โครงการแท็บเล็ตของรัฐบาลกำลังเป็นที่จับตามอง คำถามหนึ่งที่ถูกถามกันอย่างมากคือซอฟต์แวร์เนื้อหาภายในว่าจะเป็นเนื้อหาแบบใดบ้าง โดยตอนนี้เองมีตัวอย่างเนื้อหาที่ dekthai.net หลายคนวิจารณ์ว่าดีหรือไม่ดีต่างกันไป แต่ที่สงสัยเหมือนกันทุกคนคือทำไมจึงไม่มีข่าวเกี่ยวกับเนื้อหาออกมาก่อนหน้านี้ และตัวซอฟต์แวร์นั้นใช้งบประมาณส่วนไหนเป็นเงินเท่าใด ในข่าวก่อนหน้านี้ตอนที่เครื่องแท็บเล็ตส่งเข้ามายังเมืองไทยก็ปรากฏชื่อของคุณพิพัฒน์ วัฒนศาสตร์ ว่าเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ชุดนี้ ทาง Blognone จึงติดต่อขอสัมภาษณ์คุณพิพัฒน์มาในวันนี้
Blognone: หลายคนสงสัยว่าคุณพิพัฒน์เป็นใคร และเข้ามาทำงานส่วนนี้ได้อย่างไร?
พิพัฒน์: ตอนนี้ผมเป็น Assistant Vice President (AVP) ของบริษัท System Integrator บริษัทหนึ่งที่รับประมูลงานภาครัฐอยู่ก่อน และได้รู้ว่ามีความต้องการที่จะทำซอฟต์แวร์บนตัวแท็บเล็ตจากรัฐบาล แต่ขาดงบประมาณในส่วนนี้ ก็มีการเรียกบริษัทต่างๆ เข้าไปคุยว่าจะมีใครช่วยพัฒนาในส่วนนี้ได้บ้าง ซึ่งก็ไม่มีใครรับทำ จากนั้นทาง SIPA จึงได้ติดต่อผมเข้าไปว่าจะทำได้ไหม ผมจึงเข้าไปรับทำในช่วงเดือนท้ายๆ ให้ทางรัฐบาล
Blognone: คนที่ทำโปรเจคนี้มีกี่คน?
พิพัฒน์: เนื่องจากเป็น โปรเจคเร่งด่วน จึงต้องทำงานกระชับที่สุด คนทำงานหลัก ก็จะมีสามคน คือ คุณโสรัฐฏา คุณประธาน และผมเอง
Blognone: ระบบข้างในเป็นอย่างไรบ้าง?
พิพัฒน์: ผมเองเป็นคนวางระบบหลัก โดยดูว่ามีอะไรที่ใช้งานได้บ้าง ตอนนี้มีระบบ Cloud Storage ของ TOT ที่เตรียมไว้ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศจึงเข้าไปคุยว่าจะใช้ได้ไหม ซึ่งทาง TOT ก็ตอบตกลง ส่วนทางกระทรวงศึกษานั้นมี LO (Learning Object บทเรียนที่เราเห็นในเว็บ dekthai.net) แล้วมาคุยกับคุณโสรัฐฎาว่าจะทำหน้าจอให้เด็กๆ ได้อย่างไรบ้าง แต่หลังจากนั้นได้ติดต่อทางกระทรวงศึกษาธิการไปว่าจริงๆ แล้วมีโรงเรียนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กี่โรงเรียน ปรากฏว่ามีโรงเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถออนไลน์ได้ จึงต้องวางระบบให้ทำงานแบบออฟไลน์ได้ด้วย ในส่วนของ LO ที่กระทรวงศึกษาธิการทำไว้มีขนาดหลายกิกะไบต์ ทำให้ต้องคิดถึงประเด็นการอัพเดตว่าจะอัพเดตอย่างไรในกรณีที่โรงเรียนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ จึงคิดว่าในโรงเรียนคงจะมีอินเทอร์เน็ตและจุดชาร์จไฟ จึงออกแบบให้โรงเรียนสามารถตั้งเซิร์ฟเวอร์กลางของโรงเรียนเพื่อเป็นจุดอัพเดตซอฟต์แวร์ได้ด้วยผ่าน Wi-Fi โดยส่วนกลางอาจจะส่งอัพเดตเป็นซีดีเพื่อให้โรงเรียนไปอัพเดตข้อมูลให้กับเด็กๆ ให้กลับไปดูที่บ้าน จุดสำคัญของระบบนี้คือการให้ความสำคัญกับการอัพเดตในอนาคตว่าจะอัพเดตอย่างไรกับจำนวนเครื่องที่มีอยู่มากมาย
LSystem มีความหมาย 2 อย่างที่ตั้งใจไว้คือ Learning System ก็มีความหมายตรงตัว และ L-System (Lindenmayer System) เป็น สมการ รูปแบบการเจริญเติบโตของ ต้นไม้ และ จำลองการเติบโตของ cellที่ไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนกับการขยายกิ่งก้านสาขาของความรู้ ที่จะต่อยอดประสบการณ์ เดิมที่มีอยู่
Blognone: จะโอเพนซอร์สระบบนี้รึเปล่า?
พิพัฒน์: บอกตรงๆ คืออาย เพราะตัวผมเองก็เขียนโปรแกรมไม่เก่งนัก ตัวระบบนี้อาจจะเปิดโอเพนซอร์สแต่ต้องหาคนมาปรับปรุงโค้ดให้ได้มาตรฐานโอเพนซอร์สเสียก่อน โดยทาง SIPA น่าจะหาคนมาปรับปรุงโค้ดกันภายหลังอีกที หลังจากนั้นก็อาจจะเปิดโค้ดออกมา
แต่แนวคิดสำคัญของเรื่องนี้คือซอฟต์แวร์จะอยู่กับหน่วยงานกลาง ไม่ขึ้นกับคนหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เพราะเนื้อหาที่อยู่ในระบบนี้จะมีผลประโยชน์จำนวนมาก อยากให้เป็นหน่วยงานอิสระหรือมูลนิธิ หาเงินทุนมาจ้างคนพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่อเนื่อง
Blognone: แล้วหลังจากซอฟต์แวร์ถูกติดตั้งไปแล้ว อย่างนี้จะรับดูแลระบบต่อไหม?
พิพัฒน์: คงให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาดูแลต่อ เพราะการแก้ไขต้องได้รับการอนุมัติจากหลายฝ่าย ส่วนตัวแล้วคงเข้าไปช่วยวางระบบให้สมบูรณ์ขึ้นบ้าง
Blognone: แต่ตอนนี้มูลนิธิยังไม่ได้ตั้ง แล้วระหว่างนี้ใครจะเป็นคนดูแลซอฟต์แวร์?
พิพัฒน์: ตอนนี้ทาง SIPA เป็นคนอาสาร่วมกับทาง TOT โดยส่วนหลักน่าจะเป็นทาง SIPA ที่ดูแลไปก่อน
Blognone: ที่ว่าเชื่อมต่อกับ Cloud นี่เชื่อมต่ออย่างไรบ้าง?
พิพัฒน์: Cloud ที่ว่าตอนนี้ คือ Cloud Storage อย่างเดียว โดยทาง TOT นั้นมีความได้เปรียบที่เป็นผู้เตรียมลิงก์ไปยังโรงเรียนต่างๆ อยู่แล้ว ภายในตัวแท็บเล็ตเองจะมีซอฟต์แวร์อีกตัวหนึ่งที่อัพเดตข้อมูล เมื่อนักเรียนเปลี่ยนชั้นเรียนก็สามารถซิงก์ข้อมูลใหม่ๆ ลงไปได้ หรืออาจจะเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ในโรงเรียนเองก็ได้อย่างที่บอกไปแล้ว
Blognone: มีการใช้ความสามารถอื่นๆ เช่นการทำการบ้านแล้วซิงก์ข้อมูลขึ้น Cloud ไหม
พิพัฒน์: ตอนนี้ในระบบ LSystem ยังไม่มีการส่งข้อมูลกลับเพราะในตอนนี้โรงเรียนส่วนมากยังไม่มีลิงก์ให้ออนไลน์ แต่ในอนาคตก็อาจจะมีการอัพเดตแอพพลิเคชั่นเพิ่มให้มีความสามารถในการส่งข้อมูลกลับได้
Blognone: แล้วเรื่อง App.Store ที่ออกมาก่อนข่าวมาก่อนหน้านี้ มีพร้อมแล้วหรือยัง?
พิพัฒน์: มีแล้วครับ แต่จริงๆ ยังไม่ได้ตั้งชื่อเป็นทางการ โดยมันเป็นส่วนหนึ่งในสามส่วนของซอฟต์แวร์ในโครงการนี้ ได้แก่ LSystem, ระบบซิงก์, และ apps store แยกออกจากกันหมด แต่ตัว apps store นั้นต้องต่ออินเทอร์เน็ตมาลงเอง เพราะในตัวแท็บเล็ตนั้นไม่มี Google Play โดยที่จริงแล้วก็มีการถกเถียงกันในทีมงานส่วนนี้มาก เพราะหลายคนก็ต้องการให้มี แต่สุดท้ายก็ไม่ใส่ไว้เพราะเด็กป.1 ไม่จำเป็นต้องใช้ และเกรงว่าเด็กจะใช้เพื่อดาวน์โหลดเกม จากนั้นจึงตัดสินใจว่าจะสร้าง apps store กันขึ้นมาเอง โดยตัวมันแล้วคือพื้นที่ส่วนกลางสำหรับการวางแอพพลิเคชั่น ให้คนไทยหรือครูที่มีความสามารถ สามารถเสนอแอพพลิเคชั่นเข้ามายังพื้นที่ส่วนนี้ได้ ไม่ว่าจะแจกฟรีหรือให้ค่าตอบแทนกับผู้พัฒนา โดยส่วนนี้ทำให้ต้องคิดถึงการสร้างหน่วยงานกลางขึ้นมาดูแลเพราะน่าจะมีผลประโยชน์มหาศาลในอนาคต
Blognone: แล้วถ้ามีนักพัฒนาจะเสนอแอพพลิเคชั่นเข้าระบบนี้จะทำอย่างไร
พิพัฒน์: ในตอนนี้หน่วยงานกลางที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลระบบนี้ยังตั้งไม่เสร็จ แต่ตอนนี้อาจจะเป็น SIPA ที่เข้ามาดู แต่อย่างไรก็ตามแอพพลิเคชั่นต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการให้ติดตั้งในแท็บเล็ตได้
Blognone: แล้วนอกจาก LSystem แล้ว ยังมีซอฟต์แวร์ตัวอื่นในเครื่องรึเปล่า
พิพัฒน์: ที่ทราบคือมีคลังข้อสอบของ VChakarn.com และมีซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ที่ไปขอการสนับสนุนจากบริษัทต่างๆ มา ในส่วนนี้ผมไม่แน่ใจว่ามีอะไรบ้าง
Blognone: ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ตอนนี้มีการโอนไปยังหน่วยงานกลางแล้วหรือยัง
พิพัฒน์: ยังไม่ทราบว่ากระบวนการอยู่ในช่วงไหน แต่สุดท้ายแล้วลิขสิทธิ์ทั้งหมดต้องตกอยู่กับมูลนิธิ หากมีการขายซอฟต์แวร์ เงินก็ต้องเข้ามูลนิธิ เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อหรือเป็นค่าตอบแทนให้กับครูที่พัฒนาสื่อการสอนให้กับคนอื่นๆ ต่อไป หรือเป็นทุนการศึกษาของเด็กที่ทำซอฟต์แวร์มาแชร์กัน
Blognone: โครงการนี้ถูกโจมตีว่ามีนอกมีในกันมาตลอด หนักใจบ้างไหม
พิพัฒน์: ไม่มากนักครับ ตัวผมเองไม่ได้เล่น social media มากนัก แต่ก็มีเพื่อนๆ มาบอกเหมือนกันว่ามีการไปค้นหาชื่อผมตามที่ต่างๆ แต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ในเรื่องการมีนอกมีในก็อย่างที่เล่าว่าพอโครงการนี้ไม่มีเงินก็ไม่มีใครเข้ามาทำ ที่ผมมาทำตรงนี้ก็เพือลูกเพื่อหลาน วันนึงเด็กได้ใช้แล้วบอกได้ว่าลุงทำเองก็เป็นความภูมิใจ
Blognone: ทราบว่าไปทดสอบเครื่องที่จีนมาด้วย
พิพัฒน์: ครับ ไปช่วยทดสอบด้านเทคนิคเบื้องต้น ทดสอบว่าชาร์จแล้วไม่ระเบิด รื้อดูเครืองด้านใน โดยตรวจสอบในขั้นต้นแล้ว คุณสมบัติของตัวเครื่องได้ถูกต้องตาม TOR
Blognone: เข้ามาช่วยแบบนี้ แสดงว่าเชื่อว่าการใช้แท็บเล็ตจะช่วยพัฒนาการศึกษา
พิพัฒน์: ใช่ การที่คิดว่าถ้าเด็กได้แท็บเล็ตแล้วจะเอาไปเล่นเกมเป็นการปิดกั้นความคิดเด็ก ทำไมเราต้องไปคิดว่าเด็กป.1 ควรทำได้แค่นี้ เด็กไม่ควรทำอย่างนั้นไม่ควรทำอย่างนี้ เรื่องนี้ผมก็เถียงกับคนในกระทรวงศึกษาธิการว่าคุณไม่คิดเหรอว่าลูกคุณอาจจะไอคิว 180 แค่กลับให้ลูกคุณอ่านแค่ ก ไก่ ข ไข่ แทนที่จะปล่อยให้เขาเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ที่เขาจะได้เจอก็เป็นการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งเพราะอย่างไรเสียมันก็หนีไม่พ้น เด็กอยากเรียนรู้อะไร ต้องปล่อยเค้า แต่ต้องอยู่ในการดูแลของผู้ใหญ่ เพราะเขายังไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก
Blognone: ผู้ปกครองหลายคนกลัวว่าเล่นแท็บเล็ตเยอะๆ แล้วจะสมาธิสั้น ไม่ยอมสนใจอย่างอื่น
พิพัฒน์: อันนี้ขึ้นกับผู้ใหญ่ครับ หลานผมพ่อเขาบอกให้หยุดก็หยุด เพราะถ้าไม่หยุดแล้วพรุ่งนี้ไม่ได้เล่น เด็กเป็นผ้าขาว คราวนี้จะปล่อยไปทางไหนก็ขึ้นกับผู้ใหญ่จะแนะนำ ถ้าตามใจจนเขาเคยตัวก็จะเป็นอย่างนั้น สมาธิสั้น ติดเกม ทำงานไม่ได้งาน ถ้าสอนเขาให้ถูกวิธี ยังไงเขาก็เป็นคนดี
Blognone: คือมองว่าแท็บเล็ตก็เป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง
พิพัฒน์: ใช่ครับ ก็เหมือนกับลูกข่าง ว่าว ของเด็กในสมัยก่อนที่เล่นกัน
Blognone: แนวทางของรัฐบาลคือการแจกแท็บเล็ตให้กับทุกชั้นปีเลย ยังคงเชื่อใช่ไหมครับว่าเป็นการใช้เงินที่คุ้มค่า
พิพัฒน์: ถ้าเรามองว่าเป็นการเริ่มต้นของการศึกษาที่มีให้กับเด็กผมมองว่ามันคุ้มค่า เพราะอย่างหนังสือเรียนกระทรวงก็แจก การเรียนฟรีทำได้ก็ควรทำ สื่อการเรียนการสอนที่ให้ได้ก็ควรให้ การกีฬาก็ควรทำ ถ้ามีงบประมาณ และไม่ทำให้เดือดร้อนอะไร และทำให้เด็กพัฒนาการได้ดีขึ้น ล้ำหน้าขึ้นก็ควรทำ
Comments
อ่านแล้ว มึงไม่เห็นความหวังเรื่องระบบจัดการเลย
มองครับ ...
