หลังจากที่ Theranos เจอวิกฤติหนักเมื่อโดน CMS ตรวจสอบและออกรายงานชี้ปัญหาด้านคุณภาพของห้องปฏิบัติการที่ New Ark และความน่าเชื่อถือของผลการทดสอบเลือด หนึ่งในมาตรการที่ Theranos เร่งดำเนินการคือเพิ่มบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และห้องปฏิบัติการเข้าเป็นบอร์ดที่ปรึกษาด้านการแพทย์ของบริษัทอีก 8 ราย
ในอดีตเมื่อแรกเริ่มนั้น Theranos มีสมาชิกบอร์ดบริหารบริษัทถึง 12 คน แต่กลับมีสมาชิกเพียงคนเดียวในนั้น ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ จนเมื่อเดือนตุลาคมปี 2015 ได้มีการปรับเปลี่ยนแบ่งสมาชิกออกเป็นบอร์ด 3 ชุด โดยชุดแรกทำหน้าที่เป็นบอร์ดบริหาร ชุดที่สองเป็นบอร์ดที่ปรึกษางานบริหาร และชุดที่สามเป็นบอร์ดที่ปรึกษาด้านการแพทย์
หลัง Theranos โดน CMS สั่งปรับปรุงมาตรฐานห้องปฏิบัติการที่ Newark รัฐ California เป็นการด่วน และส่งรายงานการตรวจสอบให้ Theranos รับทราบรายละเอียดของสิ่งที่ต้องแก้ไข แหล่งข่าววงในรายหนึ่งปูดข้อมูลมาว่าในรายงานได้ระบุว่ามีลูกค้าจำนวน 81 ราย ได้รับผลตรวจเลือดทั้งที่ Theranos รู้อยู่แล้วว่าผลการตรวจนั้นไม่ถูกต้องและเชื่อถือผลการวิเคราะห์ไม่ได้
ไม่กี่เดือนก่อน Blognone ได้นำเสนอข่าวของ Theranos สตาร์ทอัพสุดร้อนแรงที่ส่อแววจะกลายเป็นแค่ปาหี่หลอกเรียกเงินจากนักลงทุน หลังจากที่สื่อหลายสำนักและหลายฝ่ายในสังคมได้ออกมาตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพการใช้งานอุปกรณ์ตรวจเลือดของ Theranos อันเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ ล่าสุดหน่วยงานรัฐ CMS ได้เข้าตรวจสอบห้องปฏิบัติการของ Theranos และมีจดหมายชี้จุดที่ต้องปรับปรุงในหลายหัวข้อ
บริษัทสตาร์ตอัพที่ร้อนแรงที่สุดรายหนึ่งในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมาคือ Theranos บริษัทด้านอุปกรณ์ตรวจเลือด ที่ก่อตั้งโดย Elizabeth Holmes ซีอีโอหญิง (ปัจจุบันอายุ 31 ปี แต่ก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2003 ตอนอายุ 19 ปี)
จุดเด่นของ Theranos คือผลิตภัณฑ์ด้านการตรวจเลือดแนวใหม่ที่ไม่ต้องเจาะเลือดแบบเดิม แต่ใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กที่เป็นสิทธิบัตรของบริษัท เก็บตัวอย่างเลือดเพียงไม่กี่หยด และได้ผลตรวจสอบอย่างรวดเร็ว ถือเป็นการปฏิวัติวงการตรวจเลือดไปอย่างสิ้นเชิง โซลูชันของ Theranos อ้างว่าลดค่าใช้จ่ายด้านการตรวจเลือดลงได้มาก บริษัทเซ็นสัญญากับร้านขายยารายใหญ่อย่าง Walgreens และระบุว่ามีสัญญากับบริษัทยารายใหญ่ของโลกอย่าง Pfizer