องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders หรือ RSF ตามตัวย่อในภาษาฝรั่งเศส) จะรวบรวมรายชื่อประเทศที่เป็น "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" (Enemies of the Internet) เรื่องการเซ็นเซอร์และการดำเนินคดีกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกปี ล่าสุดเผยแพร่รายงานของปี 2012 แล้ว
RSF จะแบ่งประเทศออกเป็น 2 กลุ่ม คือ "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" ที่มีระดับการเซ็นเซอร์และการดำเนินคดีต่อชาวเน็ตสูงมาก และ "ประเทศที่จับตามองประชาชน" (countries under surveillance) ที่มีระดับรองลงมา
สำหรับกลุ่มแรก ปีนี้มีประเทศเข้ามาเพิ่มอีก 2 ประเทศคือ บาห์เรน กับ เบลารุส ส่วนประเทศที่ติดโผอยู่ก่อนแล้วและยังอยู่ในปีนี้คือ พม่า จีน คิวบา อิหร่าน เกาหลีเหนือ ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน เวียดนาม รวมทั้งหมดในรายการ 12 ประเทศ
ส่วน ประเทศไทย อยู่ในกลุ่มที่สองมาหลายปีแล้ว ร่วมกับออสเตรเลีย อียิปต์ เอริเทรีย ฝรั่งเศส มาเลเซีย รัสเซีย เกาหลีใต้ ศรีลังกา ตูนิเซีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ในปี 2012 มีประเทศที่เพิ่มเข้ามาในกลุ่มที่สองอีก 2 ประเทศคือ อินเดีย และ คาซัคสถาน ส่วนประเทศที่หลุดชาร์ทนี้ไปคือ ลิเบีย (หลังโค่นกัดดาฟี) และ เวเนซุเอลา
RSF พูดถึงกรณีของไทยว่ายังมีปัญหาเรื่อง "ตัวกลาง" อย่างผู้ดูแลเว็บและเว็บโฮสติ้ง โดยยกคดีของคุณจีรนุช เปรมชัยพร แห่งเว็บไซต์ประชาไทขึ้นมาแสดง นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการเซ็นเซอร์เนื้อหาเว็บไซต์ โดยอ้างประเด็นเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาเกี่ยวข้อง
RSF เตือนประเทศไทยว่าถ้ายังมุ่งหน้าไปในทิศทางนี้ต่อไป ทั้งในเรื่องการเซ็นเซอร์เว็บและการดำเนินคดีกับผู้ใช้เน็ตโดยใช้โทษจำคุกด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ประเทศไทยก็จะเข้าร่วมกลุ่ม "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" ในอีกไม่ช้า
รายงานฉบับเต็มของประเทศไทย อ่านได้จาก Reporters Without Borders (มีรายละเอียดเยอะกว่าในข่าวนี้)
ที่มา - Reporters Without Borders
Comments
ก็ต้องควบคุมบ้างเยอะเกินไปก็ไม่ดี
ถ้าไม่ควบคุมก็แย่สิ
ทุกวันนี้ก็รู้ๆกันอยู่
ดำเนินการในแบบที่เหมาะสมของประเทศเราเองครับ ไม่เห็นต้องกังวลอะไร ปัจจัยของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน
แน่ใจว่ากระบวนการดำเนินการทุกวันนี้มันเหมาะสม (แม้จะบอกว่าเป็นสำหรับประเทศเราเอง) อย่างนั้นหรือครับ
lewcpe.com, @wasonliw
แต่ละสังคมแตกต่างกันครับ ผมเห็นรายชื่อประเทศในกลุ่ม 1 & 2 มีประเทศใหญ่ ๆ เช่น จีน ฝรั่งเศส เวียดนาม ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฯลฯ
ไม่เห็นความจำเป็นต้องไปเดือดร้อนมากมายเลย ตราบใดที่ประชาชนในประเทศเคารพสิทธิของกันและกัน รวมถึงกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ด้วย ประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนดชะตาตัวเองไม่เห็นจำเป็นต้องให้คนอื่นมากำหนดให้เลย
"ตราบใดที่ประชาชนในประเทศเคารพสิทธิของกันและกัน รวมถึงกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ด้วย"
พอดีว่าประเทศที่อยู่ในรายการมันขัดทุกอย่างกับที่คุณพูดมาน่ะครับ อย่างจีนก็มีพฤติกรรมดูข้อความเกือบทุกข้อความของทุกคน (คาดว่าใช้คนกรอง)
แบบนี้เรียกว่าได้รับการเคารพสิทธิมั้ยครับ? แล้วเรียกว่ากฏหมายศักสิทธิ์ใช่มั้ย?
