดียว
ขอกลับมายังเรื่อง Know-how ในการสร้างซอฟต์แวร์ ว่าการสร้างนิสัยไม่รู้จักคุณค่าของ Know-how การไม่รู้จักเคารพสิทธิผู้อื่นในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน มันจะสร้างนิสัยไม่ดีอื่น ๆ ตามมา คือ การไม่เห็นความสำคัญของกระบวนการสร้างความรู้ ที่สำคัญยิ่งกว่าตัว Know-how มากมายนัก แน่นอนว่า คนใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน ต้องมีแนวคิดแบบ ผลนิยม คือไม่รู้จะเสียเงินเยอะไปทำไม ในเมื่อผลสุดท้ายมันเหมือนกัน โดยลืมคิดไปว่า ไอ้ระหว่างทางกว่าจะไปถึงผลน่ะ มันมีกระบวนการอื่น ๆ อีกมากมาย คนที่คิดได้ในเรื่องกระบวนการตรงนี้ จะผลิตซอฟต์แวร์อีกกี่ร้อยกี่พันก็ไม่มีปัญหา แต่คนที่หวังจะเอาแต่ผลอย่างเดียว ก็ต้องคอยผลอย่างเดียวตลอดไป
นอกจากนี้ยังมีประเด็นร้อนในวงการวิจัย ในยุคที่จีนเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลกคือเรื่องของ จรรยาบรรณในงานวิจัยและพัฒนา เมื่อวันก่อน ผมได้คุยกับโปรเฟสเซอร์ และหัวหน้าทีมงานวิจัยจาก NSN ในเรื่องความไว้วางใจของบริษัทต่าง ๆ ที่มีต่อบริษัทสัญชาติจีน เนื่องจากบริษัทและรัฐบาลในฝั่งยุโรป และอเมริกา มีประสบการณ์และภาพที่ไม่ดีนัก ต่อรัฐบาลและบริษัทสัญชาติจีน (ที่อาจมีรัฐบาลหนุนหลังอยู่อีกที) เพราะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีหลายครั้งที่บริษัทสัญชาติจีเล่นไม่ซื่อ มีการถ่ายทอดความรู้จากยุโรปและอเมริกาไปยังจีน ในลักษณะที่ไม่โปร่งใสนัก จนในระยะหลัง บริษัทในยุโรป และอเมริกาเลี่ยงที่จะทำสังฆกรรมกับจีน ซึ่งหลายคนคาดว่า ปัญหาดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีนในระยะยาว (ตอนนี้ส่งผลบ้างแล้ว ในธุรกิจอาหาร และของเด็กเล่น)
แม้แต่จีนซึ่งเป็นประเทศใหญ่ มีกำลังบริโภคและการผลิตที่สูง ยังได้รับผลกระทบในเรื่องจรรยาบรรณการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศเล็ก ๆ และไม่มีอะไรไปต่อรองกับเขาอย่างไทย หากยังคิดจะเล่นไม่ซื่ออีก ใครเขาจะอยากมาทำธุรกิจด้วย!
สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานด้านนี้โดยตรง ไม่มีความรู้เรื่องซอฟต์แวร์และสัญญาอนุญาต แล้วใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน ผมค่อนข้างเฉย ๆ เพราะในเมื่อเขาไม่รู้ จะให้ทำอย่างไร แต่คนที่ทำงานด้านนี้โดยตรง จะอ้างไม่ได้ว่าไม่มีความรู้เรื่องนี้ (หากไม่มีความรู้เรื่องนี้ ก็ควรไปหาอาชีพอย่างอื่นทำ ที่ไม่ต้องใช้ความรู้เรื่องนี้) แม้ว่าคนเหล่านี้จะมีเหตุผลร้อยแปดพันเก้า ในการอ้างความชอบธรรมในการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย แต่เหตุผล ที่เป็นเหตุผลจริง ๆ มีเพียงสองข้าเท่านั้น คือ เสียดายเงิน กับไม่เคารพสิทธิผู้อื่น
สำหรับคนที่เสียดายเงิน คุณไม่ผิดครับ ที่เสียดายเงิน แต่ผิดที่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น และใช่ว่าคุณเสียดายเงิน แต่อยากใช้ หรือมีความจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์บางอย่าง แล้วไม่มีทางเลือกอย่างอื่น ก็อย่างที่ผมเขียนไว้ตั้งแต่ต้นครับ ว่าโอเพนซอร์สคือทางออก หากคุณบอกว่าโอเพนซอร์สใช้ยากเกินไปหรือไม่ดีพอ เลยต้องใช้ของเถื่อน ผมคงประเมินได้แค่ว่า คุณเป็นคนที่เสียดายเงิน และพร้อมจะละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพื่อความสบายของตัวเอง (ประเมินตาม fact ล้วน ๆ)
อันที่จริงประเด็นการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย ไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันได้ เพราะความชัดเจนมันมีตั้งแต่แรกแล้ว ได้ชื่อว่าทำผิดกฏหมาย ไม่ว่าคุณจะมีข้ออ้างอย่างไร ข้ออ้างเหล่านั้นก็ไม่สามารถนำมาหักล้างกับความผิดได้
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกที่ BioLawCom.De
Comments
สัญญาอนุญาติ? หมายรวมไปถึง EULA ได้ด้วยหรือเปล่า?
ประเด็นคือ ?
BioLawCom.De
อ่่านแล้วงงครับ ดูไม่เหมือนเป็นบทความหรือข่าว แต่เป็นการระบายอารมณ์เสียมากกว่า (โดยเฉพาะการมีวงเล็บจำนวนมากเพื่อเสนอความเห็นตัวเอง)
อ้อ "ซอฟต์แวร์" เขียนแบบนี้นะครับ
รวมฟรีแวร์: dFreeware
อันนี้กำลังหาแนวร่วมอยู่: ThaiiPhoneDev
Blognone เปิดรับบทความเชิง opinion เป็นปกติครับ โดยทั่วไปผมเป็นคนพิจารณาเองว่าอันไหนจะเอาขึ้นหน้าแรกหรือไม่ บทความนี้ผมไปขอมาลงเองครับ
“บ่นความ” ครับ :P
au8ust.org
อย่างน้อยก็น่าจะแก้ตัวสะกด พ เป็น ฟ นะครับ เข้ามาอ่านหลายรอบแล้วรู้สึกแปลก ๆ
ผมว่า soft ใช้ภาษาไทยว่า ซอฟท์ น่าจะเวิร์คกว่านะ
ผมว่าคำว่า เวิร์ค ใช้ภาษาไทยน่าจะ เวิร์ก กว่านะครับ
http://itshee.exteen.com/ -- Can you upgrade Vista to XP Pro?
ผมว่า ซอฟท์ กับ เวิร์ค น่าจะใช้ ซอฟท์ กับ เวิร์ค จะดีกว่านะครับ
โดยเฉพาะ เวิร์ค ที่ตัว K มักจะออกเสียงเป็น ค เวลาเป็นตัวสะกด
ครับ ที่ผมเลือกตัวการันต์เป็น ท สำหรับ soft และ ค สำหรับเวิร์ค ก็เพราะเวลาออกเสียงนี่แหละครับ
เวลาออกเสียง soft จะมีเสียง ท่ะ , เท่อะ เล็กๆสั้นๆที่ท้ายคำครับ (ลองฟังฝรั่งออเสียงดู)
คำว่าเวิร์คก็เช่นกันครับ มันจะมีเสียง ค่ะ , เค่อะ เล็กๆท้ายคำ
รายการคำศัพท์
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
อย่าเชื่อราชบัณฑิตมากครับ จำไม่ได้รึว่าเมื่อไม่นานมานี้ราชบัณฑิตจะแก้การทับศัพท์ทั้งหมดให้ใส่วรรณยุกต์
คำที่ราชบัณฑิตออกมาแล้วไม่มีใครใช้มีเยอะแยะ
ว่ากันตามหลักเหตุผลดีกว่า เผื่อว่ามันควรจะแก้ซะแต่ตอนนี้
โดยส่วนตัวแล้ว ภาษาอังกฤษมีพยัญชนะที่มีหลายเสียงในตัวเองเยอะ ผมคิดว่าควรจะถอดเป็นภาษาไทยตามเสียงที่อ่าน ไม่ใช่ตามตัวอักษร ครับ
เหมือน Game กับ Gorge
จะอ่านเป็น เจม หรือ กอร์จ มั้ย?
อันนี้ไม่เห็นด้วยครับ ที่บอกว่าอย่าเชื่อราชบัณฑิต
เพราะว่าการใช้ภาษาไทยนั้นเรามีราชบัณฑิตเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน
ถ้าไม่ใช้ตามราชบัณฑิต ก็กลายเป็นมาตรฐานตามใจฉัน
ถ้ายกตัวอย่าง งั้นผมก็ยกในข้อที่ว่า อย่าไปใช้ตาม w3c
เพราะว่า หน้าเว็บและ browser ที่มีคนใช้กันเยอะ
ก็คือแบบที่รองรับตามมาตรฐานของ MicroSoft
คุยเรื่องความเห็นนะครับ อย่าซีเรียส และอย่าเคืองกันนะ
แล้วถามหน่อยครับ เรื่องที่บอกว่า
--> ราชบัณฑิตจะแก้การทับศัพท์ทั้งหมดให้ใส่วรรณยุกต์
อยากขอข้อมูลหน่อยครับ ว่าจะไปหาอ่านได้จากไหน
(เพื่อเป็นความรู้น่ะครับ)
HudchewMan Live Style - วันสบายๆ ของนายจอมจาม
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
ข่าวเก่ามากแล้วครับ แล้วก็ได้ยินว่าเลิก เพราะไม่ประสบความสำเร็จ
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=969693 -//
จากข่าว ราชบัณฑิตไม่ได้กำลังจะทำอย่างนั้นครับ
ราชบัณฑิตทำไปแล้วครับ คือการออกพจนานุกรมฉบับนี้ออกมา แล้วเปลี่ยนคำทับศัพท์แบบเก่า เป็นคำทับศัพท์แบบใหม่
ตามที่เขียนไว้ในข่าวนี้แหละ
ค้อร์ส แหล็ปทอป บอยขอต เชียร์หลีดเด้อร์
ได้อ่านจริงรึเปล่าครับ?
หรือเพราะผมเขียนผิด ตรงคำว่า "ทั้งหมด"
เฉพาะศัพท์วัยรุ่นหรือเปล่าครับ?
ใช่ครับ
ผิดตรงความเข้าใจในขอบเขตด้วยครับ
อย่างที่คุณ thep ว่าครับ
ขอบเขตของพจนานุกรมนี้เป็นศัพท์วัยรุ่นครับ
การใช้คำแบบปกติยังอ้างฉบับหลักครับ
ผมไม่คิดว่าคำว่า การ์ด กับคำว่า คอร์ส บอยคอต แฝ็กซ์ แหล็บทอป เป็นแค่ศัพท์วัยรุ่นนะครับ
วัยรุ่นก็ไม่ใช้กันหรอก แล้วราชบัณฑิตจะบัญญัติใหม่เพื่ออะไร???
เป็นการบันทึกวิธีสะกดคำในแบบวัยรุ่นไงครับ
ไม่จริงครับ - -\=/
อ้าว ผมนึกว่าข่าวที่ยกมา เป็นข่าวของพจนานุกรมฉบับวัยรุ่นเสียอีก
มันเป็น พจนานุกรม บัญญัติศัพท์ใหม่ครับ
รวบรวมคำศัพท์ใหม่ที่มีใช้ร่วมสมัยตอนนี้ ตั้งแต่ศัพท์วัยรุ่น ไปถึงศัพท์บัญญัติเองตามหน้าหนังสือพิมพ์
และมันมีการเอาคำทับศัพท์มาเขียนใหม่ด้วย แล้วมันเขียนให้มีวรรณยุกต์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนหลักการเขียนไปโดยสิ้นเชิง
ซึ่ง เห็นว่า มันไม่ประสบความสำเร็จ มีเสียงบ่นมากมาย
ทุกวันนี้ไม่มีใครเขียน ก๊าร์ด หรอกครับ
ผมไม่คิดว่าราชบัณฑิตออกพจนานุกรมมาเล่นๆหรอกนะ?? หรือคุณคิดว่าเค้าตั้งใจเล่นเอพริลฟูล??
ผมคิดว่าการรวบรวม "ศัพท์ใหม่" นี้ ราชบัณฑิตยสถานเองก็เคยอธิบายว่าเป็นการบันทึกการใช้คำในปัจจุบันเท่านั้น ในกรณีศัพท์บัญญัติพวกนี้ ผมไม่เห็นหนังสือพิมพ์ฉบับไหนใช้ "ก๊าร์ด" หรือ "แฝ็กซ์" นะครับ นอกจากเว็บบอร์ดวัยรุ่น
บอร์ดวัยรุ่นก็ไม่มีใช้กันนะครับ
ศัพท์บัญญัติที่ว่ามีตามหน้าหนังสือพิมพ์ เค้าก็บอกไว้ ยกตัวอย่างด้วยว่า มี เนติบริกร กับ...อะไรอีกคำนี่แหละ อันนี้วัยรุ่นก็ไม่ใช้ แต่มีนักวิชาการพันธมิตรใช้ไว้ ราชบัณทิตก็ดึงมารวมเป็นศัพท์ใหม่
พจนานุกรมนี้มันไม่ใช่ "พจนานุกรมฉบับวัยรุ่น" นะครับ มันก็บอกชื่อไว้แล้วว่า "พจนานุกรมคำใหม่"
ซึ่งคำว่า Card อยู่ในนั้นด้วย มันไม่น่าจะเป็นคำใหม่ แต่มีการบัญญัติใหม่มากกว่า ว่า จากนี้ไป ให้เขียนเป็น ก๊าร์ด
....ยิ่งต่อยิ่งแคบ หลังไมค์คุยกันได้มั้ยครับ???
จากพจนานุกรมฉบับนี้ แสดงว่าราชบัณฑิตไปไกลเกินกว่าความเข้าใจของคนไทยแล้ว
คนไทยยังเรียกร้องหรือต้องการศัพท์บัญญัติจากศูนย์กลาง ซึ่งมีก็ได้ไม่มีก็ได้
แต่ที่ราชบัณฑิตทำออกมา คือ การทำหน้าที่ของคนทำพจนานุกรมที่แท้
นั่นคือการบันทึกคำที่คนใช้แล้วอธิบายมันว่าหมายถึงอะไร
ไม่ใช่การบัญญัติให้ท่านต้องเอาไปใช้
ผมว่าก้าวหน้ามากนะครับ นี่คือแนวคิดของการทำพจนานุกรมที่แท้
ไม่ใช่แนวคิดโบราณที่ไปกำหนดโน่นนี่
ม่ายเชื่อราชบัณฑิตงั้นพ้มจะเขียนยางไงก้อด้ายใช่ม้ายครับ? ก้อมานพจนานุกรมราชบัณฑิตนี่คับ
555 ล้อเล่นนะครับ (ขอทำตัวไม่มีขื่อมีแปซักวัน)
ผมทำตามมาตรฐานครับ
เพื่อ consistency ครับ
กำลังพูดถึงคำทับศัพท์ครับ
ไม่ใช่คำศัพท์บัญญัติครับ
หลักเกณฑ์ก็เป็นไปตามนี้ครับ
ไม่ครับ ตามหลักเกณฑ์บนเว็บ
สองคำนี้ทับศัพท์ว่า เกม กับ จอร์จ ครับ
ที่ผมพูดก็คือ บางครั้ง "หลักการทับศัพท์" มันไม่ตรงกับความเป็นจริง น่ะสิครับ
ราชบัณฑิตไม่ใช่จะผิดไม่ได้ครับ และผมคิดว่าบางคำที่มันผิด เราก็ควรยื่นเรื่องไปที่นั่นด้วย
ปัญหาคือ ผมมักจะเห็นคนที่เอาราชบัณฑิตมาอ้างให้คนอื่นหยุดเถียง โดยไม่มองเหตุผลว่า จริงๆแล้วบางคำราชบัณฑิตอาจจะผิดก็ได้
ไม่ใช่ว่าผมไม่เคารพมาตรฐาน แต่บางครั้ง บางคำมันยังไม่แน่ว่าราชบัณฑิตถูกแน่ ไม่ต้องแก้อีกต่อไป
ถ้าเอาง่ายๆ
มุขตลก มีใครใช้ ก บ้างครับ
มีใครใช้ ข บ้างครับ
= =/ ผมเองใช้ ข อยู่
ตอนเด็กๆผมโดนครูตีมือมาตลอด(จริงๆไม่ถึงกับตีหรอก)เวลาเขียน มุกตลก ไปส่งครู
แล้วราชบัณฑิตพึ่งมาบอกว่า จริงๆ ก น่ะ ถูกแล้ว
ใครผิดล่ะคราวนี้? ตอนนั้นผมควรโดนครูตีมือมั้ยเนี่ย?
การโต้เถียงกันนอกราชบัณฑิตก็เป็นเรื่องที่ต้องทำครับ ไม่ใช่โยนให้ราชบัณฑิตกำหนดอยู่ฝ่ายเดียว แล้วพอออกมาแล้ว จะถูกจะผิดเราก็ต้องใช้ ห้ามขัดขืน
ก็อย่างที่เห็น มาตรฐานบนเว็บ กับมาตรฐานถอดเสียงจริง มันก็มีความแตกต่าง บางทีก็มีข้อยกเว้น
ป.ล. อย่างน้อยผมก็ใช้ภาษาไทยถูกต้องมากกว่า 85% นะ
ยื่นเลยครับ ผมสนับสนุน
ยกตัวอย่างได้ไหมครับ
มองแล้วครับ ในที่นี้ไม่ผิดครับ
ึความรู้สึกเหมือนผมเป็นต้นเหตุให้ถกกันวุ้ย - -"
เลยยาวเลยครับ :D
ยาวมาก จากซอฟท์แวร์เถื่อนเป็นเรื่องภาษาไทย - -"
ราชบัณฑิตมีการแก้ไขคำนะถูกต้องแล้วครับ ภาษาไม่ใช่ของตายที่แก้ไขไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา
ลองดูภาษาอังกฤษก็ได้เดี๋ยวนี้ shall ในภาษาพูดก็แทบจะไม่พูดกัน
พจนานุกรมภาษาอักกฤษเวลาประมวลเขาก็ดูจากหนังสือพิมพ์ หนังสือ ประกอบด้วย ไม่ใช่ดูจากหลักภาษาอย่างเดียว (นี่อ่านจากบทนำของพจนานุกรมภาษาอังกฤษ)
การโต้เถียงกับราชบัณฑิตเป็นเรื่องที่ควรกระทำครับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่คุณต้องมีแหล่งอ้างอิงนะครับ ไม่ใช่บอกว่าผมใช้ มุข เพราะครูให้ใช้คำนี้มาตลอด ราชบัณฑิตยืนยันว่า มุก ถูกเพราะเข้าอธิบายได้ว่าทำไมถูก มีที่มาที่ไปอย่างไร
คนที่บอกว่าห้ามขัดขืนนั้นไม่ถูก แต่จะขัดขืนต้องมีหลักที่อ้างอิงได้ ไม่ใช่มีข้อยกเว้นมากกว่าหลัก อันนี้ไม่ถูก
ปัญหาอยู่ที่ ก่อนหน้านั้น ราชบัีณฑิต บัญญัติให้ใช้ "มุข" ไงครับ ไม่งั้นผมจะโดนครูทำโทษรึ
ผมก็บอกแล้วว่าผมมีความเห็นว่าแบบนี้น่าจะถูกมากกว่า เป็นข้อเสนอ ก็แค่นั้น
เหตุผลก็มี ก็บอกไปแล้ว
แล้วอย่าพึ่งเอาราชบัณฑิตมาอ้าง เพราะถ้าหลักการนี้ถูกจริงๆ ในอนาคตราชบัณฑิตก็ต้องแก้อีกที
เหมือนคำว่า มุก กับ มุข ที่ราชบัณฑิตบัญญัติให้คนใช้ผิดมาเป็นสิบๆปี
สุดท้ายก็ต้องบอกว่า มันอนุโลม ใช้ได้ทั้งสองแบบ
มันดูทุเรศนะ ผมต้องโดนทำโทษจากครู ทั้งที่ผมทำถูกอยู่แล้ว เพราะความผิดพลาดของราชบัณฑิต แล้วปัจจุบันผมก็ยังทำผิด เพราะใช้ มุข จนติดไปแล้ว
กฏหมายมีผลบังคับใช้ กฏหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง
รึเปล่า ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจ
คุณไม่ควรโดนตีมือครับ ผมยอมรับ แต่เมื่อรู้ว่าอะไรผิดแล้วทำไมยังต้องทำผิดอยู่ล่ะรับ เมื่อก่อนผมก็ใช้คำว่ามุขครับ แต่พอรู้ว่าคำว่ามุกถึงจะถูก ผมก็ช่วยบอกต่อ
คนเราผิดกันได้ครับ แต่ผิดแล้วก็ต้องรู้จักเรียนรู้จากความผิด เรื่องปกติครับ :)
onedd.net
onedd.net
ถูกครับ เพราะงั้นประเด็นคือ
เราไม่ควรเชื่อถือราชบัณฑิตให้มากครับ อย่าเอาราชบัณฑิตมาอ้าง เวลามีคนเสนอว่า "คำนี้น่าจะเขียนแบบนี้มากกว่านะ เพราะเหตุผลแบบนี้ๆ"
และตั้งแต่ต้น ผมไม่ได้ผิดนะ ผมโดนราชบัณฑิตบังคับผ่านอาจารย์ของผมให้ทำผิด
และการที่ผมพูดคำว่า "อย่าเชื่อราชบัณฑิตให้มากนักเลย" นี่แหละ คือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้มา
p-joy:
เขียนหลักการไปแล้วว่าทำไมที่ผมบอกถึงน่าจะถูกมากกว่า ไปอ่านดีๆด้วยครับ
รบกวนช่วย quote คำโพสต์ของคุณที่เป็นหลักที่อ้างอิงได้ให้ด้วยครับ
<ลบ>
แนะนำให้ทำ พจนานุกรมฉบับ ไทน่า
จบ
ไม่ได้เห็นด้วยกับราชบัณฑิตทั้งหมด แต่ตอนนี้ มีราชบัณฑิตแห่งเดียวที่พยายามออก "มาตรฐาน" ครับ
ถ้ามีนักภาษาศาสตร์คนอื่น เสนอระบบการถอดเสียงคำที่ดีกว่าราชบัณฑิตออกมาแข่ง ผมว่าก็น่าสนใจครับ แต่ตอนนี้ ถ้าต้องการอะไรที่เป็นมาตรฐาน (อย่างที่ Blognone ทำ) ราชบัณฑิตเป็นแหล่งหลักที่เสนอมาตรฐานให้ครับ
ถ้าเกิดคุณเปิดหลักของราชบัณฑิตเอง ราชบัณฑิตไม่ได้ใช้ระบบ หนึ่งอักษรภาษาอังกฤษ หนึ่งอักษรภาษาไทยนะครับ (ดังนั้น เจม กับ กอร์จ ไม่ใช่ตัวอย่างที่ valid แน่)
(โดยความเห็นส่วนตัว ผมว่า ซอฟท์ กับ ซอฟต์ ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากครับ เพราะ ต กับ ท ตำแหน่งลิ้นเหมือนกัน ต่างกันแค่ aspirated/unaspirated ซึ่งไม่น่าจะมีผลมากเท่าไหร่ในตำแหน่งของตัวสะกด)
มาแจมประเด็นในวงเล็บด้วยครับ
(แถมในภาษาอังกฤษ คู่เสียง aspirated และ unaspirated อย่าง
/ท/ และ /ต/ ยังนับเป็น phoneme เดียวกันด้วยซ้ำครับ
คู่ /พ/-/ป/ และ /ค/-/ก/ ก็เช่นกันครับ
เวลาเป็นพยัญชนะต้น
พวกเราออก aspiration กันชัดเจน
ฉะนั้น จึงเห็นว่า t, p, k ทับเป็น ท, พ, ค ตามลำดับ
แต่การออกเสียงตัวสะกดของเรานั้น เป็น unaspirated
ดังนั้น ผมจึงคิดว่าราชบัณฑิตสมเหตุสมผลครับ ที่ใช้ ต, ป, ก แทน t, p, k ตามลำดับ
ในยามที่เป็นตัวสะกดครับ เข้ากับธรรมชาติของการออกเสียงภาษาไทยครับ
อนึ่ง เสียง /ก/ ในภาษาไทย คือ unaspirated /k/ ด้วยครับ
ผมเห็นหลายคนจะเข้าใจว่า เสียง /ก/ ในภาษาไทยคือเสียง /g/ อย่างในคำว่า get
จริงๆ ไม่ใช่ครับ เพราะนั่นเป็น voiced /g/ ครับ เราไม่มีเสียงนี้ครับ)
+1 informative
ปัญหาอยู่ที่เวลาเราออกเสียงภาษาอังกฤษจริงๆ เราก็ควรออกตัวสะกดให้ aspirated ตามหลักการของภาษาเค้าน่ะสิครับ
เราควรจะออกเสียง เวิร์ค ไม่ใช่ เวิร์ก เพราะหลักการออกเสียงจากต้นภาษา ควรจะออกเสียงส่วนนี้ให้ชัดเจนด้วย
ผมก็จำไม่ได้ว่าคำไหนบ้าง แต่มันมี บางคำที่ออกเสียงคล้ายกันมาก ต่างกันที่ตัวสะกด ที่ตัวนึง aspirated อีกตัว unaspirated ซึ่งมันคนละความหมายกันเลย
เพราะงั้น เราควรเขียน เวิร์ค เพื่อให้คนอ่าน เวิร์ค เพราะจริงๆมันอ่าน เวิร์ค
ถ้าเราเขียนว่า เวิร์ก แต่จริงๆมันอ่าน เวิร์ค ผมว่าคนเรียนก็สับสนว่าตกลงมันต้องลงเสียง ก หรือ ค
เขียน เวิร์ค ไปให้คนอ่านดีกว่าครับ เพื่อให้คนเข้าใจว่า อ้อ จริงๆมันควรจะต้องออก ค เพราะถอดเสียงมาแบบนั้น
แล้วจริงๆ หลักการออกเสียงภาษาไทย ตัวสะกดจะเป็นอะไร เราต้องออกเสียง unaspirate เท่านั้น ใส่ ค ก็ต้องออกเหมือน ก (ถ้าเป็นภาษาไทยแท้ๆนะ)
หลักการของภาษาเค้าคือ
พยัญชนะอโฆษะ (เช่น t, p, k) ถ้าอยู่ตำแหน่งท้าย
จะ aspirate หรือไม่ก็ได้ (optionally aspirate) ครับ
จริงๆ มันอ่านได้ทั้ง เวิร์ค และ เวิร์ก ครับ
ขึ้นอยู่กับการเลือกของผู้พูดครับ
ที่เขียนๆไว้ อ่านให้ละเอียดหน่อยครับ
จริงๆ แล้วอ่านอย่างไรก็ได้ครับ
หลักการออกเสียงจากต้นภาษา ไม่จำเป็นต้อง aspirate ส่วนนี้ให้ชัดเจนครับ
ยกตัวอย่างได้ไหมครับ
ไม่จริงครับ ตัวโฟเนติกส์มีตัวเดียว http://www.merriam-webster.com/dictionary/work
จำเป็นครับ คำว่า rage กับ rate ออกเสียงไม่เหมือนกัน ถ้าออกไม่ชัดเจนจะกำกวม คำว่า rag กับ rack ก็เหมือนกันครับ
ถูกครับ เพราะมี phoneme เดียวครับ
ภาษาอังกฤษไม่แยกแยะครับ
ระหว่าง t, p, k ที่ aspirated กับ unaspirated
ฉะนั้น จริงๆ แล้วอ่านอย่างไรก็ได้ครับ
ถ้าออก aspiration ไม่ชัดเจน ก็ไม่กำกวมอยู่ดีครับ
เสียงท้ายต่างกันมากเลยครับ
(ตัวหน้า voiced post-alveolar affricate,
ตัวหลัง voiceless alveolar plosive)
ผู้ที่รู้การออกเสียงแบบถูกๆ สามารถแบ่งได้อย่างไม่กำกวมครับ
ถ้าออก aspiration ไม่ชัดเจน ก็ไม่กำกวมอยู่ดีครับ
สิ่งที่ช่วยไม่ให้กำกวมไม่ใช่ aspiration ครับ
แต่เป็นการที่ตัวสะกดของตัวหน้า voiced
ส่วนของตัวหลัง voiceless ครับ
http://www.thefreedictionary.com/rack
http://www.thefreedictionary.com/rag
มันมีรูปลำโพงกับธงชาติอยู่นะครับ เอาไปฟังแล้วบอกผมที ว่านอกจากเสียง ค กับ ก มีเสียงตรงไหนใช้แยกอีกบ้าง
ตรงที่ /g/ เป็น voiced
แต่ /k/ เป็น voiceless ครับ
งั้นคราวนี้ บอกผมหน่อยว่า เวลาถอดเสียง Rag กับ Rack ควรจะเขียน
แร็ก กับ แร็ค
หรือ
แร็ก กับ แร็ก
ครับ???