เล่นเม้นแบบนี้ทำให้อดแก้ไขสิครับ :D
ปล. ทับไปอีกชั้นละกัน
edit ไม่ได้เลยครับ T_T
ฮาๆ ผมแกล้งครับ
คือ มองผ่าน ๆ ตอนแรกนึกว่า เฮ้ย ใช้คำนี้เลยเหรอ แบบ กลายเป็นด่าคนให้สัมภาษณ์ พออ่านอีกที อ้อ พิมพ์ผิดนี่นา ก็เลยมาช่วยแก้ไว้ก่อน เดี๋ยวมีคนเข้าใจผิดคิดว่าจงใช้คำนี้จะกลายเป็นเรื่องใหญ่น่ะครับ
จะพิมพ์ว่ามองล่ะครับ แต่แก้ไม่ได้แล้ว ฮ่าๆๆ
สะดุ้งความเห็นนี้ กันเลยทีเดียว
สดุ้งด้วยคน
แอบน่ากลัว : [
ตกใจเลยครับ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ปกติเห็นว่าในนี้ฟัดกันด้วยความสุภาพ แต่ผมว่าน่ากลัวกว่าแบบหยาบคายอีกนะ +___+
บล๊อกนันฟัดกันหนักมากจริงๆ แบบสุภาพๆปัญญาชน
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
คือถ้าเขียนไม่เก่งก็น่าจะรีบ Open Source นะครับ ไม่ใช่อายกั๊กเอาไว้ เพราะคนเก่งๆ มีอีกมาก เดี๋ยวเขาก็มาช่วยรุมกันทำให้มันดีเองแหล่ะครับ จะมาองมาอายอะไร ถ้าเชื่อในโครงการจริงๆ ก็รีบๆ เปิดให้คนอื่นเขาช่วยกันเข้าไปดู เข้าไปแก้ มันจะได้ดีขึ้น
+1
+1
+1
+1
ส่วนตัวผมคิดว่าการ open ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ open แล้วก็ต้องมีคนมาบริหารจัดการ
ที่ยากที่สุดคือ ... รออนุมัติให้ open
+1 ยากครับ เพราะว่าถ้า open แล้วมันจะไม่เป็น "ผลงาน" ของตัวเขา หลวงก็อย่างเนี้ยแหล่ะ
ปล. ความคิดส่วนตัว จากประสบการณ์น่ะครับ
มีคนรอเข้าไปรุมเยอะเลยครับ ตอดทีนะนิด เหอๆ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
+1
+1
นานๆ คนทำถึงได้พูด ส่วนใหญ่มีแต่คนไม่ได้ทำพูดฝ่ายเดียว
รู้สึกขัดๆกับสองประโยคนี้อะครับ
ขัดกันอย่างไรครับ ผมว่ามันพูดคนละเรื่องเลย
ไม่ต้องมี Google play เพราะจะได้ไม่ต้องโหลดเกมมาเล่นเพราะแจกให้ใช้ในการศึกษาเป็นหลัก
กับ
อย่าปิดกั้นไม่ให้เด็กมีแท็บเล็ตใช้เพียงเพราะคิดว่าเด็กจะเอาแต่เล่นเกมเพราะจริงๆแจกให้ใช้ในการศึกษาเป็นหลักอีกนั่นหละ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
โดยส่วนตัวผมเสนอสนุนความคิดที่ให้มี google play น่ะครับ
เพราะหากคิดว่าไม่ควรปิดกันการเรียนรู้ของเด็ก ก็น่าจะเปิด google play ให้เด็กเข้าไปโหลด app ที่่เกี่ยวกับการศึกษา หรือ app ที่ให้ความรู้ต่างๆไปเลย
เพราะ app store ที่พัฒนาขึ้นเอง จะต้องรอผู้พัฒนาเข้ามาสร้างโปรแกรมอีก และแน่นอนโปรแกรมมันไม่หลากหลายเท่าใน google play แน่ๆ
ปล. จริงๆการเล่นเกมส์มันก็ไม่ใช่ข้อเสียนะครับ = = เป็นการเรียนรู้ในอีกแบบนึงเหมือนกัน :D
ในความเป็นจริงการลง google play ต้องจ่ายเงินให้กูเกิลด้วยครับ ผมไม่ทราบตัวเลข แต่คงไม่ใช่ 10-20 บาทแน่
ใน "ความเชื่อ" (ย้ำ ความเชื่อ) คือดีลแบบนี้เจรจาขอฟรีได้ครับ ดีไม่ดีจะขอแบบพิเศษที่กรอง apps บางจำพวกออกได้ด้วย
แต่จะได้ไม่ได้ ต้องขึ้นกับ "ธง" ว่าจะเอาหรือไม่ก่อน แล้วค่อยไปเจรจา
lewcpe.com, @wasonliw
เท่าที่อ่านๆ มา ส่วนตัวผมมองว่าผู้ให้สัมภาษณ์มีทัศนคติในแนวทางเปิดกว้างในการเรียนรู้ของเด็กครับ และในย่อหน้าหลังก็น่าจะสะท้อนมุมมองของเขาอย่างชัดเจน
แต่โครงการนี้เป็นของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีทีมตรงนี้หลายคนหลากความคิด และหัวแบบ conservative นั้นมีแน่นอน ถกเถียงกันไปมาเลยมีมติให้ตัด google play ออกในที่สุด (สังเกตว่าผู้ให้สัมภาษณ์เอ่ยว่ามีการถกเถียงกันแล้ว และเชื่อว่าเขาก็อยากให้มี)
ส่วนตัวผมสนับสนุนให้มี google play "อย่างมีการจัดการ" เพราะ apps ดีๆ มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้เต็ม google play เลย เด็กที่ใฝ่รู้ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ แน่
อยากให้ลองคุยกับ google ดู เผื่อจะได้โมเดลเจ๋งๆ อย่างเช่นให้ปิดในส่วนของ apps เกมไว้ เด็กจะต้องขยันเรียน ทำงาน ทำการบ้าน เพื่อให้ได้คะแนน rewards มาและนำไปใช้ดาวน์โหลด apps ในส่วนของเกมได้ ตามคะแนน (แต่เป็น Apps ฟรี) เป็นการให้แรงเสริม ให้รางวัล สร้างแรงจูงใจให้เขาได้ คราวนี้หละเด็กๆ คอเกมทั้งหลายจะได้เรียนรู้ว่าชีวิตไม่ได้มีแต่การเล่นเกมไปวันๆ ทุกอย่างมันต้องมีการแลกมา และการขยันเรียนมันก็แลกมาซึ่งอนาคตที่ดีของหนูๆ นั่นเอง
ผมว่าเล่นเกมได้ก็ไม่เสียหายนะ ขอ Parental Control สำหรับปิดคอนเทนท์ที่ไม่เหมาะกับเด็กก็พอละ
จริงๆในเมื่อรัฐหาคนทำที่เก่งในด้านนี้และทำให้ฟรีไม่ได้ ทำไมรัฐจึงไม่ประกาศหาคนที่ชำนาญลงไปช่วยผ่านช่องทางตามพวก Blogger ต่างๆ ผมว่าน่าจะมีคนที่สนใจเข้าไปช่วยทำให้ฟรีเยอะนะ
Texion Business Solutions
ผมสนับสนุนนะ ดีไม่ดีมาดูผลกัน แต่มันอาจจะเป็น next step ของระบบไอทีไทยก็ได้ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาที่ย่ำอยู่กับที่มานานแล้ว
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
+1 อาจจะเป็นอีกก้าวที่สำคัญสำหรับวงการการศึกษา และวงการไอทีครับ
ไม่มี google play เดี๋ยวยัดลงเองก็ได้ ดูหน้าตาแล้ว + ราคา ไม่น่าจะเกิน WM8650 หรือ infomic แน่ๆ
เท่าที่ตาม เป็น RockChip นะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับ ยังไม่เคยเห็นตัวที่ใช้ชิพนี้ตัวเป็นๆ เหมือนกัน
ตั้งใจประมูล Hardware กันดีนะครับ แต่ส่วนสำคัญมันอยู่ที่ Content นะ จากที่อ่านเหมือนรัฐบาลขอให้เร่งๆ ไม่ค่อยจะมีการวางแผนงานกันเท่าไหร่ ส่วนมากบอกว่าคาดว่าจะมีทั้งนั้นเลย
หาคนช่วยด่วน
เอา spec hardware มาเล่าให้ฟัง
processor : armv7 1.2GHz ram : 1 G storage : 8 G os : Android 4.0 Support: SD Card, Wi-Fi
หน้าจอ ;
โห RK2918 ป่าวครับ ถ้าใช่นี่เทพเลยนะนั่น
ถูกต้องครับ RK2918
แต่ผมว่า AllWinner A10 เจ๋งกว่า ...
น่าจะจริง เหมือน gpu Mali 400 จะมีอะไรให้เล่นเยอะกว่า
เอานี้ครับ เผื่อมีคนสนใจจะซื้อมาเล่น
หน้าตา spec คล้ายๆกัน น่าจะมาจากโรงงานเดียวกัน
IAinol-Novo7 Tornados7 Android 4.0
คนละโรงงานครับ ความสามารถเครื่องใกล้เคียงกัน แต่ OTPC เหนือกว่าที่ความละเอียดการแสดงผล
Novo7 Screen Resolution 800x480
OTPC Screen Resolution 1024×768
เหมือนจะมี GPS ด้วยครับ
ไม่มี google play แล้วมันจะทำอะไรได้ วะ -*-
Android สามารถลงโปรแกรมโดยไม่ต้องมี Google Play ได้นะครับ
+1
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ลงโปรแกรมโดยไม่ต้องผ่าน Google Play อันนี้แหละสนุก
(ใครที่เล่น Android แนวโหดๆๆ ประมาณว่า มันต้องลงตัวนี้ได้ มันต้องแฮกได้ ไอ้ที่เสียตังค์ ก็เอาลงมาฟรี ยังได้เลย )โอโฮ แม่เจ้า อะไรจะขนาดนี้
ถ้าอยากรู้มากๆ ถามอาจารย์ กูดเกิ
หนึ่งในปัญหาที่กลัวเด็กไปติดตั้งซอฟท์แวร์ที่ไม่เหมาะสม ...
ผมเดาว่าคงยังสร้างระบบกรองแอพไม่ทัน ก็เลยถอด play ออกไปก่อน ...
เด็ก ป.1 ใช้เรียน ไม่ได้ให้ผู้ใหญ่ ป.1 ใช้เล่นครับ..
+1
คิดไปคิดมา
การที่บอกว่าไม่ควรให้เด็กใช้ tablet ก็คงคล้ายๆ กรณี สุโดเอฟิดรีน (น่าจะเขียนแบบนี้)
คือยามันดีมาก เพราะออกฤทธิ์ได้ตรงจุด มีผลข้างเคียงน้อย แต่ต้องถูกควบคุมเพราะรัฐฯ ให้น้ำหนักกับผลร้ายมากกว่าผลดี
เดี๋ยวนะ คือจะเปรียบเทียบว่าจริงๆ แล้วให้เด็กใช้ tablet มีผลดีมากกว่าผลเสียหรอครับ
รู้ได้ยังไงครับ
ไม่ใช่ครับ
คือจะบอกว่ามันมีทั้งดี และไม่ดี
เท้าความนิดนึง ... ในปัจจุบันวิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาหลักของระดับประถมไปแล้ว ก็แค่เปลี่ยนจาก PC มาเป็นแท็บเล็ตครับ จะดีหรือไม่ดี มันก็น่าจะพอวัดกันได้ตั้งแต่ตอนเรียนคอมพิวเตอร์แล้ว
ตัวแท็บเล็ตเองอย่างน้อยๆ ก็ลดการใช้กระดาษ อัพเดทเนื้อหาง่าย และมีอีกหลายอย่างที่เป็นข้อดี ซึ่งถ้าใช้แบบปกติ ผมว่าเด็กๆ จะได้ผลดีมากกว่าแน่นอน
เหมือนยาสุโดฯ
เช่นกัน ถ้าผู้ใหญ่ไม่ควบคุม ปล่อยเด็กเอาไปใช้ผิด มันก็เกิดโทษได้เช่นกัน
เหมือนยาสุโดฯ
คราวนี้ถ้าผู้ใหญ่อย่างเราๆ มัวแต่กลัวข้อเสีย แล้วยกเลิกโครงการนี้เสีย เด็กกลุ่มที่ได้รับผลทางด้านที่ดี ก็จะอดไปด้วย ซึ่งผมคาดเอาเองว่า กลุ่มที่ใช้งานแบบปกติๆ ก็น่าจะมีเยอะกว่ากลุ่มที่ใช้งานแปลกๆ มาก
เหมือนยาสุโดฯ
ผมก็หัวกึ่งๆ อนุรักษ์นิยมนะครับ แต่เอียงไปทางหัวใหม่มากกว่า ผมมองว่าพวกเราไม่มีใครรู้ว่ามันจะเกิดข้อดี หรือเสียมากกว่ากัน เหมือนที่คุณถามว่า "รู้ได้ยังไงว่าดี" ผมถามกลับว่า "รู้ได้ยังไงว่าไม่ดี"
ถ้าไม่รู้ก็ไม่ต้องมี ก็ไม่ต้องทดลอง แบบนี้เรื่อยไปหรือครับ?
