ทีมวิจัยร่วมจากสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยคิวชู, และบริษัทฟูจิตสึ ได้ร่วมกันวิจัยกระบวนการแกะรหัสการเข้ารหัสแบบ Pairing-based ขนาดความยาวกุญแจ 923 บิต โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 148.2 วัน บนเซิร์ฟเวอร์ 21 ตัว มีซีพียู 252 คอร์
การเข้ารหัสแบบ Pairing-based เป็นกระบวนการพื้นฐานของการเข้ารหัสในยุคหน้าหลายต่อหลายอย่าง เช่น
กระบวนการที่อาศัยการทำ pairing นี้คาดว่าจะเป็นกระบวนการในการเข้ารหัสในยุคต่อไป ถัดจากยุคนี้ที่อาศัย Public-Key Infrastructure (PKI) เป็นหลัก การที่ทีมวิจัยสามารถทดสอบความแข็งแกร่งของอัลกอริธึ่มพื้นฐานได้ก่อน จะทำให้การวางมาตรฐานอุตสาหกรรม เช่น ขนาดกุญแจ อยู่บนฐานของข้อมูลที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
กระบวนการ Pairing-based ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ไลบรารีโอเพนซอร์สนั้นเพิ่งมีการพัฒนากันขึ้นมาในปี 2007
ที่มา - NICT
Comments
O,O 923 บิต 148 วัน ถ้า 1024 บิต จะกี่วันละนี่ O_O
2^101 เท่า
1 ล้านๆๆๆๆ ปีมั้ง
เปลี่ยน key อะไรบางอย่างทุก 3 เดือนจะช่วยได้มั้ยครับ
ช่วยเรื่องความปลอดภัยได้ครับ แต่เปลี่ยนคีย์ทุกสามเดือนนี่แหละที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
ถ้าเป็น password ที่คนใช้คิดเอง เป็นผมก็คงคิดไว้ 2 อันเปลี่ยนไปกลับ
แล้วถ้า random salt เติมเข้าไปด้วยพอจะเป็นไปได้มั้ยครับ จะได้เปลี่ยน salt ทุกๆ 1 นาทีเลย
น่าสนใจนะ .. SSL ทุกวันนี้ก็ไม่เห็นจะมีการแจ้งตรงแจ้งเตือนแนะนำให้เปลี่ยน Key บ่อยๆ เลย
น่าจะต้องรองรับแบบ Secondary Key ด้วยนะเพื่อว่า ในระหว่างที่เปลี่ยนสามารถใช้ของเก่ากับของใหม่พร้อมกันไปได้ด้วย
1024 bit มีอายุ 365 วัน
อันนี้น่าจะพออยู่นะครับ ^ ^''
3 เดือนกำลังดีครับ กรณีที่ทำงานเก่า บริษัทบังคับให้เปลี่ยน password ทุกเดือนครึ่ง แถมห้ามซ้ำกับของเดิม มีกฏการตั้งประมาณ 5-6 ข้อ เจอรุ่นพี่คนหนึ่งทำงานมาเจ็ดปี แกจดทุกรหัสไว้ตั้งแต่ทำงานใหม่ ๆ ตอนนี้ก็ 28 อันเข้าไปแล้ว -*- เยอะเกินจำ
มันคือ policy 5+ สุดท้าย เฮ้ยกระดาษที่ตูจด หายไปไหนฟ่ะ ซวยแล้ว
+1 ไม่รู้จะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย เพราะถ้าถึงขนาดที่ผ่านมาใช้ 28 รหัสไม่ซ้ำ ไม่ไหวจะจำเหมือนกันคงต้องจด แต่ถ้าจดแล้วกระดาษหาย ซวยหนักเลย -*-
แหม ทุกเดือนครึ่งเอง ผมเปลี่ยนทุกเดือนครับ :-) ผมต้องเปลี่ยนพาสเวิร์ดในอาทิตย์แรกของแต่ละเดือนประมาณ 8 ที่เห็นจะได้ (นับแต่ล๊อกอินเเข้าเครื่อง อีเมล์ Citrix และอื่น ๆ)
จริง ๆ การใช้พาสเวิร์ดจำนวนมาก และการบังคับเปลี่ยนพาสเวิร์ดบ่อย ๆ จะทำให้ความปลอดภัย "ลดลง" นะครับ เพราะว่าพาสเวิร์ดที่ใช้จะเดาได้ง่ายมากขึ้น ผมคิดว่าถ้าดูตามพฤติกรรมของคนแล้วการบังคับเปลี่ยน password ร่วมกับการใช้ single signed-on (หรือการใช้พาสเวิร์ดร่วมกันในแต่ละระบบ ... ก็ประมาณใช้ตัว Authentication ร่วมกันนี่ล่ะ) น่าจะเหมาะสมมากกว่า แต่ดูเหมือนว่าผู้บริหารจะไม่ค่อยเข้าใจในจุดนี้กันนะ 555 (ไม่หรอก จริง ๆ แล้วมันมีปัญหาทางเทคนิคมากกว่าครับ บางทีอาจจะมีบางระบบที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับ Directory Service ได้ ก็เลยต้องมีระบบ Authentication เป็นของตัวเอง พูดแล้วก็เศร้านะ)
เห็นด้วยตรง ความปลอดภัยลดลง ถ้าเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ ...
ใส่ rundom string รวมเข้าไปใน package ประกบหน้ากลัง ด้วย ก็คงใช้สัก 1000 ปีแล้วล่ะครับ
เขียนพินัยกรรมทิ้งมรดกสักร้อยล้าน แล้วเข้ารหัสไว้หลายๆบิตน่าจะดี
เข้ารหัส แล้วแบ่งไฟล์ ตามจำนวนของ ผู้รับ มรดก
ก่อนจะเปิดอ่านต้องเอาไฟล์มารวมกันก่อน แล้วถอดรหัสอีกที
สุดยอดครับ !
ปรากฎว่าลูกหลานแก้ไม่ออก แก่ตายก่อนได้มรดก
Dream high, work hard.
เปิดออกมา ในมรดกเขียนว่า บริจาคเข้ามูลนิธีบิลล์&เมลินด้า เกตส์ ทั้งหมด
อ่า ผมขอไปหาเงินร้อยล้านมาลองทฤษฎีนี้ก่อนนะ ท่าจะสนุกดี .... แต่เค้าหากันยังไงอ่ะ โกงกินไม่เป็นซะด้วย T_T