มาเลเซียออกใบอนุญาต WeChat และ TikTok ให้บริการโซเชียลมีเดียในประเทศ ซึ่งเป็นสองบริษัทแรกที่ได้ใบอนุญาต หลังกฎหมายเริ่มมีผลปีนี้ ระบุว่าผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และรับส่งข้อความ ที่มีผู้ใช้งานในมาเลเซียมากกว่า 8 ล้านคน ต้องมีใบอนุญาตจากรัฐบาล มิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย
หน่วยงานดูแลการสื่อสารและสื่อของมาเลเซียยังเปิดเผยว่า Telegram และ Meta Platforms ซึ่งเป็นเจ้าของ Facebook, Instagram และ WhatsApp ก็เริ่มดำเนินการขอใบอนุญาตแล้ว ส่วน X และ YouTube ยังไม่ได้มาขอใบอนุญาต โดย X ให้เหตุผลว่าแพลตฟอร์มมีคนใช้งานในมาเลเซียไม่ถึง 8 ล้านคน ขณะที่ YouTube มองว่าแพลตฟอร์มวิดีโอของตนไม่เข้าเงื่อนไขตามกฎหมายนี้ แม้หน่วยงานกำกับดูแลจะยืนยันว่าเข้าเกณฑ์ก็ตาม
Alibaba ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในจีนเผยว่า Taobao และ Tmall แพลตฟอร์มร้านค้าของบริษัท จะรองรับการจ่ายเงินผ่าน WeChat Pay เป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพราะที่ผ่านมา Alibaba ไม่ได้รองรับ WeChat Pay ในการจ่ายเงิน เนื่องจากต้องการผลักดัน Alipay ที่เป็นแพลตฟอร์มพันธมิตร
อย่างไรก็ตามยังไม่มีกำหนดอย่างเป็นทางการว่า WeChat Pay จะเปิดให้ใช้งานบนแพลตฟอร์มเมื่อใด
ตัวแทนของ Alibaba บอกว่าการรองรับ WeChat Pay เป็นไปตามแนวทางสร้างระบบเปิดกว้างให้กับพาร์ตเนอร์ และเพิ่มประสบการณ์ช้อปปิ้งที่สะดวกให้กับลูกค้าทุกคน ปัจจุบัน WeChat มีผู้ใช้งานรวมทั่วโลก 1.3 พันล้านบัญชี ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน
Bloomberg รายงานว่า Tencent กำลังเจรจาและใกล้บรรลุผลกับ Huawei ในการไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม เช่น in-app purchase ของ WeChat จากการให้บริการบน HarmonyOS
การเจรจานี้กำลังคู่ขนานไปกับการพิจารณาของ Huawei ที่จะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมบนแพลตฟอร์มตัวเอง 20% (Apple, Google เก็บที่ 30% โดยพื้นฐาน) ขณะที่สิ่งที่ WeChat จะให้ตอบแทน คือการอัพเดตและพัฒนาแพลตฟอร์ม WeChat บน HarmonyOS ให้อยู่ตลอด
อย่างไรก็ตาม ดีลนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ดังนั้นมีโอกาสล่มได้ตลอดเวลา
ที่มา: Bloomberg
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แคนาดาประกาศห้ามใช้แอปจาก Tencent และ Kaspersky บนอุปกรณ์ของรัฐบาลแคนาดา โดยอ้างว่าแอปดังกล่าว มีความเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยอยู่ในระดับที่แคนาดาไม่สามารถยอมรับไม่ได้
รัฐบาลแคนาดากล่าวว่า มุ่งมั่นที่จะรักษาข้อมูล และเครือข่ายของรัฐบาลให้ปลอดภัย พร้อมทั้งติดตามภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นเป็นประจำ และจะดำเนินการทันทีเพื่อจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้แอปพลิเคชัน WeChat และ Kaspersky ถูกลบออกจากอุปกรณ์มือถือที่รัฐบาลแคนาดาใช้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2023 เป็นต้นไป ผู้ใช้อุปกรณ์ของรัฐบาลแคนาดาจะถูกบล็อกไม่ให้ดาวน์โหลดแอปดังกล่าว
