Tags:
Node Thumbnail

Network neutrality กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐ เพราะบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งเสียประโยชน์จากนโยบาย network neutrality ต่างออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยที่ FCC จะออกกฎนี้

นาย Ivan Seidenberg ซีอีโอของ Verizon ผู้ให้บริการมือถืออันดับหนึ่งของสหรัฐ ขึ้นเวทีในงาน Supercomm 2009 และพูดถึงประเด็นนี้ โดยบอกว่ากฎเกณฑ์ network neutrality จะส่งผลเสียต่อการเติบโตของอินเทอร์เน็ต เขาตอบโต้แนวคิดของผู้ที่สนับสนุน network neutrality (เช่น ซีอีโอเว็บใหญ่ๆ ที่เพิ่งเข้าชื่อกัน) ที่ว่า บริษัทเจ้าของเครือข่ายควรทำตัวเป็น "ท่อลำเลียง" เพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจว่าลำเอียงอะไร (dumb pipe) เขาบอกว่าแนวคิดนี้ผิด สิ่งที่ถูกต้องคือท่อนั้นต้องฉลาดและเลือกได้ว่าจะส่งแพ็กเก็ต ไหนก่อน-หลัง (smart pipe)

เขายังยกตัวอย่างด้วยว่าถ้าปล่อยให้การจราจรบนอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างอิสระ แพ็กเก็ต ของแอพพลิเคชันที่มีความสำคัญสูง อย่างการแพทย์ออนไลน์ อาจไปถึงช้ากว่าที่ควรหรือขาดหาย ซึ่งมีผลเสียต่อชีวิตของคนไข้

ที่มา - CNET

Get latest news from Blognone

Comments

By: toandthen
WriterMEconomics
on 23 October 2009 - 18:43 #133203
toandthen's picture

งานนี้ผลประโยชน์เรื่องใครได้ใครเสียมันชัดเหลือเกิน

ถ้าอยากให้ทั้งโลกมีเน็ตห่วย ๆ เหมือนออสเตรเลียก็คงช่วยไม่ได้


@TonsTweetings

By: ninja741 on 23 October 2009 - 18:48 #133205

แถเข้าไป

By: ABZee on 25 October 2009 - 09:41 #133609 Reply to:133205

+1

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 23 October 2009 - 19:14 #133214
nuntawat's picture

"แพกเกจ" นี่ "แพ็คเก็ต" (packet) หรือเปล่าครับ เพราะ "แพกเกจ" (package) นี่กลายเป็นหีบห่อของไปแล้ว

By: mk
FounderAndroid
on 23 October 2009 - 19:21 #133220 Reply to:133214
mk's picture

แก้แล้วนะครับ ผมติด package ของลินุกซ์มากไปหน่อย

ส่วน packet แปลว่าหีบห่อของก็ได้เหมือนกันครับ

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 25 October 2009 - 13:35 #133635 Reply to:133220
nuntawat's picture

ผมว่าน่าจะแท็ก "Net Neutrality" แทนที่ "Network Neutrality" นะครับ เพราะมีอยู่แล้ว

By: illusion
ContributorAndroid
on 23 October 2009 - 19:14 #133215
illusion's picture

แต่ชอบเมกาจัง ที่เวลาใครได้ประโยชน์เสียประโยชน์ก็ออกมาพูดกันตรงๆ สื่อก็เอามาเปิดเผยให้รู้กันไปเลย ประชาชนก็ให้ความสนใจด้วย

ไม่เหมือนประเทศสารขัณฑ์ งุบงิบแล้วทำกันเงียบๆ หนักกว่านั้นคือประชาชนหาเช้ากินค่ำไม่คิดจะสนใจด้วย เห็นแล้วรันทด T-T

By: runnary
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 23 October 2009 - 21:09 #133252 Reply to:133215
runnary's picture

ประเทศที่ว่า คงไม่ใช้ไทยม้างงงงง น่าจะเป็นพวกประเทศด้อยพัฒนา
เอะ!! หรือใช่ไทย???

By: jane
AndroidUbuntu
on 23 October 2009 - 19:17 #133217
jane's picture

แทนที่จะจัดทำ QoS ดันไปจำกัด Bandwidth
Product Router/Core switch ทุกๆ ตัวที่ ISP ใช้ รองรับ QoS กันหมดแล้ว

ปล.ที่ทำงาน ก็ใช้หลักการบริหารแบบ QoS/Priority/Guarantee Bandwidth ครับ ไม่ได้ทำการจำกัด Bandwidth

ทำให้ท่อที่ "จ่ายไปแล้วไม่ว่าใช้มาก หรือ น้อยก็จ่ายเท่าเดิม" ใช้งานเต็มตลอดเวลา แต่เมื่อต้องการใช้งานสำคัญก็รวดเร็ว โดยงานอื่นๆ ก็ถูกจัดลำดับต่ำลงไป

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 23 October 2009 - 19:26 #133221
hisoft's picture
  • เขายังยกตัวอย่างด้วยว่าถ้าปล่อยให้การจราจรบนอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างอิสระ แพ็กเก็ต ของแอพพลิเคชันที่มีความสำคัญสูง อย่างการแพทย์ออนไลน์ อาจไปถึงช้ากว่าที่ควรหรือขาดหาย ซึ่งมีผลเสียต่อชีวิตของคนไข้

ถ้าจะอ้างเหตุการณ์นี้ ทำไมไม่ทำให้ท่อมันรองรับทุกๆ อย่างพร้อมๆ กันได้ล่ะครับ

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 23 October 2009 - 20:04 #133233

ผมว่าไม่ควรขนาดเสรี ถนนเช่นสะพานข้ามแยกบ้านเรายังจำกัดไม่ให้รถมอไซขึ้นเลย แล้วถนนของโลก cyber เปิดหมดจะดีจริงหรอ ทรัพยากรจำกัด การใช้งานย่อมต้องจำกัด แต่ถ้าวันหนึ่ง supply เพียงพอที่จะทำให้ทุกบริการลื่นไหล คงจะเปิดหมดได้จริงๆ

หอพักถ้าไม่จำกัดอะไรเลย คนโหลดบิตกันจนเปิดเว็บอืด เล่นเกมออนไลน์ไม่ได้ หอพักควรแก้ด้วยการใช้เน็ตที่เร็วสูงจนเพียงพอโหลดบิตได้โดยไม่กระทบคนเล่นเว็บ เล่นเกม หรือควรจะจำกัดการโหลดบิต ผู้ให้บริการเค้าก็มีค่าใช้จ่ายและทรัพยากรจำกัดนะครับ

ยกสองเคสมา น่าจะพอเทียบกับผู้ให้บริการเน็ตได้นะครับ


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: mk
FounderAndroid
on 23 October 2009 - 20:07 #133236 Reply to:133233
mk's picture

ข้อถกเถียงเรื่องนี้ของฝ่ายที่สนับสนุน net neutrality ก็คือ ผู้ที่กำหนดว่าอะไรได้ไม่ได้ เป็น ISP น่ะครับ สิทธิ์ในการเลือกอยู่ที่ ISP และไม่มีอะไรการันตีว่าถ้า ISP เกิดบ้าขึ้นมาจะทำยังไง เช่น สมมติว่าถ้า ISP ทุกเจ้ารวมหัวกันกำหนดว่า ต่อไปนี้ส่งอีเมลข้อความละบาท เป็นต้น

ส่วนข้อถกเถียงของฝ่ายที่คัดค้าน net neutrality ก็ตามที่คุณว่ามานั่นล่ะครับ

By: toandthen
WriterMEconomics
on 23 October 2009 - 21:20 #133253 Reply to:133233
toandthen's picture

ถูกต้องครับ ส่วนเหตุผลของฝ่ายไม่สนับสนุนคือทำไมหอพักไม่ทำระบบให้ดีกว่านี้หน่อย เพราะคนใช้ก็จ่ายเงินนะ ...


