รายละเอียดการประมูล 3G ในคลื่นย่าน 2100 เริ่มลงตัวหลังจากบอร์ดกทค. (ฝั่งโทรคมของกสทช.) นำรายละเอียดขั้นสุดท้ายเข้าประชุมกันเมื่อวานนี้ โดยมติบอร์ดอย่างเป็นทางการคงออกมาเร็วๆ นี้อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาทต่อบล็อค 5MHz แพงกว่าราคาเดิมที่กทช. เคยจะประมูล 12,500 ล้านบาทต่อ 15MHz เล็กน้อย และจะจำกัดไม่ให้ผู้ประมูลรายใดได้ความถี่เกินกว่า 20MHz หรือสี่บล็อค หากมีผู้ประมูลครบก็จะมีผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ต่ำกว่าสามราย และการประมูลน่าจะมีขึ้นภายในเตือนตุลาคมนี้
กสทช. คาดรายได้รวมจากการประมูลครั้งนี้น่าจะไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท (จากราคาเริ่มต้น 45,000 ล้านบาท)
ด้วยระยะเวลาเท่านี้ หลังจากกฎการประมูลออกเป็นทางการแล้ว กสทช. จะเหลือเวลาไม่มากนักที่จะเดินสายหาผู้ประมูลให้เข้ามาลงทุน ขณะที่ตอนนี้กทช. เองยังมีประกาศเรื่องการห้ามไม่ให้ต่างชาติครอบงำกิจการโทรคมนาคม และพรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กำกับอยู่ ตลอดจนปัญหาการประมูลครั้งที่ผ่านมาจึงน่าสงสัยว่าจะมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาร่วมประมูลหรือไม่ และหากไม่มีผู้ประมูลรายที่สามการประมูลจะเป็นอย่างไร เราคงต้องรอประกาศกฎการประมูลอีกครั้ง
ที่มา - ไทยรัฐ
Comments
อย่าล้มอีกก็พอ
ประมูลตุลา กว่าจะได้ใช้จริงก็คงต้นปีหน้าเลยสิเนี่ย
อยากทราบว่า สำหรับ 5mhz เนี่ยครับ มันจะมีปริมาณรองรับผู้ใช้ได้ยังไง เขานับกันยังไงน่ะครับ = ='
5MHz ไหวไม่ไหวอย่างไร ลองดู AIS 3G ครับ (ทำไม AIS 3G ต่างจังหวัดลื่นหัวแตก แต่ใน กทม ไม่เดิน)
@TonsTweetings
มันแค่ช่วงกว้างของคลื่นครับ รองรับได้มากน้อยแค่ใหนอยู่ที่เทคโนโลยีการเข้ารหัสครับ
เย้ข่าวดี ไม่ค่อยรู้เรื่องประมูลอะไรหรอกซับซ้อนเกินไปไม่มีใครอธิบาย บล็อคอะไร ทำไมต้อง 5MHz โน่นนี่นั้น แต่ดีใจที่จะได้มีใช้สักที จะได้เดินหน้าเข้าสู่ยุคสมัยใหม่สักที
มีรายละเอียดในข่าวเก่าครับ http://www.blognone.com/node/32501
pittaya.com
ขอบคุณครับ แต่ไม่เข้าใจอยู่ดีนะครับ ผมไม่ฉลาดเรื่องนี้จริงๆ
ตอนนี้ไม่มีใช้หรือครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ตอนนี้ผมอยู่อยุธยา ไม่มีใช้ครับ (AIS)
บอกว่าซับซ้อนเกินไปขี้เกียจอ่านดีกว่าครับ คนอธิบายมีเยอะแล้ว
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ครับตามนี้ครับ ผมไม่เชื่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่แล้วครับ ผมใช้อย่างเดียว
อธิบายง่ายๆ 5 เนี่ยคิดเป็นเลนถนน เรามีถนนทั้งหมด 45 เลน
ใครจะประมูลถนนกี่เลนก็ประมูลไปแต่กำหนดว่าต้องประมูลทีละ 5
มันสำคัญตรงที่ มี 5 เลนมันก็น้อยกว่า 10 เลน ถนนเต็มง่ายกว่า รถติดง่ายกว่า แต่ไม่ได้เกี่ยวกับว่ารถ(ความ)เร็วเท่าไหร่
แล้วที่ให้ไม่เกิน 20 เลน เพราะเกิดผมเหมาคนเดียวไปทั้งหมด 45 เลน ก็คือผูกขาด ถนนทั้งหมดเป็นของผมคนเดียว ผมจะตั้งด่านเก็บตังแพงๆ ก็ได้ เพราะยังไงคนเราก็ต้องใช้ถนนอยู่ดี