จริงๆ แล้วเราก็ใช้เทียน จุดใต้กันมาตั้งแต่ยุคมนุษย์ถ้ำนะครับ ไม่รู้ตอนนั้นมีใครพยายามขัดขวางตอนยุคเปลี่ยนถ่ายหรือเปล่า
ผมยังไม่ได้บอกว่าไม่เห็นด้วยว่าไม่ควรทดลองเลยครับ (เห็นตั้งคำถามกลับมา)
แค่สงสัยเพราะเห็นคุณเอาไปเทียบกัน ซึ่งผมอาจจะตีความผิดไปเอง
จริงๆ แล้วผมเห็นด้วยกับการทดลองใช้ ในเวลาที่พร้อม ในช่วงอายุเด็กที่เหมาะสม และกลุ่มตัวอย่างไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กทั้งประเทศครับ
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ผมรู้อยู่แล้วครับว่าคุณต้องตอบแบบนี้ (ไม่ได้ประชด)
พอดีว่าหาที่ลงไม่ได้น่ะครับ ข่าวนี้ไม่ค่อยมีคนค้านเท่าไร ผมก็เลยตามเลย เห็นส่งไม้มาก็เลยส่งต่อ
ขออภัยครับ ^__^"
dekthai.net หน้าแรกอย่างเปลือยอ่ะครับ = ='
twitter.com/djnoly
นึกว่าเอา microsoft word พิมพ์รายงานมาซะอีก
เข้าไปแล้วช็อคเหมือนกันครับ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ใจเย็นๆครับ คิดว่าน่าจะอยู่ระหว่างการพัฒนา เพราะเห็นว่ามีการโหลด css ไว้ละ แต่ไม่ได้ map class กับ element
br เพียบเลยนะครับ T T
twitter.com/djnoly
อิอิ เราต้องให้โอกาส เค้าพัฒนา..
อ้าว ดับไปแล้ว?
สะดุ้งเฮิ้ก เป็นหน้าเว็บที่สะอาดที่สุดที่เคยเห็นมาเลยครับ
ผมเปิดใน Tablet ดูแล้วสบายตามากเลยครับ ^^
อีกไม่นาน ก็จะมีแปะป้าย "รับลงเกมส์และโปรแกรม Tablet ป.1"
ถ้าเจ๋งหน่อยก็สอนลง Cyanogenmod ไม่ก็ Miui ให้เด็กป.1 ซะเลย 555+
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
เว็บหน้าแรก มันดูเป็น html ยุคแรกไปหน่อยนะ คือส่วนตัวก็ไม่ชอบหน้าเว็บรกๆ แต่นี่มันยังไงก็ไม่รู้
..: เรื่อยไป
อันนี้มันไม่ใช่ minimal แล้วครับ
มันไม่มีอะไรเลย
เพื่อไทย สุดยอด พูดจริง ทำได้จริง
อ่านดูแล้ว การพัฒนามันดูลวกๆ น่ะ SIPA ให้ทีมพัฒนาเขาทำให้ฟรีๆ หรืออย่างไร
ระยะเวลาน้อยกับตัวเนื้อหาที่เยอะด้วยหละครับเลยดูเป็นงั้นไป ตอนนี้ยังให้บุคคลภายนอกช่วยตรวจสอบด้วยครับ เอาใจช่วยนักพัฒนา และผู้มีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาไทยครับ
ถ้าอ่านดูแล้วก็น่าจะรู้นะครับ ว่าผู้พัฒนาได้รับ "เผือกร้อน" มา
แถมราคาถูกอีกต่างหาก
แถมคนในเน็ตก็จะสับให้่แหลกซะด้วยสิ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
"เผือกร้อน" มันอร่อยนะจะบอกให้
เผือกร้อนติดฟัน โอ...
ผมเกลียดเผือกครับ = =
อย่าว่างั้นงี้เลยนะครับ
สรุปคือ โรงเรียนทุกทีต้องรัน server ของตนเองเพื่อสำหรับอัพเดท? ใครเป็นคนจัดซื้อ server โรงเรียนทำเอง? แล้วใครคุมราคา กับสัญญาดูแล? แน่นอนว่าจุดนี้โรงเรียนทั่วๆไปไม่ได้มีความเชี่ยวชาญขนาดที่จะทำเองสบายๆได้อยู่แล้ว หรือถ้าจะทำกันเองแล้วใครจะเทรน ยังไงซะค่าดูแลก็ยังมีอยู่ดี
อย่างที่สองคือจะใช้การส่งอัพเดทผ่าน CD? แล้วจะทำการแจกจ่ายยังไง หมายความว่าทุกสถาบันต้นปีจะได้รับซีดีใหม่หนึ่งกล่อง? ถ้าเสียจะส่งให้ใหม่ยังไง มีค่าใช้จ่ายแค่ไหน แล้ว maintenance เหล่านี้ใครจะดูแล
อีกส่วน
แปลว่่าเสร็จแล้วก็จะส่ง source คืน แล้วใครจะดูแลต่อไปก็ยังไม่รู้?
ผมไม่ได้จะมองโลกแง่ร้ายนะ แต่อยากให้มีคนรับผิดชอบที่กล้าออกมาเผยถึงก้าวเดินในอนาคตได้มากกว่าแค่ทำให้เสร็จๆไปตอนนี้ ผมอ่านแล้วก็สะดุดใจอยู่ตลอด เดิมทีแค่เด็กมัธยมต้องมาเป็นเหยื่อผู้ใหญ่เปลี่ยนระบบสอบเข้าต่างๆนานากันจนงงทั้งนักเรียน ทั้งครู ทั้งสถาบัน มาคราวนี้เป็นเด็กประถมกลัวว่ามันจะล่มกันตั้งแต่ระบบการศึกษาพื้นฐานเพียงเพราะขาดการวางแผนที่ดีพอ
แล้วก็
ผมก็ไม่อยากจะพูด บทเรียนคือสิ่งที่นักเรียนจะได้นำไปใช้ต่อในภายภาคหน้า แต่ไม่เห็นค่าไม่มีเงินทุน แต่กลับยอมจ่ายเพื่อแจกเครื่องมือที่ไม่รู้จะพังวันพังพรุ่ง
เหนื่อยใจครับ
ผมคิดว่านั่นเป็นการเสนอแนวคิดการแก้ไขปัญหา จากทางผู้พัฒนาครับ แต่จริงๆจะทำอย่างไรก็คงขึ้นกับกระทรวง
เอาตามจริงตามข้อมูลเก่า โรงเรียนระดับจังหวัดมีinternet+wifiกันหมดแล้ว แต่ระดับอำเภอและระดับตำบล ยังขาดแคลน ซึ่งเขาก็บอกว่ากำลังจัดหางบประมาณเพิ่มเติมในส่วนนั้นอยู่
แต่ตัวเนื้อหาหลักถูกpre-loadลงใน tabletมาแต่แรก นั่นคือถึงไม่มีinternet+wifi ก็ยังใช้งานหลักได้ แต่อาจมีปัญหาเรื่องการupdate เนื้อหาใหม่ๆ ซึ่งก็คงต้องหาวิธีกันอีกที
เอาจริงๆต้องเข้าใจระบบราชการหน่อย ว่าบางอย่างไม่สามารถของบล่วงหน้าได้ครับ บางโครงการมันวางระบบให้พร้อมทีเดียวเลยได้ถ้าอยู่ในงบก้อนเดียวกัน แต่ถ้างบก้อนนั้นไม่พอ แล้วจะขอเพิ่ม ต้องชี้แจงให้เห็นถึงปัญหาที่"เกิดขึ้นจริง"เข้าไปก่อน ถึงจะของบเพิ่มเติมได้
ลองนึกกลับกัน ถ้าให้โรงเรียนระดับตำบล ที่มีนักเรียนทุกชั้นปีไม่ถึงร้อยคน ทำงบขอinternet+wifi เต็มระบบล่วงหน้าไป โดยที่ยังไม่ทันมีtabletตัวเป็นๆให้ใช้ มันก็ดูจะไม่สมเหตุสมผลใช่ไหม?
อีกอย่างผู้รับผิดชอบหลักคงเป็นกระทรวงครับ ไม่ใช่ผู้พัฒนาย่อย เรียกร้องไปผิดคนก็อาจจะได้คำตอบไปคนละทาง และคำถามที่คุณถาม อย่างเช่นเรื่องการจัดส่ง CD มันเป็นรายละเอียดปลีกย่อยสุดๆ ไม่น่าจะต้องมาถามกัน ยกเว้นว่าเป็นคนเขียนTORครับ
อืม ผมว่า Server ก็คงจะเป็นแค่ PC ธรรมดานี่แหละครับ(เพราะแค่ host ไฟล์อัพเดท) ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่ก็คงจะมีอยู่แล้ว ส่วน CD คาดว่าคงส่งให้เฉพาะโรงเรียนที่ไม่มี internet ได้มาก็คงต้อง Copy ไว้บนเครื่อง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้คงไม่ได้มากมายอะไรหรอกครับ
ผมว่าคุณมองโลกในแง่ร้ายนะ = ="
http://otpc.in.th/
นี้ยังไม่เสร็จ หรือ มีแค่นี้ ครับ ?
มันยังไม่ได้ทำมากกว่า
นี่ก็ด้วย
http://lsystem.in.th
ทำไมเนื้อหาของเว็บสื่อการสอน ซึ่งน่าจะเป็นหัวใจสำคัญของ Tablet ป. 1 รัฐถึงไม่มีงบให้ แล้วแบบนี้จะแจก Tablet มันไปทำไม
ทำตามนโยบายหาเสียงล่ะมั้งครับ เขาไม่ได้หาเสียงในส่วนของคอนเทนท์ซะด้วย :-)
ปล. ขำ ๆ นะครับ ผมคิดว่าตอนนี้อยู่ในช่วงทดลองระบบมากกว่า ถ้าจะรันจริงจังเลยควรจะแจกหมดทุกชั้นปี คนละเครื่องน่ะ
สิ่งสำคัญ แต่ดันไม่มีงบ เวรกรรม
แล้วนี่นักพัฒนาทีมนี้ทำงานให้ฟรีหรอ?
อารมณ์เหมือน จัดซื้อให้มันเสร็จๆ ไปก่อน จะได้คุยได้ว่าทำละ
เนื้อหา สื่อการเรียนต่างๆ ค่อยไปตายเอาดาบหน้า
คนที่กดดันเลยกลายเป็นคนที่ทำ Software/Content นี่ล่ะ
ร้อนจนไฟลุกเลย
จริงๆ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ Software กับการจัดการเนื้อหา มากกว่าซะอีก
คนทำ ทำเฉพาะ Software ครับ ส่วน Content ข้างใน เป็นของ ส.พ.ฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการศึกษา จัดการ ครับ
คงต้องแยก ประเด็น ระหว่าง ระบบ กับ Content นะครับ
อ่านแล้วใจนึงก็ดีใจ แต่อีกใจก็ .... เฮ้อ ~_~'
my blog
+1
อ่านแล้วนึกถึงเด็กที่ยังใส่ เสื้อขาวที่เป็นสีน้ำตาลไปแล้ว,ขาดๆ หนังสือเก่าๆ ขาดโน้นนี่อีกตั้งเยอะ เห้อ.....
"ตะลึง! เด็กป.1 jailbreak แท็บเล็ต ได้สำเร็จ!!!"
อาจจะได้เห็นข่าวแบบนี้กันบ้างละมั๊ง
Android ไม่ต้อง Jailbreak
Android ไม่ต้อง jailbreak แต่ต้องใช้สิทธิ์ รูท ถึงจะ ซะใจ
+1 ฮะๆ
ได้ผลงานขนาดนี้ ผมว่ามันสุดยอดมากแล้วนะ ...
