ปัญหาด้านความปลอดภัยของการใช้ไวร์เลสแลนยังคงเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันเป็นวงกว้าง ล่าสุดในสหรัฐอเมริกาเกิดการจับกุมนาย Alexander Eric Smith อายุ 20 ปี ข้อหาลักลอบใช้บริการอินเทอร์เน็ตของร้านกาแฟแห่งหนึ่ง จากรถบรรทุกที่จอดในที่จอดรถของทางร้าน
ทางร้านระบุว่าถูกนาย Eric ขโมยใช้อินเทอร์เน็ตมาเป็นเวลาถึงสามเดือนแล้ว โดยที่นาย Eric ไม่ได้ซื้ออะไรไปเลยแม้แต่ชิ้นเดียว จึงแจ้งตำรวจมาจับในข้อหาดังกล่าว
อย่างไรก็ตามบริการอินเทอร์เน็ตของทางร้านเป็นการให้บริการแบบเปิด โดยไม่ต้องผ่านการรักษาความปลอดภัยใดๆ ทางตำรวจกำลังตรวจสอบว่าควรดำเนินคดีนี้ต่อไปหรือไม่
แถวนี้มีใครแอบใช้เน็ตข้างบ้านเข้า Blognone กันมั่งมั๊ยเนี่ย
ที่มา - KATU 2
Comments
มีเพื่อนคนหนึ่งก็อยู่ในสถานการณ์คล้ายๆ แบบนี้เหมือนกัน มีสัญญาณ Wireless ลึกลับ (จนวันนี้กว่าปีกว่าเขาก็ยังหาที่มาของมันไม่เจอ) ปรากฎในบ้านของเขา แถมไม่มี protection ด้วย เขาก็เลยได้ใช้ฟรีๆ เลย
(หมายเหตุ ข้างๆ บ้าน เขาเป็นตึกแถวที่มีสภาพเป็นโกดัง คือไม่มีคนอยู่นั่นเอง)
ทางแก้คือโหลด bittorrent ให้เต็มกำลัง เพื่อคนที่แอบใช้จะได้เล่นเนทไม่ได้ 555+
ezy : เ่ง่ย น่ากลัวนะนั่น
นึกว่าจะใช้ "เน็ตของเธอ" ซะอีก
อินเทอร์เน็ต ผี!
อ่าน comment แล้วขำดี
ตอนนี้มาแอบใช้อยู่ K?U
หากมองทางกฏหมายเรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควรครับ เพราะต้องมาตีความกันว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นทรัพย์หรือไม่ หากเป็นทรัพย์ ก็ต้องมาตีความกันว่าการใช้ wireless ของคนอื่นเป็นการพรากกรรมสิทธิ์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปจากเจ้าของหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ที่เมืองไทยตีความเป็นความผิดข้อหาลักทรัพย์แล้ว (ทั้งที่องค์ประกอบไม่เข้าข่ายลักทรัพย์ก็ตาม) ผมว่ากฏหมายพวกนี้น่าสนใจครับ เพราะเกี่ยวข้องกับคนวงการไอทีโดยตรง และผมคิดว่าพวกเราน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการออกกฏหมายพวกนี้ด้วย ลำพังนักกฏหมายคงมีความรู้ด้านเทคนิคไม่พอ
ยังไงผมลองถามนักกฏหมายประจำเวบ BioLawCom.De ดู (แอบโฆษณาเล็กน้อย) เผื่อจะได้ข้อมูลทางกฏหมายที่ละเอียดกว่านี้มาอ่านกันครับ
ไวร์เลสผี น่ากัว
bow_der_kleine - ไม่ทราบว่าเรื่องที่เมืองไทยตีความเป็นการลักทรัพย์นี่อ้างอิงจากไหนหรือครับ
โดยส่วนตัวแล้ว การระบุว่าเป็นการลักทรัพย์ทั้งที่เป็นการ"เปิด" เครือข่ายเองโดยเจ้าของนี่อันตรายมากๆ เช่นถ้าบ้านผมอยู่ข้างร้านกาแฟที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี ผมตั้งตั้งไวร์เลสที่บ้านผมเองโดยไม่รู้เรื่องอะไรมากมาย แค่เสียบแล้วไฟติด ใช้งานได้ ปรากฏว่าเครื่องผมมัน connect เข้าไปร้านกาแฟโดยที่ผมไม่ได้ตั้งใจ อาจจะคลิกมั่วซั่ว ตอนมัน connect อย่างที่ผู้ใช้ 95% ทำๆ กัน
อย่างนี้ผมจะถูกจับไหม? ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เคยมีคดีความของ ไอบีซี(ปัจจุบันคือยูบีซี) ฟ้องคนขายจานดาวเทียมว่าละเมิดสิทธิ์สัญญาณในการดูไอบีซี ผลปรากฎว่าศาลยกฟ้องหรือไอบีซีแพ้(ไม่แน่ใจ) เนื่องจากเห็นว่า ไอบีซีต้องหาทางป้องกันคลื่นของตนเองด้วยการเข้ารหัสไม่ให้ จานดาวเทียมธรรมดารับสัญญาณได้ ต่อมาไอบีซีจึงไปซื้อการเข้ารหัสของต่างชาติมาใช้จนปัจจุบัน นี่คือคดีตัวอย่างสำหรับคดีความคล้ายๆกัน...