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ขอเสริม มันยังเป็นถนนที่สร้างเพิ่มไม่ได้อีกด้วย มันจึงต้องสัมปทาน
ไม่มีเหมือนแบบใช้ cable เต็มก็เพิ่มอีกสายเอา
มีคำอธิบายเยอะ และไม่ซับซ้อนยากเกินเข้าใจนะครับ
ถ้าเข้าใจเรื่องพวกนี้แล้ว จะเข้าใจถึงสาเหตุและที่มาที่ไปของสิ่งที่เราใช้อยู่ (เช่น แม้แต่จะเข้าใจเรื่องบ้านๆ ได้ว่าทำไม 3G ของ AIS จึงสู้ค่ายอื่นไม่ได้ เพราะช่วงคลื่นน้อย เป็นต้น แล้วทำไมต้องแข่งกันประมูลให้ได้ความถี่เยอะๆ , ทำไม กสทช. ถึงต้องหั่นคลื่นออกมาเหลือบล็อคละเท่านี้ บลาๆๆ)
แต่ถ้าจะใช้งานไปอย่างเดียวก็ได้ครับ อันนี้คนเรามีความสนใจไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ^^
ผมพูดสั้นๆ ละกัน
"อยากให้อ่านเป็นความรู้ติดตัวครับ" :D
ยาวๆ: อ่านแล้วจะได้เข้าใจว่าอะไรมันมีที่มียังไง เพราะเหตุใด ฯลฯ ในวันข้างหน้าที่มีปัญหาเราก็เอาความรู้ตรงนี้มาวิเคราะห์ได้ครับ
ผมใช้ AIS ครับ ไม่มีใช้ดีกว่ามีแล้วใช้ไม่ได้ครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ขอให้ผ่านไปด้วยดีเถิด สาธุ
ประมูลแพงแล้ว ราคาถึงผู้บริโภค ไม่แพงได้ไหม
@fb.me/frozenology@
แล้วตอนนี้ใช้ 3G แบบไหนอยู่อะครับ
HSDPA+ บนคลื่น 900Mhz กับ 850Mhz ครับ
ส่วย 3G จริงๆ คลื่นประมูลคือ 2100Mhz ซึ่งแบนวิดมากกว่า
บน 850 MHz กับ 900 MHz ก็เป็น "ของจริง" และเทคโนโลยีเดียวครับ แค่ว่า 2100 MHz จัดเป็นความถี่มาตราฐาน เนื่องจากเป็นความถี่แรกที่ได้ใช้งาน WCDMA เหตุผลง่ายๆก็คือ เป็นคลื่นที่ญี่ปุ่น(ประเทศผู้พัฒนา)ว่างอยู่เลยใช้ ส่วนบางประเทศ เช่น อเมริกา ความถี่ 2100 MHz ไม่ว่าง เลยต้องมาใช้ 850 MHz, 900 MHz, 1700 MHz ครับ ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ เช่น จำนวนผู้ใช้งานที่รองรับ และความทะลุทะลวงของสัญญาณ ก็จะต่างกันไป.
เอ้อ ผมสงสัยมานานแล้วว่าอเมริกามี 2100 ไหมอะครับ? หรือฝั่ง GSM อย่าง AT&T ใช้ 850 ส่วน T-Mo ใช้ 1700 (แล้ว VZW กับ Sprint ใช้เท่าใหร่หว่า ไม่รู้จะหาด้วยคำว่าอะไรใน Wikipedia ดี)
อันนี้โลด
อันนี้สำหรับผู้ให้บริการในสหรัฐฯครับ
บางเจ้าเป็น AWS ด้วยครับ คือใช้ย่านความถี่ต่ำที่เคยมี(1700MHz) เป็นขา uplink เนื่องจากใช้ bandwidth ต่ำกว่า และใช้ 2100MHz เป็น downlink ครับ
ป.ล. iPhone รุ่นปัจจุบันไม่สามารถใช้ AWS ได้ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมก็ใช้ 2100MHz อยู่นะครับ XD
จะเรียก 3G จริง ๆ ก็คงไม่ได้ เพราะมันก็ 3G จริง ๆ หมดนั่นล่ะครับ ขึ้นกับสภาพโดยรอบมากกว่า
ในเมื่อหลังการประมูล ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตก็มีไม่ต่ำกว่าสามราย เดาว่าก็คงไม่พ้นเอกชนสามรายนั้น
แมวกับหน้าร้องไห้ก็เหลือเวลาไม่มากแล้วสิ...
แพงไปครับ ผลเสียตกที่ผู้บริโภค
Blog: https://medium.com/@tanakritsai
เผลอๆ ถูกกว่าที่บริษัททั้ง 3 ค่ายจ่ายค่าสัมปทาน/ส่วนแบ่งรายได้ ให้กับร้องไห้, แมว "ต่อปี" ซะอีกครับ :P
ถูกกว่า และที่สำคัญ เงินเข้ารัฐเต็มๆ!!
