มีการถกเถียงกันในกระทู้นึงอยู่ครับ ว่า ให้ใช้ ซอฟท์แวร์ หรือ ซอฟต์แวร์ ซึ่งก็มีประเด็นสนับสนุนคัดค้านอยู่หลายประเด็น
เช่น ประเด็นที่ว่ามีการบัญญัติแล้วจากราชบัณฑิตยสถาณ ควรใช้ให้เป็นมาตรฐาน
ประเด็นที่ว่าหลักการทับศัพท์ ควรทับตามเสียงอ่าน
ประเด็นที่ว่าหลักการออกเสียง ก กับ ค มันไม่ต่างกันในภาษาต่างประเทศ
และอื่นๆ
ส่วนตัวแล้วผมอยากให้มีการตั้งอะไรซักอย่างมารวบรวมมาตรฐานการทับศัพท์ของชาว IT เอง หน่อย นะครับ แล้วรวบรวมไปส่งให้ราชบัณฑิตยสถาณทีเดียว
ป.ล. ส่วนตัวแล้วผมสนับสนุน ซอฟท์แวร์ เพราะเวลาออกเสียง ซอฟท์ ต้องลงด้วยเสียง ท ไม่ใช่ ต ครับ
ป.ล.2 กระทู้นี้แตกประเด็นมาจาก ที่นี่ ครับ
+1 ซอฟท์แวร์ เพราะผมเขียนแบบนี้มานานแล้ว
ด้วยครับ
http://lib.blognone.com/Glossary#S
ในประเด็นที่บอกว่า คำทับเสียงจากราชบัณฑิต
ทำให้ทับศัพท์อังกฤษแล้วเสียงไม่ตรงกับภาษาอังกฤษ
ความเห็นของผมคือว่า
มันเป็นวิธีการทับเสียงที่ถูกกำหนดโดยมาตรฐานที่ทางราชบัณฑิตวางไว้แล้ว
ซึ่งถ้าหากว่าลองเทียบดูกับภาษาต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น
ภาษาญี่ปุ่น ทับเสียง ศัพท์ภาษาอังกฤษ
ภาษาจีน ทับเสียง ศัพท์ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ ทับเสียง ศัพท์ภาษาไทย, จีน
ไม่มีคำศัพท์ทับเสียงของประเทศไหนเลยครับ
ที่ทับเสียงแล้วจะได้เสียงตรงกับเสียงดั้งเดิมของศัพท์ทั้งหมด
เพราะพื้นฐานการออกเสียงของแต่ละภาษามีความแตกต่างกันอยู่
การทับศัพท์ เป็นวิธีการทำให้ออกเสียงของภาษาต่างประเทศด้วยตัวอักขระของภาษาตัวเอง
ไม่ได้เขียนทับศัพท์เพื่อเลียนแบบการออกเสียงของศัพท์ดั้งเดิมให้เหมือนเปี๊ยบ
ส่วนประเด็นที่บอกว่า
รวบรวมมาตรฐานการทับศัพท์ของชาว IT เอง ไปส่งให้ราชบัณฑิตยสถาน
ข้อนี้ก็เห็นด้วยครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับราชบัณฑิตว่าจะกำหนดให้ใช้หรือเปล่า
สำหรับคำถามว่า
Software ควรทับศัพท์ด้วยคำว่าอะไร
ซอฟท์แวร์ หรือ ซอฟต์แวร์
ผมเลือก ซอฟต์แวร์ ครับ :)
แสดงความคิดเห็นนะครับ อย่าเคืองกันน้อ (^^)
HudchewMan Live Style - วันสบายๆ ของนายจอมจาม
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
ในภาษาไทยของเรา เขียนเสียงอ่านให้ตรงกับที่เขียนเป็นหลักนะครับ
ภาษาไทยเราเป็นภาษาสัญลักษณ์ที่เกิดจากการเขียนให้ตรงเสียงพูด
เพราะงั้นผมคิดว่า เราควรทับศัพท์ เพื่อให้ออกเสียงตามภาษาดั้งเดิมได้ตรงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของคนที่มาอ่าน
ถ้าเราเขียน ซอฟท์แวร์ เราก็จะบอกได้ว่า มันจะมีเสียง ท ตามหลัง ซอฟท์
แต่ไม่มีความหมายที่จะเขียน ซอฟต์
ผมขอยกมาพูดอีกทีว่า เราเชื่อราชบัณฑิตทุกอย่างไม่ได้ครับ ราชบัณฑิตก็ผิดได้
เหมือนที่บัญญัติให้ใช้ มุขตลก มาเป็นสิบๆปี แล้วพึ่งค้นพบว่า จริงๆแล้ว มุกตลก จะถูกต้องมากกว่า ก็ต้องประกาศแก้
การที่ไม่มีหลักการอะไรเลย แล้วยกราชบัณฑิตมาอ้างอิง ก็เป็นปกติ
แต่บางครั้ง มันอาจจะมีหลักการที่ดีกว่า ค้านขึ้นมา ก็น่าจะลองวิเคราะห์ดูนะครับ
มีความหมายเท่าเทียมกับการเขียนด้วย ซอฟท์ ครับ
