ข่าวเก่าไปหนึ่งสัปดาห์นะครับ เผอิญว่าเพิ่งเห็นและคิดว่าน่าจะกระทบกับผู้ใช้ไอซีทีในบ้านเราทุกคน
เรื่องมีอยู่ว่า แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ.2552-2556) ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
- หน่วยงานรัฐทุกระดับชั้น จะต้องปรับแผนแม่บทด้านไอซีทีของตัวเองให้เข้ากับแผนแม่บทแห่งชาติฉบับนี้
- สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานหลักสำหรับการผลักดันนโยบายตามแผนแม่บทนี้
- หน่วยงานด้านงบประมาณต่างๆ จะใช้แผนแม่บทนี้ประกอบการพิจารณางบประมาณด้านไอซีที
ส่วนเนื้อหาในแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 ผมยกมาจากมติ ครม. เลยนะครับ
สรุปสาระสำคัญของแผนแม่บทฯ ได้ดังนี้
- วิสัยทัศน์ ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand)
- พันธกิจ พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ พัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูง พัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล
- วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มปริมาณและศักยภาพของกำลังคน เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร
- เป้าหมาย
- ประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศมีความรอบรู้ สามารถเข้าถึง สร้างสรรค์และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ รู้เท่าทัน มีคุณธรรมและจริยธรรรม ก่อเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน
- ยกระดับความพร้อมทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ โดยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูงสุด ร้อยละ 25 (Top Quartile) ของประเทศที่มีการจัดลำดับทั้งหมดใน Networked Readiness Index
- เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
- ยุทธศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) มี 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารจัดการ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล (National ICT Governance)
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ยุทธศาสตร์ ที่ 4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในการ บริหารและบริการของภาครัฐ (e-Governance)
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
แผนแม่บทไอทีซี 2552-2556 ฉบับเต็มดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์กระทรวงไอซีที
ที่มา - NECTEC Academy, หน้ารวมมติ ครม. ของรัฐบาลไทย
หมายเหตุ: อันดับ Networked Readiness Index ของไทยประจำปี 2009 คือที่ 47 ถ้าคิดเป็น percentile จะอยู่อันดับ 37 (อยู่อันดับกลางๆ ของ quartile ที่ 2)
Comments
เอาใจช่วยให้สำเร็จนะครับ T^T
เฮ .. รอชมผลงานครับ
นับเป็นนิมิตหมายที่ดีครับ ^_^
ประชาชนจะได้อะไรที่เป็นรูปธรรมบ้างไหมน้อ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ดูเวปไซต์แล้วไม่สมเป็น ICT เลยเหะ
------
Unlimited Asian Music (ดูเอ็มวี ไทย, เกาหลี และญี่ปุ่น ฟรีๆ)
หวังว่าคงไม่เกิดการ planนิ่ง นะ จริงๆ หน่วยงานก็ต้องไปปรับ (ยัดเยียด; ปรับแก้ wording) แผนของตัวเอง ให้เข้ากับแผนแม่บท แล้วหลายที่ก็ดำเนินงานเหมือนเดิม เพียงแต่ปรับ wording ให้สอดคล้องกัน
วัตถุประสงค์ ข้อแรกวัดได้อย่างไรครับ ผมเห็นแล้วกลุ้ม ฟังดูสวยหรู ฟุ้ง มีจริยธรรม คุณธรรม จะวัดว่าผ่านวัตถุประสงค์นี้อย่างไร
ข้อสามนี่ก็ไม่มีดัชนีที่วัดได้เลย เห็นแล้วกลุ้ม
เห็นด้วย ..... ก็คงไม่ต่างจากแผนแม่บทฉบับอื่นๆ มากมายล่ะครับ
50% เลยหรอ ตั้งใจดีจัง
นั้นสิ
ไม่มีทาง
แต่ถ้าท่านซื้อคอมให้ และใช้เน็ตฟรีก็คงมีโอกาศถึง
สงสัยต้องยุบหน่วยงานบางหน่วยงานก่อนแล้วมันถึงจะเป็นจริงง่ายขึ้นครับ
ผมว่าเมืองไทยน่าจะเน้น Mobile Internet รวมทั้งการสื่อสารผ่าน SMS เพราะคนมีมือถือตอนนี้เยอะกว่าคนมีคอมเยอะนัก
(ต้องทำ EDGE/GPRS เอื้ออาทรมั้ง)
Oakyman.com
ขอประทานโทษ
ไม่ได้เชียร์ใครเป็นพิเศษ ว่าด้วยเนื้องานล้วนๆ
เพราะจะขอให้ไปดูที่
http://www.dld.go.th/ict/article/egov/e-gev.html
แล้วจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ การวางแผน การมองภาพทั้งในเชิงนามธรรมและรูปธรรม ระหว่างคนเป็นผู้นำ 2 ยุคนั้น
มันต่างกันเยอะเลย
เข้าไปเห็นรูปแล้วสดุ้งเล็กๆ
ไม่เถียงเลยครับ ว่าเรื่องไอที รบ. นู้นค่อนข้างจะเด่นกว่า รบ.นี้
ผมหละเบื่อ เพียงพอ มีคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล
เอา มีอันจะกินก่อนดีไหมครับ ถ้าคนเรามันอยู่ดีมีอันจะกิน ที่เหลือมันจะตามมาเอง
พูดให้ดูสวยหรู น่ะครับ แต่ไม่ทำ
กรุณาอ่านฉบับเต็มก่อนดีกว่านะครับ
รู้สึกว่าจะเป็นสรุปสำหรับผู้บริหาร สรุึปไว้กว้างจนจับอะไรไม่ค่อยได้
ภาคปฏิบัติอย่างเราๆ อ่านแล้วหงุดหงิด
•••••
k 0 n 9 . c o m
แนะนำให้อ่าน ก่อน comment ครับ
โดยเฉพาะไฟล์นี้ http://www.mict.go.th/download/ICT_masterplan/no7_ICTMP2_NITC_Strategy&timefame%20update%20220509.doc.pdf
(2) ส่งเสริมให้ผู ้ด้อยโอกาส ผู ้พิการ และผู ้สูงอายุ
สามารถเข้าถึงสารสนเทศอย่างเท่าเทียม อาทิ
การบังคับใช้มาตรฐานสื'ออิเล็กทรอนิกส์ที'
เหมาะสม เช่น มาตรฐานการเข้าถึงข้อมูลที'
เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (Web accessibility)
สําหรับผู ้พิการทางการเห็น, การจัดทํา
closed caption สําหรับผู ้พิการทางการได้ยิน
ศึกษาและเริมวางแผน รวมถึงสร้างโครงการ
นําร่องโครงข่ายการสือสารยุคใหม่ (NGN:
Next Generation Network) และองค์ประกอบ
สําหรับขยายขอบข่ายของบริการอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ (IPv6) ให้เป็นผลสําเร็จ เพือรองรับ
การลงทุนหรือดําเนินการสร้างโครงข่ายและบริการดังกล่าว เพือนํามาใช้ประโยชน์กับ
สังคมไทยอย่างกว้างขวางต่อไป ในกรอบเวลาทีจะไม่ล้าหลังประเทศในกลุ่ม ASEAN
อ่านๆ ดูแล้ว ไม่ธรรมดา "ถ้าทำได้"
บทสรุปผู้บริหาร 20 หน้า บร๊ะเจ้าจริงๆ หน่วยงานไทยเค้าทำแบบนี้กันหมดหรือเปล่าครับเนี่ย
อยากจะเสนออยู่สองสามอย่าง
เรื่องแรก ทำเรื่องเครือข่ายให้ได้ตามเป้าจริงๆเถอะครับ โดยเฉพาะเครือข่ายไร้สาย ผมรอเก็บเกี่ยวอยู่
เรื่องสอง ถ้าอยากจะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ITC ก็ช่วยสนับสนุนเรื่องการหาเงินทุนและทรัพยากรให้มันจริงจังหน่อยเถอะ ตอนเรียนป.ตรีก็เห็นมีเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ รวมทั้งตัวเอง ส่งผลงานไปประกวด ก็ได้รางวัลกลับมากันเยอะแยะ ทั้งระดับประเทศ และระดับโลก แต่สุดท้ายก็หายต๋อมกันหมด ไม่เห็นมีใครได้รับการผลักดันนำผลงานออกไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ออกขายเลย โดยส่วนตัวเคยได้รางวัลอย่างหนึ่งเป็นสิทธิในการเข้าโครงการ Incubation ของ Software Park แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้ใช้ (และคิดว่าคงใช้ไม่ได้แล้วด้วย) เพราะมีปัญหาอยู่ว่าเค้าสนับสนุนแค่เรื่องสถานที่แล้วก็ค่าเข้าอบรมต่างๆที่ Software Park จัด ก็อย่างที่รู้กันว่าเงินไม่มีงานไม่เดิน แล้วสมัยตอนนั้นผมกับเพื่อนๆเป็นเด็กปีสามจะมีแรงไปวิ่งหาทุนกันเองซักเท่าไหร่กันครับ ต้องพะวงเรื่องเรียนให้จบอีก เพราะระบบมหาวิทยาลัยก็ดีเหลือเกิน ถ้า drop out ก็ยังนับเวลาเรียนอยู่ ถ้าออกไปแล้วกลับมาทีหลังก็ไม่ต้องเอาเกียรตินิยม (ถึงตอนนี้ก็ไม่รู้ว่ามันมีประโยชน์อะไร แต่ ณ ตอนนั้นมันก็ดูสำคัญ) ตอนขึ้นปี 4 ก็มีโอกาสได้เรียนวิชา Entrepreneur ก็ได้ทำแผนธุรกิจสนุกสนาน พอหมดเทอมก็ได้มีโอกาสเสนอให้เจ้าของกิจการกลุ่มหนึ่งฟัง ก็พอได้ feedback มาบ้าง แต่ไม่ได้เงิน ก็เข้าใจอยู่ว่าเพราะทำกันเล่นๆเกินไปตลาดก็ยังไม่ได้สำรวจให้ถี่ถ้วน แต่แล้วสุดท้ายก็จบลงแค่ตรงนั้น ไม่มีเวทีอื่นให้ไปเสนอต่อ ตอนนี้ผมมาเรียนอยู่ Scotland ลงวิชา Entrepreneur อีกเหมือนเดิม เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน ที่นี่เค้าสนับสนุนมากกว่าเห็นๆ มีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนมากมาย (ดูหมายเหตุข้างล่าง) ตอนนี้ยังอาจจะไม่เห็นอะไรออกมาในระดับโลก แต่อย่างน้อยเค้าก็สร้างบริษัทที่ทำกำไรได้มาแล้วหลายบริษัท และที่ผมประทับใจที่สุดคือเข้าถึงได้ง่าย ไม่เหมือนตอนได้รางวัล Incubator ที่ไทย ไม่มีใครติดตามสอบถามความเป็นไปเลย นอกจากนั้นที่นี่ยังมีเวทีประกวดที่ให้เงินไปลงทุนจริงๆด้วย ไม่ใช่แค่ให้รางวัลเล็กๆน้อยๆแล้วก็จบกันไป
สุดท้าย ใครทำธุรกิจการผลิตซอฟท์แวร์ หรือ ทำ SaaS (Software as a Service) อยู่ช่วยเล่าประสบการณ์ให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ อยากทราบจริงๆครับ เพราะโดยส่วนตัวผมเห็นบริษัทไทยไม่กี่แห่งที่มีการสร้างสรรค์งานขึ้นมาเอง
เป็นคอมเมนต์ที่ยาวที่สุดของตัวเองใน blognone แล้วมั้งเนี่ย
หมายเหตุ องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในการสร้างธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใน Scotland
@kittipatv
http://kittipatv.wordpress.com
จริงๆแล้ว บทสรุปผู้บริหารของหน่วยงานรัฐนี่มันก็คือรายงานฉบับย่อแหละครับ ไม่ได้สรุปอะไรหรอก เอาไว้ให้ผู้บริหารที่ไม่ค่อยมีเวลาเค้ามาพลิกๆดูน่ะ
ใครเคยทำรายงานส่งหน่วยงานรัฐน่าจะคุ้นเคยกันดี ถ้าท่านสั่งว่าเอาบทสรุปผู้บริหารล่ะก็ ส่งไปหน้าเดียวได้ใจความเมื่อไหร่ล่ะมีอันต้องแก้เมื่อนั้น
เห็นแล้วอยากจะบ้า
ขอสั้นๆ สรุปได้ไหม อ่านไม่ไหวจริงๆ
onedd.net
onedd.net