เวลาทับศัพท์ครับ
แบบนี้ครับ
ไม่เห็นด้วยเลยครับ
ในเมื่อมันเป็นคำที่จำเป็นต้องมีเสียง ค ตามหลัง ก็ควรสะกดด้วยเสียง ค ครับ
ไม่งั้นจะมีสะกดการันต์เพื่อบอกเสียงไปทำไม
เขียน เอ็ก ก็พอ ไม่ต้อง เอ็กซ์ หรอก
ทาง MSN ได้มั้ยครับ?
มีใครอยากตั้งกันไหม เป็นองค์กรณ์เถื่อนๆนี่แหละ มีแต่เว็บก็พอ
LongSpine.com
ผมอยากนะ - -/
ไม่อยากตั้ง เพราะบารมียังไม่ถึง แต่ถ้ามีใครตั้งก็อยากมีส่วนร่วมแน่นอน
องค์กร ครับ ไม่ใช่ องค์กรณ์ ผมว่าภาษาไทยมีตัวอักษรและเครื่องหมายต่างๆมากมาย ทำให้ยากต่อการใช้ให้ถูกต้อง ประโยชน์ก็คือทำให้เราออกเสียงและเขียนได้ใกล้เคียงกับภาษาต่างประเทศ ภาษาไทยโดยกำเนิดแล้วอ่านเขียนง่าย เข้าใจง่าย แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและการติดต่อกับต่างประเทศ จึงต้องมีการบัญญัติคำศัพท์ใหม่ๆออกมา ผมว่าหากจะใช้ผิดถูกบ้างก็ตัองแก้กันไป ดังคำกล่าวที่ว่า ภาษาไหนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ภาษานั้นก็ตายแล้ว ครับ
อํะ อันนี้ผมสะกดผิดจริงๆครับ เผลอพิมพ์ผิดไป
LongSpine.com
ย้ายประเด็นนี้ไปเป็นกระทู้ใน forum ดีมะ?
We need to learn to forgive but not forget...
We need to learn to forgive but not forget...
ความเห็นนี้ถูกแตกประเด็นไปยัง กระทู้ 9737
ผมน่ะ ไม่อยากใช้ของเถื่อนเล้ย..
Fact ของผมคือ คนทำงานไอทีที่รายได้น้อยก็มีอยู่นะครับ จะซื้อของแท้จ่ายเต็มเกินกำลังจริง ๆ ครับ ด้วยความไม่อยากละเมิดศีลห้าข้อลักขโมย ผมเคยย้ายไปใช้ลีนุกซ์ และพบว่า ผมสามารถใช้ทำงานได้ทุกอย่างจริง และที่สำคัญคือ รู้สึกดีมาก ที่ไม่ได้ขโมยซ๊อฟท์แวร์ใช้อีกแล้ว
แต่มันไม่ใช่เรื่องง่าย คุณก็รู้ว่า ไม่ได้ง่ายสำหรับทุกคนที่จะใช้โอเพิ่นซอร์สทั้งหมด ขนาดคนทำงานไอทีแท้ ๆ ยังต้องผ่านด่านงุนงงพอสมควร กว่าจะติดตั้งซ๊อฟท์แวร์ใช้งานทุกอย่างลงตัวได้ครบถ้วน
แล้ววันนึง ผมก็ต้องกลับมาลงวินโดว์เถื่อนอีก (แม้แต่โน้ตบุ๊คผมก็ซื้อรุ่นที่เป็นดอส เพราะถูกกว่าหลายพัน) และตั้งใจว่า หากยังไม่มีปัญญาซื้อของแท้ วันหนึ่งข้างหน้าจะกลับไปใช้โอเพิ่นซอร์ส
ประเด็นปัญหาที่คนจำนวนมากยอมผิดศีล ผมมองว่าเป็นเพราะราคาขายมันแพงจริง การเอางบในการพัฒนา มาเปรียบเทียบกับราคาขาย แล้วสรุปว่าราคาขายถูกมาก วิธีคิดแบบนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริงครับ เพราะเราไม่ได้พูดถึงซ๊อฟท์แวร์สั่งทำ ที่ต้องพัฒนาตามความต้องการของเรา ของที่ผลิตมาเพื่อขายจำนวนมาก ๆ มีฟีเจอร์ที่เราไม่ได้ใช้ปนมาด้วย เขาพยายามออกแบบให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าให้กว้างที่สุด จะได้ขายได้มาก ๆ
มีซอฟท์แวร์จำนวนมากที่ตั้งราคาขายต่อหน่วยแพงเกินไป เขาสามารถขายถูกกว่านี้และยังคงมีกำไรเป็นกอบเป็นกำได้ด้วย แต่ด้วยนโยบายครอบงำตลาด ทำให้เขาบังคับผู้ซื้อให้"ต้องซื้อ"ตามราคาที่เขากำหนด เมื่อถูกตีกรอบให้เดิน ก็ต้องมีคนแหกกรอบบเป็นธรรมดา
ผมเพิ่งซื้อ iPod Touch มาใช้ และพบว่า App store มีซ๊อฟท์แวร์ของผู้ผลิตรายย่อยขายในราคาถูก ๆ เช่น เกมตกปลา ทำมาอย่างสวยเลย ขายอยู่ .99 เหรียญ หรือประมาณ 35 บาท และส่วนใหญ่ก็ราคาประมาณนี้ 10 เหรียญคืออย่างแพง คุณคิดว่า เขาทำแล้วมีกำไรไหม? ราคาแบบนี้ไม่ต้องห่วงเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว จริงไหม?
สินค้าซ๊อฟท์แวร์ ต่างจากสินค้าอื่น ๆ หลังจากพัฒนาเสร็จแล้ว คุณทำสำเนาเพื่อขายได้ในต้นทุนที่ต่ำมาก อย่าคิดค่า Know How แพงนักเลย เพราะเอาเข้าจริงแล้ว ความรู้ที่เขาใช้พัฒนาซ๊อฟท์แวร์ใหม่ ๆ ให้เราใช้ ก็ไม่ใช่ความรู้ของเขาเองทั้งหมด ทุกคนล้วนแต่เอาความรู้เดิมของผู้อื่นมาต่อยอดทั้งนั้น
อยากจะรวย ไม่ผิดหรอก แต่เอากำไรชนิดที่สร้างซ๊อฟท์แวร์ที่ขายดีเพียงไม่กี่ตัว แล้วฉันรวยที่สุดในโลกนั้น ผมว่ามันเกินไป
เรื่องราคาเป็นเรื่องพูดยากครับ อุปสงค์อุปทานก็อีกหนึ่งเรื่อง แต่ก็เรื่องอื่นอีกคือ กฎหมาย การเมือง การศึกษา บลา บลา บลา
ในการวิเคราะห์ของคุณ bow_der_kleine มุ่งประเด็นไปที่ความเจริญของประเทศ เป็นการตีมุมมหภาคครับ และผมเชื่อว่า Know How มีราคาแพง ต้นทุนผลิตแผ่น-ผลิตแพกเกจ-ขนส่ง มันอาจตีราคาได้ไม่ยาก แต่ต้นทุน Know How ตีราคากันลำบาก ส่วนเป็นการเอาความรู้มาต่อยอด ผมว่ามันก็ต้องเป็นงั้นอยู่แล้วครับ งานสร้างสรรค์ย่อมมีเหมือนมีแตกต่างกันไป แต่การใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน มีนัยแตกต่างมากกว่าการสร้าง Know How เยอะแยะเป็นไหนๆ และการสร้าง Know How ก็ไม่ได้หมายถึงการมี Know How โดยไม่มี Why Who Which When Where Whom กว่าจะได้ Know How มาเนี่ย ไม่ง่ายจริงๆครับ
แต่ก็เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดของผมนะครับ ถูกผิดไงสังคมตัดสินเองครับ แต่ก็เห็นด้วยกับคุณ unclepiak นะครับ ถ้าราคาซอฟท์แวร์มันถูกกว่านี้ อาจจะแก้ปัญาหลายๆอย่างได้ไม่มากก็น้อย แต่จะลดราคาระดับไหนอันนี้มันสมดุลยากจริงๆครับ
ท้ายที่สุดแล้ว ผมยังเชื่อในเรื่อง "ชีวิตพอเพียง" ใช้ในสิ่งที่เราต้องใช้ และใช้ในสิ่งที่คุ้มกับกำลังของเราครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
"เรามักได้ยินคนไทยบ่นอยู่เสมอ ว่าวินโดวส์ไม่ดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้ (ใช้ไปสักพักช้า ไวรัส ชอบแฮงค์ ฯลฯ) แต่เพื่อนร่วมงานผมกลับไม่ค่อยเจอปัญหา"
ต่อให้ใช้ของแท้ขนาดไหนมันก็ห้ามไม่ได้หรอก
มันอยู่ที่คนใช้
ผมเคยไช้ windows xp แท้ (ผูกติดมากับ nb) ตอนนั้นติดเกมส์มากเลยเอา antivirus (ก็ผูกติดมากับ nb) ออกเพราะมันหน่วงเครื่อง แวะไปดูอะไรหวิวๆ แปบเดียว ต้อง restore เครื่อง
วันหนึ่งต้องไช้ IIS เลยเปลี่ยนไปไช้ผี เลยรู้ว่า ... windows เปราะเท่ากันทั้งแท้และเทียมถ้าไม่มีโปรแกรมอื่นเสริม ^^
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อัปเดทเครื่องสม่ำเสมอรึเปล่าครับ
จำได้ว่าตอน Blaster Worm ออกมา(จำได้ว่ากลางปีหรือปลายปี) คนโวยวายกันใหญ่พร้อมกับตำหนิไมโครซอฟท์ว่าปลอ่ยมีรูรั่วขนาดนี้ได้ยังไง
ไมโครซอฟท์ตอบกลับทีเดียวหงายเก๋งกันหมดว่า รูรั่วนี้ถูกพบตั้งแต่ต้นปี มี Patch ออกมาแล้ว ที่โดนกันเยอะก็เพราะไม่ยอมอัปเดทกันเอง
onedd.net
onedd.net
ถูกต้องหล่ะคร้าบบบบ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
มีช่องโหว่ที่ MS ไม่ยอมรับเยอะแยะครับ
มากขนาดที่ว่า Symantec นับช่องโหว่ IE กับ FireFox ถ้านับช่องโหว่ที่ผู้ผลิตยอมรับ IE ปลอดภัยกว่า แต่พอนับช่องโหว่ทั้งหมดที่เป็นที่รู้จัก FireFox ปลอดภัยกว่า
อ้างอิง : http://www.blognone.com/node/1877
^^
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ดีมากครับเป็นบทความที่ดี เราควรเห็นความสำคัญของ Know-how ใ้ห้มากขึ้นกว่านี้จริงๆ ไม่ใช่นั้นประเทศเราคงไม่สามารถผลิตอะไรใหม่ขึ้นมาได้แน่ๆ
ผมว่าบทความนี้ค่อนข้างดีนะครับ กล่าวรวมๆ ได้เหตุผลในระดับหนึ่ง แต่ขึ้นหัวว่า "ไทยไม่เจริญ" ก็ไม่เกี่ยวเท่าไรนะครับ ถ้ามองลงไปลึกๆ กว่า ะถ้ามองย้อนกลับไป ไทยใช้แต่ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ตั้งแต่สมัย(ชาติ)นู้น ป่านนี้ไทยคงไม่เจริญเท่านี้นะครับ คิด ง่ายๆ blognone ก็คงยังไม่เกิดภายใน 10 ปีข้างหน้านะครับ
การไม่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จะเริ่มมีผลเฉพาะประเทศระดับประเทศไทยตอนนี้เท่านั้นแหละครับ
ถ้าทุกคนในประเทศเคารพกฎหมายลิขสิทธิ์ ประเทศเราคงน่าเบื่อ คงขาดจินตนาการน่าดู
แต่ก็ไม่ควรสนับสนุนพวกละเมิด เห็นว่าเป็นของดี ของเท่ ที่คนไทยนิยมกันตอนนี้
ว่าแต่เว็บต้นฉบับไม่สนใจ Creative Commons บ้างหรือครับ เห็นว่าเกี่ยวกับ law
------------------- http://itshee.exteen.com/ -- Can you upgrade Vista to XP Pro?
ไปตอบในเว็บต้นฉบับน่าจะดีกว่านะครับ เกิดไม่ถึงเจ้าตัวเดี๋ยวไปโวยวายอีก
เห็นตรงกันข้ามนะครับ ประเทศไทยไม่เจริญ ไม่ใช่เพราะการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
ถ้าตามที่ได้อ่านมา ก็คงสรุปได้ว่าทำให้อุตสาหกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ในไทยช้าลงในบางส่วน โดยเฉพาะส่วนที่ไม่สามารถไปแข่งกับเขาได้ เพราะยังไงก็ตามเขาไม่ทันอยู่แล้ว ตัวอย่างส่วนที่ล้ำหน้าไปก็พวกภาษาไทยบน Platform ต่างๆ อันนี้ไม่มีใครสู้เราได้แน่นอน ของเถื่อนก็น้อยมาก ส่วนบางอย่างที่สู้ไม่ได้อยู่แล้ว อย่าว่าแต่ Commercial ที่ทิ้ง Open Source ไปไกล ยังไม่กล่าวถึง Open Source ก็ทิ้งเราไปไกลโขอยู่เหมือนกัน
ตรงกันข้าม ถ้ามองในมุมแบบเดียวกันอย่างที่ว่ามา ผมว่ามันทำให้ประเทศไทยไปได้เร็วขึ้นด้วยครับ โอกาสในการเข้าถึง Software ระดับนั้น (ที่รายได้ของคุณไปไม่ถึง) คุณจะได้เรียนรู้อะไรอย่างมากมาย แน่นอนว่ามันมีวิธีที่ถูกต้องในการไปให้ถึงและทดลองใช้+เรียนรู้ Software ในระดับนั้น แต่สิ่งที่เราทำพลาดไปก็คือการข้ามขั้นตอนและไม่เคารพลิขสิทธิ์ของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเอามาใช้หากินเป็นจริงเป็นจังแล้วไม่อยากคืนเงินให้กับผู้พัฒนา..
เห็นด้วยที่ว่า "ประเทศไทยไม่เจริญ ไม่ใช่เพราะการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย"
และก็เห็นด้วยกับประโยคนี้ครับ "ถ้ามองในมุมแบบเดียวกันอย่างที่ว่ามา ผมว่ามันทำให้ประเทศไทยไปได้เร็วขึ้นด้วยครับ โอกาสในการเข้าถึง Software ระดับนั้น (ที่รายได้ของคุณไปไม่ถึง) คุณจะได้เรียนรู้อะไรอย่างมากมาย"
ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า วงการซอฟท์แวร์ไทยจะพัฒนา ไม่ใช่เพราะการใช้ซอฟท์แวร์ผิดกฎหมายหรอกนะครับ ต่อให้ไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ เราทำซอฟท์แวร์มาแข่งกับของต่างประเทศก็สู้ไม่ได้อยู่ดี ไม่ต้องอะไรมากขนาด opensource เอง ทั้งฟรีทั้งดี ชวนคนอื่นมาใช้ตามยังแทบจะต้องกราบกันเลยครับ โปรแกรมที่น่าจะขายได้จริงๆ น่าจะเป็นโปรแกรมเฉพาะทางมากกว่า หรือไม่ก็เอา opensource มาต่อยอดทำให้มันเฉพาะทางขึ้นในแบบฉบับไทยๆ
ที่เหมาะกับคนไทย แล้วขายในรูปแบบของบริการ support จะดีซะกว่า เงินตราจะได้ไม่ไหลออกนอกประเทศ
ผมรู้สึกแปลกใจว่าทุก ๆ คนบนโลกนี้ในตอนนี้ การเข้าถึงซอฟต์แวร์ผีนั้นเกือบจะเรียกได้ว่าเท่านั้นแล้ว เว็บ BitTorrent เพียบบบ แต่ทำไมประเทศไทยเราถึงยังไม่เจริญในการแข่งขันด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ในวงกว้างหล่ะครับ เราไม่มีบริษัทใหญ่ ๆ ที่สามารถผลิตซอฟต์แวร์ได้ในระดับ หรือเทียบเท่า รวมถึงมาตรฐานที่เข้าใกล้มาตรฐานอย่าง สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่น (ไม่ต้องมองไปยุโรปหรืออเมริกาครับ มันไกลไป) การเข้าถึงซอฟต์แวร์ไม่น่าใช่ประเด็นสำคัญเท่าไหร่นะครับ
เพราะการเรียนรู้จากซอฟต์แวร์ นั้นสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องไปละเมิดอยู่มากมายหลายวิธี ซึ่งก็คือ Trial Version, Demo version, Shareware หรือ Education Licensing ซึ่งหลายคนมักมองว่ามันเอาไปทำงานไม่ได้ ก็อยากจะบอกว่า มันเป็นรุ่นทดลองครับ อยากเอาไปทำงาน ทำมาหากินก็ซื้อครับ คิดมันเป็น TCO ซะด้วยครับผม ;)
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
คำตอบ: การศึกษา
มีครับ ไม่ใช่ไม่มี แต่ไม่ใช่อันที่ไปแข่งขันกันโดยตรง อย่าง Office Suite หรือ Graphic แบบยักษ์ อย่าง Adobe หรือ Microsoft ถ้าในตลาดตรงนั้น ต่อให้ประเทศที่ว่าธุรกิจ IT ใหญ่ๆ จริงๆ (สิงคโปร, อินเดีย) ก็ไปเทียบเคียงกับเค้าไม่ได้ครับ ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น Infocentrix, Reuters, Exxon ผมว่าในไทยก็ไม่ด้อยไปกว่าที่อื่นๆ แล้วครับ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าการที่เราละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องของเรา ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็เป็นโปรแกรมพื้นฐานพวกนี้ MS-Windows, MS-Office, Adobe เกี่ยวข้องกับการเจริญของชาติน้อยมาก...
อินเดีย หรือ สิงคโปรเอง ที่มาถึงทุกวันนี้เพราะให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษและระบบการศึกษามากๆ... ถ้าวันนี้การเมืองแต่ละฝ่ายหยุดทะเลาะกันและมาคิดวางแผนกันเรื่องนี้ ให้เวลา 10 ปี เด็กรุ่นใหม่ที่ขึ้นมา พาชาติไทยเจริญไม่แพ้ใครแน่ๆ...
ยกตัวอย่างมาให้ดูครับ: - % การใช้ Software ละเมิดลิขสิทธิ์ในปี 2006
เยี่ยม
ประเทศไทยยังไม่เจริญเพราะจะทำอะไร เด็กมักถามแม่ และถูกบังคับโดยพ่อ คำตอบสุดท้ายอยู่ที่ความเท่
ไม่หรอกครับ พูดเล่น
ประเทศเจริญแล้วส่วนใหญ่ วิทยาศาสตร์เก่งกว่าวิศวกรรมศาสตร์ ค่อนข้างเห็นด้วยทีเดียวว่าไม่เกี่ยวกับ
MS-Windows, Office และ Adobe
เดี๋ยวนี้วิทยาศาสตร์ไทยก็เก่งขึ้นมาก ๆ ตีพิมพ์ลงวารสารระดับโลกกันว่าเล่นทีเดียว
?? วิทยาศาสตร์ เก่งกว่าวิทยาศาสตร์
ทำให้ชาติเจริญหรอครับ วิศวะอย่างผม
ไม่ได้ทำไรเพื่อประเทศหรอครับ ???
การศึกษานี่เป็นส่วนหนึ่งที่คงต้องปรับกันอีกนาน และเด็ก ๆ ต้องรับเคราะห์กันต่อไปอีกหลายต่อหลายรุ่นครับ ไม่รู้จะทำยังไง T_T คงได้แต่ต้องพยายามสั่งสอนน้อง ๆ ที่บ้าน ที่ใกล้ ๆ ตัวเราให้รอดกันไปก่อน ก่อนที่ระบบมันจะกลืนความคิดจนเกิดเป็นปัญหาครับ งานนี้ก็คงต้องพึ่งตัวเองกันต่อไปเช่นกันครับ
แต่ส่วนของซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ถึงแม้ว่ามองในภาพรวมทั้งระบบเศรษฐกิจในไทยมันจะเป็นส่วนที่น้อย แต่ผมมองว่าก็ควรใส่ใจเช่นกัน เพราะไอ้คำที่ว่าน้อย เอาเรื่องอื่น ๆ มารวมกันแล้วก็มากได้เช่นกันครับ ผมมองว่าทุกอย่างสำคัญเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าการเร่งด่วนในการทำให้เกิดมันขึ้นอยู่กับว่าอันไหนส่งผลกระทบในวงกว้างมากกว่าเท่านั้นเอง ถ้าอันไหนร่วมด้วยช่วยกันได้ ก็น่าจะเป็นผลดีครับ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
น่าจะเกี่ยวกับฐานะ มากกว่า แบบว่ารวยเลยจ่ายใด้ ^^
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
คุณ Ford เขาไม่ได้รวยนะครับ กู้เงินเรียนด้วยซ้ำ
ปล่าวหมายถึงผมคิดว่า % การไช้แผ่นแท้ ผูกกับความร่ำรวยของประเทศมากกว่า
^^
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เป็นไปได้...ลองดู GDP per capita
แต่อิตาลีกับฝรั่งเศสมันสูงผิดปกตินะ.....
ผมว่าอยู่ที่สังคม+ค่านิยมใหญ่ๆ ของเรามากกว่าเรื่องให้ความสำคัญกับ Know-how น่ะครับ...ไม่ว่าคน IT อย่างเราๆ ท่านๆ อยากจะทำให้ถูกต้อง แต่ก็ทำได้ลำบากครับ.
เพราะมีปัจจัยในการแข็งขันกันในสังคม+ธุรกิจ(มองที่ Software ทางด้านธุรกิจนะครับ) ยังมีความไม่เสมอภาคกันอยู่...เช่น บริษัทใหญ่ก็มีงบการซื้อสูง ก็มีงบไปพัฒนาคน หรือซื้อ Software สำเร็จรูปมาใช้ได้เลย พัฒนาระบบได้รวดเร็วกว่า...แล้วบริษัทที่ไม่มีงบหรือมีงบ แต่มุมมองของผู้บริหารไม่อยากเอาเงินไปลงทุนมากๆ ในด้าน Software แล้วก็ยังต้องการแข่งกับบริษัทใหญ่ๆได้อยู่...ทางออกที่จะใช้ Open Source 100% ก็เลยลำบากครับ...เพราะความรู้ Know-how ของคน IT ที่ยังไม่ถูกพัฒนาด้าน Open Source(มาจากสถานศึกษา)ไม่สมารถจะทำให้ได้ทันตามที่ต้องการ...ฉะนั้นทางออกก็เลยต้องเป็นของเถื่อนครับ...(เหมือนผมจะโยนปัญหาไปให้สถานศึกษาไงไม่รู้นะครับ)
สรุป Know-how Open Source หลายๆคนในสังคมยังไม่ถึงนั้นเองครับ...
...ถ้าจะพัฒนา Know-how ก็ต้องช่วยกันครับ.
น่าสนใจครับ ผมเองก็อยากจะรณรงค์เรื่อง Open Source ในพื้นที่ผมเหมือนกันครับ
เดี๋ยวเย็นว่างจะมาอ่านต่อ...
ผมผิด ok ป่าว
และแล้วก็เป็น ประเด็นร้อนจนได้ ผมว่าน่าจะเป็นอีกเรื่องที่ห้ามพูดในวงเล้านะ
แล้ว เพื่อนเก่าผมมายอมรับผิดอะไรในนี้เนี้ย
เราควรเลี่ยงปัญหา หรือพูดถึงปัญหาตรงๆ?
ซอพต์แวร์ผิดกฏหมาย (เพราะอย่างนี้ไง ไทยเลยไม่เจริญ)
ผมว่ามันคนเรื่องเดียวกันเลยนะครับ คนที่คิดอย่างนี้ควรกลับไปทบทวนเรื่องตรรกศาสตร์เสียหน่อย ซอฟต์แวร์เป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของเศรษฐกิจเท่านั้น
"ไทยจะเจริญหรือไม่ ไม่ได้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ผิดหรือถูกกฏหมายเลยครับ"
แต่ถ้าบอกว่าวงการซอฟต์แวร์ไทยถึงไม่เจริญผมเห็นด้วยครับ
ผมเข้าใจว่า ผู้เขียนเขาหมายถึง ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายเป็นตัวแปรหนึ่งนะครับ ตรรกศาสตร์น่าจะถูกอยู่ แต่จะผิดถ้าใช้คำว่า For All ... must be ...