ร้องไห้ = TOT
แมว = CAT
กลัวคนไม่รู้ครับ
ตึกโป๊ะๆๆๆๆ
ไม่ต้องบอกก็คงจะรู้นะครับ ฮา
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ขอบคุณครับ ผมนั่งงงตั้งนาน
เหลือแต่เอาถาดตบมุขซ้ำอีกที
ถาดไม่ว่างครับ
เอาไปทำเสาอากาศรับสัญญาณดูบอลยูโร ;P
แล้วราคาที่สมควรมันเป็นเท่าไหร่ ??
:: DigiKin8 ::
ทุกวันนี้ ais เสียค่าสัมปทานให้ TOT "ปีละ" สองหมื่นกว่าล้าน
ต่อให้ซื้อใบอนุญาต 4 ใบที่ใบละ สองหมื่นล้านบาท (รวมแปดหมื่นล้าน) แล้วใช้ได้ไปอีก 15 ปียังคุ้มเลยครับ
ราคานี้ไม่แพงเลยครับ ถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เอกชนจะมาอ้างไม่ได้ว่าถ้าใบอนุญาตแพงและค่าบริการจะแพงไปด้วย ค่าประมูลเงินจะเข้ารัฐเต็มๆ แต่เงินค่าบริการจะขึ้นอยู่กับกลไกลทางการตลาด ถ้าคู่แข่งถูกก็ต้องทำให้ถูกกว่า ระบบการประมูลเป็นผลดีกว่าระบบสัมปทาน เนื่องจากเอกชนสามารถคำนวนต้นทุนออกมาเป็นตัวเลขได้เลย (เพราะไม่ได้จ่ายค่าสัมปทานรายปี) ทำให้เอกชนรู้ต้นทุนและคำนวนออกมาเป็นค่าบริการได้ง่ายกว่า และอาจจะถูกกว่าปัจจุบัน รายละเอียดยังมีอีกเยอะครับ ติดตาม @supinya และจะเข้าใจ เขาจะมีมาอธิบายเกี่ยวกสทช.ทุกวัน
เยี่ยมแต่ไม่มี like ให้กด
อย่าไปกลัวเรื่องแพง-ถูกครับ ราคา"ที่เหมาะสม"จะเกิดขึ้นจากการประมูลเอง
ที่ใช้การประมูล ก็เพราะรัฐไม่สามารถคำนวน"ราคาที่เหมาะสม"เองได้ แต่เอกชนทำได้(ว่า"มูลค่า"สำหรับความถี่ของกิจการตนเป็นเท่าไหร่)
ถ้าเอกชนยอมจ่ายแพงว่านี้แสดงว่าเขาเห็นว่าค่าความถี่มีราคาแพงกว่าราคานั้น(เพราะเขาเอาไปทำกำไรได้) แต่ถ้าไม่มีใครยอมจ่ายเลยแสดงว่าราคาตั้งต้นแพงไปจนเกินจุดทำกำไร กสทช.ก็ต้องมาปรับเอง
ข้อดีอีกอย่างคือแบ่งขายหลายลอตเล็กด้วย ทำให้สามเจ้าใหญ่ฮั้วกันยากเพราะแต่ละคนก็อยากได้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้อยู่แล้ว ถ้าเป็นลอตใหญ่เท่าๆกันหมดอาจมีฮั้วได้
ส่วนเรื่องผลเสียตกอยู่ที่ผู้บริโภคนี่ยากครับนอกจากสามเจ้าฮั้วกันทำราคา ซึ่งดูแล้วตลาดบ้านเราถนัดไล่ฆ่ากันมากกว่า
ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่าต้นทุนเค้าจะเท่าไหร่ หรือต่อให้ได้ฟรี บริษัทยังไงก็มีหน้าที่สร้างผลตอบแทนสูงสุดให้ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะอยู่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นยังไงบริษัทเหล่านี้ก็จะขายที่ราคาสูงที่สุดหรือเกือบสุดที่ลูกค้ายอมจ่ายอยู่ดี การขายโดยบวกจากต้นทุนมันเป็นยุคเก่า หรืออยู่ได้แค่ในสินค้าบางประเภท ผู้เล่น 3 เจ้าแบบนี้ขายถูกไม่ได้ทำให้กำไรรวมเพิ่ม คิดง่ายๆ ถ้าต้นทุนคุณ 10 บาท และคุณขายราคา 20 บาทขายได้ ถ้าสินค้าเหมือนกันเป๊ะ แต่ต้นทุนคุณ 1 บาท ก็ยังขายราคา 20 ได้อยู่ดี คุณจะขายถูกกว่า 20 บาทฤๅ แต่ถ้ากรณีนี้เกิดในสินค้าทั่วไป คนเห็นกำไรมาก คนจะเข้ามาแข่งมาก ทำให้ราคาลงโดยอัตโนมัติเพราะ supply เพิ่ม แต่กรณีนี้ เจ้าใหม่เข้ามาไม่ได้ หรือได้อย่างมากก็ไม่กี่เจ้า 3 เจ้าใหญ่ขายราคาเดิมยังไงก็ขายได้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
3G มาไว ๆ สาธุ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เกรงว่าจะมีคนประมูลแค่สองเจ้า เพราะเจ้าที่สามไม่น่ามีเงินสดมากถึงขั้นต่ำที่5พันล้านหรอก(ขนาดซื้อฮัดชิ่วหกพันล้าน ยังไม่ใช่จ่ายสดเลย) แถมจะมองต่างชาติ ก็เพิ่งออกประกาศกีดกันเขาเอง จะมีใครมาเสี่ยงไหมนั่น
คงต้องรอปี2558 ถึงจะมีผู้เล่นจากต่างชาติมาเพิ่มเติม
ไปดึงงานจากในเครือมาก็ได้ครับ ไมต้องกลัว
I need healing.
