Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จากข่าวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ มีข่าวเกี่ยวกับคอมพ์เอื้ออาทรรุ่นใหม่ (http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=M3221611&issue=2161) มีการกล่าวอ้างถึง OLPC และมีสิ่งที่แหล่งข่าวกล่าวคลาดเคลื่อนค่อนข้างมาก ซึ่งผมมีบล็อกชี้แจงที่นี่แล้ว

ในฐานะผู้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโครงการ OLPC ดังกล่าว บอกได้แต่ว่า ถ้าแลปท็อป OLPC ใช้ชิปจากอินเทล ป่านนี้ประเทศไทยเซ็นสัญญาไปแล้ว หึๆ

Get latest news from Blognone

Comments

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 31 October 2006 - 13:24 #11318
lew's picture

โดยส่วนตัวแล้ว โครงการนี้ผมเห็นด้วย "ในหลักการ" มาโดยตลอด แต่กับการดำเนินโครงการแล้วผมยังคิดว่าการเซ็นสัญญาซื้อคอมพิวเตอร์ล้านเครื่องมาในวันนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ให้ผลเต็มที่กับเงินที่ลงทุนไปเท่าที่ควร เพราะหลายๆ ประเด็นเช่น

  • บุคลากรเราไม่มีความพร้อมเพียงพอ ในพื้นที่ห่างไกลขนาดที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ที่เป็นจุดเป้าหมายของ OLPC ปัญหาหลักที่ความสำคัญสูงสุดน่าจะเป็นบุคลากร การส่งหนังสือหรือคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการไปสร้างตึกให้สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น แต่การหาบุคลากรเข้าไปนี่น่าจะเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงกว่า ที่น่าสนใจคือบุคลากรในพื้นที่เหล่านั้นมีความพร้อมรองรับเทคโนโลยีเช่นนี้ในระดับใด
  • ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับฐานเศรษฐกิจในประเด็นเนื้อหาที่จะใส่ไปใน OLPC ตรงนี้อาจจะเป็นจุดบอดของทางโครงการที่เน้นพูดเรื่องฮาร์ดแวร์มากกว่าซอฟต์แวร์มาก จนไม่ค่อยมีใครรู้ว่านอกจากเครื่องที่เจ๋งๆ แล้วข้างในจะมีอะไรให้เด็กอ่านกัน
  • การบำรุงรักษา ต่อให้บอกว่าเครื่อง OLPC นั้นทนทานแค่ไหน แต่ผมนึกไม่ออกว่าเมื่อเครื่องมีปัญหานั้นจะส่งซ่้อมที่ไหนอย่างไร เพราะโมเดลการซื้อผ่านทางรัฐบาลเป็นโมเดลที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน ขณะที่การกระจายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายนั้น อย่างไรเสียก็มีที่ส่งซ่อม

ผมอยากเห็นโครงการนี้เกิดในไทยนะครับ แต่มันน่าจะดีกว่าถ้าเราได้เห็น

  • การสร้าง Content อย่างเป็นรูปธรรม อย่างหนังสือเรียน ป.1 ถึง ป.6 ไปลงใน OLPC อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมเตรียมการสร้างพันธมิตรผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ฺอื่นๆ ที่จะสร้างซอฟต์แวร์เพิ่มเติมให้โรงเรียนเลือกนำไปใช้งานกันได้
  • โครงการเตรียมความพร้อมบุคลากร อย่้างเป็นรูปเป็นร่าง อย่างน้อยๆ ครูควรได้จับเครื่องนี้เป็นระยะเวลาหนึ่ง (อาจจะหลายๆ เดืิอน) ก่อนการส่งมอบเครื่องให้กับเด็ก

------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 31 October 2006 - 15:33 #11319
put4558350's picture

พอทักษินออกไป โครงการดีๆแบบนี้ก็เลยตามออกไปด้วยมั้งครับ จาก

NB ไช้เรียนแนว value price ที่ไช้ linux จะใด้ไม่ต้องติดกับ windows มากนัก

กลายเป็น

ไม่เอาอะ .. -ไม่คิดจะจ้างคน -ไม่คิดจะลงทุน -เพราะไม่มีช่องให้โกง (ตัวแทนจำหน่าย) อีก

^^


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: chaba_bkk
Android
on 31 October 2006 - 16:53 #11321

สำหรับผม คิดว่า มันเร็วเกินไปครับ ที่ผมพบเจอมา แถวบ้านผม บ้างบ้าน ไฟฟ้ายังไม่มีเลย อันนี้ที่เชียงรายนะครับ เค้ายังไม่มีไฟฟ้าใช้ กัน แถมกว่าจะไปถึงบ้านเค้าต้อง เดินทางจากถนนใหญ่ไปอีกไกล ประมาณ ภูเขา 2 - 3 ลูก บ้างที่ไม่มีรถเข้าต้องเดินเข้าไป สถานเดียวครับ

ถึงเค้าจะได้ไปจริงแต่ถ้าบุึึคลากรที่จะสอน เค้ายังไม่มีความรู้ก็คงยากที่ จะสำเร็จ ครับ

ส่วนเรื่องที่ว่า ถ้าใช้ intel คงเซ็นต์ ไปแล้ว อันนี้จริง ครับ ของเค้าใหญ่ จริง ๆ (เ้้ส้นนะ.. อย่าคิดลึก)

ผมอยากจะใ้ห้ทำเรื่อง Content ภาษาไทยมากกว่า ครับอย่างปัจจุบันนี้ ถ้าเป็นเรื่อง คอมฯ เริ่มมีมาเยอะแล้ว แต่ถ้าเรื่องอื่น ๆ ถือว่าน้อยมากเลย ครับ มาช่วยกันทำ Content ดีกว่าครับ

It's my life. Open your mind for the future.