ทุกอย่างโดนปิดกั้น ข้อความถูกดักอ่านเกือบทั้งหมด แบบนี้เรียกว่ากำหนดชะตาตัวเอง?
แบบนี้เรียกว่ารัฐกุมอำนาจเบ็ดเสร็จครับ ประชาชนมีสิทธิแค่ทำตาม ห้ามหือ ห้ามอือ แบบนี้เรียกว่ากำหนดชะตาตัวเอง?
แต่ละสังคมแตกต่างกันเหรอ? คือผมยังงงว่าความแตกต่างอะไรในปะรเทศไทย ที่ทำให้คนไทยต้องโดดปิดกั้นทางข้อมูลเหรอครับ
เพราะเราเป็นประเทศคอมมิวนิสท์? รัฐบาลเราถืออำนาจเบ็ดเสร็จ?
ผมเลือกรัฐบาลมาครับ ...
ฝรั่งเศส ออสเตรเลียและเกาหลีใต้ นี่หล่ะครับ เขาไม่เห็นต้องแคร์อะไรมากมายเลย ตราบใดที่มันสามารถทำให้สังคมนั้นสงบ ผมโอเคครับ ถามกลับ ถ้าจีนปล่อยฟรีสารพัด จะเป็นจีนทุกวันนี้ได้หรือ ป่านนี้แตกออกเป็นกี่ประเทศ หรือบางทีอาจจะเกิดสงครามไม่จบสิ้น ผมแค่ชี้ให้เห็นว่าความหลากหลายในโลก ไม่จำเป็นต้องทำตามกันทุกเรื่อง ไม่จำเป็นต้องไปวิ่งตามอะไรบางอย่าง เอาความเหมาะสมของตัวเองดีกว่า
ที่กล่าวมาผมก็ไม่ได้หมายความว่าต้องทำอย่างจีน แต่จีนแตกต่างจากหลาย ๆ ประเทศเนื่องจากประเทศใหญ่ ประชากรมาก การจะปล่อยฟรีมาก ๆ เหมือนพวกยุโรปหรือตะวันตกอะไรทั้งปวง มันคงยาก เขาถึงปกครองแบบสไตล์คอมมิวนิสต์จีน ทุนนิยมแบบจีน จะเห็นว่าคอมมิวนิสต์จีนไม่เหมือนคอมมิวนิสต์โซเวียตในอดีตด้วย และทั้งสองประเทศนี้จริง ๆ แล้วก็ไม่กินเส้นกันหรอก
ผมแค่เน้นให้ทำตามวิถีของเรา ไม่ได้หมายความว่าปิดประเทศ!