http://dekthai.net/OTPC-in-China/PhotoSlideShow/index.html
ปัญหาเพียบละครับ ทั้งเรื่องการจัดการ การอัพเดท การสั่งซื้อ นั่นนี่โน่น
แต่อย่างน้อยเราก็เริ่มแล้วนะครับ :)
เห็นเถียงกันจังเรื่องมีกับไม่มี Google Play แล้ว tablet เมืองจีนที่หิ้วกันมาขายเอาเดิมๆนะ มันก็ไม่มี Google Play มาด้วยไม่ใช่เหรอ บางยี่ห้อในยุโรปที่เอามาขายในเมืองไทยผมก็ไม่เห็นมี Google Play มาด้วย ต้องมาหาทางยัดใส่กันลงไปเอง
ปรกติเครื่องที่ไม่มี Google Play คือ ยังไม่ได้ส่งให้กูเกิลตรวจสอบครับ สำหรับงานปริมาณมากขนาดนี้ ถ้ารัฐบาลจะเอาก็กำหนด TOR ว่าต้องผ่าน approve จากกูเกิลเติมเข้าไปได้อยู่แล้ว กระบวนการอาจจะช้าไปอีกหน่อย
ด้วยขนาดโครงการ มันทำได้ อยู่ที่เราเองว่าต้องการรึเปล่าครับ
lewcpe.com, @wasonliw
รอให้วางระบบให้ดีกว่านี้ วางแผนให้มันใช้งานได้แบบเนื้อๆ เน้นๆ
เสียเวลา 1 ปี แต่เป็นการเริ่มต้นที่เข้มแข็ง
การศึกษาเมืองไทย มันยังไม่ได้ต้องการ technology ที่ทันสมัยอะไรมากมาย
เอาแค่คุณภาพครู คุณภาพนักเรียน คุณภาพของการสอน บทเรียน ให้มันดีก่อน
ไม่ต้องอะไร เอาแค่ให้นักเรียนศรัทธาในครูที่สอนในโรงเรียน มากกว่าไปรอเรียนกับครูในสถาบันสอนวิชา วันเสาร์ อาทิตย์
ผมว่า tablet มันเป็นแค่ tool มากกว่า
อาจจะมีคนบอกว่า มัวแต่มานั่งรอให้พร้อม เด็กไม่ได้ใช้กันพอดี
ก็จริงครับ
แต่ถ้าเริ่มแบบเละเทะแบบนี้ ผมว่ามันจะเอาเงินมาละเลงเล่นมากกว่า
มัวแต่มานั่งรอให้พร้อม เด็กไม่ได้ใช้กันพอดี
สักจะเอาแต่ไม่ได้ดูว่าระบบการศึกษาเป็นอย่างไรน่ะเหรอครับ
คนในนี้ความคิดมันออกไปทาง technology addiction คิดแต่คำว่ามีมันแล้วจะเจริญๆๆๆๆ ไม่ได้ดูฟ้าดูหมอกอะไร หัดแหกขี้ตาดูด้วยครับ จากคนที่เป็นลูกครู
ผมคิดว่าคนในนี้มีความคิดบุกเบิกมากกว่านะครับ โดยส่วนตัวก็ลูกครู และเรียนหนังสือในช่วงยุคmicro computerเพิ่งเข้าสู่สถานศึกษา(เครื่องแรกที่ใช้คือ 386sx-33 ราคาเท่าทองคำสิบบาทยุคนั้น) ตอนนั้นอะไรๆก็ไม่พร้อมครับ โรงเรียนอยากจะทำห้องคอมฯ ไม่มีงบจากกระทรวงสักบาท ผู้อำนวยการก็วิ่งเต้นไปหางบจากเอกชน จากสมาคมผู้ปกครองมาจนได้ อัตราจ้างครูก็ไม่มี ครูคนอื่นก็ไม่มีความรู้ ก็ต้องหางบพิเศษมาจ้างเพื่อดูแลห้อมคอมเป็นพิเศษ internet ก็ไม่มีผอ.ก็เอาเงินส่วนตัวมาซื้อชั่วโมงเนทให้นักเรียนใช้(ต้องลงชื่อผลัดกันใช้เฉพาะตอนเที่ยงด้วย)
ถ้าผู้อำนวยการคนนั้นคิดแบบคุณ ว่าต้องรอให้มีงบพร้อมก่อนค่อยทำ สงสัยอีกสักสิบปีนู่นกว่าจะได้เริ่ม(ตอนหลังมีงบสมัยทักกี้ สร้างห้อมคอมทุกโรงเรียน)ซึ่งนักเรียนรุ่นแรกที่ใช้ห้องคอมจากเงินเอกชนนั้น ก็เรียนจบวิศวะกันพอดีหมดแล้ว(หลายคนถ้าไม่ได้จับคอมแต่แรกๆ ก็ไม่ได้จุดประกายให้ไปเรียนวิศวะกันนะ)
คือถ้ามันมีงบครบถ้วนแต่แรกมันก็ดีไงครับ แต่ทีนี้ในโลกจริง มันไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ มีงบมาจำกัด ก็ต้องทำเท่าที่งบอำนวย ซึ่งส่วนฮาร์ดแวร์ก็เกือบหมดแล้ว แล้วจัดหาเพิ่มเติมตามความจำเป็นไป ส่วนไหนขาดเหลือก็เพิ่มเติมเอาในอนาคต ทำไปเจอปัญหาไปก็แก้ไขปัญหากันไปครับ
โดยส่วนตัวเจอประสบการณ์"บุกเบิก"มาหลายหน ทั้งสมัยเรียนและทำงาน ก็พบว่ามันก็สนุกดีและได้เรียนรู้เยอะกว่า ไปเจออะไรที่ครบถ้วนเลยทีเดียวนะ
ที่ผมต้องการคือ คอมแบบจอทัชสกรีนมากกว่าที่จะเป็นแท็บเบล็ตนะครับ ไม่ต้องห่วงเรื่องหาย หรือเสื่อมสภาพก่อนกำหนด
ไอ้ยุคที่ว่าห้องคอมน่ะเหรอครับ ใช้ได้ไม่กี่ปี ทุกวันนี้ก็กลายเป็นซากกองพะเนินให้ผมซ่อม แล้วแท็บเบล็ตนี่มันจะอยู่ในมือเด็กได้นานกี่เดือน? ไม่ถึงกับว่าจะถามว่าอยู่ได้กี่ปี นี่ล่ะครับปัญหา แล้วไอ้แทบเบล็ตนี่มันช่วย Increase Intelligence ให้กับเด็กได้ไหม เพราะเห็นเด็กมันจับคอมมันก็ถามหาเกมแล้ว เรื่องเรียนนี่อย่าถามเลย ไอ้เกมส่งเสริมปัญญานี่เขี่ยทิ้ง ไปโน่น.... Angry Brids เกมไหนเล่นได้แบบเอามันส์ไม่ต้องใช้สมองให้มากนักค่อยน่าเล่นหน่อย
ผมว่าคอมเมนต์จั่วหัวแกพูดถูกต้องและชัดเจนมาก
อัดเงินเดือนเข้าไปก็ไม่ช่วยอะไรหรอกครับ ครูจะเป็นโรคประสาทตายก่อน
แท็บเล็ตมีประกันให้ 2 ปี ครับ
คอมแบบจอทัชสกรีน ผมก็เห็นด้วยครับ จริงๆผมอยากได้ MAC Pro ด้วยซ้ำ
แต่เมื่อหันกลับมามองงบประมาณประเทศ คงต้องหันกลับมามองก่อนล่ะครับ ว่าเงินเท่านี้ ซื้ออะไรได้บ้าง
ทำไม งบประมาณถึงน้อย?
เพราะตอนแรก ความคิดรัฐบาล ต้องการเพียงแค่ ให้ใช้ แท็บเล็ต แทนหนังสือ เท่านั้นครับ
เพราะเมื่อหักลบค่าหนังสือที่รัฐต้องออกค่าใช้จ่าย แจกฟรี แล้วมันต่างกันไม่มากเท่าไร
ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะแก้ปัญหา หรือ เพิ่มความฉลาดแต่อย่างใด
แต่พอรัฐทำออกมาแล้ว ความคิดที่จะนำแท็บเล็ต มาใช้งานในลักษณะ อื่น จึงออกมา ซึ่งผมว่าไม่แฟร์เท่าไร เหมือนหาเรื่องตำหนิ
เพราะเค้าแค่เปลี่ยนงบซื้อหนังสือ ไปซื้อ แท็บเล็ตเท่านั้นเอง และผลตอบรับขนาดนี้ ผมว่ามันประสบความสำเร็จแล้วครับ
จอคอมแบบทัชสกรีน แพงมากกว่าtabletหลายเท่าครับ ย้ำครับtabletเครื่องละสองพันสี่ร้อยบาทนะครับ ราคาเท่าหนังสือเรียนพิมพ์แจกระดับประถมสองปีเอง
ส่วนเรื่องห้องคอม อืมมันก็ใช้ได้ตามอายุของมันล่ะครับ ผมงงประเด็นที่คุณว่ามันจะใช้ได้นานแค่ไหน ก็ในเมื่อเทคโนโลยีมันก็ไปทุกวัน สิ่งสำคัญคือเราได้เข้าถึงเทคโนโลยีในขณะนั้นๆครับ ที่น่าภาคภูมิใจแทนผอ.ยุคนั้น คือห้องคอมที่ล้าสมัยในมุมมองของคุณ สร้างวิศวกรได้อีกหลายสิบคนเลย จากปกติที่มีแค่ไม่กี่คนต่อปี(โรงเรียนประจำอำเภอบ้านนอกครับ)การได้เข้าถึงเทคโนโลยี มันทำให้มุมมองเปิดกว้างกว่าเดิมเยอะครับ
โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่มีอยู่ในplatformอื่นๆมีเยอะครับ คุณคงไม่เคยเห็นเด็กอนุบาลเล่นipadล่ะสิ? มันมีapp การเรียนรู้เฉพาะวัยที่เด็กเล่นแล้วติดจริงเยอะมากครับ เกมส่งเสริมการพัฒนาทักษะเยอะแยะ ส่วนทางandroid หรือของสพฐ.ก็คงต้องพัฒนาเพิ่มเอา สิ่งที่คุณไม่เคยเห็นไม่ใช่ว่ามันไม่มี
เอาจริงๆแค่เรื่องเน้นไว้อ่านหนังสือ ebook ผมก็คิดว่ามันช่วยเยอะแล้วนะ หนังสือแบบinteractive ก็ดีหรือแม้แต่ebook pdf ธรรมดาแต่อัดสีอัดรูปมาเต็มๆ มันดึงดูดที่จะอ่านมากกว่าหนังสือพิมพ์ขาวดำ หรือสีซีดๆเยอะ นึกถึงเด็กต้องไปต่อคิวยืมหนังสือในห้องสมุด หรือเด็กจนๆที่ไม่มีเงินซื้อหนังสือtextbook ภาพสีสวยๆราคาแพงสิครับ
ส่วนเรื่องอื่นมันเป็นปัญหาของระบบการศึกษา แต่ก็ไม่เกี่ยวว่าจะต้องแก้ปัญหาเก่าๆก่อนถึงจะริเริ่มบุกเบิกสิ่งใหม่ได้สักหน่อย?
ไม่งั้นตรรกะก็จะเหมือนคคห.บนๆที่ชอบบ่นว่า ยังไม่มีเนท ไม่มีwifi กันในบางโรงเรียน เลยไม่อยากให้ทุกโรงเรียนมีtablet?!?!
มันคนละเรื่่องเดียวกันครับ
ถ้าเราคิดว่า อนาคตของชาติเป็นเรื่องสำคัญ ผมว่าเราควรจะทำให้ทุกอย่างพร้อมในระดับหนึ่งนะครับ
คือ ถามว่า ถ้าผมเป็นบริษัทนำเข้ารถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง เป็นยี่ห้อใหม่ไม่เคยมีการทดสอบที่ไหนในโลกนี้เลยนะ ไม่มีใบรับรอง พูดง่าย ๆ ว่าเพิ่งผลิตเสร็จเป็นคันแรกเลย ผมต้องการจะมอบให้คุณโดยมีเงื่อนไขว่าคุณต้องนำไปขับทุกวันเป็นเวลา 2 ปี ยกเว้นช่วงเดือนตุลา กับเดือนเมษา รถคันนี้ไม่มีการติดตั้งระบบนิรภัยที่พิเศษเหนือกว่ารถรุ่นอื่นในท้องตลาด มีแค่ airbag ที่เบาะหน้า กับเข็มขัดนิรภัยสองจุดแบบดึงกลับเท่านั้น
คุณกล้าที่จะขับรถคันนี้หรือเปล่า
ตัวอย่างนี้อาจจะสุดโต่งไปหน่อย ผมคิดว่าอย่างน้อย ๆ อัตราการระเบิดคามือคงไม่สูงไปกว่า 0.01% หรอกครับ แต่ว่าเรามั่นใจได้อย่างไรว่าระบบมันพร้อม เราจะไม่ทำให้เด็กเรียนไม่ทันพร้อมกันทั่วประเทศเพราะว่าอ.ปรับตัวไม่ทัน เนื้อหาที่อยู่ในสื่อการสอนครบถ้วนพอ ถูกต้อง และมีเนื้อหาที่เข้ากับการเรียนการสอนในชั้นอื่นๆ
เราเร่งเกินไปหรือเปล่า ? จริง ๆ เราควรจะรันการทดสอบในสิ่งแวดล้อมปิดดูก่อนสักชั้นเรียน สักโรงเรียน สัก 3 ปี ในชั้นมัธยมต้น เพื่อที่จะดูว่ามันจะมีผลกระทบอะไรบ้างหรือเปล่า ?
ผมรู้ว่าถ้าเรามัวแต่รอจนพร้อม 100% เราก็คงไม่ต้องทำอะไรกันพอดี แต่ถ้าความพร้อมมีแค่ 20% แล้วจะรันระบบเลยมันเสี่ยงเกินไปหรือเปล่า
ระบบการศึกษาเป็นตัวตัดสินอนาคตของชาติ มันคือสิ่งที่เราเดิมพันกับประเทศ แล้วเราพร้อมที่จะแพ้พนันแล้วหรือยัง ??
เทียบกับรถยนต์ที่การขับขี่มีโอกาสอันตรายถึงชีวิตก็เว่อไปนะครับ
อีกอย่างtabletเป็นส่วนเสริม ไม่ใช่ของใช้งานหลักตลอดเวลา เรื่องความปลอดภัยมันก็ผ่านมาตรฐานระดับหนึ่งอยู่แล้ว(ตามTOR) และtabletจีนที่ขายๆกันในไทย ก็ไม่ได้มีข่าวน่ากลัวเรื่องการระเบิดอะไรขนาดนั้น เรื่องความปลอดภัย ผมว่าน่ากลัวน้อยกว่ามือถือจีนcopyเยอะครับ
แล้วการใช้งานก็ไม่ได้มีผลเดิมพันยังกับเสี่ยงโชคอนาคตขนาดนั้น คิดในแง่นึง ก็ไม่ต่างจากเพิ่มหนังสือเรียนที่มีรูปแบบพิเศษอีกเล่มหนึ่ง มันก็ไม่ได้มีผลกระทบจนทำให้เด็กมันเรียนหนังสือแบบเดิมๆไม่ได้สักหน่อย มีแต่จะเปิดโอกาสในการเรียนรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมตะหาก
ผมยกตัวอย่างห้องคอมพิวเตอร์ในคคห.บน ก็เพราะคิดว่ามันคล้ายกัน คือณ เวลานั้นสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่แทบไม่มีความพร้อมเลย(ยุคนั้นจำนวนครูที่เคยได้จับหรือคุ้นเคยกับpc มีน้อยกว่าครูที่บ้านมีipadหรือtabletแน่ๆ) แต่การได้เข้าถึงก่อน ทำให้สร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่มากกว่าคนอื่นๆ(ที่ไม่มีโอกาส)ของแบบนี้ต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกันครับ
ผมยังจำคำรำพึงรำพันของผู้ใหญ่ยุคก่อนได้ดี แกว่า ซื้อคอมมาทำไม แพงเท่าทองคำสิบบาท เดี๋ยวเด็กมันเอาแต่เล่นเกม ดูภาพโป๊(ตอนแรกๆเวบโป๊ยังเข้าถึงยากนะ ต้องcopy ผ่านfloppy diskแบ่งกันเอา ^^)ฯลฯ
การตำหนิติติง ข้อผิดพลาดหรือจุดที่ยังขาดอันนี้เห็นด้วย แต่จะติแบบไม่เห็นความสำคัญหรือขัดขวางอย่างรุนแรง อันนี้ก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไร
เท่าที่ผมทราบมา แผนคือจะใช้ tablet "แทนที่" หนังสือเรียนไปเลยนะครับ คือเป็นสื่อการสอนหลักไปเลย ซึ่งผมมองว่าเป็นการกระทำที่บ้าระห่ำมาก เพราะเราไม่เคยทดสอบกันเลยว่าใช้งานแล้วเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับการใช้แต่หนังสืออย่างเดียวอย่างก่อน (ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้งานกันมานานและได้ผลในระดับหนึ่ีง) เราเคยทดสอบแล้วผลการเรียนของเด็กโดยเฉลี่ยแล้วมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือเปล่า ?