การคัดค้านหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน
โดยมีความรู้ทางสัทศาสตร์ไม่มากพอ
เป็นเรื่อง absurd ครับ
+1
+1
+1
Priesdelly.com
+1
+1
ก็อย่างรอบก่อนนะครับ หากมองด้วยมุมมองที่ว่า
เราไม่ควรเชื่อราชบัณฑิต เพราะราชบัณฑิตอาจผิดก็ได้
ผมก็จะยก w3c มาว่า งั้นทำไมถึงต้องทำตาม w3c
ในเมื่อมาตรฐานของ microsoft มีมาก่อน และมีคนใช้มากกว่า :)
ราชบัณฑิตอาจผิดก็ได้ครับ แต่ว่าก็เป็นมาตรฐานที่กำหนดเป็นบรรทัดฐานให้ตรงกัน
ซึ่งถ้าเราคิดว่า ความคิดเราถูก โดยไม่ยึดตามมาตรฐานที่มีอยู่ ก็เป็นอันว่าป่วนล่ะครับ
หากแต่ละคนบอกว่าไอ้ที่กำหนดให้ใช้ มันไม่ถูกต้อง
ดังนั้นฉันจะไม่ทำตามที่กำหนดไว้ (:P)
ถ้าเราบอกว่า ราชบัณฑิตไม่ถูก เชื่อไม่ได้
เราก็เลยใช้คำที่เราคิดเอง
อย่างนั้นก็ต้องยอมรับว่า คนอื่นก็บอกได้ว่า เราไม่ถูก
ดังนั้นจึงไม่ฟังเรา และใช้ต่างจากเราก็ได้ ใช่ไหมครับ :)
แต่ก็มีข้อยกเว้นครับ หลายคำด้วย เช่น น้ำ เสียงอ่านกับเขียนไม่ตรงกันครับ
กินน้ำ (กินน้าม), น้ำใจ (นั้มใจ)
(ยกแค่คำเดียวพอล่ะกันนะ)
อย่างคำว่า "มุกตลก / มุขตลก"
จากที่มาของคำศัพท์ และความหมายประกอบ
ผมเลือกที่จะใช้ "มุขตลก"
แต่ในเมื่อราชบัณฑิตกำหนดมาแล้ว ผมก็ต้องว่าตามนั้น
เวลาใช้คำนี้กับคนอื่น ก็ใช้ "มุกตลก"
แต่ถ้าใช้เองคนเดียว ไม่มีใครอ่าน ผมก็ใช้ "ข" สะกด
โชคดีที่คำนี้ ไม่ใช่ศัพท์สำคัญที่ผมต้องใช้ซักเท่าไหร่ :)
(ซึ่งถ้าหากว่าผมอยากจะใช้ ข สะกดในเวลาใช้กับคนอื่น ผมจะใช้โดยอ้างพจนานุกรมฉบับมติชน ฮี่ๆ :P )
ที่จริงคำว่า "มุก/มุข" นี่ไม่ใช่ประเด็นของทับศัพท์เลยนะ ^^
แต่ถ้าจะพูดประเด็นนี้ ผมก็ขอยกว่า เป็นเพราะภาษามีการเปลี่ยนแปลง
ในสมัยหนึ่ง คำๆ หนึ่งถือว่าผิด คำๆ หนึ่งถือว่าถูก
เวลาเปลี่ยนไป การใช้ภาษาเปลี่ยนไป ราชบัณฑิตก็เปลี่ยนคำที่ใช้งาน
เช่น สมัยก่อน เขียนคำว่า "สมมติ"
แต่ปัจจุบัน ราชบัณฑิตก็ให้ "สมมุติ" เป็นคำที่ถูกด้วยเช่นกัน
(ต่างกันที่สระอุครับ)
หากในสมัยก่อน เราเขียนคำที่ถือว่าผิดในสมัยนั้น
แปลว่า ในสมัยก่อน เราผิด
ถึงแม้จะแก้ในภายหลังว่าถูก แต่ตอนนั้นเราผิดนี่ :)
เรื่องคำศัพท์ไทย ไม่พูดต่อละกันครับ เพราะที่มาคุยกัน
ในกระทู้นี้ เป็นเรื่องคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ :)
แสดงความคิดเห็นนะครับ อย่าเคืองกันเน้อ (^^)
HudchewMan Live Style - วันสบายๆ ของนายจอมจาม
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
+1 informative
กำหนดทับศัพท์กันเองเฉพาะชาวไอที ต่อไปจะมีทับศัพท์แบบแพทย์ แบบนิยาย แบบศาสนา แบบกฎหมาย แบบบันเทิง แบบคณิตศาสตร์ แบบฟิสิกส์ แบบชีวะ แบบเคมี แบบกราฟิกส์ ฯลฯ ด้วยไหม
นี่พูดถึงเฉพาะภาษาอังกฤษนะครับ ยังไม่รวมภาษาอื่น ๆ เลย
คำถามคือ ทั้ง ๆ ที่มีหลักเกณฑ์รวมสำหรับใช้กับภาษาอังกฤษอยู่แล้ว การกำหนดหลักเกณฑ์ภาษาอังกฤษเฉพาะคนไอที มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร? มีข้อดีข้อเสียเมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์ที่มีอยู่แล้วอย่างไร?