ลิเบีย ซีเรีย อียิปต์ ปิดสารพัด มันทำให้สงบได้ไหมครับ??? จีนสงบไหมครับ??? หรือแค่ไม่มีคนรู้ข่าวข้างใน
lewcpe.com, @wasonliw
จีนสงบในระดับที่เค้ายอมรับ จัดการได้ครับ
ส่วนลิเบีย ซีเรีย อียิปต์ อันนี้เป็นเผด็จการที่ขึ้นกับตัวบุคคล รวมถึงเวเนซูเอล่าด้วย ผมว่ามันแตกต่างจากจีน และแตกต่างจากไทยครับ ประเทศไทยก็มีอิสระในแบบฉบับของเรา ถ้าไม่มีอิสระ เรา ๆ ท่าน ๆ คงไม่ได้มาคุยกันเรื่องพวกนี้อย่างเปิดเผยหรอก
แล้วทำไม ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ มาเลเซีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้ว (ผมอนุมานเอามาเลย์และสิงคโปร์เป็นประเทศพัฒนาด้วยก็แล้วกัน) ทำไมถึงยังถูกอยู่ในลิสต์หล่ะครับ แค่ชี้ให้เห็นว่า เราไม่เห็นจำเป็นต้องไปตื่นเต้นอะไรมากมาย
ผมชี้ให้เห็นความมีอิสระที่แตกต่างครับ
ทุกประเทศมีด้านแย่ของตัวเองครับ การที่ผู้ปกครองจะกลัวเป็นเรื่องปรกติ ผมไม่คิดว่าเราต้องไปช่วยเชียร์หรือหาเหตุผลให้ ด้านแย่มันก็คือด้านแย่ ก็จัดการกันไป
ประเด็นความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ กับเสรีภาพในการแสดงออกบ่อยครั้งที่มันไม่ได้เกี่ยวเนื่องกันตรงๆ แม้จะมีแนวโน้มว่าประเทศที่เศรษฐกิจดีจะเสรีมากกว่าอยู่หลวมๆ แต่เสรีภาพการแสดงออกมันช่วยบอกได้ว่าการที่ประเทศหนึ่งมีความก้าวหน้า ไม่ได้มาจากการไปกดหัวคนบางกลุ่มอย่างเกินเลย เพราะถ้าคุณไปทำอย่างนั้นเรื่องมันจะได้รับการสื่อสารออกมา
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้ามองด้านเศรษฐกิจมาเกี่ยวข้อง ผมว่ามันมีทั้งสองแบบนะ แบบคุมมาก ๆ ก็เจริญก้าวหน้าได้ เช่น สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรต กาตาร์ กับแบบที่อิสระมากเช่น อเมริกา หรือยุโรปบางประเทศ
เอาแบบใกล้ตัว สิงคโปร์ ในทางการเมืองการปกครองผมว่าจะเรียกเผด็จก็ยังได้ มีฝ่ายค้านนับหัวได้ แต่ในทางการบริหารเศรษฐกิจ เขาอิสระเสรีมาก กฎเกณฑ์มันอื้อต่อการค้าขาย
ระบบการเมืองเป็นอีกหัวข้อครับ เช่นเดียวกับเสรีภาพสื่อ และเศรษฐกิจ แม้จะมีความเกี่ยวข้องกันหลวมๆ อีกเหมือนกัน ระบบการเมืองเผด็จการแต่ระบบเศรษฐกิจเสรีก็มี
ผมว่าคุณกำลังโยงเรื่องไปมาแล้วคุมประเด็นเรื่องที่จะสื่อไม่ได้
เมื่อเกิดเรื่องราว เมื่อคนไม่พอใจ หรืออยากสื่อสารเรื่องอะไรออกมา เขาควรมีเสรีที่จะนำเสนอ นั่นคือประเด็นของข่าวนี้ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
เรามีอิสระที่จะคุยเรื่องที่เขาอนุญาตให้คุยเท่านั้นแหละครับ
pittaya.com
ทุกประเทศในโลกนี้ก็เป็นแบบนี้ครับ ตะวันตกก็ไม่ได้มีอิสระทุกเรื่อง ยกตัวอย่าง อเมริกา คุณก็ไม่สามารถไปดูหมิ่นเหยีดหยามตำแหน่งประธานาธิบดีได้ง่าย ๆ เหมือนกัน คุณก็วิจารณ์ได้ตามกรอบกฎหมายของเขาอยู่ดี
ในมุมของสื่อคือ ต้องอิสระ เสรี เปิดเผยมากที่สุด แต่ในทางการปกครองมันสวนทางกันครับ ทุกประเทศก็เป็นแบบนี้ แต่จุดสมดุลของแต่ละประเทศมากกว่าที่ควรพิจารณา ซึ่งแต่ละประเทศมันไม่เหมือนกัน
แล้วประเทศเรามีเหตุผลอะไรที่จะต้องถูกปิดกั้นมากกว่าประเทศอื่นล่ะครับ?
คือเท่าที่อ่านข้างบน คุณบอกว่า "ไม่ต้องทำตามประเทศอื่นๆ" ผมยังไม่เข้าใจเลยว่าหมายถึงอะไร
คือผมต้องการอิสระของผม มันหมายถึงว่าผมอยากทำเหมือนประเทศอื่นๆ ... แบบนี้หรือครับ?