มายืนยันว่าเป็นอย่างที่ foxhound พูดครับ ในกรณีที่ IBC (ตอนนั้น) แพ้ในกรณีที่ฟ้องผู้ติดตั้งอุปกรณ์เถื่อน แต่ตอนนั้นข่าวเป็น MMDS นะ เพราะผู้ถูกกล่าวหาแย้งว่า IBC ที่บอกว่าเป็นเคเบิ้ลทีวีแต่ีไม่ได้ส่งสัญญาณมาตามสายกลับส่งสัญญาณมาเป็นคลื่นวิทยุดังนั้นจึงไม่ใช่เคเบิ้ลทีวี และผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ลักลอบดู แต่ติดตั้งสายอากาศในอาคารที่พักซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองจึงมีสิทธิ์ทำได้ และเมื่อคลื่นวิทยุเข้ามาในบริเวณทีผู้ถูกล่าวหาเป็นเจ้าของ ดังนั้นจึงมีสิทธิ์รับสัญญาณนั้นได้
ดังนั้นจึงเป็นคดีตัวอย่างหนึ่งสำหรับไทยว่าถ้าคุณไม่ป้องกันสัญญาณ(สังหาริมทรัพย์) ของคุณตามสมควร คุณจะไปกล่าวหาใครว่าลักทรัพย์ไม่ได้
foxhound, Kerberos - ผมมองว่ากรณี Wireless นี่ต่างออกไปนะ เพราะเป็นการสื่อสารสองทาง ขณะที่คลื่นไวร์เลสของข้างบ้าน อาจจะเข้ามาอยู่ในบ้านเราเอง แต่ขณะเดียวกัน เราเองก็ส่งคลื่นเพื่อเข้าไปใช้งานอุปกรณ์ของคนข้างบ้านด้วยเหมือนกัน นี่อาจจะเป็นจุดที่ผู้เอาความในบ้านเราใช้เป็นประเด็นได้
แต่ที่ผมกังวลคือ การบุกรุกเช่นนี้สามารถทำได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศอาจจะทำได้โดยไม่รู้ตัวจริงๆ เพราะกด Connect เป็นอย่างเดียว ไม่รู้จักปุ่มอื่น ถ้าเราบอกว่ากรณีนี้ไม่ผิด จะมีการนิยามของเครือข่าย "ปิด" กันอย่างไร? Mac filtering พอไหม? หรือต้อง WEP หรือจะเป็น WPA ฯลฯ หรือคนปล่อยสัญญาณต้องระวังไม่ให้คลื่นออกจากบ้านไปเอง (เอาแผ่นฟอยล์มาห่อบ้านไว้?) ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
สำหรับการปิดตามสมควรนี่ผมว่า mac filtering ก็พอจะอ้างได้ว่าเจ้าของไม่ต้องการให้มันเป็นเครือข่ายสาธารณะแล้วนะ เพราะผู้ใช้ที่ไม่ได้ตั้งใจก็จะไม่สามารถเข้ามาได้โดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้ามีใครพยายามจะเปลี่ยน mac แสดงว่ามีความตั้งใจที่จะบุกรุกเครือข่ายแล้ว
Kerberos - ในทางเทคนิค เราก็เข้าใจกันได้อย่างนั้นไงครับ แต่ในทางกฏหมายล่ะ? ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมได้สอบถามนักกฏหมายประจำเวบอีกครั้งแล้วครับ ขออภัยเรื่องความผิดพลาดของข้อมูลเล็กน้อยครับ คดีที่เกิดขึ้นมีคล้าย ๆ กันสองคดีคือ ลักใช้ไฟฟ้า กับลักใช้คลื่นโทรศัพท์มือถือ ปรากฏว่าลักใช้ไฟฟ้าถือเป็นความผิด แต่ลักใช้คลื่นมือถือไม่ผิด
ปัญหาทางกฏหมายในบ้านเราตอนนี้คือ ไม่มีฐานความผิดที่ชัดเจนสำหรับกรณีดังกล่าว อย่างที่บอกครับ เราต้องมาตีความว่า สัญญาณเป็น ทรัพย์ หรือไม่ และการลักใช้สัญญาณเป็น การพรากกรรมสิทธิ์ หรือไม่ เรื่องนี้ผมคงไม่ลงรายละเอียดเพราะผมเองก็ไม่ใช่นักกฏหมาย