คำถามที่สองคือ ซอฟท์แวร์ กับ ซอฟต์แวร์ ออกเสียงต่างกันอย่างไรตามหลักการออกเสียงภาษาไทย?
ป.ล. ไม่พูดถึงคำศัพท์บางตัวที่บัญญัติเฉพาะไว้แล้ว เช่น อินเทอร์เน็ต นะครับ คำศัพท์ที่บัญญัติไว้ก่อนมีหลักเกณฑ์ออกมาถือว่ายกเว้นอยู่แล้ว ส่วนชื่อเฉพาะอย่าง ไมโครซอฟท์ ก็ยกเว้นเช่นกัน
——————————————————————
คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ | นั่งเล่นในสวน ชวนคุยเรื่องเกม
LinkedIn
มีวัตถุประสงค์อะไร?? ก็เพื่อกำหนดว่า "จริงๆแล้ว มันควรจะเป็นแบบนี้" แล้วส่งไปให้ราชบัณฑิตพิจารณา ไงครับ
เพราะราชบัณฑิตก็ไม่ได้ถูกทุกอย่าง อะไรที่ถูกต้องดีแล้วก็ไม่ต้องไปแก้ แต่อะไรที่ไม่สมบูรณ์ ก็น่าจะรวบรวมกันมา
ราชบัณฑิตไม่ได้รู้ทุกเรื่องนี่ครับ
คำถามว่า ซอฟท์แวร์ กับ ซอฟต์แวร์ ออกเสียงต่างกันอย่างไรตามหลักการออกเสียงภาษาไทย?
ถ้าตามหลักการออกเสียง ต่างแล้วครับ การออกเสียงภาษาไทยอาจจะไม่ต่าง การออกเสียงภาษาอังกฤษจริงๆ ต้องเน้นตัวสะกดด้วย
ผมคิดว่าเราควรจะเน้นไว้ว่า มันมี ท การันต์ เพราะจริงๆมันต้องออกเสียง ท ตามหลีงซอฟท์ (ไม่ใช่เสียง ต) ตามการออกเสียงของเจ้าของภาษา
ซึ่งเราก็ควรออกให้ตรงกับเจ้าของภาษา ผมคิดแบบนั้น เพราะบางทีการออกเสียงไม่ถูกต้อง ความหมายก็เปลี่ยนไป
การกำหนดให้เขียนให้ตรงเสียง เพื่อประโยชน์ในการอ่านด้วยครับ เพื่อให้คนอ่านได้เห็นว่า วิธีอ่านที่ถูกต้อง ต้องมีเสียงตามที่เขียนไว้
จริงๆถ้าออกเสียงภาษาไทย ซอฟท์แวร์ ก็ต้องอ่าน ซ้อบ แว นะ
ซึ่งผมว่าไม่ดีหรอก ถ้าไม่สตริคต์การออกเสียงคำให้มีเสียงตาม แบบที่เจ้าของภาษาทำกัน
ไม่งั้น rag กับ rack หรือ lag กับ lack จะกลายเป็นว่ามันอ่านเหมือนกัน
ไอ้นี่ก็อีกปัญหานึง
ทำไม Microsoft กับ Software มัน Soft เหมือนกัน แต่ถอดมาเป็น ซอฟท์ กับ ซอฟต์???
จริงๆ แล้วเสียงไหนก็ได้ครับ
ในภาษาอังกฤษ การที่บรรดา plosive ท้ายคำ มี aspiration หรือไม่มี
ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปครับ
คุณอ่าน แร็ก-แร็ค/แล็ก-แล็ค ไม่เหมือนกัน
เพราะคุณคิดว่าเสียง /ก/ corresponds กับ /g/
และเสียง /ค/ corresponds กับ /k/
ซึ่งผิดครับ
ทั้งเสียง /ก/ และเสียง /ค/ corresponds กับ /k/ ครับ
(voiceless velar plosive)
เราควรทับศัพท์ rack ด้วย แร็ก เพราะ /k/ corresponds กับ /ก/
เราควรทับศัพท์ rag ด้วย แร็ก เพราะ /g/ ใกล้เคียงกับ /ก/
คุณเองก็เคยโพสต์ว่า
+1 informative
เสียง T ออกเต็มเสียงหรือเสียงเน้น (ต.เต่า) กรณีเดียวเท่านั้นคือตามหลังตัวอักษร S ครับ
เช่น Stop, Stand by
กรณีนี้ใช้ได้กับตัวอักษร P ด้วยครับ
เมื่อตามหลังตัวอักษรอื่นจะออกครึ่งเดียวหรือเสียงปรกติ คือเสียง ท.ทหาร
กฏข้อนี้ “เสมอ” ไม่ใช่เฉพาะบางกรณีครับ
การเขียนทับศัพท์เพื่อให้ถูกตามเสียงอ่านในภาษาอังกฤษจึงควรเขียนว่า ซอฟท์แวร์ เท่านั้นครับ
มันมีกฏบังคับอยู่แล้วอย่าบอกว่าผมเลือกอย่างโน้นอย่างนี้กันเลยนะครับ
ตัว t ออกเสียงเป็น /ต/ (unaspirated /t/) กรณีอื่นก็ได้ครับ
กรณีอื่นที่ว่า คือเวลาอยู่ตำแหน่งท้ายครับ
(optionally aspirated = ผู้พูดอาจเลือกไม่ aspirate)
เปิดหนังสือเกี่ยวกับสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษเช็คคำพูดผมได้เลยครับ
หรือในวิกิพีเดียก็ได้ครับ
ตัว p, k ก็เช่นเดียวกันครับ
ยอมรับว่าผมหาไม่เจอครับ ที่ว่า ภาษาอังกฤษมีตัวสัญลักษณ์ออกเสียง แยก Aspirated/Unaspirated
แต่ว่า ผมก็หาไม่เจอเหมือนกัน ว่ามีใครบอกไว้ ว่าภาษาอังกฤษให้เลือก Aspirated หรือ Unaspirated ได้ตามใจผู้พูด
ผมเข้าใจว่าภาษาอังกฤษก็มีกฏการ Aspirate ของมัน ยกเว้นบางคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นเท่านั้น
มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงมั้ยครับ??? ว่าภาษาอังกฤษไม่สนใจการ Aspirated/Unaspirated ของตัว t p k
ไม่งั้น คำว่า Back อ่านไม่ออกเสียง /ค/ คนอังกฤษก็คงไม่เข้าใจผิดว่าเป็นถุง???
Cup ไม่ออกเสียง /พ/ คนอังกฤษก็คงไม่เข้าใจผิดว่าเป็นลูกหมา???
"Word-final voiceless stops optionally aspirate."
[Wikipedia: Aspiration (phonetics)](http://en.wikipedia.org/wiki/Aspiration_(phonetics))
สนใจนะครับ เวลา t, p, k อยู่ตำแหน่งต้นครับ
แหล่งอ้างอิง ถ้าไม่เชื่อในวิกิพีเดีย
หาได้ตามหนังสือสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษทั่วไปครับ
ไม่เข้าใจผิดครับ สิ่งที่ช่วยให้ไม่เข้าใจผิด คือ
voicing (ทางฝั่ง lenis: /b/, /d/, /g/)
และ glottal reinforcement (ทางฝั่ง fortis: /t/, /p/, /k/) ครับ
เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมากครับ
ครับผม
ผมขอโทษด้วยครับ ถ้าที่ผ่านมาดู offensive ไปบ้างครับ
ผมคิดว่าทุกวงการก็มีคำศัพท์ที่ ตัวเองรู้จักดี และคิดว่าราชบัณฑิตบัญญัตินี่ยังไม่เหมาะสม ควรจะรวมๆมาแล้วยื่นไปเปลี่ยนเหมือนกันนะครับ
เรื่องยาวกว่าที่คิดไว้อีกวุ้ย - -"
ความรุ้สึกมันคล้ายๆแถวสนามบินอ่ะ - -"
ต่อจากความเห็น #73174 ที่ตอนนี้ที่ไม่พอครับ
มันเป็นคำที่มีเสียง ค (aspirated /k/) หรือ
มีเสียง ก (unaspirated /k/) ตามหลังครับ
ขึ้นอยู่กับผู้พูดครับ (optionally aspirate)
ทับศัพท์ด้วยตัวอักษร ก ก็ได้ครับ
เพราะเสียง ก ของเรา คือ unaspirated /k/ ครับ
เวลาออกเสียงคำว่า soft
ตัว t ที่อยู่ท้าย ออกเสียงเป็น ท (aspirated /t/)
หรือ ต (unaspirated /t/) ก็ได้ครับ
ขึ้นอยู่กับผู้พูดครับ (optionally aspirate)
ผมไม่ได้แสดงความเห็นเต็มที่นักในกระทู้นั้น ความเห็นของผมคือแยกประเด็นออกจากกันนะครับ
ควร สะกดอย่างไร
จะ สะกดอย่างไร
ประเด็นแรก ถ้าพูดถึงเสียงที่ใกล้เคียงที่สุดก็คงเป็น "ซอฟท์แวร์" อันนี้ผมเองก็เห็นด้วย
ประเด็นที่สอง ถามว่าผมจะสะกดอย่างไร ผมสะกด "ซอฟต์แวร์" ตามมาตรฐานกลางที่ได้กำหนดไว้ แม้มาตรฐานจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่การใช้คำให้ตรงกัน ก็จะทำให้สืบค้นได้สะดวก โปรแกรมตัดคำไม่ต้องทำงานซับซ้อนเกินจำเป็น เวลาอ่านข้อความ ก็อ่านได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีสะดุด เพราะสมองคนเรา เวลาอ่านจะดูรูปร่างของคำมากกว่าเพ่งที่ตัวสะกดเป็นตัว ๆ
ผมเข้าใจว่าการเสนอหลักการทับศัพท์แบบใหม่นี้ คงไม่ใช่เปลี่ยนแค่คำเดียว แต่เป็นการเปลี่ยนหลักการทับศัพท์ทั้งหมด และจะมีผลต่อตัวสะกดของคำอีกหลายคำ การอ่าน การสืบค้น การตัดคำ และอะไรอีกหลาย ๆ อย่าง จะต้องปรับเปลี่ยนหมด รวมทั้งต้องรองรับแบบเดิมไปพร้อมกันด้วย เพื่อให้ใช้งานเอกสารเดิมที่มีอยู่ได้
อันนี้คงไม่ว่าผมนะ ที่ใช้เหตุผลเชิงเทคนิคปนเข้ามาด้วยกับเหตุผลของมนุษย์ เพราะถามความเห็นแบบ "คนไอที" นิ
ก็เป็นเหตุผลที่ดีครับ เพื่อความคอมแพติเบิลกับมาตรฐานเก่าๆ
ให้คนอื่นใช้เป็นน้ำหนักตัดสินใจ
แต่คิดว่าก็คงไม่ต่างกับ มุข/มุก ตลก น่ะครับ
ต่างครับ กรณีนั้นมีผลเป็นรายคำ ซึ่งผู้อ่านจะรับรู้แล้วปรับความคุ้นเคยเป็นคำ ๆ ได้ แต่กรณีการเปลี่ยนหลักการทับศัพท์นี่ จะมีผลกับหลายคำ โดยไม่มีขอบเขตแน่นอนว่ากี่คำ
รู้สึกทะแม่ง ๆ กับการสรุปนี้ บอกไม่ถูกเหมือนกัน รู้สึกว่าไม่ใช่นะครับ
มันคือการเลือกมาตรฐานเดียวให้ตรงกันมากกว่า ซึ่งมาตรฐานปัจจุบันคือ "ซอฟต์แวร์" ที่ใช้อยู่นี้ การเพิ่มรูปแบบอีกจะทำให้เพิ่มความซับซ้อน ไม่ว่าจะกับมนุษย์หรือกับโปรแกรม
ทั้ง ซอฟต์แวร์ และ ซอฟท์แวร์ มีความเท่าเทียมกัน
ในแง่ของความใกล้เคียงครับ
ในภาษาไทยต้องออกเสียงเหมือนกันทุกอย่างครับ