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 31 October 2006 - 17:49 #11322
Ford AntiTrust's picture

ดีแล้วที่มันไม่มา

ก่อนจะเอา OLPC มา แนะนำให้ซื้อหนังสือเรียนดี ๆ เนี่ย ไปแจก หรือไปทำห้องสมุดให้มันทั่วถึงก่อนดีกว่า อย่างในชนบทไปทำค่ายหลายครั้ง เนี่ยแถว ๆ นั้นหลายที่ แทบจะหาหนังสือเรียนสภาพดี ๆ อ่านลำบากมาก เลย ส่วนใหญ่ก็มักจะเก่า แถมบางอย่างไม่มีการเปลียนแปลงมานาน ไม่เหมือนกับในเมืองได้อ่านกัน

รวมไปถึงข้อมูลด้านวิชาการสมัยใหม่มักพิมพ์มาน้อย ไม่ลงถึงชาวบ้านตามชนบท

ผมว่าน่าจะส่งเสริมด้านนี้ก่อนดีกว่าครับ

By: softganz
AndroidUbuntu
on 31 October 2006 - 18:03 #11323
softganz's picture

ถ้ามองจากมุมของผู้ทำธรุกิจทางคอมพิวเตอร์ คงไม่มีใครเห็นด้วย เพราะคงไม่ได้ผลประโยชน์จากโครงการนี้ (มีคอมพิวเตอร์เข้ามาในตลาดอีก 1 ล้านเครื่อง ก็ต้องแบ่งส่วนไปจากความต้องการของคนเยอะเลยหล่ะ)

ผมยังอยากได้มาให้ลูักเล่น หรือใช้เองก็ยังได้ ถ้าหากสามารถทำเอกสารได้ เล่นเน็ตได้ ก็สามารถใช้งานพื้นฐานได้ด้วยซ้ำไป

บางครั้งเราอาจจะมองว่า ถ้าจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่อง มันจะต้องทำงานได้ทุกอย่าง แต่ในความเป็นจริง (ของผม) ที่ซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งาน (แต่ละเครื่อง) มันใช้งานเฉพาะด้านจริงๆ เช่นเวลาออกไปทำงานนอกบ้าน ต้องพาเครื่องเครื่องโน้ตบุ๊คไป ก็ไม่ถนัดเพราะมันหนักและใหญ่กว่าความจำเป็น วันแรกๆ ก็เห่อดีหรอก แต่ถ้าต้องแบกอยู่ทุกอาทิตย์ ทุกวัน มันไม่ใช่เรื่องสนุกเลย เพราะความต้องการเพียงแค่บันทึกอะไรเล็กน้อยและเข้าเน็ตเพื่อจัดการงานแค่นั้นเอง

ถ้าวางขายในท้องตลาดได้ในราคาเพียง 4-6000 บาท มันก็น่าจะซื้อมาให้ลูกได้เล่น หรือบางครั้งพ่ออาจจะเอาติดตัวไปด้วยเวลาออกไปทำงานนอกบ้าน.

By: พี่ไท้ on 31 October 2006 - 18:45 #11324

LewCPE - เห็นด้วยทุกประการ จนไม่รู้จะเสริมอะไรอีกแล้วคับ

----- http://www.peetai.com | เว๊ปบล็อกที่โม้แต่เรื่อง Software as a Service.

By: mk
FounderAndroid
on 31 October 2006 - 20:27 #11329
mk's picture

Ford Antitrust: เท่าที่เคยฟัง brief มา ไอเดียมันมียังงี้ครับ

ปัจจุบันเด็กนักเรียนไทยได้รับการอุดหนุนค่าตำราเรียน (ที่เราเห็นพิมพ์โดยคุรุสภานั่นแหละ) คนละหลัก 2-3 พันบาทต่อปี อยู่แล้ว ผมจำตัวเลขที่แน่นอนไม่ได้ แต่ประมาณๆ นี้

ค่าตำราต้องเสียใหม่ทุกปีเมื่อเด็กเลื่อนชั้น เมื่อคูณ 12 เข้าไปก็จะได้เงินที่รัฐต้องจ่ายค่าตำราต่อนักเรียนหนึ่งคน

ถ้าสามารถรวมตำราทั้งหมดมาใส่ใน laptop ราคา 4 พันบาทที่ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ทุกๆ ปีได้ มันก็จะช่วยลดงบประมาณตรงนี้ไปได้เยอะ มองแค่ตัวเลขยังไม่ต้องเอาถึงว่า laptop มันจะทำอะไรพิสดารที่หนังสือทำไม่ได้ ในแง่งบประมาณถือว่าคุ้ม

แต่แน่นอนมันแค่หลักการ มันย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายแฝงทางด้านการปฏิบัติงานอีกเยอะ รวมถึงเวลา บุคคลากร และผลกระทบอื่นๆ ด้วย