อย่างที่คุณ onlinekg กล่าวไว้แหละครับว่าเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของเศรษฐกิจ พอๆกับว่าถ้าประเทศไทยมีไก่ติดไข่หวัดนก 1 ตัว แต่ก็เป็นผลกระทบต่ออุตสาหรรมเกษตรได้อย่างมหาศาลเลย และก็ส่งผลกระทบต่อการส่งออกด้วยเช่นกัน ไก่ 1 ตัว(จริงๆต้องโทษไข่หวัด) ก็สร้างผลร้ายต่อปากท้องคนจำนวนมาก เราจะแก้ปัญหาโดยการไม่บริโภคไก่ก็ได้ ไปบริโภคอย่างอื่นแทน แต่ถ้าอยากกินไก่ + กินไข่ ต่อไป ก็ต้องหาทางแก้ไขครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
อ่านอันนี้แล้วชอบ
"แต่การซื้อซอฟต์แวร์ผีแผ่นละร้อยมาใช้งาน เป็นการตัดแขนตัดขาของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ในเมืองไทย ชนิดที่ไม่ให้ไปผุดไปเกิดกันเลยก็ว่าได้"
ทำให้คิดเรื่องหนึ่งขึ้นมาได้ ผู้บริหารไทยแถวนี้มองว่า เงินเดือนโปรแกรมเมอร์ไทยสามหมื่นก็เยอะเกินไปแล้ว แต่เค้าไม่เสียดายที่จะจ้างคนจากฟิลิปปินส์วันละ สามหมื่น ซึ่งเอากันจริงๆ ความสามารถไม่ได้แตกต่างกันเลย ซึ่งเหมือนในเวียดนาม โปรแกรมเมอร์ชาวเวียดนามก็ได้เงินเดือนน้อยว่าโปรแกรมเมอร์ไทย ทั้งที่ความสามารถก็พอๆ กัน เผลอๆ จะเก่งกว่าอีก และก็ไม่รู้บังเอิญหรือเปล่านะคะ ที่ประเทศเวียดนามมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์มากกว่าประเทศไทยซะอีก (อันนี้คิดแบบลองหารออกมาเป็นเงินไทยแล้วนะคะ บวกกับคิดถึงค่าครองชีพแต่ละประเทศเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้ดูแค่ตัวเงิน)
"Thailand’s software piracy rate remained at 80% and was ranked 5th highest in Asia Pacific after China (82%), Indonesia (85%), Pakistan (86%) and Vietnam (88%); while piracy losses in 2006 increased to US$421 million."
มันมีความสัมพันธ์แบบแปรผันตามกันเลยนะคะเนี่ย อันนี้เป็นแค่ case 3 ประเทศที่เจอนะคะ (Philippines, Thailand, Vietnam) ประเทศอื่นๆ ก็ไม่ทราบเหมือนกัน คงต้องลองหาข้อมูลกันต่อว่ามันจะมีความเกี่ยวข้องกันจริงๆ หรือเปล่า
ถ้าจริง ทำไมประเทศอื่นเค้าทำให้ความรู้ IT ของเค้าในระดับเดียวกับที่เรามี มีค่าขึ้นมาได้, software piracy มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยนี้หรือไม่? แน่นอน ค่าครองชีพ เศรษฐกิจ เป็นปัจจัยสำคัญแน่นอนที่ทำให้เกิดความแตกต่างในการจ้างงาน แต่ไม่ว่าจะยังงัย คุณค่าของซอฟท์แวร์ ก็ยังคงต้องมีเท่าเดิม ไม่น่าจะแตกต่างกันมากจนเกินไป
know-how ระดับเดียวกัน แต่ราคาไม่เท่ากัน
วิธีแก้ปัญหาคือ ย้ายประเทศกันดีไหมคะ หรือว่า เรามาช่วยกันแก้ในประเทศของเรากันดี อันไหนจะง่ายกว่ากัน
ประเด็นที่คุยนี้เน้นด้าน IT อย่างเดียวนะคะ ไม่ได้เกี่ยวกับความเจริญของประเทศชาติด้านอื่นๆ
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ผมว่าประเด็นนี้ มันมีหลากหลายมิติ มากกว่าการที่จะมองว่ามันคือการใช้ของเถื่อน หรือมองว่ามันคือแค่เรื่องเกี่ยวกับราคา ผมว่ามันสะท้อนให้ถึงปัญหาหลากหลายที่เกี่ยวเนื่องกันมา ยกตัวอย่างเช่น
สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของมนุษย์ และรวมถึงสะท้อนบุคลิกลักษณะของคนไทย - ที่บอกว่าสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของมนุษย์โดยทั่วไปนั้นก็เพราะว่า ไม่ว่าคนที่ไหนในโลกใบนี้ ก็คงอยากได้ของดี ของถูกด้วยกันทั้งนั้น สังเกตได้ว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวในโลกที่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ และที่บอกว่าสะท้อนบุคลิกลักษณะของคนไทยก็เพราะว่า คนไทยมิได้นำการละเมิดนั้น มาเพื่อเป็นการพัฒนาตัวเอง (เหมือนหลายๆ ประเทศในสมัยก่อน เช่น ญี่ปุ่นหรือเกาหลี)
... ก็คงคล้ายๆ กับที่เมื่อก่อน ที่ไทยเราเป็นคู่แข่งกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ จนเดี๋ยวนี้โดนเวียดนามใกล้ที่จะแซงไปเต็มทีแล้ว และเราก็กำลังพัฒนาตัวเองไปเพื่อแข่งกับกัมพูชาแทน หุหุ
สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบริหารงานโดยรัฐบาล - คงไม่ต้องบอกว่ารัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเรามีวิสัยทัศน์แค่ไหน เพราะฉะนั้นคงไม่ต้องหวังถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพัฒนาองค์ความรู้ในด้านนี้ และรวมถึงการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากทางภาครัฐบาล
สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคม - ผมว่าปัญหาด้านนี้ พบเจอได้ในประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไป ที่มีความแตกต่างด้านการศึกษาและรายได้ของประชากรค่อนข้างมาก ทำให้การพัฒนาประเทศไม่สามารถดำเนินไปพร้อมๆ กันได้ เช่น ราคา 3,000 บาท อาจจะจ่ายได้สำหรับบางคน แต่บางคนหมายถึงการทำงานหลายสิบวัน
ปัญหาด้านการศึกษา
ฯลฯ
ผมว่าปัญหานี้ไม่สามารถแก้ไขได้จากจุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียว แต่อาจจะต้องขับเคลื่อนทั้งระบบไปด้วยกัน ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาไก่กับไข่ต่อไปไม่จบสิ้น
ที่สำีัคัญอย่าให้เป็นเหมือนหลายๆ คนในภาคการเมือง ที่บอกว่ารักประชาธิปไตยมาก แต่ก็สนับสนุนให้ทหารทำปฏิวัติ เพราะฉะนั้นคนในแวดวงไอที "อย่าเรียกร้องงานและเงินดีๆ ตราบใดที่เครื่องคุณยังใช้ของเถื่อน" มันไปด้วยกันไม่ได้ครับ
ปล. ความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ นะครับ
ตอบหน่อยสิว่า
ผมเชื่อว่า การแก้ปัญหา ต้องทำจากระดับสูงลงมา
ทำจากระดับล่างขึ้นไป
มันเป็นการ "จับปูใส่กระด้ง"...
คนที่อ่าน Blognone มาสักระยะคงทราบดีว่า ผมเชื่อกลับกัน bottom-up เท่านั้น
เริ่มที่ตัวเราเองก่อน อย่ารอใคร อย่าหวั่นไหวกับเสียงวิจารณ์
ในประเทศที่ไม่ใช่เผด็จการควรเริ่มต้นที่ bottom ครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
การมองอย่าง Bottom-Up คือการที่โมดูลที่อยู่ด้านล่าง ต้องทำงานให้ได้ Output แบบที่ Module ข้างบนต้องการ แล้ว Module ข้างบนจะไม่สนใจวิธีการ
ปัญหาในความเป็นจริงอยู่ที่
Module ข้างบน ก็ต้องส่ง Input ลงมาบน Module ข้างล่าง และ บางครั้ง Module ข้างบน ก็กำหนด Platform ของ Module ข้างล่าง หมายถึงบางครั้งบริษัท หรือกระแสสังคม ก็กดดันให้เราใช้โปรแกรมตัวเดียวกันหมด เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ และทำงานได้ด้วย Tool ตัวเดียวกันหมด จะได้มีกรอบมีระเบียบ
Platform ที่เราจงใจจะใช้ อาจจะยังไม่ได้มาตรฐาน และเมื่อเกิดปัญหาจากเรา หรือการทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่า Module อื่นๆ Module ข้างบนก็ไม่ได้สนใจเหตุผล มีแต่จะสมน้ำหน้าหรือตบเกรียนที่เราทำตัวแปลกแยก
Output ที่ได้จาก Platform หนึ่งอาจไม่ได้ Compability กับอีก Platform หนึ่ง เห็นชัดๆก็ File Format หรือย่างที่ชัดสุดคือ Endien ที่ Windows กับ Linux ไม่เหมือนกัน หรือเมื่อก่อน แค่โยนงานจาก 3DMax ไป Maya ก็เต็มกลืนเต็มทน ทั้งที่ข้อมูลที่ต้องใช้ก็เหมือนๆกัน กลับโยนออกไปไม่ได้ แถมการ Convert Format ก็นานอีกด้วย
นี่เป็นการสมมุติว่าแต่ละคนเป็น Module เล็กๆหนึ่งตัวในการเขียนโปรแกรมแบบ object bottom-up คุณก็คงรู้ว่า Platform นึง เวลาเขียนโปรแกรมขึ้นมาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดก็ต้อง Optimize
คนหนึ่งคนมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมให้ตัวเองไม่มาก การถนัดโปรแกรมหนึ่งๆ ก็เหมือนโปรแกรมที่ถูก Optimize ขึ้นมาเฉพาะแพลทฟอร์มหนึ่งๆ ถ้าไปทำงานอีกแพลทฟอร์ม บางทีนอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพ ยังเกิดบั๊กได้อีกด้วย แล้วคุณคิดว่าบริษัท(ที่เป็นโมดูลใหญ่ข้างบน) จะเสียเวลาแก้โค้ดให้คุณ หรือให้คุณแก้โค้ดเอง หรือจะคิดว่าจะไม่เลือกคุณมาใช้งานแต่แรกซะเลยจะดีกว่า???
นอกประเด็นแล้วมั้งครับ แยกไปตอบใน forum ดีกว่าไหม?
ถ้าจะนอก มันคงนอกมาตั้งแต่ Bottom-Up แล้วครับ
การบอกว่า Bottom-Up ในที่นี้ผมมองว่าเป้นเรื่องของการมองในเชิง "เริ่มต้นที่ตัวเอง" ซึ่งเป็นเรื่องของการปรับตัวในเรื่องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มากกว่าในเชิงการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือเรื่องอื่น ๆ นะครับ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
งง อะไรรึเปล่าครับ?
เค้าพูดกันถึงการแก้ปัญหาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นะครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
น่าจะเข้าใจคำว่า bottom-up ต่างกันมากกว่าครับ ผมกับ mk มองความหมายว่าเป็นการริเริ่มปรับปรุงที่ตนเองโดยไม่ต้องมีใครมาสั่งการครับ หรือไม่ต้องรอให้ใครมาวิจารณ์ว่าสิ่งที่ bottom ทำมันถูกหรือผิด ไม่มีการมองไปถึง top ว่า top จะเห็นด้วย จะสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน แต่เป้าหมายคือ เริ่มทำจาก bottom แต่มันจะวิ่งถึง top หรือเปล่า นั่นไม่ใช่เป้าหมายครับ
แต่การออกแบบโปรแกรมตาม OOP นั้น มันคือจะเริ่มลงมือจากล่างขึ้นบน หรือบนลงล่าง อย่างไรก็ดี ตัว object เป็นอะไรที่ passive ที่ต้องมี developer มากำหนดทิศทางครับ
โดยสรุปคือ เข้าใจคำว่า bottom-up ไปคนละอย่างมากกว่าครับ ไม่มีใครผิดใครถูกครับ แต่เข้าใจไม่ตรงกันเท่านั้นเองครับ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ผมเข้าใจในสิ่งที่คุณ Thaina กล่าวไว้ในอีก comment ครับ คือ จะบ่นกันไปทำไม ถ้าหากเป็น bottom ก็เริ่มที่ตนไม่ต้องไปหวังคนอื่นว่าจะตามหรือไม่ตาม ผมมองไปในจุดหนึ่งว่า สิ่งที่ผู้เขียนท่านนี้และท่านก่อนกำลังทำอยู่เป็นการรณรงค์ครับ คล้ายๆ Greenpeace หลายครั้งที่มีการประณามคนใส่เสื้อขนสัตว์ครับ อาจจะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่ก็เป็นการรณรงค์แบบหนึ่งที่ยึดถือปฎิบัติกันมาครับ แม้ว่าคนจะยังใส่เสื้อขนสัตว์อยู่ดี แต่เขาก็ไม้ได้ล้มเลิกอุดมการณ์ครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ผมก็พูดถึงในแง่ของการเริ่มต้นที่ตัวเองนั่นแหละครับ แต่ก็อย่างที่ผมเปรียบเทียบว่า ไม่ว่าจะแง่มุมไหน ในการเปรียบเทียบของแบบเดียวกัน ก็ประสบปัญหาเดียวกัน
การทำ Bottom-Up ปกติเราจะไล่ทำจากล่างขึ้นบน นั่นหมายถึง เรายังไม่มีบน
แต่ในความเป็นจริง ถ้าการเขียนโปรแกรมมันมีโมดูลบนอยู่แล้ว การทำโมดูลล่างมาตามใจ ก็มีปัญหาด้านความเข้ากันได้ขึ้นมาทันที
การคิดสั้นๆแค่ "ตัวเองก็พอแล้ว" มันไม่สามารถทำให้คนอื่นหันมาเห็นด้วยหรอกครับ ถ้าคนส่วนใหญ่ยังต้องมองยาวไปถึงระดับบนด้วย แบบประมาณว่า ถ้าตูใช้โปรแกรมนี้ไม่เป็น ตูก็ไม่มีใครจ้างทำงาน แล้วตูจะทำไงดี ฯลฯลฯลฯ
"ถ้าตูใช้โปรแกรมนี้ไม่เป็น ตูก็ไม่มีใครจ้างทำงาน แล้วตูจะทำไงดี ฯลฯลฯลฯ"
คำตอบคือ Trial Version, Demo version, Shareware หรือ Education Licensing ครับ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ก็มีคนบ่นหลายคนแล้วนะครับ ว่าพวกนั้นฟีเจอร์บางตัวมันไม่มี ทั้งที่ต้องใช้
เอาง่ายๆ มายาไทรอัล ตอนที่ผมเคยใช้หัด มัน Export ไฟล์เป็น .x ไม่ได้ นั่นหมายถึงผมใช้ Maya Trial มาหัดทำเกมไม่ได้
และรู้สึกมันใช้เรนเดอร์ Animation ไม่ได้ แล้วคนจะหัดทำ Animation กับ Advance Render ล่ะ จะทำไงดี???
รู้สึกคุณจะพยายามบอกว่า "ต้องซื้อ ต้องไม่ละเมิด" อย่างเดียว ไม่ดูที่คนอื่นเขียนไว้เลยตั้งเยอะแยะ
แล้วอย่างงี้เราจะเถียงกันไปทำไมเนี่ย?
เรากำลังหาทางเลือก "เพื่อไม่ต้องละเมิด" ไม่ใช่เหรอครับ ?
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ผมกำลังอยากพูดว่า การหาทางเลือก "เพื่อไม่ต้องละเมิด" มันไม่สามารถทำได้ด้วยความคิดแค่ว่า "ต้องไม่ใช้ ใช้คือผิด ต้องประนาม"
มันเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้เพราะคนอื่นๆมีความจำเป็น และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลมาก
และ การหาทางเลือก "เพื่อไม่ต้องละเมิด" มันไม่ควรมานั่งด่าคนอื่น และไม่ควรมองโลกแคบๆว่า แค่ไม่ใช้ก็พอแล้ว
เราคิดว่าเราจะไม่ใช้ พอถึงเวลาที่โดนบังคับให้ใช้ เราก็ต้องใช้อยู่ดี มันจะมีประโยชน์อะไร
สนับสนุน ว่าเรากำลังหาทางเลือก
แต่ผมยังอ่านการ์ตูนแสกนนะครับ ยอมรับผิด
อืม โอเคครับ เข้าใจแล้ว สรุปคือต่างอุดมการณ์ครับ ส่วนฝ่ายรณรงค์เขาก็ทำสิ่งที่ถูกต้องเช่นกันครับ แม้เป็นการประณามโดยไม่มีทางแก้ไข ก็ยังถือว่าเขาก็ได้บอกแล้วว่า เริ่มจากตัวพวกเขาเองครับ และการชักจูงให้คนอื่นมองว่าการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสิ่งไม่ดี นั่นคือเป้าหมายของการรณรงค์ครับ
ช่วง RCA มีคนไปประท้วงว่า วัยรุ่นไม่กินเหล้าไม่สูบยา อย่ากลับบ้านดึก เขาก็หวังดีกับเราทั้งนั้นแหละครับ หวังดีต่อสังคม หวังดีต่อประเทศชาติ หลายทีอาจจะมีการด่า มีคนแหน็บแนมคนที่ไม่ทำตาม ก็คือความห่วงใยอยู่ดีครับ จะห่วงคนเที่ยวหรือสังคมก็ว่ากันไป อยากให้มองถึงจุดประสงค์ของการรณรงค์นิดนึงครับ ไม่อยากให้คิดว่า พวกเขามาบ่น มาด่า มาวิจารณ์ อยากให้มองไปว่า พวกเขาห่วงใยเราและประเทศชาติครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
การหวังดีแต่ผิดวิธี เค้าเรียงว่าหวังดีประสงค์ร้ายครับ
ก็เห็นนี่ครับว่าการรณรงค์ ประท้วงวัยรุ่นเที่ยวดึก เลิกกินเหล้า เลิกสูบบุหรี่ อะไรพวกนี้ มาด้วยความหวังดี มีด่า เหน็บแนมคนที่ไม่ทำตาม มันมีมาตั้งนานแล้ว มันได้ผลมั้ย???
บางครั้งการทำอะไรโดยบอกว่า "หวังดี" แต่ผิดวิธี ผลมันก็ยิ่งเลวร้าย
อย่างการออกมารณรงค์ แล้วมีการด่า เหน็บแนม หรืออื่นๆ โดยปราศจากการเข้าใจอย่างแท้จริงว่า หลายคนทำไปเพราะมีความจำเป็น มันก็ยิ่งทำให้เกิดการต่อต้าน
เหมือนที่เป็นอย่างในกระทู้ที่แล้ว และกระทู้นี้ กระทู้นี้ก็ไม่ใช่กระทู้แรก ทำไมถึงไม่เข้าใจเรื่องนี้บ้างล่ะครับ?
ตอนนี้ก็ร้อนกันเข้าไปใหญ่แล้ว แล้วมาบอกให้คนอื่นเข้าใจว่าหวังดีเนี่ยนะ??
ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้ใหญ่ก็ทำทุกอย่างด้วยความหวังดีกับเด็กทั้งนั้นครับ แต่เราก็ได้เห็นแล้วว่าหลายเรื่องมันผิดมากกว่าถูก แต่ผู้ใหญ่ก็ยังดึงดันว่ามันเป็นความหวังดี ช่วยเข้าใจด้วย
แล้วผลเสียก็เกิดขึ้นกับเด็กทั้งนั้น
เลิกวัฒนธรรมอ้างความหวังดี กลบเกลื่อนวิธีที่ผิด ได้แล้วรึยัง?
มันก็ไม่ต่างอะไรกับการอ้างเหตุผลว่าจำเป็น มากลบเกลื่อนความผิดที่ใช้ซอฟท์แวร์เถื่อนนักหรอก
ผมขอตอบสั้นๆ แค่ว่า ผม (และคุณ ford) มองว่ามันไม่ใช่เรื่อง "ความจำเป็น" ดังนั้นจะเอาเหตุผลอะไรมาอ้าง มันก็ไม่ช่วยให้มัน "จำเป็น" ขึ้นมาครับ
ก็นั่นแหละคือมุมมองของ "พวกคุณ" ผมถึงเรียกว่าพวกยูโทเปียไง
จะหลับหูหลับตาวิจารณ์ชาวบ้านเอาสะใจต่อไปก็เชิญครับ มันก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมาหรอก นอกจากทำให้คนทะเลาะกัน
"ความจำเป็น" เกิดจากการ "มีเหตุผล" ในเมื่อตั้งธงไว้แล้วว่า ไม่ว่าคนอื่นจะมีเหตุผลอะไรก็จะไม่เห็นความจำเป็น
ก็ไม่ต้องเถียงกันแล้วกระมัง
ผมก็เห็นด้วยนะครับ ให้ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์ดีกว่า
โอเคครับ โดยสรุปคือ ต่างอุดมการณ์ต่างความคิดจริงๆครับ
ผมเป็นยูโทเปีย ชอบครับชอบ ^___^ ว่าจะแวะจอดหลายทีแล้ว แต่นึกถึงหน้าลูกเมีย ... อันนี้ ล้อเล่นนะครับ อย่าคิดมาก ตามที่บอกนะครับ ต่างคนต่างความคิดครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ใครเอาสะใจ?
ดูๆไปก็มีคุณนั่นแหละทีใช้วาจาเสียดแทง ดูสุภาพ แต่เนื้อหา จริงๆคือเสียดสี
ที่คุณว่ามามันคือ ข้ออ้าง เต็มไปหมด
เหมือนบอก ฉันขโมยเงิน เพราะฉันจะรักษาแม่ เพราะสังคมไม่เหลียวแลคนชรา
บลาๆๆๆๆ สุดท้ายคุณก็ไม่ต้องรับผิดชอบ
แบบนั้น
ใช่ไหมครับ
ผมพดผิดไหม???
คุณเปรียบเทียบอย่างนี้ไม่ถูกหรอก ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างคุณ ต้องบอกว่า ฉันขโมยยามารักษาแม่ เพราะยามันแพง
แต่เวลาเราจะทำ CL ยา เรามีเหตุผลไหม เราก็มีเหตุผล เหตุผลของเราผู้ถือสิทธิบัตรยาคัดค้านหรือเปล่า เขาก็คัดค้าน แล้วทำไมเราไม่พูดกันว่า ไม่มีเงินซื้อ ไม่ต้องใช้ล่ะ เรากลับพูดว่า ทุกคนต้องมีโอกาศเข้าถึงยา ทำไมเราไม่พูดว่า เป็นสิทธิที่บริษัทยาจะตั้งราคาแพงเท่าไรก็ได้ กลับพูดว่า บริษัทยาขูดรีด
อะไรที่เราได้ประโยชน์ เราก็ว่ามันถูกต้อง ใช่หรือเปล่า
Agree! จะเขียนโปรแกรมขายกลัวโดนcopyก่อนเลย เขีัยนแทบตาย ต้นทุนก็สูง ขายไม่ออกเพราะว่า คนไปโหลดโปรแกรมเราผ่าน BitTorrent กันหมด
ผมเห็นพวกยูโทเปียอีกคนแล้ว ที่ชอบสรุปอะไรง่ายๆ
ผมชอบยกตัวอย่างมายา เพราะผมเห็นมันเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในการบอกว่าการที่ต้องยึดติดกับซอฟท์แวร์ตามกระแสมันสำคัญแค่ไหน
การปรับตัว เปลี่ยนไปใช้เครื่องมือโปรแกรม 3DMax / Maya / Blender หรือใช้ให้ได้ทั้ง 3 โปรแกรม มันยากมาก และก็สร้างความติดขัดในการทำงานที่ต้องใช้สมาธิของฝ่ายศิลป์สูงมาก ซึ่งคนเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือทำงานด้านอื่นๆที่ไม่ใช่ด้านศิลปะคงไม่เข้าใจ
แล้วก็มาบอกว่าให้คนไปหาเบลนเดอร์มาใช้ ทั้งที่มันหน้าตาต่างกับ 3DMax และ Maya ไปคนละขั้ว
คนที่เกิดมาก็ใช้แต่ 3DMax กับ Maya พอถึงเวลาต้องมาใช้ Blender ก็งงชีวิต และพอสลับโปรแกรมก็สับสน ทำลายสมาธิในการทำงานไปเปล่าๆ
คนที่เกิดมาก็ใช้ Blender พอถึงเวลาไปทำงานบริษัท ต้องมาใช้ 3DMax หรือ Maya เพราะในบริษัทนั้นใช้ จะทำยังไง
ถ้าจะเถียงว่าไม่จริง ไปถามนักเขียนการ์ตูนดูครับ ว่าแต่ละคนมีปากกาที่ชอบมั้ย เวลาทำงาน ต้องได้ยี่ห้อนี้ เบอร์นี้ ไม่งั้นงานจะไม่มีคุณภาพ จริงรึเปล่า
แล้วการที่ต้องมานั่งเปลี่ยนอะไรบางอย่างที่ไม่สร้างประโยชน์กับบริษัท และทำให้งานบริษัทต้องล่าช้า รวมถึงทำไปแล้วอาจมีปัญหากับบริษัทด้วย(เช่น เมื่อเชี่ยวเบลนเดอร์แล้ว ก็พยายามไปต่อรองให้บริษัทเปลี่ยนมาใช้เบลนเดอร์ ก็ต้องทะเลาะกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นต่ออีก) คุณคิดว่าคนทั่วไปควรจะเสี่ยงทำเพื่อให้เกิดปัญหากับบริษัทรึ???
ขนาดตอนนี้ผมอยากใช้ VC Express ก็ยังโดนเพื่อนที่ทำงานกดดันให้ใช้ตัวเต็มที่เค้าไปเอามา (ซึ่งก็เป็นไลเซนส์จริงที่เค้าเหลือๆมาจากที่คนอื่นซื้อมาอีกที) ผมก็ไม่อยากใช้เพราะเดี๋ยวจะชินกับตัวเต็ม
และยังมีปัญหาอีกมากมายซึ่งแต่ละคนก็มีต่างกันไป
ไม่ใช่ว่าผมจะคัดค้านบทความทั้งหมด มันเป็นความจริงที่ผมก็ยอมรับ
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับสรุปสองย่อหน้าสุดท้าย รู้สึกเลยว่าคนเขียนมีมุมมองที่คับแคบและขาวดำเกินไป
ใช่ครับ เราไม่มีเรื่องที่ต้องถกเถียงกันอีกแล้ว
ลงมือทำอะไรที่มีประโยชน์ แก้ไขปัญหาตามเหตุผลของคนที่ใช้อยู่ มากกว่าจะมานั่งบ่นแบบนี้ จะดีกว่านะ???
