เราได้รู้จัก Roadrunner กับ Jaguar ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สองระบบที่มีพลังประมวลผลระดับเพตาฟลอป (PetaFLOPS) ไปแล้ว [ข่าวเก่า] สำหรับข่าวนี้ ผมขอนำเสนอโครงการใหญ่ของไอบีเอ็ม ที่กำลังพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีกระบบในนามว่า Blue Waters โดยในขณะที่ Roadrunner แชมป์ปัจจุบันมีพลังประมวลผลอยู่ที่ 1.1 เพตาฟลอป ทางไอบีเอ็มตั้งเป้าไว้ว่าจะทำให้ Blue Waters ประมวลผลได้เร็วกว่า Roadrunner อีกหลายเท่า
ขอเล่าข่าวเก่าของปี พ.ศ. 2549 ไอบีเอ็มเคยเซ็นสัญญากับ DARPA หน่วยงานวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลังเพตาฟลอป * โดยไอบีเอ็มประกาศว่าจะใช้โปรเซสเซอร์ POWER7 สำหรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบบนี้ ซึ่ง POWER7 เป็นโปรเซสเซอร์แบบ 8 คอร์ พร้อมด้วยความเร็วสัญญาณนาฬิกา 4 กิกะเฮิร์ต หลังจากนั้น ไอบีเอ็มเปิดเผยชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบบนี้ โดยให้ชื่อว่า Blue Waters และทางทีมงาน The Register เคยคำนวณแล้วว่า Blue Waters จะประมวลผลได้เร็วถึง 10 เพตาฟลอป **
แต่เนื่องด้วยอุปสรรคในการออกแบบศูนย์ข้อมูลสำหรับ Blue Waters โดยเฉพาะปัญหาการใช้พลังงานไฟฟ้าและการปล่อยความร้อนที่มากเกินไป ทางทีมพัฒนาจึงต้องลดเสปคของ Blue Waters และเปิดเผยข้อมูลล่าสุดว่า Blue Waters จะใช้โปรเซสเซอร์ POWER7 ประมาณ 200,000 หน่วย มีหน่วยความจำหลักประมาณ 1 เพตาไบต์ พร้อมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำหรับผู้ใช้ของระบบกว่า 10 เพตาไบต์ และพื้นที่บันทึกข้อมูลอื่นๆอีกกว่า 500 เพตาไบต์ (หรือ 0.5 Exabyte) ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2554
ทีมข่าวของ The Register ได้คำนวณหาประสิทธิภาพของ Blue Waters อิงตามเสปคล่าสุด ว่าจะมีพลังประมวลผลอยู่ที่ 6.8 เพตาฟลอป ถ้าหากอีก 3 ปีข้างหน้านี้ Roadrunner กับ Jaguar ไม่ได้มีการปรับปรุงระบบมากนัก เราคงจะได้ยินข่าวในอีก 3 ปีข้างหน้าว่า Blue Waters เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก ยกเว้นว่าจะมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบบอื่นที่เร็วกว่านี้อีก (ใครทราบช่วยเปิดเผยข้อมูลทีครับ) ณ ตอนนี้ คู่แข่งรายสำคัญของ Roadrunner คือ Jaguar จากบริษัทเครย์ (Cray) ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมากที่เครย์จะปล่อย Jaguar ตัวใหม่ที่เร็วกว่า Roadrunner แต่จะเร็วมากจนกระทั่งเทียบชั้น Blue Waters ได้หรือเปล่า เครย์ยังมีเวลาอีก 3 ปีเพื่อพิสูจน์ตัวเองครับ
ที่มา - The Register สำหรับเสปคของ Blue Waters ผมอ้างอิงมาจากเอกสารแบบร่างที่ NCSA ซึ่งเป็นองค์กรที่ร่วมออกแบบ Blue Waters
* ข่าวในปี พ.ศ. 2549 ของ The Register รายงานว่า นอกจากไอบีเอ็มที่ได้งบประมาณถึง 244 ล้านเหรียญจาก DARPA แล้ว ยังมีเครย์ที่ได้งบจาก DARPA ไปถึง 250 ล้านเหรียญเพื่อพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับเพตาฟลอปอีกระบบ นอกจากนี้แล้ว จริงๆยังมี ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ที่เคยได้เข้าชิงงบประมาณพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์จาก DARPA ด้วยเช่นกัน แต่ท้ายที่สุดก็สอบตก เหลือเพียงผู้ชนะสองรายคือ ไอบีเอ็มกับเครย์เท่านั้น
** เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา The Register เคยให้ข้อมูลว่า POWER7 นั้นมี 16 คอร์ และรันได้ 64 เทรดพร้อมๆกัน (หรือ 4 เทรดต่อคอร์) แต่ข้อมูลล่าสุด ได้รับการยืนยันจากไอบีเอ็มแล้วว่า POWER7 จะมีเพียง 8 คอร์
Comments
จะเร็วไปไหน o_O" เอามาเล่น Solitaire คงสนุกพิลึก ;P
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
ก่อนหน้านี้ผมเคยคิดว่า พวกซูเปอร์คอมพิวเตอร์สมัยใหม่มันแข่งกันแรงก็เพื่อชิงดีชิงเด่นใน TOP500 ครับ แต่มันก็คงไม่ได้ทุ่มเงินหลายร้อยหลายพันล้านเพื่อการณ์นี้ (แม้จะมีอยู่ลึกๆก็ตาม)
ถ้าผมมีเวลาว่าง ผมคงได้มีบทความสรุปให้กันฟังว่า ทำไมเรายังต้องการพระเอกในนามว่า "ซูเปอร์คอมพิวเตอร์" อยู่ ทั้งๆที่มีโปรเซสเซอร์หลายคอร์ และยังมีเบลดเซิร์ฟเวอร์ที่ยัดโปรเซอร์ได้หลายร้อยหลายพันคอร์ในตู้มาตรฐานหนึ่งตู้ คำตอบคร่าวๆคือ มีงานบางงานที่เราต้องการพลังในการประมวลผลที่เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ้เพราะงานเหล่านั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษยชาติ รวมถึงการปกป้องรักษาโลกใบนี้ให้คงอยู่ยืนยาว ลองดูตัวอย่างประเภทของงานส่วนหนึ่งที่ประมวลผลบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ TOP500
"พลังที่ยิ่งใหญ่ ย่อมมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่" นั่นแหละครับ คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ส่วนมากก็ยังอยู่ที่ Research แฮะ
แต่ก็ไม่แปลกเพราะส่วนใหญ่จำลอง model นี่นานทีเดียว
___________pawinpawin
ใช่ครับ ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยครับ แม้กระทั่งเอาไปใช้ในธุรกิจก็เป็นงานวิจัยและพัฒนาหรือ R&D ครับ แต่ก็เป็นงานวิจัยและพัฒนาที่เกิดผลมาแล้วมากมายครับ
ใช่แล้วครับ งานจำลอง Model งาน Simulation งานพวกค้นหาอะไรบางอย่าง ใช้พลังประมวลผลมหาศาลทีเดียวครับ บางงานรันมาหลายปีแล้วยังไม่เสร็จเลย แต่เขาก็ยังต้องรันต่อไป พร้อมกับอัพเกรดระบบให้รันได้เร็วขึ้นไปอีก
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
โห มีรันทิ้งกันหลายปีด้วยเหรอครับ ผมเคยรู้มาว่ารันแค่สองสามอาทิตย์ หรือหลักเดือนก็นานมากโขแล้ว (รู้จากในหนัง) เค้าคำนวณอะไรกันครับรันนานขนาดนั้น
ผมใช้คำว่า "ประมวลผลเป็นปีก็ยังไม่เสร็จ" จริงๆมันก็ไม่ถูกน่ะครับ ต้องบอกว่าเป็นการประมวลผลงานที่มีจำนวนของข้อมูลมหาศาล หรือมีจำนวนมาก จนไม่อาจจะประเมินจำนวนของข้อมูลได้ว่าต้องจบที่ตรงไหน ซึ่งข้อมูล 1 ชิ้น อาจจะเวลาคำนวณเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ แต่ว่าเมื่อคำนวณข้อมูล 1 ชิ้นเสร็จแล้ว ข้อมูลอาจจะให้คำตอบที่ีไม่ต้องการ หรือเมื่อได้ผลลัพธ์แล้ว ต้องเอาผลนี้ไปทดลองจริง และเมื่อทดลองจริง พบว่าข้อมูลนี้ให้ผลที่ไม่พึงพอใจ จึงต้องดำเนินการค้นหาผลลัพธ์ต่อไป ทั้งนี้ ในขณะที่ทดลองจริง ก็ยังมีการประมวลผลข้อมูลตัวอื่นไปเรื่อยๆ
ข้อมูลบางอย่าง เป็นข้อมูลแบบสด อาทิเช่นรับข้อมูลจาก remote sensor และดาวเทียม เป็นต้น ข้อมูลพวกนี้ มีจำนวนมาก (แทบ) ไม่มีวันหมดสิ้น ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ต้องประมวลผลตลอดเวลา (แทบ) ไม่เคยปิดเครื่องเลย
ยกตัวอย่างงานเหล่านี้ เช่น พยากรณ์ภัยพิบัติ, จำลองเพื่อค้นหาวิธีการป้องกันภัยพิบัติ, ค้นหาหรือออกแบบยา, ค้นหาสูตรเคมีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์บางอย่าง (เช่น ตัวถังรถ/เครื่องบิน/ยานอวกาศ, กระจก, เครื่องสำอาง, ...) เป็นต้น