By: sugree
FounderWriterAndroidBlackberry
on 31 October 2006 - 21:11 #11332

เรื่อง content ผมไม่ห่วงเท่าไหร่ ขอแค่มั่นใจว่าซื้อแน่ๆ รับรองว่าภายในเดือนเดียวจะมี e-book e-learning รวมไปถึง flash โผล่มามากมาย ยกตัวอย่างง่ายๆ ดูได้จากหนังสือที่วางแผงกันอยู่ตอนนี้ OO.o ออกมาแค่วันเดียว วันรุ่งขึ้นหนังสือขายพรึ่บ และหนังสือที่วางขายตอนนี้ก็มี soft copy กันหมด ถ้ารัฐบาลอยากได้แค่จ่ายเงินก็ได้มาเป็น e-book เรียบร้อยภายในหนึ่งเดือน

ผมอยากได้ๆๆๆๆ เพราะผมยังไม่อยากมองโลกในแง่ร้ายเกินไป คนไทยมี 60 ล้านคน มีเด็กอย่างน้อยก็ 10 ล้านคน อาจจะมีซัก 5 ล้านคนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่นี่เราซื้อแค่ 1 แสนเครื่อง แจกลงไป ก็จะมีเด็กที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตั้งแต่ 10 ขวบมากขึ้น 1 แสนคน คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้ม

ห่วงอย่างเดียว ui ของ sugar เนี่ยมันจะง่ายเกินไป เด็กมันมันฉลาดครับ ก็สอนใช้ fluxbox/gnome ซะเลยก็สิ้นเรื่อง มันจะได้รู้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกไม่ใช่วินโดส์ และมันเขียนโปรแกรมได้ อยากได้อะไรก็จงเขียนเอง python ช่วยคุณได้

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 31 October 2006 - 21:26 #11334
lew's picture

Ford Antitrust - เสริม mk อีกหน่อย ว่าผมเห็นด้วยว่าการใช้ OLPC หากใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ (จริงๆ ไม่ต้องถึงกับเต็มหรอก แค่ครึ่งนึงก็ำพอ) จะเป็นการ "ตัดตอน" ปัญหาที่คุณว่ามาได้ดีมากๆ ครับ ด้วยความที่เราย้ายสื่อการเรียนทั้งหมดไปอยู่ในรูปแบบดิจิตอล มันเหมือนการเปลี่ยนยุคจาก เทปและซีดี กลายเป็นเอ็มพีสามยังงั้นเลย

วัีนนี้เรามีโครงการบริจาคหนังสือเข้าห้องสมุดมากมายมหาศาล แต่บริจาคไปเท่าใหร่มันก็ไม่พอซักที มันไม่เข้าถึงเด็กอย่างที่คุณว่ามา แตุ่ถ้า OLPC มันเกิดขึ้นมาได้ เราอาจจะได้เห็นโครงการ Fundrising เพื่อซื้อหนังสือ "สักเล่ม" เพื่อให้เด็กๆ "ทั้งประเทศ" ได้อ่านกันอย่างทั่วถึง

chaba_bkk - ส่วนตัวผมผมมองว่าไฟฟ้าไม่มีนี่เรื่องเล็กครับ ถ้าจะทำกันจริงๆ ปัญหาพวกนี้มันแก้ได้ จะติดกังหันหรือโซล่าเซลล์ก็ว่ากันไป ปัญหาเรื่องบุคคลากรนี่น่าเป็นห่วงจริงอย่างที่บอกไปแล้ว

แต่โดยส่วนตัวแล้วผมว่าโครงการนี้มีปัญหาเรื่อง PR ครับ เพราะข่าวที่ออกๆ มามักเป็นข่าวความเจ๋งของฮาร์ดแวร์ เช่นจอภาพแบบพิเศษ หรือเครื่องปั่นไฟ ซึ่งก็ดีแต่ขาดข่าวด้านการนำไปใช้งาน การใส่สื่อเข้าไป หรือประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก ตลอดจนความง่ายในการใช้งาน (อาจจะนำเด็กด้อยโอกาสมาลองเล่นอะไรอย่างนั้น) ตรงนี้เข้าใจว่าทางโครงการยังทำไปไม่ถึงตรงนั้น แต่การที่ไม่มีข่าวมันสร้างภาพให้ OLPC กลายเป็นของเล่นไป ผิดจากความตั้งใจของโครงการไป ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: pt on 31 October 2006 - 21:40 #11336

ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อน ?

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 31 October 2006 - 22:05 #11339

สิ่งที่ผมเสียดายอย่างหนึ่งคือ เสียดายที่ แลปท็อป OLPC น่าจะกระตุ้นเรื่องโอเพนซอร์สในประเทศไทยได้ "แรง" พอสมควร ด้วยปริมาณมันค่อนข้างมาก และเด็กที่โตขึ้น อาจจะเริ่มหัดแฮ็คเครื่องตัวเอง เก่งฮาร์ดแวร์และลินุกซ์ตั้งแต่เด็กๆ ก็ได้

แต่อีกมุมนึง ใจนึงผมยังมองในแง่ดีว่า รอไปอีกสักปีหนึ่ง (ปี 2008) ดูประเทศอื่นๆ ใช้แลปท็อปรุ่นแรก (CM1) ดูก่อน รุ่นต่อไป (CM2) น่าจะมีอะไรที่เจ๋งขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้น หรือไม่อย่างน้อยก็แก้บั๊กจากรุ่นเดิมที่อาจจะยังไม่พบในขณะนี้ไปก่อน ก็อาจจะดีเหมือนกัน