เอาไว้ในบล็อกน็อนเหลือแต่ "คนที่ภาคภูมิใจกับการใช้ของเถื่อน" และ "ไม่มีจิตสำนึก" ค่อยมาเขียนสองบรรทัดสุดท้ายนั่นเหอะ
และผมขอย้ำอีกทีนะว่า ตอนนี้ผมไม่ได้ใช้ของเถื่อนในการทำงาน ผมไม่ได้พูดเพื่อแก้ตัวให้ตัวเอง แต่ผมพูดเพราะ ความจริง มันไม่ได้ตรงไปตรงมาอย่างที่พวกยูโทเปียอย่างพวกคุณเข้าใจ
ไอ้ Fact ของคุณ มันก็เป็นแค่สิ่งที่คุณเห็น สิ่งที่คุณมอง สิ่งที่คุณรู้
ข้ออ้างที่เรียกว่าความจำเป็น ไม่ได้ทำให้ความผิดกลายเป็นความถูกต้อง
แต่มันหมายความว่า มันไม่มีประโยชน์ที่จะมานั่งย้ำว่า "มึงผิด มึงผิด ผิดเพราะอย่างนั้นเพราะอย่างนี้ ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลอะไรมึงก็ผิด ต้องผิด ไม่ใช่ไม่ผิด มันผิด ผิด ผิด ผิด ผิด"
มันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น มีแต่จะเป็นการทำให้อะไรๆแย่ลง
เห็นชัดๆเลยว่า
No Action
Talk Only
เริ่มที่ตัวเรา แล้วเผยแพร่ให้กับผู้อื่น โดยสำหรับผมแล้ว Start Talking. Start Doing Now !!!.
ให้ทุกคนรู้ว่าตัวเองทำผิด และหาทางแก้ไข ในตอนที่ทุก ๆ อย่างยังทันอยู่ครับ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
เปล่าวครับ โทษที ลืมอ่านคอมเมนต์ด้านบนอีกที
ไม่ได้เขียนผิดครับ เพราะแปลงมาจาก Stop Talking. Doing. ครับ ;) งานนี้เราต้องพูดคุยและทำไปพร้อม ๆ กันครับ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ขอสรุปให้นะครับ ว่า ไม่ถนัด Blender เลยใช้ 3DMax เถื่อน
BioLawCom.De
+1 Informative
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
+1
+10 informative
+1
ผิดครับ ผมใช้มายา
และผิดอีกแล้วครับ เพราะตอนนี้ผมก็ไม่ได้ใช้แล้ว
ไม่รู้จะหลับหูหลับตาสรุปไปถึงไหน ก็บอกตั้งหลายครั้งแล้วว่า ผมพูดเพราะ ในสังคมจริงๆ มันเป็นแบบนี้
คนที่บวกๆมาควรติดลบนะครับ Informative ผิดพลาดแบบนี้
ประเด็นที่คุณ bio_law_com ต้องมาสรุป และคนอื่นๆ มาบวกให้เนี่ย ผมว่าเป็นเรื่องที่ว่าคุณเขียนมาหลายๆ ย่อหน้า (จริงๆ แล้วหลายความเห็น ในหลายกระทู้) แล้วเนื้อหามันจับได้เท่านี้นะครับ
ลองปรับวิธีการสื่อสารหน่อยดีไหมครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ที่ผิดอีกอย่างคือ การที่สรุปได้แค่ว่า "เบลนเดอร์ใช้ยาก" ไงครับ
มันไม่ใช่ปัญหาตรงนั้น แต่เป็นปัญหาที่ว่า คนที่เคยใช้ตัวอื่นมาก่อน มาใช้ตัวโอเพ่นซอร์ซที่หน้าตาต่างกันมาก มันยากกว่าคนหัดใหม่แบบเทียบไม่ได้
หรือถ้าผมไม่ใช้คำศัพท์หรูๆ อย่างคำว่า Switching Cost (ซึ่งผมยืมมาจากความเห็นล่างๆ) แล้วจะไม่เข้าใจ???
ผมใช้ภาษาบ้านๆไปสินะ??? ขอโทษด้วยครับ
แล้วสรุปเนื้อหาได้ห่วยมากครับ ห่วยจนไม่รู้ +10 เข้าไปได้ไง ปัญหาที่ผมพยายามชี้คือ "มันไม่มีอะไรจูงใจให้คนธรรมดาหันมาใช้โอเพ่นซอร์ซ หรือฟรีแวร์ตัวอื่นๆเลย"
คนที่หัดใหม่ จะหัดเบลนเดอร์ไปทำไม ในเมื่อบริษัทจริงๆส่วนใหญ่ใช้ Maya หรือ 3DMax และก็ไม่มีคนที่ใช้ Blender อยู่รอบๆให้ปรึกษา
คนที่เป็น Maya และ 3DMax อยู่แล้ว จะหันไปใช้ Blender ทำไม ในเมื่อต้องเสียค่า Switching Cost สูงลิ่ว แต่ก็ยังไม่มีเงินพอซื้อตัวเต็ม และที่สำคัญคือ รอบๆตัวก็ไม่มีใครใช้ด้วย ปรึกษาอะไรใครก็ไม่ได้ บริษัททั่วไปก็ไม่ใช้กัน
นี่คือปัญหาที่ผมพยายามชี้ให้เห็น แต่ดูเหมือนมีแต่คนตั้งใจจะถล่มคนที่เห็นต่างอย่างเดียว ทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ โดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าสรุปผิด
เห็นชัดๆเลยว่าสรุปโดย แก้ต่าง -> แก้ตัวให้ตัวเอง -> มันใช้ของเถื่อน -> เหตุผลไม่มีความจำเป็น -> ผิด ต้องด่า ต้องประนาม -> แหม เขียนตรงใจ บวกๆ -> ผมก็ต้องมาแก้ต่อว่ามันไม่ใช่ -> หยุดไป ขึ้นกระทู้ใหม่ -> มีคนพูดเหมือนเดิม -> ผมก็ยกเรื่องเดิมมาพูด -> มีคนสรุปว่าเป็นการแก้ตัว
"คนที่หัดใหม่ จะหัดเบลนเดอร์ไปทำไม ในเมื่อบริษัทจริงๆส่วนใหญ่ใช้ Maya หรือ 3DMax และก็ไม่มีคนที่ใช้ Blender อยู่รอบๆให้ปรึกษา"
ก็ทำให้มันมีขึ้นมาสิคะ สิ่งที่มันขาดน่ะ ทั้งหมดที่เราคุยกันก็เพื่อแก้ปัญหา หาทางออก ไม่ใช่เหรอคะ ถ้าบ่นอย่างเดียวว่าไม่มี แต่ไม่ช่วยกันทำ เมื่อไหร่จะสำเร็จ
เรื่องนี้ต้องใช้ความช่วยเหลือจากคนจำนวนมากๆ เลยนะคะ แม้จะยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้นี่คะ ถึงมันจะไม่ร้อยเปอร์เซน มันก็ต้องน้อยลงบ้างล่ะ ทัศนคติของคนจำนวนหนึ่ง ต้องเปลี่ยนกันบ้างล่ะ เราไม่ได้หวังให้มัน completely change แต่เราหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นสักนิดก็ยังดี
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ไม่ใช่ว่าผมไม่เข้าใจคุณ natty นะครับ ผมเข้าใจที่คุณพูดมาทุกอย่าง แต่แนวทางการแก้ปัญหาที่ว่า "เริ่มจากตัวเราเองก่อน" มันใช้ไม่ได้กับสังคมไทยของเราในตอนนี้แล้วครับ มันเหมือนกับการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หันมามองความเป็นจริงสักนิดนึงครับ ความแน่วแน่ของคุณและคนอื่นๆ ผมยกนิ้วให้เลยครับ แต่การจะแก้ปัญหาโดยใช้วิธีเดิมๆ ที่มันไม่ได้ผลแต่ก็ยังฝืนใช้นี่เค้าเรียกว่า ดันทุรัง ครับ สุดท้ายแล้วผมคงไม่มีอะไรจะพูด นอกจากเฝ้ามองวิธีการเดิมๆ ที่คุณใช้แก้ปัญหา และหวังว่ามันคงจะสำเร็จเข้าสักวัน
ปล. ผมไม่ได้สนับสนุนของเถื่อนนะครับอย่าเข้าใจผมผิด
ประมาณนี้แหละครับ ผมก็พยายามบอกแล้วเหมือนกันว่า "การรณรงค์ แบบที่เป็นอยู่แบบนี้ มันยังไม่พอ การด่า จิกกัด เหน็บแนม มันเป็นวิธีที่ใช้ไม่ได้ สรุปทั้งหมด มันไม่ได้ผล เราควรหาวิธีที่ได้ผล"
โดนโยนไปเป็นเรื่องของอุดมการณ์ต่างกันอะไรก็ไม่รู้ ไปโน่นเลย
โอเคครับ ถ้าไม่ใช่คำว่า อุดมการณ์ ก็เป้นอันว่า มีวิธีการและก็เข้าใจไม่ตรงกันแล้วกันครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ครับ
ความเห็นของคุณยาวมาก แถมเยอะ แต่ผมจับประเด็นได้แค่ว่า "คนทั่วไปชินกับซอฟต์แวร์เดิมๆ ไม่อยากเปลี่ยน"
ผมว่าทุกคนเห็น และทุกคนรู้ปัญหานี้แล้วล่ะครับ อย่างน้อยๆ คุณเองก็พิมพ์มาหลายรอบแล้ว
คำถามคือคุณอยากให้อะไรเกิดขึ้น เพื่อลดปัญหานี้? ทุกคุณว่าคนอื่นพูดอย่างเดียว แล้วคุณคิดว่าควรทำอะไร?
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ตอบสองท่านพร้อมกันนะครับ
อย่างแรกคือ ผมอยากให้เลิกด่า เหน็บแนม เสียดสี คนใช้ของเถื่อน เพราะมันยิ่งสร้างความแตกแยก
ส่วนตัวผมก็บอกแล้วว่าผมเข้าใจและเห็นด้วยกับกระทู้นี้ แต่ผมไม่ยอมรับการสรุปแบบแคบๆ แบบยูโทเปีย ในสองย่อหน้าสุดท้าย ที่มีการกัด ด่า เสียดสี และสรุปง่ายๆว่าคนใช้ซอฟท์แวร์เถื่อนมันเลว
อย่างสองคือ แทนที่จะเหน็บแนม เสียดสี เรามาหาโซลูชั่นที่เป็นไปได้ดีมั้ย ทางออกของผมคือ ทำโอเพนซอร์ซ โปรแกรมนึงๆ ให้มี UI เหมือนกับโปรแกรมที่คนอื่นใช้ "แล้ว จึง" เอาไปแนะนำให้คนๆนั้นใช้
อาจจะเป็นโปรแกรมใหม่ หรืออาจจะเป็นปลั๊กอินของโปรแกรมที่มีอยู่แล้วอีกที เอาไว้สวิทช์ UI อย่างเดียว
ผมก็คิดว่าอยากทำอยู่ แต่ผมก็อยากได้รับการสนับสนุน และอยากเห็นว่า เออ เราก็มีเพื่อนร่วมทำด้วย เราก็มีคนที่แนวคิดเดียวกัน มันน่าจะเป็นแนวคิดที่ได้ผล ผมจึงเสนอไว้ก่อนแล้วดูเสียงตอบรับ
ผมก็พยายามพูด เพื่อบอกให้คนอื่น หาแนวทางแก้ปัญหา และผมพยายามพูด ว่าแค่การรณรงค์ให้มีจิตสำนึก มันช่วยอะไรไม่ได้ถ้าคนนั้นยังเหลือเหตุผลที่เป็นความจำเป็นอยู่ ยิ่งมีจิกกัด ด่าทอ เหน็บแนม ยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านไปเปล่าๆ
แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครเข้าใจ
ปัญหาอีกอย่างที่ผมอยากชี้ให้เห็นคือ มันมีเหตุผลมากมายที่ทำให้คนทั่วไปไม่อยากเปลี่ยน ไม่ใช่แค่ใช้ยาก มีทั้ง switching cost การที่ไม่มีเพื่อน การที่สังคมไม่ได้ยอมรับ การที่ไม่มีอะไรที่สร้างความเชื่อมั่นได้รอบๆตัว และอื่นๆอีกมากมาย ฯลฯลฯลฯลฯลฯ
ตอนที่ผมกล้าลง UBUNTU ก็เพราะเพื่อนเล่าให้ฟัง ว่ามันมี UI สมบูรณ์ และใช้ง่ายมาก พอผมใช้เองจริงๆก็รักมันเลยเพราะว่ามันดีกว่าที่คิดไปมากจริงๆ แต่ถ้าเพื่อนไม่บอก และ UI มันยังดูไม่น่าไว้ใจพอ ผมก็คงไม่รักมันเหมือนที่ผมเป็นตอนนี้
และปัญหาอย่างสุดท้ายคือ ผมมาพูด มาเพื่อแก้ต่างให้คนอื่น ชี้ปัญหา และให้เหตุผลว่าทำไมเราถึงควรจะเลิกด่าทอ เหน็บแนม เสียดสี คนที่ใช้ซอฟท์แวร์เถื่อน แต่กลับกลายเป็นว่าผมโดนด่าว่าผมมาแก้ตัว ไม่ยอมรับผิด ไม่รับผิดชอบ พูดเพื่อให้ความผิดเป็นถูก ทั้งๆที่ตอนนี้ผมไม่ได้ใช้ซอฟท์แวร์เถื่อนแล้ว(แต่ยอมรับว่ายังเล่นเกมเถื่อนอยู่บ้าง)
ผมขอยกมาย้ำอีกทีว่า ผมไม่ได้คิดว่าการมีเหตุผลมากพอ จะทำให้เรื่องผิดกลายเป็นเรื่องถูก
แต่มันหมายความว่า เมื่อมันมีเหตุผลมากพอ แปลว่า มันมีปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ด้วยการทำแค่พูดให้สำนึกหรือด่ากัน
ถ้างั้นบอกวิธีแก้ปัญหาของคุณหน่อยสิคะ ถ้าวิธีที่พวกเราคิดมันใช้การไม่ได้ หรือว่ามีทางเดียวคือปล่อยให้มันเป็นแบบนี้ไป
สำหรับเรา เราว่าเราก็ไม่ได้ด่าคนใช้ของเถื่อนนะคะ ก็รู้ว่าแต่ละคนมีเหตุผลของตัวเอง (แม้แต่เรา software บางตัวที่ยังหาทดแทนไม่ได้ก็ยังใช้ของเถื่อนอยู่ แต่ก็พยายามลดเรื่อยๆ แม้จะยังไม่สำเร็จสมบูรณ์ก็ดีใจที่ได้เริ่มทำ และก็อยากชวนคนอื่นมาร่วมกันทำ)แต่ถ้ามีคนอื่นในที่นี้ด่า ก็ขอโทษแทนพวกเขาทุกคนด้วยค่ะ และเห็นด้วยที่จากนี้ เราจะมาคุยกันดีๆ ไม่เสียดสีเหน็บแนมใครค่ะ
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ตอบไปแล้วครับ อ่านดีๆเน่อ
GIMPShop ใช้เป็นกรณีศึกษาในเรื่องนี้ได้ไหมครับ?
ได้ข่าวมาว่าแม้จะมีเป็น GimpShop ก็ยังไม่ช่วยให้น่าใช้เท่า Paint.Net เลยนี่ครับ?
ขอเชิญทุกๆท่านช่วยกันแสดงความเห็นด้วยครับ ว่า GIMPShop ยังผิดพลาดตรงไหนอยู่บ้าง
ลองตั้งกระทู้มั้ยครับ??
สำหรับผม แค่แตะครั้งแรกก็งงชีวิตแล้วครับ แค่จะครอปรูปไม่รู้คำสั่งมันไปไหน
และรำคาญที่สุด UI ที่ทุกตัวของมันมีหน้าต่างเฉพาะ เกะกะ TaskBar มากครับ
ทางออกที่คุณว่า "ทำโอเพนซอร์ซ โปรแกรมนึงๆ ให้มี UI เหมือนกับโปรแกรมที่คนอื่นใช้" นี่ คำถามตามมา
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมอยากทำครับ แต่ก็หาแนวทางอยู่ว่าแนวไหนดี ที่โพสท์ๆอยู่นี่ก็รอเหมือนกันว่าใครจะมีอะไรแนะนำบ้าง เผื่อมีแนวใหม่ๆ
พอเริ่มโปรเจคต์แล้วก็ต้องมีการรวบรวมไอเดียก่อนน่ะครับ แต่ถ้าผมเป็นคนเริ่ม คงจะทำโปรแกรม 3D แล้วเน้นไปให้เหมือนมายา
อาจจะัทำต่อจาก Blender ให้เหมือน GimpShop คือข้างหลังเป็นเบลนเดอร์ แต่มี Skin Max Skin Maya
แต่จริงๆผมยังฝีมือต่ำต้อยมาก เพราะงั้น จริงๆก็ไม่อยากเปิดเองหรอก
กำลังวางแผนทำเอนจิ้น 3D อยู่ บางทีอาจจะให้เสร็จก่อน แล้วเอามาใช้ทำ
ในโปรแกรมอื่นๆก็ต้องว่ากันไปทีละโปรแกรม ว่าโปรแกรมไหนได้รับความนิยมบ้าง
ส่วนตัวผมก็มีแค่สองมือ ก็คงทำได้ไม่กี่โปรแกรม ตอนนี้ที่อยากทำก็มี Maya Cloning เนี่ยแหละ แต่ถ้าคนอื่นจะเปิดให้ก็ดีครับ
โครงการโอเพนซอร์สโดยทั่วไปแล้ว คนอยากทำมันโค้ดเลยครับ แจกก่อนถามความเห็นทีหลัง
ไว้โปรแกรมมันเริ่มใช้งานได้แล้ว คนอื่นเค้าจะมาแนะนำเอง
+1 ค่ะนี่แหละคำถาม ขอโทษที่ถามไม่ตรงประเด็น พอดี comments คุณมันเยอะมากจนหาวิธีการแก้ปัญหาไม่เจออ่ะค่ะ
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ครับ ตอบแล้วนะครับ
ผมก็แทรกความเห็นถึงวิธีแก้ปัญหาไว้ตลอดแหละครับ ขอโทษด้วยที่แกะยากเพราะมีพูดหลายๆเรื่องพร้อมกันในรีพลายเดียว
"ใครจะทำครับ? คุณ Thaina จะเริ่มเปิดโครงการใหม่? ตามแนวทาง No talk, Action only เลยไหมครับ?"
ถ้าเรามุ่งมั่นที่จะทำกันจริงๆ ก็พวกเราๆ ท่านๆ ที่สนันสนุนซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์นี่แหละครับ
รวมตัวกันเขียนโครงการเสนอไปยังหน่วยงานหรือองค์กรที่เค้าสนับสนุน กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ให้รัฐบาลวางรากฐานสนับสนุนการใช้ซอฟท์แวร์เสรี ในระดับการศึกษา"อย่างจริงจัง"
โฆษณาออกสื่อในทุกรูปแบบ จัดกิจกรรมส่งเสริมการแข่งขันชิงรางวัล เป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียน และหลายสิ่งหลายอย่าง ที่เราจะต้องช่วยกันคิดกันทำให้มันเห็นเป็นรูปธรรมขึ้นมา
"แค่ไหนคือเหมือน?
แค่ที่คนส่วนใหญ่เค้าปรับตัวเข้าหาได้ง่ายก็พอครับ
"ต้องเหมือนโปรแกรมไหน?"
เหมือนไม่เหมือนไม่รู้ครับขอให้แค่ end user ปรับตัวเข้ามาใช้ได้ง่ายๆก็พอครับ
"คนอื่นๆ ที่ใช้คือใครบ้าง?"