หลังจากที่ Apple เปิดร้านค้าทางการบน Tmall เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ล่าสุดเมื่อวันอังคาร Apple ประกาศเปิดตัวแอป Apple Store ใหม่ในรูปแบบ “มินิแอป” บน WeChat แอปรับส่งข้อความที่ได้รับความนิยมในจีน ให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าของ Apple เช่น iPhone, iPads และ Macs ได้
“มินิโปรแกรม” ดังกล่าวคือร้านค้าแอปที่ผู้ใช้สามารถซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้โดยตรงผ่าน WeChat ด้วยความสะดวกสบายของมินิโปรแกรมนี้ จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ในจีนใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อดำเนินธุรกิจ
ยูสเซอร์ Hackl0us ออกมาแฉแอป WeChat บน Weibo ระบุว่าแอปคอยสแกนแกลลอรีของผู้ใช้อยู่เรื่อยๆ ทุกสองสามชั่วโมงแม้ทำงานเป็นเบื้องหลัง โดยเขาค้นพบพฤติกรรมนี้ของแอป จากฟีเจอร์ Record App Activity บน iOS 15 ที่เพิ่งปล่อยบน iPhone เมื่อเดือนที่ผ่านมา
ตัวแทน WeChat ออกมาระบุว่าแอปคอยสแกนภาพของผู้ใช้เรื่อยๆ จริง แต่เป็นไปเพื่อหารูปภาพใหม่ที่เพิ่มเข้ามาและช่วยให้ผู้ใช้ส่งรูปภาพได้เร็วยิ่งขึ้น ยืนยันว่าแอปจะไม่เข้าถึง บันทึก หรืออัปโหลดรูปภาพของผู้ใช้หากไม่ได้รับอนุญาต และจะยกเลิกฟีเจอร์นี้ในเวอร์ชั่นหน้า
กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศจีน (MIIT) สั่งบริษัทเทคโนโลยีผู้ให้บริการแอปพลิเคชันและเว็บไซต์รายใหญ่ในจีนอย่าง Alibaba, Tencent ห้ามบล็อกลิงค์ของบริการคู่แข่ง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน แลละบอกด้วยว่าหากฝ่าฝืนจะต้องเผชิญกับผลที่ตามมา แต่ยังไม่บอกว่ามาตรการลงโทษคืออะไร
ทางการจีนสั่งให้ Tencent ผู้ให้บริการแอป WeChat หยุดรับสมัครผู้ใช้ใหม่โดยทันที โดยระบุว่าบริษัทต้องอัพเกรดความปลอดภัยให้ได้มาตรฐานรัฐบาลเสียก่อน
ตอนนี้ WeChat แจ้งผู้ใช้ว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนผู้ใช้ใหม่อีกครั้งภายในต้นเดือนสิงหาคม
บริการ WeChat นับเป็นบริการใหญ่ มีผู้ใช้ถึงพันล้านคน ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนเข้ามาควบคุมธุรกิจของ Tencent หลายอย่าง เช่น การเข้าซื้อบริษัทสตรีมเกม หรือการเซ็นสัญญาลิขสิทธิ์เพลง
Reuters รายงานว่ามีนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เป็น LGBT หลายรายพบว่าบัญชี WeChat ของตัวเองถูกลบ บางรายระบบแจ้งว่าทำผิดกฎเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต บางรายพบว่าเนื้อหาต่างๆ ของตัวเองถูกลบออกหมด ทาง WeChat ยังไม่ออกมาระบุชัดเจนว่าลบด้วยเหตุใด นอกเนื้อจากเรื้อหาผิดกฎ
จีนไม่เปิดกว้างเรื่องเพศมากนัก และยังไม่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม เนื้อหาเกี่ยวกับการรักร่วมเพศก็ถูกเซนเซอร์ตามแพลตฟอร์มโซเชียลอยู่เรื่อยๆ เช่น Weibo ครั้งหนึ่งเคยลบเนื้อหาเลสเบี้ยนออก แพลตฟอร์มชุมชนออนไลน์ Zhihu เซ็นเซอร์หัวข้อเกี่ยวกับเพศและอัตลักษณ์ เป็นต้น