อ่อ ถ้าประเทศไทย "ไม่เอา" อันดับต่อไปที่โครงการนี้จะเข้าไปผลักดันในภูมิภาคละแวกนี้ก็คือเวียดนามครับ เราอาจจะได้ไปดูงาน การใช้งานจริงของแลปท็อป OLPC ที่เวียดนามแทน หุๆ

-- lucky 7


--

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 31 October 2006 - 23:03 #11340
veer's picture

มาช่วยกันเขียนวิกิพีเดียเถอะ รัฐบาลจะช่วยส่งเสริมหรืออยู่เฉยๆก็ไม่เป็นไร แต่ขออย่า block สารานุกรมเลย

ถ้าโครงการ OLPC มันเกิดได้จริงๆก็อาจจะมีการขายปลีกที่ไม่ผ่านรัฐบาลก็ได้? 3-4 หลังจากนี้พอมีสารานุกรมดีๆ หรือสื่ออื่นด้วยก็ตาม ผู้มีจิตศรัทธาค่อยซื่้อมาบริจาคเด็กก็คงยังไม่สาย ถ้าไม่ถูกห้ามนำเข้านะ

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 31 October 2006 - 23:34 #11342
Ford AntiTrust's picture

ถ้าเราจะเอาเนื้อหาทุกอย่างลง digital นั้นถือว่าเป็นเรื่องดี และยิ่งดีใหญ่ถ้าระบบ digital ที่เราทำลงไปสามารถแปลงกลับไปกลับมาได้สะดวก บางครั้ง บางคน ไม่ชอบอ่านบนสื่อ digital ด้วยเหตุผลด้านเวลาและสถานที่ อาจจะ printout ออกมาเป็น hard copy ไป บางคนไม่อยากพกหนังสือไปไหนมาไหนเยอะ ๆ ก็สามารถแปลงจาก hard copy มาเป็น soft copy ได้ ซึ่งถือว่าดี และมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หลาย ๆ ที่ก็กำลังทำกันอยู่ คือมีสื่อการเรียนต่าง ๆ พร้อมบน internet นิสิต/นักศึกษา สามารถเข้าไปดาวน์โหลดมาอ่านได้บนเครื่อง ส่วนอยาก printout ออกมาก็ไปเสียเงิน print กันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ปัญหาคือ "เรายังไม่มีคนทำจริงจัง" ผมว่ามันเหมือนกับตลาดเพลงนั้นแหละ หนังสือที่ขายอยู่ตามชั้นวางหนังสือยังคงขายได้ดีกว่าแผ่นเพลงสักแผ่นตามร้านขายซีดี และถ้าวันหนึ่งหนังสือที่เป็นสื่อ hard copy สามารถแปลงเป็น soft copy ได้ง่ายในเวลาไม่นาน เรื่องของสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จะย้ายมาในรูปแบบ digital และขับเคลื่อนได้ง่ายขึ้น

ปัญหาในตอนนี้มีทางแก้ไขคือ วิกิพีเดีย

เพราะผมคิดว่า inter network b/w ที่เราเสียไปกับการเข้าไปใช้ใน วิกิพีเดีย นั้นเราต้องเสียไปเท่าไหร่ถ้ามีเนื้อหาในนั้นที่เป็นภาษาไทยมากขึ้น ผมว่าสิ่งที่น่าจะทำในเร็ว ๆ นี้คือร่วมมือการวิกิพีเดียแล้วเอาข้อมูลที่เป็นภาษาไทยมาใส่ใน local network b/w แทน หรืออะไรทำนองนี้เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้เร็วมากขึ้น แล้วทำคู่มือการใช้วิกิพีเดีย หรือมีเดียวิกิ เพื่อให้เกิดความแพร่หลายในการใช้งานวิกิให้มากขึ้น

ผมได้นำเสนอ มีเดียวิกิ กับอาจารย์ที่ปรึกษาผม แล้วท่านบอกว่าระบบดีมาก แต่ปัญหาคือระบบมันซับซ้อนมากสำหรับคนที่เพิ่งใช้ แต่ระบบท่านก็บอกว่าดีมากเลย เห็นว่าจะเอามาใช้กับวิชาเรียนของท่านด้วย

ส่วนเรื่องหนังสือเนี่ยผมยังไงคิดว่าถ้ามันกระจายได้ก็น่าจะดี อย่างน้อย ๆ คนรุ่นหลัง ๆ ที่เค้าตามเทคโนโลยีไม่ทัน ใช้ไม่เป็นจะได้เข้าถึงข้อมูลขายสารที่นอกเหนือจากสื่อ digital ได้ด้วย

จริง ๆ ตอนนี้ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มใช้ KM กันมากขึ้นแล้ว น่าจะเอามาใช้กับโรงเรียนต่าง ๆ น่าจะดีมาก ๆ จริง ๆ โครงการ schoolnet ก็มีมานานแล้ว แต่เนื้อหาภายในยังไม่พร้อม แล้วเราจะทำยังงไงให้ข้อมูลมันอยู่ในจุดที่สามารถค้นหาได้ในแหล่งเดียวแบบ google.com

หรือว่าเราใช้ google.com จนชิน จนลืมไปแล้วข้อมูลมันมีความซ้ำซ้อน และซ้ำซากเกินไปหรือเปล่า

กลับมา OLPC นั้นผมมองว่าโครงการไม่ใช่ไม่ดี แต่ปัญหาคือจะหาที่ลงของ OLPC ยังไง การสนับสนุนทางด้านเทคนิคอยู่ตรงไหน จะเข้ารับการซ่อมบำรุงอย่างไร ตรงนี้ยังไม่ชัดเจน อย่าทำเหมือนว่า "เอา ๆ มาก่อน เรื่องอื่นไว้ทีหลัง" ผมเจอมาเยอะแล้ว พอเอาเข้ามาแล้วมันไม่เกิดประโยชน์ มันก็กองอยู่ตรงนั้นให้เสียเงินกันเล่น ๆ ผมว่ามันไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ครับ ทุกอย่างต้องชัดเจน ยิ่งเป็นโครงการที่เข้าถึงประชาชนระดับการศึกษายิ่งต้องชัดเจน เพราะผลที่สนองกลับมาถือว่าสำคัญมาก เพราะถ้ามันไม่ดีในโครงการแรกที่เข้ามา ก็อย่่าหวังว่าโครงการสองหรือต่อ ๆ ไป ก็ลำบากที่จะเกิดครับ

By: loptar on 31 October 2006 - 23:56 #11344
loptar's picture

ตามไปอ่านจากบล็อกคุณกำธร content ที่แท้จริงของ olpc อยู่ใน internet ครับ เพราะงั้น ไอ้เจ้าเครื่องแบบนี้แหละ ดีพอแล้ว สำหรับจุดประสงค์ของการเป็น หนังสือ digital ที่ต่อเน็ตแล้ว อ่านอะไรก้ได้ (โดยเฉพาะ วิกิ อ่านฟรี ได้ความรู้ฟรี อยู่แล้ว) ราคา ไม่น่าเป็นปัญหา การซ่อมบำรุงเครื่อง ก็ไม่น่ามีปัญหา อุปกรณ์แทบทุกอย่าง build on-board แทบทั้งหมด ถ้ามีอะไรพัง คงต้องทิ้งอย่างเดียว เพราะราคาที่ถูกมากๆของมัน รัฐบาลก็ซื้อใหม่เข้ามา (หรือมีโรงงานผลิต ในภูมิภาคใกล้ๆ?) ผมเชื่อว่า กว่าจะพัง ก็คุ้มกว่า ค่าพิมพ์หนังสือแจกเด็กหลายๆเล่มเยอะแยะครับ

มองคล้ายๆกันว่า ปัญหาช่วงแรก น่าจะอยู่ที่ บุคคลากร ที่จะต้องสอนเด็กๆ ให้ใช้งานเป็น (ซึ่งก็ไม่น่ายากนัก ui ถูกออกแบบมาให้เข้าใจง่ายอยู่แล้ว ผมเชื่อว่า เด็กเรียนรู้เร็วกว่าผู้ใหญ่) ลำดับถัดไป คือเนื้อหา ที่จะต้องเอาขึ้น internet ให้เด็กเข้าไปอ่านได้ ในช่วงแรกๆ คงมีน้อยแน่ๆ (เนื้อหาตามตามหลักสูตร) กลัวโครงการนี้ จะพังจากตรงนั้นก่อน ถ้าผ่านไปได้ มีเนื้อหาให้อ่าน ให้ใช้เยอะแล้ว ปัญหาถัดไป คงเป็นเรื่อง hardware ที่อาจจะเริ่มเสื่อมตามสภาพ ถ้ามีการเตรียมการเรื่องนี้ไว้แล้ว ก็เป็นการดี เพราะมาถึงขั้นนี้แล้ว สังคมการศึกษา เริ่มเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เด็กรุ่นถัดไป เกิดมาพร้อมกับการอ่านบนหน้าจอแล้ว

โอย ยิ่งเขียนยิ่งยาวแฮะ :-)

By: mk
FounderAndroid
on 31 October 2006 - 23:56 #11345
mk's picture

เรื่อง bandwidth คงแก้ได้ทางเดียวคือ mirror Wikipedia มาไว้ที่เมืองไทย

ซึ่งในทางปฏิบัติก็คงทำได้ยากมากเพราะต้องลงทุนใน datacenter มหาศาล ตอนนี้จริงๆ แล้วมี 2 ประเทศเท่านั้นที่มี Wikipedia Server ไปตั้งอยู่คือเกาหลีกับฝรั่งเศสครับ

By: amoksiklav2x on 1 November 2006 - 00:13 #11347

ผมว่าเปลืองโดยใช่เหตุ ... ไปใช้ที่เวียดนามแล้วไง ก็ต้องส่งคนเราไปอีก ไปดูงาน เหอๆ หมดไปอีกเท่าไหร่ นี่ไป US ตั้งกี่วันครับ หมดไปเท่าไหร่ แล้วได้อะไรกลับมา กลับมาทำอะไร งง ไม่เห็นมีอะไีรเกิดขึ้นเลย เอาค่าไปมาซื้อหนังสือแจกได้หลายเล่มครับ (-_-") อย่ามองอะไรแคบๆ แค่เทคโนโลยีเจ๋งยังงั้นยังงี้ เคยมองบ้างมั๊ยว่า จะเอาคนที่ไหนมาเรียนรู้ มันเหมาะแค่ไหนกับประเทศ ไปกันกี่คนครับ กลับมาแล้วได้ประโยชน์อะไร เหอๆ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 1 November 2006 - 01:11 #11352
lew's picture

