คณะอนุกรรรมการของคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission - ITC) ได้มีคำตัดสินกรณีแอปเปิลยื่นร้องต่อคณะกรรมการว่า HTC ละเมิดสิทธิบัตรของตนจำนวนสิบใบในเบื้องต้นว่า HTC มีความผิดจริงในสิทธิบัตร 2 ใบ
ผลของคำตัดสินนี้ทำให้เรื่องถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมการชุดใหญ่ (กระบวนการคล้ายๆ กกต. บ้านเราที่ต้องยื่นเรื่องไปที่กกต. จังหวัดก่อนส่งเรื่องเข้ากกต. ชุดใหญ่) โดยหากกรรมการชุดใหญ่ยังยืนยันว่า HTC มีความผิดอยู่ ก็จะถูกสั่งห้ามนำเข้าโทรศัพท์ Android ทั้งหมด
ภายใต้ภาวะเช่นนี้ HTC คงไม่สามารถปล่อยเรื่องไปจนถึงที่สุดกระทั่งมีคำตัดสินได้ กระบวนการที่ปลอดภัยกว่าคือการเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนสิทธิบัตรและเจรจายอมความกัน โดยการเข้าซื้อ S3 ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนการนี้เพราะแอปเปิลเองต้องใช้สิทธิบัตรบางส่วนของ S3 ที่ HTC กำลังซื้อ (ITC เคยตัดสินว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรของ S3 จริงในรูปแบบเดียวกับคดีนี้) หากซื้อสำเร็จ HTC ก็จะมีข้อต่อรองให้แอปเปิลออกมาเจรจากัน
ITC จะตัดสินขั้นสุดท้ายในวันที่ 6 ธันวาคมนี้
ที่มา - Reuters, ComputerWorld
Comments
ปัญหามันอยู่ที่คนหรือกฎหมายกันแน่เนี่ย
ส่งเสริมการผูกขาดชัด ๆ !!!
ไม่ครับ เพราะ ถ้า apple เป็นเจ้าตลาดเมื่อใด Apple จะโดนกฏหมายป้องกันการผูกขาดอีกที
คือสิทธิบัตรมันมีมูลค่าของมันครับ
ผมเข้าใจว่ามันมีกระบวนการอีกชุด ที่ป้องกันการผูกขาด ที่เมื่อกรรมการการค้าระบุว่าผู้ผลิตรายไหนมีอำนาจเหนือตลาด (เช่น intel ที่มีส่วนแบ่ง 80-90%) ก็จะถูกบังคับให้ขายสิทธิบัตรแก่ผู้ผลิตรายอื่นๆ นะครับ
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องจ่ายเงินครับ
lewcpe.com, @wasonliw
หมายความว่าถ้าถูกบังคับขายแล้ว แต่ก็ยังไม่มีคนซื้ออยู่ดี ก็ monopoly ต่อไปได้หรอครับ (งั้นขายแพงๆ หรือกดดันไม่ให้ซื้อนอกเกมก็ได้นี่)
ต้องดูเนื้อหาสิทธิขัตรด้วยครับว่าครอบคลุมเรื่องอะไร
อันนี้ไม่แน่ใจกระบวนการครับ ว่ามีกระบวนการตรวจสอบเรื่องราคาแค่ไหน
เรื่องสิทธิบัตรครอบคลุมเกินเหตุเป็นปัญหายาวนานของสหรัฐฯ ครับ ยังแก้กันไม่ได้จนทุกวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นปัญหาโดยรวมของกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาแทบทุกรูปแบบที่ให้สิทธิกับผู้ครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างกว้างขวาง
lewcpe.com, @wasonliw
อย่ามองอะไรด้านเดียวครับ
สมมติว่าคุณจดสิทธิบัตรไว้แล้วโดน HTC หรือ Apple ละเมิดสิทธิบัตรไป กฏหมายก็คุ้มครองคุณครับ
ปัญหาคือ สิทธิบัตรมันมีเยอะมากในโลก จนตรวจสอบไม่หมด
ถ้าเปลี่ยนชื่อคนฟ้องเป็นคนไทยชื่อนาย ก นาย ข ความคิดจะเป้นอีกอย่างหรือปล่าวครับ
อีกอย่าง... ถ้าเรื่องธรรมดา ใครๆก็คิดได้ ทำไมไม่มีใครไปจดสิทธิบัตรก่อนครับ
+1 ถ้าเรื่องธรรมดา ใครๆก็คิดได้ ทำไมไม่มีใครไปจดสิทธิบัตรก่อนครับ
เออจริง!! เพราะคนส่วนใหญ่คิดว่ามันเป็นสามัญไปแล้ว แต่ไม่คำนึงหรอกว่าคนคิดเขาเป็นใคร
สิทธิบัตรคุ้มครองคนที่คิดได้เป็นคนแรกครับ ไม่ได้คุ้มครองตรงคิดง่ายหรือยาก
สิทธิบัตรบางอันหลักการง่ายมาก แต่สร้างประโยชน์และทำเงินได้มหาศาล
เรื่องการผูกขาด ของอเมริกา เขาค่อนข้างระวัง ถ้าถูกฟ้องแล้วพิพากษาผูกขาดจริง
อาจจะถึงขั้นโดนหั่นแยกบริษัทนะครับ ไม่ธรรมดา
สิทธิบัตรหลอดดูด :)
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
HTC ละเมิดหรือแอนดรอยละเมิดล่ะเนี่ย แต่ไง HTC ก็น่าจะรอดแล้ว ถ้าแอนดรอยละเมิดเจ้าอื่นก็เตรียมโดนฟ้องเป็นรายต่อไป
สิทธิบัตรสองใบละเมิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร?
นั่นซิเห็นถกกันมาหลายเจ้าที่ฟ้องๆกัน
สรุปยังไม่เคยอ่านเจอว่า ที่ฟ้องกันนั้น มันคือเทคโนโลยีอะไร
ถ้าหารายชื่อสิทธิบัตรเต็มๆ ได้ผมก็พยายามจะลงให้ครับ (เช่นกรณี Oracle) แต่กรณีนี้หาไม่ได้ก็รายงานเท่าที่หาได้
lewcpe.com, @wasonliw
อ่อ ขอบคุณครับ ^^
รายละเอียดคดีนี้ครับ
http://www.docstoc.com/docs/27238899/Apple-Vs-HTC-(ITC-complaint)
Update: These are the two patents the judge feels are being infringed:
U.S. Patent No. 5,946,647 on a "system and method causes a computer to detect and perform actions on structures identified in computer data."
U.S. Patent No. 6,343,263 on a "data transmission system having a real-time data engine for processing isochronous streams of data includes an interface device that provides a physical and logical connection of a computer to any one or more of a variety of different types of data networks."
http://www.macrumors.com/2011/07/15/itc-rules-for-apple-in-htc-patent-case/
ขอบคุณครับ แต่ใครที่พอมีความรู้ช่วยแปลเป็นภาษาง่ายๆ หน่อยได้ไหมครับ แปลเองเสร็จผมงงกว่าเดิมอีก :)
ถ้าเอาความหมายแค่นี้ ไม่่อ่านรายละเอียดลึกๆ คงครอบจักรวาลเลยละครับ
ในการเขียนโปรแกรมการตรวจสอบโครงสร้างข้อมูลและส่งต่อมันเป็นเรื่องธรรมดามากๆๆๆ
ไม่นึกว่าแค่เรื่องตรวจสอบโครงสร้างข้อมูล ก็จดได้ -_-"
สงสัยต้องรอผู้เชียวชาญเขียนเป็นบทความเกี่ยวกับสิทธิบัตรเลย :)
อ่านดูแล้วโคตรจะกว้างเลย ไม่แปลกใจทำมัยเป็นปัญหา และไม่แปลกใจว่าถ้ามันทำได้คล้ายๆกันแต่ไม่ได้ใช้โค๊ดชุดเดียวกันมันก็โดนฟ้องได้
น่าจะทำแบบสิทธิบัตรยา มีระบุวันหมดอายุไว้ชัดเจน
ที่น่าสนใจคือ สิทธิบัตร ที่ตัดสินว่า HTC ละเมิดทั้ง 2 ใบนี้ Apple จดไว้ตั้งแต่ปี 1994 และ 1996 ซึ่งเป็น "Macintosh related technology" และในตอนนั้นก็ยังไม่มี Smartphone ซะด้วยซ้ำ...
http://lat.ms/oAp6hu
เดี๋ยวต้องมีข่าว บริษัทต่างๆรวมตัวกันฟ้อง Apple !!!
+1
สิทธิบัตรที่ HTC ได้ทำการละเมิด คือ
สิทธิบัตร หมายเลข 5,946,647 ใช้ในระบบและโครงสร้างในการสร้างข้อมูลของคอมพิวเตอร์
สิทธิบัตร หมายเลข 6,343,263 ใช้ในการรับส่งสัญญาณแบบเรียลไทม์ในการถ่ายโอนข้อมูล
http://goo.gl/At866
กว่า HTC จะหาทางออกได้ และเรื่องจะจบ Apple ก็ออก iPhone 5 มาขายใน USA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถึงป่านนั้น HTC เข้าไปขายได้ก็ช้าไปแล้วครับ ผู้ซื้อคงไม่อยากซื้อมือถือพร้อมกัน 2 เครื่อง กลายเป็นว่า HTC ปีนี้ยอดขายตก ขายยาก ขายไม่ได้ บราๆ
ถ้ามีระบบสิทธิบัตรเข้มข้นตั้งแต่ยุค PC ยุคแรกๆ แล้ว Fuji-xerox คงฟ้อง Apple กับ Microsoft เรื่องลอกเลียนแบบระบบ Mouse แล้วสั่งห้ามระบบอื่นใช้เด็ดขาด ผมว่าเราคงได้ใช้เทคโนโลยีหลายๆอย่างช้าไปเลยทีเดียว
สิทธิบัตรมีไว้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้คิด แต่มันก็น่าจะมีขีดจำกัดโดยเฉพาะกับเรื่องที่เป็นเรื่องที่ common หรือใครๆก็คิดเองกันได้ง่ายๆ
สิทธิบัตร mouse จะโดนกฏหมายป้องกันการผูกขาดในที่สุดครับ
+1 การมองอะไรสุดโต่งมันไม่ได้ช่วยอะไร ทุกสรรพสิ่งมันมีวิถีของมัน
อีกข้อ หนึ่งครับ วันแรกที่ xerox คิด Mouse ไม่ได้เป็น common นะครับ
ก็คงช้าละครับ ภาพ 3 มิติฉายภาพอากาศ แบบใช้วิธีการสั่งการแบบสัมผัสได้(ใช้ทั่วๆไป)มาช้ากว่าที่ผมคิด
ป.ล. ตอนนี้อยากรู้เหมือนกันว่ามันใช้หลักการอะไรหักเหแสงที่ฉายบนอากาศให้สามารถมองเห็นได้บ้าง(2 มิติ)ก่อน พูดถึงสิทธิบัตรถ้าพวกนี้เป็นแบบ Linux ได้ก็ดี