เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) ได้ยื่นฟ้อง Apple และสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั้ง 7 ราย อันได้แก่ Hachette, HarperCollins, Macmillan, Penguin, Simon & Schuster และ Georg von Holtzbrinck Publishing Group
เท่าที่อ่านในคำฟ้องมีประเด็นสำคัญๆ ที่สรุปได้มีดังนี้
* บรรดาสำนักพิมพ์ไม่ชอบกลยุทธ์ของอเมซอนที่ขายอีบุ๊คออกใหม่และหนังสือที่เป็นที่นิยมในราคา 9.99 เหรียญ และมีการพยายามต่อรองกับอเมซอนแล้วเป็นรายๆ ให้เพิ่มราคาขาย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
* แอปเปิลมีส่วนร่วมในการสร้างกลยุทธ์ agency model ให้กับบรรดาสำนักพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์เป็นผู้กำหนดราคาขายปลีกและแอปเปิลรับส่วนแบ่งการขาย 30% ซึ่งจะทำให้สำนักพิมพ์ไม่ต้องกังวลการแข่งขันด้านราคาจากอเมซอนอีกต่อไป
* โมเดลการขายหนังสืออีบุ๊คแบบเดิมเป็นการค้าหนังสือเป็นแบบ wholesale model สำนักพิมพ์ขายหนังสือขาดไปยังผู้ขายและผู้ขายมีอิสระในการกำหนดราคาขายปลีกด้วยตัวเองในฐานะที่เป็นเจ้าของหนังสือแต่ละเล่ม มาเป็น agency model ที่สำนักพิมพ์มีอำนาจตั้งราคาขายปลีก ผู้ขายไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกที่ถูกกำหนดมา ดังนั้นในรูปแบบนี้ผู้ขายเสมือนเป็นแค่ตัวแทน (agency) ของสำนักพิมพ์ ซึ่งในรูปแบบนี้ สำนักพิมพ์สามารถป้องกันการแข่งขันด้านราคาในระหว่างผู้ขายหนังสือด้วยกัน รวมถึงสามารถกำหนดราคาขายปลีกหนังสือเท่าไรก็ได้ตามชอบใจ
* Agency model ประกาศใช้งานวันที่ 3 เมษายน 2010 และบังคับให้ผู้ค้าปลีกหนังสือของ 7 สำนักพิมพ์ต้องเข้าร่วมใน 4 เดือน รวมไปถึงอเมซอนด้วย
* เมื่อเจรจากับอเมซอนไม่สำเร็จ สำนักพิมพ์ Macmillan ขู่จะถอนหนังสือ
* ผลที่เกิดขึ้นคือจากเดิมหนังสือที่ขายๆกันที่ 9.99 เหรียญขยับขึ้นไปเป็น 12.99 หรือ 14.99 เหรียญ ซึ่งเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของหนังสือปกแข็ง ซึ่งมีผลเสียหายต่อผู้บริโภคสหรัฐ
แม้คำฟ้องจะมีชื่อแอปเปิลเป็นจำเลยแรกแต่มูลฟ้องให้น้ำหนักไปที่สำนักพิมพ์ทั้ง 7 เสียมากกว่า งานนี้คงต้องดูกันยาวแล้วละครับว่าจะเป็นอย่างไร และสงครามช่องทางจำหน่ายหนังสือระหว่างอเมซอนกับแอปเปิลทิศทางจะเป็นอย่างไรต่อก็คงดูกันต่อไปครับ
ที่มา The Verge และ ต้นฉบับคำฟ้องจากศาล
Comments
ใส่เบรก ABS ด้วยครับ ยาวไป
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ปกติแล้วเมื่อหนังสือปกใหม่ๆออก สำนักพิมพ์จะวางขายเป็นปกแข็งก่อน ซึ่งราคาขายปลีกมักจะอยู่ที่เล่มละประมาณ 25-35 หลังจากเก็บเกี่ยวราคาพิเศษแล้ว สำนักพิมพ์อาจจะตีพิมพ์ปกอ่อนที่ราคาถูกกว่า ราวๆเล่มละ 15-25 เหรียญ ซึ่งช่วงเวลาที่ออกอย่างเร็วก็สามเดือนถึงหกเดือน หรืออาจจะไม่ออกปกอ่อนออกมาเลยก็ได้