+1
ผมชอบมาตรฐานกลาง แม้มันจะไม่ถูกต้อง 100% แต่ก็ชอบครับ อิอิ
คำว่า ขึ้นอยู่กับผู้พูด เนี่ย ผมว่าไม่จริงครับ หลักการออกเเสียงภาษาอังกฤษ ต้องออกให้ชัดครับ ไม่งั้นมันจะกลายเป็นคนละคำ
ถ้า lack ออกเสียงแบบ unaspirated /k/ มันก็กลายเป็น lag สิครับ
optional aspiration ของ voiceless stop ท้ายคำ เป็นเรื่องจริงครับ
การมีหรือไม่มี aspiration ไม่ทำให้กลายเป็นคนละคำครับ
ถ้า lack ออกเสียงแบบ unaspirated /k/ ก็ยังเป็น
/lak/ เหมือนเดิม ไม่ใช่ /lag/ ครับ
ช่วยยกตัวอย่างคำที่ออกเสียงแบบ unaspirated /k/ ซักคำได้มั้ยครับ
ผมไปเจอ k เป็นตัวสะกดที่ไหน เวลากดเสียงอ่าน ออกเป็น aspirated /k/ ทุกตัวครับ
คำในภาษาอังกฤษทุกคำ ที่ลงท้ายด้วย /k/
ผู้พูดเป็นผู้เลือกครับ ว่าจะ aspirate หรือไม่
ไม่ได้กำหนดไว้ตายตัว phonetically ครับ
/g/ กับ /k/ ไม่ได้ต่างกันที่ unaspirated/aspirated นะครับ
ถ้าแบบนั้นเราควรเขียน Suwannapoom แทน Suvarnabhumi (สุวรรณภูมิ) ดีไหม? หรือ Thammachart แทน Dhammajati (ธรรมชาติ)? รวมไปถึง Buddhadasa Bhikkhu (พุทธทาสภิกขุ) หรือ Asoke (อโศก) ที่ฝรั่งอ่านไม่ถูก แม้แต่คนไทยก็ยังต้องเดา
เราไม่สามารถใช้ มุข หรือ ซอฟท์แวร์ ตามที่เรา "เห็นว่า" ถูกต้องได้ การอยู่ร่วมกันในสังคมต้องให้เกียรติและต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ดังนั้นจึงไม่อาจเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ แต่ควรยอมรับและยึดตามกฎกติกาที่สังคมได้บัญญัติไว้ (โดยผู้ที่มีความรู้ -- ราชบัณฑิตฯ คงไม่คัดคนเข้าทำงานโดยการจับฉลาก) ถ้ายังดื้อดึงยึดเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่โดยไม่สนใจกฎกติกาของสังคม การประท้วงปิดถนน ปิดสนามบิน จนละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ
เกิดใครชอบขับรถฝ่าไฟแดง แล้วให้เหตุผลว่า "ก็ผมไม่ค่อยเชื่อกฎจราจรสักเท่าไหร่" ... คงแนวดีพิลึก
สาบานได้ว่าผมพูดเรื่องเดียวกับ จขกท.
คำทับศัพท์ อังกฤษ->ไทย กับ ไทย->อังกฤษ มันคนละเรื่องเดียวกันครับ อักษรไทยมีเสียงที่ครอบคลุมมากกว่าอังกฤษครับ
เพราะการันต์ตัวเดียว...
พระเจ้าช่วย...
อนึ่ง
/ก/ กับ /ค/ ซึ่งเป็นคนละ phoneme ในภาษาไทยนั้น
แม้จะเป็น phoneme เดียวกันในภาษาอังกฤษ
แต่ภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษาก็แยกแยะเหมือนภาษาไทยครับ
เช่น ภาษาไอซ์แลนด์ และภาษาเกาหลีครับ
โอ้ นอกจากซอฟต์แวร์เถื่อนจะเป็นประเด็นร้อนแล้ว "ซอฟต์แวร์" ก็เป็นประเด็นร้อนได้ 555
ส่วนตัว ผมคิดว่าเขียนยังไงก็ไม่ต่างกันแหละที่ไหนอยากให้เขียนแบบไหนก็เขียนได้ และจริงๆ อยากเขียน software เป็นภาษาอังกฤษเลยมากกว่าเสียด้วยซ้ำ (แต่เกรงว่าเดี๋ยวจะกลายเป็นไทยคำอังกฤษคำ)
ป.ล.