คนที่ท่านปรารถนาให้เค้าเลิกใช้ของเถื่อนไงครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
โจทย์ที่ว่าเหมือนแค่ไหน...บลาๆๆๆ ที่คุณว่ามานี่ไม่ใช่ว่ามันไม่มีคำตอบนะครับ ยังไงผมยืนยันว่ามันมีครับ แต่ถ้าจะถามเค้นเอาจากผมให้ได้ตอนนี้ผมบอกไม่ได้เพราะผมมันก็แค่คนๆ เดียวที่ในบางเรื่องอาจจะมีความคิดเห็นไม่ตรงกับคนส่วนใหญ่ก็ได้ แต่ที่ผมบอกได้ก็คือเอาไปถามคนส่วนใหญ่โน่น แล้ววิธีการที่ใช้ถามความคิดเห็นคนส่วนใหญ่ให้ได้ผล หรือใกล้ความจริงมากที่สุดมันต้องทำอย่างไร ผมคงไม่ต้องบอกเพราะมันเป็นเรื่องที่เราจะต้องมาช่วยกันคิดอีกที แต่ถ้าอยากได้คำตอบจากผมคนเดียวก็ได้ครับ ผมขอแค่ให้ linux มันเล่นเกมส์ทุกเกมส์ในท้องตลาดได้สมบูรณ์แบบเหมือนใน windows ก็พอ
ปล. ผมหมายถึงเกมส์ลิขสิทธิ์แท้นะครับอย่าเข้าใจผิด
ผมยกตัวอย่างให้ล่ะกันครับ
ประเด็นของผมคือถ้าเราบอกว่าอยากให้ทำเหมือน เราไม่ควรตั้งโจทย์ว่า "แค่ที่คนส่วนใหญ่เค้าปรับตัวเข้าหาได้ง่าย" เพราะมันไม่มีขีดจำกัดอะไรเลย
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
"ประเด็นของผมคือถ้าเราบอกว่าอยากให้ทำเหมือน เราไม่ควรตั้งโจทย์ว่า “แค่ที่คนส่วนใหญ่เค้าปรับตัวเข้าหาได้ง่าย” เพราะมันไม่มีขีดจำกัดอะไรเลย"
ตรงนี้ผมเข้าใจครับมันอาจจะฟังดูกว้างไป ผมก็ไม่แปลกใจที่จะมีคำถามตามมาว่า "แล้วแค่ไหนมันถึงจะพอ?" เพราะนั่นคือสิ่งที่เราจะต้องหาคำตอบกันต่อไปยังไงล่ะครับ อาจจะทำแบบสอบถามสำรวจความต้องการของคนทั่วไป หรืออาจจะแยกประเภทซอฟท์แวร์ออก แล้วสำรวจเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ซอฟท์แวร์ประเภทนั้นๆ ว่ามีความต้องการอย่างไร หรือถ้าคุณมีวิธีที่ดีกว่าก็ว่ากันไปครับ
ขอตอบเหมือนคุณ 7ingN0ngN0i ว่า ใครที่เขียนโปรแกรมแนวไหน อยากให้คนอื่นใช้โอเพ่นซอร์ซโปรแกรมอะไร ก็เขียนแนวนั้นออกมา สิครับ
ผมทำงานแนวทำเกม 3D ผมก็เลยคิดว่าจะทำโอเพ่นซอร์ซโปรแกรม 3D ขึ้นโมเดล ทำอนิเมชั่น เหมือนพวก Max Maya
ใครถนัด 2D ก็ทำแนวโปรแกรมวาดรูปให้ออกมาแทนโฟโต้ช็อป หรืออื่นๆอีกมากมาย
ทำยังไงถึงจะง่าย วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ทำ UI เหมือนโปรแกรมที่คนส่วนใหญ่นืิยมใช้กัน อย่างโปรแกรม 3D ก็เลือกซักตัวจะเอา Max หรือ Maya หรือจะทำ ทั้งสองตัว บวก Switcher ก็ตามแต่ ถ้าเป็น โปรแกรมทำภาพ ก็ต้องเหมือน Photoshop อย่างน้อย UI พื้นๆก็ต้องครบ
คิดว่าคงต้องมีการแชร์ความคิดกัน และสิ่งสำคัญก็คงจะเป็น MVC ให้คนอื่นเขียนโปรแกรมเปลี่ยน UI ได้ง่ายๆ น่ะครับ เพื่อให้เปลี่ยน UI เมื่อไหร่ก็ได้โดยไม่เกี่ยวกับ Model ของโปรแกรม
ไม่รู้จะตอบความคิดเห็นไหนดี แต่เอาเป็นว่า ผมอ่านความคิดเห็นก่อนหน้าแล้วครับ
ผมขอยืนยันว่าผมสรุปถูกต้องครับ เพราะอ่านความคิดเห็นของคุณหลังจากนั้น ก็สรุปได้แบบนั้นอยู่ดี และบทสรุปของผมไม่มีความคิดเห็น ไม่มีคำด่าทอ คำเสียดสี หรืออะไรทั้งสิ้น และผมก็ไม่ได้บอกด้วย ว่าคุณใช้โปรแกรมอะไร ผมตั้งใจละประธานไว้ครับ เพราะอ่านความคิดเห็นของคุณแล้ว ผมเองก็ยังไม่เข้าใจในหลาย ๆ ประเด็น ก็เลยสรุปให้ตามที่เข้าใจ ก็ต้องพิจรณาเองครับว่า ความผิดพลาดทางการสื่อสารไปตกหล่นอยู่ตรงไหน ที่คนเขียน ที่ตัวหนังสือ ที่ blognone หรือที่คนอ่าน (ที่มีคนเข้าใจเหมือนผมอย่างน้อยอีกสี่คน แล้วพวกเขาก็ไม่ได้เสียดสีคุณด้วย)
ในเรื่องวิธีการเขียนนั้น เป็นความตั้งใจของผมตั้งแต่แรกอยู่แล้วครับ ผมชอบเขียนแนว provocative คือ "เขียนยั่วเพื่อให้ได้คิด" หากผมประเมินตามความคิดเห็นในนี้ ก็ถือว่าได้ผล เพราะหลายคนถูกยั่ว หลายคนได้คิด ผมไม่เห็นความจำเป็นในการสร้างความสามัคคี เพราะเราไม่ต้องทำงานร่วมกัน ไม่ต้องรวมตัวกันไปรบกับใครที่ไหน เรากำลังถกกันอยู่ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ใครคิดอย่างไร ก็ควรแสดงออกมา ไม่จำเป็นต้องมีบทสรุป หากแต่คนอ่านได้คิด สิ่งที่ผมเขียนก็ทำหน้าที่ของมันเรียบร้อยแล้ว นี่มิพักต้องพูดถึง ว่าเขียนอย่างไรก็ได้รับคำต่อว่า เพราะไม่ว่าคนเราจะทำอะไร ไม่มีวันจะถูกใจคนทั้งโลกได้หรอกครับ
อีกทั้งการถกกันในลักษณะนี้ เรื่องอารมณ์ของตัวอักษร ก็ไม่ควรถูกวางความสำคัญไว้เหนือ ประเด็นความคิดเห็น หรือข้อเท็จจริงที่ถูกเขียนถึง คำถามคือ คุณอ่านแล้วรู้สึกถูกผมเสียดสี หรืออาจรู้สึกแทนคนอื่น แล้วยังไงครับ คุณมีเหตุผลอะไรมาหักล้างหรือโต้แย้งหรือเปล่า แค่ความรู้สึกโดนผมเสียดสี คงนำมาเป็นเหตุผลหักล้างในสิ่งที่ผมเขียนไม่ได้
สำหรับการมองโลกแบบยูโทเปียนั้น ผมรู้สึกว่าคุณจะมองสุดโต่งไปสักหน่อย มันไม่เหมือนกันนครับ ระหว่างการคิดแบบไม่คำนึงถึงโลกความเป็นจริง กับการคิดแบบยึดหลักการและเหตุผล หากคุณมีเหตุผลที่คุณคิดว่าถูกต้อง ก็สามารถยกมาโต้แย้งได้ทุกเมื่อครับ ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่นั้น เป็นเรื่องส่วนบุคคลแต่ละคนไปครับ เพราะผมเองก็ไม่ต้องการให้คุณเห็นด้วยกับเหตุผลที่ผมยกมา แต่เหตุผลที่คุณยกมา ผมก็ได้เขียนถึงไปแล้ว และเห็นว่าไม่มีน้ำหนักมากพอที่ผมจะเห็นด้วย ซึ่งทั้งหมดแล้ว ไม่เกี่ยวเลยครับว่า ยูโทเปีย ไม่ยูโทเปีย ในเมื่อคุณยกเหตผลให้คนอื่นเห็นด้วยไม่ได้ ก็ต้องยอมรับครับ
สำหรับเรื่อง talking, doing, acting, writing นั้น ผมไม่อยากให้คุณมองว่า สิ่งที่หลาย ๆ คนทำอยู่ในขณะนี้ เป็นแค่ talking without doing จริง ๆ เขา doing อยู่ครับ ก็เหมือนคุณ doing อยู่ในขณะนี้ และดูเหมือนว่าเป็น doing ที่ได้ผลด้วย เพราะมีคนคิดเรื่องนี้กันมากขึ้น เผลอ ๆ ตอนนี้อาจมีคนเลิกใช้โปรแกรมเถื่อนเพิ่มขึ้นแล้วก็เป็นได้ หรือคนที่ใช้อยู่ ก็รุ็สึกกดดันมากขึ้น ซึ่งนี้ไงครับ ที่เขาเรียกว่ากระบวนการทางสังคม
อาวุธของปราชญ์ ไม่ใช่ปืนครับ แต่เป็นปากกา
BioLawCom.De
เหมือนการเริ่มต้นของ Linux ผมขอสนับสนุนครับ หวังว่าจากเมล็ดมะขามเล็กๆให้เติบโตเป็นต้นมะขามที่ไหญ่ๆกิ่งก้านสาขามากมายครับ
จากที่ผมเข้าใจ คุณก็ยืนยันความคิดเดิมที่ว่าคนที่ใช้ของเถื่อนก็คือผิด ไม่ว่าจะยกเหตุผลอะไรมากล่าวอ้างมันก็คือผิด OK ทุกคนยอมรับ ขอยกประโยคที่คุณเขียนไว้มาเป็นตัวอย่างนิดนึงนะครับ
"หากคุณบอกว่าโอเพนซอร์สใช้ยากเกินไปหรือไม่ดีพอ เลยต้องใช้ของเถื่อน ผมคงประเมินได้แค่ว่า คุณเป็นคนที่เสียดายเงิน และพร้อมจะละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพื่อความสบายของตัวเอง (ประเมินตาม fact ล้วน ๆ)"
เพื่อยืนยันว่าความคิดของคุณเรามาดูประโยคนึงที่คุณ natty เคยพูดไว้
"ก็รู้ว่าแต่ละคนมีเหตุผลของตัวเอง (แม้แต่เรา software บางตัวที่ยังหาทดแทนไม่ได้ก็ยังใช้ของเถื่อนอยู่ แต่ก็พยายามลดเรื่อยๆ แม้จะยังไม่สำเร็จสมบูรณ์ก็ดีใจที่ได้เริ่มทำ และก็อยากชวนคนอื่นมาร่วมกันทำ)"
คุณตอบผมได้มั้ยครับ ทำไมคุณ natty ถึงยังใช้ของเถื่อนอยู่ ทั้งๆที่รณรงค์กันออกหน้าออกตากันขนาดนั้นแต่ก็ยัง "ขโมย" มันเกิดอะไรขึ้นครับ ผมรู้อยู่แล้วและเคยชี้แจงไปแล้วและต้องขออภัยที่จะไม่อธิบายซ้ำ
ผมเชื่อว่าในเร็ววันนีหรืออีกไม่นานนี้คุณ natty ก็คงเลิกใช้ของเถื่อนแหละครับ ผิดกับบางคนที่ยืนยันว่าจะใช้ของเถื่อนต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่คิดหาทางลด ละ เลิกใช้ของเถื่อนครับที่ตอนนี้คุณ natty ใช้ของเถื่อนอยู่อาจจะมีปัญหาส่วนตัวนิดหน่อยครับ แต่อย่างน้อยก็ยังดีที่คุณ natty ยังมีความคิดที่ว่า ของเถื่อนมันไม่ดี หลีกเลี่ยงได้ควรหลีก แล้วแต่กำลังที่มี ถ้ามีเงินก็ความซื้อครับ เพราะการขโมยของขงอคนอื่นมาใช้ และยืงดื้อรั้นที่จะใช้อย่างนั้นต่อไปเรื่อยๆ มันคงเป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่
ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ ผมไม่ได้อยากรู้ว่าคุณ natty จะเลิกใช้เมื่อไหร่ แต่ผมอยากได้คำตอบที่ว่า "เพราะเหตุใดเขาถึงยังต้องใช้อยู่" ในเมื่อรู้ทั้งรู้ว่าที่ทำน่ะมันผิด แต่อย่าอ้างความจำเป็นนะครับเพราะมีบางคนในนี้เค้าไม่พอใจกับเหตุผลนี้เท่าไหร่
คงไม่มีใครตอบแทนคุณ natty ได้ครับ ทำไมไม่ถามคุณ natty เองตรงๆเลยล่ะครับ? จะได้ไม่ต้องมาสงสัยว่าทำไมคุณ natty ยังใช้แบบนั้นอยู่
สิ่งที่ผมต้องการจริงๆ ก็แค่อยากจะรู้คำตอบจากใครบางคน ที่ว่าทำไมคนถึงยังละเมิดลิขสิทธิ์กันอยู่น่ะครับ โดยยกตัวอย่างของคุณ natty ให้เป็นกรณีศึกษา เพราะมีบางคนเค้าเชื่อเหลือเกินในความคิดของตัวเองครับว่ามี open source ให้ใช้ก็ใช้ไปไม่ใช่ไปละเมิดสิทธิ์ของคนอื่นเค้า มีแค่ไหนก็ใช้แค่นั้น ผมก็พยายามอธิบายว่าเค้าอาจจะมีเหตุผลจำเป็นส่วนตัว ที่ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้ซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ได้ มันถึงได้มีของเถื่อนระบาดหนักอย่างทุกวันนี้ไง แต่ก็โดนตอบกลับมาว่า ไม่ควรที่จะอ้างเหตุผลความจำเป็นเพราะว่าสิ่งที่คุณทำอยู่น่ะ "มันผิด" ตรงนี้ไม่เถียงครับก็เข้าใจครับ OK ว่ามันผิด แต่มันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้จนทำให้ต้องยอมทำผิด เข้าใจมั้ย!!! และนี่คือสาเหตุที่ของเถื่อนมันยังไม่หมดไปก็เพราะอย่างนี้ ผมพยามเป็นกระบอกเสียงของคนที่ใช้ของเถื่อนครับว่าเค้าคิดยังไง พยายามเกาให้ถูกที่คัน แต่ก็ยังมีบางคนไม่เข้าใจครับเขามักจะมาพร้อมกับคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ จนทำให้ผมขี้เกียจจะอธิบาย
ผมไม่ใช่คุณ natty แต่คงให้เหตุผลที่คุณต้องการได้ ก็ลองดูแล้วกันครับ
ผมยังขโมยใช้โปรแกรมอยู่อันหนึ่ง ใช้มาตั้งแต่ Win3.1 แล้ว ตอนนั้นมีขายในไทย ฿25K ซึ่งผมไม่มีปัญญาซื้อมาใช้เล่นๆ ที่ซื้อเก๊ก็ตั้ง 950.- ปัจจุบันโปรแกรมมันพัฒนาไปมาก แต่ผมก็ยังใช้ feature เดิมๆ (เทียบก็ประมาณว่าใช้ Word มาเขียน txt แต่ต้อง save เป็น .doc) เขาขายตั้งเกือบ $10K ถึงจะดิ้นรนซื้อได้ก็คงไม่แฟร์กับผมมากๆ ไม่ซื้อก็กลับกัน
จะว่าไม่ลงทุนคงไม่ใช่ ผมหมดไปกว่า $1600 ไปกับตัวเลือกอื่นๆ แต่ความคุ้นเคย งานเก่าและ library เก่าๆ ก็ทำให้ต้องใช้โปรแกรมเดิมอยู่ รวมทั้งโปรแกรมเดิมที่เป็น DOS เจ้าของเขาทิ้งเป็น freeware ผมเลยไม่ตะขิดตะขวงใจนักที่จะใช้
สรุปว่าใช้ตัวที่ผิดเพราะไม่อดทน/ขยันพอจะเปลี่ยนไปใช้ตัวที่ถูกต้อง ทั้งๆ ที่ก็เสียเงินซื้อไปแล้ว ผมไม่อ้างความจำเป็นครับ
นั่นเป็นโปรแกรมเดียวที่ติดค้างอยู่ เครื่องผมมี Windows 3 licenses นะ XP host + (XP, 2K in VM)
แล้วถ้าผมบอกกับคุณว่าไม่รู้สึกผิดมั่งเหรอที่ทำแบบนี้ มันผิดกฎหมายนะทำไมมี open source ให้ใช้ทำไมไม่ใช้ ยังขโมยอยู่ได้มีจิตสำนึกบ้างมั้ยอย่ามาอ้างหน่อยเลย ขโมยน้อยขโมยมากมันก็ขโมยเหมือนกันนั่นแหละ แล้วทำไมยังทำ แล้วข้ออ้างที่ว่า "ไม่อดทน/ขยันพอจะเปลี่ยนไปใช้ตัวที่ถูกต้อง" เปลี่ยนเหอะครับมันฟังดูไม่ค่อยจะขึ้น
ถามหน่อยเหอะคุณรู้สึกอย่างไร?
จากการสนทนาที่ผ่านมาในกระทู้นี้ สำหรับคำถามสุดท้ายนั่นผมไม่ว่าอย่างไรนอกจากว่าคุณก็ได้คำตอบหนึ่งของคำถาม และดูเหมือนจะได้สิ่งที่ต้องการแล้วครับ
สรุปแล้วแต่ละคนก็มีเหตุผลของตัวเองครับ ของเถื่อนก็ยังมีต่อไปเพราะอะไร ไม่ต้องมาถามผมอีกแล้วนะครับดูเอาจากความคิดเห็นบนๆ น่าจะเข้าใจ สิ่งที่ผมต้องการก็แค่หาสาเหตุต้นต่อที่แท้จริงว่าทำไม "ของเถื่อนมันถึงยังไม่หมดไปสักที" ก็เท่านั้น ถึงแม้บางคนพยายามเปลี่ยนแต่มันก็ยังขาดไม่ได้ซะทีเดียว มันก็เลยยังมีอยู่เรื่อยๆไป ครับ ถ้าผมพูดไม่จริงแย้งได้นะครับเอาเหตุผลมาคุยกันครับ
ไม่ใช่ใช้มาตราฐานตัวเองตัดสินคนอื่น
ผมสนใจที่ว่าคุณ 7ingN0ngN0i รู้ว่าทำไมคุณ natty ถึงยังใช้ของเถื่อนอยู่ครับ
เนื่องจากความเห็นในนี้เยอะมากจนตาลาย
รบกวนช่วยสรุปมาให้สั้นๆได้ไหมครับว่าทำไม แล้วคุณ natty ลองให้ความเห็นดูครับว่าตรงรึเปล่า
ก็เพราะผมอ่านอยู่น่ะสิครับ
Submitted by natty on 27 November, 2008 - 13:35. (#73173)
ถ้า งั้นบอกวิธีแก้ปัญหาของคุณหน่อยสิคะ ถ้าวิธีที่พวกเราคิดมันใช้การไม่ได้ หรือว่ามีทางเดียวคือปล่อยให้มันเป็นแบบนี้ไป สำหรับเรา เราว่าเราก็ไม่ได้ด่าคนใช้ของเถื่อนนะคะ ก็รู้ว่าแต่ละคนมีเหตุผลของตัวเอง (แม้แต่เรา software บางตัวที่ยังหาทดแทนไม่ได้ก็ยังใช้ของเถื่อนอยู่ แต่ก็พยายามลดเรื่อยๆ แม้จะยังไม่สำเร็จสมบูรณ์ก็ดีใจที่ได้เริ่มทำ และก็อยากชวนคนอื่นมาร่วมกันทำ)แต่ถ้ามีคนอื่นในที่นี้ด่า ก็ขอโทษแทนพวกเขาทุกคนด้วยค่ะ และเห็นด้วยที่จากนี้ เราจะมาคุยกันดีๆ ไม่เสียดสีเหน็บแนมใครค่ะ
บลอกของ natty
ถ้าเค้าไม่ edit คุณก็จะเจอ
คุณกำลังถามผม เกี่ยวกับความคิดเห็นคุณ natty ? ผมตอบไม่ได้ครับ
แต่ tendency ของแต่ละคนชัดเจนอยู่แล้วครับ คุณคิดว่าอะไรจะดีกว่ากันครับ ระหว่างคนที่ทำผิด ยอมรับผิด ปรับปรุงตัว (แม้ว่าอยู่ในขั้นตอนของการปรับปรุงก็ตาม) กับคนที่ทำผิด ไม่สำนึกผิด แก้ตัวไปเรื่อย ๆ (แถมจะร้องหาเหตุผลจากคนที่เตือนอีก)
ไม่มีใครไม่เคยทำผิดครับ แต่คนดีน่ะชอบแก้ไข ...
BioLawCom.De
สรุปแล้วสำหรับบางคนก็ยังขาด(ซอฟแวร์เถื่อน)ไม่ได้คุณว่าจริงใช่มั้ยครับ นี่แหละที่ผมจะชี้ให้เห็นว่าทำไมซอฟแวร์เถื่อนมันถึงยังอยู่
มันไม่ใช่ว่าเค้าจะไม่มีจิตสำนึกหรอกครับ แต่เพราะแต่ละคนเค้ามีเหตุผลของตัวเอง มันหลากหลายจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการรณรงค์ หรือ "ให้เริ่มจากตัวเราเอง" อย่างที่คุณทำอยู่ บอกได้คำเดียวว่ามันไม่ยั่งยืนครับ
ไม่ได้อ่านแป๊บเดียว มีคนพูดถึงตัวเรามากขนาดนี้เชียว ถึงว่าล่ะจามจังเลยค่ะเมื่อตอนเย็น
ต้องขอโทษทุกๆ คนด้วยนะคะ ที่คนเขียน blog เองก็ยังไม่แน่ใจตัวเองว่าในเครื่องมันหายเถื่อนไปหมดหรือยังนะคะ ที่บอกว่ายังไม่แน่ใจ เพราะก็ยังเช็คอยู่ค่ะ ว่ายังเหลืออะไรอีกบ้าง จะไม่พูดว่าหยุดของเถื่อนแล้วแน่นอนร้อยเปอร์เซ็น ตราบใดที่ตัวเองยังไม่แน่ใจตัวเอง อย่างน้อยเราก็มาพูดในมุมมองของคนที่กำลังเริ่มต้น ไม่ได้มาพูดในมุมมองของคุณที่เลิกใช้ได้หมดแล้วจริงๆ จังๆ มาหลายๆ ปี เพราะถ้าถึงตอนนั้นจริงๆ เราอาจจะลืมไปแล้วก็ได้ว่าตอนเริ่มคิด มันเ็ป็นยังงัย ตอนเริ่มต้น มันลำบากยังงัย อารมณ์เหมือนคนยิ่งเรียนสูง ก็จะลืมไปแล้วว่าตอนตัวเองไม่เรียนไม่รู้เรื่องมันเป็นงัย ก็เลยทำให้อาจารย์หลายๆ ท่าน สอนนักเรียนไม่รู้เรื่องแล้ว
แล้วผิดด้วยเหรอคะที่ไม่ได้โกหก? และผิดด้วยเหรอคะที่มีความคิดดีๆ และพยายามแก้ไป แต่อาจจะไม่แน่ใจว่าสมบูรณ์หรือยัง ทำไมไม่ลองให้โอกาสคนคิดดีทำดีหน่อยละคะ คุณอยากให้เรายอมรับผิดอะไรหรือเปล่า อยากให้สารภาพอะไร อยากได้อะไรคะ?
ขาดซอฟท์แวร์เถื่อนได้มั๊ย>>>ขาดได้ค่ะ ฟันธง!
คุณอาจกำลังคิดว่า "อิธ่อเอ๊ย คนมาบอกว่าซอฟท์แวร์เถื่อนไม่ดี ยังใ้ช้เองเลย แล้วแบบนี้จะให้คนอื่นเชื่อได้งัย" จริงๆ อยากจะบอกว่า เราเป็นแค่คนหนึ่งที่เจออะไรมา มันต้องเคยใช้แน่นอนค่ะถึงจะพูดได้ ที่สำคัญคือ เราไม่ใช่พระเจ้า หรือว่านางฟ้า ที่จะพูดอะไรใครๆ ก็เชื่อ เราไม่ใช่ idol ที่ทำอะไรแล้วทุกคนจะทำตาม ถ้าเราทำอะไรผิดไปแล้วทุกคนจะ fail และหมดแรงบันดาลใจในการหยุดใ้้ช้ของเืถื่อนกันไปเลย เราเป็นแ่ค่คนธรรมดาคนหนึ่ง ที่เจออะไรมา และแนะนำอย่างที่เจอ คุณจะเชื่อหรือไม่ มันเป็นวิจารณญาณ คุณคิดจะเลิกใช้ของเถื่อนหรือไม่ มันเป็นจิตสำนึกตัวคุณเอง คุณเคยคิดจะเริ่มต้นมั๊ย มันก็เป็นสิ่งที่คุณรู้เอง
ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาว่าเราเป็นยังงัย เราก็ไม่แคร์ค่ะ เรารู้ว่าเราทำอะไรอยู่ เราจะดีจะเลว ไม่มีใครมาสั่งเราได้หรอกค่ะ มันไม่ได้อยู่ที่คนอื่นมาพูดมาตัดสิน แต่มันอยู่ที่ตัวเราเองค่ะ เรารู้อยู่ว่าเราทำอะไรก็พอแล้ว ใครไม่เห็นก็ไม่เป็นไร
ขอบคุณค่ะ ทั้งทุกคนที่มองเห็น และมองไม่เห็น
ปล. เคยได้ยินไหมคะ..ก้าวแรก คือก้าวที่สำคัญที่สุด
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ก็เลยปัดความรับผิดชอบไปให้คนอื่น ?
BioLawCom.De
Brushare
+10
ถูกครับ
แต่คุณ Thaina กำลังบอกคือ ถ้ามี Opensource ที่หน้าตาเหมือน 3DMax คนจะใช้กันเยอะขึ้น
บังเอิญว่าคนทำ Blender เค้าก็เห็นปัญหาว่า 3DMax กับ Maya มันใช้ยาก สำหรับเค้าน่ะสิ ก็เลยออกมาเป็นตัวนี้แทน
onedd.net
onedd.net
ผมก็ไม่ได้เรียกร้องให้คนทำ Blender ไปปรับหน้าตาโปรแกรมตัวเองครับ คนที่ถนัด Blender ไปแล้ว และรู้สึกว่า Blender ง่ายกว่า 3DMax ก็มีไปแล้ว
แต่ผมคิดว่า ถ้ามี OpenSource หรือ FreeWare ที่หน้าตาเหมือน 3DMax คนที่เคยใช้ 3DMax เถื่อน ก็มีโอกาสจะเปลี่ยนมาใช้ตัวนี้แทนมากกว่า ถ้ามีฟีเจอร์พอกับที่ต้องใช้ทำงาน
ผมพอจะเข้าใจประเด็นนะครับ แต่ก็อยากจะพูดในมุมกลับเหมือนกัน ว่าการทำโปรแกรมให้หน้าตาเหมือนนั้น คงไม่มีใครอยากเสี่ยงทำเหมือนกัน เพราะมันเสี่ยงต่อคดีความเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาน่ะครับ
แล้วทำไม talk ถึงไม่ใช่ do ครับ
การทำให้สังคมมองเห็นปัญหาไม่ใช่ do เหรอครับ
ขออีกครั้ง ผมเห็นว่าการใช้ Pirated Software นั้นเป็นการทำลายสิทธิในการทำกินของผู้อื่น แต่ผมก็ยังถือว่ามันเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะเลือกซื้อของแท้หรือไม่ และผมก็เคารพสิทธินั้นของคนนั้น ๆ
ตราบใดที่เจ้าของซอฟต์แวร์เขาสามารถป้องกันการก็อปได้ ก็ Good on you
คนที่ทำไม่ได้ ก็ Sorry ซออู้ ซอด้วง เพราะหากคนไทยนั่งแคร็กโปรแกรมคุณไม่ได้ คนต่างประเทศซักคนมันก็ต้องทำให้ได้อยู่ดี
เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาระดับประเทศ เป็นปัญหาระดับโลกมากกว่า
ส่วนตัวแล้วยังคิดว่าการใช้ของก็อปทำให้เราไม่ขาดดุลทางการค้าอย่างย่ำแย่ แต่จะทำให้ IT Industry ของเราโตช้ามาก (Cost ของการไม่ขาดดุลการค้า)
@TonsTweetings
ทำให้ผมคิดถึงเรื่องของ "กฎการแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียม" จริง ๆ ครับ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ควรแก้ที่อะไรครับ
หรือแก้ทุกข้อ
ผมกำลังสนับสนุนข้อ 4 เพราะ มันใช้แก้ปัญหาได้ทั่วโลก
ซึ่งจริงๆก็คิดว่าไม่จำเป็นต้องเป็น OpenSource แค่ราคามันถูกๆก็โอเคอะครับ
บางครั้งก็ไม่เข้าใจว่า OpenSource บางตัวบอกว่าได้รับแรงบันดาลใจจากโปรแกรมอื่น แต่หน้าตาจริงๆเป็นคนละเรื่องกัน สร้างความลำบากให้ผู้ใช้ที่เคยใช้ตัวต้นทาง ลองมาใช้ตัว OpenSource แล้วก็รู้สึกไม่เข้าท่า
จริงๆผู้ใช้ก็ไม่ได้สนฟีเจอร์พิเศษพิสดารอะไรมากมายที่มีในตัวจริงขนาดนั้น แต่ถ้าให้ใช้ตัวอื่นก็ไม่ชิน แค่เรื่องจัดหน้ากระดาษก็อ้วกแล้ว แต่พออย่างงั้น จะให้ซื้อตัวจริงมาใช้ ก็แพงเกินไปไม่คุ้มเงิน
ส่วนข้อ 3 ผมคิดว่าไม่มีประโยชน์ เพราะเดี๋ยวนี้บิทกันเป็นล่ำเป็นสัน ใครบิทไม่เป็นเพื่อนก็เผาแผ่นให้
open source ไม่ได้แปลว่าโปรแกรมโคลนครับ
ผมก็รู้ครับ แต่ผมกำลังบอกว่า ถ้ามีโอเพ่นซอร์ซที่หน้าตาเหมือนโปรแกรมที่คนทั่วไปเค้าใช้กันอยู่อยู่แล้ว คนจะเปลี่ยนมาใช้ง่ายขึ้น
ถ้าจะสร้างฐา่นลูกค้าใหม่ก็ว่าไปอย่างนึง แต่ถ้าต้องการดึงลูกค้าจากฐานเก่า ทำไมต้องพยายามทำให้มันแหวกแนวด้วย
ปกติ โอเพ่นซอร์ซ พยายามจะสร้างโปรแกรมใหม่ขึ้นมาเฉพาะ โดยมีจุดเริ่มต้นจากตัวเอง พยายามทำให้แหวกแนวไปจากชาวบ้าน นั่นคือแนวคิดทั่วไป
แต่ถ้าจะแก้ปัญหาว่า "ให้คนทั่วไปมาใช้ OpenSource แทนโปรแกรมที่ต้องซื้อ" มันก็ควรคิดไปอีกแนวนึง
ไม่ใช่พยายามยัดเยียดอะไรที่ไม่คุ้นเคยให้คนอื่นครับ
ไม่ทราบว่าแนวคิด "แหวกแนว" นี้มาจากไหนครับ? ผมไม่เคยได้ยินนะ
ไม่มีใครพูดแบบนั้นนี่ครับ ผมคิดว่าที่คุยกันอยู่นี้คือ "ใช้โปรแกรมอะไรก็ได้ ขอให้ถูกลิขสิทธิ์"
“ให้คนทั่วไปมาใช้ OpenSource แทนโปรแกรมที่ต้องซื้อ” มันเป็นสับเซ็ตของแนวทางแก้ปัญหาโดย “ใช้โปรแกรมอะไรก็ได้ ขอให้ถูกลิขสิทธิ์” ไงครับ
ปัญหานี้ไม่ได้แก้ได้ด้วยการรณรงค์ ผมคิดว่าหลายคนก็คงคิดแบบนั้น
แล้วจะมาเถียงกันให้บอร์ดแตกเพื่ออะไร ถ้าไม่ใช่เพื่อหาทางแก้ที่ดีกว่านี้
หรือแค่ตั้งกระทู้มา รีพลายมา ให้บอร์ดร้อนเล่นๆ?