ส่วนเรื่องการเข้ารหัสข้อมูลนั้น ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ และเจตนามากกว่า เพราะการเข้ารหัสข้อมูลเป็นการบอกคนอื่นทางอ้อมว่า เฮ้ย ข้อมูลอันนี้เป็นของฉันนะ ฉันเข้ารหัสไว้แล้ว ไม่ใช่ของสาธารณะ หากคุณถอดรหัสไปใช้ก็เท่ากับว่ามี เจตนา ลักใช้ ซึ่งเจตนานี่แหละครับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากทางกฏหมาย
ทางออกของปัญหาในความคิดของผมคือ ออกกฏหมายที่รองรับเรื่องพวกนี้ออกมาต่างหาก ตัวอย่างเช่น กฏหมายคุ้มครองเจ้าของสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ กฏหมายคุ้มครองข้อมูลอิเลคโทรนิค อะไรพวกนี้เป็นต้น เพราะข้อหาลักทรัพย์มาจับก็คงต้องปวดหัวกันต่อไป
ถ้าสัญญาณเป็นทรัพย์สิน การที่สัญญาณเค้ารุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของเราเค้าผิดหรือป่าว
ไม่อยากให้ออกกฎหมายออกมาเยอะๆมากเกินไป มีข้อกฎหมายใดที่นำมาปรับใช้ได้ควรนำมาปรับใช้เพื่ออุดช่องโหว่ของกฏหมาย นอกจากว่าจะเป็นกฎหมายเฉพาะเจาะจงจริงๆ ในยุโรปเขาไม่ค่อยตรากฎหมายออกมาใหม่ๆมากนักแต่เน้น นำข้อกฎหมายที่มีอยู่มาปรับใช้ เพราะการตรากฎหมายใหม่จะใช้เวลาและทรัพยากรมาก
จริง ๆ เรื่องการลักใช้บริการโดยผิดกฎหมาย ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่สำหรับบ้านเรานักครับ เพราะที่ผ่านมา มีการลักทั้งพลังงานไฟฟ้า ลักคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ลักลอบจูนโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แต่ ก็อย่างที่คุณโบว์บอก ว่าที่ผ่านมาอีกเหมือนกัน ยังมีปัญหาเรื่อง "การตีความ" กฎหมายเก่านิดหน่อย เกี่ยวกับคำว่า "ทรัพย์"
หลังจากศาลตัดสินออกมา ว่า ลักกระแสไฟฟ้า ผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนลักจูนสัญญาณมือถือ ไม่ผิดฐานลักทรัพย์ ยกฟ้อง....ก็เลยเกิดการถกเถียงกันยกใหญ่ในวงการกฎหมาย
จริง ๆ แล้วรายละเอียดที่ศาลให้ไว้ในคำตัดสินทั้งสองส่วน มีอยู่พอควร ผมกำลังรวบรวมอยู่ครับ เพื่อเอาปัญหาเรื่องไวเลสนี้ไปวิเคราะห์ในมุมมองกฎหมายไทยด้วย (คุณโบว์แก่ขู่ให้เขียน :)) ... ถ้าท่านใดสนใจก็เรียนเชิญได้ครับ แต่ตอนนี้ยังไม่เสร็จ (ฮี่ ฮี่)
อย่างไรก็ตาม ขอเข้าเรื่องการลักใช้บริการอินเตอร์เน็ต โดยดักจากไวร์เลส ตามกระทู้นี้หน่อยหนึ่่่่่่่่่่่่่่่่่งก่อน เพราะ เรื่องนี้ ดู ๆ ไปเหมือนจะเป็นเรื่องใหม่ แต่เอาเข้าจริง องค์ประกอบการกระทำความผิด ไม่ได้มีลักษณะแตกต่าง ไปจากการลักจูนสัญญาณมือถือเลย...