มันจะไม่ง่ายเหมือนธุรกิจกงสีน่ะครับ
ดึงเงินจากบ.อื่นในเครือ เท่ากับต้องลงบัญชีชัดเจน (เพราะเป็นบริษัทจดทะเบียน)
ดึงจากบริษัทไหน บริษัทนั้นก็โดนผลกระทบเรื่องลูกหนี้-เจ้าหนี้ ซึ่งกระทบไปถึงมูลค่าสินทรัพย์ในการลงบัญชี แล้วกระทบต่อไปถึงมูลค่าหุ้น, การจ่ายปันผลหุ้น
ซึ่งถ้าเป็นเงินปริมาณมากๆเช่น 5 พันล้านเพื่อซื้อ 5MHz. อย่างกรณีนี้ ผลกระทบอย่างที่ผมบอกไปมันเยอะ
ผู้ถือหุ้นฝั่งที่เป็นเจ้าหนี้มีโวยแน่นอนครับ
เปลี่ยนจากเงินสด หรือสินทรัพย์อื่น เป็นเจ้าหนี้ สินทรัพย์รวมก็ยังเท่าเดิมนะครับตามหลักบัญชี แต่กระทบอื่นๆ หรือเปล่าไม่รู้ เป็นบริษัทยังไงก็ต้องมีเงินส่วนหนึ่งสำหรับลงทุนอยู่แล้ว เอาไปลงทุนในบริษัทอื่น ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
นั่นแหละครับปัญหา เดี๋ยวจะบอกว่าต่างชาติจะมายึดอีก
ไม่มีใครประมูลด้วยเงินสดครับ กู้ธนาคารกันทั้งนั้น
ประมูล3Gคราวที่แล้ว ค่ายA และ D เตรียมกระแสเงินสดไว้2หมื่นล้านครับ แน่นอนว่าอาจจะระดมทุนมาจากหลายส่วน แต่มันก็ต้องดูความสามารถในการระดมทุนด้วย ซึ่งค่ายที่สามก็เห็นๆอยู่ว่าขนาดแค่6พันล้านยังหืดขึ้นคอ ต้องออกหุ้นกู้และแลกหุ้นกันหลายส่วน จึงยากที่จะเชื่อว่าจะระดมทุนมาประมูลอีกได้ง่ายๆ
ถ้ามันคุ้ม ยังไงเค้าก็ต้องหาเงินมาให้ได้ ถ้ามันคุ้มยังไงธนาคารก็คงให้กู้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
คงไม่มีใครมาขวางแล้วนะ ไอ้เรื่องที่มันถูกต้องตามกฏเนี่ย
..: เรื่อยไป
"ห้ามไม่ให้" = ได้??
ตรรกะผมก็คิดว่าอย่างนั้นมาตั้งนานแล้วครับ -*-
Crime Scene กันให้ว่อน
คงต้องเว้นวรรคสินะ
"ห้ามเพื่อไม่ให้"
มาช้าซะจนชาวบ้านชาวช่องเขาไปใช้คลื่นอื่นกันหมดแล้ว
แต่มีแยกออกไปเลยก็ดีกว่า จะได้ไม่ไปกวนระบบเก่า
อ่าน comment ได้ความรู้เยอะแยะเลย
มาเร็วๆให้ทันปีนี้เห๊อะ!
หวังว่า Galaxy S4 จะไม่มีรุ่น optimize กับคลื่น 2100MHz ของ AIS อีกนะ...
เดี๋ยวก้อให้พรรคพวกแถวข้างถนน ออกมาประท้วงบอกว่าบริษัท A กับ D เป็นนอมินีต่างชาติให้เข้าประมูลไม่ได้ ไม่งั้นถือว่าขายชาติ แล้วก้อล้มการประมูลเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด