บริษัทฟูจิสึได้เปิดเผยว่า ตอนนี้บริษัทกำลังพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีพลังประมวลผลสูงถึง 10 เพตาฟลอป ซึ่งคาดว่าจะพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในต้นปี พ.ศ. 2554 และจะถูกใช้งานโดยศูนย์วิจัย RIKEN ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบบนี้ติดตั้งโปรเซสเซอร์ SPARC64 VIIIfx (ใช้โค้ดเนมว่า "วีนัส") ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์แบบ 8 คอร์ มาพร้อมกับความเร็วสัญญาณนาฬิกา 2 กิกะเฮิร์ต และมีพลังประมวลผล 128 กิกะฟลอป
ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน Roadrunner จากไอบีเอ็มยังคงครองแชมป์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกก็ตาม [ข่าวเก่า] แต่ทว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์จากฟูจิสึระบบนี้จะเร็วกว่า Roadrunner เกือบ 10 เท่า และถึงแม้ไอบีเอ็มจะมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Blue Waters ที่กำลังพัฒนาให้มีสมรรถนะเหนือกว่า Roadrunner ก็ตาม [ข่าวเก่า] แต่มีการวิเคราะห์กันว่า Blue Waters จะวิ่งอยู่ที่ 6.8 เพตาฟลอป ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จากฟูจิสึระบบนี้อาจจะเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกในอีก 2 ปีข้างหน้าก็เป็นไปได้
ที่มา - COMPUTERWORLD
[UPDATE] ผมลืมไปว่าที่ญี่ปุ่นยังมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีกระบบที่น่าจับตามองชื่อว่้า Tsubame 2.0 เป็นระบบที่ต่อยอดจาก Tsubame (อันดับที่ 41 ใน TOP500) โดยการติดตั้งจีพียูของ Nvidia เข้าไปในระบบเดิม ซึ่งคาดกันว่าท้ายที่สุดแล้ว Tsubame 2.0 จะประมวลผลได้หลายเพตาฟลอป
ที่มา - PCWorld
Comments
SPARC64 VIIIfx แรงกว่าcorei7 อีกเหรอเนี้ย
เป็นไปได้ครับ จากข้อมูลปี 2008 ใน Wikipedia Intel Core i7 965 XE วิ่งที่ 70 กิกะฟลอป แต่ SPARC64 VIIIFx ยังเป็นรอง AMD FireStream 9270 ที่วิ่งได้ 240 กิกะฟลอปครับ (เทียบที่การประมวลผลแบบ double precision)
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
งั้นตัวประมวลผลที่แรงที่สุดก็อยู่บนการ์ดจอ
เรื่องคำนวน floating point การ์ดจอกิน CPU ขาดอยู่แล้วครับ มันออกแบบมาสำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ไม่ได้บอกว่า CPU ไม่ดีนะ คือ มันก็ทำงานได้ดีระดับนึงครับ แต่ถ้าเทียบ ๆ กันแล้ว GPU มีตัวคำนวน FP กี่ Unit ล่ะ ?
คือ การคำนวนกราฟิค 3D มันเป็น Floating Point Operation ล้วน ๆ น่ะครับ ก็เลยต้องเน้นตรงนี้เป็นหลัก ในขณะที่งานทั่ว ๆ ไปมันก็จะถัว ๆ กันระหว่าง Integer Operation กับ Floating Point Operation (คิดว่า IO น่าจะมากกว่า FPO ด้วยซ้ำนะ -- ขอย่องี้นะครับ ย่อจากคำข้างบนน่ะล่ะ)
ตามคุณ mr_tawan กล่าวครับ GPU ชนะ CPU ขาดรอย
อย่างเช่น AMD FireStream 9270 ก็ถือว่าเป็น GPU ที่แรงเมพขิงๆ โดยรุ่น 9270 จะคำนวณ single precision ได้ระดับ 1,200 กิกะฟลอปเลยครับ ส่วน ATI Radeon HD 4870X2 (มี GPU สองตัว) วิ่งได้ 2,400 กิกะฟลอป
สำหรับ single precision นั้น Nvidia Tesla C1060 วิ่งที่ 933 กิกะฟลอป แต่พอเป็น double precision วิ่งได้แค่ 78 กิกะฟลอปเอง
[อ้างอิง]
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
โลกของ Real-Time 3D เพิ่งก้าวมาสู่ Double Precision เมื่อไม่นานนี้เองครับ (ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นช่วง DirectX 10 มั้ง ?) ตัว GPU เองก็เพิ่งผันตัวเองมาทำ DP เอง คงต้องอีกสักพักกว่าจะทำได้ทัดเทียมกับ SP (คิดว่าคงไม่นานเพราะว่า GPU ตอนนี้เองก็ถูกนำมาใช้ในการคำนวนทั่ว ๆ ไปมากขึ้น (ก็คือ GPGPU น่ะครับ) )
Computer แบบนี้ ต้องคู่กับ Admin ที่เร็วที่สุดในโลกด้วยไหมเนี่ย -_-'
ดูขนาดของ Venus แล้ว ใหญ่จริงๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
การประมวลผลอะไรครับ ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถขนาดนั้นและจำเป็นขนาดนั้น... ?
ช่วยยกตัวอย่างให้ดูหน่อยครับ
โครงการ Loop ไงครับ
ปล.ล้อเล่น
ฮา~* โครงการ Loop น่ากลัวนะเนี่ย หรือว่า ผมกำลังถูกครจับตาอยู่!!
ปล.การประมวลผลข้อมูลระดับสูงก็เช่น พวกโครงการคำนวนหรือจำลองระบบขีปนาวุธ, การประมวลผลข้อมูลทางดาวเทียม หรือข้อมูลระดับอวกาศ และพวกการทำนายผลสภาพอากาศ ฯลฯ ครับ
ถ้าตอบแบบสั้นๆนะครับ คือ งานที่มีความซับซ้อนมากๆ ใช้ algorithm ที่ซับซ้อนมากๆ หรือต้องจำลองเหตุการณ์ที่ซับซ้อนมีความต่อเนื่องของเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ เช่น งาน simulation, optimization และปัญหาแบบ NP เป็นต้น หรืองานที่มีข้อมูลขนาดมหึมาและต้องใช้เวลาในการประมวลผลยาวนาน ผมขอยกตัวอย่างใกล้ๆในประเทศเราแล้วกันครับ เช่น การออกแบบยา (drug design) ที่ใช้พลังประมวลผลจากซูเปอร์คอมของ Thaigrid เป็นต้น
ยังมีตัวอย่างแอพพลิเคชันอีกมากมาย เช่น พยากรณ์อากาศ, การจำลองสถาการณ์เพื่อออกแบบ รถ/อาวุธ/เครื่องบิน, จำลองแผนป้องกัน/โจมตีสำหรับการทหาร, ถอดรหัสข้อมูล, งานออกแบบยา/เครื่องสำอาง/เซมิคอนดักเตอร์/ผลิตภัณฑ์ต่างๆ, วิเคราะห์/ทำนายสำหรับการเงิน/เศรษฐกิจ, Earth simulation, สร้างสื่อมัลติมีเดีย/ภาพยนตร์/เกม, ... จนกระทั่งสร้าง Web cluster เพื่อให้บริการเว็บให้เร็วขึ้น เป็นต้น
จาก TOP500 เขาแบ่ง application ของซูเปอร์คอมเป็นหลายพวก เข้าไปดูได้ที่นี่ครับ
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
ที่เห็นได้ง่ายๆคือพยากรณ์อากาศ
FM 2012
เท่าที่ทราบนะครับ ประมวลผลความต่างของ พันธุกรรม เพื่อหาลำดับวิวัฒนาการเนี่ย ใช้เยอะมาก
จำได้ว่า อ.เล่าว่าถ้าใช้ PC (ที่เป็น แมค) รันโปรแกรมแบบที่ว่าเนี่ย รันไป 5 วันก็ยังไม่เสร็จ
ถ้าใช้ PC (Windows) ก็มักจะแฮงค์ไปก่อน (สมัยที่ไม่มี XP) ประมาณนั้นครับ
ตอนนี้ windows 7 คงไม่แฮงค์แล้วมั้ง
Solitaire ครับ
quantum simulation
เอาไว้เปิดบอทครับ
ขอบคุณนะครับ
อยากทราบว่า super computer ใช้ os ไรหรอครับ
ที่ผมเห็นฮิตๆ ก็มี RHEL กับ SLES ครับ
OS ไม่รู้แต่ถ้าเป็นสถาปัตยกรรมซีพียูน่าจะเป็นrisc procesorน่ะครับ
สมัยนี้ผมว่าโปรเซสเซอร์ CISC หลายรุ่นมันใช้หลักการทั้ง RISC กับ CISC นะครับ แม้โปรเซสเซอร์ตระกูลอินเทลทั้ง X86 และ X86-64 มักถูกจัดว่าเป็น CISC แต่ว่ามันก็มีความเป็น RISC อยู่เหมือนกัน อย่างมีการใช้ micro-ops (ตั้งแต่ Intel P6) ก็เป็นไอเดียคล้ายกับ RISC จึงกล่าวได้ว่ามันเป็น CISC แต่มีความเป็น RISC-like
สมัยก่อน PowerPC และ RISC ตระกูลอื่นๆกินตำแหน่งซูเปอร์คอมของ TOP500 พอสมควร แต่สมัยนี้อินเทลชนะนำโด่งไปแบบขาดรอยครับ [อ้างอิง]
ขอเสริมเรื่องระบบปฎิบัติการของซูเปอร์คอม - โปรเซสเซอร์ตระกูลอินเทลกินส่วนแบ่งตลาดซูเปอร์คอม ก็ไม่มีข้อจำกัดอะไรแล้วว่าจะใช้ระบบปฎิบัติการอะไร หรือแม้กระทั่งใส่ virtualization เข้าไปก็ยิ่งมีความหลากหลายของระบบปฎิบัติการ ตอนนี้ Windows ก็มีส่วนแบ่ง 1% ใน TOP500 แล้วนะครับ :) [อ้างอิง]
ป.ล. ถ้าผมตอบผิดยังไง ท่านที่ทราบช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจด้วยนะครับ
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
เอาเข้าจริงสมัยนี้มันก็ไม่มี RISC แล้วล่ะครับ พวกตระกูล RISC ทั้งหลาย เช่น SPARC หรือ Power ไปดู ISA ก็ซับซ้อนมหาศาลเหมือนกัน
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เอะ! ไม่มีคนพูดคง "ประเทศสารขัณฑ์" (ฮ่าๆๆๆ)
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ไม่ผิดหวังเลยที่ติดตามเว็บนี้ครับ