แล้วอิสระในการดูถูก / ขู่ฆ่าชาวบ้านเนี่ย ประเทศไหนก็ไม่ควรมีครับ ผมไม่เข้าใจว่ายกตัวอย่างมาทำไม ที่สำคัญคือมันไม่ใช่ข้อห้าม ไม่ได้ปิดกั้น แต่มันคือกฏหมายครับ ซึ่งในรูปแบบนี้มันยอมรับได้
ผมเองก็เห็นด้วยที่เราเป็นในแบบของเรา แต่ผมไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงสนับสนุนให้เรา เป็นเราในแบบที่เราไม่ต้องการ? คือตัวกฏหมายเองมันก็ครอบคลุมในสิ่งที่ไม่ควรทำอยู่แล้ว ทำไมต้องไปปิดกั้นอีกครับ?
เหตุผลและคำถามกลับต่าง ๆ นั้นผมว่าทุกคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ผมถึงบอกว่าทำตามวิถีของเรานั่นแหล่ะ ถ้ามันก่อให้เกิดความสงบสุขแก่บ้านเมือง ทั้งหมดผมก็ไม่ได้บอกว่าเราต้องเอาอย่างจีนหรือประเทศใด ๆ ทุกประการ
ไม่มีตัวอย่างที่ผมยกมาเกี่ยวกับการขู่ฆ่า ผมเพียงแต่ยกตัวอย่างการดูหมิ่นเหยียดหยามตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐครับ
แก่นของสังคมในประเทศนั้น ๆ จะเป็นตัวกำหนดมากกว่าครับ
ผมยังยืนยันว่าในมุมของสื่อคือ ต้องการอิสระ เสรี เปิดเผยมากที่สุด แต่ในทางการปกครองมันสวนทางกันครับ ทุกประเทศก็เป็นแบบนี้ แต่จุดสมดุลของแต่ละประเทศมากกว่าที่ควรพิจารณา ซึ่งแต่ละประเทศมันไม่เหมือนกัน
แบบที่ไทยกำลังทำเรียกว่าสมดุลย์หรือยังครับ ... ถ้ายัง, ต้องปิดกั้นมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ครับ
บอกตามตรงนะ คำตอบของคุณด้านบนมันตอบแบบกว้างๆ ไปเรื่อยๆ สรุปอะไรไม่ได้เลยอ่ะ
ใช่ครับ ผมไม่เถียงว่าผมตอบแบบกว้าง ๆ เป็นหลักการ ทุกประเทศก็มีการปิดกั้นทั้งนั้นรวมถึงดักฟังกลุ่มเป้าหมายทั้งหลาย ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางลับ
การบอกว่าสมดุลย์ ในทางการปกครองบริหารบ้านเมือง สถานการณ์เป็นตัวกำหนดครับ
ประเทศไทยทุกวันนี้ก็ปล่อยอิสระพอสมควรแล้ว ไม่ถึงกับน่าเกลียดอะไรมากมาย ไม่ได้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ทำได้ปกติโดยทั่วไป ยกเว้นประเด็นอะไรที่กระทบกับความมั่นคงหรือประเด็นที่หลายคนในโลกออนไลน์บางกลุ่มกระสันอยากจะวิจารณ์
ย้ำอีกครั้งว่าผมไม่ได้บอกว่าเราจะต้องเซ็นเซอร์แบบจีนครับ ประเทศอื่น ๆ ที่ได้ชื่อว่าประชาธิปไตยและพัฒนาแล้วก็ยังโดนองค์กรนี้ขึ้นแบล็คลิสต์ ผมถึงย้ำว่าไม่ต้องหวั่นไหวหรอก ทำในแบบวิถีของประเทศไทยนั้่นแหล่ะ ตราบใดที่ประชาชนในประเทศอยู่ดีกินดี สังคมสงบสุข ผมเห็นด้วยครับ
คือจริงๆ แล้วผมก็เห็นด้วยกับคุณนั่นแหละครับ แต่อยากฟังความเห็นแบบชัดๆ ไปเลย
ถ้าความเห็นผมนะ ที่ผมอยากบอกแบบชัดๆ เลย คือ ประเทศในตะวันตกมักจะชี้ไปที่ประเทศต่างๆ แล้วเอามาตรฐานประเทศตัวเองไปเทียบกับประเทศอื่น แล้วทำเสมือนว่าประเทศอื่นมีคุณภาพต่ำกว่าประเทศตน แล้วก็ออกมาตรการกีดกันโน่นนี่นั่น แล้วเราก็ทำตาม (บางรัฐบาลในไทยทำตามแบบเชื่องๆ เลย)
ซึ่งผมเข้าใจว่าที่คุณอยากบอกคือ พวกนั้นไม่ใช่เจ้าของประเทศเรา ไม่ต้องไปฟังเค้ามาก แบบนี้ถูกต้องมั้ยครับ?
ผมเห็นด้วยนะครับ แต่เท่าที่เป็นอยู่แบบนี้นะ ถ้ามากกว่านี้ (เช่น เครื่องตรวจเว็บหมิ่นราคา 20 ล้าน)
ผมแค่ต้องการสื่อว่าลักษณะทางสังคมหรือประเทศนั้น ๆ เป็นตัวกำหนดครับ องค์กรอะไรก็แล้วแต่ที่มาตั้งกฎเกณฑ์ เพื่อวัดมาตรฐานอะไรบางสิ่งบางอย่างผมไม่ได้ต่อต้านนะ แต่การบริหารจัดการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุข ความสงบเรียบร้อย บ้านเราเมืองเราเป็นผู้กำหนด ไม่ต้องหวั่นไหวให้มันมาก หลาย ๆ ความเห็นผมถึงพยายามยกตัวอย่างของประเทศจีน เพราะมันชัดเจนดี ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยทุกอย่างแบบจีน ทุกคนไม่ชอบอยู่แล้วที่โดนเซ็นเซอร์และบล็อกข่าวสาร
ส่วนเรื่องการจัดหาอุปกรณ์อะไรก็แล้วแต่มาช่วยทำงาน มุมของผม ผมไม่มีปัญหา ถ้ามันคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพเหมาะสมตามราคา รวมถึงความโปร่งใส เราอาจจะสามารถมองในเชิงป้องกันก็ได้ เปรียบเสมือนการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เราซื้อมาก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะนำไปใช้ทำสงคราม แต่ก็จำเป็นต้องมีไว้เพื่อในยามที่ต้องใช้ เฉกเช่นเดียวกับเครื่องตรวจจับเซ็นเซอร์ ถ้ารัฐจะมีผมว่าดีกว่าไม่มี ส่วนเราคนไทยทุกคน ก็ต้องตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ว่าได้ทำเกินขอบเขตของกฎหมายแค่ไหน เพราะผมยังเชื่อว่าปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีอิสระเสรีมากกว่าหลาย ๆ ประเทศ บางทีมากกว่าพวกฝรั่งมังค่าหลายประเทศด้วยซ้ำไป
ผมมองว่าปัญหาเรื้อรังฉุดรั้งความเจริญประเทศไทยคือ คอร์รัปชั่นทุกภาคส่วนของประเทศไทยครับ มันเยอะจริง ๆ เป็นปัญหาใหญ่มาก และเหมือนสังคมจะยอมรับกลาย ๆ ว่าทำอะไรต้องมีใต้โต๊ะ ยัดเงิน หักเปอร์เซ็นต์ เอาแค่ไปติดต่อราชการที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ ในเรื่องบางเรื่อง ก็โดนเรียกค่าอำนวยความสะดวกแล้ว ทั้ง ๆ ที่เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน
วิธีที่มันดีกว่าการสกัดกั้นมันมีครับ อย่างเช่น การโปรโมทครับ ทำง่ายกว่า ใช้งบน้อยกว่า ไม่เดือดร้อนใคร ถูกต้องตามหลักประชาติปไตย
ขนาดคุม นี่ยังบิดเบือนกันไปเยอะเลยนะครับ
ยิ่งสื่อทีวีดาวเทียมอะ ขาดการควบคุมเลยแหละ บิดเบือนข้อมูลกันสุดๆ โฆษณาหลอกลวงเยอะมาก
เช่น แอนไซม์รักษามะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน และสารพัดโรค ราวกับเป็นยาเทวดา