เรียกว่าใครทนไม่ไหวอยากอ่านเป็นเล่มๆก็ซื้อปกแข็งไปอ่านก่อน
จำได้ดีตอนซื้อแฮรรี่พ็อตเตอร์เล่มหลังๆ ตอนที่มันดังแล้ว กว่าจะออกปกอ่อน นาน......มาก
ความรู้ใหม่นะครับเนี่ย ถึงว่าใน amazon แต่ละความเห็นรอปกอ่อนกันทั้งนั้นเลย พึ่งเข้าใจวันนี้เอง
ส่วนหนังสือไทย มีแบบเดียว นอกจากขายดีพิมพ์ซ้ำหลายรอบถึงมีเปลี่ยนปกเพื่อฉลองยอดขายทะลุล้านเล่ม ^^
อยากให้พวกพ็อคเก็ตบุ๊ก (ทั้งไทย ทั้งแปล) มีฉบับราคาถูกเป็นตัวเลือกด้วยแฮะ
ไม่ต้องกระดาษดีแบบอาร์ตกรีนรีด ไม่ต้องเป็นปกอาบมันเคลือบยูวีปั๊มนูน
ใช้เป็นกระดาษปรู๊ฟก็พอ แค่ราคาถูกกว่าเดิมซักครึ่งนึง
ใครอยากเก็บสะสมค่อยเก็บรุ่นสวย ใครอ่านรอบเดียวก็ซื้อรุ่นถูก
ได้แต่ฝันเนอะ อ่านบน kindle ก็ไม่มีหนังสือไทยขายอีก -_-'a
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~
ผมว่าสำนักพิมพ์ทำถูกแล้วแฮะ :P
สำนักพิมพ์หนังสือใหญ่ๆกันแต่ไม่มีสิทธิ์ตั้งราคาหนังสือตัวเองเนี่ยนะ ส่วนอเมซอนนายหน้ารายใหญ่บังคับราคาหนังสือด้วยโมเดลค้าส่งเพราะเป็นรายใหญ่volumeเยอะ แบบนี้รายเล็กๆในอนาคตมันจะเกิดได้ยังไงกัน :P
นั่นสิ มันน่าเล่นงานเอมาซอนเพราะตั้งใจจะผูกขาดตลาดซะมากกว่า
ในระบบเดิมสำนักพิมพ์ "มีสิทธิ์" ตั้งราคาขายไปยังอเมซอนครับ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อเมซอนตั้งราคาขายปลีกถูกกว่าเจ้าอื่นมากๆ เพราะต้นทุน (ค่าเซิร์ฟเวอร์, ค่าโฆษณา ฯลฯ) ถูกกว่าเจ้าอื่นมากเมื่อเทียบกับปริมาณลูกค้าที่มี
บางครั้งบางเล่ม อเมซอนซื้อมาแล้วขายขาดทุน
ภายใต้ระบบ agency แม้พ่อค้าคนกลางจะมีมากราย แข่งขันกันมากแค่ไหน แต่ราคาสุดท้ายไปยังผู้บริโภคจะไม่ลดลงเลย เพราะโดนบังคับราคาเดียวกันทั้งหมด
การต่อต้านการผูกขาดมันมีขึ้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าอย่างนั้น สำนักพิมพ์จะต้องการให้อเมซอนขึ้นราคาทำไมล่ะครับถ้าเค้าตั้งราคาสูงกว่าที่อเมซอนขายได้? หรือเค้าไม่นับเป็นเล่มแต่นับเป็นซื้อสิทธิ์ขาย?
เพราะสุดท้ายแล้ว ยอดขายจะไปเทกับ Amazon (เพราะเจ้าอื่นจะแข่งไม่ได้) และสำนักพิมพ์จะไม่มีตัวเลือกอื่นครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ด้านนึง ต้นทุนขายส่ง+ดำเนินการ+กำไรก็เจออเมซอนผูกขาด อีกด้านผู้บริโภคก็เจอราคาที่สูงเพราะจะใช้ราคาเดียวคือราคาที่สำนักพิมพ์ตั้งเอง ประมาณนี้ใช่มั้ยครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
เข้าใจมากขึ้นเลยครับ
มันดูมีลับลมคมในยังไงก็ไม่รู้นะ สำนักพิมพ์โดนฟ้องเพราะว่าไปกำหนดราคาหนังสือของตัวเอง?