ต้องเป็น ราชบัณฑิตยสถาน นะครับ ^^"
อาจารย์ป.โทที่จุฬาเล่าให้ฟังว่าเค้ากำลังจะบัญญัติศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ในพจนานุกรมใหม่ครับ คือของเดิมมันไม่สื่อเลย แล้วก็ไม่มีใครใช้ คิดว่าจะใช้เป็นคำทับศัพท์ไปเลย และจะได้เขียนเหมือนกันทั้งประเทศ หรือออกในหนังสือราชการได้
เช่น ซอฟท์แวร์ : )
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ซอฟต์แวร์ = ซอฟท์แวร์ ถูกผิดอยู่ที่จำนวน
ผมว่าภาษาทุกภาษามันมีทั้งเขียนถูกและเขียนถูกคือถูกทั้งสอง เช่นในภาษาอังกฤษคำว่า center กับ centre มันก็แปลว่าศุนย์กลาง เราเอาภาษาคนอื่นมาใช้ถูกบ้างไม่ถูกบ้างก็เป็นธรรมดา แต่ขอให้สื่อกันเข้าใจก็พอ ส่วนการใช้ทางราชการผมว่าไม่มีใครใช้คำได้ถูกจริงๆหรอกครับ เช่น อาจ กับ อาจจะ นวัตกรรม กับ นวัตกรรมใหม่ เป็นต้น หากวันนี้เราใช้ผิดวันหน้าก็ใช้ให้ถูกก็ดีแล้วครับ ภาษามีชีวิตครับมีการเปลี่ยนแปลงตลอดครับ
รู้สึก Center จะเป็นการเขียนแบบอังกฤษ และ Centre เป็นการเขียนแบบอเมริกัน น่ะครับ(หรือกลับกัน)
กลับกันครับ Centre เป็นแบบ British คำอื่นก็ เช่น theatre, litre, fibre
อ่าครับ (ปกติจำสับกันตลอดเลยแย่จัง (/- -))
เข้ามายืนยันนะครับ อเมริกันหลายคนก็อ่าน software เสียงลงท้าย [t] ใกล้กับ [ต] มากกว่า [ท] นะครับ ซึ่งคนอ่านแต่ละคนก็ออกเสียงไม่เหมือนกัน และไม่มีความต่างในความรู้สึกของเขา เช่นเดียวกับ water - [t] บางคนก็ออก [ท] บางคนก็ [ต]
ดังนั้นก็ไม่ควรจะเถียงกันว่าเสียงไหนถูกนะครับเหมือนที่คุณ Tiggs Boson ว่าไว้ เพราะมันไม่ต่าง (ถ้าได้คุยกับคนอเมริกันหลายๆคนจริงๆ) คนไทยหลายคนเข้าใจไปเองว่า [t] คือเสียง [ท] เพราะแค่คุ้นเคยมากกว่า
ปัญหาจริงของเรื่องนี้คงจะหาตัวไหนมาสะกดถ้าเสียงที่มีที่มาจากต้นแหล่งที่สามารถออกได้หลายเสียงมากกว่านะครับ โดยเรื่องการทับศัพท์มันไม่ใ่ช่ปัญหาแค่ว่า one-to-one แต่มันมักจะเป็น one-to-many (YouTube - ยูทูบ - ยูทิวบ์) many-to-one (blog - block, รูปแบบราชบัณฑิตฯให้สะกดแบบเดียวกัน บล็อก -_-") กับ many-to-many (software) มากกว่า
อย่างที่เห็นๆ กันว่าคนไทยหลายคนไม่เข้าใจเรื่องการทับศัพท์ และข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีก็เป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นไม่สนใจลองมาสร้างแหล่งความรู้เรื่องการทับศัพท์เป็นภาษาไทยบ้างหรือครับ ถ้าใครสนใจโครงการในวิกิพีเดียไทย ก็ดูได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/WP:Transcription
http://itshee.exteen.com/ -- Can you upgrade Vista to XP Pro?
เข้ามายืนยันว่า อเมริกันหลายคนก็อ่าน Software ใกล้กับ ท มากกว่า ต ครับ
มิได้กวนบาทาครับ แค่พิสูจน์มาแล้วโดยให้เจ้านายฝรั่งหลายคนลองพูดแล้วฟัง
คิดว่าหูผมไม่ฝาดนะครับว่า "ซอฟ ฟึ ทึ แว" ไม่ใช่ "ซอฟ ฟึ ตึ แว"
ซ้อบ-แว ไทยแท้ๆ
เพราะภาษาไทยไม่ออกเสียงตัวที่มีการันต์อยู่ด้านบน
จะเขียน ซอฟธ์แวร์ ซอฟต์แวร์ หรือ ซอฟท์แวร์ ก็อ่าน ซ้อบแว เหมือนกัน
แต่ผมว่า ซอฟท์แวร์ ดูดีสุด
ผมเคยชินกับ ซอฟต์แวร์ ไปซะแล้วครับ
สำหรับผมจะ ซอฟท์แวร์ หรือ ซอฟต์แวร์ ก็ได้
แต่ผมสงสัยนิดนึง ถ้าตัว ท์/ต์ แทนเสียง "เถอะ" ที่แอบตามหลังคำว่า Soft
ทำไมเค้าไม่ใช้ ซอฟถ์ ครับ ผมแค่สงสัยเฉย ๆ นะ
"ต์" ตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถานไม่ได้แทน "เสียง" แต่แทน "ตัวอักษร" (T) ครับ ดังนั้นไม่ว่าจะออกเสียงอย่างไร ก็ใช้การทับศัพท์แบบเดียวกัน
LinkedIn
นี่เป็น หลักฐาน ว่า ภาษาไทย นั้นยังไม่ตาย และเปลี่ยนแปลงได้ ครับ ขอให้คิดเลยว่า วันนึงเมื่อกาลก่อน สิ่งที่อยู่ใน ราชบัณฑิต นั้นได้รับการยอมรับกันว่า ถูกต้อง
ดังนั้นหากวันนี้คุณเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง ตามปัจจุบันสมัย คุณควรจะส่งเรื่องให้ ราชบัณฑิต พิจารณา เพื่อเปลี่ยนแปลง ต่อไป
ไม่ควรเปลี่ยนแปลง ด้วยหลักการ ของตัวเอง คิดเอาเอง เพราะทุกคนย่อมมีหลักการของตัวเอง ซึ่งมันคงจะมั่วเอามากๆ ลองไปคิดดูเองเถอะครับ
Software = ซอฟต์แวร์
microsoft = ไมโครซอฟท์
แล้วมันเป็น soft ที่ต่างกันอย่างไรไม่ทราบ(ครับ)
ราชบัณฑิตเองก็ผิดได้ ผมชอบ ท์ มากกว่าตรงตามการออกเสียงครับ
ปล.ถ้าภาษาไทยโบราณแบบที่เคยเขียนเหมือนภาษาลาวปัจจุบัน คงเขียนว่า "ซอบแว" มั้งครับ
งั้นต้องกลับไปยุคจอมพลอะไรซักอย่าง(ป.ป่ะ?)
