Taro Kono รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลของญี่ปุ่น เปิดเผยว่าในที่สุดเขาก็สามารถแก้ไขข้อกำหนดของหน่วยงานต่าง ๆ ในรัฐบาล ให้ยกเลิกการใช้ฟลอปปีดิสก์สำเร็จ โดยข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องถูกยกเลิกไปในวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ Taro Kono ได้ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการส่งข้อมูลให้หน่วยงานของรัฐ และพบว่ามีข้อกำหนดมากกว่า 1 พันหัวข้อ ที่ระบุให้ใช้ฟลอปปีดิสก์หรือซีดีรอมในการส่งข้อมูล ซึ่งรัฐบาลได้เริ่มแก้ไขกฎหมายมาตั้งแต่ต้นปี
ข้อกำหนดที่ระบุให้ใช้ฟลอปปีดิสก์ ถูกยกเลิกไปทั้งหมดรวม 1,034 หัวข้อ โดยยกเว้นไว้หนึ่งหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายสิ่งแวดล้อมและยานพาหนะรีไซเคิล
รัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ใช้งาน Floppy Disk ในระบบไอทีภาครัฐมายาวนาน จนเริ่มกลายเป็นปัญหาเมื่อแผ่น Floppy Disk หายากขึ้นเรื่อยๆ และก่อนหน้านี้ เคยพยายามแก้กฎหมายเก่าที่ยังระบุให้ใช้งาน Floppy Disk ในฐานะสื่อบันทึกข้อมูลของภาครัฐอยู่
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นได้ประกาศแก้ไขกฎกระทรวงต่างๆ จำนวนหลายสิบฉบับ เพื่อยกเลิกการเจาะจงวิธีบันทึกข้อมูลว่าต้องใช้ Floppy Disk หรือ CD-ROM เท่านั้น เพื่อเปิดทางให้หน่วยงานภาครัฐสามารถส่งข้อมูลวิธีอื่น (เช่น ผ่านคลาวด์) ได้ด้วย
ในการประชุม Digital Society Concept Conference ครั้งที่ 5 ของญี่ปุ่นเพื่อวางแผนการให้บริการด้านดิจิทัลของรัฐบาลในอนาคต Karo Tono รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลของญี่ปุ่นเปิดเผยว่าจะแก้กฎหมายเรื่องการส่งเอกสารให้หน่วยงานของรัฐบาล โดยจะเปลี่ยนจากการบังคับให้ส่งด้วยแผ่น Floppy Disk หรือซีดีรอมไปเป็นวิธีที่ทันสมัยมากขึ้นโดยเร็วที่สุด
รัฐมนตรีฯ ได้ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการส่งข้อมูลให้หน่วยงานของรัฐและพบว่ามีข้อบังคับมากกว่า 1,900 ข้อที่เกี่ยวข้องซึ่งข้อบังคับจำนวนมากระบุให้ใช้แผ่นดิสก์หรือซีดีรอม ส่วนวิธีที่ทันสมัยกว่า เช่น การอัปโหลดลงอินเทอร์เน็ต ไม่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีไม่ได้รับการอนุญาต
สำนักงานเขตในกรุงโตเกียว เตรียมจะยกเลิกใช้งานแผ่น Floppy Disk ที่ใช้เก็บและเคลื่อนย้ายข้อมูลบางส่วนของภาครัฐมานาน หลังจากถูกบีบเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
เขตเมกุโระและชิโยดะ เป็น 2 เขตล่าสุดในกรุงโตเกียวที่ประกาศว่าเตรียมเลิกใช้ Floppy Disk เร็วๆ นี้ หลังเขตมินาโตะยกเลิกไปก่อนเมื่อปี 2019 โดยที่ผ่านมาหลายเขตเลือกจะใช้ Floppy Disk อยู่ ส่วนหนึ่งเพราะมันแทบไม่พังและข้อมูลไม่หาย แถมใช้ซ้ำได้ เลยไม่มีเหตุผลจะเสียเวลาและเงินเพื่ออัพเกรดระบบ โดยเขตเมกุโระใช้ Floppy Disk ในการเก็บข้อมูลการจ่ายเงินของข้าราชการในเขต และนำไปส่งให้ธนาคาร เพื่อทำเรื่องธุรกรรม
จากข่าวที่มีรายงานว่าหน่วยอาวุธนิวเคลียร์ของ Pentagon ยังใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าอย่าง IBM Series/1 กับแผ่น floppy disk 8" ในการควบคุมสั่งการ ซึ่งก็ทำให้หลายคนอดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมระบบสำคัญเช่นนี้ถึงยังคงใช้อุปกรณ์รุ่นเก่าคร่ำคร่าแบบนั้น แต่อีกทางหนึ่งผู้อ่านบางคนก็ให้ความเห็นว่าเรื่องนี้ก็มีข้อดีอยู่ในตัวในแง่ที่ยากต่อการแฮค และหนึ่งในแฮคเกอร์ผู้โด่งดังอย่าง Space Rogue ก็คิดคล้ายๆ กัน
ไม่รู้ว่าหน่วยงานฝ่ายอาวุธนิวเคลียร์กำลังเข้าใจผิดว่าตัวเองเป็นพิพิธภัณฑ์คอมพิวเตอร์หรือเปล่า? เพราะมีรายงานที่ออกมาจากหน่วยงานรัฐเองว่าในฝ่ายดังกล่าวยังมีการใช้งานคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าแถมใช้แผ่น floppy disk 8" เพื่อควบคุมสั่งการระบบอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในขณะนี้
หน่วยงานที่ว่านี้ดูแลควบคุมการทำงานระบบป้องกันภัย ซึ่งมีทั้งส่วนของของขีปนาวุธข้ามทวีป, เครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ และอากาศยานจู่โจม โดยทั้งหมดนี้ทำงานอยู่บนคอมพิวเตอร์ IBM Series/1 ที่มีมาตั้งแต่ยุค 1970 ร่วมกับแผ่น floppy disk 8"
The New York Times รายงานว่า Federal Register หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาที่ทำหน้าที่เทียบเท่าราชกิจจานุเบกษาของไทย ยังคงใช้งาน floppy disk สุดยอดเทคโนโลยีแห่งยุค 1980 ในการรับข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ในรัฐบาล
โซนี่ผู้ผลิตแผ่น Floppy Disk กว่าร้อยละ 70 ของตลาดเตรียมที่จะยกเลิกการผลิตในเดือนมีนาคมปี 2011 แล้ว เนื่องจากความจุของมันในตอนนี้ไม่เพียงพอกับขนาดของซอฟต์แวร์ที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมากและยอดขายที่ลดลงในญี่ปุ่นจาก 47 ล้านแผ่นในปี 2002 ลดลงฮวบฮาบเหลือเพียง 12 ล้านแผ่นในปี 2009 (รำลึกความหลังกันต่อได้ที่หน้าใน)