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
apple และ สำนักพิมพ์ 7 แห่งโดนฟ้องเพราะว่า ร่วมมือกันทำให้ e-book มีราคาแพงขึ้นตะหาก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ไอ้เรื่องราคาแพงขึ้นหรือลดลงนี่มันไม่ได้เกี่ยวกับประเด็นเลยครับ ถ้าคิดแบบนั้นใครขึ้นราคาสินค้าไม่โดนฟ้องหมดรึไง
ที่สงสัยคือไม่แน่ใจว่าราคาไหนคือราคาที่แท้จริงซะมากกว่า จริงอยู่ทั้ง 2 ระบบ สนพ. สามารถตั้งราคาได้เองแต่ระบบแรก Amazon เอามาขายเท่ากันหมดไม่ว่ากำไรหรือขาดทุน ซึ่งถ้าเป็นกรณีแบบนี้หากระบบใหม่ที่สะท้อนราคาจริงๆดั้งเดิมอยู่แล้วมันก็จะไม่ใช่ปัญหาครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
มันคือ Anti-competitive practices โดยการทำ Price fixing ครับผม
http://en.wikipedia.org/wiki/Price_fixing
ระบบเดิม สนพ. สามารถตั้งราคาขายไปที่ร้านค้าใด้ "แต่ ไม่ สามารถตั้งราคาขายไปยังลูกค้าได้" ร้านค้าเป็นผู้ตั้งราคาและสามารถขายแบบยอมขาดทุนใด้ ผลคือร้านค้าก็จะหั้นกำไรแข่งกัน
แต่หลังจาก apple เข้าไปคุยกับสำนักพิมพ์ 7 แห่ง เกิด Price fixing ขึ้นตั้งแต่ Macmillan ขู่จะถอนหนังสือออกจากอเมซอน ราคาหนังสือขยับขึ้นจาก $9.99 เป็น $12.99 และ $14.99 หนังสือมีการกำหนดราคาขั้นต่ำเท่ากัน ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ที่ผู้บริโภคเลยไม่ใด้สินค้าในราคาถูก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อันนี้ทราบครับ ประเด็นของผมคือการแข่งขันของ Amazon ที่จะทำให้ราคาหนังสือมันถูกลงเท่ากันเนี่ย แล้วต้นทุนที่ลดไปมันไปลงตรงไหนล่ะครับ? ปกติคนทำธุรกิจไม่เคยทำอะไรเข้าเนื้อตัวเองจริงๆอยู่แล้วยิ่งตั้งราคาหนังสือมาแพงแล้วเอามาลดต่ำกว่าทุนเนี่ย มันต้องมีสักที่แหละครับที่ถูกเพิ่มไปจากต้นทุนที่ลดหลั่นลงมา อาจจะเป็นหนังสือที่เคยถูกแต่โดนตั้งราคาให้เท่ากับเล่มที่แพงกว่ามันก็เป็นไปได้ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่ามันไปลงตรงไหน จึงตั้งข้อสังเกตครับ ถ้าทราบก็ฝากอธิบายจุดนี้หน่อยนะครับ ตรงเรื่องอื่นๆผมไม่ได้สงสัยอะไร
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ราคาปัจจุบัณคือ $13 ราคาหนังสือที่ขายไปยัง apple = $13 * 0.7 = $9.1
แต่เมื่อมีการกำหนดราคาขั้นต่ำคือ $13 โดยการสมคบคิดกันของ apple และ 7 สำนักพิมพ์ ทำให้ราคาขายหน้าร้านเท่ากันคือ $13 ร้านอย่าง amezon ก็ต้องเลือกที่จะเอากำไรมากขึ้น และลูกค้าจ่ายต้องแพงขึ้นโดยไม่มีทางเลือกอื่น
ผมไม่รู้ราคาขายจริงก่อน apple มา แต่ราคาใหม่สามารถคำณวนกลับไปใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แล้วหนังสือที่จริงๆราคาถูกกว่า $9.99 ล่ะครับ? ผมค่อนข้างแน่ใจว่าราคาหนังสือไม่ได้เท่ากันทุกเล่มนะ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