ลองคิดเล่น ๆ นะครับ ถ้าปีแรก เด็กป.1 ผลการเรียนเฉลี่ยทั้งประเทศหล่นลงมาเหลือต่ำกว่า 1.0 โดยที่ค่าเบี่ยงเบนแทบจะไม่เปลี่ยน มันจะน่ากลัวขนาดไหน ? มันอาจจะเกิดจาก tablet ไม่เหมาะกับการใช้ในด้านการศึกษาเลย ? หรือ เกิดจากอ.ยังปรับตัวไม่ทัน ? หรือ เกิดจากเนื้อหาไม่เหมาะสม ? เราเคยรู้หรือเปล่าว่ามันเกิดจากอะไร
เขาอาจจะเรียนไม่รู้เรื่องตั้งแต่ ป.1 เพียงเพราะว่าเผอิญปีนั้นมันดันเป็นปีแรกที่เริ่มใช้ Tablet แล้วรัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไร จะบอกว่าเด็กมันโง่ หรือ จะบอกว่าโชคไม่ดีเองที่เกิดมาช้าเกินไป หรือเปล่า ? อย่าลืมว่าถ้าเรียนไม่รู้เรื่องตั้งแต่ ป.1 แล้วจะไปเรียนชั้นอื่นได้อย่างไร (เราไม่มีระบบซ้ำชั้นนะครับ)
ถ้าตอบคำถามพวกนี้ยังไม่ได้ ผมว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่มันบ้าระห่ำมากครับ
เท่าที่ทราบ คือทดแทนหนังสือเรียน"บางส่วน"ครับโดยเฉพาะที่กระทรวงต้องพิมพ์ให้ยืมทุกปี(ให้ยืมแต่สภาพตอนคืนนี่โทรมจนต้องพิมพ์ใหม่อยู่ดี) ที่ทดแทนไม่ได้แน่ๆ ก็พวกคัดลายมือ หรือแบบฝึกหัดครับ
แต่นี่เป็นแผนในอนาคตครับ เพราะในปีการศึกษานี้ จะยังพิมพ์หนังสือเรียนให้ยืมตามปกติ ไม่ได้งดเว้นจนเป็นการหักดิบ อย่างที่คุณกังวลไป
แต่โดยส่วนตัวก็ไม่เข้าใจว่า การเปลี่ยนจากหนังสือกระดาษมาเป็นอ่านจาก ebook จะทำให้เกิดการเรียนรู้ต่ำลงได้อย่างไร? เพราะebookก็คือหนังสือเล่มเดิมๆที่เคยพิมพ์ออกมา ทำไมเนื้อหาจะแย่ลงในเมื่อมันคือเล่มเดียวกัน?
และจะมีเนื้อหาเพิ่มในส่วนของinteractive app หรือเกมส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มอีกตะหาก
อีกอย่างอย่าลืมว่าเด็กหัดใช้ใหม่ ไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ไม่ยอมปรับตัวนะครับ ทุกวันนี้ผมอ่านebook และเอกสารอื่นๆจากจอpc,laptop จอมือถือและtabletมากกว่าหนังสือกระดาษนานแล้ว เอกสารในการทำงานรวมทั้งhandbookต่างๆ 99%เป็นsoft copy ผ่านemail,e-system, web application
ส่วนผลการเรียนเฉลี่ยคงวัดอะไรไม่ได้ เพราะทุกวันนี้ปัจจัยภายนอกมีอีกเยอะ หรือแม้แต่ระดับบนๆแค่คะแนนทดสอบกลางเพื่อเข้ามหาลัย ก็ขึ้นๆลงๆจนวัดอะไรแทบไม่ได้ชัดเจน ว่าเกิดจากปัจจัยอะไรกันแน่
คืออย่าว่าอย่างงั้นอย่างงี้เลยนะครับ ของแบบนี้ถ้าไม่เคยทดลองมันก็ตอบไม่ได้ ผมก็ตอบไม่ได้ และในเมื่อมันยังเป็นคำถามที่ยังตอบไม่ได้แล้วจะให้แน่ใจได้อย่างไรว่ามันจะไม่มีปัญหา หรือปัญหามันไม่เป็นนัยยะสำคัญ
มันจะไม่ใช่ปัญหาเลยนะถ้ามันไม่ใช่ของสำคัญอย่าง "การศึกษา" ถ้าเกิดมันเป็นแค่ไอ้ที่ข้าราชการใช้ผมจะไม่ซีเรียสอะไรมากนักเลย แต่นี่เรากำลังเดิมพันกับอนาคตของประเทศนะครับ
ถ้าจะให้เดาก็คือการเรียนรู้แบบ interactive ในบางรูปแบบทำให้ผู้เรียนต้องใช้เวลา "มากขึ้น" ในบทเรียนที่จริง ๆ แล้วแค่อ่านก็พอจะเข้าใจได้ ... ก็ประมาณว่า คุณสามารถอ่านการ์ตูนเล่มนึงจบได้ภายในเวลา 2 ชม. แต่พอเป็นสื่อประสม (Animation แหละ) ต้องใช้เวลาถึงครึ่งชม.ถึงจะอ่านจบหนึ่งตอน (= เล่มนึงประมาณ 4-6ชม.)
ปัญหาอีกอย่างที่เราเองก็รู้คือ Tablet มันจดไม่ได้/จดลำบากมาก (ขนาด Galaxy Note เองที่มีปากกาไฮเทคขนาดนั้นยังให้ประสพการณ์ที่ลำบากมากเมื่อเทียบกับการใช้ปากกาปรกติ) ส่วนตัวผมเองเวลาอ่านหนังสือเรียนจะใช้ปากกาประมาณ 10 ด้ามประกอบการอ่าน เป็น hi-light กับปากกาลูกลื่นอย่างละ 4 สี เพื่อให้แยกแยะได้ว่าโน๊ตที่เขียนอยู่มันมีความหมายว่าอะไร (ตอนนี้ทำงานแล้วก็ยังใช้วิธีนี้อยู่ แต่เป็นอย่างละ 3 สีแทน) ส่วนไอ้สื่อ interactive นี่ผมไม่รู้ว่ารองรับการจดยังไง (เอาปากกาวาดทับลงไปบนสื่อผสมได้เลย ?) แล้วสามารถสลับหัวปากกาได้มั้ย ? แล้วมันจะจดทันคนสอนมั้ย ? นี่อาจจะไม่ใช่ปัญหาระดับเด็กประถม แต่ถ้าอนาคตเราจะมองถึงขึ้นให้เด็กมัธยมใช้ด้วยเนี่ยก็อาจจะเป็นปัญหาที่ต้องมาดูกันครับ (ตอนสมัยผมเรียนมัธยมก็เคยถูกอ.สั่งให้พกปากกาหลาย ๆ สีนะ คือเค้าสอนวิธีการจด lecture ด้วยน่ะครับ ตอนเรียนจดกันเป็นหน้า ๆ เลยครับ ทั้งจดลงสมุดและจดลงหนังสือ)
ปัญหาพวกนี้ตอนเรียนอยู่อาจจะไม่เห็น ... แต่ตอนเตรียมตัวสอบจะเจ็บมาก 555 ตกลงอะไรสำคัญก็ไม่รู้หาไม่เจอ เพราะว่าตอนเรียนมันจดไม่ได้ ไฮไลท์ไม่ได้ ... ก็ไม่รู้ว่ามันได้หรือไม่ได้เพราะยังไม่ได้ลอง แต่ถ้าแปลงมาจากแฟลชผมยังคิดว่าทำไม่ได้แหง ๆ ล่ะครับ ระบบ Annotation สำคัญมากนะครับ แล้วเรารองรับแล้วหรือยัง ? ต้อง annotate บนตัว content เลยนะ ไม่ใช่มีหน้า note เอาไว้ใส่ต่างหาก อันนี้ก็ไม่มีประโยชน์ครับ
คือ หนังสือเรียนที่ดี มันไม่ใช่แค่เอาไว้อ่าน แต่ต้องเีขียนทับลงไปได้ด้วยล่ะครับ
ส่วนที่ยังไม่หักดิบ ผมรู้สึกว่าเอ้อ ก็ดีนะ ... แต่พนันกันได้ว่า อ.ส่วนใหญ่จะไม่ใช้ Tablet ในการเรียนการสอนเป็นหลัก แต่จะให้เด็กหิ้วไปหิ้วมาเล่น ๆ แล้วเวลาส่งงานก็คงใช้สมุดเหมือนเดิม (สุดท้ายก็แบกหนังสือเรียน 10กิโลไปเรียนทุกวันเหมือนเดิม) ก็คงจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหักดิบล่ะครับ (ผมคิดว่านี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การใช้ Tablet ในโรงเรียนที่เกาหลีไม่ประสพความสำเร็จจนถูกยกเลิกไป)
หนังสือยืมเรียน ก็ไม่อนุญาตให้ ไฮไลท์ หรือ จดนะครับ
หนังสือในห้องสมุดผมก็เห็นรุ่นปู่ๆ เค้าแอบไฮไลท์กันไว้นะครับ
แปลว่าในช่วงต้นหรือช่วงเปลี่ยนถ่ายนี้นักเรียนต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อสื่อการเรียนการสอนอย่างนั้นหรือครับ ? ต้องใช้เงินซื้อทั้งหนังสือสมุดปากกาดินสอยางลบแบบเดิม แล้วยังต้องใช้เงินในส่วนเกี่ยวกับการดูแลรักษา tablet อีกไม่ว่าจะเป็นค่าชดเชยกรณีทำหายยันค่าไฟฟ้าที่ต้องใช้ชาร์ตในแต่ละวัน
ส่วนเรื่องคุณภาพการเรียนรู้ต่ำลงนั้นผมเห็นด้วยกับคุณครับ หากเป็นหนังสือเล่มเดียวกันไม่ว่าจะเป็นแบบกระดาษหรือแบบ e-book ก็คงจะให้เนื้อหาที่ไม่แตกต่างกัน แต่จุดที่มันไม่ต่างกันนี่แหละที่ผมพยายามเน้นมาตลอดว่าในเมื่อมันไม่ต่างแล้วเรามีความจำเป็นอะไรที่จะต้องไปใช้ tablet ในเมื่อคุณภาพของเนื้อหาอยู่ที่ตัวเนื้อหาเองเป็นหลัก แน่นอนว่าวิธีการนำเสนอเนื้อหาก็มีส่วนส่งเสริมการทำความเข้าใจของเด็กด้วยเหมือนกัน การสอนที่สนุกชวนติดตามย่อมดีกว่าการสอนที่น่าเบื่อไร้ชีวิตชีวา แต่หากเนื้อหายังด้อยคุณภาพอยู่อย่างที่เป็นมาหลายสิบปี ต่อให้มีสื่อ interactive มีเกมที่ดีอย่างไรก็คงจะช่วยอะไรไม่ได้มากนัก
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการจดบันทึกเพิ่มเติมสิ่งที่ครูสอนนอกเหนือจากในหนังสือ เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือแต่ละเล่มไม่แน่ว่าจะครอบคลุมดีพอเสมอไปและแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้มันสามารถูกนำไปออกข้อสอบได้ ดังนั้นเด็กนักเรียนจึงมักจะต้องจดเนื้อหาเสริมเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่เขียนเอาไว้ในหนังสือเป็นเรื่องปกติ นอกจากจะได้เรียนรู้เนื้อหาเพิ่มขึ้นแล้วยังได้ช่วยฝึกให้เด็กรู้จักการจับใจความสำคัญและการย่อความด้วย ซึ่งคงจะเป็นสิ่งที่ทุลักทุเลมากหากนักเรียนต้องการจดแทรกเกร็ดความรู้เป็นระยะ ๆ บน e-book ไม่ใช่จดบันทึกใหม่เองทั้งหมดบนสมุดอีกเล่มหนึ่ง แต่สำหรับโครงการนี้ที่มุ่งเน้นไปเฉพาะเด็กป.1 ในตอนนี้คงไม่ได้รับผลกระทบเรื่องนี้มากนัก เพราะเด็กป.1 ก็มักจะเรียนโดยที่ไม่ต้องจดอะไรอยู่แล้ว
โดยส่วนตัวผมเชื่อในแนวทางการสอนหนังสือเด็กแบบ Waldorf มากกว่าซึ่งไม่ได้เน้นการใช้วัตถุอะไรแบบนี้เลยแต่เน้นการเรียนรู้จากธรรมชาติและการปฏิบัติจริงมากกว่า ซึ่งก็มีผลการวิจัยหลายชิ้นบ่งบอกว่าเด็กที่เรียนผ่านระบบการเรียนการสอนแบบ Waldorf มีทักษะที่เหนือกว่านักเรียนจากโรงเรียนทั่วไป ดังนั้นผมจึงมองว่าการทุ่มเงินไปซื้อ tablet มาแจกนั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างเปล่าประโยชน์
That is the way things are.