+1
ผมว่า internet ก็เป็นแค่เครื่องมือ เอาไปทำดีมันก็ดี เอาไปทำชั่ว.. ปล่อยข่าว/โฆษณาขายยาหลอกลวง มันก็เป็นผลเสีย มันก็ต้องมีการควบคุมเป็นเรื่องปกติ
ถ้าจะควบคุมก็ควรมีวิธีการที่ดีกว่านี้ครับ ผลักภาระความรับผิดไปให้ตัวกลาง คนทำเว็บไซต์มีแต่เดือดร้อน
pittaya.com
คล้ายๆ แบบ SOPA ไงครับ เป็นร่างกฏหมายที่สร้างความเดือดร้อนได้ดีมาก
เพื่อบรรยากาศที่ดี ขอไม่พุด ก้ แ้้ล้วกัน ฟังๆ ไว้
ถ้า การใช้คดีหมิ่น สามารถฟ้องได้ จากผู้เกี่ยวข้อง แค่หน่วยงานเดียว อาจจะสำนักพระราชวัง ก็คงปัญหา block มั่วน้อยลง
ผมมองแบบนี้นะครับ ทองอย่างไรก็เป็นทอง ต่อให้เอาไฟมาเผา ก็ยังเป็นทองวันยังค่ำ
แต่ขี้ซิ ลองเป็นขี้จริงๆ ต่อให้เก็บจนมิดชิด กลิ่นมันก็โชยอยู่ดี
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ชอบมากครับประโยคนี้ +100
ลึกซึ้งง
เก็บแล้วซีลให้ดีสิครับ กลิ่นไม่โชยแน่ๆ นอกจากมีคนไปแกะ
เพราะคิดว่าจะเจอของมีค่า แต่กลับกลายเป็นของมีขี้ o ;b
ผมอยากรู้ว่าถ้าไทยติดอยู่ในกลุ่มแรกแล้วจะมีผลกระทบอะไรหรือเปล่าครับ เพราะถ้าไม่มีผลกระทบอะไรแล้วจะมาขู่ให้กลัวไปทำไม
เป็นผลเรื่องภาพลักษณ์ครับ เพราะเราบอกว่าประเทศเรามีเสรีภาพในการแสดงออก แต่ถ้าชื่อไปติดอยู่กลุ่มเดียวกับ จีน อิหร่าน พม่า เกาหลีเหนือ แบบนี้ภาพลักษณ์ที่ต่างชาติมองจะเห็นว่าปิดกั้นสื่อพอๆกัน ถ้าเราไม่สนใจชาวบ้านแล้วจะปิดประเทศก็คงไม่ต้องไปกลัวครับ
ผมว่าปีนี้ไทยคงเก็บ Black List ได้อีกเพียบ
สดๆก็เพิ่งเรื่อง ประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการฟอกเงิน
สุขสบายไทยแลนด์แดนเนรมิตร
เหนื่อยจะพูดประเด็นนี้แล้ว
แต่อ่านความคิดเห็นของบางท่านแล้วก็เข้าใจเลยครับ ว่าทำไมบ้านเรามีต้นมะพร้าวเยอะเหลือเกิน เพราะมันต้องใช้นี่เอง
ขอชื่นชมท่านที่มีหัวความคิดก้าวหน้าครับ เห็นแล้วก็ชื่นใจว่าบ้านเรายังพอมีความหวัง :)
ไม่ค่อยเชื่อหรอก เรื่องเสรีภาพไร้พรมแดนเนี้ย
ที่ไหน ๆ ถ้าผิดกฎของเขา เขาก็บล็อกกันทั้งนั้น(ส่วนกฎถูกต้องไหมก็ต้องเถียงกันยาว)
แม้แต่ที่เว็บนี้เองก็เถอะ...
Happiness only real when shared.
+1
เห็นด้วยครับ
+1 นะ
+1
ถูกต้องครับ ทุกสังคมมีกฎเกณฑ์ให้ปฎิบัติ ไม่มีอะไรอิสระเสรีภาพตามใจตัวเอง
ผมขอมองในแง่ในการเซ็นเซอร์เวปชมพู
+1 เดือดร้อนเช่นกันครับ
+1 นี่เรื่องระดับชาติเลยนะเนี่ย
รักนะคะคนดีของฉัน
+1 ระดับโลกเลยดีกว่า
อย่าคิดมากให้ปวดหัวเลย ,, ชีวิตสั้นเพียงนิดเดียวนะครับทุกท่าน : )