สืบเนื่องจากข่าวเก่า มูลนิธิครอบครัวเกตต์บริจาคให้ 81 โครงการวิจัยสุขภาพสำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยจะมอบทุนเริ่มต้นให้โครงการละ 1 แสน และทุนต่อเนื่องอีก 1 ล้านดอลลาร์ ในคอมเมนต์ของข่าวนี้ คุณ balloonp ได้แจ้งมาว่ามีนักวิจัยคนไทยของ Biotec ท่านหนึ่งคือ ดร.บงกช ธารชมพู ได้รับคัดเลือกด้วย (โครงการเกี่ยวกับการวิจัยยาต้านโรคมาลาเรีย)
Blognone/JuSci ได้ติดต่อไปยัง Biotec และได้คิวสัมภาษณ์ ดร. บงกช วันศุกร์ที่ 15 นี้ แน่นอนว่าใครมีคำถามก็ฝากมาในคอมเมนต์ได้เลย เพียงแต่ว่ารีบๆ หน่อยเพราะจะไปสัมภาษณ์วันศุกร์นี้แล้วครับ
ไหนเลย Star Trek เป็นหนังไซไฟเรื่องแรกที่ฉายหลังกำเนิดใหม่ของ JuSci พอดี ดังนั้นเราประเดิม Ask JuSci ตอนแรกด้วยการแลกเปลี่ยนประเด็นเรื่อง Star Trek ภาคล่าสุดกันดีกว่า
ใครไปดูมาแล้ว เป็นอย่างไร สนุกไหม สป็อคคนใหม่เท่ไหม ถ้ายังไม่ดูจะไปดูหรือเปล่า เคยดู Star Trek มาก่อนหรือไม่ หรือใครเป็นแฟนตัวยงก็แสดงตัวกันหน่อย ถ้าใครเขียนเป็นบล็อกไว้แล้วจะตอบเป็นบล็อกก็ได้ไม่ว่ากัน
มาสร้างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้สนุกผ่านภาพยนตร์ไซไฟกันเถอะ!
หลังจาก Mr.JoH เสียชีวิตไปเมื่อปลายปีที่แล้ว เว็บไซต์ JuSci.net ซึ่งเป็นเว็บไซต์พี่น้องกับ Blognone ก็ไม่มีคนดูแลเป็นประจำ และตกอยู่ในสภาพ maintenance mode (เขียนไว้ไม่ให้เหงา) มาได้เกือบครึ่งปี
ผมกับคุณ lew ก็ได้หารือเรื่องนี้กันมาโดยตลอด และเราก็ได้ดำเนิน "แผนฟื้นฟู JuSci" ซึ่งก็เสร็จเรียบร้อย และได้เวลากลับมาของ JuSci แล้ว!!!
บทความนี้เป็นตอนจบของซีรีย์ เครื่องเร่งอนุภาค LHC กุญแจไขความลับของจักรวาล โดยจะเป็นการสรุป, ข้อคิดเห็น และผลที่ได้รับ จากการเดินเครื่องเมื่อวันที่ 10 กันยายน
บทความนี้เป็นตอนแรกของซีรีย์ “เครื่องเร่งอนุภาค LHC กุญแจไขความลับของจักรวาล” ความยาว 2 ตอน เป้าหมายหลัก ก็คือ ทำความเข้าใจให้กับคนทั่วไป ว่าเครื่องเร่งอนุภาค LHC ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายคนหวาดวิตกกัน
สำหรับตอนแรก จะปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคและรายละเอียดของ LHC ก่อน ส่วนตอนที่ 2 จะเป็นสรุป, ข้อคิดเห็น และผลที่ได้รับจากการเดินเครื่อง LHC ในวันที่ 10 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยข้อมูลในบทความนี้ ผมจะยึดแนวทางจาก LHC the guide เป็นหลัก ใครสนใจก็สามารถไปหาฉบับเต็มมาอ่านกันได้