ซ้อบแว
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ไมโครซอฟท์เป็นชื่อเฉพาะครับ เขาจดทะเบียนอย่างนั้นก็ได้อย่างนั้น ถ้าคนจดทะเบียน จดเป็น ไมโครซอฟ ก็ทำได้อยู่ดีล่ะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ภาษาลาวเขียนแบบนี้ครับ
ຊອຟຕ໌ແວຣ໌
เหมือนว่าอ่านได้เป็น ซอฟต์แวร์ 555+
もういい
ผมก็ไม่ค่อยเชื่อมาตรฐานของราชบัณฑิตเหมือนกันครับ บางทีก็คิดเองเออเอง บางคำประกาศออกมาแล้วใช้ไปหลายปีแล้วมาบอกว่ามันผิด มันค้านกับความรู้สึก เช่น
สมชาย "จรด" ปลายเท้า หรือ สมชาย "จด" ปลายเท้า
หรือ
"รสชาด" ใช้กันมานานแสนนานแล้วมาแก้เป็น "รสชาติ"
"เท่" <--> "เท่ห์"
ไม่รู้เปลี่ยนอะไรกันอีก
ในเมื่อเราไม่มีอะไรที่จะไปค้านตรงนั้นได้ก็ก้มหน้ายอมรับไป
แต่ผมก็ยังใช้คำในสไตล์ของผมเหมือนเดิม ถึงแม้จะบอกว่ามันผิด
ทำไม Microsoft กับ Software มัน Soft เหมือนกัน แต่ถอดมาเป็น ซอฟท์ กับ ซอฟต์??? คำตอบ คือ ไมโครซอฟท์ เป็นชื่อเฉพาะ ไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์การทับศัพท์
"รสชาด" ใช้กันมานานแสนนานแล้วมาแก้เป็น "รสชาติ" (ปกติ ก็เห็นแต่รสชาติิ มาตลอด เพราะชาด แปลว่า แดง)
ผมล่ะอยากใ่ส่อารมณ์ลงในคำหนึ่งคำได้มากกว่านี้
ซ้อพแวร์~ รู้สึกมันเบาหวิว ลอยๆ
เหมือนกับภาษาวิบัติิที่หลายคนพบเจอในตอนนี้
หลายคำทับศัพท์ หลายคำทับเสียง หลายคนเลียนเสียง
แต่มันก็ควรมีหลักสักอย่างหนึ่งเวลาเมื่อมีคำใหม่เกิดมา
เพื่อเป็นหลักให้ยึดไว้เขียนคำใหม่ๆ และเข้าใจโดยทั่วกัน
มิใช่ว่า รู้สึก ไปเองและก็ไปแก้เอง
แต่ก็ใช่ว่าจะเขียนหลักสักสิบข้อเพื่อคำๆเดียว ก็มีตายล่ะครับ
คิดมากจะปวดหัวครับ
ผมเขียน blog ที่อื่นจะใช้ ซอฟท์แวร์ (ความชอบส่วนตัว ไม่อิงที่ไหน) หรือไม่ก็ software ไปเลย
แต่ถ้าเขียนข่าวที่ Blognone ผมจะเขียนตาม Blognone Glossary ครับ
ง่ายๆ แค่นี้ครับ ไม่ยุ่งยาก (สำหรับผม) ดี :)
เถียงกันมาตั้งแต่ ปี 2008 เลยแฮะ
คำว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์
もういい