เนื่องจากกลไกลตลาด คือการให้ลูกค้ามีตัวเลือก ถ้าไม่ใด้กำหนดราคาขั้นต่ำของหนังสือแต่ละเล่ม amezon จะขายราคา $9.99 "เจ้าอื่นก็ตั้งต่ำกว่าใด้" รวมถึงหนังสือ (แบบเป็นเล่ม) ที่ขายไม่ออก บางทีก็จะขายแบบต่ำกว่าราคาทุน เพื่อล้างสตอก
แต่เมื่อมีการกำหนดราคาวางขายแบบที่ apple และสำนักพิมพ์ 7 แห่งทำอยู่ ทำให้ราคาหนังสือหหน้าร้านเท่ากัน (ที่สำคัณคือแพงขึ้น) เมื่อไม่เกิดการแข่งขัน ผลเสียจึงตกกับผู้ชื้อหนังสือ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
คือถ้า Amazon ทำแบบที่คุณว่าได้หมดจริงๆมันก็ควรจะไม่มีปัญหานี้มาแต่แรกแล้วสิครับ ถ้า Amazon รับมาแพงแล้วขายถูกกว่าได้จริงๆก็ยอมขาย 9.99 ต่อไปแล้วไปหากำไรจากส่วนอื่นอย่างที่คุณว่า ทีนี้ตลาดอื่นจะขายแพงกว่าใครจะไปซื้อ
แต่กรณีนี้ Amazon ที่เป็นพ่อค่าคนกลางอยากจะมีส่วนในการกำหนดราคาสินค้าซะเอง เมื่อเจ้าของสินค้าไม่พอใจเค้าก็ไปเลือกตลาดอื่นที่มันเหมาะสมกว่าก็แค่นั้นครับ
การทีพ่อค้าคนกลางมาบอกวาจะขายราคานี้ให้ผู้ผลิตไปลดราคามาซะนี่ผมก็ว่ามันประหลาดแล้วครับ ยิ่งมายังคับว่าต้องขายกับฉันเท่านั้นห้ามไปขายกับคนอื่นที่เค้าบยอมขายตามราคาที่ต้องการมันยิ่งประหลาดใหญ่ กลไกการตลาดไม่ใช่ให้รัฐเข้ามากำหนดราคาครับ(อาจจะคุ้นเคยกับวิธีที่มันสร้างภาพแบบนี้จากประเทศไทยเรา)ผู้บริโภคมากกว่าที่ควรครับ ถ้าแพงก็อย่าซื้อเดี๋ยวเขาก็ลดเอง ยิ่งหนังสือขายไม่ออกสำนักพิมพ์ก็ยิ่งลำบากเพราะนักเขียนย่อมไม่พอใจ มันมีกลไกของมันอยู่แล้ว
นี่กลายเป็่นว่า Amazon ไปโอ้อวดไว้เองฝ่ายเดียวว่าจะขายราคาถูก 9.99 แล้วยังมาบังคับ supplier ว่าห้ามเพิ่มราคาเพื่อสนองการตลาดของตัวเองซะอีก เป็นใครก็คงร้องแหละครับว่า OMFG เหมือนพ่อค้าจตุจักรมาบอกหลุยส์วิตตองว่าจะขายใบละ 199 นะห้ามเกิน ถ้าโลกนี้มีตลาดแค่จตุจักรอาจจะทำได้ครับ แต่บังเอิญเกษรก็ยังมีตลาดให้เขาขายอยู่
บอกตามตรงถ้าเกิดใช้ตรรกะประหลาดๆแบบนี้แล้วดันฟ้องขนะขึ้นมามันอาจจะจะเกิดปัญหากับสินค้ากลุ่ม Premium ได้ครับ อาจจะเห็น กุชชี่ อามานี่ หลุยวิตตอง โดนยังคับให้ต้องลดราคาไปขายเท่ากระเป๋าโนเนม เลยก็ได้เพราะประโยคที่เอามาใช้แบบเข้าข้างตัวเองฝ่ายเดียวเช่น "คุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค" ซึ่งแท้จริงแล้วทุกอย่างย่อมมีด้านตรงข้ามหากเราจะ คุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ก็ต้อง คุ้มครองประโยชน์ของผู้ผลิต ไปพร้อมๆกันครับ
ผมมองว่า Amazon ต้องการตลาดที่ตัวเองได้เปรียบแต่เพียงผู้เดียวมากกว่า โลกธุรกิจมันไม่ได้มีแต่ผู้บริโภคนะครับ คนเชียนหนังสือก็ต้องทำมาหากินเหมือนกัน พนักงานในสำนักพิมพ์ก็ต้องใช้เงินในการใช้ชีวิต ถ้าคิดแบบที่ว่าหากราคาเพิ่มขึ้นแล้วตัดสินทันทีแบบคุณมันไม่เป็นธรรม ผมว่ามองตื้นไปหน่อยครับ ควรจะรอให้มีข้อเท็จจริงมากกว่านี้เช่นราคาที่แท้จริง รายได้ กำไรขาดทุนของแต่ละคนเสียก่อน
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ถ้าหนังสือมันไม่ถูกกว่า 9.99 ดอลลาร์ ก็เป็นไปได้ครับ อันนั้นก็เจรจากันไป ถ้าไม่ใช่หนังสือที่อเมซอนอยากขาย มันก็ไม่ได้เข้าหน้าร้านอเมซอน (ซึ่งจะซวยสำนักพิมพ์เอง)
แต่จะไปตั้งราคามั่วซั่วแบบเลือกที่รักมักที่ชัง เห็นรายนึงขายปลีกถูกกว่าเลยดันราคาให้แพงๆ อย่างนั้นทำไม่ได้ ไม่งั้นจะโดนฟ้องเอาอีก
ส่วนที่บอกว่าอเมซอนไปบังคับสำนักพิมพ์ให้ขายราคาถูกนั้น คุณคิดเอาเองครับ ถ้าฝ่ายสำนักพิมพ์และแอปเปิลมีหลักฐาน ผมว่าสักพักในคดีนี้ก็คงมีการแฉออกมา
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าผมคิดเอาเองเค้าคงไม่ต้อมานั่งเจรจาต่อรองให้ขายแพงขึ้นกันหรอกมั้งครับ
แต่มาคิดๆดูผมยอมคุณก็ได้ครับคงใช้คำกว้างไป ถูกของคุณว่าถ้าดูแค่ Amazon เค้าไม่ได้ไม่บังคับหรอกครับ แค่ถ้าไม่ยอมขายราคานี้ก็ไม่ต้องเอามาขายใน Store ฉันนะเท่านั้นเองเรียกว่าโดนบีบคงได้กระมัง แต่พอประกอบกับรัฐฟ้องเพราะจะเอาไปขายที่อื่นในราคาที่ต้องการก็โดนรัฐออกมาฟ้องอีกแบบนี้ ทำงานกันเป็นทีมดีครับ สรุปว่าทุ่มตลาด/ผูกขาดได้แต่กำหนดราคาเองไม่ได้ซะงั้น? แล้ว สนพ.ทำอะไรได้ครับ? ต้องขาย 9.99 เท่านั้นหรือ? ถ้าไปหาตลาดใหม่ก็ต้องขาย 9.99 นะ ซึ่งตลาดไหนจะทำได้ถ้าไม่พร้อมเหมือน Amazon ที่มีทุนเดิมอยู่เยอะกว่าชาวบ้านเค้า
ผมก็ไม่รู้นะถ้าเกิด สนพ.เลิกขาย Ebook ขึ้นมาเพราะรับราคาไม่ได้เนี่ย การที่ยังมีให้เลือกแต่แพงขึ้น กับไม่มีให้เลือกแต่ก็แพงเหมือนกันเนี่ย อันไหนจะดีมากกว่า คงต้องดูในระยะยาวไปล่ะครับ
ส่วนตัวผมคิดว่าหนังสือเนี่ยที่มันแพงเพราะ Content นะครับ จริงอยู่ E-book ไม่ต้องมีต้นทุนการผลิตและ Logistic ก็ตามแต่มันก็ยังมีการตลาดและค่า Content อยู่ดีซึ่งผมเห็นว่ามันเป็นส่วนหลักของราคาหนังสือด้วยซ้ำไป สำหรับนิยายอย่างดีติดตลาดลองคิดราคากระดาษ ค่าพิมพ์ ค่าเข้าเล่มเฉพาะส่วนที่ต่างกับ Ebook ดูก็ยังไม่ถึงครึ่งของราคาหนังสือด้วยซ้ำไปครับ ดังนั้นถ้า Ebook ยังถูกกว่าเล่มจริงอยู่ในระดับที่เห็นความแตกต่างได้ยังไงก็รับได้อยู่เพราะไม่มีใครบังคับคุณเลยสักนิดเดียว แต่กลับกันหากรัฐเข้ามาควบคุมราคาแบบกรณีนี้นั่นย่อมหมายถึงผลกระทบส่วนใหญ่ไปลงที่ค่า Content นั่นแหละที่จะลดลงเพราะต้นทุนอื่นๆมันก็ยังอยู่ของมันอย่างนั้น ทีนี้ผลก็ตกไปที่นักเขียนตรงๆเลยแหละครับ เมื่อการสร้างสรรค์ผลงานไม่ทำเงินให้มากพอแล้วใครจะไปอยากทำ ถ้าเป็นแบบนั้นก็คงต้องขอบคุณกระทรวงฯ ที่ได้ทำลายมูลค่าของงานวรรณกรรมด้วยละกันครับ