ป.ล. คำว่าแหวกแนวที่ว่าหมายถึง การทำ OpenSource ส่วนใหญ่จะเริ่มจากแนวคิด ทำงานให้ได้อย่างที่ต้องการ(ซึ่งเหมือนซอฟท์แวร์ทั่วไปที่มีอยู่แล้ว) แต่มีอะไรที่ไม่เหมือนกับซอฟท์แวร์ที่มีอยู่แล้ว
อาจจะเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ เพื่อให้ง่ายกว่า ดีกว่า แก้ไขได้มากกว่า หรืออะไรก็ตามแต่
น่ะครับ
แล้วไม่ดีเหรอครับ?
มันไม่แน่ว่า แก้แล้วจะง่ายกว่า ดีกว่า แก้ไขได้มากกว่า จริงๆ นี่ครับ
และพอเปลี่ยนให้ง่ายกว่า อาจจะแย่กว่าของที่มีอยู่
หรือพอเปลี่ยนให้แก้ไขได้มากกว่า อาจจะยากขึ้นแทน
ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่นั่นครับ
เข้าใจครับแต่...ก็ไม่ใช่ไม่ควรเดินตามรอย Commercial software
Commercial software พัฒนามาตาม Demand แน่นอน
Open source ถ้าจะแก้ปัญหานี้ก็ควรพัฒนาตาม Demand ไม่ใช่อยากแค่ทำ (งานบางอย่างน่าเบื่อหรือมีคนเข้าใจน้อยเลยไม่ค่อยมีคนทำ)
มีคนต้องการใช้แต่ ซอฟต์แวร์ราคาแพง ก็มีทางออกให้ผู้ใช้งาน Open source ทดแทนที่ลักษณะงานคล้ายๆกัน
มีโปรแกรมโอเพนซอร์ส "จำนวนมาก" ที่พัฒนาตามแนวของซอฟต์แวร์ปิดครับ แต่ไม่ใช่ทุกตัว อย่าง OpenOffice ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง
แต่ซอฟต์แวร์จำนวนมากก็เป็นแค่งานอดิเรก (ที่บางตัวยิ่งใหญ่มากๆ) แต่ก็มีแนวทางของมันเอง
ที่ควรตระหนักคือ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้ "ทดแทน" เป็นซอฟต์แวร์คนละตัวกันครับ มันอาจจะคล้ายๆ หรืออาจจะต่างกันคนละโลก กับซอฟต์แวร์ปิด ไม่ต่างจากที่ Ulead ต่างจาก Photoshop
งานเดียวกัน แต่คนละตัว ก็ต้องมีความต่าง ต่างมากต่างน้อยเป็นอีกประเด็น
ถ้าอยากให้นักพัฒนาทำตาม demand มีนักพัฒนาโอเพนซอร์สที่รับจ้างพัฒนาตาม demand อยู่ทั่วไปครับ อย่าง OO.o ที่ใช้ภาษาไทยได้เต็มตัวก็เป็นหนึ่งในกรณีตัวอย่าง
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
"ถ้าอยากให้นักพัฒนาทำตาม demand มีนักพัฒนาโอเพนซอร์สที่รับจ้างพัฒนาตาม demand อยู่ทั่วไปครับ"
นี่ก็เป็นอีกทางในการหารายได้ของ OpenSource ครับ
เห็นด้วยครับ
แก้ที่อันดับหนึ่ง เป็นสิ่งที่ยั่งยืนที่สุด (แต่ยากที่สุดเช่นกัน)
เอาหน่า ช่วยๆ กัน คงจะแก้ได้ซักวัน
อย่าลืมข้อที่ 1 ด้วยครับ
ปล. ผมยังเชื่อและมีความหวังในทุกๆคน ทั้งรุ่นนี้และรุ่นต่อๆไปครับ ว่าจะเข้าใจถึงเรื่องนี้เสียที
ยึดรัฐสภา ยึดสนามบิน ทำลายทรัพย์สินหลวง ตำรวจยังจับไม่ได้เลย เอาอะไรกะลง windows เถื่อน ???
มันก็ไม่ใช่เหตุผลที่บอกว่า เราควรใช้ windows เถื่อนต่อไป?
ผมคิดว่าวงการซอฟท์แวร์ไทยจะเจริญได้ต้องแก้โจทย์ที่ว่า
"ทำอย่างไรให้คนหันมาใช้ open source" มากกว่าที่ว่า "ทำอย่างไรให้คนหันมาใช้ซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์"
ทำไมล่ะครับ????
ผมว่าต่อให้ไม่ OpenSource แล้วมันตอบโจทย์ได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไรหนิครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เพราะคนทั่วไปชินกับการใช้ของฟรีราคาถูก
ให้คนไป Copy&Paste กับของที่ไม่ผิดกฏหมาย น่าจะง่ายกว่าให้คนเลิก Copy&Paste นะครับ
งงครับ ไม่เข้าใจว่าจะสื่ออะไร?
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมเข้าใจว่า ที่คุณลิ่วพูดว่า (ไม่ OpenSource == ของจริงราคาถูก) หรืออะไรประมาณนั้น น่ะครับ
เลยตอบว่า "ทำไมต้อง OpenSource น่ะรึ? เพราะมันฟรีน่ะสิ"
อ่อ ของไม่ OpenSource แล้วฟรี (ในแง่ของราคาซื้อ) ก็มีเยอะไปครับ VisualStudioExpress, Picasa, ฯลฯ
จริงๆ แล้วไม่มีอะไรที่ฟรีจริงๆ เลยครับ โอเพนซอร์สเองก็ต้องยอมรับว่ามันมีต้นทุนของมันอยู่ ต้นทุนก้อนใหญ่มากๆ คือค่าฝึกอบรม
แม้แต่ของเถื่อนเองก็มีต้นทุนของมันอยู่ ค่าแผ่น 150 ค่าเน็ต ถ้าใช้ในเชิงธุรกิจก็มีค่าความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องเข้าไปอีก (หลายๆ ครั้งแพงกว่าซื้อของจริง)
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมเข้าใจว่าที่คุณ 7ingN0ngN0i เปิดขึ้นมาว่า OpenSource ด้วยเหตุผลแค่ว่ามันฟรีเท่านั้นล่ะครับ
อันนี้ผมไม่ทราบครับ ยังไม่เห็นคุณ 7ingN0ngN0i มาตอบเลย
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ก็อย่างที่คุณ Thaina เข้าใจนั่นแหละครับ แต่ OpenSource จะดีกว่าตรงที่ให้อิสระกับผู้ใช้มากกว่าพวกโปรแกรมฟรีีแวร์ต่างๆ อยากจะเอาไปล้วง แคะ แกะ เกา ยังไงก็ไม่มีใครว่า
และที่สำคัญคือ ไม่มีกั๊ก ไม่มีโฆษณาเหมือนพวกของฟรีบางตัว ส่วนค่าฝึกอบรมผมคิดว่าไม่ใช่ปัญหา ในกรณีที่มันเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง
ก็นิสัยลอกการบ้านเพื่อนน่ะแหละ
ติดกันซะจนป.เอก
ถ้าเอาแบบตรรกล้วน ๆ เกี่ยวกับ Know-how อ่ะนะ
ได้ใช้ = ได้รู้
ได้รู้ = เจริญ
ได้ซื้อมา = ได้ใช้
ไม่ได้ซื้อ = ไม่ได้ใช้
ไม่ไ้ด้ใช้ = ไม่รู้
ไม่รู้ = ไม่เจริญ
ขโมยมา = ได้ใช้
ขโมย (ok ผิด)
ซื้อ (ก็ถูก)
ส่วนฝั่งคนขาย software
ทำมาขาย คนซื้อใช้ ก็ได้ตังค์ =พอใจ =พัฒนาต่อ
ผมว่าปัญหานี้ไม่ได้มีแต่วงการ sw dev เท่านั้นนะครับ
เพื่อนผม ที่เค้าอยู่วงการตัดต่อ หรือรับงานด้าน graphic บ่นกัน
ว่า ช่วงที่ผ่านมานี้ราคางานของพวกเค้า ตกลงอย่างมาก มีการตัดราคาแข่งกัน
เพราะพวกที่ใช้swเถื่อน ต้นทุนมันต่างกันทำให้เค้าทำราคาต่ำๆได้ ส่วนพวกที่ใช้ของแท้
ราคาเป็นหมื่นเป็นแสนก็พากันตายครับ
นี่สินะ 1 ในปัญหาที่แท้จริงของลิขสิทธิ์ และเถื่อน
บางทีมันก็เลือกยากว่าจะยืนข้างไหน กฎหมาย จริยธรรม หรือปากท้อง
การให้ “คนไม่รู้” ถือ “อาวุธ” ที่เขาไม่มีความชำนาญก็เป็นอันตรายแก่คนรอบข้าง (ผมไม่สนว่าอาวุธจะคืออะไร อาจจะเป็นยอดวิชาจากสำนักหมีน้อยอะไรก็ช่าง)
ดังนั้น เราจะเอาอาวุธออก หรือจะทำให้คนมีความรู้ แล้วถืออาวุธดี?
ผมครอบครองอาวุธเพราะผมรู้ว่าผมจะดูแลมันได้อย่างไร คงไม่มีใครว่าผมใช่ไหม? (แต่ผมไม่ได้บอกนะว่าผมมีใบอนุญาตครอบครองอาวุธรึเปล่า ฮาฮา)
ezybzy.info blog
ผมผิดครับ ทำบ้านเมืองไม่เจริญ
พระผู้เป็นเจ้าโปรดลงโทษลูกตามเห็นสมควรด้วย
ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชมหาราช
--
ผมไม่สนคนอื่นนะ ว่าใครจะใช้ของเถื่อนของแท้ ผมเลยจุดที่จะไปเซ้าซี้ชาวบ้านมาแล้ว
แต่ที่สุดแล้ว ทุกคนก็มีสิทธิ์ของตัวเองครับ จะเลือกอะไรก็เรื่องของเขา อย่ามารุกล้ำสิทธิ์กันก็พอ
พี่เทพ
--
ผมเห็นด้วยกับ bottom-up ครับ สิ่งดีๆ เริ่มได้จากตัวเรา เริ่มใช้เองก่อน แล้วคอยสนับสนุน-ช่วยเหลือผู้ใช้งานโอเพนซอร์สคนอื่นๆ ส่วนพวกเห็นดีเห็นงามว่าการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ก็จงทำต่อไป เราไม่ยุ่ง แต่ถ้ามีปัญหา ไวรัสลง ก็อย่ามาขอความช่วยเหลือแล้วกัน อย่าหาว่าใจดำ
จะเลือกอะไรก็เรื่องของเขา อย่ามารุกล้ำสิทธิ์กันก็พอ
ปล. อ่านความเห็นใน mthai แล้วสงสาร natty นะ ...
ก็ควรจะเป็นอย่างนั้นครับ (เอ๊ะจะมีคนแซวอีกว่าวัดไม่ได้รึเปล่า?)
ezybzy.info blog
ขอบคุณค่ะ สงสารตัวเองเหมือนกัน เื่พื่อนเตือนมาแล้วว่าอย่าเข้าไปดูให้ช้ำใจเลย
ไม่ได้ช้ำใจที่โดนด่าค่ะ ช้ำใจกับสิ่งที่ประชนชนชาวไทย (ในนั้น) คิดกัน
เค้าก็ยังมองว่าคนที่ซื้อมันโง่ อ่อน ลงซอฟท์แวร์เถื่อนก็ไม่เป็น จบอะไรมา - -" โดนด่าซะงั้น
เค้าไม่เข้าใจว่า เค้ากำลังภูมิใจ ที่หาวิธีงัดบ้านคนอื่นได้อย่างหน้าด้านๆ และก็ด่าคนที่ไม่ยอมงัดบ้านคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ขโมยของไม่เป็น มีวิธีขโมยตั้งหลายวิธีไม่รู้จักคิด
และน้อยมากในกลุ่มนั้น ที่คิดจะใช้ opensource
บลอกของ natty
บลอกของ natty
mเกรียน...ยังมีคน IT กล้าเหยียบบอร์ดแบบนั้นเหรอครับ?
: งง กับนานา ความคิด สู้สู้
@watcharate.w
ประเด็นค่อนข้างแตกออกไปหลายเรื่อง ผมขออธิบายเพิ่มเติมในเรื่องหลัก ๆ ก่อนแล้วกันครับ
1) หลายความคิดเห็นได้บอกว่า เรื่องของซอพท์แวร์ไม่น่าจะเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศในภาพรวม ผมต้องบอกว่า ถูกครึ่ง ผิดครึ่งครับ ที่ถูกคือ ซอพท์แวร์ไม่ใช่อุตสาหกรรมทั้งหมดที่เรามี และไม่ใช่อุตสาหกรรมหลัก ส่วนครึ่งที่ผิดคือ ทุกอย่างมันเกี่ยวข้องโยงใยกันหมดครับ เราไม่สามารถแยกส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบออกมาได้ โดยไม่กระทบต่อส่วนอื่น ๆ (อย่างที่คุณ @javaboom เขียนไว้)
ในมุมมองของผม (ซึ่งก็ได้เขียนไปแล้ว) สาเหตุหลักที่ทำให้ไทยไม่พัฒนา คือ "การไม่เห็นความสำคัญของกระบวนการสร้างความรู้" ซึ่งการใช้ซอพท์แวร์ผิดกฏหมายเป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องหนึ่ง ผมอาจเขียนไม่ชัดเจนเอง ทำให้หลายคนคิดว่า ผมคิดว่า "การใช้ซอพท์แวร์ผิดกฏหมาย ทำให้ไทยไม่เจริญ"
2) ปัญหาการศึกษา ผมเห็นด้วยครับ ว่าปัญหาในไทยตอนนี้ สาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งมาจากเรื่องการศึกษา แต่ผมมองว่า กระบวนการทางสังคมก็มีความสำคัญไม่แพ้การศึกษา อีกทั้ง คนที่อ่าน blognone ตอนนี้ส่วนมากคงจบการศึกษากันหมดแล้ว ดังนั้น หากการศึกษาดีขึ้น ผมคิดว่าคงไม่ส่งผลอะไรกับคนในนี้มากนัก
หลายความคิดเห็นบอกว่า จะมาเถียงกันให้ได้อะไรขึ้นมา ปัญหาที่มีอยู่ก็ไม่ได้แก้อะไร ผมกลับมองกลับกัน การที่ผมเขียนอะไรในเชิงความคิดเห็นออกมา หรือ การที่เรามาถกกันเรืองนี้ให้เป็นประเด็นร้อน มันเป็นกระบวนการทางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวคิดของคนที่มีส่วนร่วม (ทั้งที่อ่าน และแสดงความคิดเห็น) คนที่เห็นด้วยกับการต่อต้านการใช้ซอพท์แวร์เถื่อน ก็จะรู้สึกมั่นใจมากขึ้น คนที่ใช้ซอพท์แวร์เถื่อนและอยากเลิก ก็จะได้แนวทางมากขึ้น คนที่ใช้ซอพท์แวร์เถื่อนและไม่อยากเลิก จะได้รู้สึกผิดมากขึ้น
ใช่ครับ ทุกอย่างในนี้ไม่มีผลในทางกายภาพ แต่มันมีผลต่อแนวคิด และนี่คือก้าวสำคัญก้าวแรกของการแก้ปัญหาครับ
BioLawCom.De
ถ้าไม่อยากโดนละเมิดก็ ...
http://sourcode.net/ubuntuclub-help-desk-chapter4/
การยอมรับว่าตัวเองผิดนี่มันทำยากจริงๆ
ทีตัวเราเองยังไม่อยากให้ใครมาละเมิดเลย คนอื่นเขาก็คงเหมือนกัน
เห็นด้วยเหมือนกันว่าควรเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ได้ผลขนาดไหนก็ต้องดูกันยาวๆ ครับไม่ใช่ว่าคิดไปเองก่อนแล้วว่ามันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไปก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะอย่างน้อยๆ ตัวเราคนนึงก็เริ่มทำแล้ว
การรณรงค์ให้ใส่ใจกับลิขสิทธิ์มันไม่ใช่การลงทุนในองค์กรธุรกิจครับถึงแม้ว่าทำแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราก็ไม่ได้เสียหายอะไรซักหน่อย
ไว้รอเวลาซักครู่ก็ได้ครับ ... ผมว่าคงจะมีทางออกแปลกๆออกมาแน่ๆครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
:: Take minimum, Give Maximum ::
มองต่างมุมนะครับ , เนื่องจากโอเพนซอร์สยังมีคุณภาพไม่ทัดเทียมซอฟท์แวร์กระแสหลัก ,
และซอฟท์แวร์กระแสหลัก ก็มีราคาสูง , พร้อมคุณภาพที่สูงเกินกว่าความจำเป็นในการใช้งานทั่วไป ,
เมื่อไม่มีตัวเลือกอื่นให้เลือก , การตัดสินใจระหว่าง ราคาที่สูงมากของสินค้าที่คุณภาพเกินความจำเป็น ,
กับ ของฟรีที่ดีไม่เพียงพอที่จะใช้งานจริง , เป็นสิ่งผลักดันให้จำเป็นต้องเลือกในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ,
ถ้ามีซอฟท์แวร์ทางเลือกที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจ และ การดำเนินธุรกิจ , โดยมีราคาที่สมเหตุสมผล ,
ผมเชื่อว่าปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์จะลดลงได้ ,
นี่มองในมุมมองภาคธุรกิจนะครับ ,
อย่างเช่น ซอฟท์แวร์บัญชี , หรือ บริหารกิจการ , เราก็เลือกซอฟท์แวร์ ที่เหมาะสมกับองค์กรเรา ,
เราไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ครับ , และบางส่วนก็ยังยินดีว่าจ้างโปรแกรมเมอร์ เพื่อเขียนโปรแกรมให้ ,
แต่สำหรับ ชุดออฟฟิต , องค์กร มีตัวเลือกน้อยมากครับ , และไม่สามารถลือกจ่ายเฉพาะฟังชั่นที่เหมาะกับองค์กรได้ ,
อยากหลุดพ้นออกจากสภาพนี้เหมือนกันครับ , ไม่อยากละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ต้องยังสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อยู่ ,
...
คุณภาพมันอาจจะได้ครับ แต่ปัญหาคือ “มันไม่โดนผู้บริโภค” ครับ
ทีนี้จะทำอย่างไรให้มันโดนผู้บริโภคล่ะ ก็ต้องเข้าใจอีกว่าคนทำ Open source application ส่วนหนึ่งก็ทำแบบขำๆ มีเวลาก็ทำ ไม่มีก็ไม่ทำ (บางคนก็ทำแบบหยิ่งๆ เพราะประกาศตัวไว้ว่า จะทำแค่นี้แหละ ไม่ต้องขอให้เพิ่มโน่นเพิ่มนี่ ไว้ฉันเห็นว่าฉันต้องใช้ ฉันจะเพิ่มเอง ฯลฯ) ดังนั้นเราก็ควรจะหานักพัฒนาเข้าไปร่วมพัฒนาเพิ่มมากขึ้น (อาจจะจ้างไปแบบที่บางคนอยากจะให้จ้างเขาไปทำก็อีกเรื่อง)
แต่ทีนี้พอขยับตรงขยักนี้ได้ ก็มีอีกปัญหาที่น่าสนใจคือ ความเข้ากันได้ โอเคฉันใช้ Xyz ซึ่งเป็น open source นะ แต่เห้ยคุยกับชาวบ้านชาวช่องเขาไม่ได้เลย แล้วก็ไม่มีคนคิดจะทำให้มันคุยกับชาวบ้านชาวช่องได้ด้วย (จ้างแล้วก็ไม่ทำ ฯลฯ) แบบนี้ก็เป็นปัญหาความเสี่ยงอีกซึ่งคนที่เวลาเป็นเงินเป็นทองก็คงไม่อยากจะมาเสียอารมณ์กับเรื่องแค่นี้
งูกินหาง คงต้องใช้ ต้องซ่อมพร้อมกันไปเรื่อยๆ
ezybzy.info blog
โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้สนับสนุนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เพราะความถูกต้องเป็นหลักนะครับ
ผมสนับสนุนเพราะเรื่องของต้นทุนนั่นล่ะครับ...
ผมได้ยินข่าว BSA บุกบริษัทต่างๆ เยอะมาก ถ้าจำกันได้ที่เป็นข่าวใหญ่ในบ้านเราคือการจับกุมลิขสิทธิ์ฟอนต์เมื่อหลายปีก่อน แต่อันนี้ไม่ใช่ของ BSA ส่วนที่ไม่เป็นข่าวก็พวก 3DMax, AutoCAD ก็มีจับกันไปเรื่อยๆ
ของพวกนี้เป็น ต้นทุน ในเรื่องของความเสี่ยงทางกฏหมายทั้งนั้นครับ พวกนี้เองผมรู้สึกเอาเองว่าไม่น่าจะคุ้มครับ
แต่ในฐานะที่ไม่ได้ทธุรกิจโดยตรงผมเองก็คงบอกไม่ได้เหมือนกัน
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
มันก็เหมือนฟ้าฝนนั่นแหละครับ BSA จะบุกหรือไม่บุก แล้วจะบุกเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครรู้ ต้นทุนของความเสี่ยงนี่ บริืษัททั่วไปไม่ค่อยสนใจ
และยิ่งถ้าเป็นบริษัทเล็กๆ BSA ไม่ค่อยบุกหรอกครับ เพราะกว่าจะหาเจอซักบริษัทมันยาก
Cost ของการที่ต้องซื้อของมีลิขสิทธิ์ สำหรับบริษัทเล็กๆ เป็นการลงทุนที่สูงเกินไปครับ
เราไม่รู้ด้วยว่าซื้อมาแล้ว ผลงานที่ออกมาจะสำเร็จมั้ย ผมเดาได้เลยว่า ต้องมีบางบริษัทคิดว่า เอาไว้มันดูน่าจะสำเร็จค่อยซื้อของแท้ตอนนั้นก็ไม่เป็นไร
และยังมีปัญหาอีกว่า ของที่คุณภาพในด้านต่างๆดีพอ แต่มีส่วนเกินแถมมาเยอะ ไม่ได้ต้องการแต่ราคามันรวมไว้หมดแล้ว แพงเกินไป จะทำยังไงดี
โปรแกรมมายา 1 ตัว ผมคิดว่าที่ต้องใช้ทำเกมทั่วไปมีแค่ 2 - 3 ใน 10 ส่วน ของฟีเจอร์ทั้งหมด ผมก็ควรจ่ายเงินแค่ 20% ถึงจะถูก รึเปล่า??? (อันนี้ผมไม่เห็นด้วยหรอกนะ แค่ยกตัวอย่างเฉยๆ)
Maya มีหลาย Edition ครับ
onedd.net
onedd.net
ผมเห็นแค่ Complete กับ Unlimited ครับ
ขออนุญาตตอบแบบรู้นิดหน่อยนะครับ
คือถ้าในทางธุรกิจ คงต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่ามองประเด็นไหนเป็นหลัก
ในองค์กรขนาดใหญ่คงไม่เป็นปัญหาแน่ ๆ เพราะมันไม่คุ้มจะเสี่ยง แต่ธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงเล็ก มันมีทางสองแพร่งให้เลือกเดิน คือจะขาวสะอาดหรือหลบมุมกันนิด ๆ หน่อย ๆ
ในผู้บริหารที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องลิขสิทธิ์ หรือไม่รับทราบความสำคัญว่ามันจะกระเทือนตนเองและองค์กรได้ขนาดไหน คงละเลยที่จะใส่ใจว่าอะไรที่นำพาผลงานมา ขอแค่งานเสร็จ ต้นทุนต่ำ ๆ เป็นพอ (ซึ่งถ้าใครสามารถนำเข้า OpenSource หรือ Freeware ที่ทำ Output ออกมาถูกใจท่านได้รับรองเกิดแน่ ๆ)
อันที่จริงการใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในองค์กร หรือกิจการที่ต้องเสียภาษี อันนี้เป็นเรื่องต้องห้ามเลยนะครับ สรรพากร หรือผู้ตรวจบัญชีเจอเมื่อไร มีประเด็นด้านภาษีและค่าเสื่อมทันที (ทั้งแบบมีอายุและไม่หมดอายุ) ซึ่งหากไม่สามารถบอกที่มาของซอฟท์แวร์เหล่านั้นได้ (หมายถึงหลักฐานทางบัญชี) ก็จะนำพามาซึ่งการละเมิดลิขสิทธิ์ โดนอีกบานเบอะ (แต่ถ้าหลบเก่ง ๆ ก็พอไหว - -')
งงๆ ถ้าอุตส่าห์ซื้อแบบลิขสิทธิ์แล้วทำไมจะบอกที่มาไม่ได้ล่ะครับ???