ตอบรวมๆแล้วกันนะครับ commentมีจำกัด ช่วงนี้ประเด็นร้อนเยอะหมดโควต้าไวครับ^^
เรื่องสมุดดินสอ มันก็เป็นสิ่งที่ต้องใช้อยู่แล้วนะครับ ไม่ใช่ว่าเมื่อก่อนไม่เคยใช้เสียหน่อย โดยเฉพาะเด็กป.1นี่ต้องหัดคัดลายมือเป็นหลักอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการเขียนในหนังสือโดยเฉพาะหนังสือยืมเรียน ก็เป็นสิ่งที่เขาห้ามกันอยู่แล้ว ไอ้ที่เห็นว่าแอบเขียนกันไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นปกติเสียหน่อย ที่สำคัญสมุดดินสอรวมถึงชุดนักเรียน ระดับประถมเขามีงบแจกนะครับ ผู้ปกครองได้เงินสดค่าอุปกรณ์การเรียนไปแล้ว รัฐจ่ายให้ไปแล้ว ไม่ได้เป็นข้ออ้างเลยว่าทำให้สิ้นเปลืองกว่าเดิม
อ้อpdf นั้นทำไฮไลท์หรือใส่commentได้ครับ แต่สำหรับเด็กป.1อาจจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าเขียนในหนังสือนิดหน่อย แต่มันก็เรียนรู้ได้ แต่ที่ดีกว่าหนังสือธรรมดามากๆคือระบบสืบค้นครับ ตรงนี้แหละจะทำให้การไฮไลท์ลดความสำคัญไป เพราะเราสามารถทำindexหัวข้อที่สำคัญได้ง่ายกว่า แต่ตรงนี้อาจมีประโยชน์กับเด็กโตๆขึ้นมามากกว่า
ส่วนเรื่องหนังสือเดิมๆ ก็ผมย้ำว่าหนังสือเดิมเป็นbaseพื้นฐาน ว่าอย่างน้อยองค์ความรู้ที่คุณสามารถเข้าถึงได้ ต้องไม่น้อยไปกว่าเดิมไงครับ แต่เราก็จะมีสื่อการสอนอื่นๆเพิ่มเติมอีกมากมาย เกมเสริมความรู้เล่นในเวลาว่างก็ได้เยอะแยะ ใช่ว่าจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เนื้อหามากกว่าเดิม แต่เป็นว่า เนื้อหาเดิมก็ใช้เวลาอย่างมากเท่าเดิม แต่เนื้อหาเพิ่มเติม สามารถเรียนรู้ในช่วงเวลาว่างเพิ่มได้อีกมาก เพราะสื่อการสอนที่น่าสนใจ ดึงดูดที่จะให้เด็กติดตามได้โดยไม่เบื่อครับ ตรงนี้ถ้าคุณเคยเห็นเด็กเล็กๆเล่นเกมเสริมความรู้ในipadจะเข้าใจดี
แนวคิดในการสอนมีหลากหลายแนวครับ แต่การใช้tabletเป็นสื่อการสอนเพิ่มเติม ผมพบว่าโรงเรียนเอกชนนานาชาติหลายแห่งริเริ่มกันมาแล้ว หรือแม้แต่ห้องเรียนสองภาษาในโรงเรียนรัฐบางแห่งก็เริ่มใช้กันแล้ว การริเริ่มสิ่งใหม่ๆอาจจะได้ผลลัพธ์ที่ดีหรือไม่ได้ผลที่ชัดเจน ก็ต้องทดสอบกันไป แต่การที่เราเห็นว่าโรงเรียนที่มีงบประมาณเขาก็ขวนขวายนำมาใช้เอง ก็น่าจะเป็นแนวโน้มรูปแบบการสอนในอนาคตเช่นกัน
แต่ถ้าไม่พอใจระบบการสอนของโรงเรียนรัฐหรือเอกชนใดๆเลย คงต้องใช้ระบบhome schoolครับ ถ้าผมมีเงินและเวลามากๆผมก็อยากทำแบบนั้นเช่นกัน ^^
ตอบได้เกือบครอบคลุมทุกประเด็นครับ ยกเว้นเรื่องเงินที่ผมพูดเอาไว้ในย่อหน้าแรกสุดเลย ที่ผมพูดเรื่องดินสอยางลบนั่นก็เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ต้องซื้ออยู่แล้วในการเรียนรู้แบบเดิม แต่การเรียนรู้แบบใหม่ด้วย tablet มันมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมา ดังนั้นจึงทำให้ค่าใช้จ่ายรวมในช่วงเปลี่ยนผ่านเพิ่มขึ้นหรือเปล่า
That is the way things are.
ทีละส่วนก็แล้วกัน กระดาษไม่ใด้มีราคาคงที่แต่แพงขึ้นทุกวันตามราคาไม้ แต่อุปกรณ์ electronic เสปคเดิมราคาลงทุกวันครับ
ที่เอา tablet มาคือเป็นการนำร่องไปสู่ระบบไม่ไช้กระดาษ ในช่วงนี้กระแสต่อต้านมีเยอะ เพื่อป้องกันความผิดพลาด ก็เลยทำมันทั้งสองระบบไปก่อน
... แล้วผู้ปกครองมีรายจ่ายเพิ่มหรือปล่าว คำตอบคือน้อยเพราะ กันรอยและชองหนังมาพร้อมกับเครื่อง อีกอย่าง tablet ไม่ไช่สินค้าที่กินไฟเยอะ ถ้าทำให้เด็กสนใจและมีช่องทางที่จะหาความรู้เอง มันจะมีค่ากับประเทศไทยมาก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ของก็ผลิตมาแล้ว ได้มาบางส่วนแล้ว บ่นเรื่องนี้คงไม่ช่วยอะไรมาก มาช่วยกันดูดีกว่าว่า content ที่จะเสริมคุณภาพการสอนและบทเรียนควรจะเป็นยังไง จะได้ไม่เสียตังซื้อมาเปล่าๆ แต่เอาไปทำอะไรไม่ได้ประโยชน์
ก็เห็นด้วยครับ ตอนนี้คงทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า ต้องช่วยกันสร้าง content เพื่อให้โครงการนี้มันได้ผลจริงๆ
ผมไม่เชื่อว่า แผนของรัฐบาล จะจบแค่ แท็บเล็ต เด็ก ป.1 แต่ถ้า ป.1 ยังออกมาดี ต่อไปผมว่า ถึง ม.6 แน่นอน
ถ้ามองว่านี่เป็นการทดลองเพื่ออนาคต ลงทุนเท่าไรก็คุ้มครับ ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร
ถ้าจะมีสิ่งใดที่ผมเรียกว่าล้มเหลว ก็คือ การที่ผลลัพธ์ออกมาแย่ และมันแย่อยู่อย่างงั้นโดยไร้การแก้ไข หรือ พัฒนาครับ
จริงๆ ผมว่า tablet มันก็ไม่ได้ผิดอะไร ก็เสริมสร้างความรู้ ตามเรื่องตามราวของมัน
เพียงแต่คุณภาพของการศึกษาเมืองไทย มีใครเคยสนใจมันหรือเปล่า ว่ามันมีปัญหาอะไรไม๊
ไอ้ที่เราเห็นว่า เพราะระบบแป๊ะเจี๊ยะ เด็กเลยออกมาประท้วงว่าเกรดถึงทำไมไม่ได้เรียนต่อ, เด็กผูกคอตายเพราะไม่มีเงินเรียนต่อ, ปัญหาเรื่องข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีปัญหากันทุกปี หรือเด็กสนใจกับการเรียนพิเศษ มากกว่าการสอนในห้องเรียน มันเป็นเรื่องปกติ? เรายอมรับมันได้?
ผมรู้ว่ามันอาจจะดูคนละเรื่อง แต่ผมรู้สึกหดหู่ใจตั้งแต่ได้ยินว่าจะมีโครงการนี้ครั้งแรกแล้ว เงินภาษีเอาไปละเลงกับเรื่องแบบนี้ แทนที่จะหาวิธีไปแก้ปัญหาการศึกษาก่อน
ส่วนเรื่องความพร้อม ผมไม่ได้จะให้พร้อมขนาดมี wifi มี server มีห้องคอมทุกโรงเรียนทั่วประเทศไทย ความพร้อมของผมเป็นเรื่องคุณภาพของการเรียนของนักเรียน การสอนของครู เราจะมี content แบบไหนที่จะเอามาให้เด็กเรียน หรือเมื่อครูมีตัวช่วยเป็น tablet แล้ว ครูจะหาวิธีเพิ่มความน่าสนใจในชั้นเรียนปกติได้ยังไง
หรือเราจะปล่อยให้เด็กเรียนกับ tablet โดยที่ครูไม่ต้องสอนแล้ว?
ผมว่าวิธีการสอนให้สนุก ให้เด็กชอบ ครูที่เป็นมนุษย์ก็ทำได้ดีไม่แพ้ tablet ด้วย แถมมีชีวิต มีความรู้สึก มีรอยยิ้มให้เด็กได้
แต่วันนี้คงทำอะไรไม่ได้มากกว่า รอดูผลงาน หรือการวางแผน (ที่บอกว่ามีโรงเรียนนำร่องแล้ว) ว่าจะได้ผลแค่ไหน
ไม่อยากมาเถียง หรือจะมาดราม่าในข่าวแบบนี้ เพราะยังไงเราก็ต้องเดินไปข้าง เด็กก็ยังต้องขึ้น ป.1 นักเรียนก็ยังต้องหาโรงเรียน เรียนต่อ ม.4 และ เด็ก ม.6 ยังต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ลองนึกภาพ นะครับ นักเรียนเล็กๆ ป.1 - ป.3 เข้าห้องเรียนตอนเช้า ในเครื่องมี Application ที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เด็กนักเรียน เมื่อเข้าห้องอย่างแรก จะทำอะไรครับ (1. นั่งนิ่งๆ เก็บ tablet ไว้ในกระเป๋า 2. เอาออกมาโชว์ว่ามี Application อะไรกัน แล้วเล่นโชว์กัน)
เมื่อถึงคาบเรียน ครูบอกให้เอา แท๊บเล๊ต ขึ้นมา เด็กจะทำอะไรถ้ามี เกมส์ อยู่ใน tablet (1. นั่งนิ่งฟังครูว่าจะทำอะไรต่อ 2. เปิดออกมาเล่นกันเลย)
คิดในแง่ที่แย่ที่สุด เมื่อ เด็กเปิดอะไรต่อมิอะไรเล่นกัน ครูจะจัดการยังไงกับ เด็ก 30คน (1. บอกให้หยุด 2.ปวดหัวแล้วเดินจากไป)
ถ้าเด็กมี application ที่เล่นได้ตลอดเวลาแล้วสนุก เด็กเปิดเล่นจน battery หมด เมื่อถึงคาบเรียนจะทำอย่างไร (1.เด็กโดนตี 2.รอช๊าติให้เต็มแล้วค่อยเรียนกัน)
มีเป็นเพียบตัวอย่าง กับประเด็นเล็กๆ ว่า ทำไม tablet ถึงจะต้องให้ลงโปรแกรมลงไปให้ยากนิดนึง ครับ ส่วนถ้าอยากให้เด็กเล่นAngry Bird หรือเกมส์ อื่นๆ ก็คง ลงเครื่องของพ่อหรือแม่ มากกว่าที่จะเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน นะครับ คุณว่าจริงไหมครับ
ชาร์จไปด้วยใช้ไปด้วยไม่ได้เหรอครับ
หลายคนวิจารณ์ว่าเนื้อหาน้อย
เคยนึกมั้ยครับว่าทีมงานมีกันอยู่ 3 คน ระยะเวลากี่เดือนกับ pilot project ระดับประเทศ
วิจารณ์ได้ครับ ... แต่ขอให้ดูความเป็นจริงด้วยครับ ไม่ใช่สักแต่ตำหนิ คนทำงานหมดกำลังใจครับ
เขาไม่ได้ตำหนินักพัฒนา ทีมงาน หรือบริษัทที่รับโปรเจคเผือกร้อนอันนี้หรอกครับ ผมเชื่อว่าทุกคนเข้าใจ ที่จะตำหนิก็คือ SIPA กับรัฐบาลนั่นแหละครับ ตัวดีเลยครับ
งั้นผมต่ออีกละกัน
บอกว่าตำหนิ SIPA ตำหนิรัฐบาล ... แต่ตำหนิที่ตัวผลงาน คนทำผลงานก็ 3 คนนั้นล่ะครับ จะตีวัวกระทบคราดไปใย
ไม่เห็นด้วยครับ
น้อยก็คือน้อย จะบอกว่าน้อยเพราะไม่มีคนทำก็ควรแก้ปัญหาด้วยการไปหาคนมาเพิ่มครับ ถ้าหัวหน้างานหรือผู้ว่าจ้างไม่หามาเพิ่มคนที่อยู่ก็ต้องรับภาระไปครับ ไม่ใช่บอกว่ามันน้อยแต่ก็ช่วยไม่ได้
อย่างที่คณว่าครับนี่คือ project ระดับประเทศและเงินที่ใช้สร้าง project นี้ขึ้นมาคือเงินภาษีของประชาชนครับ
That is the way things are.
อันนี้เห็นด้วยครับ
ว่าน้อยต้องเพิ่มคน แต่ผมเองก็ไม่ทราบว่าได้งบมาเท่าไร ... แต่สันนิษฐานเอาเองนะ ... ขนาดรัฐเห็นว่าช้าขนาดนี้แต่ก็ยังไม่บ่น ผมเดาว่ารัฐคงเข้าใจ ว่างบที่ให้ไปมันทำได้แค่นี้
ไม่ได้บอกว่าห้ามด่านะ แต่อย่าด่าแบบ ... กูมาเพื่อด่า ... แบบนั้นไม่ช่วยอะไรครับ
คิดว่าคุณ lew อาจจะได้คุยในส่วนที่ไม่ได้ลงเอาไว้ ซึ่งหลายๆ คนก็อยากรู้
เห็นด้วยเลยครับ
ไม่ควรบอกว่าคนทำแค่ 3 คน มันก็ได้เท่านี้
ผมไม่ชอบคำว่า อาสาสมัครเลย มันกลายเป็นเราห้ามไปติ ห้ามไปว่ากับความมีน้ำใจของพวกเค้า
ผมไม่ได้ว่า อาสาสมัครนะครับ แต่โครงการแบบนี้ไม่ควรใช้อาสาสมัครครับ
ควรจะต้องมีคนรับผิดชอบแบบจริงจัง
นี่เรากำลังพูดถึงการลงทุนเพื่อการศึกษาของเด็กที่จะโตมาในยุคต่อๆ ไปเลยนะครับ
ที่ผมได้บอกมาต้นๆ ว่าเรายังไม่พร้อม เราเอางบประมาณไปแก้ไขปัญหาอะไรที่เกี่ยวกับการศึกษา หรือการวางแผนการจัดการ content ที่จะเอามาใช้ใน tablet กันก่อนจะดีกว่าไม๊
นี่ไงครับ งบประมาณก็จ้าง developer เหล่านี้ ให้เค้ามีหน้าที่เตรียม/พัฒนา framework ของ content ที่จะใช้ไปเลย หรือให้คนทั่วไปที่อยากจะพัฒนา content ให้เด็กๆ เข้าถึง framework พวกนี้ได้ด้วย
ผมอยากจะให้ทำหนังสือของบประมาณการจัดทำให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลย น่าจะดีกว่า
ผมไม่ตำหนิในตัวทีมงานครับ แต่ผมตำหนิคนอนุมัติงบมากกว่า
project ระดับประเทศขนาดนี้ แต่ทำไม หาทีมทำงานได้แค่ 3 คน ทำไมไม่จัดงบดีๆ ให้เต็มรูปแบบกว่านี้
ผมว่าเอางบไปทุ่มที่ตัวของที่จับต้องได้ครับ
รัฐบาลนี้มีจิตวิทยาในเรื่องนี้ดี ประชาชน (ระดับฐานเสียง) ไม่ได้ต้องการอะไรที่มันซับซ้อน ทำของที่มันจับต้องได้ออกมาให้เห็น คะแนนเสียงก็เทมา
นี่ขนาดงบน้อยยังตีกันในสภากันจะเป็นจะตายเพื่อนจะเอาเงินที่ยึดมาคืน......... ลืมแล้วกันครับ
เป็นว่ามองสภาตอนนี้เค้าสนเรื่องการศึกษาจริงหรือครับ ผมว่าถ้ารัฐบาลที่สุจริตไม่ว่าใครเป็นสิ่งแรกที่ควรยัดงบแล้วทำเป็นวาระแห่งชาติคือการศึกษาครับ ไม่คิดจะสอนให่คนฉลาดขึ้นเพราะกลัวคนคิดเป็นหรือยังไง ผมด่าทุกรัฐที่ไม่เน้นการศึกษานะครับ คิดดูถ้าคนฉลาดต่อให้ทำนา เค้าก็เอานวัตกรรมไปใช้ได้เหมือนเมืองนอกที่ชาวนาดูราคาขายเอง แต่นี่เอาไปทุ่มงบอื่นซะเยอะกันทั้งนั้น กระทรวมคมนาคมเลยเหลือตังให้โจรปล้นมากมายไปฟรีๆโดยบอกยอดเยอะกว่าที่โดนไม่ได้
สาเหตุที่ใครๆ ก็อยากไปนั่ง รมว กระทรวงเกษตรฯ คือ งบเยอะมากครับ (บอกทำไม?)