จริงๆเรื่องนี้รัฐยังไม่ควรเข้ามาเกี่ยวเลยครับ ปล่อยเอกชนเค้าสู้กันไป ผมถึงตั้งข้อสังเกตแต่แรกว่ามันน่าจะมีอะไรมากกว่าที่เห็นแน่ๆ เอาแค่ถามว่ามีเหตุผลอะไรที่ถ้าเคยตั้งราคามาประมาณหนึ่งแล้วจะเปลี่ยนแปลงราคาไม่ได้? แล้วถ้าราคาเดิมมันไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงล่ะ ก็เปลี่ยนไม่ได้เหรอ? ซึ่งก็ต้องดูผลคดีกันต่อไป
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
*** สรุปว่าทุ่มตลาด/ผูกขาดได้แต่กำหนดราคาเองไม่ได้ซะงั้น? แล้ว สนพ.ทำอะไรได้ครับ? ต้องขาย 9.99 เท่านั้นหรือ? ถ้าไปหาตลาดใหม่ก็ต้องขาย 9.99 นะ ซึ่งตลาดไหนจะทำได้ถ้าไม่พร้อมเหมือน Amazon ที่มีทุนเดิมอยู่เยอะกว่าชาวบ้านเค้า ***
เอาประโยคนี้มาอธิบายเลยก็แล้วกัน Amezon ไม่ใด้กำหนดว่าขายที่อื่นก็ต้องไม่ต่ำกว่า $9.99 จึงไม่ผิดกตหมายเรื่อง price fixing
แต่ apple เข้ามาคุยกับสำนักพิมพ์ 7 แห่ง แล้ว สำนักพิมพ์ 7 แห่ง บีบ Amazon ให้ปรับราคาขึ้นเป็น $12.99 เท่าที่ขายบน apple ... จึงผิดกตหมายเรื่อง price fixing
ส่วน Amezon ทุ่มตลาดหรือไม่ ต้องไปดูว่าทำผิดข้อต่อไปนี้ "ทุกข้อ" หรือไม่
ดังนั้น * คำถามไม่ไช้ ทำไม Amazon ตั้งราคาต่ำ แต่เป็น ทำไม apple เข้ามาพร้อมตั้งราคาสูง แล้วสำนักพิมพ์ 7 แห่ง ก็บีบให้ Amezon ตั้งราคาสูงตาม *
ลองหาดูก็ใด้เวลาขายของแล้วโรงงานตั้งราคาสินค้าใหม่ จะตั้งว่า rrp หรือ "recommend retire price" หรือ "ราคาขายปลีกที่แนะนำ" และถ้าของชิ้นนั้นมันขายไม่ดี ร้านค้าสามารถลดราคาเพื่อโละใด้ทันที
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อ่านดูแล้วเหมือนวงการยี่ปั๊ว ซาปั๊วหนังสือไทย
ใครอยากเอา pocketbook หรือนิตยสารขายก็โดนค่าสายส่ง 35-40% ของราคาปกไปแล้ว โมเดลน่าจะคล้ายๆ กับของ apple อยู่เหมือนกัน
เจอค่าสายส่งไป 40% ไหนจะเจอต้นทุนกระดาษแพงอีก ถ้าออนไลน์บูมคนทำหนังสือคง happy เพราะลดต้นทุนค่ากระดาษ โรงพิมพ์ไปได้เยอะ (อาจมาบวมค่า production แทน)
ทั้งนี้ทั้งนั้น น่าเสียดาย คนไทยไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ
ถ้า ทนายของฝั่ง apple และ สำนักพิมพ์ทั้ง 7 (ฟังดูคุ้นๆ คล้ายๆ สโนวไวท์ แอปเปิล และ คนแคระทั้ง 7 เลย)
สามารถแก้ต่างได้สมเหตุสมผลจริงๆ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐจะแพ้รึเปล่า (สงสัยมาก ว่าระบบเค้าเป็นยังไง)
กระทรวงยุติธรรมที่ว่าก็คือฝ่ายอัยการของรัฐครับ กรณีที่ฝ่ายรัฐแพ้ก็คือยกฟ้องแค่นั้น ไม่มีใครต้องจ่ายค่าเสียหายให้ฝ่ายถูกฟ้อง
ประเด็นคือ ฮั้วราคากัน ผู้บริโภคเสียประโยชน์
อ่านหัวเรื่องแล้วนึกถึงสโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด
งั้นอเมซอนก็เป็นแม่มดสินะครับ (O_o)
555555