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าซื้อแบบลิขสิทธิ์ย่อมไม่มีปัญหาอยู่แล้วล่ะครับ อันนี้พูดถึงกรณีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งไม่สามารถบอกที่มาได้แน่นอน ถ้าบอกว่ามาจาก Bit หรือพันธ์ทิพย์แผ่นละ 150 แจ๊กพอตแตกแน่ ๆ
อีกอย่างเป็นเรื่องของ ค่านิยมทางสังคม กับเรื่อง การแข่งขัน ครับ , หากองค์กร ที่มีความต้องการจะใช้ของลิขสิทธิ์ ,
แต่คู่แข่งเลือกที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ , การผลิตสินค้าขององค์กร ก็จะมีต้นทุนที่สูงกว่า , ส่งผลกระทบในการแข่งขัน ,
ลูกค้าเองก็ต้องมีจิตสำนึกที่ดีในเรื่องนี้ด้วย , เพราะผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายองค์กรที่อยากสนับสนุนสินค้าลิขสิทธิ์ครับ ,
ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกคนครับ , ทุกความคิดเห็นแสดงทัศนะได้น่าสนใจครับ ,
ถ้าเรามีความรู้ ความเข้าใจ เราจะไม่ถูกผูกมัดอยู่กับสิ่งใด ๆ
กระทู้ร้อนอีกกระทู้แล้ว.. :-)
ประเด็นเรื่อง know-how นี่ชอบครับ เขียนได้ดีมากเลย
ผมคิดว่าผมเคยอยู่ในยูโทเปียมานะ หลายคนก็คงเคยอยู่ ในยุคที่วารสาร "ไมโคร" หรือ "คอมพิวเตอร์รีวิว" เป็นวารสารท็อปฮิตเหมือน ๆ กับ "ทักษะ" และ "มิติที่ 4" เป็นยุคที่เซียน ๆ เขียนถ่ายทอดวรยุทธ์การเขียนโปรแกรม ตีพิมพ์ซอร์สโค้ดเป็นหน้า ๆ ทำโครงงานเป็นตอน ๆ จนรวมเล่มได้ เป็นยุคที่อาจารย์สำนักต่าง ๆ แต่งตำราเขียนโปรแกรมออกมามากมาย เป็นยุคที่เรามีโปรแกรมยอดนิยมของคนไทยอย่าง ราชวิถีเวิร์ด เวิร์ดรามา ซียูไรเตอร์ v-thai มีคนไทยเขียนแอนตี้ไวรัสออกมาเพียบ ผมอยากจะเรียกยุคนั้นว่า "ยุคทอง" ของไอทีไทย
ผมคิดว่า การสิ้นสุดของ "ยุคทอง" อาจจะเริ่มจากการเข้ามาของ MS Word 2.0 ที่ทำให้เวิร์ดต่าง ๆ ของคนไทยถูกลืมในที่สุด ในช่วงเปลี่ยนผ่านนั้น การ localize Windows ยังทำโดยบริษัทคนไทย (ไมโครวิซ, ไออาร์ซี ฯลฯ) จนกระทั่งเกิดกระแส "globalization" และไมโครซฮฟท์ได้เริ่มทำ "internationalization" ใน Window 95 โดยย้ายฐานการ localize ทั้งหมดกลับไปทำที่เรดมอนด์ ทำให้คนไทยห่างเหินจากงานพัฒนาไปโดยสิ้นเชิง
จากจุดเปลี่ยนแรก คือ MS Word 2.0 ทำให้ตลาดนักพัฒนาไทยซบเซาไปทันตาเห็น ไม่มีใครต่อกรกับ MS Word ได้สำเร็จ (ผมเองเคยร่วมโครงการเวิร์ดบนวินโดวส์ตัวหนึ่ง แต่ทำไปทำมาก็ทุนหมด ต้องยอมแพ้ Word 6 ที่มาแรงในตอนนั้น) งานพัฒนาไปผูกขาดอยู่ที่ไม่กี่บริษัท พอเจอจุดเปลี่ยนที่สอง คือการรวมศูนย์การพัฒนา Windows 95 ก็เลยทำให้ตลาดไอทีไทยกลายเป็นผู้บริโภคอย่างเต็มตัว แล้วเราก็เข้าสู่ "ยุคมืด" อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา
เล่ามาทำไมให้ยืดยาว? ผมก็จะบอกว่า ถ้าเราจะจบ "ยุคมืด" เพื่อเข้าสู่ "ยุคฟื้นฟู" เราก็อาจต้องกลับไปดูที่ "ยุคทอง" ของเรา แล้วค่อย ๆ ฟื้นมันขึ้นมาท่ามกลางบริบทใหม่ มันไม่ใช่ยูโทเปียที่มีแต่ในฝัน แต่เราค่อย ๆ สร้างมันขึ้นมาใหม่ได้
เราต้องค่อย ๆ สร้างทัศนคติด้าน "การผลิต" ให้กับคนไทย ทำเรื่องการเขียนโปรแกรมให้กลายเป็นกระแสที่ได้รับการยอมรับมากกว่านี้
อย่างที่คุณ bow_der_kleine ว่าเลยครับ ว่าการใช้ของเถื่อนเป็นอุปสรรคต่อทัศนคตินี้มาก เวลาประเมินตัวเลือกหลาย ๆ อย่าง เราจะเอาเรื่องการ "ผลิตเอง" ไปไว้ท้าย ๆ เพราะสามารถขโมยใช้ของที่มีอยู่แล้วได้อย่างง่ายดายเกินไป
ผมมอง FOSS เป็นโอกาสสำหรับการเปลี่ยนผ่านนี้ครับ แทนที่เราจะ "ขโมย" ของที่มีอยู่แล้ว เราก็เปลี่ยนไป "รับ" ของที่เขาให้มาแทน แล้วก็ค่อย ๆ สร้าง know-how จากสิ่งที่เขาเปิดให้นั้น แล้วก็อาศัยช่องทาง contribution ในการ "เรียนรู้งาน" ผ่านระบบ peer review ต่าง ๆ
มันไม่ง่ายครับ ที่จะเปลี่ยนตลาดที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นผู้บริโภคมานาน ให้กลับมีผู้ผลิตอีกครั้ง แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้เสียเลย โดยเฉพาะเมื่อมองเห็นช่องทางเปลี่ยนผ่านอย่างนี้
สำหรับผมก็เลยขี้เกียจไปเซ้าซี้ใครให้เสียเวลา (คนที่ผมไม่เซ้าซี้ คือคนที่ผมไม่เห็นศักยภาพน่ะ) สู้เลือกสนใจแต่คนที่มีศักยภาพและสมัครใจก่อนดีกว่า
ฟังเรื่องเล่าแล้วเศร้าเลยครับ
นอกประเด็น..
ผมใฝ่ฝันว่าอยาก "เขียน" เก่งเหมือนแบบนี้ครับ นอกจากเขียนโปรแกรมเก่งแล้วก็ยังต้องเขียนสื่อสารกับชาวบ้านให้ได้ดีด้วย โดยเฉพาะการเอาสารด้านไอทีไปสื่อกับคนนอกวงการ ... เท่าที่อ่านๆ ความคิดเห็นไล่ลงมา อันนี้ผมอ่านได้ง่ายสุด ลากสายตาผ่าน 1 จบ แล้วเข้าใจประเด็นได้เลยทันที ไม่ต้องทำ word processing ซ้ำ
นับถือครับ ทั้งความสามารถและหัวใจ .. ขอบคุณครับ
ขอต่อยอดอีกหน่อยนะครับ
จากปัญหาที่เล่ามา จะเห็นว่า สิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่งคือการปล่อยให้ผู้ผลิตบางเจ้าผูกขาดตลาดมากเกินไป ทำให้คู่แข่งอื่น ๆ ไม่มีทางได้เกิด โดยเฉพาะเมื่อการผูกขาดนั้นมากเสียจนกลายเป็นการผูกขาดมาตรฐาน คู่แข่งอื่น ๆ จะเกิดได้ ก็ต้องพยายาม compatible กับมาตรฐานนั้นให้ได้ ไม่ว่าจะเสี่ยงต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น file format, look-and-feel, สิทธิบัตร ก็ตาม เพราะสิ่งที่ผูกขาดนั้นไม่ใช่มาตรฐานเปิด
ผมจึงคิดว่า สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะฟื้นจากยุคมืดของเรา คือการสร้างการยอมรับความหลากหลาย เปิดโอกาสให้ทางเลือกอื่นบ้าง ซึ่งก็จะเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทยเองด้วย โดยอาศัยมาตรฐานเปิดเป็นหลัก เพื่อความเท่าเทียมในการแข่งขัน
เรื่องนี้ไม่ใช่จะมองแค่ประโยชน์ของนักพัฒนาอย่างเดียว เพราะผลมันย่อมจะสะท้อนกลับมาถึงตลาดผู้ใช้ด้วย เมื่อมีทางเลือกหลากหลายขึ้น ก็แปลว่าจะสามารถใช้ซอฟต์แวร์แท้ได้ในราคาที่สมเหตุสมผลขึ้น
ประเด็นมันอยู๋แค่เรื่องการเคารพสิทธิของคนอื่นเท่านั้นละครับ
โยงไปมากเรื่องมากความ (แต่คนก็เป็นเช่นนี้)
เจริญหรือไม่เจริญไม่เกี่ยว ในบทความนี้ก็เถียงได้เยอะในเรื่อง
ประเทศไทยไม่เจริญ
ข้อมูลของบางคนที่เอามาให้ดูในข้างบนๆนี้ อย่างน้อย จีนก็ละเมิดลิขสิทธิ์มากกว่าเรา อันดับหนึ่งของโลกเลยมั้ง
แล้วจีนเจริญกว่าหรือเปล่า แต่ละคนนิยามไม่เหมือนกัน
ต้องมานิยามความเจริญกันอีก มีดัชนีชี้วัดที่สัมพันธ์กับอะไรสักอย่างที่เป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่แค่สหสัมพันธ์
เคารพสิทธิของผู้อื่นนั่นแหละพื้นฐานที่สุดแล้ว
เท่ากับเคารพตัวเองด้วย
มันอยู่ที่ switching cost ด้วยครับ แบบว่าผูกขาดมาแล้วตั้งกี่ปี ไอ้จะให้ไปใช้โปรแกรมแปลกตาทันที มันต้องเรียนรู้ใหม่ เสียเวลา ส่วนหนึ่งผู้บริโภคคิดอย่างนี้กัน แน่นอนมาก(เพราะผมก็เป็นหนึ่งในนั้น)
แต่จะว่าไปเพราะมีคนที่ยังคิดว่าไม่ผมก็คุณหรือใครบางคนในโลกนี้ ยังไงๆซะก็ต้องมีคนออกโปรแกรมมาแก้ไออยู่ดี ไอ้ตรงนี้แหล่ะปัญหา เพราะมันเป็นการละเมิดซ้ำซ้อน จะว่าไปมันก็ผิดตั้งแต่ A แล้วน่ะ ไอ้ B, C, D,... ยังจะไปช่วยกันปล้นเขาอีก (ซึ่งผมอาจจะเป็น X ในนั้น) จากนั้นพอขโมยของๆคนอื่นมาได้ ก็เอามาใช้เหมือนไม่มีอะไรปกติ
อย่างไรก็ตามพวกที่พันทิพย์หรือใครก็ตาม ผิดศีลข้อ 2 แน่นอน ไม่ต้องกลัวได้รับกรรมเท่ากัน (แอบเอาของๆคนอื่นไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาติ โดยเฉพาะบิทนี่แหล่ะตัวดี)
เขียนซะยาวเลย เอาสั้นๆได้ว่า บางคนมือถือสาก ปากถือศีล พูดให้สวยหรูยังไง เหตุผลดีแค่ไหน แต่สุดท้าย ผมบอกคำเดียวได้ว่า "ปล้นจนเป็นสันดานไปซะแล้ว"
ใจเย็นๆครับ บ่ายๆของวันนี้(วันที่26พย.51) มีดอกเตอร์ท่านหนึ่ง
ขอประทานอภัยไม่ทราบชื่อท่าน ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ของบริษัทไมโครซอฟประเทศไทย
ประกาศออกรายการทีวีทางช่อง 9 ตอนบ่ายๆ ว่าบริษัทไมโครซอฟประเทศไทย
สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์ ของไมโครซอฟในทางการศึกษาอย่างเต็มที่
ประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่าให้ใช้...ฟรี เพื่อการศึกษา...ฟรี
ทีนี้เราก็เตรียมซื้อชุดนักเรียนนักศึกษา กันคนละชุดสองชุด ซื้อให้แฟนใส่ด้วยก็ได้
จะให้เป็นคอซอง หรือเสื้อฟิตกระโปรงฟิต ตามแต่จินตนาการ
ทีนี้เราก็สามารถใช้ซอฟแวร์ของบริษัทไมโครซอฟได้ฟรีๆ
เพื่อการศึกษา...ฟรี ได้อย่างไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจอีกต่อไป
ไชโย้...
for study isn't for student ... XD
พรุ่งนี้ (27 พ.ย.) จะไปรอรับของแจกที่มหาวิทยาลัยครับ (ฮา)
ezybzy.info blog
นโยบาย microsoft เป็นแบบนั้นนะ
เอาของฟรีเข้าล่อกว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว ใช้งานเป็นแต่ค่าย microsoft
ผมก็ใช้ 2008server กับ Visual studio ลิขสิทธิ์อยู่(แลกเป็นเงินได้ก็จะดี _)
แอบดีใจที่บริษัทลูกในประเทศไทยไม่เข็นนโยบายนี้กันเท่าไหร่
ใช้ฟรีครับ โดยผ่านสถาบันการศึกษานะ ถ้าผมจำไม่ผิด โดยเข้าโปรแกรม Academic Partner มั้ง โดยสถาบันการศึกษาได้ส่วนลด 80% ของราคาเต็มของแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ตอนผมเรียนอยู่มหาวิทยาลัย ก็มีซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ให้ใช้กันอยู่ภายใน Campus ครับ เราแค่ลงทะเบียนไม่ต้องเสียเงิน แต่คาดว่าคงอยู่ในค่าเทอมไปแล้วแหละ
แต่เพื่อการศึกษาจริง ๆ Microsoft ก็มี trial version ให้ใช้หลายตัวนะครับ อย่างผมใช้อยู่ตอนนี้ก็ Visual Studio Pro 2008 ที่ลงในเครื่องเก่าเอาไว้ลองพัฒนา App บน Windows Mobile (Visual Studio Pro ขึ้นไปเท่านั้นที่มีให้ create Project สำหรับ Windows Mobile) สามารถใช้งานได้ 60 วัน ก็ทำงานได้ดีครับ ใช้ในช่วงที่ผมลองเล่น ลองเขียนดู (จริง ๆ มี Team Suite trial version ด้วยซ้ำ แต่ตัวมันใหญ่มาก ไม่ลงดีกว่า) ถ้าเราหาลู่ทางในการทำการค้ากับมันได้ ใช้คล่อง ๆ แล้วค่อยซื้อตัวเต็มก็ยังไม่สาย 60 วันสำหรับผมก็นานพอดู สำหรับนักศึกษา หรือที่สนใจผมว่าก็เพียงพอแล้ว หรือถ้าไม่พอ ก็ลง Windows ใหม่แล้วลง trial ใหม่ก็ได้ น่าจะเป็นทางออกอีกทางเพื่อทดสอบ ซอฟต์แวร์ที่เราสนใจครับ พอเริ่มจะขาย หรือขายได้แล้วเริ่มมีกำไร ก็ค่อยมาซื้อชุดเต็มเพื่อให้มันเป็นต้นทุนที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ส่วนของงาน Graphic คงเหมาะกับเอาไว้ศึกษา แต่เอาไปทำ production นี่คงต้องซื้อตัวเต็มอย่างเดียวหล่ะครับ
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
เบื่อพวกเบี่ยงประเด็นเรื่องโดยการโจมตีคำผิดนะ เห็นมาหลายทีละ อ่านแล้วสะดุดทุกที...
(ความเห็นส่วนตัว)
ผมคิดว่าบทความนี้ชี้ประเด็นยังไม่ชัดเจนนัก น้ำหนักในหลายๆประเด็นยังไม่มากพอ
เช่น เรื่องที่ว่าใช้วินโดวส์เถื่อนแล้วมีคนบางคนต้องฟอร์แมททุกๆ 3 เดือน
ประเด็นนี้ถ้าสามารถพิสูจน์ได้จริงๆให้เห็นชัดๆ มากกว่าการมาพูดลอยๆโดยไร้หลักฐาน
ผมว่าคงจะทำให้ผู้ใช้ทั่วเป็นเข้าใจได้ไม่ยากนัก
ประเด็นของคำว่า "ผลนิยม" นั้นก็ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของแต่ละองค์กรหรือบุุคคล
ในงานบางสายงาน เจ้าของหน่วยงานก็ไม่ได้สนใจว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะได้ผลิตภัณฑ์ออกมา คิดแค่ว่าจ่ายน้อยแต่ได้กำไรมากก็น่าพอใจแล้ว
ซึ่งเจ้าของหน่วยงานเองก็ไม่ได้เป็นคนกำหนดว่าให้ใช้ซอฟท์แวร์ผิดกฏหมายแต่อย่างใด แต่ทว่าในขั้นตอนการทำงานก็มีกรอบเงื่อนไขและแรงกดดันต่างๆมากมาย คนทำงานจึงจำเป็นต้องเอาตัวรอดเพื่อให้ได้ผลงานออกมา
ประเด็นนี้อยากให้ลองคิดในมุมมองของเจ้าของธุรกิจที่ไม่ได้ใส่ใจเรื่ององค์ความรู้มากนัก (ซึ่งในโลกแห่งความจริงก็เป็นเช่นนี้)
จากที่อ่านบทความเรื่องนี้ ผมเห็นว่าโดยส่วนใหญ่มักจะพูดในเชิงว่าการใช้ซอฟท์แวร์ถูกกฏหมายนั้นเป็นสิ่งถูกต้อง (แน่นอน) แต่กลับกันก็มักจะตอกย้ำหรือเสียดสีผู้ที่ใช้ซอฟท์แวร์ผิดกฏหมายด้วย
มันเลยยิ่งทำให้เกิดแรงต้านขึ้นมา
อย่างที่บอกว่า ถ้าสามารถชี้ให้เห็นว่าการใช้งานซอฟท์แวร์ผิดกฏหมายนั้นมีข้อเสียอย่างไร ให้ได้เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ ข้อเปรียบเทียบชัดเจนกว่านี้ ก็คงจะมีคนไม่น้อยที่จะคล้อยตามไปได้บ้าง
และเมื่อเริ่มมีคนคล้อยตามกลุ่มใหญ่ขึ้น ก็จะทำให้เกิดค่านิยมขึ้นมา จนกลายเป็นกระแสค่านิยม (อย่างเช่นการนิยมใช้สินต้าแบรนด์เนม)
สรุปประเด็นของผมก็คือ ควรสร้างค่านิยมที่ถูก และต้องสร้างอย่างถูกวิธี โดยให้มีแรงต้านน้อยที่สุด
... พูดง่าย แต่ทำจริงๆคงยาก ... มันเป็นเรื่องของ นานาจิตตัง
+1
+10 ครับ
สรุปมันก็มีแค่นี้แหละ ไม่รู้เหล่าผู้ที่มาจากยูโทเปียจะต่อความยาวอะไรมากมายนักหนา หลับหูหลับตาถล่มอยู่ได้
สิ่งที่ผมเสนอคือ การสร้างค่านิยมให้ได้ มันต้องสร้างทางเลือกให้ด้วย ซึ่งทางเลือกที่มีอยู่ตอนนี้ มันยังยากเกินไปสำหรับการจูงใจให้คนอื่นเปลี่ยนเส้นทาง
มันต้องมีบางตัวที่เป็น "สะพาน" ได้ เหมือนที่ Microsoft ออกภาษา C# กับ J# มาใช้บน .Net แทน C++ และ Java คนที่เคยเขียน C++ กับ Java ก็วิ่งไปใช้ C# กับเพียบ
โซลูชั่นที่ "ได้ผล" มันไม่ค่อยเกิดจากการบังคับ หรือทำให้คนอื่นรู้สึกผิด รู้สึกแย่ มันมักจะเป็นการทำให้คนอื่นรู้สึกดีมากกว่า
ผมว่าคำพูดนี้แรงอยู่นะครับ จริงๆผมว่าจะบอกว่า ต่างอุดมการณ์แล้วคงไม่มา reply คุณ Thaina อีกแล้ว แต่ผมเห็นคำพูดนี้แรงอยู่ครับ
อย่างที่บอกนะครับคุณ Thaina นี่คือการรณรงค์ คุณ Thaina มีความคิดเห็นว่าการรณรงค์นี้เป็นความหวังดีผิดๆ แต่พวกเราก็จะทำครับ แม้ที่ผ่านมา พ่อแม่ผมจะมีส่วนร่วมในการรณรงค์ด้วยการเข้มงวดด้วยความหวังดีที่ใครๆว่าผิดๆ ผมก็ยังเชื่อว่าผมได้ดีเพราะความหวังดีเหล่านั้นครับ
นี่คืออุดมการณ์ครับคุณ Thaina คุณ Thaina ต่อต้านอุดมการณ์นี้ผมก็ไม่ว่านะครับ แต่ผมว่าคำว่า "หลับหูหลับตาถล่ม" เนี่ย ผมมองว่า คุณ Thaina ก็ตอบ reply ทุกๆคำพูดของทุกคนที่ไม่โดนใจคุณ Thaina เหมือนกันนะครับ
ผมขอโทษด้วยถ้า reply นี้ทำให้คุณ Thaina รู้สึกในแง่ลบ ผมก็ไม่ได้ถล่ม หรือดุด่าว่ากล่าวคุณ Thaina นะครับ แต่อยากให้คุณ Thaina ทราบว่า เราไม่ได้หลับหูหลับตาทำไปโดยไม่คิดครับ ผมเชื่อว่าหลายคนในที่นี้มีสมองคิด แล้วก็ไม่คิดน้อยๆตื้นๆด้วยครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ก็ขอโทษครับ แต่ผมรู้สึกว่าโดนถล่มจริงๆ ทั้งที่เข้าใจยังไม่ตรงกัน
ไม่ได้ว่าไม่คิดครับ แต่พอเห็นว่าผมมาแก้ต่าง ผมก็โดนถล่มทุกที
ครับ ผมเข้าใจคุณครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ผมเชียร์คุณอยู่อย่าท้อครับ :)
ส่วนตัวแ้ล้วเชื่อว่าไม่มีใครดี มีพร้อมได้หมดหลอกครับ มีตังซื้อของจริงมาใช้หมด ผมเองซื้อมายังใช้เถื่อนลงเลยมันสะดวกกว่า ของจริงทำไม่ดีมาเองนิ (ไ่ม่สะดวกเวลาติดตั้ง เวลาติดตั้งหลายๆเครื่อง)
อีกอย่าง Program บ้านเราที่เห็นขายๆ กันไม่ได้การตลาดไม่ดีน่ะครับมี idea ทำ ของแปลกๆ มาได้ แต่หัวเชิงพานิชย์ตกอย่างแรง พวกหัวการค้าดีๆ ก็เอาไปทำขายต่อ ว่าคนซื้อ??? คนซื้อ รู้จัก Program ท่านได้เพราะพวกหัวการค้าดีๆ เขาเอาไปทำการตลาด...?
ส่วนตัวผมเชื่อว่า แม้แต่คนเขียนเองยังใช้ของซื้อมาไม่หมดทุกคนเลย เอาง่ายๆ มีท่านใดไม่เล่น bit(p2p ต่างๆ) บ้าง??? ดู หนัง porn ไม่ว่าจะประเภทไหน รูดบัตรเองตลอด?...
Ton-Or
Ton-Or
วาจาคุณมันชวนให้อยากถล่มครับ แค่นั้นแหละครับ
ปรับปรุง "วิธีการนำเสนอ หรือสื่อ" นิดนึง อาจจะไม่โดนก็ได้ครับ
เตือนด้วยความหวังดีนะครับ .... และคิดว่าเตือนหลายรอบแล้วด้วย จะได้อุดจุดบอดที่โดนถล่มอยู่ แต่เหมือนจะไม่เคยฟังคนอื่นเลยนะ???
เห็นด้วยครับ ว่าไม่ควรเสียดสีผู้ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน (หวังว่าผมคงยังไม่ได้เสียดสีใครไปนะ ถ้าบังเอิญกระทบใครก็ขออภัยด้วย) อย่างที่ตอบไปในอีกกระทู้หนึ่ง ว่าเขาคือผู้ร่วมทุกข์กับผมซึ่งใช้ FOSS ในแง่ของการไม่เห็นด้วยกับการขายซอฟต์แวร์แพง ๆ แล้วยังจำกัดสิทธิ์ผู้ใช้ ก็เพราะผมเห็นร่วมกับเขาตรงนี้ ผมก็เลยใช้ FOSS แต่ที่ไม่ใช้ของเถื่อนก็เพราะผมไม่ต้องการรับผิดชอบต่อความผิดทางกฎหมาย รวมทั้งไม่ชอบที่แก้บั๊กเองไม่ได้อยู่ดี ถ้าเขาคิดว่าเขารับผิดชอบค่าปรับไหว ก็เป็นเรื่องของเขา แต่ถ้าอยากปลดภาระนั้น ก็มาคุยกันได้
ส่วนเรื่องของ "ผลนิยม" นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าพูดกับใคร ถ้าพูดในมุมมองของคนที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของ "การผลิต" ก็คงจะเข้าใจ จะว่าไปก็คล้ายกับการรักษาศีลน่ะแหละครับ แล้วแต่ว่าใครจะจริงจังขนาดไหน แต่แน่นอนว่าถ้าทุกคนทำได้ ก็จะทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ดี อยากให้คนในองค์กรที่พูดถึง ที่อาจจะคิดว่าใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ให้งานบรรลุผลด้วยต้นทุนต่ำสุด คุณอาจจะคิดว่ามันจำเป็นต้องทำ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณกำลังเอาเปรียบคู่แข่งของคุณที่เขาอาจจะพยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนเขาสูงกว่า คุณก็กลายเป็นคนขัดขวางการทำดีของคนอื่นไปแล้วโดยไม่รู้ตัว และนั่นก็อาจเป็นความจำเป็นที่เขาต้องออกมาบ่น เพราะเรื่องของธุรกิจบางทีมันก็ไม่จำเป็นต้องอดทนโดยไม่ปริปากบ่น ก็อยากให้มองอีกฝ่ายในมุมมองเช่นนี้ด้วย
พูดไปพูดมา ก็กลับเข้าหาเรื่อง FOSS จนได้.. คือถ้าจะทำดีโดยไม่เพิ่มต้นทุน ก็ศึกษา FOSS กันหน่อยเป็นไร? คนที่ใช้ซอฟต์แวร์ซื้อจะมาว่าผมว่าเอาเปรียบอีกก็ไม่ได้แล้วนะ เหะ ๆ
ผมแก้บั๊กเองไม่ได้ แต่ก็ใช้ FOSS นะคับพี่เทพ
อิอิอิ
เข้ามาลงชื่อว่าอ่านแล้ว :D
บ่น บ้า บอ ไร้สาระสุดๆ ต้องที่ Suntiwong.net เท่านั้น
iauuu.com
จริงๆ มันเป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ การที่เราไปขโมยของคนอื่นมาใช้ยังไงก็ผิด ถ้าคิดว่าเขาขายแพงก็ไม่ต้องซื้อ ไม่ใช่ไปเอาของเค้ามาใช้แล้วยังไปด่าว่าเขาอีก
ไม่แปลกที่ประเทศเรายังไม่เจริญ เพราะแม้แต่เรื่องพื้นฐานแบบนี้ยังมีคนไม่เข้าใจ
จีน 82% ฝรั่งเศส 50%
ไม่เจริญเลยนะครับ สองประเทศนี้
ลืมไปรึเปล่าว่า warez หรือ crack keygen มาจากประเทศเจริญแล้วทั้งนั้น
มันขึ้นอยู่กับว่าเราใช้เกณฑ์ไหนกำหนดคำว่า "เจริญ" ด้วยนะครับ และฝรั่งเศสคงไม่ได้เจริญด้วยการหันมาใช้ของเถื่อนแน่ๆ มันอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ให้ประเทศเค้าเจริญมากกว่า :)
ก็หมายถึงว่า ถึงแม้จะไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้ ประเทศก็เจริญได้ แปลว่าปัญหามันอยู่ที่อื่นแล้วน่ะสิครับ
ถูกครับ
Ton-Or
Ton-Or
แต่ผมว่าไม่เกี่ยวกับไม่ใช้ลิขสิทธิ์แล้วไม่เจริญหรอกนะ
ไม่เจริญ ก็เรื่อง"จิตสำนึก" เสียมากกว่า ?