Ford AntiTrust - ผมอ่านที่คุณตอบแล้วจับประเด็นไม่ได้เลยครับ ไม่แน่ใจว่าคุณจะบอกอะไรคนอื่นๆ ประเด็นของคุณกระจายมาก ทั้งดิจิตอล วิกิพีเดีย KM Google

amoksiklav2x - ผมว่าคุณน่ะมองแคบมากเลยครับ ไม่แน่ใจว่าคุณรู้เรื่องไหมว่าที่เขาไปๆ กันนี่เขาไปทำอะไรกัน การที่คุณสนใจว่าเขาไปแล้วไปทำอะไร ผมว่าถ้าคุณถาม "ดีๆ" น่ะในนี้มีคนพร้อมจะตอบเยอะไป คุณกำธรก็ไปเล่าให้ฟังกันแล้วในงาน BTD2.0 ที่ผ่านมา คนที่รู้และเข้าใจที่อ่านเว็บนี้อยู่ก็มีไม่น้อย

ผมชอบให้มีการแสดงความเห็นมากๆ แต่ถ้าคุณคิดแค่จะตอบเอาสะใจนี่เลิกอ่าน Blognone ดีกว่าครับ ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 1 November 2006 - 03:32 #11354
Ford AntiTrust's picture

ฮ่า ....... ท่าทางจะเบลอ ไม่ค่อยได้นอน งั้นขอเรียบเรียงใหม่แล้วกัน

"OLPC นั้นผมมองว่าโครงการไม่ใช่ไม่ดี ก็อย่างคุณ lew บอกนั้นแหละ แต่ปัญหาคือจะหาที่ลงของโครงการ OLPC ไปในทิศทางไหน โดยเฉพาะการสนับสนุนทางด้านเทคนิคอยู่ตรงไหน จะเข้ารับการซ่อมบำรุงอย่างไร ระยะการใช้งานกี่ปี ตรงนี้ยังไม่ชัดเจน อย่าทำเหมือนว่า "เอา ๆ มาก่อน เรื่องอื่นไว้ทีหลัง" ผมเจอมาเยอะแล้ว พอเอาเข้ามาแล้วมันไม่เกิดประโยชน์ มันก็กองอยู่ตรงนั้นให้เสียเงินกันเล่น ๆ ผมว่ามันไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ครับ ทุกอย่างต้องชัดเจน ยิ่งเป็นโครงการที่เข้าถึงประชาชนระดับการศึกษายิ่งต้องชัดเจน เพราะผลที่สนองกลับมาถือว่าสำคัญมาก เพราะถ้ามันไม่ดีในโครงการแรกที่เข้ามา ก็อย่่าหวังว่าโครงการสองหรือต่อ ๆ ไป ก็ลำบากที่จะเกิดครับ อีกอย่างเราอย่าลืมว่ากลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้ OLPC นั้นจะมีทุนทรัพท์ในระดับใดไม่สำคัญ สำคัญคือเงินทุกบาททุกตรางค์ที่ลงไปต้องคุ้มค่าครับ เพราะพ่อแม่ที่มีค่าครองชีพไม่มากก็อยากได้เครื่องคอมฯ มาให้ลูกๆ ได้ใช้งานเช่นกัน ถ้าโครงการนี้ทำให้เค้าได้จับ ได้ใช้ก็เป็นผลดี แต่ถ้าการได้จับได้ใช้นั้น มันอยู่บนความเสี่ยงของความไม่คุ้มค่าของตัวสินค้า ทั้งในด้านคุณภาพทีี่ไม่แน่ใจว่าจะควบคุมได้หรือไม่ เพราะราคาถูกคุณภาพมันจะเป็นแบบใด จะไม่มีการยินยันที่แน่ชัดและได้ทดสอบ ด้วยการใช้งานจริง ๆ เลย ผมจึงไม่แน่ใจว่าเงินเสียไปของพ่อแม่ที่พอจะมีเงิน เพราะถ้ามันไม่คุ้มค่า ก็ไม่แนะนำให้มีโครงการนี้ครับ เอาเงินไปทำสื่อการสอนใหม่ ๆ หรือซื้อลิขสิทธิ์หนังสือมาแปลขายในราคาถูก ๆ ยังจะดีกว่าอีก"

"ส่วนวิกิพีเดียนั้น เมื่อมีเนื้อหาภาษาไทยมากขึ้น และได้รับความนิยมในระดับหนึ่งเราควรจะมี วิกิพีเดียภาษาไทยที่ใช้ b/w บน local network แทน inter network เพื่อความรวดเร็วในการเข้าถึงและลดค่าใช้จ่ายด้าน b/w ระหว่างประเทศ โดยทั้งนี้ทั้งนั้น มันขึ้นอยู่กับเราจะต้องการให้วิกิพีเดียนั้นเป็นศูนย์กลางความรู้ของไทยหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นต้องมีคู่มือในระดับผู้ใช้ทั่วไป เพื่อให้สามารถเข้ามาช่วยกันใส่เนื้อหาได้ง่ายขึ้น เมื่อเนื้อหาต่าง ๆ มันมีมากขึ้นจะเอาพวกนี้ไปใส่ใน OLPC ก็ย่อมทำได้ง่ายและเร็วกว่า ต้องอย่าลืมว่าคนใช้ OLPC กี่คน และต้อง sync ข้อมูลกับวิกิพีเดียกี่ครั้งต่อวัน แล้วเก็บข้อมูลต่าง ๆ ลง h/d อย่างไร แล้วเลือกภาษาได้ไหม นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญครับ ยิ่งถ้าใช้ข้อมูลเกี่ยวกับภาษาไทยมาก ก็รวดเร็วและไม่สิ้นเปลื้อง b/w ระหว่างประเทศ ดังที่ได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ครับ หรือถ้าไม่ใช้วิกิพีเดีย แต่จะมาบริหารจัดการกันเองแล้วจะใช้ KM ที่สร้างขึ้นมาเองโดยเฉพาะนั้น KM ในตอนนี้เพิ่งมีการเริ่มใช้ในไทยบ้างแล้ว (ก็เยอะอยู่ส่วนใหญ่อยู่ในมหาวิทยาลัยเสียมากกว่า) ซึ่งเราต้องคิดว่าเราจะใช้ที่ไหนเป็นตัวหลัก และถ้าใช้ระบบ KM แล้ว ก็น่าจะส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการใช้ระบบ KM ด้วยเพราะถ้าทำได้ดี มันจะนำไปสู่ข้อมูลรวมศูนย์ที่ดีมาก ๆ ในระดับการศึกษา, ภูมิปัญญาชาวบ้านและข้อมูลภาครัฐฯ ภายในประเทศครับ"