@TonsTweetings

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 26 October 2009 - 10:42 #133772 Reply to:133253
zerocool's picture

ถ้าหอพักทำระบบ Internet ให้ดีขึ้นแต่ก็แน่นอนว่าเก็บค่าใช้บริการแพงขึ้นเพราะบริการที่ให้นั้นย่อมต้องมีต้นทุน แล้วแบบนี้คนที่พักอาศัยอยู่จะรู้สึกดีกับมันหรือเปล่า? แล้วคนที่ต้องการใช้ Internet เพื่อทำงานเพียงอย่างเดียวใช้ Bandwidth ไม่เยอะ เ่ช่น ส่ง E-Mail หรือคุยกับเพื่อนผ่าน MSN จะรู้สึกอย่างไรที่ต้องเสียค่าบริการแพง ๆ เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของคนอื่นที่จะ P2P นี่ยังไม่นับว่าสิ่งที่ Download กันผ่าน P2P นั้นส่วนใหญ่คงไม่พ้นของละเมิดลิขสิทธิ์นะ

ยิ่งไปกว่านั้นถ้าหากหอพักเลือกที่จะไม่แยกค่าบริการ Internet ออกจากค่าเช่ารายเดือนแต่กลับผนวกรวมกันไปเลย คนอื่นที่พักที่นั่นแต่ไม่ได้ใช้ Internet จะรู้สึกอย่างไร? หรือจะรวมตัวกันออกมาเรียกร้องให้เจ้าของหอพักปรับเปลี่ยนรูปแบบค่าบริการ กลับกลายเป็นว่าเจ้าของหอที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนตามหลักกลไกเป็นฝ่ายผิดอย่างนั้นหรือ?

สังคมคือสถานที่ที่ทุกคนอยูร่่วมกัน ดังนั้นผมจึงคิดว่ามันต้องมีกฎระเบียบหลาย ๆ อย่างมาจัดการอย่างเหมาะสมที่จะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้

ทุกวันนี้มันเหมือนกับว่าเฉพาะคนที่รู้จัก P2P เท่านั้นที่ได้ใช้ Bandwidth จาก Internet อย่างเต็มที่หรือบางทีอาจจะไปเบียดเบียนความเร็วของผู้ที่ไม่รู้จัก P2P ด้วยซ้ำ ทั้ง ๆ ที่ก็จ่ายเงินเท่ากัน

ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ก็อยากให้ลองไปเล่นเกม DOTA ที่ร้าน Internet Cafe ที่เด็กในร้านบางคน Download หรือ Bittorrent อยู่แล้วจะรู้ว่ามันเล่นไม่ได้เลย ทั้ง ๆ ที่ก็เสียเงินมาใช้บริการเท่ากันแต่คนหนึ่งกลับได้บริการอย่างที่ต้องการ ในขณะที่อีกคนล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง

สำคัญที่สุดที่ต้องเน้นอีกครั้ง ของที่ P2P กันอยู่ที่ออกมาเรียกร้องกันน่ะ มันถูกลิขสิทธิ์แล้วเหรอ ... หนังโป๊ Game บน Platform ต่าง ๆ ภาพยนตร์ เพลง หนังสือ ... ตัวเองยังกระทำผิด แต่ก็ยังเรียกร้องความยุติธรรมอย่างเห็นแก่ตัวจากผู้อื่น

อนิจจา สันดานมนุษย์ สิ่งไหนที่มีประโยชน์ต่อตัวเอง สิ่งนั้นแหละที่คนมักจะคิดว่ายุติธรรม


That is the way things are.

By: PH41
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 26 October 2009 - 23:46 #133893 Reply to:133772
PH41's picture

707

By: Thaina
Windows
on 23 October 2009 - 22:41 #133281 Reply to:133233

เพราะงั้นผมเลยเห็นว่า มันถึงต้องมี "ข้อตกลงกลาง" ไงครับ ว่าควรจะยึดอะไรเป็นมาตรฐาน
อะไรที่จำเป็นต้องเสรีจริงๆ อะไรที่ต้องยึดถือไว้จริงๆ และ ISP ต้องทำตามนั้น

ถ้าการที่ต้องจำกัดเส้นทางเฉพาะ เป็นเรื่องจำเป็น ก็ควรเป็นข้อตกลงกลาง ที่ ISP ทุกๆเจ้าต้องทำเหมือนกัน
การคัดค้านไปทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องที่สมควร ผมจึงไม่เห็นด้วย

By: azx
iPhoneWindows
on 24 October 2009 - 04:50 #133353 Reply to:133233
azx's picture

+7