ทั้งนี้เพราะ "สัญญาณ" ที่ถูกปล่อยออกไป เป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ เหมือนกัน ใครก็ดักเอาไปได้ ที่สำคัญ ดักเอาไปแล้วไม่ได้รบกวนการใช้งานของคนอื่นอีกต่างหาก (ผลเสียหายที่เกิดขึ้น ไปปรากฎอยู่ที่ "ใบเสร็จค่ามือถือ") ดังนั้นเลยมีความเป็นไปได้ ว่าหากเกิดเรื่องแบบนี้ที่บ้านเราตอนนี้ ตอนที่กฎหมายยังไม่ได้รับการแก้ไขใด ๆ ศาลก็อาจยกฟ้องไป ตามแนวเดียวกับการจูนมือถือ เพราะไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐาน "ลักทรัพย์"
ปัจจุบัน การกระทำการใด ๆ กับ คลื่นสัญญาณแบบนี้ เลยกลายเป็นรูโหว่รูเบ้อเริ่มที่กฎหมายทำอะไรไม่ได้ ในขณะที่มันได้่ก่อความเสียหายไปมิใช่น้อย จำต้องหาวิธีอุดกันแบบเร่งด่วน...
เพียงแต่จะมีวิธีอุดยังไง จะด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเก่า หรือจะออกกฎหมายใหม่ ก็ต้องพิจารณาความเป็นไปได้อีกที...
การปรับใช้กฎหมายเก่า บางครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ นะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็น "กฎหมายอาญา" ที่มีโทษริดลอนสิทธิของประชาชน เลยต้องใช้ และตีความกันอย่างเคร่งครัด ...จน บางทีก็ลากไปไม่ถึงคดีที่มีการใช้เครื่องมือใหม่ ๆ หลาย ๆ ครั้ง ไม่เฉพาะในประเทศไทย ประเทศอเมริกา หรือแม้แต่ ประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรปเอง ..ก็เลี่ยงไม่ได้ จำต้องบัญญัติกฎหมายใหม่เพื่ออุดช่องโหว่เหมือนกัน... ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ตอนนี้ ทุกประเทศกำลังเร่งมือ ออกกฎหมายเพื่อควบคุมการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (อาชญากรรมคอมพิวเตอร์) กันอยู่
อ้อ...แถมนิดเดียวครับ ประเด็นการเผลอเข้าไปในช่องสัญญาณ โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว...อาจมิต้องเป็นห่วง เพราะ การใช้ "กฎหมายอาญา" มีจุดสำคัญอยู่จุดหนึ่งเสมอคือ การกระทำใด ๆ จะเป็นความผิดได้ ผู้กระทำต้องมี "เจตนา" เท่านั้น...ดังนั้น ก็ย่อมสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์กันได้อยู่แล้ว...แหะ ๆ แค่นี้ก่อนครับ เดี๋ยวยาวไป.. ้ ด้วยมิตรภาพ
เชกูวารา
ขอถามต่อนิดนึงล่ะกันครับ แบบว่าถ้าเราไม่ได้แอบใช้ แต่เป็นรบกวนหล่ะครับ เช่น บ. นี้มันใช้ wireless กัน เราเป็นคู่แข่ง ก็ยิงสัญญาณไปกวน ไม่ให้เค้าทำงานได้
อันนี้เป็นความผิดเราที่ไปก่อกวนเค้าหรือความผิดเค้าที่ไม่ป้องกันให้ดีเอง
iPAtS
>> แบบว่าถ้าเราไม่ได้แอบใช้ แต่เป็นรบกวนหล่ะครับ
แล้วถ้าเป็นฟ้องว่าสัญญาณเค้ามารบกวนเราละ
เรื่องนี้ยาวแน่ๆๆ
เรื่องที่ถาม ยาวจริง ๆ ครับ และยังเป็นประเด็นที่อยู่ในระหว่างร่างกฎหมายใหม่ ของหลาย ๆ ประเทศด้วย เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่อง "การลัก" อะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีหลักการกำหนดฐานความผิด ที่อาจเทียบเคียงได้ตามกฎหมายเก่า เท่านั้น
แต่มันเริ่มเข้าไปเกี่ยวพันกับประเด็นการคุ้มครอง "เสถียรภาพการใช้งาน" ของระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเน็ทเวิร์ค ซึ่งเป็นหลักการคุ้มครองรูปแบบใหม่ จากการกระทำความผิดรูปแบบใหม่ กับวัตถุเป้าหมายใหม่ ที่ไม่เคยถูกกำหนดหลักไว้ ในกฎหมายใดมาก่อน
จริง ๆ ถ้าจะเทียบเคียง ก็คล้าย ๆ กับ การส่งโปรแกรม หรือเขียนโปรแกรมโจมตี ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้การทำงานไม่เป็นปกติ นั่นแหละครับ เพราะเป็นผลทำให้เกิดอาการติด ๆ ขัด ๆ ในการใช้งาน หรือการให้บริการ
ผิดหรือไม่ ผิดอะไร ตอนนี้ ผมก็เลยตอบไม่ได้เหมือนกัน คงต้องรอกฎหมายที่ชัดเจนกันต่อไป..