เคสนี้ผมเชียร์ไม่ถูกเลย เพราะมีเหตุผลกันทั้งคู่ ฝ่ายอเมซอนใช้วิธีกดราคาถูกๆเพื่อกระตุ้นตลาดอีบุ๊ค ถ้าไม่ทำแบบนี้กว่าอีบุ๊คจะแพร่หลายก็คงใช้เวลานานกว่านี้มาก ส่วนฝ่ายสำนักพิมพ์เจอกดราคาหนักๆก็จะตายเอาเหมือนกัน เพราะค่าใช้จ่ายหลายอย่างก็มีแล้วยังทำกำไรได้น้อย อาจทำให้คุณภาพงานลดลงได้ เพราะผู้เขียนที่เก่งๆอาจไม่มีแรงจูงใจที่จะเข้ามาเขียนหนังสือแล้ว แต่ถ้ากำหนดราคาแพงไปผู้บริโภคก็เข้าถึงได้ยากอีก
งานนี้ถอยกันคนละก้าว แล้วหาจุดลงตัวที่วินวินกันทุกฝ่ายจะดีสุดอ่ะ
ฟังดูเหมือนอเมซอนน่าจะโดนข้อหาทุ่มตลาดมากกว่าอีกนะ
แต่ถ้างั้นตลาดอีบุ๊คไม่มีวันเกิดแน่ เพราะสำนักพิมพ์ต้องการให้ขายหนังสืออีบุ๊คที่ถึงมือผู้บริโภคไม่ต่ำกว่ากว่าราคาหน้าปกหนังสือเล่มที่มีอยู่ในตลาด คืออย่างน้อยๆสำนักพิมพ์ไม่มีอยากให้มันต่ำกว่าราคาหนังสือปกอ่อนแน่ๆ เพราะกลัวว่าลูกค้าจะแห่ไปซื้อฉบับอีบุ๊คเสียหมด ถ้าอย่างงั้นใครจะไปซื้อฉบับอีบุ๊คกัน เพราะไหนๆจะต้องลงทุนซื้อเครื่องอย่างน้อยๆสมัยนี้ 99 เหรียญถึง 139 เหรียญ ซึ่งคิดเป็นหนังสือปกอ่อนได้เป็นสิบเล่ม
ประเด็นคืออเมซอนมี economic of scale อย่างมากในช่องทางการจำหน่ายแบบใหม่ (ทั้งหน้าร้านอเมซอนที่มีสินค้าให้เลือกเยอะแยะ, ระบบคอมพิวเตอร์ cloud, ฯลฯ) มาลดราคาขายปลีก
ผมว่าสุดท้าย สำนักพิมพ์จะโดนบังคับให้ระบุขั้นต่ำส่วนแบ่งต่อปกเป็นเหรียญ และถูกกำหนดว่าราคาขายส่งหนังสือเล่มต้องไม่ต่ำกว่านั้น และนั้นจะเป็นราคาที่ผู้ขายอีบุ๊คต้องจ่ายให้แก่สำนักพิมพ์ต่อการขายต่อเล่ม ซึ่งเป็นแบบนี้ผู้ซื้อจะแห่ไปซื้ออีบุ๊คอยู่ดี เพราะในระดับใหญ่ (large scale) ต้นทุนในการขายแบบอิเล็กทรอนิกส์มันถูกว่าการผลิตหนังสือเป็นเล่มๆอย่างแน่นอน (ค่ากระดาษ,ค่าขนส่งหนังสือ,ค่าสต็อคหนังสือ ฯลฯ) สิ่งกลายเป็นว่าหนังสืออีบุ๊คจะกินส่วนแบ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
ซึ่งมันจะเกิดสิ่งที่พ่อค้าคนกลางอย่างสำนักพิมพ์กลัว การศูนย์เสียการควบคุม เพราะสำนักพิมพ์เหล่านี้ไล่กว้านซื้อลิขสิทธิ์จากนักเขียนและกอดแต่ลิขสิทธิ์เนื้อหามายาวนานมาก ไม่รู้จักปรับตัว และไม่เคยแม้แต่จะสำรวจความต้องการผู้ซื้อ,สนใจเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น อีบุ๊ค,ข่องทางขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ที่อเมซอนลงทุนมาอย่างยาวนานมากและกลัวว่าวันใดวันหนึ่งอเมซอนจะมีอำนาจผูกขาดช่องทางจำหน่ายหนังสือและกำหนดราคาขายปลีกให้แต่สำนักพิมพ์เอง
ถ้าเป็นแบบนี้จริง ๆ ผมว่า Amazon ก็น่าจะเป็นคนผูกขาดมากกว่าอยู่ดีคับ
จากย่อหน้าสุดท้ายเหมือนคุณจะบอกว่าให้แต่ละสำนักพิมพ์ไปเปิด E-book Store ของตัวเองหรือครับ ผมว่ามันจะวุ่นวายกว่าเดิมอีกนะ
ตอนนี้ผมรู้สึกว่าเหมือน Amazon พยายามทำตัวเป็น สนพ. เองซะมากกว่า
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
แล้วมันผิดหรือครับ???