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เซ็นคำสั่งประธานาธิบดี (Executive Order) ยกเลิกคำสั่งแบนแอพจีน WeChat, TikTok, Alipay, WeChat Pay, QQ, QQ Wallet, SHAREit, CamScanner, VMate, WPS Office ในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
คำสั่งเดิมที่ทรัมป์เซ็นไว้ในปี 2020 อ้างเหตุผลด้านความมั่นคงในการแบนแอพเหล่านี้ ส่วนคำสั่งใหม่ของไบเดน ยกเลิกวิธีการแบนของทรัมป์ แต่ยังเฝ้าระวังเรื่องความมั่นคงอยู่
ไบเดนมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐ หาวิธีประเมินความเสี่ยงที่ดีกว่าเดิม และต้องมีหลักฐานมาสนับสนุนการแบนแอพที่มีความเสี่ยงด้วย (เช่น เจ้าของแอพต้องมีความเชื่อมโยงกับกองทัพหรือหน่วยข่าวกรองต่างชาติ) โดยให้เวลาทำงาน 180 วันร่างแนวทางการประเมินความเสี่ยงกลับมาเสนอประธานาธิบดี
จากประเด็นอาลีบาบาโดนรัฐบาลจีนกดดันหนัก โดยเฉพาะประเด็นผูกขาดตลาด ล่าสุด Bloomberg รายงานว่าอาลีบาบายอมสร้างมินิแอปอีคอมเมิร์ซของตัวเองหรือ Taobao Deals แอปต่อรองราคาในแพลตฟอร์ม WeChat ของ Tencent ซึ่งเป็นคู่แข่งของอาลีบาบาโดยตรง และยอมให้ลูกค้าชำระเงินผ่านช่องทาง WeChat Pay ได้ เพื่อลดแรงเสียดทางผูกขาดตลาดอีคอมเมิร์ซ
ยักษ์ใหญ่วงการอินเทอร์เน็ตจีนเปิดศึกกันเอง เมื่อบริการวิดีโอสั้น Douyin (ชื่อจีนของ TikTok) ในเครือ ByteDance ยื่นฟ้อง Tencent ต่อศาลปักกิ่งในข้อหาผูกขาด
เหตุผลเป็นเพราะ Tencent ปิดกั้นไม่ให้ผู้ใช้ WeChat และ QQ สามารถแชร์เนื้อหาจาก Douyin ได้ ทำให้ ByteDance ยื่นฟ้องต่อศาลว่า Tencent ผูกขาด ขอให้ศาลสั่งห้ามการกระทำลักษณะนี้ และเรียกค่าเสียหาย 90 ล้านหยวน (ประมาณ 420 ล้านบาท)
ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China - PBOC) เตรียมเพิ่มมาตรการในกฎหมายต้านการผูกขาดสำหรับอุตสาหกรรมเพย์เมนต์จากบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank payment) อย่างเช่น Alipay หรือ WeChat Pay
ร่างกฎหมายใหม่นี้จะให้อำนาจ PBOC สามารถยื่นเรื่องและทำงานร่วมกันคณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดได้ง่ายขึ้น ในการจัดการบริษัทเอกชนที่ใช้อำนาจเหนือตลาด ซึ่งจะเข้าข่ายก็ต่อเมื่อบริษัทใดบริษัทหนึ่งมีส่วนแบ่งตลาดระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิค (ทังเว็บและโมบายล์) เกิน 1/3 หรือ 2 บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันเกินครึ่ง และจะเข้าข่ายผูกขาดเมื่อบริษัทเดียวมีส่วนแบ่งตลาดเกินครึ่ง
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีที่กำลังจะออกจากตำแหน่ง ลงนามคำสั่งแบนแอปพลิเคชั่นจากจีนเพิ่มอีก 8 แอป รวมถึงแอปจ่ายเงินตัวดังอย่าง Alipay, WeChat Pay นอกจากนี้ยังมี CamScanner, QQ Wallet, SHAREit, Tencent QQ, VMate และ WPS Office
ต่อเนื่องจากคำสั่งคุ้มครองของศาลแคลิฟอร์เนียห้ามรัฐบาลแบน WeChat ในสหรัฐเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งครั้งนั้นโจทก์คือกระทรวงพาณิชย์ ก่อนที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐจะยื่นอุทธรณ์เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ล่าสุดศาลอุทธรณ์ (the Ninth Circuit Court of Appeals) ปฏิเสธคำร้องของกระทรวงยุติธรรมแล้ว โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่า รัฐบาลได้รับผลกระทบหรือได้รับความเสียหายที่ร้ายแรงและแก้ไขไม่ได้