คนทำผิด มักจะยอมรับไม่ได้ที่คนอื่นบอกว่าตนเองทำผิด
onedd.net
onedd.net
+1
ความกลัวจะทำให้เราก้าวข้ามกำแพงที่เราสร้างขึ้นเองได้
ไม่มีตังครับไม่ซื้อ แม่ให้เดือนละ 3000 กินแค่ข้าอย่างเดียวก็หมดแล้ว
ทำงานครับ ผมซื้อโน้ตบุ๊กด้วยเงินตัวเองตอนเรียนปี 4 ทำงานตั้งสามปีกว่า
เห็นด้วยครับ
ที่เด็กไทยโตเป็นผู้ใหญ่ช้า ก็เพราะว่า ไม่ได้ทำงาน
มัวแต่ขอผู้ปกครองอย่างเดียว
อยากให้เด็กไทยทำงาน
อยากให้เป็นค่านิยมเหมือนอเมริกัน ...
ทำงานอะไรเหรอครับ ชักจะอยากทำบ้างซะแล้ว
เขียนคอลัมน์ครับ
งั้นผมเอาตังมาซื้อมอไซต์จะดีกว่ามั้ย กว่าจะเดินไปถึงตึกแต่ละตึก
ให้เลือกระหว่างมอไซต์กับซอฟแวร์ถูกกฎหมายเอาไรกัน ซอฟแวร์ถูกกฎหมายใช่ป่ะ?
ไม่ได้บอกว่าต้องซื้อ แต่บอกว่าอย่าเห็นเรื่องผิดเป็นเรื่องถูก
ไม่มีตังครับไม่ซื้อ แม่ให้เดือนละ 3000 กินแค่ข้าวอย่างเดียวก็หมดแล้ว
http://www.osalt.com/
เนื้อหายาวดี อ่านแล้วได้ความรู้ครับ แต่ขอทราบที่มา่ของแหล่งข้อมูลได้ไหมครับ
ถ้าได้มาจะดีมากเลย จะได้หาข้อมูลมาโต้แย้งได้ :) ขอบคุณครับ
อย่าลืมช่วยๆกัน รณรงค์ด้านสิขสิทธิ์กับสินค้า และ บริการ ด้านอื่นๆด้วย
- เทปผีัCDเถื่อน
- สินค้า brand name ของปลอมต่างๆด้วย
- ถ่้ายเอกสารหนังสือ textbook
- และอื่นๆอีกมากมาย ของปลอม ของcopy ของเลียนแบบ ของละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆสารพัดครับ
พวกนี้ผิดกฏหมาย ผิดจริยธรรม ทั้งนั้น
ประเทศไทยจะเจริญหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับธุรกิจ IT เพียงด้่านเดียว
เท่าที่ดู ฝ่ายที่เห็นด้วยกับซอฟต์แวร์เถื่อนแล้วพยายามหาข้ออ้างมาคือ
เหมือนเด็กขโมยตังแล้วบอกเอาไปรักษาพ่อแม่ คนผิดคือรัฐ คนผิดคือสวัสดิการสังคม ไม่รู้จักเอื้อเฟื้อคนชรา บลาๆๆๆๆๆ
สรุป ตูไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เพราคนอื่นแหละผิด
แบบนี้
ใช่ไหมครับ?
ผมบอกไปแล้ว(หลายรอบแล้วด้วย ผมแนะนำให้อ่านความคิดเห็นของผมที่แล้วมาทั้งหมด)ผมไม่ได้เห็นด้วยแต่ผมกำลังชี้ปัญหา ถ้าคุณยังดักดานเชื่อแบบนั้นก็เชิญ
ผมย้ำอีกทีว่าปัญหาแบบนี้ (อย่างน้อยในเว็บนี้) คนส่วนมากรู้ปัญหาที่คุณว่ามาเป็นอย่างดีครับ คงไม่มีความจำเป็นต้องย้ำไปมา หลายๆ รอบ
คำถามไม่ใช่ปัญหาคืออะไร คำถามคือเราจะทำยังไงกับมัน มีคนเสนอมาอย่างน้อยเจ็ดทางในตอนนี้
ทั้งหมดนี้เป็นทางแก้ประเด็นปัญหาที่คุณว่ามาทั้งนั้นครับ ทุกคนพยายามเขียนกันอยู่นี่ เพราะเค้าเห็นปัญหาที่คุณชี้ หลายๆ คนเห็นมานานมากๆ แล้ว ไม่อย่างนั้นคงบอกแค่ไล่ไปซื้อของจริงแล้วก็จบกันไป
ที่หลายๆ คนกำลังพูดนี่ล่ะครับ เขากำลังเสนอทางเลือก ที่อาจจะเป็นทางออกที่เหมาะสมให้กับคนที่เจอปัญหาแบบที่คุณชี้ เพราะทุกคนมองเห็นว่าการใช้ของ pirate มันไม่ใช่เรื่องดี (ไม่ว่าจะเพราะจริยธรรม, กฏหมาย, หรือความเท่ห์ส่วนตัวก็ตาม)
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้ามีคนเข้าใจจริงๆ อย่างที่คุณพูดก็ดีแล้วล่ะครับ แต่ก็หวังว่าจากนี้คงจะไม่มีใครมาพูดประโยคทำนองนี้อีก
"หากคุณบอกว่าโอเพนซอร์สใช้ยากเกินไปหรือไม่ดีพอ เลยต้องใช้ของเถื่อน ผมคงประเมินได้แค่ว่า คุณเป็นคนที่เสียดายเงิน และพร้อมจะละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพื่อความสบายของตัวเอง (ประเมินตาม fact ล้วน ๆ)"
เพราะผมไม่ต้องการให้ใครก็ตามด่วนสรุปและเข้าใจคนอื่นในแบบผิดๆ
ขอก๊อปปี้ reply ด้านบนมาตรงนี้ด้วยนะคะ มันอ่านยากน่ะ
ไม่ได้อ่านแป๊บเดียว มีคนพูดถึงตัวเรามากขนาดนี้เชียว ถึงว่าล่ะจามจังเลยค่ะเมื่อตอนเย็น
ต้องขอโทษทุกๆ คนด้วยนะคะ ที่คนเขียน blog เองก็ยังไม่แน่ใจตัวเองว่าในเครื่องมันหายเถื่อนไปหมดหรือยังนะคะ ที่บอกว่ายังไม่แน่ใจ เพราะก็ยังเช็คอยู่ค่ะ ว่ายังเหลืออะไรอีกบ้าง จะไม่พูดว่าหยุดของเถื่อนแล้วแน่นอนร้อยเปอร์เซ็น ตราบใดที่ตัวเองยังไม่แน่ใจตัวเอง อย่างน้อยเราก็มาพูดในมุมมองของคนที่กำลังเริ่มต้น ไม่ได้มาพูดในมุมมองของคุณที่เลิกใช้ได้หมดแล้วจริงๆ จังๆ มาหลายๆ ปี เพราะถ้าถึงตอนนั้นจริงๆ เราอาจจะลืมไปแล้วก็ได้ว่าตอนเริ่มคิด มันเ็ป็นยังงัย ตอนเริ่มต้น มันลำบากยังงัย อารมณ์เหมือนคนยิ่งเรียนสูง ก็จะลืมไปแล้วว่าตอนตัวเองไม่เรียนไม่รู้เรื่องมันเป็นงัย ก็เลยทำให้อาจารย์หลายๆ ท่าน สอนนักเรียนไม่รู้เรื่องแล้ว
แล้วผิดด้วยเหรอคะที่ไม่ได้โกหก? และผิดด้วยเหรอคะที่มีความคิดดีๆ และพยายามแก้ไป แต่อาจจะไม่แน่ใจว่าสมบูรณ์หรือยัง ทำไมไม่ลองให้โอกาสคนคิดดีทำดีหน่อยละคะ คุณอยากให้เรายอมรับผิดอะไรหรือเปล่า อยากให้สารภาพอะไร อยากได้อะไรคะ?
ขาดซอฟท์แวร์เถื่อนได้มั๊ย>>>ขาดได้ค่ะ ฟันธง!
คุณอาจกำลังคิดว่า "อิธ่อเอ๊ย คนมาบอกว่าซอฟท์แวร์เถื่อนไม่ดี ยังใ้ช้เองเลย แล้วแบบนี้จะให้คนอื่นเชื่อได้งัย" จริงๆ อยากจะบอกว่า เราเป็นแค่คนหนึ่งที่เจออะไรมา มันต้องเคยใช้แน่นอนค่ะถึงจะพูดได้ ที่สำคัญคือ เราไม่ใช่พระเจ้า หรือว่านางฟ้า ที่จะพูดอะไรใครๆ ก็เชื่อ เราไม่ใช่ idol ที่ทำอะไรแล้วทุกคนจะทำตาม ถ้าเราทำอะไรผิดไปแล้วทุกคนจะ fail และหมดแรงบันดาลใจในการหยุดใ้้ช้ของเืถื่อนกันไปเลย เราเป็นแ่ค่คนธรรมดาคนหนึ่ง ที่เจออะไรมา และแนะนำอย่างที่เจอ คุณจะเชื่อหรือไม่ มันเป็นวิจารณญาณ คุณคิดจะเลิกใช้ของเถื่อนหรือไม่ มันเป็นจิตสำนึกตัวคุณเอง คุณเคยคิดจะเริ่มต้นมั๊ย มันก็เป็นสิ่งที่คุณรู้เอง
ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาว่าเราเป็นยังงัย เราก็ไม่แคร์ค่ะ เรารู้ว่าเราทำอะไรอยู่ เราจะดีจะเลว ไม่มีใครมาสั่งเราได้หรอกค่ะ มันไม่ได้อยู่ที่คนอื่นมาพูดมาตัดสิน แต่มันอยู่ที่ตัวเราเองค่ะ เรารู้อยู่ว่าเราทำอะไรก็พอแล้ว ใครไม่เห็นก็ไม่เป็นไร
ขอบคุณค่ะ ทั้งทุกคนที่มองเห็น และมองไม่เห็น
ปล. เคยได้ยินไหมคะ..ก้าวแรก คือก้าวที่สำคัญที่สุด
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ผมก็แค่ยกตัวอย่างคุณ natty เป็นกรณีศึกษาน่ะครับ เพราะเห็นว่ามันตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ของคนที่มีจิตสำนึกเต็มเปี่ยม แต่ทำไมถึงหยุดใช้ของเถื่อนไม่ได้เสียทีเดียว? ทำไมต้องค่อยๆเลิกใช้? หยุดมันไปเลยไม่ได้เหรอทั้งที่รู้ว่ามันผิด? เพื่อเอามาหักร้างกับความคิดด้านเดียวของใครบางคนแบบนี้ (ซึ่งทุกวันนี้เค้าก็ยังเชื่อแบบนี้ ถ้าไม่ได้เชื่อแบบนี้แล้วก็ต้องขออภัย และต้องขอร้องให้เค้าเปลี่ยนประโยคนั้นใหม่ เพื่อผู้อ่านท่านอื่นจะได้ไม่เข้าใจผิด)
"หากคุณบอกว่าโอเพนซอร์สใช้ยากเกินไปหรือไม่ดีพอ เลยต้องใช้ของเถื่อน ผมคงประเมินได้แค่ว่า คุณเป็นคนที่เสียดายเงิน และพร้อมจะละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพื่อความสบายของตัวเอง (ประเมินตาม fact ล้วน ๆ)"
และนี่ก็อีกท่านหนึ่ง
"จริงๆ มันเป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ การที่เราไปขโมยของคนอื่นมาใช้ยังไงก็ผิด ถ้าคิดว่าเขาขายแพงก็ไม่ต้องซื้อ ไม่ใช่ไปเอาของเค้ามาใช้แล้วยังไปด่าว่าเขาอีก ไม่แปลกที่ประเทศเรายังไม่เจริญ เพราะแม้แต่เรื่องพื้นฐานแบบนี้ยังมีคนไม่เข้าใจ"
ถ้าคุณลำบากใจที่จะตอบก็ไม่ต้องตอบก็ได้ครับผมไม่ได้คาดคั้นอะไร และผมต้องขอโทษที่ยกคุณมาเป็นตัวอย่างโดยไม่ได้รับอนุญาต
พูดไปหลายรอบแล้วเราว่าคนทั้งเว็บคงเข้าใจวัตถุประสงค์ของเราแล้ว เราจะไม่พูดซ้ำแล้วค่ะ หากคุณสงสัยตามไปอ่าน comment ก่อนๆ แล้วก็คิดสักนิดจะเข้าใจเองค่ะ
ขอบคุณค่ะ
บลอกของ natty
บลอกของ natty
วัตถุประสงค์คุณผมเข้าใจ การที่คนเราคิดจะกลับตัวมันก็เป็นสิ่งที่ดีผมเองก็สนับสนุน ทำดีทำไปเหอะตรงนี้ผมไม่ได้ว่าอะไรจบนะครับ แต่ที่ผมพร่ำมาทั้งหมดเนี่ยถ้าคุณ natty จับประเด็นดีๆ เนี่ยจะรู้ว่าที่ผมแอนตี้อยู่อย่างเดียว คือ ความคิดที่มองคนใช้ของเถื่อนเหมือนคนไร้จิตสำนึก ขาดจริยธรรมขั้นรุนแรง ไม่ว่าจะมีเหตุผลอะไรมันก็ฟังไม่ขึ้น ที่ผมพูดเพราะผมเป็นห่วงคนที่กำลังปรับตัวไปในทางที่ดีเขาจะน้อยใจว่า "อะไรกันฟ่ะ ก็ตูพยายามจะเลิกอยู่นี่ไงทำไมต้องว่ากันขนาดนั้นด้วย" เดี๋ยวจะกลายเป็นแอนตี้กันไปเปล่าๆ สุดท้ายผมก็หวังว่าเราคงจะมีความเข้าใจตรงกันซะทีนะครับ
ถ้าคุณอ่านคอมเมนท์ของพวกผม แล้วคิด "ดีๆ" เหมือนกัน จะเข้าใจว่าพวกผมมาพูดทำไม
มันไม่ใช่เพราะคุณครับ แต่เพราะมีหลายคนที่ พูด เหมือนตัวเองมาจากดินแดนยูโทเปีย รับไม่ได้กับความผิดของคนอื่น เถียงอย่างหลับหูหลับตาว่าทุกอย่างต้องดีเลิศสมบูรณ์
ทั้งๆที่คนที่ออกมาเรียกร้องแต่แรก(อย่างคุณ)ยังไม่ได้สมบูรณ์เลย
คือสิ่งที่พวกผมมาประท้วงครับ
+10 ครับ
เฮ้อ... อย่างน้อยก็มีคุณ Thaina นี่แหละที่เข้าใจผม
ผมไม่ได้ว่าอะไรที่คุณ Thaina จะประท้วงนะครับ แต่เสนอแนะสักหน่อย
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
+1
ผมก็บอกไปบ่อยๆแล้วว่า ผมก็มีความเห็นไปแล้วว่า มันควรจะแก้ยังไง
แต่ก็ยังมีคนมาพูดเรื่อยๆว่า ยังไงมันก็ผิด คนที่ทำไม่มีความจำเป็น เป็นข้ออ้าง มักง่าย ขี้เกียจ ฯลฯ
สิ่งที่ผมทำเลยเป็นการพยายามบอกว่า ในสังคมไทย มันมีเหตุผลอยู่ มันมีความจำเป็นในหลายๆเรื่อง คือสิ่งที่ผมพยายามชี้แจงให้ฟังดีๆ เพื่อให้เปิดใจรับกันก่อนว่า เราควรหาทางแก้ที่เป็นรูปธรรมมากกว่านี้
ผมก็พูดประมาณนี้เป็นหลัก บางครั้งก็หยอดแถมลงไปว่า ผมมีทางแก้ประมาณนี้
สิ่งที่ผมได้รับกลับมาคือการถล่มด่า สรุปแบบง่ายๆ จับเอาเรื่องเล็กๆที่ผมพูดมาขยายสรุป แล้วก็ไม่เคยฟังสาระหรือแก่นอะไรให้ดีซักอย่าง มีแต่จับผิด
ผมพูดแต่แรกแล้วว่า ถ้ามีซอฟท์แวร์ที่ทำให้คนเปลี่ยนมาใช้ของที่ฟรีและถูกลิขสิทธิ์ได้ง่ายกว่านี้ มันจะช่วยแก้ปัญหาได้หลายอย่าง ซึ่งผมก็อยากทำนะ
แต่ทั้งคุณลิ่ว และคุณแน็ตตี้ ไม่เห็นจะฟังจะสนใจเลย
แล้วพึ่งมาสรุปเอาตอนสุดท้ายว่าผมใช้อารมณ์ใส่ลงไปมากเกินไป ทั้งที่ไอ้ที่ผมพูดๆนี่ผมก็พูดตั้งแต่ช่วงแรกๆนะ??? พูดบ่อยด้วย ทำไมไม่ดู ไม่มอง ไม่ฟัง ไม่เห็นมั่งเลยล่ะครับ???
มีอีกหลายคนที่เป็นแบบนี้ รวมถึงคนที่สรุปง่ายๆว่าผมใช้ของเถื่อน แล้วก็คนที่บวกๆๆเพราะถูกใจ
Informative?? ตรงไหน??? เป็น Informative ที่ผิดพลาดมาก มีใครกลับไปลบมั้ย?
สรุปก็คือแค่บวกเพราะถูกใจ ไม่ว่าข้อมูลจะถูกหรือผิด ใช่รึเปล่า???
ก็ว่า กันไป
ขอโทษที่ประท้วงอาจจะซ้ำหลายคอมเมนท์ เพราะ ผมก็เห็นคนที่สนับสนุน ก็พูดกันไม่กี่เรื่อง คำก็ซ้ำๆเหมือนเดิม
ผมก็เลยประท้วงซ้ำๆ เหมือนเดิม
คนที่มาพูดสนับสนุน มีใครใช้ Permalink บ้างมั้ยครับ???
ผมก็เห็นการพูดด่าซ้ำๆ ซากๆ แบบนี้ มันไม่เดินหน้ามาแต่แรกแล้ว
พยายามเสนอทางออกอื่นมาแล้ว ก็เห็นไม่สนใจกัน
หลายๆ คนในนี้ไม่ได้แค่ "พูด" เหมือนมาจากดินแดนยูโทเปียครับ แต่ใช้ชีวิตอยู่ในดินแดนยูโทเปียได้อย่างปกติสุขด้วย
ถ้ามันเป็นได้อย่างนั้นได้ทุกคนก็ดีซิครับ แต่ความเป็นจริงไม่ใช่
เฮ่ออ.... เหนื่อยจัง
+10
บลอกของ natty
บลอกของ natty
อ่านไม่ไหวอะ เถียงเรื่องภาษาทับศัพท์ ไปเพียบเลย เหอๆ มันดี
ผมมองว่าคนส่วนใหญ่อะก็อยากได้ของแท้ทุกคนแหละ เชื่อผมเถอะ :)
เมืองไทยจะเจริญหรือไม่เจริญไม่เกี่ยวกับ Software ผิดกฎหมายครับ ตึกใหญ่ๆสร้างโดยใช้ Cracked AutoCAD เขียนแบบ หนังสือ,เอกสารต่างๆใช้ MSWord ที่ bundle มาใน PC พร้อมกับ Windows ทุกอย่างบน PC มันขึ้นอยู่กับความนิยม,ความเข้ากันได้และราคา ผมว่าหลายคนคิดว่า PC ก็เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้า,โทรศัพท์มือถือ,กล้องถ่ายรูป Digital,เครื่องเล่น VCD และอุปกรณ์อื่นๆที่ซื้อมาแล้วใช้ได้เลยโดยไม่ได้คิดว่ามันมี OS อยู่ข้างใน หากเปรียบ Software บน PC เหมือน Content บนมือถือหรือ แผ่น VCD ที่ใช้ในเครื่องเล่น VCD ในราคาที่ไม่แพง ผมว่าหลายคนเต็มใจซื้อครับ
Cracked กับ Pirate ไม่เหมือนกันครับ
จริงๆก็คงต้องบอกว่า ของเถื่อน กับ ของผิดลิขสิทธิ ก็ต่างกันด้วย
onedd.net
onedd.net
ไล่หาสองรอบไม่เจอ จำได้ว่า มีท่านใดพูดถึงว่าจะซื้อ software ให้มันถูกลงอาจเป็นไปได้แต่ไม่ใช่แผ่นหละ 150 มีครบทุกอย่าง ผมกลับมองในอีกมุม ถ้าเกิดไอ้ 150 บาทมีทุกอย่างเนี๊ยะ แต่ทุกบาททุกสตางค์กลับคืนไปให้เจ้าของ software หมด มันจะดีกว่าไม่ได้อะไรเลยไหม ดีกว่าขายนานๆทีตัวหละ หมื่นสองหมื่นเดาว่า คนซื้อจริงสัก 10 เถื่อนราว 90 แบบนี้ แล้วคิดว่ามูลค่าแผ่นหละ 150 บาทเนี๊ยะ วันๆ นึงรายได้ที่พวกนี้ขายได้วันๆ นึงเท่าไหร่ครับ ค่าเช่าไม่ถูกนะครับตามห้างพวกนั้นน่ะ
ยืนยันความเห็นเดิม หัวการตลาดของผู้ผลิตจำหน่าย Program ในบ้านเรายังตกค่อนข้างแรง(ยกเว่น EA) หรือตีค่าหัวคิดไว้สูงอันนี้ผมไม่ทราบ เลยไม่ยอมลดราคา
Ton-Or
Ton-Or
เค้าก็ลดกันบ้างแล้วนี่ครับ
อีกอย่างบ้านเราตอนนี้ก็ไม่ได้จนขนาดนั้นสักหน่อย (แต่ถ้าปีหน้าละก็ไม่แน่)
ผมเห็นใจนะ ว่าคนเขียนก็คงไม่ได้เขียนคืนเดียวเสร็จ โดยเฉพาะโปรแกรมงาน ไม่ใช่โปรแกรมเกม ที่ถ้าพังแล้วงานเจ๊ง ถึงแม้ผมจะเขียนโปรแกรมไม่เป็นซักกะแอะ ก็ตาม
___________pawinpawin
เรื่องแบบนี้หาจุดกึ่งกลางลำบากครับ ราคาขายซอฟท์แวร์ต่างประเทศที่เราไม่เข้าใจว่าทำไมเอามาขายในบ้านเราแล้วแพ๊ง แพง ไม่ยอมลดราคาให้เข้ากับสภาพบ้านเราเลย แน่นอนว่าเราไม่เคยได้อยู่ในเมืองที่ค่าครองชีพซื้อสิ่งพวกนี้ได้สบายฉันท์ใด คนพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ชีวิตเติบโต และพัฒนาอยู่บนดินแดนที่ศิวิไลซ์ก็ไม่มีทางเข้าใจความเป็นอยู่แบบเราหรอกครับ ว่าราคาที่เค้าตั้งมันสูงเสียดฟ้าจนเรายากที่จะซื้อหามาครอบครองขนาดไหน
ต่อมาประเด็นที่ว่าราคาซอฟท์แวร์บางตัวก็ไม่ได้แพง ทำไมยังจะใช้ของเถื่อนกันอยู่ อันนี้ก็พูดลำบาก เช่น เรื่องแอนตี้ไวรัส ราคาต่อปีถ้าหารเป็นวัน ๆ แล้วไม่กี่บาท (ถูกกว่า 10 บาทต่อวันอีก) แล้วทำไม ? นั่นสิครับ ผมคิดได้แหละแต่ไม่อยากตอบ หรือเรื่อง MS Office ตัวที่ 3000 กว่าบาท อันนั้นก็คิดได้เหมือนกันว่าเพราะอะไรคนถึงไม่สนใจเท่าที่ควร เอาเป็นว่าผมว่าทุกคนก็คงมองเห็นเหมือนหรือแตกต่างกันออกไป เป็นสิทธิส่วนบุคคลครับผม
เรื่องมุมมองที่ว่าซอฟท์แวร์เป็นสิ่งจับต้องไม่ได้ นี่ก็ต้องปรับกันอีกขนานใหญ่ ต้องให้เข้าใจกันก่อนว่าลำพังกำเงินหมื่น สองหมื่น ไปซื้อคอมพิวเตอร์กลับมา จะใช้มันทำงานเลยไม่ได้ ต้องมีซอฟท์แวร์เพื่อใช้งานด้วย ซึ่งต้นทางก็คือร้านขายคอมพิวเตอร์นั่นแหละครับ ถ้าปฏิวัติทั้งวงการเลย ว่าหากจะเอาวินโดวส์ต้องเสียเงินเพิ่ม เอา MS Office บอกมาเลยว่าใช้อะไรบ้าง ถ้าเอาตัวเต็มแพงกว่าค่าเครื่องอีกนะ ซึ่งถ้าไม่อยากเสียก็ติดตั้งลินุกซ์ให้ไปหรือให้ไปหาทางใช้กันเอง บังคับกันอย่างนี้ไปเลยตั้งแต่ต้นน้ำน่าจะได้ผล
^
^
(อันนี้แค่ฝัน ในความเป็นจริงยังไงก็เป็นไปไม่ได้ ต่อให้โลกแตกเป็นเสี่ยง ๆ แล้วอะตอมกลับมารวมตัวกันเป็นโลกใหม่ พี่ไทยก็คงยังลงวินโดวส์เถื่อนให้คนซื้อคอมพ์อยู่ดี)
ผมค่อนข้างเฉย ๆ เพราะในเมื่อเขาไม่รู้ จะให้ทำอย่างไร แต่คนที่ทำงานด้านนี้โดยตรง จะอ้างไม่ได้ว่าไม่มีความรู้เรื่องนี้ (หากไม่มีความรู้เรื่องนี้ ก็ควรไปหาอาชีพอย่างอื่นทำ ที่ไม่ต้องใช้ความรู้เรื่องนี้)
+10 โดนอย่างแรง
ดูเหมือนว่าคู่กรณีดังกล่า จะไม่เคยฟังใครเท่าไหร่นะครับ วกไปเวียนมา เมนต์ยาวๆ สุดท้ายกลายเป้นเสียดสีชาวบ้านแทน
ยูโทปง ยูโทเปีย อะไร บ่อยเหลือเกิน...
ปล.ไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆครับ ขอกระชับ ตัดส่วนเสียดสี อุปมาอุปมัยไปหน่อยก็ดีครับ บอกตรงๆ ขี้เกียจจะอ่าน ยิงรู้วีรกรรมของคู่กรณีดังกล่าวก็เกิด bias ไม่อยากอ่านแล้ว
ผมว่าดีนะครับ ได้ฟังความเห็นคนเยอะ ๆ ในหลาย ๆ มุมมอง
Pages