"ในด้านของ Google นั้นรู้สึกผมคงสับสนตัวเองไปหน่อย -_-' "

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 1 November 2006 - 15:50 #11378
veer's picture

===เรื่องวิกิพีเดีย=== * วิกิพีเดียมีคู่มือการเขียนนานแล้วนะครับ * สำหรับผู้อ่าน sync กับ wikipedia สัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้งก็ได้ครับ * เรื่อง b/w ระหว่างประเทศ มีคนเคยเล่าให้ฟังว่า ในงาน LREC ประธานของ mediawiki พยายามจะมาตั้ง host ในประเทศต่างๆ โดยอาจจะอาศัย server ของมหาวิทยาลัยเป็นต้น

===สื่ออื่นๆ=== * เดี๋ยวนี้ตำราต่างก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำกันมากขึ้น แทบจะเรียกได้ว่ากด button แปลงเป็น pdf ได้เลย * สำหรับเด็กประถม ตำราภาษาไทยที่มีอยู่น่าจะพอเพียงแล้ว * ถ้าหากว่าตำราในคอมฯจริงๆ ถ้าครุสภายอมปล่อยหนังสือออกมาเป็น GFDL ผมคิดว่าก็คงมีคนมาช่วยพิมพ์(key)เข้าไปอยู่ในคอมฯให้ (ถ้ามีอย่างนั้นจริงๆผมก็ช่วย)

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 1 November 2006 - 15:53 #11379
veer's picture

mk: เราอาจจะแก้ปัญหาโดยเลือก mirror แต่ภาษาไทย หรือเรื่องที่เด็กน่าจะอ่าน สำหรับ OLPC นะครับ

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 2 November 2006 - 01:02 #11380
veer's picture

เราอาจจะมองเห็นประเด็นต่างๆใน OLPC มากมาย

มีปัญหาเราก็อาจจะวางแผนแก้ไข หรือรองรับได้ เช่น เรื่องเนื้อหา(content) มีวิธีมากมายที่ทำให้มีเนื้อหาเหล่านั้น ขึ้นมา (แต่จะเป็นไปได้ คุ้มหรือไม่คุ้มก็ว่ากันอีกที)

แต่สำหรับคนที่ขุดประเด็นต่างๆขึ้นมา โดยมีวาระแอบแฝงที่ต้องการจะล้มโครงการอยู่แล้ว คำตอบง่ายๆหลายๆคำตอบเขาก็คงคิดไม่ได้

ผมสันนิษฐานว่ารัฐมนตรีไม่ได้มีทัศนคติเหมือนกับ amoksiklav2x

ผลจะออกมาใช้หรือไม่ใช้ OLPC ก็ได้ แต่อยากได้คำตอบว่าทำไมซื้อหรือไม่ซื้อ ที่แสดงออกว่าศึกษาเรื่องนี้มาแล้วเป็นอย่างดี โดยอคติหรือละเลยจนเกินไป จนทำให้ได้เพียงแต่เหตุผลตื้นๆออกมา

By: สมเจตน์ on 4 November 2006 - 21:25 #11566

ผมอยากให้มีนะ

หลายๆตามข่าวถูกบิดประเด็นไปหมด เช่นกล่าวว่า เป็นของเด็กเล่นบ้าง เป็น thin Client บ้าง ...

ถามหน่อยว่า 100$ ค่าเงินบาทวันนี้เท่าไหร่ 37 บาทต่อ 1 ดอลล์ 100$ ก็มีค่าเท่ากับ 3,700 บาท ราคามันเท่ากับมอนิเตอร์ธรรมดา 1 ตัวเท่านั้น หรือพูดแบบประชดประชัน ราคามันยังถูกว่าตัวไมโครซอฟท์วินโดว์เสียอีก ...

มาลองดูประสิทธิภาพของเครื่อง เขาบอกว่ามันทำงานได้เกือบจะทุกอย่างได้(ถึงจะไม่ดีนัก) นอกจากเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ แต่ก็มีพอร์ตยูอสบีเพิ่มอุปกรณ์อื่นถึง 4 พอร์ต ส่วนเรื่องไฟฟ้าที่เห็นบางท่านเปิดประเด็นไว้ ขอให้กลับไปอ่านสเปคเครื่องหน่อย เพราะเครื่องตัวนี้สามารถสร้างกระแสไฟโดยใช้มือหมุนนะขอรับ และลูกค้าของเขาประเทศด้อยพัฒนากว่าเราทั้งนั้น ...