TikTok อาจอยู่รอดชั่วคราว ระหว่างรอรัฐบาลสหรัฐอนุมัติแผนการปรับโครงสร้างเจ้าของ ร่วมกับ Oracle และ Walmart แต่ในคำสั่งแบนของกระทรวงพาณิชย์ ยังมี WeChat อีกหนึ่งรายที่จะโดนแบนในวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน
ล่าสุดเมื่อคืนนี้ ศาลเขตแคลิฟอร์เนียมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคำร้องของกลุ่มผู้ใช้ WeChat เพื่อให้ WeChat ยังสามารถใช้งานในสหรัฐอเมริกาต่อไปได้ และไม่ถูกถอดจาก App Store หรือ Play Store จนกว่าคดีจะได้ข้อยุติ
แม้ Oracle จะออกมายืนยันการเป็นพาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยีกับ Bytedance แล้วรวมถึงมีรายงานเรื่องดีลและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำลังเจรจากับภาครัฐที่ออกมาเพื่อให้การเป็นพาร์ทเนอร์นั้นลุล่วง
ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐออกคำสั่งแบน TikTok พร้อมทั้ง WeChat ออกจาก App Store และ Play Store ของสหรัฐ ซึ่งจะมีผลวันอาทิตย์นี้เป็นต้นไป ตามกำหนดเส้นตายวันที่ 20 กันยายนนี้ ที่ห้ามบริษัทสหรัฐยุ่งเกี่ยวกับ TikTok และ WeChat (แต่ ByteDance มีเวลา 90 วันถึง 12 พฤศจิกายนนี้เพื่อหาผู้ซื้อ)
นักวิจัยจาก Citizen Lab หน่วยงานวิจัยของ University of Toronto เผยผลวิจัยใหม่ พบว่า WeChat แพลตฟอร์มโซเชียลข่าวสารที่คนจีนใช้งานกันอย่างกว้างขวาง มีการเซนเซอร์คำระหว่างสถานการแพร่ระบาด COVID-19 กว่า 2,000 คีย์เวิร์ด นับเฉพาะ เดือน ม.ค. - พ.ค. ปีนี้ ส่วนมากเป็นคำที่เกี่ยวกับโรคระบาด
จากประเด็น โดนัลด์ ทรัมป์ มีคำสั่งบริหารแบนแอปจากจีนด้วยข้อกังวลเรื่องความมั่นคงของชาตินั้น ไม่ใช่แค่ TikTok ที่โดน แต่ยังรวมถึง WeChat เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้งานกันในกลุ่มคนจีนทั่วโลก ในเนื้อหาคำสั่งระบุถึงขนาดที่ว่า WeChat เปิดทางให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนติดตามพลเมืองจีนที่ได้มาเยือนสหรัฐฯ และได้สัมผัสสังคมเสรีเป็นครั้งแรกในชีวิต
ล่าสุดกลุ่มผู้ใช้งาน WeChat ในสหรัฐฯรวมกันฟ้องรัฐบาลทรัมป์ โดยยื่นฟ้องต่อศาลรัฐบาลกลางในซานฟรานซิสโก อ้างว่าคำสั่งเป็นการละเมิดสิทธิ์เสรีภาพการพูดซึ่งถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และยังเป็นการเลือกปฏิบัติโดยมีเรื่องของเชื้อชาติเข้ามาด้วย ซึ่งล่าสุดกลุ่มพนักงานและ TikTok ก็ยื่นฟ้องไปแล้ว
Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สายซัพพลายเออร์ฝั่งแอปเปิลชื่อดังออกรายงานการคาดการณ์ว่า ยอดส่งมอบ iPhone จะลดลงแน่ ๆ หากแอปเปิลต้องลบแอป WeChat ออกจาก App Store ตามคำสั่งประธานาธิบดี
Kuo คาดการณ์ไว้ 2 แบบคือ best-case และ worst-case scenario กรณีที่ดีที่สุดคือถูกบีบให้ลบ WeChat เฉพาะในสหรัฐ ยอดส่งมอบ iPhone อาจลดลงแค่ราว 3-6% เท่านั้น ส่วนอุปกรณ์เสริมอย่าง AirPods, iPad, Apple Watch อาจลดลงไม่เกิน 3%
