โครงการ ALICE ของ CERN ที่พยายามตรวจจับอนุภาคในรูปแบบที่เหมือนขณะเกิด Big Bang รายงานถึงการค้นพบหลักฐานของ antihyperhelium-4 เป็นครั้งแรก โดยใช้ข้อมูลการชนของนิวคลีออนที่พลังงาน 5.02 TeV เมื่อปี 2018 มาค้นหาข้อมูลด้วย machine learning ที่ประสิทธิภาพการค้นข้อมูลดีกว่าเทคนิคเดิมๆ
antihyperhelium-4 ประกอบไปด้วย antiproton สองอนุภาค, antineutron หนึ่งอนุภาค, และ antilambda (lambda เป็นอนุภาคที่ประกอบไปด้วยควาร์ก 3 อนุภาค) การตรวจจับจะดูจากการสลายกลายเป็น antihelium-3
ทีมงานพบหลักฐานของ antihyperhelium-4 โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 3.5 standard deviations (แปลว่าความมั่นใจเกือบ 100%)
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ (UC Berkeley) ของสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์วัสดุชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพกักเก็บคาร์บอนในอากาศได้ดีกว่าเดิม
เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (carbon capture) ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดปริมาณ CO2 แก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอนในปัจจุบันยังทำงานได้ดีในการดูดคาร์บอนหนาแน่นจากแหล่งเดียว (เช่น ปากปล่องควันโรงงานผลิตไฟฟ้า) หากเราเอามากักเก็บ CO2 ตามท้องถนนทั่วไป มันยังทำงานได้ไม่ดีนัก
Luke Durant อดีตวิศวกร NVIDIA (ทำงานพัฒนา CUDA ตั้งแต่ปี 2010) พบจำนวนเฉพาะใหม่ (2^136,279,841) - 1 หรือ M136279841 เมื่อเขียนฐานสิบมีความยาวทั้งสิ้น 44 ล้านหลัก
กระบวนการพบเลขจำนวนเฉพาะขนาดใหญ่เช่นนี้ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาได้ Luke พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนชิปกราฟิกบนคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ รวมใช้ GPU นับพันตัว กระจายไปตามศูนย์ข้อมูล 24 แห่ง รวม 17 ประเทศ ใช้เวลาประมาณหนึ่งปี ชิป NVIDIA A100 ในไอร์แลนด์ก็รายงานว่าเลข M136279841 น่าจะเป็นจำนวนเฉพาะ จากนั้นใช้เวลาอีกหนึ่งวัน ชิป NVIDIA H100 ก็ยืนยันว่าเลขนี้เป็นจำนวนเฉพาะจริง
Geoffrey Hinton และ John Hopfield เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2024 จากผลงานวิจัยด้าน machine learning
John Hopfield ปัจจุบันอายุ 91 ปีแล้ว เขาจบปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์จาก Cornell University และเป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยด้าน neural network และคิดค้น Hopfield network เครือข่ายนิวรอนแบบชั้นเดียว ที่นิวรอนแต่ละตัวเชื่อมกับนิวรอนตัวอื่น
ทีมวิจัยห้องปฎิบัติการ MRC Laboratory of Molecular Biology มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประกาศความสำเร็จในการทำแผนที่สมองแมลงวันทอง (Drosophila fruit fly) ครบทั้งสมอง รวม 140,000 นิวรอน การเชื่อมโยงไซแนปส์รวม 15 ล้านชุด สามารถระบุประเภทเซลล์สมองได้ 8,452 ประเภท จากเดิมที่จำแนกได้เพียง 3,643 ประเภทเท่านั้น