สิ่งที่รัฐบาลหลายๆ รุ่นทำก็คือ ทำในสิ่งที่วัยทำงานจับต้องได้ครับ ลดค่าครองชีพ ลดราคาน้ำมัน ลดภาษี บลาๆๆๆๆๆ
เค้าไม่ค่อยมาสนกับการศึกษามากเท่าที่ควรหรอกครับ ส่วนไอ้เรื่องว่าเรียนฟรีอะไรนี่ ผมขอใช้คำว่า "ตอแหล" ทั้งนั้น
ผมไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วกรณีนักเรียนบดินเดชาที่ออกมาประท้วงมันคืออะไรกันแน่ สมมติว่าเป็นเรื่องแป๊ะเจี๊ยะตามที่ข่าวนำเสนอ ก็ยังไม่เห็นมีใครยื่นมือช่วยเลยครับ
ที่บอกว่าโครงการนี้ไม่มีงบ นี่คือ ไม่ได้เงินเลย หรือ ว่าได้น้อย??
ถ้าหากไม่ได้เลย ก็น่าจะเปิดรับสมัครให้คนที่ขยันติ ได้เข้าไปร่วมทำด้วยเลย น่าจะดีกว่าปล่อยให้เอาเท้าราน้ำไปวันๆ
คห. ด้านล่างตอบไว้ว่าไม่ได้เงินเลยครับ มันน่าให้ติมั้ยล่ะ โครงการใหญ่ระดับประเทศ แต่ไม่มีงบมาจ้างคนทำซอฟแวร์ ต้องมาขอร้องอาสาสมัครให้ช่วยทำให้ ตลกมาก
ส่วนตัว อยากจะช่วยเหมือนกันครับ แต่ก็ต้องทำมาหากินครับ ยิ่งยุคข้างของแพงแบบนี้ ถ้าช่วยแบบเต็มตัว จะเอาอะไรกินครับ
ก็มีคนช่วยแบบสุดตัวแล้วนะครับ
เท่าที่ทราบมา
บางคนขี่มอเตอร์ไซไปประชุม ตากฝน ไปช่วยให้งานเสร็จ
บางคนนั่ง Taxi ไปกลับดึกๆ ดื่นๆ เพื่อให้ mission สำเร็จ
ถ้าไม่ใจจริง คิดว่าจะทำงานอย่างนี้ไหมครับ เป็นเดือนๆ
และจากที่อ่านมา อาสามัครนี่เต็มใจทำให้นะครับ ไม่ใช่ขอร้อง เพราะพวกที่ขอให้ทำให้ หนีไปหมดตั้งแต่บอกว่า ไม่มีงบแล้ว
คงต้องตัดประเด็น "การเมือง" ออกจาก ประเด็น "เพื่อสังคม" นะครับ
ใช่ครับ ผมถึงนับถือน้ำใจของทีมงานไงครับ เพราะเค้าทำเพื่อสังคมจริงๆ
ซึ่งผมไม่สามารถทำแบบเค้าได้(ทำไปแล้วจะเอาอะไรกิน) จึงได้แต่ติวิธีการของรัฐบาลที่ดูไม่พร้อมเอาซะเลย ทำไมไม่จัดงบส่วนนี้เพื่อจ้างคนทำเป็นเรื่องเป็นราวไป
ส่วนจะว่าออกประเด็นทางการเมืองก็คงใช่แหละครับ เพราะผมกำลังติรัฐบาลอยู่ ไม่ได้ติทีมงานเลยครับ (คำตอบด้านบนอาจทำให้เข้าใจผิด ขออภัยด้วยครับ)
โครงการนี้มีแต่งบประมาณจัดซื้อแท็บเล็ตเปล่าๆ ไอ้ที่เห็นทั้งหมดบนเว็บ www.dekthai.net ล้วนเกิดจากการเสียสละของอาสาสมัครทั้ง 3 คนและผู้คนที่อยู่เบื้องหลังอีกหลายคน ที่ช่วยกันทำให้เหมาะสมสำหรับครูทั่วประเทศจำนวนมากกว่า 50,000 คนที่จะนำไปใช้สอนเด็ก ป.1 ถ้าปล่อยให้ลงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ กันตามมีตามเกิดตามธรรมชาติของการลง App บนแท็บเล็ต คงจะมี Icon อยู่บนแท็บเล็ตเป็นร้อย เราจะทำอย่างไรให้คุณครูอายุใกล้เกษียณ ซึ่งเกิดมายังไม่เคยสัมผัสแท็บเล็ตเลย ให้สามารถสอนหนังสือได้ ขอให้นึกอยู่เสมอว่า นี่คือแท็บเล็ตจีนราคาเพียง 2,400 บาทใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ใช่แท็บเล็ตสำหรับใช้งานทั่วไปราคาเป็นหมื่น คุณค่าของมันอยู่ที่เนื้อหาที่จะบรรจุลงไปให้เด็กต่างหาก
วัตถุประสงค์ประการเดียวของเว็บไซต์ www.dekthai.net คือมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกหลานอันเป็นอนาคตของพวกเราทุกคน ไม่ได้ทำไว้ประกวดกับใคร อยากให้สนใจเนื้อหาหลังหน้าแรกไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องของแท็บเล็ตตัวจริงล้วนๆ ขอให้อ่านให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ให้ดี ซึ่งตอนนี้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว เพราะสามารถทำให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลที่จะแจกให้เด็กจนหมดสิ้นแล้ว
ผมขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้กำลังใจกัน สำหรับท่านที่เข้าใจผิด ก็ขอให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ให้ถูกต้อง แล้วก็ลืมๆ ไปซะกับเรื่องงบ 20 ล้านบ้าบอคอแตกอะไรที่มักจะพูดถึงกันนั้น ทุกอย่างบนเว็บ www.dekthai.net เป็นผลผลิตจากน้ำพักน้ำแรงของอาสาสมัครทั้งสิ้น ไม่มีค่าแรงใดๆ นอกจากคำขอบคุณ อีกทั้งต้องโดนการกดดันจากรอบทิศ ไม่ว่าจากคนที่อยากจะหากินกับเด็ก สาระพัดวิธีที่จะนำมากล่าวอ้าง รวมทั่งการที่ทีมงานต้องยอมทนพัฒนาบน Android 4.0 ซึ่งยังไม่เสถียรพอ เพราะความอยากได้ของคนที่เอาแต่ใจตัวเอง และ Google เองก็ไม่ยอมให้รันในโหมด Full Screen อันเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการรัน Learning Object ของ สพฐ. ซึ่งในปัจจุบันนี้มีเครื่องจีนเพียงยี่ห้อเดียวที่ทำได้ คือ Ainol ในเมื่อ Ainol เราก็ต้องทำได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้นทีมพัฒนาทั้ง 3 คนและคุณอนุชิต จาก SIPA จึงได้ร่วมมือกับวิศวกรจีนทำให้มันรันในโหมด Full Screen ได้เป็นผลสำเร็จในเวลาไม่ถึง 3 วัน นอกจากนั้นแล้วยังสามารถทำให้ ICS สามารถรัน Learning Object ของ สพฐ. ซึ่งเป็นไฟล์ SWF ขนาดใหญ่บน Tablet ได้เป็นผลสำเร็จเช่นเดียวกัน
Learning Object ของ สพฐ. ถูกออกแบบมาสำหรับรันบน PC ไม่ได้ออกแบบให้รันในแท็บเล็ต การจะทำให้รันบนแท็บเล็ตสามารถทำได้ แต่ไม่ใช่จะทำได้ในเวลาอันสั้นแค่เพียงเดือนเดียว แม้แต่บริษัท Adobe เอง ยังยอมรับเลยว่าไม่สามารถที่จะแปลงไฟล์ SWF ทั้ง13,600 ไฟล์ให้เป็น HTML5 ได้ภายในระยะเดือนเดียว เพราะต้องใช้ทั้งเวลาแปลงไฟล์และต้องใช้เวลาในการตรวจสอบความถูกต้องของการแปลงทุกไฟล์ ไม่สามารถทำโดยวิธีอัตโนมัติได้
สำหรับท่านที่อยากจะเข้ามาช่วยทำโครงการ เรายังมีงานรออยู่อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วย สพฐ. อบรมการใช้แท็บเล็ตให้แก่ครูจำนวนมากกว่า 50,000 คนให้สามารถใช้แท็บเล็ตสอนหนังสือได้ในระยะเวลาเพียง 2 เดือน การตรวจรับแท็บเล็ตจำนวน 400,000 เครื่อง การดูแลการเรียนการสอนของโรงเรียนในถิ่นธุรกันดาร และงานต่างๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย ยังไม่รวมถึงผู้ปกครองซึ่งจะต้องสอนลูกๆ อีก
ถ้าคิดในแง่บวก เราสามารถต่อยอดโครงการนี้เพื่อทำโครงการอะไรได้อีกจิปาถะ สุดแท้แต่จินตนาการจะพาไป โดยไม่ต้องรอให้มี 3G หรือ High Speed Internet แล้วค่อยคิด
สำหรับท่านที่อยากรู้ว่าทีมพัฒนาเขาไปทำอะไรกัน ดูได้ที่
http://www.dekthai.net/OTPC-in-China/index.html
และ
http://www.dekthai.net/OTPC-in-China/FLV/index.html
อา อาสาสมัคร..
ถึงเวลาของหลายๆ ท่านที่จะทำประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่าแสดงความเห็นแล้วนะครับ เขาเปิดรับท่านอยู่ :)
นับถือทีมงานทุกท่านที่อาสาเข้ามาทำงานเพื่อเด็กๆครับ สู้ต่อไปครับ :)
นี่แหละหนา สักแต่ว่าจะทำให้มันมี ให้รู้ว่าชั้นทำนโยบายสำเร็จ เด็กมีแทบเล็ตใช้แล้วนะ แต่ไม่มีการวางแผนวางงบสำหรับซอฟแวร์ที่เป็นหัวใจของโครงการ (เน้นว่ามี ไม่เน้นคุณภาพ)
บางคนบอกว่าเฮ้ย ใจเย็นๆ เด๋วมันก็พัฒนา แล้วทำไมไม่เตรียมพร้อมไว้ตั้งแต่แรก
หรือว่านี่คือแผนจากรัฐบาล รอความหวังจากทีมอาสาสมัคร ว่าจะมีคนใจดีมาช่วยทำให้เยอะๆ
สำหรับทีมงานอาสาสมัคร ผมนับถือในน้ำใจคุณมากครับ แล้วไม่ทราบว่างานอบรมนี่อบรม เสาร์-อาทิตย์ หรือป่าวครับ ถ้าต้องการคนช่วยในเขตจังหวัดอยุธยา ผมยินดีช่วยนะครับ
บางที การที่ได้ทุกอย่างทันใจมันก็มีข้อเสียแบบนี้แหละครับ หลายๆ อย่างมันขาดการวางแผน
เอ๊ะ หรือว่านี่แหละแผน
if you know what I mean เหมือนเดิมละกัน
อืม...อาจจะเป็นแผนขยายโอกาส Open Source ก็เป็นได้
5555 เดี๋ยวนี้เค้าหาเสียงเน้นแจกไว้ก่อนครับ ค่อยมาคิดทีหลังเอาว่าทำได้มั้ย ทำไม่ได้ก็มีคนมาปกป้องว่าเวลาน้อย บลาๆๆๆๆ ผมเลยคิดว่าหาเสียงนี่คือไม่ต้องคิดห่าตายายอะไรก่อนเลยหรือไงพล่ามออกมาไว้ก่อนอย่างเดียว พอเป็นคนเข้ามาคุมงบแผ่นดินแล้วค่อยคิดกัน อนาถคนไทยนี่แหละที่คิดแต่อยากได้ของฟรี คนหาเสียงแต่ละพรรคเลยต้องพูดล่อด้วยของฟรี
ผมเป็นอีกคนที่เคยมีอคติกับเรื่องนี้นะครับ แต่เห็นถึงความตั้งใจและตัวงานที่ออกมา ผมว่าน่าจะมีส่วนช่วยให้เด็กไทยดีขึ้นจริงๆ ครับ เอาใจช่วยครับ
http://www.dekthai.net/OTPC-in-China/index.html >> เข้าไปแล้วมันบอกว่า 404 Not Found ครับ
ส่วน http://www.dekthai.net/OTPC-in-China/FLV/index.html เข้าไปแล้วเห็นแต่หน้าขาวๆ
ผมขอแนะนำครับ
ถ้าเป็นไปได้เจอปัญหาก็แจ้งทางช่องทางที่เว็บเปิดไว้ให้จะดีกว่าครับ คนดูแลจะได้ทราบถึงปัญหา
ไม่ได้ตำหนินะครับ :D
ขอบคุณที่แนะนำครับ :) เห็นเหมือนเจ้าตัวเข้ามาโพสก็เลยนึกว่าเผื่อเค้าจะเข้ามาอ่านเจอ
ก็เลยลองเข้าไปที่เวป http://www.dekthai.net เผื่อจะมีบอกช่องทางติดต่อ แต่มันก็เป็นหน้าขาวโล่งๆ ไม่มีอะไรเลยซะงั้นอีก เลยไม่รู้จะติดต่อยังไงเลย
ทางจิต ทำจิตให้โล่งเข้าไว้ครับ
ถ้าติดต่อได้แล้วตามผมด้วยครับ ผมขอไปกินยาระงับประสาทก่อน :D
เมื่อไรคุณ vp จะได้มาดูอีกรอบเนี่ย -_-"
ขอช่องทางติดต่อด้วยสิครับ ผมคิดว่ามีหลายคนสนใจงานอาสาสมัครนะครับ
โอกาสมาแล้วครับ เมนต์บนๆ ความสามารถมากๆทั้งหลาย ยังเหลืองานอาสาสมัครอีกเยอะครับ
ปล. คำตอบแนวๆ ผมต้องกินต้องใช้ นี่แปลว่าคนทำโครงการนี้อิ่มทิพย์รึเปล่าครับ?