Donald Trump ออกคำสั่งฝ่ายบริหารแบน TikTok อย่างเป็นทางการ โดยตัวคำสั่งให้เวลา 45 วันเพื่อให้ทาง ByteDance สามารถขาย TikTok ออกไปให้กับบริษัทสหรัฐฯ ตามที่ไมโครซอฟท์เคยออกมาให้ข่าวก่อนหน้านี้ แต่ประกาศนี้ออกมาพร้อมกับประกาศแบบเดียวกันแต่แบน WeChat ของทาง Tencent ไปด้วย
เนื้อหาประกาศทั้งสองฉบับคล้ายกัน โดยระบุว่าแอปทั้งสองเก็บข้อมูลของผู้ใช้จำนวนมากจนเปิดทางให้รัฐบาลจีนสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของพลเมืองสหรัฐฯ ได้กว้างขวาง และเซ็นเซอร์เนื้อหาตามความต้องการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ขณะที่คำสั่งแบน WeChat นั้นเพิ่มเนื้อหาว่า WeChat เปิดทางให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนติดตามพลเมืองจีนที่ได้มาเยือนสหรัฐฯ และได้สัมผัสสังคมเสรีเป็นครั้งแรกในชีวิต
Citizen Lab ออกรายงานสำรวจแนวทางการทำงานของแอป WeChat ที่ให้บริการทั่วโลก แต่กลับใช้ข้อมูลจากผู้ใช้นอกจีนในการสร้างฐานข้อมูลไฟล์ต้องห้าม เพื่อให้ WeChat สามารถเซ็นเซอร์ข้อมูลตามเวลาจริง
รายงานอาศัยห้องแชตสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นห้องแชตลงทะเบียนนอกจีน (non-China group) และอีกกลุ่มลงทะเบียนในจีน จากนั้นทีมงานทดสอบส่งเอกสาร และภาพข้อความล่อแหลมต่อการเมืองจีนในกลุ่มนอกจีนโดยเป็นภาพที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ให้ค่าแฮชตรงกับภาพในฐานข้อมูล แล้วทดลองส่งภาพเข้าไปยังบัญชีที่ลงทะเบียนในจีนเพื่อสำรวจว่าระบบแบนภาพทำงานอย่างไร
ที่ผ่านมาเราอาจเคยอ่านเจอวิสัยทัศน์ของสตาร์ทอัพที่พัฒนาแอปอย่าง Grab, Uber ว่าต้องการเป็น Super Apps หรือการเป็นแอปรวมทุกบริการ ทุกการใช้งานของผู้ใช้งาน ครอบคลุมในทุกมิติ คือเข้าแอปเดียวทำได้ทุกอย่าง
แม้แอปที่เราใช้งานกันส่วนใหญ่จะยังคงไม่สามารถสถาปนาตัวเองเป็น SuperApps ได้อย่างจริงจัง แต่ในประเทศจีน WeChat แอปแชทที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศ ประสบความสำเร็จไปเรียบร้อยแล้วจากการเป็น SuperApps โดยอาศัยการสร้างอีโคซิสเต็มจากจำนวนคนใช้งานแอปที่เยอะอยู่แล้วผ่าน Mini Program
ต่อเนื่องจาก Alipay เปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสมัครใช้งานในจีนได้ บริการจ่ายเงินคู่แข่ง WeChat Pay ก็ประกาศรองรับบริการนี้สำหรับนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน
โดย Tencent บริษัทแม่ของ WeChat ระบุว่า บริการ WeChat Pay จะเริ่มรองรับการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่ 5 ราย ได้แก่ Visa, Mastercard, American Express, Discover และ JCB จากเดิมที่รองรับเฉพาะบัตรเครดิตที่ออกภายในจีน มาเป็นการรองรับบัตรเครดิตจากทั่วโลก ซึ่งเบื้องต้นจะทดสอบกับบริการจองบัตรโดยสารรถไฟ 12306.cn และแอปเรียกรถ Didi Chuxing ก่อน จากนั้นจะขยายไปสู่บริการอื่นต่อไป
จากประเด็น ZAO แอพจีน สลับหน้าให้เราเป็นดาราในโปสเตอร์หนัง สร้างความกังวลให้ชาวเน็ตว่าอาจจะมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวเยอะเกินความจำเป็น ล่าสุด WeChat ออกมาประกาศว่าปิดไม่ให้ดาวน์โหลดแอพ ZAO แล้ว