อย่างไรก็ตาม ถ้าถามผมว่า ดูกฎหมายเก่าตอนนี้ซิ ทำอะไรได้บ้างไหม ?
ฟันธงเลยครับว่า ....ลำบาก....จะว่าผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์ก็ไม่ใช่ (ประเด็นทรัพย์ยังไม่จบเลย) บุกรุกเพื่อรบกวน การครอบครองก็ไม่ได้แน่ เพราะกฎหมายอาญากำหนดใช้เฉพาะกับอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่ความผิดฐาน "กีดขวางทางสาธารณะ" กฎหมายก็เขียนเจาะจงไว้ว่า จะผิดก็ต่อเมื่อเป็นอุปสรรคต่อความปอลดภัย หรือความสะดวกในการจราจร ต้องมานั่งตีความกันอีกว่า จราจร อะไร ??? ยุ่งเหยิงกระเซอะกระเซิงครับ ถ้าจะเล่นกับกฎหมายเก่า ..
สรุปว่า กฎหมายอาญาไม่มีอะไรเลย....ทีจะทำจัดการปัญหาในส่วนนี้ได้...
ตอนนี้ ทำได้อย่างเดียว คือ บริษัทที่ถูกรบกวน ก็ไปฟ้องฐานละเมิด เรียกร้องค่าเสียหาย ตามกฎหมายแพ่งกันเอาเอง
เชกูวารา
อยากติดดาวข่าวนี้จริงๆ แฮะ...... ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
โดยปกติ unlicensed band จะไม่มีสิทธิ์คุ้มครองการรบกวน ดังนั้นถ้าผู้รบกวนไม่ได้ใช้กำลังส่ง (EIRP) สูงเกินกำหนด ก็เอาผิดเขายากหน่อย
คุณ เชกูวารา ได้เขียนบลอกเกี่ยวกับกฏหมายและ WLAN เสร็จแล้วครับ สามารถเช้าไปอ่านได้ที่ กฎหมาย กับ การแอบใช้ไวร์เลส ครับ
กฏหมายไทย กับ กฏหมายอเมริกา คนละมาตรฐาน เอามาเปรียบเที่บกันไม่ได้นะจ๊ะ
ผมไม่แน่ใจครับว่าคุณม่อนต้องการสื่ออะไร แต่ที่คุณเช ฯ แกเขียนวิเคราะห์ไว้ที่เว็บ ไม่ได้เขียนเรื่อง กฎหมายอเมริกา เลย ครับคุณม่อน
อีกอย่างครับ ขอเรียนเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจอีกนิดว่า แม้คุณเช ฯ หรือ นักกฎหมายคนไหนก็ตาม อยากจะเขียนเรื่องราว เปรียบเทียบระหว่าง กฎหมายอเมริกา กับกฎหมายไทย ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แล้วก็ทำได้นะครับ ไม่ใช่ไม่ได้เลย
จริง ๆ แล้วดีซะอีก จะได้เห็นมุมมอง เห็นข้อดี ข้อเสีย ของของเรา กับของของเค้า แล้วก็เก็บข้อดีมาพัฒนากันต่อ
คำว่า "เปรียบเทียบ" เพื่อให้เห็นความแตกต่าง มันเป็นคนละเรื่องกับ การ "หยิบเอามาใช้" กันดื้อ ๆ ทั้งที่มันเป็นคนละมาตรฐาน ซึ่งไอ้เจ้าอันหลังนี่ต่างหากครับ ที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง
จริง ๆ ก็ไม่มีอะไรมากหรอกนะครับ ที่พวกเราลองเขียนกัน แล้วเอามาบอกกล่าวที่นี่ ก็เพราะเห็นว่ามีบางท่าน สนใจอยู่ (สังเกตจากบทสนทนาที่ผ่านมา) ตัวผมเองก็เห็นว่าสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับวงการคอมพิวเตอร์โดยตรง ในขณะที่ความ ชัดเจนทางกฏหมายในบ้านเรากลับยังไม่มี
แม้เหตุการณ์ฟ้องร้องแบบนี้ จะยังไม่เกิดในบ้านเรา แต่ก็เป็นหน้าที่ของนักกฏหมาย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ควรต้องให้ความสนใจด้วย