ผมก็ไม่รู้หรอกครับว่าเค้ามีรายได้จากทางไหน เค้าอาจจะมีงานอื่น (อย่างเช่นเป็นมือปืน) อยู่อีก หรืออื่นๆ ก็เป็นไปได้ คนเราต้นทุนชีวิตมันไม่เท่ากัน
แล้วการที่ผมติ ผมวิจารณ์ มันผิดตรงไหนมิทราบครับ คุณจะมาบอกว่าพวกที่ติๆ ทั้งหลาย ก็ลงไปทำเองเลยสิ งั้นชีวิตนี้คงไม่ต้องติต้องวิจารณ์อะไรแล้วมั้งครับ ลงมือทำเองมันทุกอย่างเลย
ถามตัวคุณเองดู คุณไม่เคยติ ไม่เคยวิจารณ์อะไรเลยหรอ?
ผมว่า เรามาช่วยกันตรวจสอบ ความถูกต้อง ของสิ่งที่เรียกว่า Learning Object ที่เป็นเนื้อหา สำหรับการเรียนรู้ของเด็กดีกว่า นะครับ ว่าทำไม ไปๆ มาๆ มันแปลกๆ ได้ขนาดนี้ เพราะว่านี่แหละคือสิ่งที่ เด็กจะต้องเรียน รู้
ทาง ศึกษาธิการ หรือ หน่วยงานที่จัดซื้อจัดจ้าง ทำได้เสร็จสมบูรณ์ไหม ทำไมทาง SIPA ถึงต้องมาแก้ไข หรือตรวจสอบให้ อันนี้น่าสนใจ นะครับ แล้ว ความถูกต้องของเนื้อหา ที่บอกว่า มาจาก ศึกษาธิการ ใครรับผิดชอบบ้าง (เห็นใน web dekthai มีการขอให้ช่วยตรวจสอบเยอะมาก และ ติเยอะมาก) ให้หน่วยงานไหน ผลิต
สงสัยเฉยๆ นะครับ เห็น มีคนพูดถึง Learning Object ที่แสนจะมากมาย
dekthai.net ล่มไปแล้วครับ สงสัย bandwidth เกิน
This account has been suspended.
Either the domain has been overused, or the reseller ran out of resources.
show แบบนี้ซะงั้น
ผมไม่ขึ้นนะ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ขอโทษด้วยครับ เว็บ www.dekthai.net ล่มไปแล้วครับ bandwidth เกินเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 2 เดือนแล้วครับ รออีก 24 ชม. จะใช้ได้ตามปกติครับ พรุ่งนี้จะเป็นการปรับปรุง Content เป็นครั้งสุดท้ายเพื่อลงแท็บเล็ต ศธ. ขอให้เอาหลายส่วนออก ทีมงานยังคงยืนยันตามหลักการเดิม คือ สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กจะเก็บไว้ทั้งหมด และจะต้องทำการตรวจสอบ Learning Object ทั้ง 336 บทเรียนกันใหม่ทั้งหมดเป็นรอบที่ 5 ครับ จะเอาขึ้น www.dekthai.net ให้ช่วยๆ กันตรวจก็เดี้ยงซะทุกครั้งไป ตรวจสอบเสร็จจะรีบขึ้นทันทีครับ กลัวจะหลุดรอดสายตาแล้วส่งต่อไปถึงมือเด็ก เด็กจะจำผิดๆ ติดตัวไปตลอด ซึ่งจะเป็นตราบาปของทีมงานไปจนตาย ถึงแม้เราจะไม่ใช่คนทำก็ตาม แต่เราเป็นคนตรวจ จะต้องรอบคอบให้มากที่สุดครับ สำหรับท่านที่อยากจะเข้ามาช่วยทำงาน สามารถติดต่อเข้ามาได้ทาง forum.dekthai.net ครับ หรือจะเข้ามาด้วยตัวเองที่ SIPA ชั้น 9 ศูนย์ราชการอาคาร บี ก็ได้ครับ ผมฝากการบ้านให้ช่วยกันคิดต่อนะครับว่า ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบโครงการนี้ก็ตาม ในเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว เราจะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อลูกหลานของเรา เราจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015 แล้ว เด็กจบมหาวิทยลัยของเราภาษาอังกฤษยังป๋อแป๋อยู่เลย ความรู้ก็ไม่แน่น ทักษะก็ไม่มี จะหางานทำแข่งกับแรงงานต่างชาติได้อย่างไร ผมว่าปัญหานี้มันก็หนักหนายิ่งกว่าปัญหาแท็บเล็ตเด็ก ป. 1 เสียอีกครับ ถ้ายังคิดไม่ออก ให้เข้าไปดูภาษาอังกฤษ ป.1 บนเว็บ www.dekthai.net ก็ได้ครับ เป็นเสียงจากเจ้าของภาษา ไม่ต้องไปเสียเงินเรียนที่ไหน อย่าเพิ่งไปดูถูกว่าเป็นสื่อสำหรับเด็กนะครับ ทุกคนที่ไปเรียนต่อ ป.โท ป.เอก เมืองนอก ที่ยังฟังอาจารย์สอนเป็นภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ก็ต้องไปเรียนคอร์สเด็กๆ แบบนี้แหละครับ จบโครงการนี้แล้ว จะปรับเว็บ www.dekthai.net เสียใหม่ ให้เป็นเว็บ อีเลิร์นนิงสำหรับเด็กๆ ครับ จะได้ไม่ต้องไปเรียนพิเศษเสียเงินกันแพงๆ คงเป็นแนวพี่สอนน้อง เพื่อนสอนเพื่อนอะไรทำนองนี้ครับ ตอนนี้ดู การออกเสียงสูงต่ำในภาษาอังกฤษที่แปะไว้ท้ายหน้าแรกไปก่อนครับ จบงานแล้วจะเล่าให้ฟังครับว่าคลิปนี้มีความสำคัญต่อ Learning Object ในโครงการนี้อย่างไรครับ
อันนี้ขอนอกเรื่องนิดนึง เรื่องไม่เก่งภาษาอังกฤษ
ก่อนหน้านี้เห็นข่าวที่ว่าคนไทย(หรือเด็กไทยหว่า) กว่า 80% ไม่กล้าไปทำงานประเทศในประชาคมอาเซียนเพราะว่าไม่เก่งภาษาอังกฤษ ก็นึกอยู่ว่าจะเป็นพวกโรงเรียนกวดวิชาหรือโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษทั้งหลายก็น่าจะได้ผลประโยชน์ตรงนี้ไปเต็มๆ
เรื่องภาษาอังกฤษน่าสอนตั้งแต่ออกเสียงเลยนะเห็นคนที่เข้าไปเรียน abac ตอนแรกๆ ก็มาสอนตั้งแต่ออกเสียงกันเลย ผมว่าเรื่องนี้สำคัญนะเพราะว่าถ้าเราออกเสียงผิดเราก็ฟังไม่ออก อย่างตอนดูหนังซาว์ดแทร็ก เปิดดูซับอังกฤษไปด้วยฟังเสียงต้นฉบับไปด้วย ก็พบว่าประโยคที่พูดมาเป็นคำธรรมดาๆ ที่เรารู้จักกัน แต่เราออกเสียงผิดเราก็เลยฟังไม่รู้เรื่องว่าเค้าพูดคำนั้น
ส่วนเรื่องการอายที่จะใช้ภาษาอังกฤษกับชาวต่างประเทศ ก็ให้มองว่าทีชาวต่างประเทศพูดภาษาไทยผิดๆ ถูกๆ หรือเสียงเพี้ยนไปมากเรายังไม่ว่าอะไรเลย เราพูดอย่างนั้นบ้างก็ไม่เป็นไรหรอก และอีกอย่างสำเนียงอังกฤษแต่ละประเทศก็ยังมีเพี้ยนต่างกันไปบ้าง ดังนั้นอย่าอายไปมากเลยถ้าเราพูดสำเนียงเพี้ยนไปบ้าง
ทำงานกะผรั่งมีพนังงานประชุมออนไลน์จากหลายประเทศ ผมว่าจีนยังออกเสียงฟังยากกว่าคนไทยอีกครับ
ผมสงสัยว่า เนื้อหาที่จะให้เด็กเรียนนี่คือ ให้เด็กใช้งานผ่าน web browser หรือครับ? ไม่ได้เป็น Android Native Application
หรือว่าในเวป www.dekthai.net นี่คือแค่ตัวอย่างเนื้อหา?
น่าจะอิงจาก Comments ด้านล่างนะครับ เดิมน่าจะมาจาก CD-ROM แต่ว่าแปลงมาให้ใช้งานบน Android ได้
เนื้อหาเยอะมากและใหญ่มาก ได้ข่าวมาว่าเกือบ 7G ทำเป็น Native Application คงจะไม่ไหวมั้งครับ
ระบบเค้าทำเป็น Framework ในการ Call ก็น่าจะสะดวกในการแก้ไข ปรับเปลี่ยนเนื้อหานะครับ
www.dekthai.net เป็น website ของทาง SIPA ให้บุคคล ประชาชนช่วนกันตรวจสอบ เนื้อหา (LO) ที่ทาง สพฐ. กพฐ. ส่งมาให้ลงให้เด็กนักเรียนครับ ว่ามีส่วนไหนที่ต้องแก้ไข บ้าง หรือผิดพลาดบ้างครับ
LO (Learning Object) มาจาก ข้อ 5 ในบทความนี้่ใช่ไหมครับ ใครทราบบ้าง
http://anekrati.wordpress.com/2011/01/04/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87-2554-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1/
ถ้าใช่จริง ทำไมมันเหลือไม่ถึง 300 Object ตัดออกเพราะไม่เสร็จ หรือว่าตัดออกเพราะผิด พลาด หรือว่า ตัดออกเพราะว่า เยอะเกินไปครับ
"
5. เรื่อง การพัฒนาเนื้อหา และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Software
"
โอ้วแม่เจ้า... ได้ใช้กันหรือยังนี่ หรือว่าจ้าง มาแล้ว นิ่ง...
ในบทความบอกชัดเจนนี่ครับ
"สทร. จัดทำข้อกำหนดขอบเขตคุณลักษณะของงาน TOR โดยกำหนดขอบเขตการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นแบบ e-learning ใน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ ใน 4 ช่วงชั้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน" แสดงว่าทำตั้งแต่ระดับประถม - มัธยม ส่วนที่นำมาดัดแปลงเพื่อติดตั้งลงในแท๊บเล็ตเป็นเนื้อหาเฉพาะระดับชั้น ป.1 เลยเป็นตัวเลขที่ 300 กว่านะครับ
ดูใน dekthai.net แล้ว ภาษาอังกฤษ หายไปทั้ง ชุดเลยครับ แล้วก็ เท่าที่ติดตามมาตั้งแต่ต้น หลายๆ บท ก็ค่อยๆ ร่อยหรอ ไปเรื่อยๆ ครับ แม้แต่ปัจจุบัน ทาง สพฐ. ก็ยังส่ง ให้ตัด LO ออกไปอยู่ครับ
ผมจึงสงสัยว่า ทำไมถึงตัดออกไป เพราะว่าจัดซื้อจัดจ้างไปแล้ว ส่งมอบไปแล้ว ตาม ประกาศใน blog ของ ผ.อ.
การจัดซื้อจัดจ้างตามรายละเอียดด้านบนเป็นการพัฒนาสื่อการเรียนสำหรับเผยแพร่บนเว็บไซท์ E-Learning นะครับ เพียงแต่เมื่อมีโครงการแท๊บเล็ต เกิดขึ้นก็ให้นำสิ่งที่มีอยู่มาพยายามดัดแปลงเพื่อให้สามารถทำงานบนอุปกรณ์นี้ได้ โดยคัดเลือกเนื้อหาและจัดทำแผนการสอนเพื่อให้ ครูสามารถนำไปประกอบการสอนให้ห้องเรียนได้ ไม่ได้เป็นการจัางพัฒนาสำหรับโครงการแท๊บเล็ต โดยตรงครับ
ก็ใช่ครับ แต่ที่ตัด ออก เพราะว่า อะไรครับ ที่สงสัย ครับ ที่ได้ข่าวมาตัดเพราะว่าเนื่อหาผิดครับ งั้นแสดงว่า การจัดซื้อจัดจ้าง ไม่มีการตรวจสอบ ก่อนส่งมอบ น่ะสิครับ ไม่ว่าจะเป็น บน PC หรือ tablet หรือว่าอะไร
ถ้าเนื้อหาผิด จะส่งมอบ รับเงินได้อย่างไรครับ คุณว่าจริงไหมครับ
ยิ่งถ้าเป็นเนื้อหาสำหรับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ที่ปลูกฝังความคิดความถูกต้อง ให้กับเด็กด้วยแล้ว ต้องครบตามหลักสูตรแกนกลาง ไม่ใช่ว่า ตัดๆ ปิดบังบางอย่าง แล้วบอกว่าแค่นี้พอสำหรับเด็ก เป็นลูกหลานคุณจะยอมให้เรียนด้วย หลักสูตรครึ่งๆกลางๆไหมครับ
อย่างนี้น่า monitor ครับ
อันนี้ผมไม่รู้จริงๆนะครับ คือโครงการนี้เขามีหน่วยงานไหนรับผิดชอบเรื่องซอฟท์แวร์+เนื้อหา แบบตรงๆเลย หรือเปล่าครับ ประมาณว่า ตั้งสำนักงาน ทีมงาน หน่วยงาน ขึ้นมาเพื่อนวิจัย และพัฒนาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทำนองนี้ครับ ?
เท่าที่ทราบมา เนื้อหา การเรียนรู้เป็นของ สพฐ ครับ
คุณภาพ SIPA ใครเคยสัมผัสองค์กรนี้มาก่อน น่าจะรู้ถึงขีดความสามารถของมันดี =_=