ไม่ต้องเป็นเด็กหรอกที่อยากได้ ตัวผมยังอยากได้เลย ถ้าเป็นราคานี้ เครื่องเล่น mp3 บางตัวยังแพงกว่าเลย โอเคมันไม่ใช่ประเด็น ผมอยากให้มองว่ามันเป็นเครื่องมือสำหรับเด็กใช้ในการเรียน มองว่ามัน เป็นกระดาษ เป็นดินสอ เป็นเครื่องคิดเลข เป็นเครื่องฝึกสมอง เป็นเครื่องสร้างความบันเทิงยามว่าง นี่ยังไม่รวมว่าเอาไปประยุกต์ต่อเครือข่ายเพื่อใช้ในการเรียน เช่น ตารางสอน แบบฝึกหัด การบ้าน เยอะแยะตาแป๊ะขายไก่

ในแง่กองเชียร์โอเพ่นซอร์ส(รวมผมด้วย) ก็เสียดายโอกาสให้เด็กรุ่นหลังได้รู้จักว่าในโลกนี้การใช้งานคอมพิวเตอร์นอกจาก M$ แล้วยังมี OS อื่นๆ ที่สามารถทำงานแทนได้เหมือนกัน ใครจะรู้ล่ะครับ มันอาจเป็นจุดประกาย ใครจะไปรู้ว่าในอนาคตเด็กน้อยเหล่านี้สร้าง OS หรือโปรแกรมดังจนเป็นที่นิยมที่สุดในโลกก็ได้ ว่ามะ ...

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 4 November 2006 - 22:41 #11570

ตอบคุณ amoksiklav2x

* งบประมาณที่เนคเทคต้องจ่ายในการให้เจ้าหน้าที่เนคเทค 2 คนเดินทางไป MIT 3 อาทิตย์เศษนั้นนับว่าน้อยมาก เพราะทางโครงการ OLPC จ่ายค่าเดินทางกับค่าที่พักให้ครับ ส่วนอีก 3 ท่านจากภาคการศึกษาโดยตรง (มจธ., ร.ร.ปริ๊นส์รอแยลส์คอลเลจ และ ร.ร.ดรุณสิกขาลัย) ได้รับทุนจากมูลนิธิศึกษาพัฒน์ซึ่งเห็นความสำคัญของโครงการนี้ เลยให้ทุนสนับสนุนเพื่อร่วมคณะไปพร้อมกัน 5 คน ซึ่งถือได้ว่าเป็นทีมที่ลงตัวมากๆ ทีมหนึ่ง

* ไปทำอะไร? สั้นๆ คือ 1) ไปศึกษาคุณสมบัติของแลปท็อป ทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และจากทีมงานพัฒนาตัวเป็นๆ 2) ไป Localize แลปท็อปให้พร้อมใช้งานในประเทศไทย 3) ไปเรียนรู้การพัฒนาซอฟต์แวร์/คอนเท้นท์ที่จะใส่ในแลปท็อป 4) ไปให้ข้อมูลที่จำเป็นที่เกี่ยวกับไทยกับทีมงาน OLPC รวมทั้งสร้างคอนเน็คชันด้านต่างๆ ไว้

* กลับมาแล้วทำอะไร? ก็สรุปข้อมูล จัดประชุมนำเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับคนทำงาน และผู้ใหญ่ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้ วางแผนการนำเครื่องทดสอบที่จะได้รับมาราวๆ ปลายปี หรือต้นปีหน้าไปทดสอบ (น่าจะเป็นร.ร.ห่างไกลแถวๆ ภาคเหนือ) ติดตามข่าวสารการพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ พัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มเติมสำหรับเตรียมใส่แลปท็อป (เช่น ดิกชันนารี enlish<-->ไทย) ซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังนัดประชุมกันเป็นระยะเพื่อเตรียมความพร้อม อ่อ แล้วยังต้องคอยตอบเมลไปยังประเทศอื่นๆ ที่สนใจโครงการนี้ด้วย เพราะประเทศเราถือว่าได้ไปนำร่องการ localize ตัวแลปท็อปเป็นประเทศแรก เลยถูกอ้างถึงเสมอเวลามีคนถามไปที่ OLPC สำนักงานใหญ่

* จะเอาคนที่ไหนมาเรียนรู้? บังเอิญผมยังมองประเทศไทยในแง่ดีครับ ผมเชื่อว่าเมื่อเริ่มโครงการ เราจะเซ็ตอัพระบบสนับสนุนได้ และเราคุยกันถึงการฝึกอบรมครูที่จะต้องสอนโดยใช้แลปท็อปกันแล้ว และคุณครูบ้านเราก็เก่งเทคโนโลยีพอตัวนะครับ และก็มีเครือข่ายกันค่อนข้างดีด้วย ผมเชื่อว่าคุณครูเหล่านี้ และคนไทยอีกหลายคนพร้อมที่จะเรียนรู้ ไม่กลัวเทคโนโลยีครับ

ถึงตอนนี้ผมไม่กลัวแล้วว่าใคร (ในข่าวนะครับ) จะพูดยังไง คนที่จะตอบได้ว่าแลปท็อปนี้ใช้งานได้จริงหรือไม่ ก็คือคุณครูทั้งหลายและเด็กๆ เท่านั้น ซึ่งหลังจากได้ไปทดสอบการใช้งานจริง ก็คงมีโอกาสกลับมาเล่าให้ทุกท่านฟังอีกทีครับ ^_^

-- lucky 7


--