กระบวนการทำแผนที่สมองอาศัยการสไลซ์ตัวอย่างเป็นแผ่นๆ หนา 40 นาโนเมตรแล้วสแกนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จากนั้นใช้ปัญญาประดิษฐ์แยกส่วนของภาพว่าส่วนใดเป็นนิวรอนและเชื่อมต่อกับเซลล์ใดบ้าง จากนั้นยืนยันข้อมูลด้วยนักวิทยาศาสตร์ทั้งในทีมงานเองและนักวิทยาศาสตร์อาสาสมัคร โดยรวมใช้เวลายืนยันการเชื่อมต่อประมาณ 33 ปีทำงาน
ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก University of California San Diego และ University of California Berkeley ตีพิมพ์เปเปอร์วิชาการ ที่พบข้อมูลว่ามี "น้ำในสภาพของเหลว" อยู่ใต้ดินของดาวอังคาร
ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์พบน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกของดาวอังคาร และพบร่องรอยของน้ำในสภาพของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อ 3 พันล้านปีก่อน แต่คาดว่าระเหยออกนอกชั้นบรรยากาศไปหมดแล้ว คำถามสำคัญคือยังมีน้ำอยู่ในชั้นใต้ดินของดาวอังคารหรือไม่
งานวิจัยนี้อาศัยข้อมูลจากยาน Mars Insight Lander ของ NASA ที่ส่งไปปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคารระหว่างปี 2018-2022 ยานสำรวจลำนี้มีเซ็นเซอร์วัดแผ่นดินไหว (seismometer) เก็บสถิติของแผ่นดินไหวบนดาวอังคารรวม 1,319 ครั้ง
OpenAI ประกาศร่วมมือกับ Los Alamos National Laboratory หรือ LANL หนึ่งในห้องปฏิบัติการสำคัญของสหรัฐอเมริกา เพื่อทำการศึกษาว่าปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สามารถนำมาประยุกต์กับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Bioscience) ขั้นสูงอย่างไรได้บ้าง
OpenAI เชื่อว่า AI สามารถเพิ่มศักยภาพและความเร็วในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ได้ ตัวอย่างเช่น Moderna ก็นำเทคโนโลยีของ OpenAI มาช่วยในขั้นตอนวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่, Color Health พัฒนาแชทบอตช่วยในการตัดสินใจประเด็นการรักษาโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามนั่นคือด้านดีของการใช้เทคโนโลยี ซึ่งก็มาพร้อมความเสี่ยงหากถูกนำไปใช้งานในอีกด้าน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกับ LANL นี้
ทีมวิจัยจาก Chinese Academy of Sciences รายงานถึงการทดสอบมอส Syntrichia caninervis ที่พบในพื้นที่กันดารหลายแห่งในโลกว่าอาจจะเป็นกุญแจสู่การสร้างนิคมบนดาวอังคารในอนาคต โดยมอสชนิดนี้เดิมพบอยู่ตามทะเลทราย แต่มีความทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็น
ทีมวิจัยทดสอบความทนทานของมอส S. caninervis ตั้งแต่ความทนทานต่ออากาศแห้งรุนแรงจนเสียน้ำ, เจออากาศเย็นจนแข็ง รวมถึงการแช่ไนโตรเจนเหลว -196 องศาเซลเซียส, ฉายรังสีระดับ 4,000 Gy (สำหรับการรักษามะเร็งอยู่ที่ 1-2 Gy ต่อครั้ง และประมาณ 60-70 Gy ต่อคอร์ส) และเมื่อจำลองอากาศใกล้เขตศูนย์สูตรของดาวอังคาร มอสนี้ก็ยังเติบโตได้
ประมาณ 5% ของเคสผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม (metastatic) เป็นมะเร็งที่ไม่สามารถระบุต้นกำเนิดได้ ซึ่งมักจะพบโดยเจอเป็นเซลล์มะเร็งกระจายอยู่ในน้ำในช่องอกหรือช่องท้อง ทำให้การวางแผนรักษาทำได้ยาก การวินิจฉัยจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเปรียบเทียบลักษณะภาพเซลล์มะเร็งจากกล้องจุลทรรศน์อย่างละเอียด และต้องตัดชิ้นเนื้อจากอวัยวะต้องสงสัยหลายจุดของผู้ป่วยมาเทียบ
Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) หน่วยงานศึกษาวิจัยด้าน AI ของมหาวิทยาลัย Stanford ออกรายงานประจำปีดัชนีด้าน AI - Artificial Intelligence Index Report 2024 ซึ่งเป็นปีที่ 7 ของรายงานนี้ รวบรวมข้อมูลพัฒนาการของ AI จากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
ประเด็นที่สำคัญในรายงานปีนี้มีหลายอย่าง ซึ่งรวบรวมมาดังนี้
Peter Higgs นักฟิสิกส์ผู้ทำนายอนุภาค Higgs boson ไว้ตั้งแต่ปี 1964 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมาด้วยวัย 94 ปี
งานวิจัยของเขาทำร่วมกับ Robert Brout และ François Englert ทำนายถึง Brout-Englert-Higgs (BEH) field ที่กระจายอยู่ทั่วอวกาศ และเป็นสิ่งที่ทำให้อนุภาคต่างๆ เกิดขึ้นได้หลังเหตุการณ์ Big Bang
อนุภาค Higgs boson ได้รับการยืนยันโดยการทดลองของ CERN เมื่อปี 2012 ต่อมา Higgs และ Englert ก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2013
ที่มา - CERN
ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีความซับซ้อนอย่างมาก ข้อมูลที่เรามีเกี่ยวกับการทำงานและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันยังไม่เพียงพอและกระจัดกระจาย เริ่มต้นปีใหม่ 2024 นี้ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่นำโดย ดร. Hans Keirstead ผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์ จึงได้ริเริ่มโครงการขนาดยักษ์ Human Immunome Project (HIP) เพื่อที่จะทำการทดลองเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่ละเอียดที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
XTX Markets บริษัทเทรดหุ้นประกาศตั้งกองทุนรางวัล Artificial Intelligence Mathematical Olympiad Prize (AI-MO Prize) มอบเงิน 10 ล้านดอลลาร์ให้กับผู้ที่สร้างปัญญาประดิษฐ์ที่ชิงเหรียญทองโอลิมปิกวิชาการสาขาคณิตศาสตร์ได้สำเร็จ
ปัญญาประดิษฐ์ที่จะได้รางวัลต้องรับโจทย์รูปแบบเดียวกับผู้เข้าแข่งขันปกติ และส่งคำตอบเป็นข้อความที่อ่านโดยกรรมการตรวจข้อสอบตามเกณฑ์คณิตศาสตร์โอลิมปิกตามปกติ
รางวัล AI-MO ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคณิตศาสตร์โอลิมปิกโดยตรง แต่จะร่วมมือกับผู้จัดการแข่งขันแต่ละรอบ โดยการแข่งครั้งแรกที่จะชิงรางวัลนี้คือการแข่งที่เมือง Bath ในอังกฤษ กลางปี 2024 นี้
ที่มา - AI-MO Prize
กูเกิลประกาศร่วมโครงการ Brain Research Through Advancing Innovative Neurotechnologies (BRAIN) ของ NIH หน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพของสหรัฐฯ โดยจะทำแผนที่สมองหนูเฉพาะส่วนฮิปโปแคมปัสขนาดประมาณ 2-3% ของสมองทั้งก้อน รวมปริมาณนิวรอนที่จะวิเคราะห์อยู่ที่ระดับ 1 ล้านนิวรอน
เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา มีงานประกาศรางวัล Ig Nobel ประจำปี 2023 ถึงงานวิจัยหัวข้อต่างๆ ที่สร้างความขบขันให้กับวงการ โดยหัวข้องานวิจัยที่ได้รับรางวัลนั้นมีหลากหลาย แต่มีหัวข้อหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับไอทึโดยตรงคือสาขาสาธารณสุข ที่ Seung-min Park นักวิจัยชาวเกาหลีใต้ที่ได้พัฒนา Stanford Toilet อุปกรณ์เสริมโถส้วมที่เต็มไปด้วยเซ็นเซอร์ต่างๆ รวมถึงกล้องถ่ายภาพเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพจากอุจจาระ
เว็บข่าว Semafor รายงานว่า Eric Schmidt อดีตซีอีโอของกูเกิล กำลังก่อตั้งองค์กรแห่งใหม่ที่พยายามแก้ปัญหาใหญ่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ด้วย AI
องค์กรแห่งนี้ยังไม่มีชื่อ แต่วางโครงสร้างองค์กรคล้าย OpenAI คือเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร แต่รวมดาวเด่นด้านวิทยาศาสตร์และ AI เข้ามาแก้ปัญหาที่ท้าทาย โดยเงินสนับสนุนช่วงแรกจะมาจากเงินส่วนตัวของเขาเอง จุดเด่นขององค์กรแห่งนี้มีทั้งค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ และทรัพยากรให้นักวิทยาศาสตร์ใช้งาน โดยเฉพาะพลังประมวลผลที่หาได้ยากในโลกวิชาการ
หลังจากทีมวิจัยจากบริษัท Q-Centre ระบุว่าสาร LK-99 (CuO25P6Pb9) เป็นตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ที่อุณหภูมิห้อง ตอนนี้ห้องวิจัยจำนวนมากก็รายงานผลการสังเคราะห์ของตัวเอง และทดสอบคุณสมบัติของสารนี้ พบว่ามันไม่ใช่ตัวนำยิ่งยวดแต่อย่างใด
รายงานที่น่าเชื่อถือที่สุดตอนนี้มาจาก Max Planck Institute for Solid State Research ที่สังเคราะห์สารนี้ออกมาได้ แต่ก็พบว่าสารนี้มีความต้านทาน และมีความเป็นแม่เหล็กอ่อนๆ ขณะที่ทีมวิจัยอื่นๆ ก็พบผลแบบเดียวกัน
มหากาพย์สาร LK-99 (CuO25P6Pb9) ที่อาจจะเป็นตัวนำยิ่งยวดดูมีเค้าลางยิ่งขึ้น หลังห้องวิจัยหลายแห่งพยายามทำซ้ำรายงานวิจัยของ Quantum Energy Research Centre และพบว่า LK-99 มีคุณสมบัติของตัวนำยิ่งยวดจริงในบางสภาวะ ล่าสุดทีมวิจัยจาก Huazhong University of Science and Technology (HUST) ก็พบ Meissner effect ของ LK-99 ที่อุณหภูมิห้อง (340K) บ่งชี้ว่า LK-99 อาจจะเป็นตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิห้องได้จริงๆ
เนื่องจากปริมาณ LK-99 ที่สังเคราะห์ได้ในตอนนี้ยังมีปริมาณน้อยมากๆ ในรายงานนี้ HUST สังเคราะห์ออกมาได้เพียงขนาดเท่าเม็ดฝุ่นเท่านั้น จึงยังไม่สามารถวัดค่าความต้านทานได้โดยตรง
หลังจากทีมวิจัยจากเกาหลีรายงานถึงสาร LK-99 (CuO25P6Pb9) ว่ามีมีคุณสมบัติตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ที่อุณหภูมิห้อง จนมีห้องวิจัยหลายแห่งทั่วโลกกำลังพยายามทำซ้ำ ล่าสุดทีมวิจัยจาก Southeast University ในเมืองหนานจิงประเทศจีนออกมายืนยันว่า LK-99 มีความต้านทานเป็นศูนย์จริงที่อุณหภูมิ 100K (-173 องศาเซลเซียส)
แม้ว่าจะมีความต้านทานเป็นศูนย์แต่ก็ยังไม่ครบคุณสมบัติของการเป็นเหนี่ยวนำยิ่งยวด โดยทีมวิจัยไม่พบ Meissner effect หรือการปล่อยสนามแม่เหล็กออกมา
สัปดาห์ที่ผ่านมาทีมวิจัยจากบริษัท Quantum Energy Research Centre ตีพิมพ์รายงานวิจัยแบบไม่ผ่านการตรวจทาน (peer review) ระบุว่าสาร LK-99 (CuO25P6Pb9) มีคุณสมบัติตัวนำยิ่งยวด (superconductor) ที่อุณหภูมิห้อง หาก LK-99 มีคุณสมบัติตามที่อ้างจริงก็นับว่าเป็นความก้าวหน้าของวงการวัสดุศาสตร์อย่างมาก และทางทีมวิจัยระบุว่าจะใช้ LK-99 ในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัม
John Goodenough นักวิทยาศาสตร์ผู้ร่วมพัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออน (Li-ion) จนได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี 2019 และยังเป็นหนึ่งผู้พัฒนาระบบหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ เสียชีวิตด้วยวัย 100 ปี 11 เดือน
Goodenough จบปริญญาเอกในปีสาขาฟิสิกส์ในปี 1952 และทำงานที่ Lincoln Laboratory ใน MIT วิจัยหน่วยความจำแม่เหล็ก (random access magnetic memory) อยู่นาน 24 ปี จนได้ Goodenough–Kanamori rules จากนั้นเขาไปทำงานเป็นหัวหน้า Inorganic Chemistry Laboratory ที่ออกซ์ฟอร์ด มีผลงานที่ทำให้แบตเตอรีลิเธียมไอออนสามารถใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรม
นับเป็นเรื่องสะเทือนวงการการศึกษา เมื่อบทเรียนต่าง ๆ รวมถึงบทเรียนที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง “ตารางธาตุ” และ “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” กลับถูกถอนจากหลักสูตรของนักเรียนในประเทศอินเดีย
ช่วงต้นปีนี้ สภาวิจัยและฝึกอบรมทางการศึกษาแห่งชาติ (NCERT) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะที่พัฒนาหลักสูตรและตำราเรียนของโรงเรียนอินเดีย ได้ถอน “ตารางธาตุ” ออกจากบทเรียนของชั้นเรียนปีที่ 10 ซึ่งเป็นชั้นปีสุดท้ายที่บังคับเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจะมีเพียงนักเรียนส่วนน้อยที่เลือกเรียนวิชาเคมีในชั้นปีที่ 11 และ 12 เท่านั้นที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุ (โดยชั้นเรียนปีที่10-12 นั้นเทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6ในไทย)
NASA ประกาศเลือกบริษัท Blue Origin ของ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เป็นผู้พัฒนายานอวกาศลงจอดดวงจันทร์ (Human Landing System หรือ HLS) ลำใหม่ในภารกิจ Artemis V ที่มีกำหนดไปดวงจันทร์ปี 2029
เมื่อปี 2021 บริษัท Blue Origin เคยมีดราม่ากับ NASA หลังจาก NASA คัดเลือกยานลงจอดดวงจันทร์ของ SpaceX เอาชนะข้อเสนอของ Blue Origin จนเป็นผลให้ภารกิจ Artemis ต้องล่าช้าไป 1 ปีจากคดีฟ้องร้อง
โลโก้ของ Google Search หรือที่เรียกว่า Doodle วันนี้ เป็นภาพของ จันตรี ศิริบุญรอด บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ที่เสียชีวิตไปตั้งแต่ พ.ศ. 2511 โดยจันตรีเกิดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2460 หากมีชีวิตอยู่ถึงวันนี้จะมีอายุครบ 109 ปี
ทายาทของจันตรี ประมาณว่าผลงานทั้งหมดของเขามีประมาณ 300 ชิ้น โดยเรื่องที่มีชื่อเสียงได้แก่ ผู้ดับดวงอาทิตย์ และ ผู้พบแผ่นดิน ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในชุด 88 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย
กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา (DoE) ได้ประกาศความสำเร็จครั้งใหญ่ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่น โดยสามารถสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นซึ่งให้พลังงานสูงกว่าพลังงานที่ใช้ก่อให้เกิดปฏิกิริยา (Net Energy Gain) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เปิดทางไปสู่ความเป็นไปได้ในการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นเชิงพาณิชย์ในอนาคต