สำนักพิมพ์หลายสำนักพิมพ์บนเว็บของตัวเองก็มีหน้าร้านของตัวเองจริงๆ พร้อมๆ กับขายช่องทางอื่นๆ ไปด้วย ตลาดเสรีมันก็ไม่ผิดอะไรนี่ครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ผมก็ไม่ได้ว่ามันผิดนี่ครับ ผมบอกว่ามันคงวุ่นวายน่าดูเหมือนตอนนี้นี่แหละ เอาแค่ Ebook store ในไทยก็ไม่รู้กี่เจ้าแล้ว บางเจ้าก็ทำเหมือนขอไปที แต่มันไม่ผิดครับถูกผิดในเรื่องแบบนี้ผมไม่ใช่คนตัดสิน ผมก็แค่แสดงความเห็นของผมว่าอยากให้มันเป็นเช่นไร และย้ำประเด็นว่าผมเข้าใจที่เค้าต้องการสื่อถูกมั้ยแค่นั้นแหละครับ ไม่ได้ไปตัดสินเลยว่าใครถูกใครผิดเลย ซึ่งผมว่าคุณก็คงเข้าใจได้ว่า วุ่นวาย ไม่ใช่ว่าจะต้อง ผิด ไปด้วยซะหน่อย
จริงๆเห็นว่าโมเดลที่น่าจะสะดวกที่สุดก็ควรทำเป็นเหมือนหนังสือเล่มจริงนี่แหละ ไม่ต้องไปผูกว่าหนังสือเล่มนี้ผูกกับสโตร์เจ้านี้ให้มันแน่นหนามากนัก แบบแต่ละ สนพ. ก็เอามาขายตาม Se-ed นายอินทร์ คิโนฯ แล้วใครจะลดราคาอะไรก็ตั้งกันไปตามกลยุทธ์การตลาดของตนไป ไม่ใช่ว่าลดราคามาซะเวอร์เองแล้วพอ สนพ.ไม่เอาด้วยแล้วกลายเป็นเรื่องเป็นราวแบบนี้
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
สำนักพิมพ์ก็เลือกขายกับตลาดอื่นไง
หนักเข้าๆ เขาก็ไล่ให้ไปทำเว็บเอง หรือไม่ก็เปิดร้านขายเอง =..="
สำนักพิมพ์แต่ละรายมีสิทธิ์กำหนดราคาของตัวเอง
แต่ถ้าวงการเดียวกันสมคบกัน กำหนดราคาและ supply น่าจะเข้าลักษณะ Cartel
ส่วนเรื่อง อเมซอนผูกขาดหรือไม่ ไม่น่าจะใช่ เพียงแต่ อเมซอนได้ประโยชน์
และรับความเสี่ยงไปในตัวจากการเป็น First Mover ในหลาย ๆ กรณี
สภาพการแข่งขันโดยรวมก็ไม่ได้เสีย เพราะมีผู้เล่นรายอื่นๆเริ่มเข้ามาในตลาดแล้ว
แต่ละรายพยายามสร้างการผูกขาดโดยนัยโดยวิธีต่างๆนานา ตามธรรมชาติของผู้
ประกอบการ
ผมมองว่าการกดราคา ebook ลงต่ำจาก หนังสือกระดาษ ตามปกตินั้นสะท้อน
สถานการณ์ความเป็นจริงทางเทคโนโลยี ที่สอดคล้องกับ ecosystem ที่เกิดขึ้นใหม่แล้ว
ebook (เสมือน) ไม่มีต้นทุน logistic ต้นทุนกระดาษ ต้นทุนการจัดพิมพ์
ข้อจำกัดในการเผยแพร่แบบเดิม ๆ อันได้แก่ระบบที่เป็น physical เช่นช่องทางจำหน่าย
การจัดส่ง จัดพิมพ์ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือและการลงทุนขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดการผูกขาดโดยธรรมชาติที่เดิมต้องยอมรับ
และทำให้เกิดธุรกิจสำนักพิมพ์ แต่มันถูกทำลายไปด้วย เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและ ecosystem ใหม่กำลังฟอร์มตัว
บรรดาสำนักพิมพ์คงต้องมานิยามคุณค่าของธุรกิจกันใหม่ การดิ้นรนแบบนี้ถึงชนะก็เป็นเรื่องระยะสั้น
แม้ว่าจะสามารถผูกขาด title เก่า ๆได้ แต่สำหรับ title ใหม่ ๆ ก็มีทางเลือก ไม่ว่าจะเป็น digital publisher
โดยเฉพาะ หรือเข้าตรงกับ platform provider หรือแม้แต่ เขียนเองขายเอง
(อนาคตอาจมี open platform สำหรับด้านนี้เข้ามาเป็นทางเลือกอีก)
สรุปคือ อะไรคือ คุณค่า และ ส่วนแบ่ง ที่ควรได้รับ ภายใต้สถานการณ์ใหม่
ผู้เขียน สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย ผู้อ่าน
เจ้านึงบอกให้ขายถูก(หรืออาจแพง)กับตัวเอง ไม่งั้นก็ไม่ต้องขาย
อีกเจ้าบอกให้ขายตัวเองถูกที่สุด ห้ามขายที่อื่นถูกกว่า
ผมว่าเจ้าหลังผิดกว่า
May the Force Close be with you. || @nuttyi