งานหลายตัวทีเดียวเป็นงานแบบ "ค้นหา" แต่แค่คำว่าค้นหา มันมีข้อมูลมหาศาล ประเมินระยะเวลาหรือจำนวนข้อมูลไม่ได้ว่าต้องเสร็จสิ้นเมื่อไหร่ กล่าวคือ เจอผลลัพธ์ที่ประทับใจกันมากที่สุดเมื่อไหร่ ก็ถือว่างานนั้นสิ้นสุดเมื่อนั้นครับ
มีงานบางประเภทที่มีผลลัพธ์เดียว (หรือกลุ่มเดียว) แต่ใช้เวลาประมวลผลนานมากๆ แต่เมื่อเวลาประมวลผลผ่านไปเป็นเดือนเป็นปี จนกระทั่งเขาต้องหยุดการประมวผลเพราะพบว่า ใช้เวลานานมากจนไม่คุ้มค่า เช่น เอางานอื่นมาทำอาจจะคุ้มกว่า เป็นต้น หรือนานมากจนเป็นที่พอใจ (เอ๊ะ มีด้วยเหรอ) งานแบบนี้ อาทิ เช่น งานที่ต้องการพิสูจน์ว่า ประมวลผลงานนี้แล้วจะใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า T ดังนั้น ถ้าหากว่าประมวลผลเกินเวลา T ไปแล้ว เขาก็ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ เป็นต้น เช่น ประมวลผลการถอดรหัสข้อมูลบางชนิด โดยเฉพาะเป็นการเข้า/ถอดรหัสสำหรับทางทหาร
ลองเข้าไปดู RSA Factoring Challenge เป็นแค่ปัญหาการถอดตัวประกอบ n = pq ( p <> q และ p กับ q เป็นจำนวนเฉพาะ) เขาให้ p มา แล้วให้เราหา q ใครหาได้เป็นคนแรก ก็ได้มีชื่อ หรือได้ทั้งชื่อและได้เงินรางวัล
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มเคยทดสอบ (ผมหาแหล่งอ้างอิงยังไม่เจอนะครับ ว่าเป็นของไอบีเอ็ม ไม่เชื่อข้อมูลตรงนี้ก็ได้ แต่ผมเคยอ่านเจอมาเมื่อหลายปีก่อนใน textbook เล่มหนึ่ง) ระบบนี้ประมวลผลงานประเภท Cryptanalysis ในส่วน code breaker และ hash collision อยู่หลายตัว หลายตัวถูกจมตี (attack) หรือกล่าวแบบชาวบ้านคือ hack ได้แล้ว เช่น MD5 และ DES เป็นต้น แต่ก็มีหลายปัญหาที่ยังโจมตีไม่สำเร็จ
มีตัวอย่างหนึ่ง เช่น RSA-200 ประมวลผลบนคลัสเตอร์ 80 คอร์ เขาใช้เวลาแก้ปัญหาตั้งแต่ปี 2003 - 2005 อ้างอิง คลัสเตอร์ตัวนี้นับว่าเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในสมัยนั้นได้ แต่ไม่ติด TOP500
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ เก่งจัง ^^
ขอบคุณครับ ^_^
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
งาน simulation ทางควอนตัมใช้พลังการประมวลผลแบบที่อาจจะคาดไม่ถึงกันนะครับ
big blue อะไรก็ blue ไปหมด อิอิ
แต่ IBM Redbooks ไม่ได้ blue นะครับ ^_^
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ไว้ชนะที่หนึ่งแล้ว คงออกหนังสือ The Secret of Blue Waters
ออกอะนิเมะไปเล๊ย :P
เอ ถ้างั้นคนที่ใช้ได้ก็ต้องเป็นชาวแอตแลนติสเท่านั้นสิ คิดถึงอานิเมะเรื่องนี้จัง! \(@^_^@)/ M R T O M Y U M
ดู Atlantis ของดิสนี่ย์ไปก่อน
Oakyman.com
คราวนี้จะไปเจอชาวแอนเชี่ยนหรือแอสการ์ดดีล่ะ
เครื่องนี้ต้องใช้ Nautilus เป็น file manager ด้วย โดนบังคับ
คนเขียนถ้าไม่ได้ชื่อ Jean หรือ Nadia ไม่อ่าน ;p
งาน finance กิน % ไปเยอะแหะ
คำนวนอะไรกันเนี่ย หรือพวก bank จำลอง model เศรษฐกิจไว้ forecast ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนไรพวกนั้น??
เอาไปใช้ถอดรหัสต่างๆ ก็ได้ (พูดง่ายๆ ก็ hack นั่นแหละ) พวกเข้ารหัส 128bit, 256bit ที่ว่าถอดรหัสกันเป็นชาติ เจอ super computer เข้าไปก็ใช้เวลาแค่ไม่กี่วัน หรืออาจจะไม่กี่ชั่วโมง
ปล. กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ...