ทีวี 3 มิติไม่ได้รับความสำคัญและเน้นย้ำจากบริษัทผู้ผลิตทีวีมาสักระยะแล้ว หลังเคยเป็นกระแสประมาณปี 2011-2013 ก่อนที่ผู้ผลิตหลายรายก็ทยอยยุติการผลิตกันทีละเจ้า จนเหลือเพียง LG และซัมซุงเท่านั้น แต่ล่าสุดสองบริษัทนี้ก็ประกาศเลิกผลิตทีวี 3 มิติแล้ว เท่ากับว่าทีวี 3 มิติตายลงอย่างเป็นทางการ
ผู้บริหาร LG ให้เหตุผลกับทาง CNET ไว้ว่าทีวี 3 มิติไม่เคยประสบความสำเร็จในการเข้าไปอยู่ในห้องนั่งเล่นอย่างแพร่หลายเลย ผลสำรวจก็ชี้ว่าทีวี 3 มิติไม่เคยติดอันดับต้นๆ ในตัวเลือกการซื้อทีวี และถึงแม้จะซื้อไป โหมด 3 มิติก็ไม่ค่อยถูกเปิดใช้งานมากนัก เช่นเดียวกับผู้บริหารโซนีที่ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน
สถานีโทรทัศน์ BBC ประกาศหยุดผลิตเนื้อหารายการแบบ 3D เป็นเวลา 3 ปี โดยมีผลปลายปีนี้
BBC ทดลองผลิตรายการ 3D มาเป็นเวลา 2 ปีและผลตอบรับไม่ดีดังที่หวัง โดย Kim Shillinglaw ผู้บริหารของ BBC ให้สัมภาษณ์ว่าการดูทีวีแบบ 3D เป็นประสบการณ์ที่ยุ่งยาก ต้องหาแว่นตาให้เจอก่อนเปิดทีวี และคนดูเองก็มีความคาดหวังที่ต่างกันระหว่างดูหนัง 3D ในโรง (ตั้งใจไปดูจริงๆ) กับการดูรายการ 3D ที่บ้าน (อาจจะทำอย่างอื่นไปด้วย)
BBC ยังมีเนื้อหาแบบ 3D ในปีนี้อีกบางส่วน เช่น เทนนิสวิมเบิลดัน และ Doctor Who ตอนพิเศษที่จะฉายในเดือนพฤศจิกายนนี้
LG เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ เป็นทีวี 3 มิติ แบบ OLED จอโค้ง รุ่น EA9800 ชูจุดเด่นจอภาพโค้งรับกับมุมมองของผู้ชม
EA9800 มีหน้าจอ OLED ขนาด 55 นิ้ว ความละเอียดภาพ 1080p ความโค้งของจออยู่ที่ประมาณ 5 องศาเพื่อรับกับมุมมองแบบ perspective ช่วยลดปัญหาการมองเห็นภาพผิดสัดส่วนในบริเวณขอบของจอภาพ โดยหน้าจอแบบพิเศษนี้มีความหนา 4 มิลลิเมตร
หน้าจอ OLED ของ LG เป็นแบบ WGRB คือมีเม็ดสี ขาว, เขียว, แดง และน้ำเงิน ซึ่งต่างจากของคู่แข่งอย่าง Samsung ที่ผลิตหน้าจอแบบ RGB ทั้งนี้สีขาวที่เพิ่มขึ้นมานั้นก็เพื่อให้ความสว่างของภาพมากยิ่งขึ้น
LG อ้างว่าเป็นผู้ผลิตหน้าจอทีวีแบบพิเศษนี้ได้เป็นรายแรกของโลก และมีแผนจะวางขายของจริงในช่วงเดือนมีนาคมที่ราคา 12,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 365,000 บาท)
Lee Kwan-sup ผู้บริหารของ LG ให้สัมภาษณ์กับสื่อเกาหลีใต้ Korea Times ถึงแผนการทำตลาดในปี 2012 ว่าจะเน้นผลิตภัณฑ์ 2 ประเภทคือ สมาร์ททีวี 3 มิติ และสมาร์ทโฟนแบรนด์ Optimus
ในฝั่งของทีวีนั้น ปัจจุบัน LG เป็นผู้ผลิตทีวีอันดับสองของโลก ที่ขยับส่วนแบ่งตลาดเข้าใกล้อันดับหนึ่งเพื่อนร่วมชาติอย่างซัมซุงได้มากขึ้น โดยตอนนี้ LG ได้พันธมิตรอย่างโซนี่และพานาโซนิคมาเข้าร่วมผลักดันทีวี 3 มิติที่ใช้เทคโนโลยีของ LG
ส่วนแวดวงสมาร์ทโฟน Park Jong-seok ผู้บริหารอีกคนที่ดูแลฝั่งมือถือ ประกาศว่าในปีนี้ LG ตั้งใจขายมือถือให้ได้ 80 ล้านเครื่องทั่วโลก โดยตัวเลขนี้จะนับรวมสมาร์ทโฟน 35 ล้านเครื่อง และสมาร์ทโฟนที่มี LTE 8 ล้านเครื่อง
LG จะเปิดตัว 3DTV ใหม่ของตัวเองที่เป็นจอ LCD ที่มีขอบข้างหน้าเพียงแค่ 1 มิลลิเมตรเท่านั้นภายใต้ชื่อ "Cinema Screen" โดยจากคำอ้างของ LG นั้นจอดังกล่าวจะทำให้ประสบการณ์ที่ผู้ชมได้รับใกล้เคียงกับโรงหนังมากกว่าเดิม
นอกจากนี้ 3DTV ดังกล่าวยังมีคุณสมบัติ Dual Play ที่จะทำให้ผู้ชมสองคนสามารถรับชมรายการสองรายการต่างกันได้ในเวลาพร้อมกัน โดยผู้ใช้ทั้งสองจำเป็นที่จะต้องใส่แว่นรับชมทั้งคู่ แม้ว่าคุณสมบัตินี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะว่าก่อนหน้านี้โซนี่ได้ปล่อยทีวี PlayStation 3D display ที่มีคุณสมบัติเดียวกันนี้ออกมาแล้ว
คาดว่าปีนี้เราจะได้เห็นทีวีที่มีขอบรอบจอบางลงอีกมากจากหลายค่ายที่งาน CES
เหตุผลหนึ่งที่ทีวี 3 มิติไม่ได้รับความนิยม ก็คือต้องใช้แว่น 3 มิติที่มีราคาแพง และใช้ร่วมกันระหว่างค่ายไม่ได้
ผู้ผลิตทีวีรายใหญ่ 3 รายคือ Panasonic, Samsung, Sony และบริษัทด้าน 3 มิติอีกรายคือ XpanD ได้ประกาศจับมือสร้างมาตรฐานแว่น 3 มิติ (แบบ active glasses) ทั้งที่สื่อสารผ่านคลื่นวิทยุและคลื่นอินฟราเรด
โครงการนี้ชื่อว่า Full HD 3D Glasses Initiative ซึ่งมี XpanD เป็นผู้ผลักดันคนสำคัญ ผู้บริหารของ XpanD บอกว่ามาตรฐานนี้จะช่วยให้ร้านขายทีวีทำงานง่ายขึ้น จากเดิมที่ต้องมีแว่น 3 มิตินับ 15 รุ่นในสต๊อกเพื่อขายกับทีวีแต่ละยี่ห้อ
ซาโตรุ อิวาตะ ประธานของนินเทนโดตอบคำถามว่า Wii U จะต่อกับทีวี 3 มิติได้หรือไม่ คำตอบก็คือ Wii U สามารถต่อกับทีวีทั่วไปที่มีฟีเจอร์แสดงผล 3 มิติได้แน่นอน
แต่อิวาตะบอกว่าการทำเกม 3 มิติ (หมายถึง 3 มิติแบบเห็นความลึก ไม่ใช่กราฟิกโพลีกอน) ไม่ใช่โฟกัสของ Wii U เหตุเพราะทีวี 3 มิติยังไม่แพร่หลายมากพอนั่นเอง (เหตุผลเดียวกับที่ Wii ไม่รองรับกราฟิกแบบ HD ในช่วงนั้น)
ที่มา - Joystiq
ผลการวิจัยของ NPD Group พบว่าสองเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้คนไม่ยังไม่อยากซื้อ 3D TV มาใช้คือราคาที่สูงเกินไป และความจำเป็นที่จะต้องใส่แว่นในการรับชม
จากในรายงาน 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามได้ให้เหตุผลว่าราคานั้นสูงเกินไป และ 42 เปอร์เซ็นต์ไม่อยากใส่แว่นขณะที่ดูทีวี โดยผลการวิจัยในครั้งนี้ใกล้เคียงกับรายงานของ Nielson เมื่อปีที่แล้วที่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามให้เหตุผลว่าพวกเขาไม่อยากใส่แว่น เนื่องจากการใส่แว่นจะทำให้ไม่สามารถทำสิ่งอื่น ๆ ได้ขณะดูทีวี เช่น การเล่นคอมพิวเตอร์ไปพร้อม ๆ กับการดูทีวี